Alipay – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 26 Feb 2024 17:01:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Alipay อาจปรับกลยุทธ์เน้นไปที่ Social Network มากขึ้น หลังคู่แข่งอย่าง Douyin ฯลฯ ได้รับใบอนุญาตให้ทำระบบจ่ายเงินได้ https://positioningmag.com/1463936 Mon, 26 Feb 2024 16:57:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1463936 อาลีเพย์ (Alipay) แพลตฟอร์มจ่ายเงินรายใหญ่ของจีนอาจปรับธุรกิจกลยุทธ์เน้น Social Network มากขึ้น หลังจากที่คู่แข่งอย่าง Douyin ฯลฯ ได้รับใบอนุญาตให้ทำระบบจ่ายเงินได้ ซึ่งอาจทำให้แพลตฟอร์มรายใหญ่รายนี้สูญเสียความสามารถในการแข่งขันได้

Pandaily รายงานข่าว โดยอ้างอิงสื่อในประเทศจีนอย่างนิตยสาร China Entrepreneur โดยชี้ว่า Alipay ได้เริ่มจ้างพนักงงานที่ทำงานกับคู่แข่งที่เป็นเครือข่ายทางสังคม (Social Network) อย่าง Douyin หรือสื่อสังคมรายอื่น เนื่องจากบริษัทต้องการที่จะได้โฆษณาเพื่อที่สนับสนุนเนื้อหา และต้องการดึงผู้ใช้งานให้อยู่บนแพลตฟอร์มต่อไป

สื่อจากประเทศจีนรายดังกล่าวรายงานว่า ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา Alipay ได้เริ่มการทดสอบฟังก์ชัน Social Network ที่เรียกว่า “ชุมชนที่น่าสนใจ” ซึ่งรวมกลุ่มผู้สนใจในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กาแฟ ไวน์ แคมป์ปิ้ง เบสบอล เดินป่า ตกปลา ปั่นจักรยาน และอื่นๆ สำหรับการสนทนาของผู้ใช้ ผู้ใช้สามารถเข้าร่วมกลุ่มดังกล่าวภายในพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานกลุ่มเดียวกันได้

นอกจากนี้ Alipay นั้นมีผู้ใช้งานถึงเดือนละ 800 ล้านราย ได้หันไปเน้นการให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมกับแพลตฟอร์มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มการใช้งานในส่วน “Life Accounts” ที่มีความสามารถในการแนบวิดีโอสั้น ข้อความรูปภาพ หรือแม้การขายสินค้าแบบไลฟ์สตรีม

Alipay มีเป้าหมายที่จะสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับร้านค้าและเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ โดยผ่านฟังก์ชันต่างๆ เช่น การไลฟ์สตรีม การโพสต์เนื้อหาข้อหรือความรูปภาพ เป็นต้น และไม่ต้องการที่จะให้ผู้ใช้งานหันไปใช้แพลตฟอร์มอื่น

แรงกดดันที่ทำให้ Alipay ต้องปรับกลยุทธ์ก็คือ การที่เครือข่ายสังคมในประเทศจีนอย่าง Douyin หรือที่เรารู้จักกันดีคือ TikTok เวอร์ชั่นจีน ที่ได้รับใบอนุญาตให้มีระบบจ่ายเงินภายในตัวเองได้ ทำให้แพลตฟอร์มจ่ายเงินยักษ์ใหญ่รายดังกล่าวนั้นอาจสูญเสียความสามารถในการแข่งขันได้ในอนาคต

ก่อนหน้านี้แพลตฟอร์มจ่ายเงินรายใหญ่ในประเทศจีนที่ครองส่วนแบ่งตลาดก็คือ WeChat Pay และ Alipay ซึ่งเป็น 2 เจ้าที่ครองตลาดรวมกันแทบจะ 100% ในประเทศจีน และนั่นทำให้หน่วยงานกำกับดูแลเพ่งเล็งนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา

ตัวแทนของ Alipay กล่าวกับ China Entrepreneur ว่า การหันมาเน้นด้าน Social Network ของแพลตฟอร์มถือว่า “มาช้าดีกว่าไม่มา” และยังกล่าวเสริมว่า Alipay มีโอกาสมากมาย ซึ่งในอดีตการพึ่งพาระบบการชำระเงินเพียงอย่างเดียวก็ถือว่าเพียงพอแล้ว อย่างไรก็ดีในตอนนี้การชำระเงินได้ถูกคุกคามจากแพลตฟอร์มรับส่งข้อมูลรายอื่น

]]>
1463936
จีนสั่งปรับ Ant Group มากถึง 7,100 ล้านหยวน หลังแหกกฎหน่วยงานกำกับดูแลหลายกระทง https://positioningmag.com/1437164 Sat, 08 Jul 2023 07:51:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437164 หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินในประเทศจีนหลายหน่วยงานได้สั่งปรับเงิน Ant Group มากถึง 7,100 ล้านหยวน หลังจากบริษัทแม่ของแพลตฟอร์มจ่ายเงินอย่าง Alipay นั้นไม่ได้ดำเนินธุรกิจตามกฎเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแล อย่างไรก็ดีนักวิเคราะห์คาดว่านี่อาจเป็นสัญญาณว่ารัฐบาลจีนอาจยุติการเข้าปราบปรามกลุ่มเทคโนโลยี

ทางการจีนได้สั่งปรับ Ant Group ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Alipay มากถึง 7,100 ล้านหยวน หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 34,511 ล้านบาท หลังบริษัทได้แหกกฎหน่วยงานกำกับดูแลหลายกระทง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของประกันภัย ระบบจ่ายเงิน ไปจนถึงมาตรการป้องกันการฟอกเงิน

