Omnichannel – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 31 Aug 2023 05:09:05 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กลยุทธ์ “ท็อปส์” จับกลุ่มลูกค้าลอยัลตี้ โหมช้อปออนไลน์ด้วย “ท็อปส์ ไพร์ม” เหมาค่าส่งรายเดือน https://positioningmag.com/1442943 Thu, 31 Aug 2023 04:34:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1442943 27 ปีของ “ท็อปส์” ในประเทศไทย ยืนระยะได้ด้วยการจับกลุ่มลูกค้าลอยัลตี้อยู่หมัด ปัจจุบันยอดขาย 70% มาจากลูกค้าสมาชิก พร้อมปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมช้อปออนไลน์ โปรแกรม “ท็อปส์ ไพร์ม” เหมาค่าจัดส่งเดลิเวอรีรายเดือนได้ผลดี หลังเปิดมากว่า 1 ปีจำนวนสมาชิกโตเฉลี่ย 19% ทุกเดือน

“ท็อปส์” แบรนด์ซูเปอร์มาร์เก็ตในเครือเซ็นทรัล รีเทล ฉลองครบรอบ 27 ปีในประเทศไทย เติบโตจนถึงปัจจุบันมีสาขารวมเกือบ 700 สาขา แบ่งเป็น Tops Supermarket 137 สาขา, Tops Food Hall 16 สาขา, Tops Fine Food 2 สาขา, Tops Club 1 สาขา และ Tops Daily 534 สาขา (*รวมสาขาที่กำลังรีแบรนด์จาก Family Mart แล้ว) รวมถึงมีช่องทางอีคอมเมิร์ซผ่าน Tops Online

“จักรกฤษณ์ จตุปัญญาโชติกุล” รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาด ประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด เปิดเผยสถิติของ “ท็อปส์” จากฐานสมาชิก The1 ปัจจุบันมีกว่า 8 ล้านราย ในจำนวนนี้มีลูกค้า 6 แสนรายที่สมัครสมาชิกต่อเนื่องกับท็อปส์มาตั้งแต่ช่วงแรกที่มีการเปิดระบบ CRM เมื่อ 2 ทศวรรษก่อน สะท้อนให้เห็นว่าท็อปส์สามารถสร้าง “ลอยัลตี้” ในกลุ่มลูกค้าได้ดี

ท็อปส์

โดยกลุ่มลูกค้าลอยัลตี้ถือว่าสำคัญมากกับท็อปส์ เนื่องจากปัจจุบันยอดขาย 70% ของท็อปส์มาจากลูกค้าสมาชิก และกลุ่มลูกค้าสมาชิกจะมียอดซื้อต่อครั้ง (basket size) สูงกว่าลูกค้าทั่วไปถึง 59% รวมถึงมาช้อปปิ้งกับท็อปส์บ่อยกว่า โดยมาช้อปเฉลี่ย 2 ครั้งต่อสัปดาห์

จักรกฤษณ์มองว่า ท็อปส์สามารถครองใจผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ได้มาจากจุดแข็งหลายด้าน ได้แก่

  • วางตำแหน่งทางการตลาดเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งสินค้านำเข้า โดยมีสินค้านำเข้ากว่า 15,000 รายการ หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของสินค้าที่วางจำหน่าย และนำเข้ามาจากหลายแหล่งกว่า 20 ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อิตาลี ฝรั่งเศส
  • ราคาดีทุกวัน มีโปรโมชันอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะโปรโมชันสำหรับกลุ่มสมาชิก
  • ฟังเสียงลูกค้าจากการวิเคราะห์ดาต้า (Data-Driven) ทำให้การจัดหาสินค้าเข้ามาตรงใจผู้บริโภค รวมถึงพัฒนาบริการได้แบบเฉพาะเจาะจง เช่น ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์ มาร์เช่ ทองหล่อ ตัดสินใจเปิดเป็นสาขา 24 ชั่วโมง จากการศึกษาพฤติกรรมของคนในย่าน

ท็อปส์

 

“ท็อปส์ ไพร์ม” โปรแกรมรองรับโลกแห่ง Omnichannel

การฟังเสียงลูกค้าของท็อปส์ทำให้เกิดการปรับตัวเข้าสู่โลกแห่ง Omnichannel ขยับตัวไปพร้อมกับนโยบายใหญ่ของทั้งเครือเซ็นทรัลที่ต้องตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้ทั้งออฟไลน์-ออนไลน์

จักรกฤษณ์ระบุว่า ตั้งแต่เกิดโควิด-19 ขึ้น ลูกค้ามีพฤติกรรมการช้อปแบบ Omnichannel มากขึ้น วิธีการช้อปไม่ตายตัวและไม่แบ่งแยกชัดเจน การจะซื้อออฟไลน์หรือออนไลน์ขึ้นอยู่กับ ‘โมเมนต์’ นั้นๆ ของลูกค้าสะดวกแบบไหน ดังนั้น ท็อปส์ต้องพร้อมตอบโจทย์ได้ทุกโมเมนต์ของลูกค้า

“จักรกฤษณ์ จตุปัญญาโชติกุล” รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาด ประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด

ในแง่ของช่องทางออนไลน์ ท็อปส์จึงพัฒนาโปรแกรมเดลิเวอรีขึ้นมาในชื่อ “ท็อปส์ ไพร์ม” เปิดตัวเมื่อเดือนเมษายน 2565 โปรแกรมนี้เป็นแพ็กเกจเหมาจ่ายค่าจัดส่งรายเดือน เดือนละ 99 บาท ส่งไม่อั้นไม่จำกัดรอบ แต่กำหนดขั้นต่ำค่าสินค้า 250 บาทต่อรอบจัดส่ง

หลังเปิดตัวมา ท็อปส์ ไพร์มได้รับผลตอบรับที่ดี มียอดสมาชิกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 19% ทุกเดือน (ท็อปส์ขอสงวนไม่เปิดเผยจำนวนสมาชิกโปรแกรมนี้) และทำให้ลูกค้าช้อปกับท็อปส์ ‘ถี่ขึ้น’ มากกว่า 70% รวมถึงทำให้ยอดขายต่อคนเพิ่มขึ้น 20%

“โปรแกรมนี้เหมาะมากกับลูกค้าที่ชอบซื้อของทีละน้อยแต่ซื้อบ่อย เป็นคนรักความสะดวกแบบนึกขึ้นได้ว่ามีของที่ต้องการก็สั่งได้เลย” จักรกฤษณ์กล่าว

สำหรับสินค้าที่สมาชิกท็อปส์ ไพร์มนิยมสั่งมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ 1.เครื่องดื่ม 2.ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด 3.ผักผลไม้ 4.วัตถุดิบและเครื่องปรุงทำอาหาร และ 5.ของใช้ภายในบ้าน

ถือเป็นโปรแกรมสร้างลอยัลตี้ที่น่าสนใจ ช่วยดึงลูกค้าที่มีพฤติกรรมชอบสั่งเดลิเวอรีให้เลือกสั่งกับท็อปส์แบบเหมารายเดือน แทนที่จะกระจายเม็ดเงินและโอกาสที่จะเสียลูกค้าให้คู่แข่ง หากลูกค้าเปิดแอปพลิเคชันเดลิเวอรีอื่นๆ

ทั้งนี้ ในโอกาสฉลองครบรอบ 27 ปีของท็อปส์ ท็อปส์มีแคมเปญ “Every Day HAPPINESS ค้นพบความสุขที่ไม่ธรรมดา” เปิดดีลพิเศษ เช่น ดีลสินค้าราคาพิเศษ 27 รายการ, สินค้าราคาเริ่มต้น 27 บาท, สมาชิก The1 ช้อปครบ 500 บาทต่อใบเสร็จ รับคะแนนเพิ่ม 27 เท่า (เฉพาะ 100 คนแรกต่อวัน), รับคูปองส่วนลดสูงสุด 27% เมื่อช้อปครบ 600 บาทต่อใบเสร็จ แคมเปญนี้จัดที่ท็อปส์ทุกสาขา รวมถึง Tops Online ตั้งแต่วันนี้ – 10 ตุลาคม 2566

]]>
1442943
เข้าสู่ยุคที่คนไทย “ช้อปออนไลน์มากกว่าออฟไลน์” และราคาดีไม่สำคัญเท่าบริการที่ดีกว่า https://positioningmag.com/1389989 Fri, 24 Jun 2022 10:17:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1389989
  • “วันเดอร์แมน ธอมสัน” เปิดรายงาน Future Shopper 2.0 พบว่าหลังเกิด COVID-19 ยิ่งเป็นตัวเร่งให้คนไทย “ช้อปออนไลน์มากกว่าออฟไลน์” เป็นปีแรก แม้ว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลงแล้ว
  • ช่องทางหลักในการช้อปยังเป็น “มาร์เก็ตเพลส” แต่โซเชียลคอมเมิร์ซก็ยังแข็งแกร่ง โดยมีดาวรุ่งที่น่าสนใจ เช่น YouTube, Line, TikTok รวมถึงเกมด้วย
  • ราคาดีไม่สำคัญเท่าบริการและประสบการณ์ที่ดีกว่า ลูกค้าต้องการให้แบรนด์พัฒนาในหลายด้าน เช่น ส่งสินค้าให้เร็วขึ้น ระบบเรตติ้งและรีวิวที่เชื่อถือได้
  • รายงาน Future Shopper 2.0 ประจำปี 2022 จัดโดย “วันเดอร์แมน ธอมสัน” ในประเทศไทยรายงานฉบับนี้มีการสำรวจจากผู้บริโภค 1,084 คน ครอบคลุมทุกช่วงวัย และทุกภาคในประเทศ โดยแบ่งเป็นกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 59% และต่างจังหวัด 41%

    ข้อมูลไฮไลต์ที่น่าสนใจในรายงานปีนี้คือ พบว่า เป็นปีแรกที่คนไทย “ช้อปออนไลน์มากกว่าออฟไลน์” แล้ว โดยแบ่งเป็นการช้อปออนไลน์ 60% และช้อปออฟไลน์ที่หน้าร้าน 40% ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด จากเมื่อปี 2020 การช้อปออนไลน์ยังอยู่ที่ 25% และช้อปที่หน้าร้าน 75%

    การช้อปออนไลน์มีสัดส่วนที่มากกว่าการซื้อหน้าร้านแล้ว โดยอัตราส่วนอยู่ที่ 60:40

    เห็นได้ชัดว่าคนไทยเปลี่ยนพฤติกรรมเพราะ COVID-19 และแม้ว่าสถานการณ์จะคลี่คลายแล้ว แต่คนไทย 86% ยังคาดว่าตนเองจะใช้ช่องทางออนไลน์เป็นแหล่งช้อปปิ้งต่อไปในอนาคต

    สะท้อนให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นเรื่องคงอยู่ถาวร ตั้งแต่บัดนี้ไป การสร้างช่องทางขาย Omnichannel มีทั้งออนไลน์และออฟไลน์ และต้องเชื่อมต่อกันได้อย่างไร้รอยต่อ (seamless) เป็นเรื่องสำคัญมากของแบรนด์

     

