Monday, November 18, 2024
Home Tags Economics

Tag: Economics

จีนกับระบบการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ

มีความเป็นไปได้ที่จีนจะจัดทำแผนปฏิรูปการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศขึ้นใหม่ หลังจากที่มีการรอคอยเป็นเวลานาน เนื่องจากความด้อยประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการแบบเก่า เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลกชี้ว่า ในปัจจุบันจีนใช้ระบบบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ โดยมีองค์ระกอบพื้นฐานสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ระบบโควตาแบบคงที่(fixed-quota system) กลไกกำหนดราคาแบบผูกขาด (monopoly price-setting mechanism) และอัตราลอยตัวค่าเงินในช่วงแคบ (narrow floating band) ซึ่งภายใต้ระบบดังกล่าว...

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ปี 48: แนวโน้มโตขึ้นจากปีที่ผ่านมา

กองทุนรวมที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) ถือเป็นเครื่องมือในการระดมเงินออมรูปแบบหนึ่งของผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน โดยมีความแตกต่างจากกองทุนรวมประเภทอื่นๆ ตรงที่จะเป็นการระดมเงินจากนักลงทุนเพื่อนำไปลงทุนระยะยาวในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หรือหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ตามที่กฎหมายกำหนด ความเป็นมาของการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยนั้น ได้เริ่มต้นขึ้นจากการที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาร่างหลักเกณฑ์การจัดตั้ง และจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ขึ้นในปี 2537 ซึ่งได้มีการพิจารณาแล้วเสร็จเพื่อเป็นประกาศออกใช้ในช่วงต้นปี 2540 แต่ในขณะนั้นยังไม่มี บลจ. รายใดยื่นขอจัดตั้ง เนื่องจากเงื่อนไขในการจัดตั้งที่ค่อนข้างเข้มงวด และหลักเกณฑ์ต่างๆที่ยังมีความไม่ชัดเจน ต่อมาหลังจากที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 และนำไปสู่การปิดบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์หลายแห่ง...

ตลาดเหล็กปี 2005 : เติบโตต่อเนื่อง…ผันผวนน้อยลง

ภาวะตลาดและราคาเหล็กของโลกในปี 2004 ที่ผ่านมามีความผันผวนเป็นอย่างยิ่ง ภาวะตึงตัวของตลาดเหล็กได้ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์เหล็กประเภทต่างๆในตลาดโลกพุ่งทะยานสูงขึ้นอย่างมาก อาทิ ราคาเหล็กรีดร้อน/เหล็กรีดเย็น ณ ปลายปี 2004 พุ่งสูงขึ้นประมาณร้อยละ 70-80 เทียบกับระดับราคาเมื่อปลายปี 2003 ในขณะที่ราคาเหล็กเส้น/เหล็กโครงสร้างรูปพรรณสูงขึ้นประมาณร้อยละ 55-60 ทั้งนี้การฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลกและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของประเทศจีนในอัตรากว่าร้อยละ 9 ต่อปี...

ธุรกิจพระเครื่องปี’48 : มูลค่าเกือบ 20,000 ล้านบาท

ความนิยมในการสะสมพระเครื่องทำให้เกิดธุรกิจให้เช่า(ขาย)หรือรับเช่า(ซื้อ)พระเครื่อง-พระบูชาอย่างกว้างขวาง และมีธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกหลากหลายธุรกิจ ความเฟื่องฟูและซบเซาของวงการพระเครื่องนั้นค่อนข้างจะผูกติดหรือไปในทิศทางเดียวกันกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ วงการพระเครื่องฟื้นตัวอย่างชัดเจนในปี 2546 และในปี 2547 ต่อเนื่องถึงปี 2548 วงการพระเครื่องยังคงมีแนวโน้มคึกคักอย่างต่อเนื่อง โดยจะเห็นได้จากราคาพระเครื่องเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพระกรุและพระเครื่องยอดนิยมต่างๆ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ในการสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคล รวมทั้งการจัดประกวดพระเครื่องที่เกิดขึ้นกันแทบทุกสัปดาห์ ธุรกิจแผงพระที่เริ่มมีผู้คนคึกคักมากขึ้น และบรรดาผู้ประกอบธุรกิจแผงพระเริ่มขยายธุรกิจมากขึ้น โดยการเปิดกิจการในหลายพื้นที่ รวมทั้งยังได้ปัจจัยหนุนจากการที่มีนักลงทุนชาวต่างประเทศหันมาสนใจเช่าพระเครื่องและวัตถุมงคลจากไทยเพื่อนำไปให้เช่าต่อสำหรับผู้ที่สนใจพระเครื่องและวัตถุมงคลของไทยในต่างประเทศ หรือทำเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวในต่างประเทศ ส่งผลให้ธุรกิจพระเครื่องและหลากธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีเม็ดเงินหมุนเวียนคล่องตัวมากขึ้น สถานการณ์ในวงการพระเครื่องในปี 2547 ราคาพระเครื่องมีการปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง...