โดยการแหกกฎของบริษัทแม่ของ Alipay นั้นได้ดำเนินธุรกิจละเมิดกฎเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศจีนหลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นธนาคารกลางของจีน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของจีน ไปจนถึงหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของจีน

แถลงการณ์ของบริษัทยังได้กล่าวว่า บริษัทจะปฏิบัติตามข้อกำหนดของบทลงโทษอย่างจริงจังและจริงใจ และจะปรับปรุงการกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแลหลังจากนี้

ปัจจุบัน Ant Group นั้นมี Alibaba ถือหุ้นในสัดส่วนราวๆ 33% ในส่วนที่เหลือนั้นถือหุ้นทั้งนักลงทุน และยังรวมถึง Jack Ma ที่ถือหุ้นจำนวนหนึ่ง และมีสิทธิ์ออกเสียงเวลาโหวตจำนวนมาก โดยทาง Alibaba นั้นเคยโดนปรับเงินมากถึง 86,400 ล้านบาทมาแล้วในข้อหาผูกขาดตลาด และโดนปรับเงินอีกนับไม่ถ้วนมาแล้ว

นอกจาก Ant Group แล้วทาง Tenpay ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Tencent เองก็ยังโดนปรับเงินด้วย 2,990 ล้านหยวน หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 14,550 ล้านบาท

การปรับเงินมหาศาลทั้ง Ant Group และ Tencent นั้นมีคาดการณ์ว่านี่อาจเป็นการส่งสัญญาณยุติการเข้าปราบปรามกลุ่มเทคโนโลยีในจีนของรัฐบาล ซึ่งส่งผลต่อบริษัทเทคโนโลยีหรือแม้แต่ตลาดหุ้นจีนและยังมีผลต่อเนื่องกับนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา Ant Group เกือบที่จะได้เข้า IPO ในตลาดหุ้น แต่ Jack Ma ได้ไปพูดในงานประชุมแห่งหนึ่งจนสร้างความไม่พอใจให้กับผู้หลักผู้ใหญ่ในหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของประเทศจีน จนทำให้บริษัทไม่สามารถ IPO ในตลาดหุ้น และยังเป็นจุดเริ่มต้นของการปราบปรามกลุ่มเทคโนโลยีในจีน

ที่มา – CNN, CNBC

]]>
1437164
จีนสั่ง Alipay แยกหน่วยธุรกิจ “สินเชื่อรายย่อย” พร้อมโอนดาต้าให้บริษัทที่รัฐร่วมถือหุ้น https://positioningmag.com/1351551 Mon, 13 Sep 2021 08:29:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351551 การกวาดล้างอิทธิพลเหนือตลาดของบริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่แดนมังกรยังไม่จบสิ้น ล่าสุดรัฐบาลจีนสั่งให้ Alipay แยกโปรดักส์สินเชื่อรายย่อย Huabei และ Jiebei มาเป็นแอปฯ เอกเทศ และต้องโอนดาต้าผู้ใช้ทั้งหมดไปอยู่ภายใต้บริษัท JV แห่งใหม่ ซึ่งจะมีรัฐบาลเข้าไปถือหุ้นด้วย

สำนักข่าว Financial Times (FT) รายงานวันนี้ (13 ก.ย. 2021) ว่า รัฐบาลจีนมีคำสั่งให้ Alipay ภายใต้เครือ Ant Group แยกโปรดักส์สินเชื่อ Huabei และ Jiebei ออกเป็นแอปพลิเคชันเอกเทศ จากแต่เดิมทั้งสองโปรดักส์นี้จะเชื่อมโยงข้อมูลอยู่ภายในแอปฯ Alipay

รวมถึง Ant Group จะต้องโอนถ่ายดาต้าลูกค้าทั้งหมดที่ใช้ในการคิดคำนวณ “เครดิตสกอร์” ไปให้บริษัท JV แห่งใหม่ด้วย

FT รายงานจากแหล่งข่าววงในว่า บริษัท JV ดังกล่าวจะมีรัฐบาลถือหุ้นด้วยส่วนหนึ่ง ตรงกันกับการรายงานของ Reuters ก่อนหน้านี้ว่า บริษัทดังกล่าวจะถือหุ้นโดย Ant Group และบริษัท Zhejian Tourism Investment Group เจ้าละ 35% แต่จะเป็นบริษัทที่มีรัฐถือหุ้นด้วย

โปรดักส์ Huabei นั้นมีลักษณะคล้ายกับบัตรเครดิตธนาคาร คือลูกค้าสามารถขอเครดิตไว้ใช้จ่ายในลักษณะนี้ได้ผ่านแอปฯ Alipay ส่วนโปรดักส์ Jiebei นั้นเป็นสินเชื่อรายย่อยระยะสั้นที่ขอได้ในแอปฯ Alipay เช่นกัน วงเงินที่ให้ไม่เกิน 50,000 หยวน (ประมาณ 250,000 บาท)

คำสั่งของรัฐที่ให้แยกผลิตภัณฑ์สินเชื่อออกไปจาก Alipay เป็นผลตามมาจากการตั้งต้นกวาดล้างระบบผูกขาดของบรรดาบริษัทเทคฯ และพยายามขันน็อตป้องกันความปลอดภัยของดาต้าประชาชนจีนให้มากขึ้น

ดูเหมือนว่าอาณาจักร Alibaba จะได้รับผลกระทบเรื่องนี้มากที่สุด รัฐบาลจีนสั่งการให้บริษัทปรับโครงสร้าง แยกโปรดักส์บางตัวออกจากแอปฯ หลัก และเคยสั่งปรับ 18,230 ล้านหยวน (ประมาณ 92,800 ล้านบาท) ข้อหามีอำนาจผูกขาดเหนือตลาด