    “มาร์เก็ตเพลส” ยังมาอันดับ 1

    คนไทยใช้ช่องทางไหนซื้อสินค้าออนไลน์? วันเดอร์แมน ธอมสัน มองขั้นตอนการซื้อสินค้าเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ หาแรงบันดาลใจ, ค้นหาสินค้า และ การซื้อจริง ปรากฏว่า “มาร์เก็ตเพลส” เช่น ลาซาด้า ช้อปปี้ เจดีเซ็นทรัล ก็ยังมาอันดับ 1 ในทุกๆ ขั้นตอน

    ขณะที่ “โซเชียลคอมเมิร์ซ” นั้นจะมีอิทธิพลสูงมากในขั้นตอนหาแรงบันดาลใจและค้นหาสินค้า โดยโซเชียล เช่น Facebook, Instagram, Twitter, Line มาเป็นอันดับ 2 ในทั้งสองขั้นตอนนี้ แต่เมื่อถึงการซื้อจริงนั้นจะอยู่อันดับ 4

    ขั้นตอนการซื้อของลูกค้า มาร์เก็ตเพลสมีส่วนแบ่ง 51%

    ขั้นตอนสุดท้ายคือการซื้อของลูกค้า
    อันดับ 1 คือ มาร์เก็ตเพลส
    อันดับ 2 คือ แอพเดลิเวอรี เช่น Grab, Line Man, Foodpanda
    อันดับ 3 คือ แพลตฟอร์มของห้างสรรพสินค้า เช่น Central, The Mall, Robinson, Emporium
    อันดับ 4 คือ โซเชียลคอมเมิร์ซ

    ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจที่แอพเดลิเวอรีและแพลตฟอร์มของห้างฯ ขึ้นมามีส่วนแบ่งตลาดมากกว่าโซเชียลแล้วเมื่อถึงการซื้อจริง

    ทั้งนี้ แม้จะตกอันดับลงมา แต่คนไทยก็ยังคงเป็นชาติที่ซื้อสินค้าผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซมากที่สุดในโลก โดยมีผู้ซื้อ 88% ที่ซื้อผ่านโซเชียล เทียบกับค่าเฉลี่ยโลกที่ 65%

     

    ดาวรุ่งพุ่งแรง YouTube, Line, TikTok และเกม

    ที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งคือ โซเชียลบางแพลตฟอร์มกำลังมาแรงในตลาดอยู่ขณะนี้ เช่น YouTube ที่มีความพิเศษคือไม่ได้เน้นปิดการขายบนแพลตฟอร์มนี้ แต่เป็นช่องทางมาแรงมากในการหาแรงบันดาลใจของตัวสินค้า (อยู่ในอันดับ 3) และขั้นตอนการค้นหาสินค้า (อยู่ในอันดับ 4) ถือว่าสำคัญมากในการสร้างความต้องการต่อผู้บริโภค

    YouTube เป็นช่องทางเดียวที่เติบโตขึ้นในขั้นตอนการหาแรงบันดาลใจ ขณะที่ช่องทางอื่นๆ ผู้บริโภคลดการใช้งานในขั้นตอนนี้

    มาถึงขั้นตอนการซื้อจริงผ่านโซเชียล แน่นอนว่า Facebook ยังแข็งแรงที่สุด กินสัดส่วนในตลาดถึง 62% แต่มีดาวรุ่งหน้าใหม่ที่ขึ้นมาตีตลาดได้คือ TikTok ที่ได้ส่วนแบ่งตลาด 8%

    และถ้าถามถึงโซเชียลที่ให้ประสบการณ์การซื้อของที่ดีที่สุด ชื่อของ Line ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 3 และ TikTok เป็นอันดับ 4

    รวมถึงมีแพลตฟอร์มที่วันเดอร์แมน ธอมสันชี้ว่าน่าสนใจอีกส่วนคือ “เกม” เพราะ 98% ของคนไทยเล่นเกม และมี 80% ที่มีการใช้จ่ายในเกม ซึ่งทำให้เกิดโอกาสการขาย “Direct-to-Avatar” ของแบรนด์ นั่นคือการผลิตสินค้าดิจิทัลของแบรนด์ที่มีไว้สำหรับอวาตาร์โดยเฉพาะ

    ปัจจุบันคนไทยยังเล่นเกมผ่านมือถือมากที่สุด (90%) รองลงมาคือคอมพิวเตอร์ (63%) และเกมคอนโซล (31%) แต่ที่น่าสนใจคือคนไทยมี VR Headset จำนวนไม่น้อย (16%) ทำให้เห็นว่าการปลุกกระแสเมตาเวิร์สเริ่มเป็นไปได้มากขึ้น

     

    ราคาดีไม่สำคัญเท่าประสบการณ์ที่ดี

    วันเดอร์แมน ธอมสันพบว่า ผู้บริโภคยุคนี้มีความคาดหวังที่สูงมากต่อแบรนด์และช่องทางขาย โดย 69% มองว่าจะไม่ซื้อแบรนด์นั้นหรือซื้อผ่านช่องทางนั้นหากประสบการณ์การช้อปไม่เป็นดังที่คาด

    อะไรจะทำให้ลูกค้าชื่นชอบมากขึ้นอีก? 86% ของคนไทยอยากจะให้ประสบการณ์การช้อปออนไลน์บันเทิงมากกว่านี้

    5 สิ่งที่ลูกค้าอยากให้เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการช้อปออนไลน์ ได้แก่
    1.การจัดส่งที่รวดเร็วขึ้น
    2.ระบบเรตติ้งและรีวิวที่เชื่อถือได้
    3.คืนสินค้าได้ฟรี
    4.การจัดส่งสะดวกมากขึ้น (เช่น เลือกวันเวลาส่งได้ มีจุดให้ไปรับสินค้าเองได้)
    5.การคืนสินค้าสะดวกมากขึ้น

    สรุปคือ นักช้อปไทยนั้นมีความต้องการขั้นสูงในการช้อปออนไลน์ และราคาที่ดีอาจไม่ใช่ทุกอย่างในการดึงดูดลูกค้าอีกต่อไป แต่กลับกลายเป็นว่าความสะดวก ความเร็ว ประสบการณ์การซื้อที่ดีที่สุด จะเป็นสิ่งที่ดึงลอยัลตี้ของลูกค้าไว้ได้มากกว่าในยุคนี้

    ]]>
    1389989
    เดอะมอลล์ กรุ๊ป เปิดตัว M ONLINE APPLICATION แอปพิเคชั่นใหม่ล่าสุดแอปเดียวที่ให้คุณช้อปสินค้าได้ครบทุกห้าง ชูกลยุทธ์ Redefined 4P’s สร้าง M ONLINE FASHION & LIFESTYLE COMMUNITY https://positioningmag.com/1389435 Fri, 24 Jun 2022 04:00:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1389435

    เดอะมอลล์ กรุ๊ป เดินหน้าไม่หยุด มุ่ง OMNICHANNEL อย่างต่อเนื่องเต็มรูปแบบ ยกระดับประสบการณ์การช้อปปิ้งเหนือระดับแบบไร้รอยต่อที่สมบูรณ์แบบที่สุด เปิดตัว M ONLINE APPLICATION แอปเดียวช้อปครบทุกห้างฯ เสมือนยกห้างฯ เดอะมอลล์ เอ็มโพเรียม เอ็มควอเทียร์ พารากอน และเอ็มไลฟ์สโตร์ มาเป็นแอปบนมือถือ พร้อมชูกลยุทธ์ Redefined 4P’s สร้าง M ONLINE FASHION & LIFESTYLE COMMUNITY CITIZENS ผสานการช้อปปิ้ง ONLINE และ OFFLINE เพื่อตอบโจทย์นักช้อปยุค 5G ที่ไม่ใช่เน้นแค่สินค้าอะไรก็ได้ แต่ต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และสไตล์ที่ใช่ รวมถึง Personalized และ Brand ระดับแนวหน้า และ INTREND เหมาะกับลูกค้ารุ่นใหม่สายแฟชั่น ไลฟ์สไตล์และบิวตี้สุดล้ำ พิเศษ ดาวน์โหลด M ONLINE APP ช้อปครั้งแรก รับโค้ดส่วนลดสูงสุด 16% หรือ 400 บาท* ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ที่ APP STORE สำหรับมือถือระบบ iOS และ GOOGLE PLAY STORE สำหรับมือถือระบบ ANDROID

    คุณวรลักษณ์ ตุลาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด (MISS VORALAK TULAPHORN; CHIEF MARKETING OFFICER, THE MALL GROUP CO., LTD.) กล่าวว่า

    “จากความสำเร็จของ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ในการเปิดตัว Monline.com เมื่อต้นปี 2564 ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี ปัจจุบันมีผู้เข้าใช้งานบน M Online เพิ่มขึ้นกว่า 400% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2021 โดยลูกค้าของ M Online มากกว่า 50% เป็นลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยช้อปในเครือเดอะมอลล์ กรุ๊ป มาก่อน สร้างยอดขายรวมโตต่อเนื่องเพิ่มขึ้น 300 % เมื่อเทียบกับปี 2021 นอกจากนี้ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ยังได้เดินหน้าพัฒนา และมุ่งมั่นที่จะยกระดับประสบการณ์การช้อปปิ้งเหนือระดับแบบ ไร้รอยต่อที่สมบูรณ์แบบที่สุดให้กับลูกค้า M ONLINE APPLICATION มีการบริหารจัดการลูกค้าแบบ CUSTOMER- CENTRIC มีจุดแข็งอยู่ที่ Big Data จาก Customer Data Platform และ Marketing Artificial Intelligence Platform (AI) ประมวลผลข้อมูลของลูกค้าแบบ Centralized-Single View จากข้อมูลลูกค้าที่มาเดินช้อปในห้างสรรพสินค้า รวมทุกสาขาเดือนละกว่า 15 ล้านคน จะเข้ามาในระบบ Marketing Artificial Intelligence Platform (AI) เพื่อสร้าง Personalized Shopping Journey คัดสรรสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ โดยตั้งเป้ายอดดาวน์โหลด M ONLINE APPLICATION ภายในปี 2565 ที่ 1 ล้านดาวน์โหลด”


    วางกลยุทธ์รูปแบบใหม่ Redefined 4P’s Definition ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า

    1. PRODUCT CUARATION : คัดสรรสินค้าคุณภาพระดับพรีเมี่ยมจากทุกห้างฯในเครือ เดอะมอลล์กรุ๊ป

    •  คัดสรรสินค้าคุณภาพดีและหลากหลายแบรนด์ เดอะมอลล์ เอ็มโพเรียม เอ็มควอเทียร์ พารากอน และเอ็มไลฟ์สโตร์
    • ช้อปมั่นใจการันตีของแท้ 100% จากเคานเตอร์แบรนด์ดังที่ดีที่สุดที่โดนใจนักช้อป กว่า 2,000 แบรนด์จากเคานเตอร์แบรนด์ดังทั้งไทยและต่างประเทศ รวมถึงแบรนด์ไทยดีไซเนอร์ชื่อดัง แบรนด์อินเทรนด์ดังฮิตติดโซเชียล และ SME รุ่นใหม่ ครอบคลุมสินค้า ให้เลือกช้อป ตอบทุก ไลฟ์สไตล์ ได้แก่ เครื่องสำอาง – Beauty Hall / แฟชั่นสตรี บุรุษ – Women / Men / เสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬา-Sportsmall / เครื่องใช้ไฟฟ้า – Powermall / สินค้าสำหรับเด็ก – Kids Planet / บีเทรนด์- BeTrend /เดอะลีฟวิ่ง – The Living
    •  สินค้าเอ็กซ์คลูซีฟแบรนด์ที่มีขายเฉพาะ M ONLINE เท่านั้น แบรนด์น้ำหอมชื่อดังระดับโลกอาทิ Byredo, Kilian, Maison Francis Kurkdjian, Acqua Di Parma, Frederic Malle, Xerjoff หรือแบรนด์แฟชั่นฮิตถูกใจเหล่าแฟชั่นนิสต้าอาทิ Beams, Stylenanda และแบรนด์อื่นอีกมากมาย

    2. PRIVILEGES: 365 วัน รวบรวมสิทธิประโยชน์ โปรโมชั่น ในแอปเดียว

    •  พรีออเดอร์สินค้า HOT ITEM,
    •  รับคะแนนสะสม M Points ทุก 25 บาท* หรือ 50 บาท* รับคะแนนสะสม 1 คะแนน M Point รับคะแนนสะสมเพิ่มสูงสุด x4 เท่า* สำหรับ สมาชิกบัตร SCB M Visa
    • แลกคะแนน เป็นส่วนลดเพิ่ม 12.5% ได้ทันที ทั้งในออนไลน์ และในห้าง
    •  พรีวิวช้อปสินค้าก่อนใคร

    3. PERSONALIZATION : ครบครันทุกการบริการ ด้วยการใช้นวัตกรรม AI และ PERSONAL SHOPPER อุ่นใจทุกการช้อป พร้อมช่องทางการช้อปสะดวกทุกที่ทุกเวลา แค่กดลิ้งค์จาก M ONLINE App

    •  PRIORITY DELIVERY & SERVICE สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิก SCARLET &PLATINUM M Card, SCBM Legned & Luxe Credit Card ที่จะได้รับความสะดวกในจัดเตรียมและจัดส่งสินค้าก่อนใคร
    • PERSONALIZED GIFT WRAPPING ไม่ว่าจะเป็นวันเกิดคนที่คุณรัก เพื่อนร่วมงานหรือการ แสดง ความยินดีต่างๆบริการห่อของขวัญจาก M Online สร้างความประทับใจ ได้ทุกโอกาส พร้อมบริการพิมพ์ การ์ดข้อความที่คุณต้องการส่งถึงผู้รับ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
    •  M ONLINE CARE EXTENDED WARRANTY ช้อปใช้สบายชิลเมื่อช้อปสินค้าไอที มือถือ แลปท้อป แก็ทเจท กับประกันความคุ้มครองสินค้า ให้คุณอุ่นใจในการใช้งาน ซ่อมศูนย์อะไหล่แท้ 100% เคลมได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง คุ้มครองนานสูงสุด 3 ปี
    •  SCHEDULED DELIVERY ช้อปแบบระบุวันจัดส่งสินค้าได้เพื่อเป็นเซอร์ไพร์ส หรือของขวัญวันเกิด ได้ตามต้องการ
    •  3HRS. EXPRESS DELIVERY จัดส่งด่วนทันใจภายใน 3 ชั่วโมง เฉพาะในเขต กทม. หรือ ปริมณฑล*
    • AI แนะนำสินค้าใหม่ สินค้าโปรโมชั่น ได้ตรงกับใจคุณในแอป ด้วยการประมวล ผลผ่าน Artificial Intelligence (AI) ข้อมูลจากทั้งการช้อป Online และ Offline เข้าด้วยกันหรือโทร ติดต่อผู้ช่วยช้อปที่ M Online Call Center ก็มั่นใจว่าจะสามารถเลือกช้อปสินค้าได้ถูกใจแน่นอน
    •  M CHAT & SHOP แชทถามสินค้าที่ต้องการกับผู้ช่วยช้อปส่วนตัว บริการ เช็คสินค้า สรุปยอดและแนะนำช่องทางการชำระเงิน จัดส่งถึงที่ ทุกที่ทั่วไทย คลิกไปแชทได้ง่ายๆจากในแอป
    •  CALL-TO-ORDER ช้อปสบาย โทรสั่งง่าย เลือก จากสาขาที่ต้องการช้อปตั้งแต่บริการห้างเปิด – 20.00 น. แค่คลิกโทรสั่งได้จากในแอป
    •  SHOPPING ASSISTANT SERVICE บริการช่วยช้อปสินค้า พร้อมผู้ช่วยช้อปส่วนตัวในการเลือกช้อปสินค้า สามารถเลือกช้อปออนไลน์สินค้าแบรนด์ที่ต้องการหรือสินค้าที่หมดหรือไม่มีที่สาขา ได้จากทุกห้างฯ รวมถึงเป็น CUSTOMER SERVICE บริการช้อปรวมถึงบริการหลังการขายไว้ในจุดเดียว

    4. PARTNERSHIP : ความร่วมมือจากพันธมิตรชั้นนำในการส่งมอบข้อเสนอ และประสบการณ์การช้อปสุดพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นโค้ดส่วนลด และสิทธิพิเศษต่างๆ ให้กับลูกค้า พนักงาน และสมาชิกของพันธมิตร ซึ่งครอบคลุมหลากหลายธุรกิจ และไลฟ์สไตล์ อาทิ บัตรต่างๆ จากธนาคาร สถาบันการเงินชั้นนำ, ผู้ให้บริการโทรคมนาคม, ธุรกิจประกัน อาทิ ไทยประกันชีวิต, เมืองไทยประกันชีวิต, สายการบิน,สถานพยาบาลชั้นนำ, Sephora, โครงการ Property ชั้นนำ, หลากหลายแอพลิเคชั่น อาทิ JOOX, 1112 Delivery, SCG Express, SCG ID, Kerry Express, Shell Go+, KMA, Bualung M Banking, KrungThai NEXT

    พิเศษพบกับสิทธิพิเศษฉลองเปิดตัวแอปใหม่

    •  แคมเปญสุดพิเศษอลังการที่สุดแห่งปีเพื่อนักช้อป
    •  BEST BRAND OFFER สินค้าแบรนด์ชั้นนำ ลดสูงสุด 90%
    •  SURPRISED FLASH CODE โหลดแอปก่อนมีสิทธิ์ก่อน ไม่พลาดโค้ดลดพิเศษเฉพาะในแอปเท่านั้น
    •  FLASH DEAL ดีลพิเศษสินค้า 777 บาท / 7,777 บาท หรือรับ EXCLUSIVE GIFT ของขวัญ พิเศษ 7 ชิ้น จาก บิวตี้แบรนด์ดัง
    •  SUPERBRAND DAY แบรนด์ดังร่วมฉลองเปิดตัวด้วยส่วนลดแรงพร้อมของแถมสุดพิเศษเฉพาะ

    M ONLINE เท่านั้น

    •  EXCLUSIVE GIFT ช้อปครบรับของแถมไซส์จริงจากเคานเตอร์แบรนด์ดัง
    • EVERYDAY SUPER CODE แจกโค้ดแรงทุกวัน
    •  M ONLINE APP DOWNLOAD OFFERS
    •  โหลด M ONLINE App รับทันทีโค้ดส่วนลด 200 บาท* เมื่อช้อปครบ 1,500 บาท* ยกเว้นแผนก Powermallสำหรับการล๊อคอินและช้อปครั้งแรกเท่านั้น 15 มิ.ย. – 31 ธ.ค. 2565
    •  MCARD
    •  M CARD WOW POINTS แลกคะแนนสะสมสุดคุ้ม 300 M Points = 300 บาท* เฉพาะวันที่ 25-26

    มิ.ย. 2565 เท่านั้น

    •  รับส่วนลดทันที 100 บาท เมื่อดาวน์โหลด M ONLINE App เมื่อช้อป 1,500 บาท* ยกเว้นแผนก

    Powermall

    •  แคมเปญรับคะแนนสะสม แลกรับส่วนลดพิเศษตลอดปี
    •  SCB M และ SCB
    •  พิเศษ!! ลูกค้าบัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัตรเติมเงิน SCB M และ SCB พบกับแคมเปญพิเศษ Joyful Journey เฉลิมฉลองการเปิดตัว M Online App ด้วย ดาวน์โหลดแอปครั้งแรกรับทันทีโค้ดส่วนลดสูงสุด 16% ลดทันที่ 400 บาท* เมื่อช้อปครบ 2,500 บาท* รวมทุกแผนกสินค้า ตั้งแต่ 15 มิ.ย. – 15 ก.ย. 2565
    •  ลูกค้าบัตรเครดิต SCB M VISA รับโค้ดส่วนลดสูงสุด 1,300 บาท* ในรายการ M Online App Celebration วันที่ 25-29 มิ.ย. 2565 / 5-27 ก.ค. 2565
    • CITIBANK
    •  พิเศษ!! ลูกค้าบัตรเครดิต CITIBANK ช้อปบน M Online app ครบ 4,000 บาท* รับกระเป๋า ช้อปปิ้งรักษ์โลก “I AM CITY” ตั้งแต่ 25 มิ.ย. – 31 ก.ค. 2565 และรับโค้ดส่วนลดสูงสุด 1,000 บาท*ในรายการ M Online App Celebration วันที่ 25 – 29 มิ.ย. 65 / 5 – 27 ก.ค. 65
    •  VISA
    •  พิเศษ!! ลูกค้าบัตร VISA ช้อปบน M Online app ตามเงื่อนไข รับกระเป๋าผ้าสุดเก๋ มูลค่า 450 บาท* ตั้งแต่ 12 เม.ย. – 31 ธ.ค. 2565
    •  รับส่วนลดเพิ่มจากบัตรเครดิต SCB, K Bank, KCC, JCB Ultimate บัตรเครดิตและบัตรเดบิต UNIONPAY และบัตรอื่นๆ อีกมากมาย
    •  บริการแบ่งชำระช้อปผ่านบัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด ช้อปง่ายสบายใจ 0% สูงสุด12 เดือน*

    โดยหลังจากเปิดตัว M Online app แล้ว เดอะมอลล์ กรุ๊ป ยังคงเดินหน้าผนึกกำลังความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจเพื่อมอบประสบการณ์การช้อปแบบเหนือระดับทุกที่ ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมงให้กับลูกค้า พนักงานของพันธมิตร และ ลูกค้าของ M Online ตลอดทั้งปี

    คุณวรลักษณ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า “กลยุทธ์หลักที่สำคัญของเดอะมอลล์ กรุ๊ป คือการคัดสรรสินค้าคุณภาพ และบริการที่ตรงใจ สะดวก รวดเร็ว สร้างประสบการณ์ใหม่และความประทับใจแก่ลูกค้าทั้งผู้ซื้อและผู้รับ เป้าหมายในอนาคตของ M ONLINE APP คือการเชื่อมโยงห้างสู่ออนไลน์ 100% รวมถึง นำลูกค้าออนไลน์สู่ออฟไลน์ ผ่านบริการ CLICK & COLLECT ในอนาคต โดยตั้งเป้ายอดดาวน์โหลดภายในปี 2565 รวมกว่า 1 ล้านดาวน์โหลด และยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ภายในปี 2565 กว่า 600 ล้านบาท”

