Monday, November 25, 2024
Home Tags Import-Export

Tag: Import-Export

เอชเอสบีซี ชูจุดแข็งด้านการค้าระหว่างประเทศ เปิดตัวโครงการอบรมด้านการค้าอย่างเป็นทางการ

ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย เปิดตัวโครงการอบรมด้านการค้า (Trade Academy) อย่างเป็นทางการ ป้อนความรู้แก่ลูกค้าธุรกิจนำเข้า-ส่งออกด้านกฎระเบียบ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และคำแนะนำธุรกิจการค้า มั่นใจด้วยจุดแข็งความเชี่ยวชาญด้านการค้าที่ยาวนาน สามารถช่วยลูกค้าองค์กรเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ และบริหารจัดการความเสี่ยง แม้ในภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เอชเอสบีซี คาดการณ์ปริมาณการส่งออกของโลกจะหดตัวร้อยละ 3 ในปี 2552 ก่อนที่จะปรับฟื้นตัวดีขึ้นในปี 2553 โดยคาดว่าจะมีอัตราเติบโตที่ร้อยละ 4 อย่างไรก็ดี...

แนวโน้มอุตสาหกรรมจีนปี 2552 ชะลอตัว … กระทบส่งออกไทยไปจีน

เศรษฐกิจจีนปี 2551 เผชิญความท้าทายจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอลงเหลือร้อยละ 9 เป็นการเติบโตที่อ่อนแรงมากที่สุดในรอบ 5 ปี เมื่อเทียบกับปี 2550 ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 13 ซึ่งเป็นอัตราขยายตัวสูงสุดในรอบ 13 ปี ผลผลิตมวลรวมภาคเศรษฐกิจต่างๆชะลอตัวจากปีก่อนโดยภาคเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 5.5 ภาคบริการขยายตัวร้อยละ 9.5 และภาคอุตสาหกรรมซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 48.5 ของ GDP ขยายตัวเพียงร้อยละ 9.3...

แนวโน้มผลิตภัณฑ์กุ้งปี ’52 : ตลาดส่งออกซบเซา

ผลิตภัณฑ์กุ้งเป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา ส่งผลให้คาดการณ์ว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งมีแนวโน้มซบเซาตามไปด้วย เนื่องจากกำลังซื้อของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มลดลง สถานการณ์การส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งในปี 2552 พลิกกลับไปซบเซาอีกครั้ง แม้ว่าผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งเคยคาดการณ์ว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 ต่อเนื่องถึงปี 2552 ไทยจะสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งได้มากขึ้น จากปัจจัยเอื้ออำนวยในตลาดส่งออกหลัก ทั้งในตลาดสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป อันเป็นผลจากการที่องค์การการค้าโลกตัดสินให้สหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับหนึ่งของผลิตภัณฑ์กุ้งไทยเปลี่ยนอัตราคำนวณภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์กุ้งไทยที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ซึ่งอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดใหม่นั้นต่ำลงกว่าอัตราเดิม ส่งผลให้สถานะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยในตลาดสหรัฐฯดีขึ้น จากที่เคยเสียเปรียบคู่แข่งสำคัญอย่างจีนและเวียดนาม ส่วนการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปจะมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นจากการได้รับคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือจีเอสพี ดังนั้นในปี 2552 จึงต้องจับตาการปรับตัวของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์กุ้งเพื่อรับมือกับการส่งออกที่มีแนวโน้มซบเซาตามภาวะเศรษฐกิจโลก ประเด็นที่ต้องจับตาต่อเนื่องก็คือ...

จีเอสพีอียูฉบับใหม่ : โอกาสท่ามกลางวิกฤติอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

สหภาพยุโรปหรือกลุ่มอียู 27*เป็นกลุ่มประเทศที่ไทยมีการทำการค้าร่วมกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยที่มีทั้งการส่งออกและนำเข้าอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจากตัวเลขในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2551 พบว่าสินค้าในหมวดรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบมีมูลค่าการส่งออกไปกลุ่มอียูสูงเป็นอันดับที่ 3 จากสินค้าที่ส่งออกไปยังอียูทั้งหมด ขณะที่รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบอยู่ในลำดับที่ 24 อย่างไรก็ตามเนื่องจากเศรษฐกิจโลกได้เข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งกลุ่มเศรษฐกิจหลักของโลกอย่างอียูก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น้อย ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรป (the European Commission) ได้มีการคาดการณ์ไว้ว่าในปีนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มอียูจะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับปี...

การส่งออกเดือนธ.ค. หดตัว 14.5% แนวโน้มครึ่งแรกปี 2552 อาจจะยังคงหดตัวเฉลี่ยเป็นตัวเลข 2 หลัก

จากการรายงานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของไทยล่าสุดโดยกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2552 ตัวเลขการส่งออกในเดือนธันวาคม 2551 ยังคงหดตัวสูงอย่างต่อเนื่อง และศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ผลกระทบจากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกต่อการส่งออกของไทย อาจจะยังคงมีความรุนแรงต่อไปตลอดระยะครึ่งแรกของปี 2552 นี้เป็นอย่างน้อย โดยประเด็นวิเคราะห์ที่สำคัญ มีดังนี้  การส่งออกของไทยในเดือนธันวาคม 2551 มีมูลค่า 11,604.9 ล้านดอลลาร์ฯ ลดลงร้อยละ 14.5 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน...