CNBC รายงานว่า Alibaba ซึ่งเทรดอยู่ในตลาดหุ้นฮ่องกง ราคาร่วงลง 4% หลังมีข่าว Alipay ถูกบีบให้แยกผลิตภัณฑ์สินเชื่อออกไป ทั้งนี้ ตั้งแต่เปิดปี 2021 มา หุ้นของ Alibaba ร่วงลงไป 27% แล้ว

สำนักข่าว FT ยังย้ำด้วยว่า Ant Group จะไม่ใช่ผู้ให้บริการสินเชื่อเจ้าเดียวของจีนที่จะถูกรัฐบาลเข้าไปปรับโครงสร้างให้เหมาะสมกับกฎต่อต้านระบบผูกขาด …ดังนั้น หลังจากนี้กลุ่มบริษัทเทคฯ ด้านการเงินทั้งหมดของจีนคงต้องเตรียมรับแรงกระแทกกันอีกยาว

Source

]]>
1351551
ชาวเน็ตถามหา “เเจ็ค หม่า” หายไปไหน? ท่ามกลางมรสุม Ant Group กับรัฐบาลจีน https://positioningmag.com/1312991 Tue, 05 Jan 2021 11:27:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312991 การหายหน้าหายตาไปนานกว่า 2 เดือนของมหาเศรษฐีจีนชื่อก้องโลกอย่างเเจ็ค หม่ากลายเป็นประเด็นร้อนที่ชาวเน็ตเเละสำนักข่าวทั่วโลกกำลังถามหา

เเจ็ค หม่า สร้างชื่อจากการปลุกปั้นอาณาจักรอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ “Alibaba” เรื่องราวชีวิตของเขา เป็นเเรง
บันดาลใจให้ผู้คน จากครูยากจนสู่คนรวยระดับท็อป 20 ของโลก มีทรัพย์สินกว่า 1.5 ล้านล้านบาท

แม้ในปี 2019 เขาจะลาออกจากตำแหน่งประธานบริหารของ Alibaba ไปแล้ว พร้อมทยอยเทขายหุ้นเรื่อยๆ เพื่อเดินหน้าไปทำงานการกุศล เเต่ก็ยังไม่ได้วางมือจากการดูเเล Ant Group ฟินเทคเจ้าของ ‘Alipay’ แอปพลิเคชันชำระเงินและบริการออนไลน์สุดฮิตของคนจีนที่มีผู้ใช้งานหลายร้อยล้านคน

อนาคตของ Ant Group (เเอนท์ กรุ๊ป) ดูเหมือนจะไปได้สวย เคยถูกประเมินว่าจะดมทุนได้ถึง 3.45 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) ซึ่งเป็นสถิติที่สูงสุดในโลก เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา จนกระทั่งกลายเป็น “IPO ตกสวรรค์หลังถูกรัฐบาลจีน “เบรก” กะทันหันก่อนเปิดขายหุ้นให้เเก่สาธารณชนเพียงไม่กี่วัน ด้วยเหตุว่ามีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน

ความชุลมุนวุ่นวายระหว่าง Ant Group เเละรัฐบาลจีนภายใต้การนำของสีจิ้นผิงจุดประเด็นข้อสงสัยในการไม่ปรากฏตัวของเเจ็ค หม่าในตอนนี้

Ant Group กับการหายตัวของตัวแจ็ค หม่า 

สำนักข่าวต่างประเทศโยงเหตุการณ์ IPO ตกสวรรค์ เข้ากับ “คำพูด” ของแจ็ค หม่า ที่ได้เเสดงความเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์บนเวทีการประชุมในเมืองเซี่ยงไฮ้ เกี่ยวกับ “ระบบธนาคารจีน” อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เขาต้องเสียโอกาสรับทรัพย์มหาศาลไปในพริบตา

โดย แจ็ค หม่า บอกว่าระบบการเงินและกฎระเบียบด้านการเงินของทางการจีนในปัจจุบัน ขัดขวางการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีการเงินของประเทศ ที่จำเป็นต้องมีการ “ปฏิรูป” เพื่อให้มีการเติบโตไปได้

เขายังบอกอีกว่า ธนาคารจีนเป็นเหมือน “โรงรับจำนำ” ที่ต้องใช้หลักประกันมูลค่าสูง ผลคือบางบริษัทต้องตัดสินใจลงทุนให้ใหญ่เกินและต้องห้ามล้มเหลว

มีข่าวลือว่าประธานาธิบดีสีจิ้นผิงไม่ค่อยพอใจที่เเจ็ค หม่าพูดในแง่ลบถึงระบบการเงินของประเทศจีน

เเต่หลายสื่อเห็นว่าคำพูดของเเจ็ค หม่า “ไม่ได้เกินจริง” เพราะธนาคารจีนมักไม่ปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้กู้รายย่อย ทำให้ SMEs จีนไม่ค่อยมีโอกาสลงทุนแบบสมตัวนัก 

นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า ความเคลื่อนไหวของทางการจีน ตีความได้ว่าเป็นการ “สั่งสอน” มหาเศรษฐีแจ็ค หม่า ให้รู้ว่าอำนาจรัฐในการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ  ซึ่งข่าวนี้กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนไม่น้อย เเละอาจมีผลต่อการพิจารณาซื้อหุ้นทั้งของ Ant Group เเละ IPO อื่นๆ ของจีนด้วย เพราะเกรงว่าต่อไปทางการจีนก็อาจเข้ามาเเทรกเเซงเช่นนี้ได้อีก 