    ร่วมประสบการณ์ช้อปปิ้งที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของไลฟ์สไตล์รูปแบบใหม่ และทุกความสะดวกสบาย อยุ่ที่ไหนก็ช้อปได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมบริการพิเศษ ส่งด่วนภายใน 3 ชั่วโมง และ ส่งฟรีทั่วประเทศโดยไม่มีขั้นต่ำ บริการห่อของขวัญและสิทธิพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย เพียงคลิกสั่งซื้อและตรวจสอบเงื่อนไขเพิ่มเติมผ่าน https://monline.com/th/downloadapp หรือดูรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/MonlineThailand/ และ M Card Application

    ]]>
    1389435
    อ่านโมเดลธุรกิจ “ลูกครึ่ง” ของ Pomelo เพื่อขึ้นเป็น “เบอร์ 1” ตลาด “แฟชั่น” ใน SEA https://positioningmag.com/1378817 Wed, 23 Mar 2022 09:24:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378817 Pomelo พิสูจน์ความแข็งแกร่งในธุรกิจมานาน 9 ปี มีการพัฒนาโมเดลธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องจนได้ “สูตร” เพื่อเข้าตีตลาดต่างประเทศ หวังขึ้นเป็น “เบอร์ 1” ในตลาด “แฟชั่น” ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลยุทธ์ของสตาร์ทอัพรายนี้คือการสร้างโมเดล “ลูกครึ่ง” ทั้งช่องทางขายแบบ Omnichannel และรูปแบบกึ่งมาร์เก็ตเพลสที่มีการคัดสรรแบรนด์ก่อนจะเข้ามาขายบนแพลตฟอร์ม

    หากใครเดินศูนย์การค้าบ่อยๆ น่าจะเคยเห็นร้านค้าของ Pomelo ผ่านตาอยู่บ้าง แต่แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิงรายนี้ไม่เหมือนกับร้านค้าอื่นอยู่ 2 เรื่อง นั่นคือเป็น ธุรกิจที่มีช่องทางขายแบบ Omnichannel อย่างชัดเจน และ มีทั้งเสื้อผ้าแบรนด์ in-house ร่วมกับการคัดเลือกแบรนด์อื่นๆ เข้ามาขายบนแพลตฟอร์ม

    Pomelo เป็นสตาร์ทอัพแฟชั่นเทคที่ก่อตั้งในไทยเมื่อปี 2556 แต่ผู้ร่วมก่อตั้งเป็นชาวเอเชียนอเมริกัน 2 คน คือ เดวิด โจว และ เคซี่ เหลียง เริ่มแรกมีการพัฒนาออกแบบเสื้อผ้าแบรนด์ตนเอง และขายผ่านอีคอมเมิร์ซเป็นหลัก โดยมีทั้งช่องทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน

    Pomelo
    หน้าร้านสาขาออฟไลน์

    จนกระทั่งถึงจุดเปลี่ยนในปี 2561 บริษัทเริ่มปรับช่องทางการขายเป็น Omnichannel เริ่มเปิดร้านค้าออฟไลน์ตามศูนย์การค้า ซึ่งไม่ใช่แค่เปิดเพื่อให้มีช่องทางขายทั้งออนไลน์-ออฟไลน์ แต่บริษัทสร้างฟังก์ชันสำคัญคือ Tap.Try.Buy ขึ้นมาเชื่อมโยงทั้งสองช่องทาง

    ฟังก์ชันนี้เปิดให้ลูกค้าสามารถสั่งจองสินค้าทางออนไลน์ ส่งไปร้านสาขาที่สะดวก และเข้าไปลองสินค้าจริงได้ที่ร้าน จากนั้นค่อยตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ ซึ่งช่วยแก้ pain point ของลูกค้าออนไลน์ที่ไม่ได้ลองหรือสัมผัส จนอาจจะไม่พอใจสินค้าที่ได้ และลดขั้นตอนจากปกติลูกค้าต้องสั่งของไปส่งที่บ้าน ลองสินค้า และถ้าไม่ชอบต้องทำเรื่องส่งคืนสินค้าอีก

    สินค้าปัจจุบันผสมผสานทั้ง in-house และแบรนด์อื่นที่คัดเลือกเข้ามา และมีทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ บิวตี้

    หลังเปิดบริการนี้ ในปี 2562 บริษัทมีการขยับครั้งสำคัญอีก นั่นคือการเปิดแพลตฟอร์มให้แบรนด์อื่นๆ เข้ามาขายด้วยได้ เพราะบริษัทเริ่มมองว่า แบรนด์ in-house ที่มีน่าจะรองรับดีมานด์ได้ไม่มากพอ

    ตามมาด้วยปี 2564 เปิดบริการ “Prism” เพื่อสนับสนุนแบรนด์อื่นๆ ให้การขายกับ Pomelo สะดวก เช่น บริการถ่ายภาพสินค้าและติดต่ออินฟลูเอนเซอร์, วิเคราะห์ดาต้าและช่วยวางแผนการทำตลาด, ส่งแบบผลิตสินค้าร่วมกับโรงงานซัพพลายเออร์ของ Pomelo

    บริการ Prism ทำให้แบรนด์ที่เป็นพาร์ทเนอร์สะดวกขึ้น

    ปัจจุบันการเติบโตของสตาร์ทอัพรายนี้ มีสินค้าขึ้นแพลตฟอร์มมากกว่า 50,000 SKUs ไปแล้ว และมีแบรนด์ร่วมวางขายกว่า 500 แบรนด์ ขยายตลาดไป 5 ประเทศ คือ ไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ แต่มีสำนักงานการผลิตอยู่ที่ประเทศจีน

    เดวิด โจว ซึ่งดำรงตำแหน่งซีอีโอ ระบุว่า ล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2564 บริษัทรับเงินลงทุนจนถึง Series C+ มีเงินลงทุนสะสมประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ และเคยมีนักลงทุนรายใหญ่ร่วมลงทุนด้วย เช่น JD.com, กลุ่มเซ็นทรัล เป็นต้น

     

    ตั้งเป้า “เบอร์ 1” ตลาดแฟชั่นของ SEA

    โจวกล่าวในงานครบรอบ 9 ปีของ Pomelo ว่า ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป บริษัทมีเป้าหมายการทำงาน ดังนี้

    • ลงทุนมูลค่า 1,000 ล้านบาท เพื่อทำการตลาดและคอนเทนต์แบรนด์
    • ขยายสาขาจาก 27 สาขาในปัจจุบัน เป็น 54 สาขา โดยจะเน้นสาขาใหม่ในกลุ่มตลาดใหม่คือ สิงคโปร์, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
    • ขยายแบรนด์ที่ร่วมขายในแพลตฟอร์มจาก 500 แบรนด์ เป็น 2,000 แบรนด์ โดยจะขยายทั้งประเภทสินค้าใหม่ๆ เช่น Active Wear และขยายกลุ่มราคาให้กว้างขึ้นบนและล่าง ทั้งลงไปในกลุ่มราคาถูกลง และกลุ่มราคาพรีเมียมยิ่งขึ้น

    เป้าหมายการทำงานเหล่านี้ เพื่อไปสู่การเติบโตของมูลค่าธุรกรรมรวมในตลาด (GMV) 260% ภายใน 3 ปี และระยะยาวแล้ว แบรนด์ต้องการจะเป็น “เบอร์ 1” ในตลาดแฟชั่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    Pomelo
    คณะผู้บริหาร โพเมโล แฟชั่น: (จากซ้าย) อริยะ พนมยงค์ คณะกรรมการบริษัท, เดวิด โจว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ฌอง โธมัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด

    ปัจจุบัน GMV ของ Pomelo แบ่งสัดส่วนจากไทย 60% และจากประเทศอื่นๆ 40% และสัดส่วนจากแบรนด์ in-house 60% จากแบรนด์พาร์ทเนอร์ร่วมขาย 40% แต่ดังที่เห็นว่าทิศทางของการเติบโตจะออกต่างประเทศสูงขึ้น รับพาร์ทเนอร์มากขึ้น ดังนั้น สัดส่วนน่าจะเปลี่ยนไปในอนาคต

     

    ฉีกแนวหนีคู่แข่งทั้ง “มาร์เก็ตเพลส” และ “แบรนด์ดั้งเดิม”

    เมื่อถามถึง “คู่แข่ง” เนื่องจาก Pomelo มีโมเดลธุรกิจที่เป็น “ลูกครึ่ง” คือ เปรียบเสมือนมาร์เก็ตเพลสที่มีทั้งแบรนด์ in-house และแบรนด์อื่น แต่การรับสินค้าเข้ามาขายร่วมต้องผ่านการคัดสรรอย่างดี เพื่อให้ตรงกับสไตล์ของแพลตฟอร์มและฐานลูกค้าผู้หญิงวัยสาว ทำให้โจวมองว่า บริษัทไม่ได้มีคู่แข่งทางตรงที่ใช้โมเดลธุรกิจเหมือนกัน

    การปรับตัวเป็น Omnichannel ของแบรนด์แฟชั่นใหญ่ๆ ก็ยังเป็นขั้นเริ่มต้นเท่านั้น ขณะที่เราเข้าตลาดนี้ก่อน

    “แต่คู่แข่งโดยอ้อมก็ต้องยอมรับว่าเป็นมาร์เก็ตเพลสออนไลน์อย่าง Lazada, Shopee ซึ่งมีหมวดสินค้าแฟชั่น หรือแพลตฟอร์มขายเสื้อผ้าออนไลน์รายใหญ่ รวมถึงร้านค้าปลีกแบรนด์ดั้งเดิมต่างๆ ที่วันนี้ปรับตัวเองเป็น Omnichannel แล้ว เริ่มเปิดเว็บไซต์เป็น brand.com” โจวกล่าว “อย่างไรก็ตาม การปรับตัวเป็น Omnichannel ของแบรนด์แฟชั่นใหญ่ๆ ก็ยังเป็นขั้นเริ่มต้นเท่านั้น ขณะที่เราเข้าตลาดนี้ก่อน ทำให้เรามียอดขายทั้งจากระบบ Tap.Try.Buy จากระบบออนไลน์เท่านั้น และจากการขายหน้าร้านด้วย”

    ในส่วนนี้ “ฌอง โธมัส” ซีเอ็มโอของบริษัท ให้ข้อมูลว่า Pomelo มียอดขายหลัก 51% จากการสั่งออนไลน์ รองลงมา 25% เป็นยอดขายหน้าร้าน และ 24% มาจากระบบ Tap.Try.Buy สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทเป็น Omnichannel อย่างแท้จริง สามารถผสมผสานช่องทางขายได้ทุกรูปแบบ

    Pomelo
    เชื่อมต่อโลกออนไลน์และออฟไลน์

     

    “เทคโนโลยี” คือหัวใจสำคัญ

    ภายนอกของ Pomelo เหมือนจะเป็นร้านค้าแฟชั่นที่ต้องเป็นเทรนด์เซ็ตเตอร์ที่ทันสถานการณ์เสมอ แต่ภายในมีหัวใจสำคัญอีกส่วนที่ทำให้แพลตฟอร์มประสบความสำเร็จคือ “เทคโนโลยี”

    โจวกล่าวว่าแฟชั่นเทคอย่าง Pomelo มีกุญแจหลักด้านเทคโนโลยี 4 ข้อ คือ

    • การบริหารซัพพลายเชนได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิต คลังสินค้า จัดส่ง
    • คาดการณ์ตลาดได้อย่างแม่นยำ มีระบบแมชชีนเลิร์นนิ่งเพื่อเรียนรู้ว่าควรจะลดราคาชิ้นไหน เมื่อไหร่ และเท่าไหร่ ทำให้ได้รายได้สูงสุด
    • ลูกค้าได้เห็นสินค้าที่ผ่านการ Personalized บริษัทมีอัลกอริธึมที่แม่นยำเพื่อเสนอสินค้าให้ตรงใจรายบุคคล สามารถคาดเดาได้ว่าลูกค้ากำลังมองหาอะไรและชอบสินค้าแบบไหน เพื่อดึงสินค้านั้นขึ้นมาเสนอบนแอปฯ หรือในโฆษณาออนไลน์
    • ประสบการณ์ Omnichannel ที่ไร้รอยต่อ การจัดระบบ Try.Buy ที่ใช้ง่าย ถูกต้อง สะดวก

    หัวใจเทคโนโลยีเหล่านี้คือที่มาของบริการ “Prism” ดังกล่าว บริษัทสามารถหารายได้เพิ่มจากการใช้องค์ความรู้เหล่านี้บริการแก่ลูกค้าพาร์ทเนอร์ที่มาร่วมขายบนแพลตฟอร์ม

    รวมถึงดาต้าที่เก็บยังทำให้เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น Tap.Try.Buy ที่ลูกค้ามีสิทธิปฏิเสธไม่ซื้อสินค้าเมื่อลองแล้วไม่พอใจ ส่วนนี้โจวไม่ได้มองว่าเป็นปัจจัยลบที่ทำให้ยอดขายเสียไปหรือต้นทุนเพิ่ม แต่กลับเป็นปัจจัยบวก

    “เราพบว่าลูกค้าที่ใช้บริการ Tap.Try.Buy มียอดซื้อสินค้ามากกว่าลูกค้าอีคอมเมิร์ซ 33% และมีอัตราซื้อซ้ำมากกว่า 18% เพราะเมื่อลูกค้าได้ลองก่อน จะรู้สึกพึงพอใจและกลับมาซื้อกับเราอีก เราจึงมองว่าการให้ลูกค้าได้ลอง แม้จะไม่ซื้อ ก็ยังดีกว่าลูกค้าซื้อไปแล้วแล้วพบว่าไม่พึงพอใจ” โจวกล่าว “ส่วนต้นทุนก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก เพราะเรามีรถที่ต้องวิ่งไปเติมซัพพลายที่ร้านค้าปลีกอยู่แล้ว ก็เพียงแต่เพิ่มสินค้าที่ลูกค้าสั่งเข้าไปลองสวมใส่เท่านั้นเอง”

    ]]>
    1378817
    “เซ็นทรัล วิลเลจ” จับกลยุทธ์ Intensive Omnichannel ฝ่าวิกฤต COVID-19 ยอดออนไลน์พุ่ง 145% https://positioningmag.com/1339122 Sat, 26 Jun 2021 08:00:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1339122

    “เซ็นทรัล วิลเลจ” จับกลยุทธ์ Intensive Omnichannel สู้วิกฤต COVID-19 เปิดไลฟ์สตรีมมิ่งขายออนไลน์ยอดผู้ชมทะลุ 2 ล้านคน ยอดขายทะยาน 145% พ่วงจุดแข็งสาขาเซ็นทรัลทั่วประเทศ โดยเฉพาะจุดใกล้ชายแดน ตอบสนองลูกค้า CLMV และมาเลเซีย พร้อมปั้นพื้นที่ เซ็นทรัล วิลเลจ เป็นแหล่งไลฟ์สไตล์ ดึงกลุ่มนักสเก็ต ซูเปอร์คาร์ ถ่ายภาพ จนทราฟฟิกเพิ่ม 20% ย้ำเบอร์หนึ่ง “Brandname Shopping Destination” จัดมหกรรมลดราคาสูงสุด 90%

    ท่ามกลางวิกฤต COVID-19 ที่ท้าทายต่อธุรกิจรีเทลและเอาท์เลต “เซ็นทรัล วิลเลจ” ยังคงยืนหยัดสร้างรายได้ได้ต่อเนื่องผ่านการปรับกลยุทธ์ที่เหมาะสม รักษาตำแหน่งผู้นำ Luxury Outlet ของเมืองไทย ที่มีแบรนด์ชั้นนำระดับโลกกว่า 220 แบรนด์วางจำหน่าย

    ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงกลยุทธ์ที่เซ็นทรัล วิลเลจเป็น First Mover และใช้จุดแข็งของบริษัทฝ่าวิกฤตเคียงคู่ไปกับร้านค้าพันธมิตรสำเร็จ 4 ข้อ ดังนี้

    1.ดันยอดขาย Online Shopping Platform – เป็นเอาท์เลตรายแรกที่ทำ Live Streaming จนประสบความสำเร็จ โดยมีดีลพิเศษเฉพาะสำหรับช่วง Live ทำให้ผู้บริโภครอคอยเป็นจำนวนมาก สร้างปรากฏการณ์มียอดผู้ชมรวม 2 ล้านคน (เดือนก.พ.-มิ.ย.64)

    รวมถึงเซ็นทรัล วิลเลจยังมีช่องทางอำนวยความสะดวกผ่านระบบ Chat & Shop และการจัดส่งสินค้าที่สะดวก เลือกได้ทั้งเดลิเวอรี่และไดรฟ์ทรู ทำให้เข้าถึงลูกค้านอก Catchment area ของศูนย์การค้าด้วย

    ผลของกลยุทธ์นี้ทำให้ยอดขายออนไลน์เติบโตขึ้น 145% เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 4/2563 และสัดส่วนผู้ซื้อจะเห็นได้ว่ามีชาวกรุงเทพฯ 70% และต่างจังหวัด/อื่นๆ 30% ช่วยชดเชยนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปได้อย่างดี

    2.ศูนย์การค้าเซ็นทรัลมีสาขาทั่วประเทศ เป็นจุดแข็งที่เหนือกว่า – ด้วยสาขาที่มีถึง 33 สาขาทั่วไทย ทำให้มีจุดส่งต่อสินค้าโดยเฉพาะสาขาที่อยู่ใกล้กับชายแดน เช่น หาดใหญ่ อุดรธานี ทำให้ เซ็นทรัล วิลเลจ สามารถส่งสินค้าข้ามชายแดนไปเจาะกลุ่มลูกค้า CLMV ได้ นอกจากนี้ยังร่วมมือกับพันธมิตร บริษัท มิตซูบิชิ เอสเตท เอเชีย บริษัทในเครืออสังหาฯ ระดับโลก เพื่อเจาะกลุ่ม Expats เพิ่มได้อีกด้วย­­

    3.เป็นมากกว่าจุดหมายของการช้อปปิ้งสินค้าแบรนด์เนม – โดยเซ็นทรัล วิลเลจจับข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าในด้านไลฟ์สไตล์ เพื่อเสริมแกร่งตามคอนเซ็ปต์ ‘Center of Life’ ของเซ็นทรัล ดึงกลุ่มลูกค้าหลากหลายเข้ามาในศูนย์การค้า เช่น

    • กลุ่มผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านระดับกลาง-ไฮเอนด์ (Affluent Family) นักเรียนรร.นานาชาติที่อยู่ในรัศมี 15 กม. ด้วย การมี Tops Supermarket อำนวยความสะดวก
    • กลุ่มไลฟ์สไตล์กีฬา อาทิ สเก็ตบอร์ด เซิร์ฟสเก็ต โรลเลอร์เบลด (Urban Sports) โดยเปิดพื้นที่ให้เล่นกีฬา ทำให้มีกลุ่มคนออกกำลังกายเข้ามาเป็นประจำ 6,000 คนต่อเดือน
    • กลุ่มไลฟ์สไตล์ระดับลักชูรี่ อาทิ กลุ่มผู้ใช้รถซูเปอร์คาร์ กลุ่มรักการถ่ายรูป (Luxury Lifestyle) โดยศูนย์ฯ ดึงดูดด้วยมุมถ่ายรูปที่ให้อารมณ์เหมือนเอาท์เลตเมืองนอก เหมาะกับการลง Instagram ซึ่งช่วยเพิ่มทราฟฟิกได้ 20% ในช่วงเดือนมี.ค.64

    4. แคมเปญโปรโมชั่น Super Brand Grand Sale 2021 ลดสูงสุด 90% – การกลับมาอีกครั้งของแคมเปญที่ดีที่สุด ช่วยกระตุ้นการช้อป ระบายสินค้าให้กับร้านค้าพันธมิตร พร้อมโปรโมชั่น on top ที่พลาดไม่ได้ เชื่อว่าจะเร่งทราฟฟิกขึ้น 20% ทั้งนี้ เซ็นทรัลยังคงมาตรการ ‘เซ็นทรัล สะอาด มั่นใจ’ เพื่อความปลอดภัยทางสุขอนามัย (เช็กโปรโมชั่นเพิ่มเติมที่ >> https://www.facebook.com/CENTRALVILLAGEfanpage/photos/pcb.784824672400411/784819409067604/)

    “เรามั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าสถานการณ์ทั่วโลกรวมทั้งภายในประเทศกำลังมีแนวโน้มดีขึ้น จากปัจจัยหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเร่งกระจายวัคซีนแก่ประชาชน, การตั้งเป้าเปิดประเทศใน 120 วัน และการเริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการในธุรกิจต่างๆ ของภาครัฐ เป็นต้น” ดร. ณัฐกิตติ์ กล่าว

    โดยแคมเปญ Super Brand Grand Sale 2021” ช้อปชาร์จความสุขประหยัดสูงสุด 90% พร้อมสินค้า Weekly WOW Price ราคาสุดพิเศษทุกสัปดาห์ จากแบรนด์ที่ร่วมรายการ อาทิ Polo Ralph Lauren, Calvin Klein, Tommy Hilfiger, Coccinelle, Kate Spade, Coach, Outlet by Club21, Michael Kors, Geox, Keds, Ripcurl และ Jim Thompson เป็นต้น เริ่มตั้งแต่ 18 มิ.ย. – 31 ก.ค. 2564 

    แคมเปญนี้มีสิทธิพิเศษ on-top สำหรับสมาชิก The 1 มากมาย อาทิ รับ cash voucher มูลค่า 500 บาท เมื่อช้อปครบ 20,000บาท (*จำนวนรวม 350 สิทธ์ตลอดแคมเปญ), รับ cash voucher มูลค่า 1,500 บาท เมื่อช้อปครบ 50,000บาท (*จำนวนรวม 100 สิทธ์ตลอดแคมเปญ), Top Spender Promotion รับฟรี! Cash Voucher มูลค่า 4,000 บาท เมื่อช้อปครบ 100,000 บาท (*ลูกค้า 10 ท่านแรกตลอดแคมเปญ), VIPs Exclusive Offers สำหรับสมาชิก The 1 TOP 20 และ VIP Members ที่ได้รับการเชิญผ่าน SMS รับฟรี Luxury Brands E-Vouchers, Chat & Shop Special Promotion รับฟรี! E-Voucher มูลค่า 100 บาท เมื่อ ช้อปครบ 9,000 บาท ผ่านช่องทาง Chat & Shop (*จำนวนรวม 100 สิทธิ์) และรับ Premium Redemption เมื่อ ช้อปครบ 3,000 บาทขึ้นไป แลกซื้อสินค้าจากแบรนด์ Jurlique และ Ruen Rom (Karmart) ในราคาพิเศษ เป็นต้น

