Thursday, January 16, 2025
Home Tags Exclusive

Tag: Exclusive

จากโต๊ะเรียนศิลปะ

โต๊ะวาดภาพในสตูดิโอห้องเสื้อ “Chiratorn” ได้กลายเป็นแหล่งชุมนุมของนักวาดภาพประกอบกลุ่มใหญ่ทุกวันอังคารและเสาร์อาทิตย์ เขาหรือเธอมาสร้างงาน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายใต้การอำนวยการสอนของครูโต- ม.ล.จิราธร จิรประวัติ จากโต๊ะเรียนศิลปะตัวยาว กลายเป็นจุดเริ่มของนักวาดภาพรุ่นใหม่อย่าง นวลตอง ประสานทอง กับ สมนึก คลังนอก หรือปาน นักวาดภาพประกอบรุ่นใหม่ที่มีผลงานกำลังเป็นที่ยอมรับ สตูดิโอแห่งนี้จึงเป็นเสมือน “หน้าร้าน” ให้นิตยสาร เจ้าของสินค้าบริการ บริษัทรับจัดงาน event...

โลกของโลเล

จุดเริ่มต้นเมื่อผลงานแสดงเดี่ยวชุด “Dream” ของ โลเล-ทวีศักดิ์ ศรีทองดี ครั้งแรกในช่วงปี 2537 ก่อนที่ผลึกความคิด ความสับสนในความสัมพันธ์ แง่มุมและเส้นแบ่งที่เลือนรางระหว่างเพศสภาพ และเพศสถานะ ในความเป็นไปของสังคมเมืองใหม่จะถูกนำเสนออย่างต่อเนื่อง ผลงานที่เริ่มปรากฏสู่สาธารณะในปี 2538 จึงได้รับส่วนผสมแปลกๆ ที่สะท้อนภาพลักษณ์แวดวงสังคมเมือง คนดัง ดารา นางแบบ รวมถึงอิทธิพลจากสื่อโฆษณาและแฟชั่น และมันก็กลายเป็นอารมณ์ประหลาดที่สังคมเพิ่งรับรู้ เขาเป็นจิตรกรหนุ่มเซอร์ที่มีผลงานสะท้อนประเด็นส่วนตัวอย่างชัดเจน ทำให้การเล่าเรื่องราวของเขาโดนใจวัฒนธรรมป๊อปของชนชั้นกลางในเมืองใหญ่...

แมกกาซีนกับศิลปินวาดภาพประกอบของคู่กัน

“การใช้ภาพประกอบ ลักษณะมันก็คือรูปที่เราให้ศิลปินเป็นคนวาดขึ้นมา แล้วดูให้มันเหมาะกับคอลัมน์แต่ละคอลัมน์” พชร สมุทวณิช บรรณาธิการนิตยสาร MARS “ปกติแล้วหนังสือผู้ชายไม่ค่อยได้ใช้ภาพประกอบเท่าไร เราก็เลยหยิบข้อน่าสนใจในหนังสือผู้หญิงให้ MARS มันมีภาพประกอบก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ภาพประกอบมีสามอย่าง ก็คือคนที่ทำภาพประกอบจริงๆ เขาอาจจะไม่ได้ทำงานศิลปะ กับคนที่ทำภาพประกอบที่เราอยากให้หนังสือเราดูดีขึ้น เราก็ไปเชิญศิลปินที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงเรื่องทำภาพประกอบอย่าง ม.ล.จิราธร จิรประวัติ, แป้งภัทรีดา (ประสานทอง), โอ่ง กงพัฒน์ (ศักดาพิทักษ์)...

STRATEGIES TO ADVANCE YOUR ART CAREER

มีหลายความเห็นที่กล่าวถึงระบบตลาดศิลปะบ้านเรา ถ้าเทียบย้อนไปได้ถึง 70 ปีที่แล้ว ในบางประเทศที่พัฒนา ความคิดเรื่องกระบวนการจัดการในศาสตร์ของศิลปะยังเป็นสิ่งที่ไม่ได้รับการยอมรับ นักเรียนที่จบจากมหาวิทยาลัยด้านศิลปะไม่ได้เรียนหลักสูตรการจัดการด้านศิลปะโดยตรง แต่เขาและเธอมีทางเลือกเรียนรู้ที่จะอยู่ในโลกธุรกิจ ทั้งที่จำใจ เต็มใจ และลองผิดลองถูก... ในขณะที่เมืองไทย ระบบแกลเลอรี่ทางศิลปะที่เป็นตัวกลางระหว่างศิลปินผ่านการจัดการไปสู่ระดับผู้ซื้อที่เป็นนักสะสมยังไม่เกิด อยู่ในรูปแบบของการขายงานศิลปะผ่านกิจกรรมที่ศิลปินจัดขึ้นเอง และกลายเป็นตัวบอกคุณภาพงานของตัวเองจากผู้ผลิตเอง ดังนั้นศิลปินแนวคิดใหม่จึงมีวิธีการขายตรงจุดมากขึ้น ทั้งประชาสัมพันธ์และขายงานด้วยตัวเองไปสู่ผู้ซื้อโดยตรง เพื่อทำให้งานของเขาขายมากขึ้น แต่โดยภาพรวมแล้ว สิ่งนี้ทำให้การซื้อเชิงคุณค่าของผลงานจริงๆ น้อยลง บ้านเราเพิ่งเปลี่ยนผ่านจากศิลปินในยุคเก่าเข้าสู่ยุคใหม่อย่างก้าวกระโดด...

