Tag: Import-Export
ส่งออกไทยปี 52 …. กลุ่มสินค้าอาหารน่าที่จะดีกว่ากลุ่มอื่นๆ
การส่งออกของไทยต้องเผชิญปัจจัยท้าทายครั้งสำคัญในช่วงที่เหลือของปีนี้และปี 2552 เนื่องจากวิกฤตการเงินโลกในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ทำให้ประเทศทั้งสามต้องประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ชัดเจนมากขึ้น หากประเมินจากเหตุการณ์ในอดีตช่วงปี 2544 ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบจากวิกฤตดอทคอม ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยไปสหรัฐฯ ในปี 2544 หดตัวลงร้อยละ 11.2 โดยสินค้าส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ ในปีดังกล่าวชะลอตัวลงหลายรายการ ที่สำคัญได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ อาหารทะเลแปรรูป...
ส่งออกสินค้าเกษตรสู่ตลาดใหม่ : ความท้าทาย…โอกาสและปัญหา
วิกฤติในภาคการเงินของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัวในปี 2552 ส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทย โดยจะมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงเช่นกัน บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ประเมินมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในปี 2552 เป็น 2 กรณี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผลกระทบทางเศรษฐกิจ ดังนี้ กรณีแรก เป็นกรณีที่ได้รับผลกระทบไม่มากนักนั้นเป็นการประเมินว่าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีอัตราชะลอตัวลง และคาดหวังว่ามาตรการต่างๆของแต่ละประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาวะวิกฤตทางการเงินของสหรัฐฯ และพยุงภาวะเศรษฐกิจไม่ให้ซบเซามากนัก โดยคาดว่าในปี 2552 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นเป็น...
ส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปปี’52 ชะลอตัว: ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ
จากวิกฤตการณ์ทางการเงินของสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบไปยังระบบเศรษฐกิจและภาคการเงินทั้งในสหภาพยุโรป รวมถึงญี่ปุ่น และมีสัญญาณว่ากำลังจะกลายเป็นปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจลุกลามไปทั่วโลก ทำให้หลายฝ่ายเกิดความหวาดวิตกถึงผลกระทบต่อภาคส่งออกของไทย เนื่องจากสหรัฐฯ นับเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของไทย สำหรับผลิตภัณฑ์ผลไม้กระป๋องและแปรรูปจัดเป็นสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรซึ่งไทยส่งออกเป็นรายใหญ่ในตลาดโลก โดยในแต่ละปีการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทยมีมูลค่าสูงกว่า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ จากการประเมินเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ย่อมจะส่งผลกระทบต่อเป้าการขยายการส่งออกสินค้าอาหารของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และในปี 2552 คาดว่าการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทยจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปี 2551 ซึ่งเติบโตร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 10...
จับตาเศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัว : กระทบการส่งออกไทย
ผลกระทบจากวิกฤตทางการเงินของสหรัฐ ฯ และปัญหาการขาดสภาพคล่องแหล่งเงินทุนของบริษัทการเงินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ฯ อาจส่งผลลุกลามเป็นลูกโซ่กระทบต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลักของไทยและเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับที่ 2 ของโลก รองจากสหรัฐ ฯ และอันดับที่ 1 ในภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า ประเด็นข้างต้นน่าจะส่งสัญญาณบ่งชี้แนวโน้มภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 จนถึงช่วงครึ่งแรกของปี 2552 สิ่งที่น่าสนใจคือ ผลกระทบในส่วนของภาคส่งออกของไทยไปญี่ปุ่น โดยบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยจำกัดได้จัดทำบทวิเคราะห์เศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี...
เศรษฐกิจของสิงคโปร์เข้าสู่ภาวะถดถอย….จับตาผลกระทบธุรกิจส่งออกไทย
ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิกฤตการเงินของสหรัฐ ฯ กำลังส่งผลกระทบลุกลามไปทั่วโลกซึ่งรวมถึงประเทศที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (อาเซียน) อย่างสิงคโปร์ ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถทางการแข่งขันอันดับต้น ๆ ของโลก จากการรายงานของ World Economic Forum ในปี 2550 เรื่องดัชนีวัดขีดความสามารถทางการแข่งขันของโลกพบว่า ระดับ Growth Competitiveness Index (GCI) และ Business Competitive Index...
เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวสร้างความกดดันต่อยอดการส่งออกรถยนต์ไทย
ในระยะที่ผ่านมาการส่งออกรถยนต์ของไทยมีการขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ตลาดรถยนต์ในประเทศกลับหดตัวลงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (ปี 2549 – 2550) และช่วง 8 เดือนแรกของปี 2551 นี้ยอดขายรถยนต์ในประเทศก็ขยายตัวไม่มากนักเพียงร้อยละ 3.9 เท่านั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าการส่งออกเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยในช่วง 2 ถึง 3 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามยิ่งอุตสาหกรรมรถยนต์พึ่งการส่งออกมากขึ้นเท่าใด ก็จะยิ่งได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของปัจจัยภายนอกประเทศมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า และปัญหาสภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงย่อมส่งผลกระทบต่อยอดการส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วงต่อจากนี้ไปจนถึงปีหน้าอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้...
