COVAX – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 03 Oct 2021 12:23:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กว่า 50 ประเทศ ‘พลาดเป้า’ ฉีดวัคซีนโควิดยังไม่ถึง 10% ตามที่ WHO หวังไว้ https://positioningmag.com/1354599 Sun, 03 Oct 2021 09:04:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1354599 กว่า 50 ประเทศทั่วโลกพลาดเป้าที่จะฉีดวัคซีนป้องกันโควิดครบโดส ให้ได้อย่างน้อย 10% ของประชากร ภายในเดือนก.. ตามที่องค์การอนามัยโลกเคยตั้งความหวังไว้

สะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงวัคซีนระหว่างประเทศร่ำรวยยากจนชัดเจนขึ้น รวมไปถึงปัญหาความล่าช้าของโครงการ Covax

โดยประเทศที่พลาดเป้าหมายส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเเอฟริกา ที่มีอัตราการฉีดวัคซีนครบสองเข็มเเล้วเเค่ 4.4% เท่านั้น

ขณะที่สหราชอาณาจักร เกือบ 66% ของประชากรทั้งหมดได้รับการฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วน ส่วนสหภาพยุโรปฉีดไปได้เเล้ว 62% และในสหรัฐอเมริกาที่ 55%

จะเห็นได้ว่าประเทศส่วนใหญ่ที่ฉีดวัคซีนได้ล่าช้า มักจะเป็นประเทศรายได้ต่ำ เผชิญปัญหาด้านการจัดหาวัคซีน หรือบางประเทศก็มีความขัดเเย้งหรือสงครามกลางเมือง อย่าง เยเมน ซีเรีย อิรัก อัฟกานิสถาน และเมียนมา อีกทั้งประเทศอื่นๆ อย่าง เฮติ ก็ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ซึ่งทำให้การกระจายวัคซีนเป็นเรื่องที่ยากมาก

เเต่นั้นก็ไม่ใช่ทั้งหมด ยังมีบางเเห่งถือว่ามีฐานะร่ำรวยเเละมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างไต้หวัน ที่เผชิญปัญหาการส่งมอบที่ล่าช้าเเละปัญหาอื่นๆ อย่างความขัดเเย้งทางการเมือง ทำให้จนถึงขณะนี้มีอัตราประชากรได้รับวัคซีนโควิดครบสองโดสเเล้วยังไม่ถึง 10%

เช่นเดียวกับเวียดนาม ประเทศตลาดเกิดใหม่ ที่เคยมียอดผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับต่ำเเห่งหนึ่งของโลก จนกระทั่งต้องเจอการระบาดระลอกใหม่ที่ต้องคุมเข้มมาตรการล็อกดาวน์จนต้องปิดโรงงานผลิตไปจำนวนมาก เเละตอนนี้ก็ยังฉีดวัคซีนครบโดสได้ไม่ถึง 10%

ในทวีปแอฟริกา มีเพียง 15 จาก 54 ประเทศที่สามารถบรรลุเป้าหมาย 10% ได้ ขณะที่ยังมีประเทศกว่าครึ่งหนึ่งของทวีปนี้ที่ได้รับวัคซีนน้อยกว่า 2% ของประชากรทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้นยังมี 2 ประเทศอย่าง บุรุนดีเเละเอริเทรีย ที่ยังไม่เริ่มโครงการฉีดวัควีนด้วยซ้ำ

ส่วนประเทศขนาดใหญ่บางประเทศ ที่มีประชากรจำนวนมากก็ไม่ได้บรรลุเป้าหมายนี้มากนัก โดยอียิปต์ มีประชาชนเพียง 5% ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว ส่วนเอธิโอเปียและไนจีเรียต่างมีไม่ถึง 3%

หลายประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีนในอัตราที่สูง อยู่ในกลุ่มที่มีรายได้สูงหรือปานกลาง และสามารถจัดหาวัคซีนโดยตรงจากผู้ผลิต” Matshidiso Moeti ผู้อำนวยการภูมิภาค WHO Africa กล่าว

เมื่อต้นปัที่ผ่านมา ประเทศยากจนต่างๆ ประสบปัญหาความล่าช้าในการรับวัคซีนบริจาคผ่าน Covax ขององค์การอนามัยโลก แต่สถานการณ์เริ่มดีขึ้นในเดือนก..และส..

โดยปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของโครงการ Covax คือหลายประเทศในแอฟริกา กำลังพึ่งพาวัคซีนจาก Serum Institute of India ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดของโลก

อินเดียระงับการส่งออกวัคซีนในเดือนเม.. เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเร่งด่วนในประเทศ หลังมียอดติดเชื้อพุ่งสูง และผู้ผลิตรายอื่นๆ ก็ต่างประสบปัญหาในการผลิตที่เพิ่มขึ้น

ขณะที่วัคซีนที่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ชาติ (G7) รวมถึงอียู ให้คำมั่นว่าจะให้มากกว่า 1,000 ล้านโดสให้กับโครงการ Covax เเต่ตอนนี้ยังมีการส่งมอบน้อยกว่า 15% ดังนั้นเป้าหมายการฉีดวัคซีนครบโดสให้ได้ 40% ของประชากรโลกภายในสิ้นปีขององค์การอนามัยโลกก็ยิ่งจะทำได้ยากขึ้น

 

 

ที่มา : BBC 

 

]]>
1354599
วัคซีน ‘Sinovac’ ของจีน ขายดีมากกว่า 1 พันล้านโดส นักลงทุนฟันกำไรครึ่งปีแรก เกือบ 6 เท่า https://positioningmag.com/1349578 Wed, 01 Sep 2021 07:17:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349578 เหล่านักลงทุนในบริษัท ‘Sinovac Biotech’ ทำกำไรในครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้นเกือบ 6 เท่า ท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดที่ต้องมีการ ‘ฉีดวัคซีน’ ครั้งใหญ่ที่สุดในโลก

สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า วัคซีนป้องกันโควิด ชนิดเชื้อตาย ที่รู้จักในชื่อ ‘CoronaVac’ ที่สร้างยอดขายได้มากกว่า 1,000 ล้านโดส ช่วยให้ Sino Biopharmaceutical ซึ่งถือหุ้น 15% ในบริษัทย่อยของ Sinovac Biotech ทำกำไร 8,480 ล้านหยวน (ราว 4.2 หมื่นล้านบาท) ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2021 

โดยจำนวนนี้ เป็นส่วนบริษัทร่วมและกิจการร่วมค้า เเละลงทุนใน Sinovac สัดส่วนถึง 6,910 ล้านหยวน (ราว 3.5 หมื่นล้านบาท) จากกำไรทั้งหมด

รายได้ของบริษัทผู้ผลิตยาสัญชาติจีนรายนี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายได้มหาศาลที่ Sinovac ได้มาจากการจำหน่ายวัคซีนป้องกันโควิดไปกว่า 50 ประเทศทั่วโลก

โดย Sinovac ซึ่งหุ้นถูกระงับการซื้อขายในตลาดหุ้น Nasdaq ตั้งแต่ต้นปี 2019 ยังไม่รายงานผลประกอบการในปี 2021 ส่วน Sino Biopharmaceutical ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดในบริษัทที่เข้าไปลงทุน

ทั้งนี้ ราคาหุ้นของ Sino Biopharmaceutical พุ่งขึ้น 1.7% ในวันนี้ (1 ..)

