Tag: Economics
เลือกตั้งออสเตรเลีย … กับปัจจัยท้าทายทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้
ภายหลังจากการเข้ารับตำแหน่งเพียงเดือนเศษ นางจูเลีย กิลลาร์ด นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของออสเตรเลียจากพรรคแรงงานได้ประกาศวันเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 21 สิงหาคม โดยเธอจะต้องเผชิญกับการแข่งขันจากคู่แข่งคนสำคัญคือ นายโทนี แอบบ็อท จากพรรคเสรีนิยม ท่ามกลางความไม่แน่นอนในประเด็นนโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะร่างกฎหมายภาษีกิจการแร่ฉบับใหม่ ซึ่งเคยเป็นชนวนให้นายเควิน รัดด์ นายกรัฐมนตรีคนเก่าจากพรรคแรงงานต้องลาออกจากตำแหน่งมาแล้ว ก่อนการลาออกจากตำแหน่ง นายเควิน รัดด์ เคยเสนอร่างกฎหมายภาษีฉบับใหม่ที่จะจัดเก็บกับบริษัทที่ประกอบกิจการแร่ในออสเตรเลีย ได้แก่ร่างกฎหมาย “Resource Super Profit Tax”...
ตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือนมิ.ย. … บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวหลังมรสุมการเมือง
ภาพรวมตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดเดือนมิถุนายน 2553 ที่รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สะท้อนถึง ความเบาบางลงของผลกระทบทางการเมืองที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทย โดยการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งการบริโภค-การลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการผลิตภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวได้พร้อมกันอย่างแข็งแกร่ง เช่นเดียวกับภาคการส่งออกของไทยที่ทุบสถิติด้วยมูลค่าที่สูงเป็นประวัติการณ์ และทำให้ไทยบันทึกยอดเกินดุลการค้าในระดับที่สูงถึง 2.5 พันล้านดอลลาร์ฯ กระนั้นก็ดี รายได้จากการท่องเที่ยวที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างเต็มที่ และการส่งกลับผลประโยชน์จากการลงทุนออกนอกประเทศ ได้ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดบันทึกยอดเกินดุลในระดับที่ต่ำกว่าเพียง 0.68 พันล้านดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยทำการสรุปประเด็นสำคัญจากเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนมิถุนายน 2553 และประเมินในเบื้องต้นว่า...
ตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือนพ.ค…สะท้อนผลกระทบทางการเมืองที่จำกัด
ภาพรวมตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดเดือนพฤษภาคม 2553 ที่รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สะท้อนถึง ผลกระทบที่เบาบางลงของปัจจัยทางการเมืองที่มีต่อการใช้จ่ายภายในประเทศ แต่สร้างแรงกดดันที่มากขึ้นต่อภาคการท่องเที่ยว และการผลิตภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี สถานการณ์ทางการเมืองที่ดีขึ้นตามลำดับหลังการประกาศยุติการชุมนุมในย่านราชประสงค์ น่าที่จะทำให้ความเสี่ยงทางการเมืองลดระดับลง และเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยน่าที่จะมีทิศทางที่ฟื้นตัวขึ้นได้ในช่วงเดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังของปี อาจส่งผลให้สถานการณ์ของภาคการส่งออกสะท้อนภาพที่กลับกัน หลังจากที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยทำการสรุปประเด็นสำคัญจากเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนพฤษภาคม 2553 และประเมินภาพแนวโน้มในระยะถัดไปไว้ดังนี้ :- การใช้จ่ายภายในประเทศได้รับผลกระทบที่จำกัดจากปัญหาการเมือง สถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่ผ่อนคลายลงตั้งแต่ในช่วงกลางเดือนพ.ค.2553 ส่งผลทำให้เครื่องชี้ด้านการใช้จ่ายภายในประเทศไม่มีลักษณะที่ไถลลงแบบในช่วงเดือนเม.ย....
