Sunday, May 26, 2024
Home Tags Agriculture

Tag: Agriculture

ดอกกุหลาบ : ราคาพุ่ง…ต้อนรับวาเลนไทน์ปี ‘53

“ดอกกุหลาบ” สินค้าที่เป็นสัญลักษณ์สำหรับวันวาเลนไทน์ของทุกปี ซึ่งในปีนี้คาดว่า การซื้อขายดอกกุหลาบจะยังคงคึกคัก และเป็นช่วงที่ดอกกุหลาบมีราคาสูงที่สุดในรอบปี ถึงแม้ว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ทำการสำรวจพบว่า ในปีนี้มีแนวโน้มว่าราคาดอกกุหลาบจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการซื้อขายดอกกุหลาบในช่วงวันวาเลนไทน์ เนื่องจากบรรดาผู้ที่ให้ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์นั้นก็ยังคงเลือกซื้อหาดอกกุหลาบเพื่อมอบให้แก่กัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ทำการประเมินราคาดอกกุหลาบทั้งปี พบว่าราคาดอกกุหลาบนั้นสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เนื่องจาก ตรงกับช่วงเทศกาลวันสำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนกุมภาพันธ์ที่มีวันวาเลนไทน์ ราคาดอกกุหลาบจะปรับสูงขึ้นมากกว่าช่วงปกติ จากนั้นราคาดอกกุหลาบก็จะขยับสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม เนื่องจากช่วงนั้นจะมีการรับปริญญาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทำให้มีความต้องการดอกไม้สูง ในขณะที่ในช่วงเดือนมีนาคมจนถึงเดือนมิถุนายน และช่วงเดือนกันยายนจนถึงตุลาคมนั้น...

เกษตร-ส่งออก-ท่องเที่ยว การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ … หนุนจีดีพีปี 2553 โต 3-4%

จากตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนธันวาคม 2552 ที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตในภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว ที่สร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4/2552 ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งน่าจะเป็นพื้นฐานที่มั่นคงขึ้นสำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลกอาจขยายตัวสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงได้มีการทบทวนกรอบประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2553 โดยปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการในครั้งก่อน แต่ยังมีความกังวลต่อความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเมือง รวมทั้งความคืบหน้าในการแก้ปัญหาโครงการลงทุนในมาบตาพุด ซึ่งกำลังบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน และอาจกลายเป็นปัจจัยที่จะกระทบต่อความน่าดึงดูดด้านการลงทุนของไทยในระยะข้างหน้า คาดจีดีพีไตรมาส 4/2552...

เกษตรปี 2553 : สภาพอากาศแปรปรวน…ผลผลิตลด ราคาพุ่ง

ในปี 2553 นี้ความต้องการสินค้าเกษตรทั่วโลกคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่แปรปรวน และภาวะการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูพืช สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ ที่ส่งผลให้กำลังซื้อในแต่ละประเทศกระเตื้องขึ้น ทำให้คาดการณ์ว่าราคาสินค้าเกษตรในปี 2553 มีแนวโน้มสูงขึ้น นับว่าเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลก อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ยังต้องติดตาม คือ ราคาสินค้าเกษตรที่พุ่งสูงขึ้นนี้จะคงอยู่นานเท่าใด เนื่องจากยังมีปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร โดยเฉพาะปริมาณการผลิตของทั้งประเทศคู่แข่งและประเทศคู่ค้า การเปลี่ยนแปลงนโยบายการนำเข้าของประเทศคู่ค้า ซึ่งอาจส่งผลต่อความต้องการสินค้าเกษตรลดลง และจะเป็นปัจจัยกดดันราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2553...

ตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ โตไม่หยุด เล็งใช้แนวคิด “SR Mark”

นครหลวงค้าข้าว เผยตลาดข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในยุโรปและอเมริกามีแนวโน้มเติบโตเพิ่มทุกปี เล็งเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก ขยายกำลังการผลิตเพิ่ม โดยมุ่งเน้นการทำสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ตามแนวคิดของรางวัล SR Mark เพื่อประกันคุณภาพ ประกันราคา และมั่นใจได้ว่าจะมีสินค้าส่งมอบให้ลูกค้าต่อเนื่อง นายวัลลภ พิชญ์พงศา รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด ผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิอินทรีย์รายใหญ่ของโลก กล่าวว่า ปัจจุบันความต้องการข้าวหอมมะลิเกษตรอินทรีย์จากต่างประเทศมีเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกา โดยในปี 2553...