ที่สุดของหนึ่งวันกับ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

หากจะนับชื่อศิลปินไทยที่เรารู้จัก แน่นอนว่า “เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์” เป็นศิลปินในลำดับต้นที่ถูกนึกมาเป็นชื่อแรกๆ เขาเป็น 1 ใน 3 ของศิลปินสายจิตรกรรมในประเทศไทยที่นักสะสมต้องการความเห็นของเขา ผลงานของเขาอยู่ในแกลเลอรี่ส่วนตัวของเศรษฐี นักธุรกิจชั้นนำหลายคน การสร้างงานที่เดินทางมาสู่จุดปลายสุดในสาขาอาชีพของความเป็นศิลปินไทย อันได้แก่ ถวัลย์ ดัชนี, จักรพันธ์ โปษยกฤต ที่อยู่ในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ด้วยการยอมรับจากสังคม และผลงานที่ถูกตีราคาสูง ด้วยผลผลิตจากบรรยากาศชาตินิยมในช่วงปี...

บนเส้นทางสายศิลปะของ อดุลย์พันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

ชื่อของ อดุลย์พันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ในแวดวงของคนทำงานศิลปะบ้านเรานั้นพูดได้ว่า “มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ” คนหนึ่ง ผลงานที่โดดเด่นของเขาไล่มาตั้งแต่ภาพนู้ดที่แปลกและฉีกไปจากขนบของนู้ดแบบเดิมๆ กระทั่งกลายมาเป็นโลโก้ของเขาในที่สุด หรือภาพปกหนังสือเล่มของ ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ ในยุครุ่งเรืองอดุลย์พันธ์ก็ฝากผลงานไว้จำนวนไม่น้อย หรือว่างานภาพประกอบเรื่องตามหน้านิตยสารเขาก็ทำมาแล้วร่วมยี่สิบปี และปัจจุบันก็มีงานปรากฏอยู่สม่ำเสมอ เช่น นิตยสาร mars, สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ เป็นต้น หลังเรียนจบจากคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร...

ศิลปะจากเด็กหลังห้อง ของ ศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี

อดีตนักศึกษาคณะจิตรกรรม ศิลปากร ที่เรียกว่าแบบเด็กหลังห้องในคณะ ก่อนที่จะคว้ารางวัลศิลปินรุ่นเยาว์ “ศิลป์ พีระศรี” และก้าวขึ้นอยู่บนทำเนียบศิลปินภาพเหมือนร่วมสมัยของไทย ศักดิ์วุฒิเป็นจิตรกรรุ่นใหม่ที่สร้างชื่อในวงสังคมจนเป็นที่ชื่นชอบตั้งแต่ในหมู่ชนชั้นกลางระดับสูงไปจนถึงชนชั้นสูงรุ่นใหม่ ด้วยลักษณะความสามารถในฝีมือทางเชิงช่าง และตั้งใจใช้ชีวิตด้วยการเขียนรูปเพื่อเลี้ยงชีพเพียงอย่างเดียว ด้วยหนทางที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะได้เป็นศิลปินอาชีพ โดยเฉพาะกับงานที่ทำอยู่มากว่า 20 ปี จนกลายเป็นศิลปินร่วมสมัยแถวหน้าคนหนึ่งของเมืองไทย เขายอมรับโดยส่วนตัวชอบงานที่สบาย และเคยคิดจะมีอาชีพในเส้นทางโฆษณามากกว่าสายศิลปะ “ผมจบมาด้วยบีในธีสีส ซึ่งถือว่าต่ำที่สุด เพราะทุกคนต้องได้เกรดในธีสีส ผมก็ช่างมัน เพราะว่าเราเลือกทำงานในสิ่งที่ผมอยากทำ ตอนนั้นผมได้ทำสิ่งที่อยากทำตอนเรียนศิลปะ อาจารย์จะให้เปลี่ยนผมก็ไม่สนใจจะทำอย่างนี้...

