Wednesday, December 18, 2024
Home Tags Economics

Tag: Economics

แนวโน้มอุตสาหกรรมปี 2548 … ปัจจัยลบเพิ่มขึ้น แต่ยังได้แรงหนุนจากวัฏจักรการลงทุน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมไทยและปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อภาวะอุตสาหกรรมของไทยในปี 2548 โดยสรุปภาพรวมของอุตสาหกรรมในปี 2548 คาดว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามภาวะอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไทยยังได้รับผลบวกจากวัฏจักรการลงทุน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ณ ราคาคงที่ (ปีฐาน 2531) จะมีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 6.0 ชะลอลงจากปี 2547 ที่คาดว่าขยายตัวประมาณร้อยละ 7.9 ระดับการผลิตที่ยังคงเพิ่มขึ้นคาดว่าจะผลักดันให้อัตราการใช้กำลังผลิตของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้นมามีระดับโดยเฉลี่ยที่ประมาณ 76.2% ในปี 2548 จากระดับเฉลี่ย 72.7%...

ยางพาราปี’48 : ปัจจัยพึงระวัง…ความต้องการชะลอตัว

ยางพารานับว่าเป็นสินค้าเกษตรที่โดดเด่นอย่างมากในปี 2547 เนื่องจากราคาที่อยู่ในเกณฑ์สูงเป็นประวัติการณ์ นับเป็นแรงจูงใจให้ในปี 2548 ปริมาณการผลิตยางมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามปัจจัยพึงระวังคือ ความต้องการยางของประเทศผู้ผลิตยางสำคัญมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะจีน อันเป็นผลมาจากนโยบายชะลอตัวของการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ รวมทั้งปัญหาราคาส่งออกยางของไทยอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งขัน ดังนั้นคาดว่าการส่งออกยางพาราในปี 2548 จะมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลง การผลิตยางในตลาดโลกในปี 2548 คาดว่าจะมีประมาณ 8.82 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการกรีดยาง...

เศรษฐกิจจีนปี 2548 ชะลอตัว : ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

บทนำ เศรษฐกิจจีนในปี 2547 เริ่มต้นด้วยความร้อนแรงหลังจากที่เติบโตในอัตราสูงถึงร้อยละ 11.5 เมื่อปี 2546 ทำให้ธุรกิจหลายประเภท เช่น ยานยนต์ เหล็ก อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น เริ่มส่งสัญญาณฟองสบู่เนื่องจากภาวะอุปทานขยายตัวในอัตราสูงกว่าภาวะอุปสงค์เป็นอย่างมาก ดังนั้น ทางการจีนจึงได้เริ่มออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุมการเติบโตของธุรกิจดังกล่าว ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมของจีนเริ่มลดลงเป็นลำดับ และส่งผลให้ภาวะเงินเฟ้อค่อย ๆ ผ่อนคลายลง โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนได้ขยายตัวในอัตราที่ลดลงอย่างชัดเจนในเดือนตุลาคม 2547...

คลื่นยักษ์”สึนามิ” : ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยปีวอกปิดฉากไม่สดใส ถูกคลื่นยักษ์”สึนามิ”ถล่มเข้าใส่ 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามัน( ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง ตรังและสตูล )อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของไทยเสียหายครั้งร้ายแรงที่สุดอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งผลกระทบดังกล่าวจะส่งต่อไปสู่ปีไก่ 2548 ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ เนื่องจาก 6 จังหวัดที่ถูกคลื่นยักษ์”สึนามิ”ถล่มเป็นจังหวัดที่สร้างรายได้ด้านธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและโรงแรมอีกมากมาย อาทิ ภัตตาคาร ร้านอาหาร ร้านค้าของที่ระลึก/ของชำร่วย เป็นต้น โดยทั้ง...

สึนามิ : พลิกผันบรรยากาศฉลองเทศกาลปีใหม่คนกรุงฯ

บรรยากาศการท่องเที่ยวของไทยในช่วงปลายปี 2547 ที่มีแนวโน้มคึกคักขึ้นตามลำดับได้ถูกพลิกผันไปทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์ หรือที่เรียกกันว่า สึนามิ ถล่มแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลแถบฝั่งอันดามันเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ซึ่งสร้างความเสียหายรุนแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประเทศไทย โดยก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในพื้นที่ นักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศ และผู้ประกอบการในธุรกิจต่างๆซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยว รวมทั้งความเสียหายในด้านทรัพยากรทางธรรมชาติอันมีค่าของแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลในฝั่งทะเลอันดามัน ภายใต้เหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย ล่าสุดรัฐบาลได้ประกาศให้ทุกหน่วยงานงดการจัดงานเทศกาลรื่นเริงในช่วงปีใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาครัฐและธุรกิจเอกชนต่างขานรับด้วยการยกเลิกการจัดงานเคาท์ดาวน์ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2547 ในพื้นที่หลายแห่งในกรุงเทพฯ และเมืองท่องเที่ยวสำคัญในภาคต่างๆ...

รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

บทบาทของภูมิภาคเอเชียภูมิภาคเอเชียมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการถ่วงดุลเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัดนับตั้งแต่ช่วงวิกฤติทางการเงินใน ปี 2540-2541 เป็นต้นมา กล่าวคือ ภาคการเงินและภาคเอกชนในภูมิภาคมีการปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น จุดยืนทางการค้าในต่างประเทศมีเสถียรภาพ และจีดีพีของประเทศต่างๆ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนช่วงวิกฤติ อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงคือ ภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ยังคงดำเนินนโยบายการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเร่งการส่งออก ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลในระดับสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลา 7 ปี และสกุลเงินที่อ่อนค่ากว่าที่ควรจะเป็นยิ่งเป็นส่วนเสริมให้เกินดุลมากขึ้นซึ่งจากนี้ไป สถานการณ์จะเริ่มเปลี่ยนแปลง ...