โดยความคืบหน้าตอนนี้ Ant Group เพิ่งเริ่มต้นปรับโครงสร้างและรูปแบบธุรกิจของบริษัทให้เป็นไปตามกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับฯ ซึ่งมีกฎระเบียบใหม่สำหรับผู้ประกอบธุรกิจด้านฟินเทค อย่างการให้สินเชื่อส่วนบุคคล 

งานหินของ Ant Group คือการต้องเจรจากับหน่วยงานที่รัฐบาลจีนจัดตั้งขึ้นเพื่อดูเเลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ทั้งผู้ควบคุมระบบการเงิน หน่วยงานของธนาคารกลาง และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ ที่จะเข้ามาอัปเดตเเละรวมรวบข้อมูลต่างๆ ของบริษัท เพื่อนำไปสู่การร่างกฎระเบียบอื่นๆ ในอุตสาหกรรมฟินเทค

Bloomberg เคยคาดการณ์ว่า ร่างกฎระเบียบสำหรับผู้ให้กู้รายย่อย ที่ทางการจีนเพิ่งประกาศออกมาเมื่อเดือนพ.อาจเป็นการบังคับให้ Ant Group ต้องเพิ่มเงินทุนถึง 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้บริษัทผ่านเกณฑ์ข้อกำหนด

นอกจากนี้ Ant Group ยังต้องยื่นขอใบอนุญาตใหม่สำหรับแพลตฟอร์มการให้กู้ยืมขนาดย่อม เบื้องต้นอีก 2 แพลตฟอร์ม อย่าง Huabei และ Jiebei ซึ่งคาดว่าหน่วยงานกำกับฯ ไม่น่าจะอนุมัติใบอนุญาตทั้ง 2 ใบให้กับบริษัทเอกชนที่เป็นเจ้าใหญ่เช่นนี้

ยังไม่หมด Ant Group ยังจะต้องยื่นขอใบอนุญาตบริษัทโฮลดิ้งทางการเงินแยกต่างหากจากธนาคารกลาง เพราะมีการทำงานครอบคลุมส่วนงานการเงินมากกว่า 2 ส่วน ซึ่งก็ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ

อุปสรรคมากมายเหล่านี้ ทำให้การเสนอขายหุ้น IPO ไม่ได้เป็นเเผนการใหญ่ลำดับต้นๆ ของ Ant Group อีกต่อไป (อย่างน้อยก็ในช่วง 2 ปีนี้)

ก่อนสิ้นปี 2020 ยังไม่วายที่ Ant Group จะถูกรัฐบาลจีนซัดอีกรอบ เมื่อรายงานหน่วยงานการเงิน ต้องการจะมากำกับธุรกิจ Ant Group โดยอาจจะถึงขั้นยกเลิกบริการให้เงินกู้และอื่นๆ ให้เหลือเพียงธุรกิจรับชำระเงินเท่านั้น

เมื่อ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา รัฐบาลจีนประกาศสอบสวนบริษัทเเม่ของ Ant Group อย่าง Alibaba ในข้อกล่าวหาว่ามีแนวโน้มผูกขาดอีคอมเมิร์ซในจีน เเละการปล่อยกู้โดยไม่มีหลักประกันผ่านระบบออนไลน์ของ Ant Group อาจส่งผลกระทบต่อระบบธนาคารจีน 

ด้าน Ant Group ยืนยันว่ากำลังอยู่ระหว่างการพูดคุยกับทางหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของจีน เพื่อให้ธุรกิจทำตามหลักการ และเติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้องได้ในอนาคต

การหายตัวไปจากพื้นที่สาธารณะของเเจ็ค หม่าถูกจุดประเด็นขึ้นมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม หลังเขาไม่ได้ไปเข้าร่วมรายการธุรกิจที่เป็นหนึ่งในกรรมการตัดสิน ตามกำหนดออกอากาศเดิม

โดยโฆษกของ Alibaba ชี้แจ้งกับสำนักข่าว Reuters ถึงกรณีที่ไม่ได้มาออกรายการนั้นว่า เป็นเพราะมีปัญหาด้านตารางงานที่ไม่ตรงกัน

หลายคนมองว่า การหายไปของมหาเศรษฐีจีนผู้นี้ อาจเป็นการเก็บตัวเงียบเพื่อต่อรองอะไรบางอย่างกับรัฐบาลจีน หรืออาจจะมีอะไรที่พูดไม่ได้ หรืออาจไม่ได้มีอะไรมากกว่านั้น

และนี่คือคืออัปเดตล่าสุดเกี่ยวกับมหาเศรษฐีเเจ็ค หม่าที่กำลังเป็นปริศนาอยู่ตอนนี้

 

 

ที่มา : Aljazeeranytimes , Reuters , ibtimes 

 

]]>
1312991
Ant Group หืดขึ้นคอ อาจเสนอขาย IPO ไม่เสร็จก่อนปี 2022 หลังทางการจีนเพิ่มกฎคุม “ฟินเทค” https://positioningmag.com/1308322 Mon, 30 Nov 2020 13:09:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308322 IPO ตกสวรรค์อย่าง Ant Group ต้องเหนื่อยยาว เสี่ยงขายไม่ทันปีหน้า เเถมยังอาจต้องรอถึงปี 2022 หลังทางการจีน สั่งยกระดับกฎระเบียบธุรกิจฟินเทคใหม่เกือบทั้งหมด