สำหรับ Sino Biopharmaceutical เป็นบริษัทเวชภัณฑ์ของจีน ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง โดยมีเครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทใหญ่ในไทย เป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยใน Sino Biopharmaceutical

มาตรการรณรงค์เพื่อฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่กลายเป็นความจำเป็นของทุกประเทศทั่วโลกเช่นนี้นั้นไม่เคยมีมาก่อนส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ทำกำไรได้มหาศาล

ยกตัวอย่าง เช่น บริษัท Pfizer ที่ร่วมมือกับ BioNTech สามารถทำยอดขายได้ 7,800 ล้านดอลลาร์ จากการจำหน่ายวัคซีนโควิดชนิด mRNA ที่มีประสิทธิภาพสูง เเละประเมินว่าจะทำรายได้สูงกว่า 33,500 ล้านดอลลาร์ได้ในปีนี้

ขณะที่เมื่อปีที่แล้ว ‘Sino Biopharm’ เพิ่งเปลี่ยนจากการลงทุนในบริษัทผลิตยาทั่วไป มาลงทุนในบริษัทผลิตยาเพื่อต้านมะเร็ง โดยลงทุน 500 ล้านเหรียญสหรัฐในบริษัท Sinovac ซึ่งปัจจุบันมูลค่าหุ้น เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า

ท่ามกลางความสงสัย เกี่ยวกับประเด็นเรื่องค่าประสิทธิภาพ จากการทดลองระยะสุดท้าย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิดตามอาการน้อยกว่าวัคซีนที่พัฒนาในประเทศตะวันตก แต่วัคซีนของ Sinovac ก็ได้รับการอนุมัติใช้ในกว่า 50 ประเทศ เเละได้รับการรับรองใช้จากองค์การอนามัยโลก

ส่วนโครงการ COVAX ที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในกระจายวัคซีนให้แก่ประเทศยากจน ก็มีคำสั่งซื้อวัคซีน Sinovac หลายร้อยล้านโดส เเละบริษัทจีนอีกแห่งคือ Sinopharm

 

ที่มา : Bloomberg

]]>
1349578
กลุ่ม G7 ตั้งเป้าบริจาค ‘วัคซีนโควิด’ ช่วยประเทศยากจน ผ่าน COVAX อย่างน้อย 1,000 ล้านโดส https://positioningmag.com/1336478 Fri, 11 Jun 2021 04:50:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336478 กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก หรือ G7 ตกลงบริจาควัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประเทศรายได้ต่ำปานกลาง เบื้องต้นอย่างน้อย 1 พันล้านโดส ผ่านโครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลก เร่งกระจายวัคซีนให้เสร็จสิ้นภายในปีหน้า

บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เปิดเผยว่า สหราชอาณาจักรจะบริจาควัคซีนโควิด-19 อีก 100 ล้านโดส เพื่อสมทบกับเเผนการของสหรัฐฯ ที่เพิ่งประกาศว่าจะเเจกจ่ายวัคซีน Pfizer-BioNTech จำนวน 500 ล้านโดส ไปเมื่อเร็วๆ นี้

เอ็มมานูเอล มาครงประธานาธิบดีฝรั่งเศส ก็เตรียมจัดส่งวัคซีนช่วยเหลืออีก 30 ล้านโดส ภายในสิ้นปี 2021 นี้เช่นกัน

โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน เเห่งสหรัฐฯ พร้อมกับอัลเบิร์ต บูร์ลาซีอีโอของบริษัท Pfizer เเถลงร่วมกันเพื่อยืนยันว่า รัฐบาลจะเป็นผู้ซื้อวัคซีนของ Pfizer-BioNTech จำนวน 500 ล้านโดส ให้เเก่โครงการ COVAX โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ เพื่อช่วยเหลือประเทศยากจนอย่างน้อย 92 ประเทศ

สำหรับเเผนการจัดส่งจะทยอยส่ง 200 ล้านโดสแรกภายในปีนี้ ขณะที่เหลืออีก 300 ล้านโดส คาดว่าจะจัดส่งให้แล้วเสร็จภายในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2022 โดยวัคซีนของ Pfizer ที่จะขายให้สหรัฐฯ ล็อตใหญ่นี้ เป็นส่วนหนึ่งใน
เเผนการจัดสรรวัคซีน 2 พันล้านโดสให้กับกลุ่มประเทศรายได้ต่ำ-ปานกลาง ที่บริษัทเพิ่งประกาศเมื่อไม่นานมานี้