ผลการประชุม MPC 19 มกราคม … ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของแบงก์ชาติ

ในวันที่ 19 มกราคม 2548 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (Monetary Policy Committee: MPC) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีการประชุมเป็นครั้งแรกในปีนี้เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินนโยบายการเงิน หรือทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2.0% หลังจากที่ทางการไทยได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้ว 3 ครั้งๆ ละ 0.25% ในปี 2547...

เศรษฐกิจอาเซียน 2548 : ฝ่ากระแสกีดกันการค้า … ฟื้นศรัทธาท่องเที่ยว

เหตุการณ์ไม่คาดฝันจากแผ่นดินไหวบริเวณเกาะสุมาตราของอินโดนีเซียในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ทำให้เกิดคลื่นยักษ์ “สึนามิ” ถล่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย และพม่า รวมทั้งประเทศแถบเอเชียใต้ ได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา และ หมู่เกาะมัลดีฟส์ นับว่าเป็นเหตุแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี...

ดอลลาร์หมดฤทธิ์ :ขาดดุลการค้าสหรัฐฯรังควาน

เงินดอลลาร์สหรัฐฯ หมดแรงขยับสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังจากมีค่ากระเตื้องแตะ 1.30 ดอลลาร์/ยูโร และ 104 เยน/ดอลลาร์ ในช่วงแรกของสัปดาห์ ปัจจัยสำคัญที่ฉุดให้ค่าเงินดอลลาร์โน้มต่ำลง ได้แก่ รายงานยอดขาดดุลการค้าสหรัฐฯเดือนพฤศจิกายนมีมูลค่าสูงถึง 60.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับที่ประมาณการไว้ 54 พันล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ตลาดเงินหวนกลับมาวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯอีกระลอก ส่วนเงินเยนญี่ปุ่น มีค่าเข้มแข็งเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์และเงินยูโร เป็นผลจากเจ้าหน้าที่การเงินของธนาคารกลางยุโรปได้แสดงความคิดเห็นว่าเงินสกุลเอเชีย โดยเฉพาะเงินหยวน ควรมีค่าแข็งแกร่งกว่าที่ควรจะเป็นในขณะนี้ ทางด้านเงินปอนด์สเตอร์ลิงอังกฤษ...

สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทย : แนวโน้มปี 2548

ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2547 สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทย (วัดจากผลรวมของเงินสด รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินสุทธิ และการลงทุนสุทธิในตลาดซื้อคืนพันธบัตร) ของธนาคารไทย 12 แห่ง ปรับลดลงประมาณ 7.0 หมื่นล้านบาท จากระดับ 5.1 แสนล้านบาท ณ ปลายปี 2546 มาอยู่ที่ประมาณ 4.4 แสนล้านบาทในเดือนพฤศจิกายน 2547...

ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯล่าสุด … ยังคงบ่งชี้แนวโน้มการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น

ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯล่าสุด ยังคงชี้ถึงแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯ โดยมีตัวแปรที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้: • ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (non-farm payroll) ที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 1.57 แสนตำแหน่ง ซึ่งแม้ว่าจะต่ำกว่าค่าคาดการณ์ของตลาดที่ 1.75 แสนตำแหน่ง แต่ก็เพิ่มขึ้นจากตัวเลข 1.37 แสนตำแหน่งในเดือนก่อนหน้า (โดยตัวเลข 1.37 แสนตำแหน่งของเดือนพฤศจิกายน ก็เป็นตัวเลขที่ถูกปรับขึ้นจากตัวเลขที่ได้ประกาศไปล่วงหน้าที่ 1.12...

ดอลลาร์รับขวัญปีไก่ :ตีเงินยูโรและเงินเยนร่วง

ต้อนรับปีระกา 2548 ตลาดเงินตราต่างประเทศพลิกผัน เมื่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯมีค่าเข้มแข็งอย่างรวดเร็ว สามารถยืนอยู่ที่อัตราเฉลี่ยราว 1.31 ดอลลาร์/ยูโร เทียบกับสถิติต่ำสุดวันส่งท้ายปีเก่า ณ อัตราเฉลี่ยราว 1.36 ดอลลาร์/ยูโร ขณะเดียวกันเงินเยนญี่ปุ่นอ่อนตัวลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 105 เยน/ดอลลาร์ จากอัตราเข้มแข็งที่ 102 เยน/ดอลลาร์เมื่อสิ้นปี 2547 ส่วนเงินปอนด์สเตอร์ลิงอังกฤษ มีค่าร่วงลงต่ำกว่า 1.90 ดอลลาร์/ปอนด์ เมื่อตลาดเงินลังเลเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยอังกฤษ...