สำนักข่าว AP รายงานว่า สมาคมฟุตบอลแห่งเยอรมนี หรือ DFB ประกาศให้ “Nike” เป็นผู้ชนะสัญญาผู้จัดหาเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์กีฬาให้กับทีมฟุตบอลทีมชาติเยอรมัน รอบปี 2027-2034
ถือเป็นข่าวช็อกเพราะทีมชาติเยอรมันจับมือกับ “Adidas” แบรนด์กีฬาชื่อดังของเยอรมนีมานานกว่า 7 ทศวรรษ และทีมฟุตบอลเยอรมันเคยสวมเสื้อ Adidas ถือถ้วยแชมป์มาแล้วมากมาย ทั้งแชมป์ฟุตบอลโลกชาย 4 ครั้ง, แชมป์ฟุตบอลยูโรชาย 3 ครั้ง, แชมป์ฟุตบอลโลกหญิง 2 ครั้ง และแชมป์ฟุตบอลยูโรหญิงอีก 8 ครั้ง
ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นนี้สามารถย้อนไปถึงปี 1954 ปีที่ทีมชาติเยอรมันได้แชมป์บอลโลกชายครั้งแรก ปีนั้น “Adi Dassler” ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Adidas ไปนั่งลุ้นอยู่บนม้านั่งเคียงข้าง “Sepp Herberger” โค้ชทีมชาติเยอรมันตะวันตกด้วยตนเองในวันแข่งขันชิงแชมป์กับทีมชาติฮังการี และสุดท้ายเป็นเยอรมันตะวันตกที่ชนะไป
ฝั่ง Adidas เองก็ตกใจเช่นกันที่ DFB ประกาศเลือกคู่แข่งรายใหญ่สัญชาติอเมริกันแทน โดยมีการออกแถลงการณ์ยืนยันว่า “เราได้รับแจ้งจาก DFB ในวันนี้ว่าทางสมาคมจะเลือกผู้จัดหาเครื่องกีฬารายใหม่ในปี 2027”
ส่วนทาง DFB ก็แจ้งว่าทางสมาคมรับทราบทุกอารมณ์ความรู้สึกหลังจากประกาศออกไป แต่ที่ตัดสินใจเช่นนี้เพราะสมาคมให้ความสำคัญสูงสุดกับการพัฒนากีฬาฟุตบอลในเยอรมนี มีความรับผิดชอบต่อทีมฟุตบอลถึง 24,000 สโมสร และผู้เล่นอีกกว่า 2.2 ล้านคน ซึ่งทางสมาคมจะต้องใช้เงินอุดหนุนให้กับสโมสรเหล่านี้ด้วย
“DFB จำเป็นต้องตัดสินใจในเชิงการเงินที่อาจจะออกมาตรงกันข้ามกับปูมหลังที่เรามีด้วยกันมา ซึ่ง Nike ให้ผลตอบแทนทางการเงินที่ดีที่สุดในการยื่นข้อเสนอครั้งนี้” DFB แถลง ทั้งนี้ ขอสงวนตัวเลขว่า Nike จ่ายค่าสปอนเซอร์เท่าไหร่ที่ทำให้เกิดดีลช็อกวงการครั้งนี้
นอกจากผลตอบแทนทางการเงิน DFB บอกด้วยว่า Nike ให้คำสัญญาและวิสัยทัศน์ที่จะร่วมกันพัฒนาฟุตบอลตั้งแต่ระดับเริ่มต้นหรือมือสมัครเล่น รวมถึงจะช่วยพัฒนาทีมฟุตบอลหญิงในเยอรมนีด้วยกัน
แน่นอนว่าแม้จะมีคำอธิบายออกมาแต่ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของ DFB แม้แต่ “Robert Habeck” รองนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ยังออกมาให้ความเห็นว่า “ผมแทบจินตนาการไม่ออกเลยว่าชุดทีมชาติเยอรมันจะไม่มีขีดสามขีดได้อย่างไร สำหรับผมแล้ว Adidas กับสีแดง-ดำ-ทอง คือสิ่งที่คู่ควรอยู่ด้วยกัน กลายเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของชาติเยอรมันไปแล้ว ผมอยากจะให้มีความรักชาติและท้องถิ่นมากกว่านี้สักหน่อย (ในการตัดสินใจนี้)”
นับเป็นห้วงเวลาที่หนักหนาของ Adidas ทีเดียวที่ดีลสำคัญเกิดหลุดมือไป หลังจากเมื่อปี 2023 บริษัทเพิ่งจะประกาศผล “ขาดทุน” ครั้งแรกในรอบ 30 ปีจากปัญหารองเท้า Yeezy และดีมานด์ในสหรัฐฯ ที่หดตัวลงด้วย
]]>Nike แบรนด์เสื้อผ้ากีฬายักษ์ใหญ่ ได้ประกาศว่า บริษัทจะลดจำนวนพนักงานลง 2% หรือประมาณ 1,600 ตำแหน่ง เพื่อ ลดต้นทุน เนื่องจากกำไรปีนี้ที่อาจจะลดลง อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่ Nike แต่แบรนด์ใหญ่ ๆ อย่าง Adidas, Puma และ JD Sports ก็ออกมาเตือนถึงรายได้ที่อ่อนแอลงในปีนี้ เนื่องจากผู้บริโภคลดการใช้จ่ายที่ไม่จําเป็น