ชลิต นาคพะวัน จากเส้นทางบันเทิง สู่แนวทางศิลปะ

“กลิ่นสีและทีแปรง” กับ “กลิ่นสีและกาวแป้ง” คงทำให้ใครหลายๆ คนในตอนนั้นเปิดโลกรู้จักชีวิตนักศึกษาศิลปากร จากปลายปากกาของจิตรกรที่ชื่อ พิษณุ ศุภนิมิตร ก่อนที่จะถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในเวลาต่อมา ในปี2535 กับ 39 หนังเสน่ห์แรงเรื่องนี้ได้สร้างกลุ่มนักแสดงอารมณ์ดี จากกลุ่มนักเรียนศิลปะจนเป็นที่จดจำกันหลายคน แข่งกับกลุ่ม “ซูโม่” นักศึกษาสถาปนิกจากจุฬาฯ จนกลายเป็นนามสกุลที่เรียกติดปากว่า “กลิ่นสี” หากแต่เรากำลังพูดถึงเส้นทางบันเทิงที่ต่อเนื่องจากกลุ่มเด็กเรียนในตอนนั้น ที่ขยับขยายจนมีที่มาในวงการบันเทิงอย่างคับคั่ง ถ้าหากคิดว่าเด็กเหล่านั้นเลือกเส้นทางชีวิตตามที่ร่ำเรียนมา ณ...

ถาวร โกอุดมวิทย์ จัดการกับศิลปะ

ถาวร โกอุดมวิทย์ จัดเป็นศิลปินรุ่นใหญ่ ที่เคยได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม สาขาภาพพิมพ์ จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2535 ทั้งยังมีผลงานและรางวัลเกียรติยศอีกมากมายเป็นเครื่องการันตีความสามารถ ถาวร เป็นศิลปินผู้หนึ่งที่ยอมรับว่า งานศิลปะที่ทำมาทั้งหมดเป็นสิ่งที่สนับสนุนทั้งในเบื้องหน้า และเบื้องหลังของความมีชื่อเสียง ความสำเร็จ และความเป็นอยู่ที่ดีอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ในวัยเด็ก ถาวรเป็นสมาชิกในครอบครัวคนจีน เห็นพี่สาววาดรูปเก่งมาก แต่กลับไม่มีโอกาสได้ใช้พรสรรค์ที่มีอยู่เนื่องจากแม่รู้สึกว่าการมาเรียนทางศิลปะไม่ใช่สาระสำคัญที่จะประคับประคองชีวิตไปได้ “แต่สำหรับตัวผมในตอนนั้นคิดว่า มันไม่ใช่เหตุผลของการดำรงชีวิต อย่างมากเราก็ตัวคนเดียว ถ้าไม่ประสบความสำเร็จอย่างน้อยคงพอหาอะไรทำปะทังชีวิตไปได้...

สีสันชีวิต กงพัฒน์ ศักดาพิทักษ์

ท่ามกลางบรรยากาศพลุกพล่านของสังคมเมือง ย้อนกลับไปเมื่อราว 20 ปีที่แล้ว เด็กน้อยคนหนึ่งในจังหวัดเลย ได้เริ่มต้นเรียนรู้ และสร้างโลกศิลปะของตัวเองจากการบ่มเพาะของ ครูสังคม ทองมี ครูสอนวาดภาพศิลปะชื่อดัง มุมศิลปะในโรงเรียนเล็กๆ แห่งนี้ ได้สร้างจินตนาการให้เด็กน้อยต่างจังหวัดคนหนึ่ง ที่ยอมรับว่าตัวเองเป็นคนบ้าประกวดคนหนึ่ง ให้กลายเป็นศิลปินป๊อปอาร์ตในสังคมเมืองใหญ่ ที่เต็มไปด้วยแสงสีและความบันเทิงที่หลายหลาก จากภาพเทคนิคสีอะคริลิกที่ดูมีความสุข และมีเรื่องราวในตอนเด็กของเขา คือแหล่งวัตถุดิบสำคัญ งานประดิษฐ์ที่อาจถูกเรียกว่าศิลปะเทคนิคผสมแบบส่วนตัวของเขาสร้างเรื่องราวชีวิตของคนคนหนึ่งที่ใช้ศิลปะ...เพื่อค้นหา สร้างสรรค์ และเติมเต็มให้กับชีวิต ...