    เซ็นทรัล วิลเลจ ภายใต้คอนเซ็ปต์ Bangkok Luxury Outlet เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ เวลา 11.00-21.00 น. Starbucks เปิดให้บริการ 09.00-21.00น. Tops Market เปิดให้บริการ 08.00-21.00น. และสามารถติดตามรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์: http://www.centralvillagebangkok.com, LINE: @centralvillage, Facebook: Central Village, Instagram: centralvillagebangkok

    ]]>
    1339122
    ‘Sephora’ สวนกระเเสตลาด ‘เครื่องสำอาง’ วูบ เตรียมขยายสาขาอีก 260 เเห่ง มากสุดในรอบ 21 ปี https://positioningmag.com/1321401 Mon, 01 Mar 2021 13:37:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321401 เเม้ธุรกิจเครื่องสำอางจะได้รับผลกระทบสาหัสจากพิษโรคระบาด เเต่ก็ไม่อาจฉุดร้านมัลติเเบรนด์ชื่อดังอย่าง ‘Sephora’ ได้ ล่าสุดประกาศขยายสาขาเพิ่มอีก 260 เเห่งทั่วอเมริกา นับเป็นการขยายสาขาครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 21 ปี ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ

    ‘Sephora’ เป็นธุรกิจในเครือ LVMH ยักษ์สินค้าลักชัวรีจากฝรั่งเศส ที่กำลังกว้านซื้อเเบรนด์ต่างๆ เข้าพอร์ต โดยเมื่อเร็วๆ นี้ก็เพิ่งเข้าซื้อหุ้น 50% ในแชมเปญหรู ‘Ace of Spades’ ของ Jay-Z เจ้าพ่อแรปเปอร์

    การขยายสาขาครั้งนี้ จะเเบ่งเป็นร้านของ Sephora เอง (freestanding stores) 60 สาขา ในจำนวนนี้กว่า 85% จะตั้งอยู่นอกห้างสรรพสินค้า ส่วนอีก 200 สาขาจะเป็นร้านขนาดเล็ก’ (mini shops) ที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า Kohl’s

    ธุรกิจความงามกำลังอยู่ในช่วงการปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ เมื่อการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ลูกค้ามาช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้าลดลง เเละอัตราว่างงานในตำเเหน่งที่ทำในห้างฯ พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 10.5%

    ขณะเดียวกัน ความจำเป็นที่ต้องสวมหน้ากากอนามัย เเละการทำงานที่บ้านเเบบ Work from Home ก็ทำให้ยอดขายเครื่องสำอางลดลงอย่างมาก เพราะผู้บริโภคไม่ต้องเเต่งหน้าเพื่อออกสังคม อีกทั้งยังบำรุงรักษาผิวหน้าน้อยลง

    รายงานของบริษัทวิจัยตลาด NPD ระบุว่า ยอดขายเครื่องสำอางลดลง 34% ในปี 2020 เมื่อเทียบกับปีก่อน

    Photo : SEPHORA

    เเม้ตลาดโดยรวมจะไม่เอื้ออำนวย เเต่ ‘Sephora’ ขอลุยต่อ โดยจะเริ่มทยอยเปิดสาขาใหม่ในเมืองต่างๆ เช่น ดัลลัส, ฮูสตัน, ลอสแองเจลิส และเท็กซัส

    Sephora ระบุในอีเมลถึง CNNBusiness ว่า การเลือกทำเลเปิดสาขาใหม่เหล่านี้ ผ่านพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ โดยมุ่งเน้นที่การเติบโตในพื้นที่ชานเมืองและนอกห้างสรรพสินค้า ช่วยให้สามารถเข้าถึงผู้ซื้อสินค้าความงามทั่วประเทศได้มากขึ้น

    พร้อมกันนี้ ยังเป็นการเพิ่มช่องทางการขายเเบบ Omnichannel สั่งออนไลน์เเละรับได้ที่สาขา หรือพ่วงโปรโมชันจัดส่งฟรีและการเสนอคืนสินค้าที่ง่ายดาย โดยยอดขายออนไลน์ของ Sephora ในอเมริกาเหนือ ช่วงโรคระบาด เพิ่มขึ้นใกล้แตะระดับ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 

    การขยายสาขานี้ คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อห้างสรรพสินค้า Kohl’s เพราะการมีผลิตภัณฑ์ความงามระดับไฮเอนด์ที่หลากหลาย จะช่วยดึงดูดลูกค้าคนรุ่นใหม่ได้มากขึ้นด้วย

     

    ที่มา : CNN , Forbes , Yahoo 

    ]]>
    1321401
    เจาะ 9 กลยุทธ์ ‘พิชิตใจลูกค้า’ ในวันที่คู่แข่งจาก ‘ต่างชาติ’ ทะลักเข้าไทย https://positioningmag.com/1308641 Wed, 02 Dec 2020 11:49:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308641 ในวันที่ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากยิ่งขึ้นเพราะการค้าขายที่ไร้พรหมแดน เนื่องจากเทคโนโลยีและการขนส่งที่ดีมากขึ้น ทำให้คู่แข่งของผู้ประกอบการไทยไม่ได้มีแค่ศึกภายใน แต่คู่แข่งจากต่างประเทศก็มีอีกมากเช่นกัน หากอ้างอิงจากข้อมูลของ ‘ไพรซ์ซ่า (Priceza)’ ในปี 2019 พบว่าสินค้ากว่า 135 ล้านชิ้นจาก 3 แพลตฟอร์ม e-Marketplace ชื่อดังเป็นสินค้าจากต่างประเทศ ดังนั้น ยุคนี้จึงเป็นยุคที่ต้อง ครองใจลูกค้ายิ่งกว่าที่เคย และนี่คือสุดยอด 9 กลยุทธ์ที่จะช่วยสร้างประการณ์เพื่อครองใจลูกค้าได้อย่างโดดเด่นให้กับทุกธุรกิจ

    1. ลองเป็นลูกค้าดูบ้าง

    การมองธุรกิจของคุณจากมุมมองของลูกค้าเป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยยกระดับการบริการ และสร้างประสบการณ์ที่ดีแบบรอบด้านให้กับลูกค้า เริ่มจากการที่ทำความเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้า โดยนำตัวเองเข้าไปอยู่ในจุดที่พวกเขากำลังมองหาสินค้าและบริการ แล้วค่อย ๆ ลงลึกถึงรายละเอียดและจุดบกพร่องในแต่ละขั้นตอนที่ได้เจอ เพื่อวางแนวทางแก้ไขได้อย่างเหมาะสมและตรงจุด

    2. สร้างประสบการณ์ที่ราบรื่นและสม่ำเสมอ

    นักช้อปยุคใหม่มักคาดหวังการตอบสนองที่สอดคล้องและเชื่อมต่อกันในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น โซเชียลมีเดีย แชทบ็อกซ์บนเว็บไซต์ของแบรนด์ หรือแอปพลิเคชันบนมือถือ ดังนั้น การรักษาประสบการณ์ที่ราบรื่นและสม่ำเสมอให้กับลูกค้าในทุก ๆ ช่องทางจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ ทั้งยังมีส่วนช่วยในการรักษาความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์อีกด้วย ตัวอย่างเช่น มี Live Chat 24 ชั่วโมงทุกวันซึ่งต้องทำให้ได้ด้วยนะ

    3. ประสบการณ์เฉพาะบุคคลคือหัวใจสำคัญ

    ลูกค้าหวังให้แบรนด์จดจำพวกเขาในฐานะบุคคลที่มีความต้องการที่แตกต่างกันในทุกการสื่อสาร การเรียกด้วยชื่อที่ถูกต้องถือเป็นเรื่องพื้นฐานสำหรับแบรนด์ ในยุคนี้คุณจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากการใช้จ่ายครั้งก่อนหน้ากับแบรนด์ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบในการปรับแต่งข้อความให้มีความเฉพาะตัวและตรงกับความต้องการของลูกค้าคนนั้น ๆ จึงจะสามารถครองใจผู้บริโภคได้

    4. ใช้กลยุทธ์ Omnichannel กับธุรกิจของคุณ

    ทุกวันนี้ลูกค้าเลือกใช้ถึง 6 ช่องทางโดยเฉลี่ย ดังนั้น ร้านต้องพร้อมให้บริการในทุกที่และทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Live Chat, Email, Call Centers, SMS, ในร้าน หรือแอปพลิเคชัน เช่น LINE, Facebook Messenger, WhatsApp และอีกมากมาย! ยิ่งแบรนด์ของคุณมีช่องทางที่ลูกค้าสามารถติดต่อกับคุณได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งส่งผลดีต่อแบรนด์มากเท่านั้น ธุรกิจของคุณควรเปิดรับต่อการเข้าถึงตลอดเวลาในทุกช่องทาง เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว คุณอาจทำให้ลูกค้าจำนวนมากไม่พอใจ และหันไปใช้บริการของคู่แข่งรายใดรายหนึ่งของคุณได้ในที่สุด

    shopping online ecommerce

    5. โปร่งใส และให้มากกว่าหุ่นยนต์

    ในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ความซื่อสัตย์และโปร่งใสเป็นจุดชี้วัดที่แสดงถึงความจริงใจของแบรนด์ ดังนั้น แบรนด์จึงควรเปิดเผยข้อมูลสำคัญให้กับลูกค้าอย่างชัดเจน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในด้านนี้ให้แก่ผู้บริโภค และแม้ว่าจะมี Chatbots ที่ช่วยในการสื่อสารกับลูกค้า แต่พนักงานยังคงเป็นส่วนสำคัญในการสื่อสารเพราะเข้าใจอารมณ์ได้มากกว่า

    6. เลือกที่จะเป็นผู้นำ

    เพราะประสบการณ์ของลูกค้ามีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่บริษัทส่วนใหญ่เลือกที่ไม่ปรับตัวจนกว่าเทรนด์จะเกิดขึ้นจริง ซึ่งก็ไม่ผิด แต่การก้าวนำเทรนด์ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เมื่อแบรนด์สามารถสร้างสรรค์บริการลูกค้าแบบใหม่ที่เหนือกว่าคู่แข่ง ก็แปลว่ามีโอกาสสร้างลูกค้าใหม่ ๆ ให้กับแบรนด์

    7. เลือกใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์

    การวิเคราะห์ข้อมูลและประสบการณ์ของลูกค้า จะช่วยให้แบรนด์เข้าใจ ความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาและต่อยอดบริการ เพื่อเสริมจุดดีและลดจุดด้อยได้อย่างเหมาะสม การวิจัยชี้ให้เห็นว่า 90% ของผู้จัดการธุรกิจเชื่อว่าข้อมูลวิเคราะห์มีความสามารถในการพัฒนายอดขายได้มากกว่า 20% เนื่องจากสามารถใช้การวิเคราะห์นี้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้น