ย้อนไปในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา Nike มีแผนลดต้นทุนมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์ ในอีก 3 ปีข้างหน้า ผ่านมาตร การต่าง ๆ อาทิ การปรับปรุงซัพพลายเชน การลดขั้นตอนการบริหารจัดการ และเพิ่มการใช้ระบบออโตเมชั่น จนล่าสุด บริษัทได้ลดจำนวนพนักงานลง
ตามรายงานระบุว่า การลดจำนวนพนักงานจะแล้วเสร็จภายในสิ้นไตรมาส 1 ของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่มีการระบุว่าการลดพนักงานครั้งนี้จะลดพนักงานในส่วนไหน แต่มีการระบุว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อพนักงานในร้านค้า, ศูนย์กระจายสินค้า และผู้ที่อยู่ในทีมพัฒนานวัตกรรม
ทั้งนี้ จากข้อมูลวันที่ 31 พฤษภาคม 2023 Nike มีพนักงานประมาณ 83,700 คน
]]>ธุรกิจของ Nike ต้องเผชิญแรงกดดันในปีนี้ หลังจากห้างค้าปลีกทั้งหลายเริ่มสั่งคำสั่งซื้อสินค้าน้อยลง เพราะดีมานด์ลูกค้าที่ลดลง แม้แต่ในช่องทางออนไลน์เองก็มีคำสั่งซื้อลดลงเช่นกัน รวมถึงตลาดใหญ่อย่างจีนก็ทำยอดขายได้น้อยลงจากภาวะเศรษฐกิจจีนที่ไม่เป็นใจ ทำให้บริษัทต้องอัดโปรโมชันมากขึ้นเพื่อกระตุ้นยอดขาย
“เราเห็นดัชนีที่ชี้ว่าผู้บริโภคทั่วโลกใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น” Matthew Friend ซีเอฟโอ Nike กล่าว
ล่าสุด Nike จึงปรับคาดการณ์รายได้รอบปีนี้ลง คาดจะเติบโตประมาณ 1% เท่านั้น แตกต่างจากการคาดการณ์ครั้งก่อนหน้าที่เชื่อว่าจะโต ‘ซิงเกิลดิจิตในระดับกลางๆ’ ขณะที่นักวิเคราะห์ยังคาดการณ์ว่า Nike จะโตได้ 3.8%
“Nike เริ่มพูดถึงการลดจำนวนสินค้าลง บางทีบริษัทอาจจะรู้สึกว่ามีสินค้าหลายตัวเกินไปที่ทำกำไรได้น้อย และไม่ได้ช่วยผลักดันให้มียอดขายสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ” David Swartz นักวิเคราะห์หุ้นอาวุโสที่ Morningstar กล่าว
แม้ว่าจะลดจำนวนสินค้า แต่ Nike ก็จะยังเปิดสินค้าสไตล์ใหม่ๆ เพื่อมาดึงฐานลูกค้าเพิ่มอีก เพราะเคยประสบความสำเร็จมาแล้วกับกลุ่มรองเท้าบาสเก็ตบอล เช่น รุ่น Lebron 21
“ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ที่ผู้บริโภคมีแรงกดดันทางเศรษฐกิจสูงและต้องแข่งกันด้านโปรโมชัน นวัตกรรมของสินค้าและอะไรที่ออกมาใหม่จะช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ ปัจจัยเหล่านี้ที่จะทำให้เราไปได้ในการแข่งขันอัดโปรโมชันบนมาร์เก็ตเพลส” Friend ซีเอฟโอบริษัทกล่าว
Nike ไม่ได้ระบุว่าจะตัดสินค้าตัวไหนออก บอกเพียงว่ามีสินค้ารุ่นไหนบ้างที่ยังขายดี เช่น สนีกเกอร์ Air Force 1, Dunk และ Court
ด้านแผนการลดต้นทุนให้ได้ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายใน 3 ปีข้างหน้า Nike จะลดการสต็อกสินค้าบางรุ่นลง พัฒนาซัพพลายเชนให้ดีขึ้น ลดลำดับชั้นในการบริหาร และเพิ่มการใช้ระบบออโตเมชัน
รอบปีบัญชีนี้ของ Nike เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2023 – พฤษภาคม 2024 โดยไตรมาสสองของรอบปีบัญชี ช่วงเดือนกันยายน–พฤศจิกายน 2023 นั้นบริษัททำรายได้ไป 13,390 ล้านเหรียญสหรัฐ ตกเป้าที่ตั้งไว้ 13,430 ล้านเหรียญสหรัฐไปเล็กน้อย
]]>ครั้งหนึ่ง Nike กับ Adidas เคยเป็นคู่แข่งที่สูสีมาก แต่วันนี้ Nike เติบโตจนยิ่งใหญ่กว่า Adidas ไปสองเท่าตัว ยิ่งเห็นผลการสำรวจความชื่นชอบแบรนด์ในหมู่วัยรุ่นอเมริกันแล้ว บอกได้ว่า Adidas ต้องเร่งเกมอีกเยอะ