ส่งออกไทยไปจีนชะลอตัว … ผลจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก
การส่งออกของไทยไปจีนในเดือนสิงหาคมปี 2551 เติบโตชะลอลงเหลือร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปี 2550 (yoy) นับว่าเป็นเดือนที่อัตราเติบโตของการส่งออกไปจีนอยู่ในระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ต้นปี 2551 สาเหตุสำคัญเนื่องจากภาวะส่งออกของจีนที่อ่อนแรงจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยืดเยื้อ ส่งผลให้ความต้องการนำเข้าสินค้าของจีนเพื่อผลิตส่งออกชะลอลงด้วย โดยทั้งการนำเข้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนสิงหาคม 2551 ชะลอลงตามภาคส่งออกไปด้วย แรงกดดันจากวิกฤตภาคการเงินสหรัฐฯ ที่ยืดเยื้อและมีแนวโน้มส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวรุนแรงมากขึ้น ได้ลุกลามไปยังเศรษฐกิจประเทศยุโรปและญี่ปุ่นที่มีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกับภาคการเงินสหรัฐฯ...
ส่งออกวูบกว่า 3 แสนล้านบาท
ปรากฏการณ์พญาอินทรีปีกหัก ไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ แต่จะลุกลาม ฉุดเศรษฐกิจโลกชะลอตัวอีกนาน คือความเห็นตรงกันจากทั้งนักวิชาการและกูรูด้านเศรษฐศาสตร์ระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเมืองไทย ที่ต้องเจอทั้งปัจจัยภายนอกประเทศและในประเทศ จนในที่สุดแล้วภาคเศรษฐกิจจริงของไทยจะมีปัญหา โดยเฉพาะรายได้จากการส่งออกของไทย ที่เป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สาหัสยาวถึงปี 2009 ทันที่มีมีข่าวว่า “เลแมน บราเดอร์ส” ประกาศ “ล้มละลาย” “กรรณิกา ชลิตอาภรณ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ แบงก์ขนาดใหญ่ของไทยบอกทันทีว่าวิกฤตรอบนี้จะทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอ และซึมยาวไปอีกอย่างน้อย...
แนวโน้มการส่งออกข้าวครึ่งหลังปี’51 ต่อเนื่องถึงปี’52 : แข่งขันรุนแรง…ตลาดเป็นของประเทศผู้ซื้อ
การส่งออกข้าวในช่วงปี 2550 ถึงในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่ปริมาณและมูลค่าการส่งออก เนื่องจากประเทศคู่แข่งสำคัญในตลาดโลก โดยเฉพาะเวียดนามและอินเดียชะลอการส่งออกข้าว จากที่ต้องการรักษาความมั่นคงทางด้านอาหารของประเทศ ไม่เกิดปัญหาการขาดแคลนข้าว และเกิดปัญหาอัตราเงินเฟ้อในหมวดอาหารเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ประเทศผู้นำเข้าข้าวต่างแย่งซื้อข้าวจากไทย ผลักดันให้ปริมาณและราคาส่งออกข้าวของไทยพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังปี 2551 สถานการณ์เริ่มพลิกกลับ โดยเวียดนามเริ่มกลับเข้าตลาดส่งออกข้าวในช่วงไตรมาสที่ 3 และคาดว่าอินเดียจะกลับเข้าตลาดในช่วงปลายไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 รวมทั้ง การคาดการณ์ถึงปริมาณการผลิตข้าวในฤดูการผลิต 2551/52...
ตัวเลขส่งออกเดือนสิงหาคม 2551 … ชะลอตัวลงกว่าที่คาด
ในวันที่ 19 กันยายน กระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนสิงหาคม 2551 โดยมีประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้ จากการรายงานของกระทรวงพาณิชย์ การส่งออกของไทยในเดือนสิงหาคม 2551 มีอัตราการขยายตัวชะลอลงกว่าที่คาด โดยอยู่ที่ร้อยละ 14.9 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (จากที่ขยายตัวร้อยละ 43.9 ในเดือนกรกฎาคม) และมีมูลค่า 15,887.6 ล้านดอลลาร์ฯ ลดลงจากเดือนกรกฎาคมและเดือนมิถุนายน ซึ่งตามปัจจัยฤดูกาลปกติของทุกปี ส่วนใหญ่แล้วเดือนสิงหาคมจะเป็นช่วงที่การส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า...