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับใหม่ของมาเลเซีย…โอกาสและปัจจัยท้าทายต่อไทย
แผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี (ปี 2553-2558) ฉบับใหม่ของมาเลเซียที่มีมูลค่ากว่า 6.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ อาจจะส่งผลดีและความท้าทายต่อเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะในด้านการส่งออกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมาเลเซียเป็นประเทศที่มีมูลค่าการค้าชายแดนกับไทยสูงที่สุดจากจำนวนเพื่อนบ้าน 4 ประเทศและเป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดของไทยในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ การเปิดเสรีการค้าการลงทุนภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่กำลังจะยกระดับเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการและเงินลงทุน ได้อย่างเสรียิ่งขึ้นภายในกลุ่มอาเซียน ย่อมสร้างโอกาสให้สินค้าไทยโดยการใช้สิทธิ AFTA เจาะตลาดมาเลเซียได้มากขึ้น แต่ในทางกลับกันขีดความสามารถการแข่งขันของมาเลเซียที่อาจเพิ่มขึ้นภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจที่จะสิ้นสุดในปี...
เศรษฐกิจจีนยังต้องเผชิญหลายปัจจัยลบ …แม้คาดว่าจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องในครึ่งหลังปี 2553
แม้ว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจจีน (Leading Economic Index) เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 เดือน มาอยู่ที่ 147.1 ในเดือนเมษายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 (MoM) เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 ในเดือนมีนาคม (MoM) ซึ่งสะท้อนถึงการรักษาการขยายตัวทางเศรษฐกิจไว้ได้ในขณะที่เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้สินในยุโรป แต่คาดว่าในระยะต่อไป เศรษฐกิจจีนยังคงต้องเผชิญปัจจัยลบหลายด้านทั้งจากภาคส่งออกของจีนที่อาจเผชิญภาวะอ่อนแรงจากปัญหาหนี้ในยุโรป รวมถึงเศรษฐกิจภายในเองที่มีแนวโน้มชะลอลงตามมาตรการควบคุมความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของทางการจีน หลังจากที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในจีนได้เริ่มชะลอลงในเดือนพฤษภาคม อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่า...
คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ของญี่ปุ่น … กับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายใต้ปัจจัยท้าทายหลายด้าน
ประเด็นการย้ายฐานทัพฟูเตมมะของสหรัฐฯ บนเกาะโอกินาวา กลายเป็นชนวนปัญหานำมาสู่การลาออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นายยูคิโอะ ฮาโตยามะ ในวันที่ 2 มิถุนายน ที่ผ่านมา การลาออกเกิดขึ้นท่ามกลางแรงกดดันจากปัญหาความเชื่อมั่นของประชาชน เนื่องจากการไม่สามารถหาข้อสรุปในการย้ายฐานทัพฟูเตมมะของสหรัฐฯ ออกไปตามที่ได้กล่าวไว้ตอนหาเสียงเลือกตั้งได้ นอกจากนั้น ยังมีแรงกดดันจากปัญหาทุจริตคอรัปชัน นอกจากนั้นการที่พรรคสังคมประชาธิปไตย หรือพรรค SDP ซึ่งเป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล 3 พรรคได้ถอนตัวออกไป ยิ่งเพิ่มแรงกดดันมากขึ้นจนนำไปสู่การตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในที่สุด การตัดสินใจลาออกของนายฮาโตยามะ ตามมาด้วยการลาออกของคณะรัฐมนตรีทั้งชุดในวันที่...
ตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือนเม.ย…เริ่มสะท้อนผลกระทบจากปัญหาการเมือง
ภาพรวมตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดเดือนเมษายน 2553 ที่รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สะท้อนถึง ภาวะการชะลอลงของเครื่องชี้เศรษฐกิจในหลายภาคส่วน โดยการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการผลิตภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองที่เริ่มปะทุขึ้นในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2553 และเพิ่มระดับความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ขณะที่ การขยายตัวของภาคการส่งออกชะลอตัวเล็กน้อย หลังจากที่ขยายตัวค่อนข้างสูงในช่วงหลายเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยทำการสรุปประเด็นสำคัญจากเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนเมษายน 2553 และประเมินภาพแนวโน้มในระยะถัดไปไว้ดังนี้ :- การบริโภคภาคเอกชนเดือนเม.ย. 2553 พลิกกลับมาหดตัวร้อยละ 0.9...