Piper Sandler สำรวจวัยรุ่นอเมริกันใน 47 รัฐของสหรัฐอเมริกา โดยมีค่าเฉลี่ยอายุผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ที่ 16.2 ปี โดยการสำรวจนี้จะจัดทำทุกๆ 2 ปี
ผลสำรวจรอบล่าสุดพบว่า เจนซียุคนี้ 61% ชื่นชอบแบรนด์รองเท้า Nike ทิ้งห่างอันดับ 2 คือ Converse ซึ่งมีวัยรุ่นชื่นชอบ 10% ยิ่งอันดับ 3 ยิ่งห่างออกไป เพราะ Adidas มีวัยรุ่นชื่นชอบเพียง 6%
การสำรวจในกลุ่มวัยรุ่นนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะวัยรุ่นมักจะเป็นวัยที่วางเทรนด์ด้านรสนิยม และพวกเขายังมีเวลาอีกหลายทศวรรษข้างหน้าที่จะซื้อสินค้าแบรนด์ที่พวกเขารัก
Nike นั้นถือเป็นแบรนด์ที่ปรับตัวให้เข้ากับวัยรุ่นแต่ละยุคมาอย่างต่อเนื่อง อย่างล่าสุดแบรนด์นี้เพิ่งจะออกสนีกเกอร์รุ่นใหม่ที่ตั้งเป้าเจาะกลุ่มเจนซีโดยเฉพาะ ซึ่งหมายถึงกลุ่มที่เกิดระหว่างปี 1997-2012 (ปัจจุบันอายุ 11-26 ปี) จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมในการสำรวจของ Piper Sandler แบรนด์ Nike ถึงได้อันดับ 1 ในใจวัยรุ่นมา 12 ปีติดต่อกัน
ขณะที่ Adidas อาจจะเข้ามาเจาะตลาดนี้ช้ากว่า แต่ก็เริ่มเข้ามาแล้ว อย่างเช่นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แบรนด์มีการออกเสื้อผ้าแนวสปอร์ตแวร์สที่เน้นกลุ่มเจนซีโดยเฉพาะเช่นกัน
ในการสอบถามเว็บไซต์ช้อปปิ้งที่วัยรุ่นอเมริกันชอบที่สุด Nike ก็ยังได้อันดับ 2 รองจาก Amazon สอดคล้องกับนโยบายการดันยอดขายดิจิทัลให้เพิ่มขึ้นของบริษัท
อย่างไรก็ตาม ถ้าเจาะลึกลงไปก็ยังมีบางกลุ่มเป้าหมายที่ Nike ยังมีจุดอ่อนเช่นกัน
ในจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 5,690 คน แบ่งเป็นเพศชายและเพศหญิง ฝั่งเพศชายนั้นให้ Nike เป็นอันดับ 1 แบรนด์เสื้อผ้าที่พวกเขาชอบมากที่สุดและชนะแบรนด์อื่นแบบขาดลอย ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่นชายในฐานะใดก็ตาม
แต่ฝั่งผู้หญิงนั้นแตกต่าง หากมองภาพรวมฝั่งผู้หญิงให้ Nike อันดับ 1 แต่ด้วยสัดส่วน 16% รองมาอันดับ 2 คือ American Eagle ได้ไป 12% และอันดับ 3 คือ Lululemon 11% เห็นได้ว่าเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างจะใกล้เคียงกัน
ถ้าเจาะเข้าไปในกลุ่มวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะดี อันดับจะสลับกัน โดยวัยรุ่นกลุ่มนี้ให้ Lululemon อันดับ 1 ด้วยสัดส่วน 14% รองมาคือ American Eagle 12% และ Nike อยู่อันดับ 3 ได้ไป 10%
นับว่าแผนการเจาะกลุ่มผู้หญิงของ Nike ที่ดำเนินมาเกินสิบปีนั้น ยังต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อเข้าไปอยู่ในใจผู้หญิงรุ่นใหม่ให้ได้
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
]]>มาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกที่ตอบโต้การรุกรานยูเครนของกองทัพรัสเซีย โดยเฉพาะการตัดธนาคารกลางรัสเซียจากระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ หรือ SWIFT ที่ทำให้ภาคธุรกิจและบริษัทต่างๆ ไม่สามารถทำธุรกรรมข้ามประเทศได้แบบเรียลไทม์ รวมไปถึงการควบคุมการส่งออกและการปิดพื้นที่ทางอากาศ
ทำให้บริษัทระดับโลกหลายสิบเเบรนด์ ต้องหยุดดำเนินการในรัสเซีย อย่างผู้ผลิตวอดก้ารายใหญ่ Diageo เเละผู้ผลิตรถยนต์ Toyota เเละก่อนหน้านี้เเบรนด์ใหญ่อย่าง Apple, Google , Ford และ Shell ก็ได้ร่วมประณามการโจมตีของรัสเซียด้วย