    8. รับฟังลูกค้าแม้ไม่ใช่บนช่องทางของคุณ

    จากข้อมูลของ We Are Social คนไทยใช้เวลาในมือถือเล่นอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 5 ชั่วโมงต่อวัน และเล่นโซเชียลมีเดียโดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวัน ผ่านช่องทางยอดนิยมเช่น Facebook, YouTube, LINE, FB Messenger, Instagram, Twitter, TikTok และอื่น ๆ ดังนั้นการตลาดที่เน้นการสนทนาจึงเป็นกลยุทธ์ที่ดีเยี่ยม เพื่อใช้รวบรวมความคิดเห็นจากลูกค้า และตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะบุคคลได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้การปรับใช้วิธีการสื่อสารให้ครบทุกช่องทาง (Omnichannel) ยังช่วยให้แบรนด์พัฒนาประสบการณ์ของลูกค้าได้จากตัวเลือกการเข้าถึงผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า

    9. เวลา สิ่งสำคัญที่ลูกค้าให้ความสำคัญ

    ลูกค้าคือหัวใจสำคัญของธุรกิจ และการสร้างประสบการณ์ที่ตรงกับความต้องการเฉพาะบุคคล คือหนทางสู่การพิชิตใจลูกค้า ไม่ว่าคุณจะอยู่ในธุรกิจไหน สิ่งที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญคือ เวลา! ดังนั้น การทำขั้นตอนให้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน และจัดส่งอย่างรวดเร็วก็เป็นอีกข้อได้เปรียบ

    สุดท้าย ไม่ว่าจะมีคู่แข่งจากต่างประเทศมาทำราคาถูกกว่าแค่ไหน หากสินค้าเรามีคุณภาพที่ดี การบริการที่ตรงใจลูกค้า ก็ยากที่ลูกค้าจะเปลี่ยนใจไปให้แบรนด์อื่น โดยงานวิจัยของ Harvard Business Review ชี้ว่าหากธุรกิจที่สามารถปรับใช้กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์ทางอารมณ์กับผู้บริโภคได้นั้น มีอัตราการเติบโตด้านยอดขายเหนือคู่แข่งถึง 85% เลยทีเดียว

    ]]>
    1308641
    ไม่หวั่น! “เทสโก้ โลตัส” ขยายสาขาใหม่ตามแผนเดิม ดีไซน์ร้านด้วยฟีเจอร์ยุค New Normal https://positioningmag.com/1298536 Fri, 25 Sep 2020 10:00:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298536

    จากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจมากมายทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยเองที่ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ ไปจนถึงผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อมหรือ SME ก็ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า มีการถอยทัพปิดกิจการกันไปก็มี

    แต่ “เทสโก้ โลตัส” ยังคงสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค ว่ายังคงเดินหน้าขยายสาขาตามแผนธุรกิจเดิม เพื่อส่งต่อคุณภาพผ่านสินค้า และบริการ ให้ลูกค้าได้อุ่นใจในการได้ช้อปปิ้งสินค้าราคาถูก และมีคุณภาพอย่างแน่นอน

    โดยที่แผนขยายสาขาใหม่ตามปีงบประมาณ 2563/64 มีการขยายสาขารวมทั้งสิ้น 154 สาขา แบ่งเป็น รูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ต 4 สาขา และเอ็กซ์เพรส 150 สาขา

    โดยในเดือนกันยายนได้เปิดสาขาไฮเปอร์มาร์เก็ต 2 สาขาในจังหวัดปทุมธานี และสมุทรปราการไปแล้ว ในส่วนของสาขารูปแบบเอ็กซ์เพรส ได้เปิดสาขาใหม่ไปแล้วทั้งสิ้น 77 สาขาตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 จนถึงปัจจุบัน และยังคงเดินหน้าขยายสาขาต่อเนื่องตามแผนที่วางไว้

    และที่สำคัญของการขยายสาขาครั้งนี้ ไม่เหมือนกับการเปิดสาขาในปีก่อนๆ เพราะต้องสร้างความปลอดภัย และความมั่นใจในการช้อปปิ้งแบบเหนือระดับ ทางเทสโก้ โลตัสได้ทำการออกแบบร้านค้าแบบใหม่ ที่มาพร้อมฟีเจอร์รับวิถีชีวิตยุค New Normal สามารถช้อปปิ้งได้อย่างสบายใจในยุค COVID-19

    ฟีเจอร์ต่างๆ ที่มีการดีไซน์รวมไว้ในสาขาใหม่นั้น จะมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ด้านความปลอดภัย และเน้นระบบอัตโนมัติ ไร้การสัมผัส รวมถึงยังมีการยกระดับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสอย่างเข้มงวด เรียกว่าทุกจุด ทุกมุมของเทสโก้ โลตัส ไม่ว่าจะในส่วนของสโตร์ ศูนย์อาหาร ห้องน้ำ ล้วนมีฟีเจอร์เพื่อป้องกันความปลอดภัยทั้งสิ้น

    ฟีเจอร์ต่างๆ จะมีอะไรบ้าง ขอยกตัวอย่างดังนี้

    · Smart Detector ระบบอัจฉริยะวัดอุณหภูมิและตรวจสอบการใส่หน้ากากของลูกค้าอัตโนมัติก่อนเข้าสาขา เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้า ด้วยการเดินผ่านเครื่องซึ่งจะตรวจสอบว่ามีการสวมใส่หน้ากาก และอุณหภูมิร่างกายไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส ระบบจึงจะเปิดที่กั้นอัตโนมัติเพื่อให้ลูกค้าสามารถผ่านเข้าไปใช้บริการได้ อีกทั้งยังเสริมความปลอดภัย ด้วยการลดการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างพนักงานและลูกค้า

    · ติดตั้งระบบ UV Filter ในเครื่องปรับอากาศเพื่อฆ่าเชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา อย่างมีประสิทธิภาพ

    · อุโมงค์ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อรถเข็นหลังจากใช้งาน โดยอุโมงค์นี้จะพ่นน้ำยายาฆ่าเชื้ออัตโนมัติลงบนรถเข็นช้อปปิ้ง เพื่อทำความสะอาดและฆ่าเชื้อก่อนนำมาให้ลูกค้าใช้งานทุกครั้ง

    · เครื่องอบช้อนส้อมด้วยแสงยูวี เพื่อฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทานอาหารภายในศูนย์อาหาร

    · ห้องน้ำแบบไร้สัมผัส ที่ทำงานโดยอัตโนมัติผ่านระบบเซ็นเซอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ ประตูทางเข้า ก๊อกน้ำล้างมือ โถสุขภัณฑ์

    · จุดล้างมือด้วยเครื่องจ่ายสเปรย์แอลกอฮอล์อัตโนมัติ ที่ง่ายต่อใช้งานของลูกค้า

    · จัดที่นั่งประทานอาหารทั้งใน และนอกสาขาเพื่อความสะดวก ตอบโจทย์การรักษาระยะห่าง

    นอกจากเทคโนโลยี New Normal ต่างๆ ยังมีบริการ omnichannel เพื่อรองรับการเติบโตของออนไลน์ช้อปปิ้ง อาทิ

    · บริการ Chat & Shop ให้ลูกค้าสามารถสั่งสินค้าได้โดยตรงกับสาขาที่สะดวกใกล้บ้าน จัดส่งถึงบ้าน ปัจจุบันให้บริการใน105 สาขา

    · บริการ Chat & Collect ลูกค้าสั่งสินค้าโดยตรงกับสาขาที่สะดวกและมารับสินค้าด้วยตนเอง ปัจจุบันให้บริการใน 220 สาขา

    จะเห็นได้ว่า เทสโก้ โลตัสใส่ใจผู้บริโภคในทุกจุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสินค้า และบริการ ก็มีการตอบโจทย์ด้วยการลด และตรึงราคานานกว่า 3 เดือน เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค รวมไปถึงการขยายสาขา เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคคนไทยได้ทั่วประเทศ อีกทั้งยังคำนึงถึงความปลอดภัย และเรื่องสุขอนามัย ภายในสโตร์ เพื่อให้ลูกค้าได้ช้อปปิ้งอย่างสบายใจ รับวิถีชีวิตใหม่ยุค New Normal ไปด้วยกัน

    ]]>
    1298536
    7 ลายแทง “ecommerce” ปี 2018 https://positioningmag.com/1151736 Mon, 25 Dec 2017 23:07:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1151736 ไล่ตั้งแต่ blockchain ถึง same-day delivery กระทั่ง GDPR ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งใน 7 สิ่งที่สามารถบอกใบ้ได้ว่าสมรภูมิ ecommerce ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะแข่งขันด้านใดในปี 2018 ซึ่งเป็นดินแดนที่ Amazon และ Alibaba กำลังสู้ศึกชนช้างอย่างดุเดือด

    เหตุที่ทำให้อาเซียนเนื้อหอมจนนักลงทุนรุมตอม คือการเติบโตก้าวกระโดดของชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นคนทำงานในภูมิภาคนี้ สถิติบันทึกว่า 10 ประเทศในอาเซียนจะมีประชากรคนทำงานมากกว่า 400 ล้านคนในปี 2020 เพิ่มขึ้นจาก 190 ล้านคนในปี 2012 (ข้อมูลพยากรณ์จาก Nielsen)

    อีกส่วนหนึ่งคือจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีมากขึ้น วันนี้ชาวอาเซียน 130 ล้านคนใช้สมาร์ทโฟน คาดว่าจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในภูมิภาคนี้จะแตะ 600 ล้านคนในปี 2025

    ยอดขายอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคนี้ยังมีแนวโน้มเติบโตก้าวกระโดด การวิจัยล่าสุดของ Google และกลุ่มทุน Temasek Holdings คาดการณ์ว่ายอดขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเติบโต 32% ต่อปีจาก 5.5 พันล้านเหรียญในปี 2015 พุ่งกระฉูดเป็น 8.8 หมื่นล้านเหรียญในปี 2025 ซึ่งจะทำให้ตลาดออนไลน์ครองสัดส่วนราว 6% ของตลาดค้าปลีกรวม

    การเติบโตนี้เห็นชัดจากยอดขายวันคนโสด หรือ Singles Day ซึ่งในประเทศจีนมีการฉลองว่า Singles Day มีเงินสะพัดมูลค่าถึง 2.5 หมื่นล้านเหรียญในวันเดียว 24 ชั่วโมง โดย Lazada ซึ่งเป็นตลาดขายสินค้าออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ได้รับอานิสงส์จากงานนี้ด้วย เพราะสามารถทำยอดขายที่ร้อนแรงได้ในช่วงโปรโมชั่น แม้จะไม่ได้โลดโผนโดดเด่นในระดับตัวแม่อย่างประเทศจีน

    สำนัก Campaign Asia ยกให้ 1 ใน 7 แนวโน้มสำคัญที่จะมีผลต่ออีคอมเมิร์ซอาเซียนปี 2018 คือ Mobile Payment การชำระเงินบนอุปกรณ์พกพาที่ใครรองรับได้ดีกว่า ก็มีโอกาสชนะได้มากกว่า