ก่อนหน้านี้ ทำเนียบขาว เปิดเผยเอกสาร เเผนการเเบ่งปันวัคซีนโควิด-19 ทั้งหมด 80 ล้านโดส ที่ทางรัฐบาลสหรัฐฯ เคยให้คำมั่นไว้ โดยตั้งเป้าจะแจกจ่ายให้แล้วเสร็จเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เเบ่งเป็นเฟสเเเรก 25 ล้านโดส ในจำนวนนี้ วัคซีนกว่า 75% จะถูกจัดสรรให้กับ COVAX (มีลิสต์รายชื่อประเทศไทยด้วย เเม้ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ) ขณะที่อีก 25% จะเตรียมสำรองไว้ให้ประเทศที่เกิดวิกฤตการแพร่ระบาดหนัก จำเป็นต้องรับความช่วยเหลือในทันที และประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ โดยตรง (คลิกอ่านต่อ : ที่นี่)

อย่างไรก็ตาม มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงแผนบริจาควัคซีนดังกล่าวว่ามีจำนวนน้อยเกินไป โดยองค์กรออกซ์แฟม ใช้คำเปรียบเปรยเหมือนน้ำหยดหนึ่งในมหาสมุทรเพราะยังมีประชากรทั่วโลกเกือบ 4 พันล้านคนที่ต้องพึ่งพาโครงการ COVAX และปัจจุบันวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทุกยี่ห้อต้องฉีดให้ครบ 2 โดส

ทั้งนี้ ทวีปแอฟริกายังเป็นโซนที่มีความคืบหน้าด้านการฉีดวัคซีนน้อยที่สุด ประมาณ 1.7% ของวัคซีนที่มีการฉีดทั่วโลกไปว่า  2.2 พันล้านโดส

 

ที่มา : Reuters , AFP , AP 

 

]]>
1336478
‘Pfizer-BioNTech’ ประกาศบริจาควัคซีนโควิด-19 กว่า 2,000 ล้านโดส ให้กับประเทศยากจน https://positioningmag.com/1333469 Sun, 23 May 2021 09:56:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333469 ‘Pfizer-BioNTech’ พันธมิตรผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ สัญชาติอเมริกาและเยอรมนี ประกาศบริจาควัคซีนโควิด-19 กว่า 2,000 ล้านโดสให้กับประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงวัคซีน ด้าน Moderna กับ Johnson&Johnson ร่วมบริจาคด้วยอีก 300,000 โดส

Albert Bourla ซีอีโอของ Pfizer ให้คำมั่นว่า บริษัทจะเริ่มบริจาควัคซีนล็อตเเรก จำนวน 1,000 ล้านโดสให้ได้ในปีนี้ เเละอีก 1,000 ล้านโดสที่เหลือ ทยอยส่งมอบในปี 2022

ขณะที่ Moderna กับ Johnson&Johnson สองผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ ก็ให้คำมั่นว่าจะบริจาควัคซีน 200,000 โดส และ 100,000 โดสตามลำดับ ส่วนสหภาพยุโรป (EU) รับปากว่าจะบริจาควัคซีนอย่างน้อย 100 ล้านโดสให้ประเทศที่ขาดเเคลนด้วย

สำหรับการประชุมด้านสุขภาพระดับโลกครั้งนี้ จัดขึ้นที่กรุงโรมในอิตาลี เป็นการประชุมหารือเพื่อแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมเรื่องการกระจายวัคซีนของทั่วโลก โดยมีประเทศสมาชิกกว่า 20 ประเทศ และคณะกรรมาธิการยุโรปเข้าร่วม

ปัจจุบัน ทั่วโลกมีปริมาณวัคซีนเกือบ 1,500 ล้านโดส กระจายไปยัง 180 ประเทศ เเต่มีเพียง 0.3% เท่านั้นที่ถูกส่งไปยังประเทศยากจน ส่วนอีกกว่า 85% กระจุกอยุ่ในกลุ่มประเทศร่ำรวย