ปี 2553…ปีทองข้าวไทย

วงการค้าข้าวคาดหมายว่าปี 2553 จะเป็นปีทองของข้าวไทย เนื่องจากปริมาณการผลิตข้าวในตลาดโลกลดลง จากผลกระทบสภาพอากาศแปรปรวน ในขณะที่ความต้องการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น ทั้งจากฟิลิปปินส์ที่ผลผลิตข้าวได้รับความเสียหายจากลมมรสุม ส่วนอินเดียประสบปัญหาความแห้งแล้ง ทำให้ต้องพลิกกลับจากการเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวอันดับ 4 ของโลกไปเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าว ในขณะที่ปริมาณการผลิตข้าวของไทยในปี 2553 ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงเป็นโอกาสดีของไทยที่จะสามารถส่งออกข้าวได้มากขึ้น โดยข้าวที่จะได้รับอานิสงส์คือ ข้าวหอมมะลิ ข้าวนึ่ง ปลายข้าว และข้าวเหนียว ส่วนข้าวขาวนั้นแม้ว่าจะมีโอกาสในการส่งออกเพิ่มขึ้น แต่ยังคงต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงจากเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกข้าวของไทยยังต้องเผชิญความเสี่ยงจากราคาข้าวที่อาจจะผันผวน...

น้ำตาลไทย : โอกาสและลู่ทางขยายตลาด…หลังอาเซียนปรับลดภาษีปี 2553

อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ ภายหลังจากที่ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนกำหนดให้ประเทศสมาชิกในกลุ่มต้องปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าต่างๆรวมทั้งน้ำตาลลงเหลือร้อยละ 0 ในวันที่ 1 มกราคม 2553 ยกเว้นบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าใหม่อันได้แก่ ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนามที่ขอเวลาปรับตัว โดยจะทยอยปรับลดภาษีน้ำตาลลงเป็นลำดับ ซึ่งปัจจัยดังกล่าว จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลของไทยต่อการเพิ่มโอกาสการแข่งขันทางด้านการส่งออกน้ำตาลของไทยไปยังตลาดอาเซียนเป็นอย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมา ประเทศในกลุ่มอาเซียนยกเว้นไทย ส่วนใหญ่จะผลิตน้ำตาลได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการและจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำตาลจากต่างประเทศ ส่วนไทยนั้น...

ผลกระทบเขตการค้าเสรีอาเซียนต่อข้าวของไทย

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ประเทศในกลุ่มอาเซียนเดิม 6 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และบรูไน มีข้อผูกพันจะต้องลดภาษีสินค้าทั้งหมดที่อยู่ในบัญชีสินค้าปกติ(Inclusion List: IL) เป็นร้อยละ 0 ขณะที่กลุ่มประเทศอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา...

ไทยโชว์ศักยภาพจัดงานระดับโลก VICTAM ASIA 2010

ไทยโชว์ศักยภาพจัดงานระดับโลกอีกครั้งกับงาน VICTAM ASIA 2010 อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ทั้งสัตว์น้ำ สัตว์เลี้ยง และอุตสาหกรรมการแปรรูปธัญพืชที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดโดย วิคเทม อินเตอร์เนชั่นแนล ร่วมกับ เอ็กซ์โปลิงค์ โกลบอล เน็ทเวอร์ค พร้อมยกให้ไทยเป็นศูนย์กลาง หลังประสบความสำเร็จอย่างสูงของ VICTAM ASIA 2008 เงินสะพัดร่วม 1,000 ล้านบาท พร้อมเพิ่มงาน...

ฟิลิปปินส์เปิดประมูลนำเข้าข้าว : กระตุ้นตลาดข้าวปลายปี 2552

ฟิลิปปินส์เปิดประมูลข้าวในวันที่ 30 ตุลาคม 2552 โดยจะเปิดประมูลซื้อข้าว 250,000 ตันเพื่อส่งมอบระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2553 ซึ่งเป็นการซื้อข้าวครั้งแรกสำหรับการค้าข้าวในปี 2553 นับว่าเป็นการเปิดนำเข้าข้าวเร็วกว่าปกติถึงสองเดือน เนื่องจากข้าวที่ปลูกในประเทศได้รับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นหลายลูก กล่าวคือ พื้นที่ปลูกข้าวของฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบประมาณ 500,000 แฮกตาร์(ประมาณ 3.13 ล้านไร่) และปริมาณข้าวเปลือกเกือบ 840,000 ตัน หรือเท่ากับการบริโภคนานกว่า 15 วัน...

ข้าวนึ่ง : พระเอกส่งออกข้าวปี 2552/53

ในปี 2552/53 ผลผลิตข้าวของอินเดียลดลงไปประมาณ 6-7 แสนตัน อันเนื่องจากภาวะฝนแล้ง ทำให้รัฐบาลอินเดียประกาศหยุดส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบัสมาติในช่วงต้นเดือนกันยายน 2552 ไทยจะได้ประโยชน์โดยตรงในการส่งออกตลาดข้าวนึ่งแทนที่อินเดีย ทำให้คาดว่าปี 2552 นี้ไทยจะส่งออกข้าวนึ่งได้สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 3.5 ล้านตัน หลังจากที่ในปี 2551 ปริมาณการส่งออกข้าวนึ่งของไทยก็พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ จากในปีปกติที่ส่งออกได้ประมาณ 2 ล้านตัน ซึ่งก็เป็นอานิสงส์ที่อินเดียหยุดส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบัสมาติเช่นกัน ทำให้สัดส่วนการส่งออกข้าวนึ่งของไทยเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 30 ของการส่งออกข้าวโดยรวมของไทย...