เเหล่งข่าวของ Bloomberg ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานกำกับดูแลหลักทรัพย์ของจีน ให้ข้อมูลว่า รัฐบาลกำลังพิจารณากฎระเบียบใหม่สำหรับฟินเทค เเละจะยังไม่ได้ข้อสรุปในเร็ววันนี้

นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้การเสนอขายหุ้น IPO ของ Ant Group ไม่น่าจะแล้วเสร็จก่อนปี 2022 

ก่อนหน้านี้ Ant Group (เเอนท์ กรุ๊ปบริษัทเทคโนโลยีการเงิน เจ้าของ ‘Alipay’ ในเครือ Alibaba ของมหาเศรษฐีเเจ็ค หม่าเคยถูกประเมินว่าจะดมทุนได้ถึง 3.45 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นสถิติที่สูงสุดในโลก ก่อนจะถูกทางการจีนเบรกกะทันหันก่อนเปิดขายหุ้นให้เเก่สาธารณชนเพียงไม่กี่วัน ด้วยเหตุว่ามีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน

เเต่สำนักข่าวต่างประเทศ โยงเหตุการณ์นี้เข้ากับ “คำพูด” ของแจ็ค หม่า ที่ได้เเสดงความเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ “ระบบธนาคารจีนอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เขาต้องเสียโอกาสรับทรัพย์มหาศาลครั้งนี้ไปในพริบตา

อ่านต่อ : ทำไม Ant Group ของเเจ็ค หม่า กลายเป็น “IPO ตกสวรรค์หลังจีนเบรกระดมทุนสูงสุดในโลก

โดยความคืบหน้าตอนนี้ Ant Group เพิ่งเริ่มต้นปรับโครงสร้างและรูปแบบธุรกิจของบริษัทให้เป็นไปตามกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับฯ ซึ่งมีกฎระเบียบใหม่สำหรับผู้ประกอบธุรกิจด้านฟินเทค อย่างการให้สินเชื่อส่วนบุคคล 

งานหินของ Ant Group ก็คือการต้องเจรจากับหน่วยงานที่รัฐบาลจีนจัดตั้งขึ้นเพื่อดูเเลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ทั้งผู้ควบคุมระบบการเงิน หน่วยงานของธนาคารกลาง และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ ที่จะเข้ามาอัปเดตเเละรวมรวบข้อมูลต่างๆ ของบริษัท เพื่อนำไปสู่การร่างกฎระเบียบอื่นๆ ในอุตสาหกรรมฟินเทค

Bloomberg ระบุว่า ร่างกฎระเบียบสำหรับผู้ให้กู้รายย่อยที่ทางการจีนเพิ่งประกาศออกมาเมื่อเดือนพ.. อาจเป็นการบังคับให้ Ant Group ต้องเพิ่มเงินทุนถึง 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้บริษัทผ่านเกณฑ์ข้อกำหนด

นอกจากนี้ Ant Group ยังต้องยื่นขอใบอนุญาตใหม่สำหรับแพลตฟอร์มการให้กู้ยืมขนาดย่อม เบื้องต้นอีก 2 แพลตฟอร์มอย่าง Huabei และ Jiebei ซึ่งคาดว่าหน่วยงานกำกับฯ ไม่น่าจะอนุมัติใบอนุญาตทั้ง 2 ใบให้กับบริษัทเอกชนที่เป็นเจ้าใหญ่เช่นนี้

ยังไม่หมด Ant Group ยังจะต้องยื่นขอใบอนุญาตบริษัทโฮลดิ้งทางการเงินแยกต่างหากจากธนาคารกลาง เพราะมีการทำงานครอบคลุมส่วนงานการเงินมากกว่า 2 ส่วน ซึ่งก็ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ ในเรื่องนี้

อุปสรรคมากมายเหล่านี้ ทำให้การเสนอขายหุ้น IPO ไม่ได้เป็นเเผนการใหญ่ลำดับต้นๆของ Ant Group อีกต่อไป (อย่างน้อยก็ในช่วง 1-2 ปีนี้)

 

ที่มา : bloomberg , techinasia

]]>
1308322
ทำไม Ant Group ของเเจ็ค หม่า กลายเป็น “IPO ตกสวรรค์” หลังจีนเบรก “ระดมทุน” สูงสุดในโลก https://positioningmag.com/1304436 Wed, 04 Nov 2020 10:30:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304436 ช็อกนักลงทุนทั่วโลก หลัง Ant Group ฟินเทคในเครือ Alibaba ของเเจ็ค หม่าต้องกลายเป็น “IPO ตกสวรรค์โดนเบรกจนต้องระงับแผนเปิดขายหุ้นให้กับสาธารณชนเป็นครั้งแรก ในตลาดหลักทรัพย์ของเซี่ยงไฮ้กับเขตปกครองพิเศษฮ่องกง จากเดิมที่มีกำหนดในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้

Ant Group (เเอนท์ กรุ๊ปเป็นบริษัทเทคโนโลยีการเงิน (ฟินเทค) เจ้าของ ‘Alipay’ ในเครือของ Alibaba ที่คาดว่าจะสามารถระดมทุนได้ถึง 3.45 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นสถิติที่สูงสุดในโลก

การตัดสินใจเบรก IPO ครั้งประวัติศาสตร์ มีขึ้นหลังจากที่ทางคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์ของจีน ได้เรียกตัวทีมผู้บริหารระดับสูงของ Ant Group อย่าง แจ็ค หม่าอีริค จิง และไซมอน หู่ “เข้าพบเพื่อสอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดเเละเงื่อนไขของแผน IPO ดังกล่าว