IKEA ระบุว่า บริษัทจะปิดร้านค้าในรัสเซียและชาติพันธมิตรอย่างเบลารุส ซึ่งจะส่ง ผลกระทบต่อพนักงานกว่า 15,000 ราย เเต่ IKEA ชี้เเจงว่าการปิดร้านค้าครั้งนี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากปัญหาทางการเมือง
“สงครามได้ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อมนุษยชาติ อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาซัพพลายเชนหยุดชะงัก รวมถึงข้อจำกัดทางการค้าอื่นๆ ทำให้เราต้องตัดสินใจระงับการทำธุรกิจในรัสเซียชั่วคราว”
ด้าน Nike กล่าวว่า เเบรนด์กำลังประสบปัญหาอย่างมากจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน เเละอธิบายถึงการปิดร้านค้าชั่วคราวครั้งนี้ว่า “ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและความท้าทายที่เพิ่มขึ้นในการดำเนินธุรกิจของเรา Nike จะหยุดดำเนินการในรัสเซีย”
Mango เเบรนด์ค้าปลีกแฟชั่นจากสเปน ได้ปิดร้านค้าและเว็บไซต์ขายออนไลน์ในรัสเซียชั่วคราวเเล้ว พร้อมด้วย Intel และ Cisco ที่ระงับการขายในรัสเซีย ขณะที่ Accenture บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีและธุรกิจ ก็กำลังยุติธุรกิจในรัสเซีย ซึ่งมีพนักงานเกือบ 2,300 คน
ค่าเงินรูเบิลที่อ่อนค่าลงต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้ธนาคารกลางรัสเซีย ต้องตอบโต้ด้วยคำสั่งให้ภาคเอกชนในรัสเซีย ขายสกุลเงินต่างประเทศที่ถือครองอยู่ในอัตราส่วน 80% ของรายได้ที่ได้จากการซื้อขายสกุลเงินต่างประเทศ เเละสั่งห้ามโบรกเกอร์ที่ขายหลักทรัพย์ให้กับนักลงทุนต่างประเทศ ทำธุรกรรมทุกประเภทอย่างไม่มีกำหนด พร้อมประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวดเดียวสู่ระดับ 20% จากเดิม 9.5% เป็นกรณีฉุกเฉิน
ที่มา : Reuters , Straitstimes
]]>เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานว่า Nike ยื่นขอเครื่องหมายการค้ากับสำนักงานสิทธิบัตรการค้าของสหรัฐฯ สำหรับ สินค้าเสมือนจริงที่มีตราสินค้า Nike รวมถึงเสื้อผ้าและรองเท้าผ้าใบ โดยการเคลื่อนไหวดังกล่าวถือเป็นก้าวแรกของบริษัทในการที่จะทำและขายรองเท้าผ้าใบและเครื่องแต่งกายเสมือนจริงภายใต้แบรนด์ Nike
ตามรายงานของสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐอเมริกา Nike ได้ยื่นคำร้องในวันที่ 27 ต.ค. สำหรับชื่อ ‘Nike’ และโลโก้ รวมถึงสโลแกน ‘Just Do It’ ด้วย ต่อมาก็ได้มีการยื่นใบสมัครอีกสองรายการสำหรับโลโก้ ‘Air Jordan’ และ ‘Jumpman’ โดยรวมแล้วมีการส่งใบสมัครที่แตกต่างกัน 7 รายการ
“Nike กำลังปกป้องเครื่องหมายการค้าของพวกเขาสำหรับยุคใหม่นี้” Josh Gerben ทนายความด้านเครื่องหมายการค้ากล่าว
นอกจากการยื่นจดสิทธิบัตรแล้ว Nike ยังกำลังมองหา นักออกแบบวัสดุเสมือนจริง สำหรับออกแบบรองเท้า รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในฐานะ Digital Product Creator อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนในอนาคตในตอนนี้ แต่คนที่คุ้นเคยกับกลยุทธ์นี้กล่าวว่า พื้นที่มีความสำคัญสำหรับแบรนด์ และผู้บริโภคสามารถคาดหวังที่จะเห็นการเปิดตัวสินค้าเสมือนจริงมากขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
“นี่จะเห็นได้ชัดว่าเป็นการตอบรับแนวคิดเรื่อง metaverse พวกเขากำลังยื่นคำร้องใหม่สำหรับเครื่องหมายการค้าหลักของบริษัท โดยบอกว่าพวกเขากำลังจะเปิดตัวและเริ่มขายเสื้อผ้าเสมือนจริง หมวก รองเท้า ในโลกออนไลน์และโลกเสมือนจริง”