เศรษฐกิจสหรัฐฯอาจเผชิญปัจจัยเสี่ยงหากปัญหาหนี้สินในยุโรปยืดเยื้อและรุนแรงมากขึ้น….กดดันการส่งออกของไทยไปตลาดสหรัฐฯ
แม้การส่งออกของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯและสหภาพยุโรปในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2553 ยังคงขยายตัวได้ร้อยละ 20.3 และร้อยละ 22.71 ตามลำดับ แต่แนวโน้มการส่งออกของไทยไปยังตลาดดังกล่าวในช่วงที่เหลือของปีอาจได้รับแรงกดดันให้ชะลอลงหากปัญหาวิกฤตหนี้ของยุโรปลุกลามและยืดเยื้อซึ่งจะฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจสหภาพยุโรปให้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้และกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจส่งผลทางอ้อมไปสู่สหรัฐฯในภาวะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯเองในปีนี้ก็ยังมีการฟื้นตัวอย่างไม่มั่นคงนัก ทำให้การส่งออกของไทยไปยังสหรัฐฯอาจได้รับผลกระทบในที่สุด คาดว่าผลกระทบครั้งนี้คงจะเห็นผลชัดเจนขึ้นในไตรมาสที่ 3 เป็นต้นไป โดยมีประเด็นสำคัญสรุปได้ ดังนี้ วิกฤตหนี้ภาครัฐบาลของยุโรปในครั้งนี้ส่งผลให้เศรษฐกิจยุโรปยังคงเปราะบาง วิกฤตหนี้ของยุโรปเริ่มจากกรีซได้ลุกลามไปยังประเทศอื่นๆในยุโรปที่มีฐานะการคลังอ่อนแอหลายประเทศ เช่น ไอร์แลนด์ โปรตุเกส อิตาลี และสเปน...
เบเคอร์ ทิลลี่ คาดวิกฤติเศรษฐกิจโลกไม่กระเตื้องครึ่งปีหลัง
บริษัท เบเคอร์ ทิลลี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เปิดตัวรายงาน “Global Market 2010 - the Facts” จัดทำโดยบริษัท Global Markets Asia โดยมีเบเคอร์ ทิลลี่สนับสนุนในการจัดทำ ซึ่งรายงานฉบับดังกล่าวเป็นรายงานวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยเจาะลึกประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์ความเป็นจริงของตลาดโลกปี 2553 ที่หลายคนคาดไม่ถึง คุณยรรยง ตันติวิรมานนท์...
เหตุการณ์ 19 พ.ค. อาจฉุดจีดีพีไตรมาส 2 หดตัวกว่า 5% จากไตรมาสแรก
แม้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1/2553 มีอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบเกือบ 15 ปีที่ระดับร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year) และสามารถฟื้นตัวกลับมามีขนาดเศรษฐกิจเท่ากับช่วงก่อนหน้าการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยของโลกในปี 2551 ได้ในที่สุด แต่ก้าวย่างนับจากไตรมาสที่ 2/2553 เป็นต้นไป เศรษฐกิจและภาคธุรกิจของไทยคงต้องเผชิญความยากลำบากในการฟันฝ่ามรสุมร้ายจากวิกฤตการเมืองในประเทศที่รุนแรงกว่าครั้งที่ผ่านๆ มา โดยเฉพาะเหตุการณ์หลังยุติการชุมนุมที่ย่านราชประสงค์ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ที่เผาผลาญศูนย์กลางธุรกิจและการค้าหลายแห่งในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่สำคัญ...