ส่งออกไปจีนเดือนพฤศจิกายน 2551 : ลดลง 36% ต่ำสุดในรอบ 8 ปี

การส่งออกของไทยไปจีนเดือนพฤศจิกายน 2551 หดตัวร้อยละ 36 เทียบกับเดือนเดียวกันปี 2550 (yoy) ถือเป็นการปรับลดมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้มูลค่าส่งออกของไทยไปจีนในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2551 ชะลอลงอย่างมาก โดยขยายตัวในอัตราร้อยละ 14.5 (yoy) เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ที่เติบโตร้อยละ 26.2 ถือเป็นครั้งแรกที่อัตราขยายตัวของการส่งออกไปจีนต่ำกว่าร้อยละ 20 และต่ำสุดในรอบ 8...

ตัวเลขการส่งออกเดือนพ.ย. หดตัวสูงถึง 18.6% … สะท้อนนัยที่การส่งออกปี 2552 อาจจะเผชิญความเสี่ยง

จากการรายงานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของไทยล่าสุดโดยกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา ตัวเลขเดือนพฤศจิกายนบ่งชี้สถานการณ์การส่งออกที่ประสบปัญหารุนแรงกว่าที่คาด ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์แนวโน้มการส่งออกของไทยในระยะเดือนถัดๆ ไป โดยมีประเด็นที่สำคัญดังนี้  การส่งออกของไทยในเดือนพฤศจิกายน 2551 หดตัวลงมากกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ โดยมีมูลค่า 11,870.2 ล้านดอลลาร์ฯ ลดลงถึงร้อยละ 18.6 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นอัตราที่ต่ำสุดในรอบกว่า 6 ปี จากที่ขยายตัวร้อยละ 5.2...

การส่งออกรถยนต์ไทยปี 2552 : แนวโน้มชะลอลงกว่าที่คาด

แม้ที่ผ่านมาการส่งออกรถยนต์ของไทยจะมีการขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง แต่จากสภาพเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน รวมถึงสถานการณ์ตลาดรถยนต์ในหลายๆประเทศทั่วโลกที่ไม่สู้ดีนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่เป็นตลาดรถยนต์ขนาดใหญ่ของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา จีน ยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งได้มีการปรับลดกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพตลาดในปัจจุบัน รวมถึงการเรียกร้องให้ภาครัฐยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ดังนั้นอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยซึ่งนับวันก็จะยิ่งพึ่งพาการส่งออกมากขึ้นนั้น ย่อมจะได้รับผลกระทบจากปัญหาสภาพตลาดส่งออกชะลอตัวลงอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงได้วิเคราะห์ถึงสถานการณ์ตลาดรถยนต์ในปัจจุบันและทิศทางการส่งออกของไทย โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้ สถานการณ์ตลาดรถยนต์ในต่างประเทศ จากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอลงทั่วโลกจากปัญหาวิกฤติการเงินในสหรัฐฯได้ทยอยส่งผลกระทบให้เห็นมากยิ่งขึ้นตามลำดับในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมรถยนต์ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะนอกจากจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้นแล้ว ก่อนหน้านี้ยังต้องเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นไปสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนกรกฏาคม และแม้ขณะนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะปรับตัวลดลงมากแล้ว แต่อุตสาหกรรมรถยนต์กลับยังต้องเผชิญกับปัญหาสภาพคล่องทางการเงินจากวิกฤติสินเชื่อซึ่งส่งผลทั้งต่อบริษัทผู้ผลิตเองที่ขาดเงินทุนหมุนเวียน และส่งผลให้ผู้บริโภคเข้าถึงเงินกู้ยากขึ้นด้วย...

ผลกระทบจากวิกฤติการเงินสหรัฐฯ ต่อแรงงานไทยในอุตสาหกรรมการผลิต

ผลพวงจากวิกฤติการเงินในสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นได้ขยายไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริง กระทบภาคธุรกิจและการจ้างงานไม่เพียงแต่ในประเทศสหรัฐฯ แต่ยังมีผลไปถึงประเทศต่างๆ ทั่วโลกเนื่องจากระบบการค้าและการเงินที่มีความเชื่อมโยงระหว่างกัน สำหรับประเทศไทยแม้ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤติการเงินของสหรัฐฯ แต่ด้วยเศรษฐกิจที่พึ่งพาภาคการส่งออกสินค้าและบริการคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 70 ของรายได้ประชาชาติ และการที่ธุรกิจและการลงทุนส่วนหนึ่งมีการพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศ ทำให้ภาคเศรษฐกิจจริงและการจ้างงานในประเทศคงจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากภาคการท่องเที่ยวแล้ว ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยในกลุ่มที่มีสัดส่วนการส่งออกสูง เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์และชิ้นส่วน อาหาร อัญมณี สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ รองเท้าและเครื่องหนัง ฯลฯ เป็นภาคเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกค่อนข้างมาก ...

สัญญาณเศรษฐกิจโลกถดถอยชัดเจนขึ้น … ตอกย้ำความเป็นไปได้ที่ตลาดส่งออกหลักอาจหดตัวในปี 2552

จากตัวเลขเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลกที่ทยอยประกาศออกมา บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจหลายประเทศได้ก้าวเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพีของสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 หดตัวร้อยละ 0.3 จากไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบต่อปี (Annualized QoQ) และนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์การหดตัวในระดับที่รุนแรงขึ้นในไตรมาสที่ 4 ซึ่งจะหมายความว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค ตามนิยามที่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจได้หดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส ขณะที่เศรษฐกิจที่ผ่านเข้าไปอยู่ในภาวะถดถอยทางเทคนิคอย่างชัดเจนแล้ว คือ ญี่ปุ่น...