“ถ้าคุณต้องการควบคุมเครื่องหมายการค้าของคุณในโลกนั้น มันจะง่ายกว่าถ้าคุณเพิ่งลงทะเบียนสำหรับสินค้าเสมือนจริง การยื่นเครื่องหมายการค้าจะเพิ่มมูลค่าให้กับพอร์ตโฟลิโอของแบรนด์โดยรวม เนื่องจากเครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินรูปแบบหนึ่ง”
จากข้อมูลของ Gerben เครื่องหมายการค้าใหม่นี้ยังให้การคุ้มครองพิเศษแก่ Nike ในกรณีที่ผู้อื่นพยายามใช้แบรนด์ในลักษณะที่ไม่มีใบอนุญาต
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่การรุกสู่โลกเสมือนจริงครั้งแรกของแบรนด์ โดยย้อนไปในเดือนพฤษภาคม 2019 แบรนด์ Jordan ร่วมมือกับ Fortnite โดยที่ตัวละครสวมรองเท้าผ้าใบแบรนด์ Nike นอกจากนี้ Nike ยังได้ร่วมมือกับ Roblox แพลตฟอร์มเกมออนไลน์อีกหลายครั้ง นอกจากนี้ บริษัทยังคงรอการจดสิทธิบัตรที่ยื่นเมื่อเดือนเมษายน 2019 สำหรับ ‘Cryptokicks’ ซึ่ง Nike วางแผนที่จะใช้เป็นโทเค็นของบริษัท
ในขณะที่ Nike เตรียมพร้อมสำหรับโลกเสมือนจริง โลกจริงของบริษัทกำลังได้รับผลกระทบจากปัญหาซัพพลายเชน ในรายงานผลประกอบการล่าสุดเมื่อวันที่ 23 กันยายน โดยบริษัทได้ ปรับลดแนวโน้มปีงบประมาณ 2022 ลง เนื่องจากปัญหาทั้งระยะเวลาขนส่งที่ยาวนานขึ้น การขาดแคลนแรงงาน และการปิดการผลิตที่ยืดเยื้อในเวียดนาม อย่างไรก็ตาม หุ้น Nike เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมีมูลค่าตลาดมากกว่า 2.65 แสนล้านดอลลาร์
]]>โรงงานเวียดนามต่างๆ ในเวียดนาม เป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น และสร้างความกังวลต่อเนื่องไปถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
การระบาดของโควิด-19 ระลอกล่าสุดในเวียดนามที่มีความรุนเเรง ทำให้รัฐบาลต้องประกาศมาตรการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวด ทำให้กำลังผลิตของโรงงานต่างๆ ลดลงถึง 50%
เหล่านี้ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอเเละเเบรนด์เเฟชั่นยักษ์ใหญ่อย่าง Nike และ Gap ที่ต่างพึ่งพาผู้ผลิตในประเทศเเถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความล่าช้าและข้อจำกัดต่างๆ ในการเดินทาง ทั้งการนำเข้าสินค้าและส่งออก สร้างความปวดหัวครั้งใหญ่ให้กับ ‘ธุรกิจต่างชาติ’ ที่หลายเจ้าได้ย้ายฐานผลิตจากจีน มายังอาเซียนมากขึ้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการค้าระหว่างจีน–สหรัฐฯ
Nike กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนสินค้าอุปกรณ์กีฬาและได้ปรับลดการคาดการณ์ยอดขายลงมา จากสาเหตุหลักๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับโรงงานผลิตในเวียดนามกว่า 80% ในภาคใต้ และเกือบครึ่งหนึ่งของโรงงานผลิตเสื้อผ้าที่ต้องปิดทำการชั่วคราว
แม้ว่าโรงงานบางเเห่งจะปรับระบบให้พนักงานสามารถกิน–ทำงานและนอนค้างคืน ในพื้นที่โรงงานได้เพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดการล็อกดาวน์ เเต่ก็ยังมีกำลังผลิตที่น้อยกว่าเดิมมาก
เเละถึงแม้ว่ามาตรการล็อกดาวน์จะค่อยๆ คลี่คลายลงเเล้ว เเต่เเบรนด์ต่างๆ ก็ยังกังวลกับผลกระทบ ‘ระยะยาว’ ต่อการผลิตในเวียดนาม โดย Nike และ Adidas ยอมรับว่าพวกเขาต้องการโรงงานผลิตแห่งอื่นชั่วคราว
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอเท่านั้น แต่ยังลุกลามไปยังซัพพลายของวงการ ‘กาแฟ’ ด้วย
โดยเวียดนามเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟโรบัสต้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มักใช้ใน ‘กาแฟสำเร็จรูป’ ทำให้ตอนนี้ราคากาแฟขึ้นสูงสุดในรอบ 4 ปี
ด้านบริษัทรถยนต์ก็มีการปรับลดการผลิตลงเช่นกัน โดยยักษ์ใหญ่อย่าง ‘โตโยต้า’ เพิ่งลดการผลิตประจำเดือน ก.ย.และต.ค.ลง โดยส่วนหนึ่งมาจากปัญหาโรครบะบาดที่ส่งผลกระทบหนักในเวียดนาม มาเลเซีย รวมถึงไทย
ที่มา : AFP , news.com.au
]]>หนึ่งในรางวัลสายโฆษณาที่มอบกันบนเวที Creative Arts Emmys จัดโดย Academy of Television Arts and Sciences ทุกปี คือ รางวัลโฆษณายอดเยี่ยม (Outstanding Commercial) ซึ่งปี 2021 นี้ตกเป็นของ Nike กับโฆษณาชุด “You Can’t Stop Us” สร้างสรรค์งานครีเอทีฟโดย Wieden+Kennedy Portland และกำกับโดย Oscar Hudson of Pulse Films
งานภาพของโฆษณาความยาว 1 นาทีชุดนี้น่าสนใจที่เป็นการแยกภาพออกเป็นฝั่งซ้ายและขวา แต่การประกบคู่ของภาพฝั่งซ้ายและขวาที่เป็นคนละคนกันนั้นเข้าคู่ลื่นไหลราวกับเป็นภาพเดียวกัน เพื่อสื่อให้เห็นการหลอมรวมกันเป็นหนึ่งของโลกการกีฬา ไม่ว่าจะเป็นชนิดกีฬาใด ชนชาติไหน เป็นผู้มีร่างกายปกติหรือผู้พิการ เป็นเพศใด หรืออายุเท่าไหร่
สิ่งที่สื่อสารออกมาคือโลกการกีฬาร่วมมือกันเพื่อต่อสู้กับอุปสรรคร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการเหยียดผิว เหยียดเพศ และล่าสุดคือโรคติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งคนกีฬาทั้งโลกมีประสบการณ์ร่วมกัน แต่ไม่ว่าจะมีอุปสรรคแค่ไหน สิ่งเหล่านี้ก็ “หยุดพวกเราไว้ไม่ได้”
“You Can’t Stop Us” จาก Nike ถูกเสนอเข้าชิงแข่งกับโฆษณาอีก 5 ชิ้น ไม่ว่าจะเป็น “Better | Mamba Forever” จาก Nike เช่นกัน, “You Love Me” โฆษณา Beats by Dre’s, โฆษณาชุด “Jump” จาก AirPods Pro, “It’s Already Does That” โฆษณานาฬิกา Apple Watch รวมถึง “Alexa’s Body” จาก Amazon
โฆษณาชุด “You Can’t Stop Us” ก่อนหน้านี้คว้ารางวัล Film Grand Prix จากเวทีของชาวโฆษณา Cannes Lion International Festival of Creativity มาก่อนแล้ว
]]>ถือว่าฟื้นคืนชีพจากที่เคยโดนพิษโควิดเล่นงานอย่างสวยงาม เพราะเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ไนกี้สามารถเติบโตได้ถึง 96% โดยทำรายได้ถึง 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์หรือราว 3.92 แสนล้านบาท ขณะที่ไตรมาสก่อนหน้าทำรายได้ที่ 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ จากการเติบโตดังกล่าวทำให้หุ้นของไนกี้พุ่งขึ้น 12% ส่งผลให้มูลค่าบริษัทอยู่ที่ 7.6 ล้านล้านบาท
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ไนกี้สามารถเติบโตอย่างมากมาจากผู้บริโภคที่ยังมองหาเสื้อผ้าที่ใส่สบายและเสื้อผ้าสำหรับออกกำลังกาย แม้ว่าคนจะเริ่มกลับไปโรงเรียนหรือออฟฟิศแล้วก็ตาม แต่คนก็ยังมองหารองเท้าผ้าใบและกางเกงผ้ายืดเพื่อใส่ออกไปนอกบ้าน ขณะที่ยอดขายจากช่องทางออนไลน์ก็เติบโตขึ้นถึง 41% เมื่อเทียบกับปีก่อน และเพิ่มขึ้นถึง 147% เมื่อเทียบกับสองปีก่อน
นอกจากนี้ การทำรูปแบบสมาชิกยิ่งช่วยขับเคลื่อนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โดยการซื้อออนไลน์จากสมาชิกซึ่งได้รับสิทธิ์เข้าถึงผลิตภัณฑ์พิเศษและสิทธิพิเศษอื่น ๆ ก่อนลูกค้าทั่วไป ทำให้ไนกี้มียอดขายทำสถิติสูงถึง 3 พันล้านดอลลาร์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปัจจุบัน ไนกี้มีสมาชิกมากกว่า 300 ล้านคนทั่วโลก