โรงเรียนนานาชาติ: ธุรกิจ 6,000 ล้านบาท…ที่เติบโตต่อเนื่อง

กว่า 13 ปีแล้วที่โรงเรียนนานาชาติได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการได้ในประเทศไทย ในช่วงแรกนั้นการเปิดรับนักเรียนจำกัดอยู่แต่เฉพาะบุตร–ธิดาของชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทยและบุตร-ธิดาของข้าราชการไทยที่ศึกษาในต่างประเทศเมื่อกลับมาไทยแล้วเข้าศึกษาต่อในระบบการศึกษาไทยไม่ได้เพราะระบบแตกต่างกันจึงต้องเข้าศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ ต่อมารัฐบาลในสมัย ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2534 ได้กำหนดนโยบายเปิดเสรีการจัดตั้งโรงเรียนนานาชาติ ประกอบกับแรงจูงใจที่ภาคธุรกิจการศึกษานั้นให้ผลคุ้มค่าในระยะยาวจึงทำให้นักลงทุนไทยและต่างชาติเข้ามาลงทุนในธุรกิจโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ในปี 2546 มีการอนุมัติให้จัดตั้งถึง 18 แห่ง และขณะนี้มีโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยแล้วมากถึง 88 โรงเรียน เส้นทางโรงเรียนนานาชาติ: ขยายตัวสู่ต่างจังหวัดมากขึ้น ธุรกิจการศึกษานับว่าเป็นภาคเศรษฐกิจหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ...

กุ้งไทยในตลาดสหรัฐฯ : ผลกระทบจากอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด(AD)

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯประกาศผลอัตราตอบโต้การทุ่มตลาดหรือภาษีเอดีขั้นสุดท้ายของกุ้งที่นำเข้าจากไทย บราซิล เอกวาดอร์ และอินเดีย สำหรับไทยคำตัดสินของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯครั้งนี้เปลี่ยนแปลงจากอัตราภาษีเอดีขั้นต้นที่ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 โดยยืนยันให้เก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดกุ้งจากไทยระหว่างร้อยละ 5.79-6.82 ซึ่งเมื่อเทียบกับอัตราภาษีขั้นต้นแล้วแม้ว่าอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดของไทยนั้นลดลงค่อนข้างน้อย แต่ก็ยังอยู่ในสถานะที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับจีน เวียดนามและบราซิลที่ถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้น และยังดีกว่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งสำคัญในตลาดสหรัฐฯ โดยเฉพาะอินเดียและเอกวาดอร์ เนื่องจากทั้งสองประเทศนี้อัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดเฉลี่ยยังอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าไทย อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องจับตามองต่อไปคือ การประกาศผลการตัดสินขั้นสุดท้ายของคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศภายในวันที่ 31 มกราคม 2548 ว่าการทุ่มตลาดกุ้งนั้นส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งภายในของสหรัฐฯหรือไม่...

เครื่องทำน้ำอุ่นปี’48 : ตลาดแข่งเดือด..เร่งกระตุ้นยอดขาย

สินค้าต่างๆที่เกี่ยวข้องกับฤดูหนาวต่างก็เร่งทำยอดขายกันอย่างคึกคักเป็นพิเศษ ในช่วงโค้งสุดท้ายของปี เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นลงประกอบกับเป็นฤดูกาลจับจ่ายสำหรับเทศกาลปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง เครื่องทำน้ำอุ่นก็เป็นอีกสินค้าหนึ่งที่บรรดาผู้ประกอบการถือโอกาสโหมทำกิจกรรมทางการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายในช่วงฤดูหนาว(ธันวาคม-กุมภาพันธ์)ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เครื่องทำน้ำอุ่นขายดีที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่นๆของปี เครื่องทำน้ำอุ่นที่ใช้ในครัวเรือนที่วางจำหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่เป็นแบบใช้ไฟฟ้าซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าแบบที่ใช้แก๊สเนื่องจากความสะดวกในการติดตั้ง โดยมีทั้งแบบที่ใช้ฝักบัว และแบบที่ใช้เป็นเครื่องทำน้ำร้อนสำหรับอ่างอาบน้ำ มีความหลากหลายในด้านขนาดกำลังในการทำความร้อน และเทคโนโลยีที่นำมาใช้ ซึ่งมีทั้งแบบปุ่มหมุนธรรมดาที่ฟังก์ชั่นการใช้งานไม่ซับซ้อนมากนัก และแบบควบคุมอุณหภูมิด้วยระบบดิจิตอล อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีต่างๆที่เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้งานอีกด้วย กลยุทธ์ด้านราคา : ปลุกตลาดให้คึกคัก....เร่งกระตุ้นยอดขาย กลยุทธ์ด้านราคาเป็นวิธีที่นิยมนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความต้องการของตลาด ตามด้วยจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ทั้งในด้านต่างๆ เช่น รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย สุขอนามัยและการประหยัดพลังงาน เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เครื่องทำน้ำอุ่นมากมายหลายยี่ห้อเข้าสู่ตลาด...

CEO Year-end Review 2004 : Leading the Way to Tomorrow

นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ถ่ายภาพร่วมกับสมาชิกสมาคมนิสิตเก่าศศินทร์ฯ ในการบรรยายพิเศษหัวข้อ “การค้าระหว่างประเทศ” งานสัมมนา CEO Year-end Review 2004 : Leading the Way to Tomorrow The Coming Challenges Facing Thailand 2005 ณ...