จากนั้นไม่นาน ตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ ออกเเถลงการณ์ว่า มีคำสั่งระงับแผน IPO ของ Ant Group ในตลาด STAR Market เนื่องจากทีมผู้บริหารได้ชี้แจงกับทางคณะกรรมการว่ามีการเปลี่ยนแปลงในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการกำกับดูแลเทคโนโลยีทางการเงิน ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ Ant Group จะไม่ผ่านเกณฑ์การเปิดขายหุ้น และการเปิดเผยข้อมูลตามระเบียบข้อบังคับที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่

ตามมาด้วยความเคลื่อนไหวของ Ant Group ที่ออกมากล่าวขอโทษต่อสิ่งที่เกิดขึ้น รวมถึงตลาดหุ้นของฮ่องกงก็ต้องยกเลิกการเข้าซื้อขายหุ้นวันแรกด้วย พร้อมให้คำมั่นว่า บริษัทจะเดินหน้าจัดการปัญหาที่ทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ในเซี่ยงไฮ้และฮ่องกง “วิตกกังวล” ต่อไป

การถูกระงับ IPO ในนาทีสุดท้าย สร้างผลกระทบต่อราคาหุ้นของบริษัทเเม่อย่าง Alibaba ทันที หลังมีกระเเสข่าวนี้ออกมา ทำให้ราคาหุ้นร่วงถึง 9% ในช่วงเปิดตลาดหุ้นของสหรัฐฯ โดย Alibaba เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน Ant Group มากถึง 33% 

Bloomberg Billionaires Index ระบุว่า แจ็ค หม่า ต้องสูญเสียความมั่งคั่งเป็นวงเงินสูงเกือบ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9.3 หมื่นล้านบาท) เลยทีเดียว

ด้าน Alibaba ออกมาชี้เเจงว่า บริษัทจะให้การสนับสนุนทุกทางกับ Ant Group เพื่อเดินหน้าปรับเปลี่ยนและปฏิบัติตามกฎของทางคณะกรรมการฯ เเละเชื่อมั่นว่า Ant Group จะสามารถเเก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

แม้เหตุผลที่ถูกเปิดเผยคือ IPO ของ Ant Group มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนสำหรับการซื้อขายที่ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้และฮ่องกงตามกฎระเบียบที่เพิ่งปรับใหม่ 

เเต่สำนักข่าวต่างประเทศ โยงเหตุการณ์นี้เข้ากับคำพูดของแจ็ค หม่า ที่ได้เเสดงความเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับระบบธนาคารจีน” บนเวทีฟอรัมการเงินในเซี่ยงไฮ้ เมื่อช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ว่าอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เขาต้องเสียโอกาสรับทรัพย์มหาศาลครั้งนี้ไปในพริบตา

(Photo by Sean Gallup/Getty Images)

โดย แจ็ค หม่า บอกว่าระบบการเงินและกฎระเบียนด้านการเงินของทางการจีนในขณะนี้ ขัดขวางการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีการเงินของประเทศ ที่จำเป็นต้องมีการปฏิรูปเพื่อให้มีการเติบโตไปได้

เขายังบอกอีกว่า ธนาคารจีนเป็นเหมือนโรงรับจำนำที่ต้องใช้หลักประกันมูลค่าสูง ผลคือบางบริษัทต้องตัดสินใจลงทุนให้ใหญ่เกินและต้องห้ามล้มเหลว

หลายสื่อเห็นว่าคำพูดของเเจ็ค หม่าไม่ได้เกินจริงเพราะธนาคารจีนมักไม่ปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้กู้รายย่อย ทำให้ SMEs จีนไม่ค่อยมีโอกาสลงทุนแบบสมตัวนัก 

นักวิเคราะห์บางส่วน มองว่า ความเคลื่อนไหวของทางการจีน อาจตีความได้ว่าเป็นการสั่งสอนมหาเศรษฐี
แจ็ค หม่า ให้รู้ว่าอำนาจรัฐในการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ  ซึ่งกระเเสข่าวนี้กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนไม่น้อย เเละอาจมีผลต่อการพิจารณาซื้อหุ้นทั้งของ Ant Group เเละ IPO อื่นๆ ของจีนด้วย เพราะเกรงว่าต่อไปทางการจีนก็อาจเข้ามาเเทรกเเซงเช่นนี้ได้อีก 

ด้านนักวิเคราะห์อีกส่วนหนึ่งมองว่า ความเคลื่อนไหวของทางคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์จีนไปในทิศทางเดียวกันกับรัฐบาลปักกิ่ง ที่ไม่ค่อยสบายใจกับการที่ธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ ในจีน เริ่มหันมาปล่อยกู้ให้รายย่อยมากขึ้น รวมไปถึงกลุ่ม Non-Bank ที่เป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยีอย่าง Ant Group ด้วย เพราะหวั่นว่าจะเกิดหนี้เสีย ซึ่งจะกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน หลังวิกฤต COVID-19

 

 

ที่มา : CNBC , Reuters , financial times, BBC

 

]]>
1304436
‘Ant Group’ เจ้าของ ‘Alipay’ ทุบสถิติระดมทุนสูงสุดในโลกที่ ‘3.4 หมื่นล้านดอลลาร์’ https://positioningmag.com/1303195 Tue, 27 Oct 2020 04:42:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303195 หลายคนคงรู้จักกับ ‘อาลีบาบา’ (Alibaba) อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของจีน แต่น้อยคนที่จะรู้จักกับ ‘เอนท์ กรุ๊ป’ (Ant Group) บริษัทเทคโนโลยีการเงินหรือฟินเทคซึ่งเป็นบริษัทลูกของอาลีบาบา ที่ปัจจุบัน Ant Group กำลัง IPO ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ โดยคาดว่าจะสามารถระดมทุนได้ 3.45 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นสถิติที่สูงสุดในโลก