“ด้วยแรงผลักดันจากโมเมนตัมของเรา เรายังคงลงทุนในนวัตกรรมและความเป็นผู้นำด้านดิจิทัลของเรา เพื่อสร้างรากฐานสำหรับการเติบโตในระยะยาวของ Nike” John Donahoe ซีอีโอของ Nike กล่าว
ด้านภูมิภาคที่ไนกี้สามารถทำได้ดีก็คือ อเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท (46%) โดยยอดขายพุ่งขึ้นกว่า 141% ทำรายได้เป็น 5.38 พันล้านดอลลาร์ ส่วน ยุโรป, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (25%) ยอดขายเพิ่มขึ้น 124% ด้าน เอเชียแปซิฟิก และละตินอเมริกา (13%) ยอดขายเติบโต 82%
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของจีน (16%) หนึ่งในตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดของบริษัทกลับเติบโตได้เพียง 17% ซึ่งสาเหตุอาจมาจากที่ไนกี้เคยถูกแบนเพราะบริษัทได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับข้อกล่าวหาเรื่องการบังคับใช้แรงงานในซินเจียง
“จากประวัติศาสตร์ 40 ปีของเราในจีนแผ่นดินใหญ่ เรายังคงลงทุนอย่างต่อเนื่องในการให้บริการผู้บริโภคด้วยผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดที่ โดยไนกี้นำเสนอในรูปแบบสินค้าที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น” CFO Matt Friend กล่าว
ทั้งนี้ ปัญหาด้านโลจิสติกส์ยังคงเป็นสิ่งที่ไนกี้ให้ความกังวล โดยคาดว่าจะยังมีความล่าช้าในระบบซัพพลายเชน รวมถึงต้นทุนที่จะยิ่งสูงขึ้นตลอดปีงบประมาณ 2565 โดยไนกี้คาดว่าการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และการขาดแคลนคนขับรถบรรทุก รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ จะทำให้การขนส่งสินค้าตั้งแต่จากท่าเรือไปยังโกดังสินค้าไปจนถึงบ้านของผู้ซื้อเป็นไปอย่างล่าช้า และจะยังเป็นปัญหาต่ออุตสาหกรรมค้าปลีกไปอีกหลายเดือน
]]>LYST Index จัดอันดับ แบรนด์แฟชั่นที่ “ร้อนแรง” ที่สุดเป็นประจำทุกไตรมาส โดยวัดภาพรวมจากยอดขาย พฤติกรรมผู้ซื้อ จนถึงข้อมูลในอินเทอร์เน็ต เช่น การค้นหาใน Google จำนวนการพูดถึงและปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์บนโซเชียลมีเดีย นำดาต้ามาเรียงเป็นอันดับแบรนด์พร้อมไฮไลต์ความเคลื่อนไหวที่ส่งให้แบรนด์ ‘ปัง’ ในไตรมาส
ที่ผ่านมา
สำหรับไตรมาส 1 ปี 2021 “10 แบรนด์แฟชั่นที่ร้อนแรงที่สุด” จากการจัดอันดับโดย LYST Index ได้แก่
แบรนด์ Gucci ยังคงรั้งอันดับ 1 ต่อเนื่องจากเมื่อไตรมาส 4/2020 ช่วงที่ผ่านมาแบรนด์นี้เป็นที่พูดถึงอย่างมากจากคอลเลกชัน collab กับแบรนด์ The North Face เสื้อแจ็กเก็ตบอมเบอร์ที่ออกแบบร่วมกันขายหมดอย่างรวดเร็ว และในงานประกาศผลรางวัล Grammys หลังศิลปินดัง Billie Ellish และ Harry Styles เลือกสวมใส่ชุดแบรนด์นี้เข้างาน สร้างกระแสบนอินเทอร์เน็ต
นอกจากนี้ Gucci ยังอยู่ระหว่างถ่ายทำภาพยนตร์ House of Gucci ฉลองครบรอบ 100 ปี โดยมี Lady Gaga กับ Adam Driver แสดงนำ
กระโดดขึ้นมาจากอันดับ 11 เมื่อไตรมาส 4/2020 เป็นที่พูดถึงจากสนีกเกอร์รุ่นใหม่ที่ ‘ไม่ต้องใช้มือจับในการสวมใส่’ เหมาะสำหรับทุกคน รวมถึงยอดขายของ Nike ผ่านช่องทางดิจิทัลที่เติบโตขึ้นถึง 59% ส่งให้แบรนด์พุ่งทะยาน