    1. Mobile Payment 

    เรื่องนี้เห็นชัดจากวัน Singles Day เพราะการซื้อส่วนใหญ่ 70% ทำบนอุปกรณ์พกพา ความจริงนี้แสดงให้เห็นว่าการช้อปปิ้งบนมือถือกลายเป็นตัวเลือกที่สำคัญในวงการค้าปลีกออนไลน์ แม้ว่าอัตรา penetration หรือจำนวนผู้ใช้นอกสิงคโปร์ที่ยังอยู่ในระดับน้อย แต่การชำระเงินผ่านมือถือก็เริ่มแสดงให้เห็นว่าจะแพร่หลายมากขึ้น

    แม้ผู้เล่นรายใหญ่ เช่น Android Pay และ Apple Pay จะไม่สามารถให้บริการนอกประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่แบรนด์เล็กที่มาจากท้องถิ่นในประเทศอื่นก็เริ่มแทรกตัวเข้าสู่สายตาของผู้ใช้ทั่วภูมิภาคได้ เช่น อินโดนีเซียที่มี Ponselpay เป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่นำเสนอบริการ Mobile Payment ที่ไม่เหมือนใคร ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็มี Line Pay ซึ่งได้ร่วมกับ Rabbit Card เพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับระบบ BTS รวมถึงการชำระเงินในร้านค้าอื่น

    ที่สำคัญคือ บริการ Mobile Payment ของ Alipay และ Wechat Pay กำลังเริ่มเข้าสู่ภูมิภาคนี้ บริการแดนมังกรที่มุ่งเน้นตลาดนักท่องเที่ยวจีนกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในโรงแรมขนาดใหญ่และเครือข่ายร้านอาหาร ซึ่งบริษัทแม่ทั้ง Alibaba และ Tencent ต่างก็เริ่มลงทุนในบริษัทท้องถิ่น จุดนี้มีการประเมินว่าปี 2018 จะเป็นปีที่ตัวเลือกการชำระเงินมีความหลากหลายมากขึ้น ระบบกระเป๋าเงินในโทรศัพท์มือถือจะมีความพร้อมใช้งานมากขึ้น คาดว่าการลงทุนในตลาดการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.2 หมื่นล้านเหรียญภายในปี 2021

    2. Same-Day Delivery 

    ไม่ต้องรอข้ามวัน แต่ Same-Day Delivery คือการจัดส่งสินค้าในวันเดียวกันกับที่สั่งซื้อ เหตุที่ Same-Day Delivery เป็นหนึ่งในเทรนด์แรงอีคอมเมิร์ซปี 2018 คือผลการศึกษาล่าสุดของบริษัทวิจัย L2 ที่พบว่า ผู้ซื้อ 1 ใน 4 รายจะเลิกซื้อสินค้าหากพบว่าร้านนั้นไม่มีบริการจัดส่งสินค้าในวันเดียว

    สถิตินี้ตอกย้ำว่าลูกค้ามีแนวโน้มคาดหวังในการรับสินค้าที่สั่งซื้อไว้ได้เร็วขึ้น แนวโน้มนี้ทำให้ปี 2017 เจ้าใหญ่อย่าง Lazada ลงมือเปิดตัวบริการ Lazada Express ในฟิลิปปินส์ หลังจากเปิดที่สิงคโปร์มาก่อนหน้านี้ โดยเบื้องต้น บริการนี้ยังจำกัดอยู่ที่เมืองใหญ่และพื้นที่โดยรอบ

    นอกจาก Lazada Express ยังมี Amazon Prime Now ที่เริ่มให้บริการที่สิงคโปร์ ร่วมด้วยผู้ค้ารายย่อยในหลายประเทศ ทั้งหมดนี้ส่งสัญญาณว่าปี 2018 จะเป็นปีที่ชาวอาเซียนในเมืองใหญ่จะมีโอกาสได้รับบริการ Same-Day Delivery มากขึ้น ซึ่งปัจจัยเสริมส่วนหนึ่งอาจมาจากบริการแอปพลิเคชันส่งสินค้าเช่น Uber Deliver และ GrabExpress ล้วนสามารถทำให้เกิดบริการ Same-Day Delivery ในระดับกลุ่มย่อยเฉพาะบางเมือง

    3. Omnichannel

    ตลอดปี 2017 หลายบริษัทพยายามเชื่อมช่องทางออนไลน์และออฟไลน์เพื่อรองรับพฤติกรรมการช้อปปิ้งที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นปี 2018 การใช้แนวทาง omnichannel ในการขายและการบริการลูกค้าจึงมีทีท่ากลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งขึ้น เพราะผู้ค้าปลีกจะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ และเชื่อมช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ให้ดีขึ้นเพื่อนำลูกค้าเข้ามาให้มากขึ้น

    omnichannel ในฝันที่จะเกิดขึ้นหนาตาในปี 2018 คือระบบที่สามารถติดตามและเชื่อมต่อประสบการณ์ของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เรียกว่าสร้างความต่อเนื่อง ให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลา

    4. Social Messengers & Chatbots 

    สำนัก Business Insider Intelligence รายงานว่าการใช้แอปพลิเคชันรับส่งข้อความหรือ messaging app นั้นเริ่มมีความถี่ทรานเซฟชันมากกว่าการใช้เครือข่ายทางสังคมหรือ social network ในขณะที่รายงานของ The Economist ระบุว่ามีผู้ใช้กว่า 2.5 พันล้านคน ติดตั้งแอปส่งข้อความอย่างน้อยหนึ่งแอปบนสมาร์ทโฟนตัวเอง สถิตินี้ทำให้แบรนด์ส่วนใหญ่หันมาใช้ประโยชน์จากแอปสนทนา เพื่อโต้ตอบกับลูกค้าแบบส่วนบุคคล

    ที่สำคัญคือ แบรนด์จำนวนมากเลือกใช้โปรแกรมสนทนาอัตโนมัติหรือ chatbot บนเพจ Facebook วิธีนี้จะทำให้ผู้ใช้ทราบข้อมูลสินค้าที่สนใจ และสามารถซื้อสินค้าได้จากหน้าสนทนาบน Facebook messenger ได้เลย รูปแบบที่สวยหรูนี้ทำให้เชื่อขนมกินได้ว่าจะมีอีกหลายแบรนด์ลงทุนในระบบสนทนาเพื่อให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าได้โดยตรง

    5. Store in Store 

    ที่ผ่านมา หลายแบรนด์ยึดมั่นในโอเดล Brand.com หรือการสร้างเว็บไซต์เพื่อใส่ชื่อแบรนด์ตัวเองเพื่อต่อท้ายด้วยคำว่าดอทคอมเว็บไซต์นี้เป็นแหล่งที่เหล่าแบรนด์ใช้ขายสินค้าโดยที่ยังสร้างแบรนด์ได้เหนือกว่าการขายในตลาดออนไลน์ เพราะแบรนด์สามารถออกแบบ ทำโครงสร้าง หรือให้ทางเลือกในการจัดส่งได้ยืดหยุ่นกว่า แต่วันนี้ตลาดอย่าง Amazon และ Lazada นั้นร้อนแรงจนทำให้แบรนด์ต้องปรับตัว ด้วยการสร้างร้านในร้านหรือการสร้างเพจร้านค้าของตัวเองในร้านตลาดออนไลน์รายใหญ่

    ผลคือลูกค้าของแบรนด์จะมีประสบการณ์ใหม่ในการซื้อสินค้าของแบรนด์ ตัวอย่างชัดเจนคือ Levi’s ที่ร่วมมือกับร้านออนไลน์หลายแห่งรวมทั้ง Amazon และ Lazada ออกแบบเพจร้านขายยีนส์ของตัวเอง โดยจัดเต็มทั้งคอลเลกชันล่าสุด โปรโมชัน และลายสินค้าอื่นในกลุ่ม บนการออกแบบหน้าเว็บสไตล์เฉพาะของ Levi’s ผลลัพท์คือเจ้าพ่อยีนส์โลกสามารถแสดงตัวตนของแบรนด์ บนทราฟฟิกมหาศาลจาก marketplace ยอดนิยม

    6. Blockchain/Cryptocurrency 

    ถ้าพูดถึง blockchain ก็ต้องพูดถึง cryptocurrency ด้วย เดิมทีเทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาเป็นองค์ประกอบหลักของ bitcoin แต่วันนี้ blockchain กลายเป็นเทคโนโลยีที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ทุกวงการ เนื่องจากลักษณะการกระจายอำนาจและการออกแบบที่ปลอดภัย 

    เทรนด์แรงสำหรับการค้าออนไลน์ปี 2018 คือแอปพลิเคชันชั้นนำจะเริ่มให้ cryptocurrency เป็นตัวเลือกการชำระเงินสำหรับลูกค้า นอกจากนี้ ระบบ blockchain จะถูกใช้ในระบบการผลิตสินค้าราคาแพง เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าสินค้าที่เห็นในร้านออนไลน์ไม่ใช่สินค้าปลอมเกรดเอ

    7. GDPR 

    พฤษภาคม 2018 คือกำหนดการที่ General Data Protection Regulation (GDPR) หรือนโยบายป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลใหม่จะเริ่มมีผลกับชาวอียู แม้ว่าจะยังจำกัดในตลาดยุโรป แต่คาดว่า GDPR นี้จะมีผลต่อ ecommerce ทั่วโลก ซึ่งจะมีโอกาสส่งผลถึงอาเซียนด้วย

    สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ผู้ค้า ecommerce จะต้องได้รับการยินยอมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อรวบรวมและรักษาข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า ทั้งหมดนี้จะครอบคลุมถึงการสร้างโปรไฟล์ เพราะถือเป็นข้อมูลและผู้ค้าต้องได้รับการยินยอมจึงจะสามารถรับข้อมูลหรือทำการตลาดบนเว็บไซต์นั้น นอกจากนี้ กฏหมายนี้ยังครอบคลุมถึงการส่งข้อมูลลูกค้าให้บริษัทอื่น เช่น ผู้ให้บริการจัดส่งสินค้า ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงแบบทั่วทั้งวงจร

    เหตุผลที่ทำให้สรุปเช่นนี้คือสิงคโปร์นั้นเป็นพันธมิตรสำคัญของสหภาพยุโรป ธุรกิจมากมายในสิงคโปร์จะต้องปรับรูปแบบให้บริการให้ทันเพื่อไม่ให้ต้องถูกลงโทษปรับได้ แม้ทุกธุรกิจจะรู้ดีว่าต้องเริ่มดำเนินการแล้ว แต่การสำรวจพบว่ากลุ่มตัวอย่างกว่า 56% ในสิงคโปร์หวั่นใจว่าอาจไม่สามารถปรับรูปแบบให้บริการได้ทันตามกำหนด

    นอกเหนือจาก 7 สิ่งนี้ ยังมีลูกเล่นใหม่หรือโอกาสใหม่ที่เหล่าแบรนด์จะสรรหามาได้แบบเกินคาดเดา ซึ่งใครทำได้ดีทำได้โดน ก็อาจจะสามารถโกยลูกค้าและทำเงินได้มากกว่าการถูกหวยแน่นอน.

    ที่มาcampaignasia.com/article/7-ecommerce-trends-that-will-shape-sea-sales-in-2018/441827

    ]]>
    1151736