Ant Group ระบุว่าจะแบ่งการออกหุ้นอย่างเท่าเทียมกันในเซี่ยงไฮ้และฮ่องกง โดยออกหุ้นใหม่ 1.67 พันล้านหุ้นในแต่ละแห่ง ขณะที่หุ้นที่ในเซี่ยงไฮ้ของ Ant Group จะมีราคาอยู่ที่ 68.8 หยวนต่อหุ้น ดังนั้น การออกหุ้นจำนวน 1.67 พันล้านหุ้นจะเพิ่มรายได้ 1.723 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนหุ้นจดทะเบียนในฮ่องกงมีราคาหุ้นละ 80 ดอลลาร์ฮ่องกง จะเพิ่มรายได้ 1.724 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมกันทั้งหมดกว่า 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากมูลค่าดังกล่าว ส่งผลให้เป็นการระดมทุนที่สูงสุดตลอดกาล แซงหน้าบริษัท Saudi Aramco เจ้าของสถิติคนก่อนซึ่งระดมทุนได้มากกว่า 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และจากการระดมทุนดังกล่าว ส่งผลให้มูลค่าบริษัทของ Ant Group อยู่ที่ 3.1337 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าธนาคารที่ใหญ่ที่สุดบางแห่งในสหรัฐฯ รวมถึง Goldman Sachs และ Wells Fargo

อ่าน >>> บริษัทน้ำมัน Saudi Aramco ทำสถิติใหม่มูลค่า IPO สูงสุดในโลก เเซง “อาลีบาบา”

ทั้งนี้ Ant Group คาดว่าจะเริ่มซื้อขายในฮ่องกงในวันที่ 5 พฤศจิกายนตามการยื่นเรื่องกฎระเบียบ แต่บริษัทยังไม่เปิดเผยว่าหุ้นเซี่ยงไฮ้จะเริ่มซื้อขายเมื่อใด

Source

]]>
1303195
ไม่รอด! อินเดียประกาศแบน PUBG, Baidu และ Alipay ตามหลัง ‘TikTok’ https://positioningmag.com/1295294 Thu, 03 Sep 2020 04:32:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1295294 หลังจากที่มีการปะทะกันระหว่างทหารอินเดียและจีนในบริเวณชายแดนในเดือนมิถุนายน ส่งผลให้รัฐบาลอินเดียได้สั่งแบนแอปพลิเคชันจากจีนรวมกว่า 59 รายการ เนื่องจากข้ออ้างด้านความมั่นคง โดยแอปฯ ยอดนิยมอย่าง TikTok และ WeChat ก็โดนไปด้วย

ล่าสุด สถานการณ์บริเวณชายแดนร้อนขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาจีนกล่าวหาว่ากองกำลังของอินเดียล่วงละเมิดดินแดนของจีนในเทือกเขาหิมาลัยอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งอีกครั้ง ส่งผลให้อินเดียได้สั่งแบนแอปฯ ของจีนอีกครั้งเพิ่ม 118 แอป ด้วยสาเหตุมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มีอคติต่ออำนาจอธิปไตยและบูรณภาพของอินเดียการปกป้องอินเดียความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยของประชาชน

สำหรับการแบนครั้งนี้ มีหลายแอปที่เป็นที่นิยมในอินเดีย อาทิ ‘PUBG’ (PlayerUnknown’s Battlegrounds) ของ Tencent ซึ่งเป็นเกมมือถืออันดับต้นในอินเดีย นอกจากนี้ยังแบน Baidu และ Alipay ซึ่งเป็นเสิร์ชเอนจิ้นยักษ์ใหญ่ของจีน และแอปชำระเงินผ่านมือถือจาก Ant Group ซึ่งเป็นบริษัทในเครือทางการเงินของ Alibaba (BABA) ของ Jack Ma

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นสัญญาณล่าสุดว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียและจีนกำลังดำเนินไปอย่างเลวร้าย ทั้งสองประเทศซึ่งเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ทั้งสองมีความขัดแย้งกันมากขึ้นนับตั้งแต่เกิดการปะทะกันทางชายแดนในเดือนมิถุนายน เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ทหารอินเดียเสียชีวิต 20 นาย ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดเข้าสู่ความสัมพันธ์ทางการค้าซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 80,000 ล้านดอลลาร์ระหว่างสองมหาอำนาจที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

Source

]]>
1295294
Starbucks คว้าโอกาสเจาะตลาดจีน ช่วงเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ขยาย “เดลิเวอรี่” ผ่าน 4 แอปฯ Alibaba https://positioningmag.com/1288738 Tue, 21 Jul 2020 08:42:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288738 แบรนด์กาแฟยอดนิยม Starbucks รุกจับตลาดออนไลน์หลังเศรษฐกิจจีนเริ่มฟื้นตัว ร่วมกับ Alibaba อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ ขยายให้บริการเดลิเวอรี่ไปอีก 4 เเพลตฟอร์มผ่าน Taobao , แอปพลิเคชันแผนที่ Amap , เเอปฯ บริการในท้องถิ่น Koubei รวมถึงแอปฯ ชำระเงินออนไลน์อย่าง Alipay เพิ่มความสะดวกสบายให้กับคอกาแฟชาวจีน

บริการเสริมเหล่านี้ จะช่วยให้ Starbucks เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคชาวจีนมากขึ้น ผ่านหลายช่องทางของอาลีบาบาที่มีฐานผู้ใช้เกือบ 1 พันล้านราย” Alibaba ระบุในแถลงการณ์ ทั้งนี้ ลูกค้าที่ซื้อเครื่องดื่มผ่าน Alipay และ Koubei สามารถเลือกวิธีการจัดส่งได้อีกด้วย