หน้าใหม่ที่เข้ามาติดในลิสต์ (ก่อนหน้านี้ LYST Index ไม่รวม Dior ไว้ในการจัดอันดับ) อันดับของ Dior พุ่งขึ้นจากการแต่งตั้ง “Kim Ji-Soo” แห่งวง Blackpink เป็นแอมบาสเดอร์ระดับโลก
นอกจากนี้ ยังมีลูกเล่นบนโลกดิจิทัล เช่น การเปิดตัวคอลเลกชัน F/W’21 แบบเสมือนจริงจากพระราชวังแวร์ซายส์ หรือการเปิดตัวฟีเจอร์บน Snapchat ให้ลูกค้าทดลองสวมสนีกเกอร์ด้วย AR LYST ระบุว่า Dior จะเป็นแบรนด์มาแรงที่มาเขย่าบัลลังก์ Gucci ในไม่ช้า
อันดับของแบรนด์หย่อนลงมาเล็กน้อยจากอันดับ 2 เมื่อไตรมาส 4/2020 แต่ยังคงถูกพูดถึงในเชิงบวกจากนโยบายของ Kering บริษัทแม่ ซึ่งประกาศว่าแบรนด์จะไม่ใช้ขนสัตว์เป็นส่วนประกอบโดยเด็ดขาด
ลงมาจากอันดับ 3 เมื่อไตรมาส 4/2020 แต่ทำผลงานได้ดีในส่วนอีคอมเมิร์ซที่โตแบบดับเบิลดิจิต และได้สปอตไลต์จากแจ็กเก็ตรุ่นใหม่ Born to Project ซึ่งทำจากวัสดุรีไซเคิล (Moncler เป็นแบรนด์หรูจากอิตาลีที่ก่อตั้งเมื่อปี 1952 โด่งดังจากการทำชุดสกี)
ลงมาเล็กน้อยจากอันดับ 5 เมื่อไตรมาส 4/2020 แต่โดดเด่นมากในการทำยอดขายออนไลน์ซึ่งเติบโตมากกว่า 200% ในช่วงปี 2020 ทั้งปี
อีกหนึ่งแบรนด์ที่เพิ่งเข้ามาติดลิสต์ LYST เช่นเดียวกับ Dior แบรนด์ฝรั่งเศสรายนี้เปิดตัวคอลเลกชัน F/W’21 แบบเสมือนจริง แต่จัดในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ Louis Vuitton ยังเลือก “Naomi Osaka” นักกีฬาเทนนิสหญิงให้เป็นแอมบาสเดอร์คนใหม่ด้วย
ลงมาจากอันดับ 7 ในไตรมาสที่แล้ว แต่ในด้านยอดขาย Bottega Veneta ถือว่ายังทำได้ดี เพราะตลอดปี 2020 รายได้ยังคงเติบโต
แบรนด์นี้ยังขยับลูกเล่นใหม่บนโลกออนไลน์ โดยจะผลิตนิตยสารดิจิทัลรายไตรมาส แทนที่บัญชีโซเชียลมีเดียของแบรนด์ที่ถูกลบหายเกลี้ยงเมื่อปีก่อน ฉบับแรกเปิดตัวแล้วโดยนำ Missy Elliot แรปเปอร์หญิงผิวสีเป็นคนดังคนแรกในนิตยสาร
หล่นลงมาจากอันดับ 6 เมื่อไตรมาสก่อน ความเคลื่อนไหวล่าสุดของแบรนด์มีการเปิดตัวภาพยนตร์สำหรับคอลเลกชัน S/S’21 กำกับโดย Gaspar Noe นักทำหนังชาวอาร์เจนตินาในฝรั่งเศส
หล่นแรงจากอันดับ 4 เมื่อไตรมาสก่อน แม้ว่าจะมีความเคลื่อนไหวมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญ ‘I support Black women’ จนถึงการทำสนีกเกอร์ collab กับ Nike รวดเดียว 7 แบบก็ตาม
LYST Index ยังมีแบรนด์แฟชั่นสุดร้อนแรงลำดับที่ 11-20 ของไตรมาส 1/2021 ด้วย ได้แก่ Versace, Burberry, Fendi, Valentino, Alexander McQueen, LOEWE, Givenchy, Jacquemus, Balmain และ Stone Island
รวมถึงมีไอเทมแฟชั่นที่ร้อนแรงเป็นที่ต้องการ แม้ว่าแบรนด์นั้นจะไม่ติด Top 20 เช่น กระเป๋ารุ่น Kelly ของ Hermes, หมวกทรงบัคเก็ต Adidas x Ivy Park, รองเท้า Yeezy 450 จาก Adidas, นาฬิกา Submariner 40mm จาก Rolex เป็นต้น
LYST ปิดท้ายรายงานว่า สถานการณ์ตลาดแฟชั่นขณะนี้ยังอยู่ในช่วงขาลงจากเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน การเดินทางท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว และการระบาดระลอกสามของ COVID-19 ที่ยังเล่นงานทวีปยุโรป
แต่ปัจจัยบวกคือสัญญาณที่ดีจากการกระจายวัคซีน สะท้อนสู่ดีมานด์ที่ค้างอยู่สำหรับเสื้อผ้าแฟชั่นเพื่อการเดินทางหรือออกนอกบ้าน เช่น รองเท้าส้นสูง ชุดเดรส ซึ่งมีการค้นหาเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 163% และ 222% ตามลำดับ หลังจากที่ผ่านมา กลุ่มเสื้อผ้าสวมใส่สบายจะขายดีมากกว่า
]]>