Starbucks เริ่มปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่ จัดบริการส่งกาแฟและขนมถึงมือลูกค้าแบบรวดเร็วทันใจ พลิกวิกฤตยอดขายหน้าร้านที่เริ่มลดลง โดยเปิดให้บริการสั่งเครื่องดื่มแบบเดลิเวอรี่ในจีนครั้งแรก ตั้งแต่ปี 2018 ผ่านแอปพลิเคชัน Ele.me บริษัทลูกของ Alibaba ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรับส่งอาหารในประเทศ เพื่อเเข่งขันกับคาเฟ่เจ้าอื่นที่หันมาเน้นการจัดส่งเดลิเวอรี่กันมากขึ้น

ความเคลื่อนไหวของ Starbucks ในการขยายบริการเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของ Alibaba ในครั้งนี้ มีเป้าหมายจะเจาะตลาดผู้บริโภคจีนที่กำลังเติบโตกว่าประเทศอื่น โดยคาดว่ากำลังซื้อของชาวจีนจะฟื้นตัวอีกครั้ง ในช่วงเดือนก..นี้ หลังสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย

ขณะเดียวกันก็เป็นการคว้าโอกาสครั้งสำคัญ ในยามที่คู่เเข่งท้องถิ่นอย่าง Luckin Coffee ที่มีร้านสาขาในจีนมากกว่า แต่ตอนนี้กำลังเจอมรสุม เพราะธุรกิจกำลังสั่นคลอน จากกรณีอื้อฉาวที่มีการฉ้อโกงภายในองค์กร เเละมีคดีทุจริตเรื่องการตกเเต่งบัญชีหลายคดี

ในช่วงเดือนพ..ที่ผ่านมา Starbucks เปิดตัวมินิโปรแกรมกับ Tencent อีกหนึ่งยักษ์ธูรกิจในจีน คู่เเข่งสำคัญของ Alibaba เพื่อขยายหาลูกค้าใน WeChat ซึ่งอนุญาตการเข้าถึงสิทธิ์การเป็นสมาชิกและบริการเดลิเวอรี่ของ Starbucks

เห็นได้ชัดว่าช่วงนี้ เเบรนด์ชั้นนต่างๆ พยายามกระตุ้นยอดขายในช่วงที่เศรษฐกิจจีนกำลังฟื้นตัวจากผลกระทบของ COVID-19 ที่ต้องปิดกิจการชั่วคราวตามมาตรการล็อกดาวน์ โดยบริษัทใหญ่ในสหรัฐฯ มองว่าจีนเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการเติบโตหลังวิกฤต เเม้จะต้องมองข้ามความตึงเครียดทางการเมืองเเละสงครามการค้าระหว่างรัฐบาลจีนกับสหรัฐฯ ก็ตาม

ที่มา : Reuters

]]>
1288738
“อาลีเพย์” ใช้เทคโนโลยี AI และ VR ให้บริการคัดแยกขยะ คนจีนแห่ใช้แล้วกว่า 3 ล้านคน https://positioningmag.com/1239644 Fri, 19 Jul 2019 07:41:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1239644 ล้ำหน้าไปอีกขั้นเมื่อแอปพลิเคชั่นอาลีเพย์ (Alipay) แพลตฟอร์มบริการทางการเงินบนโทรศัพท์มือถือในเครืออาลีบาบา ประยุกต์เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) และ เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (Virtual reality: VR) สร้างโปรแกรมคัดแยกขยะ

จากรายงานระบุว่า ผู้ใช้งานแอปพลิเคชั่นสามารถระบุประเภทของขยะได้ด้วยการใช้โทรศัพท์มือถือสแกนภาพ โดยระบบประมวลผลจะแจ้งประเภทของขยะให้ทราบในไม่กี่วินาทีเท่านั้น 

นับตั้งแต่การเปิดตัวบริการดังกล่าวเมื่อต้นเดือน .. ที่ผ่านมา มีผู้ใช้บริการโปรแกรมคัดแยกขยะแล้วกกว่า 3 ล้านคน โดยโปรแกรมคัดแยกขยะสามารถจำแนกขยะได้มากกว่า 4,000 ชนิด โดยที่ผ่านมา เปลือกกุ้ง แผ่นมาสก์หน้า เปลือกเมล็ดทานตะวันและก้านสำลีเป็นขยะที่ถูกสแกนมากที่สุด

นับจากช่วงเริ่มต้นศตวรรษนี้ จีนได้รณรงค์ให้ประชาชนแยกประเภทของขยะในครัวเรือนโดยความสมัครใจ แม้จะมีประชาชนจำนวนมากขึ้นที่ตระหนักถึงความสำคัญของการแยกประเภทขยะ แต่ผลลัพธ์ก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก

กระทรวงที่อยู่อาศัยและการพัฒนาเมืองและชนบท (Ministry of Housing and Urban-rural Development) เปิดเผยว่า จีนจะใช้เงินจำนวน 2.13 หมื่นล้านหยวน หรือราว 1.65 แสนล้านบาทในการลงทุนสร้างระบบการคัดแยกขยะให้สอดคล้องกับความต้องการในประเทศ

เมื่อช่วงต้นเดือน รัฐบาลจีนได้เวียนคำสั่งให้ทุกเมืองในประเทศจะต้องสร้างระบบการจัดการและคัดแยกขยะให้สมบูรณ์ภายในปี 2568.

Source

]]>
1239644