ก่อนหน้านี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาเตือนเรื่องการกักตุนวัคซีนในกลุ่มประเทศร่ำรวยส่วนประเทศยากจนต้องขาดเเคลนวัคซีน เหล่านี้จะทำให้เกิดปัญหาตามมาไม่จบสิ้น เพราะโรคระบาดจะไม่หมดไปจนกว่าประชาชนทุกประเทศในโลก จะได้รับการฉีดวัคซีนในระดับที่เพียงพอจนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ได้

สำหรับโครงการ COVAX หรือ Covid-19 Vaccines Global Access Facility เป็นโครงการช่วยเหลือการเข้าถึงวัคซีน โดยเฉพาะประเทศยากจน ซึ่งมีองค์การอนามัยโลก เป็นผู้ดูแล ซึ่งตอนนี้เกิดความไม่เเน่นอนในการจัดส่ง เนื่องจากเเหล่งผลิตวัคซีนที่สำคัญอย่างอินเดียกำลังเผชิญกับการเเพร่ระบาดของโควิด-19 ขั้นวิกฤตจนต้องระงับการส่งออกวัคซีนชั่วคราว

 

 

ที่มา : VOA , Reuters 

 

]]>
1333469
หลายชาติในเอเชีย เเข่งหา ‘วัคซีน COVD-19’ หลังอินเดียระงับส่งออก สะเทือนโครงการ COVAX https://positioningmag.com/1325808 Wed, 31 Mar 2021 10:16:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325808 หลายประเทศในเอเชีย กำลังเร่งหาเเหล่งผลิตวัคซีน COVID-19’ แห่งใหม่ หลังอินเดียต้องระงับส่งออกวัคซีนแอสตราเซเนกาหลังยอดติดเชื้อในประเทศกลับมาพุ่งสูง ส่งผลให้โครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลกต้องเจอปัญหาขาดเเคลนวัคซีน ส่วนจีนเเละรัสเซียกำลังจะเข้ามาเจาะตลาดนี้

โดยเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์อยู่ในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากความล่าช้าของวัคซีนในโครงการ COVAX ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในกระจายวัคซีนให้แก่ประเทศยากจนกว่า 64 ประเทศ

ปัญหานี้เกิดขึ้นเมื่ออินเดีย’ หนึ่งในผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดของโลกต้องระงับการส่งออกวัคซีนของ แอสตราเซเนก้า (AstraZeneca) ซึ่งผลิตโดย Serum Institute of India (SII) เป็นการชั่วคราวจากความจำเป็นต้องเก็บสำรองวัคซีนไว้เพื่อใช้งานภายในประเทศ

โดย SII ได้ผลิตวัคซีนส่งให้กับ COVAX แล้วประมาณ 17.7 ล้านโดส จากกำหนดเดิมที่ต้องส่งมอบวัคซีนจำนวน 90 ล้านโดสให้กับ COVAX ในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน

ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าอินเดียจะนำมอบวัคซีนส่วนนี้มาใช้ในประเทศเป็นจำนวนเท่าใด เเละไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาในการควบคุมการส่งออก

UNICEF ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านการจัดจำหน่ายของ COVAX เปิดเผยเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า อินเดียอาจจะกลับมาส่งมอบวัคซีนไปต่างประเทศได้อีกครั้งภายในเดือนพฤษภาคม

(Photo by Chaiwat Subprasom/SOPA Images/LightRocket via Getty Images)

ยังคงมีอีกหลายชาติที่จำเป็นต้องพึ่งพาโครงการกระจายวัคซีนนี้ โดยเกาหลีใต้เพิ่งจะได้รับวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพียง 432,000 โดสจากทั้งหมด 690,000 โดส โดยจะได้รับวัคซีนที่เหลือล่าช้าจากกำหนดเดิมไปเป็นสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนเมษายน

ด้านประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต ของฟิลิปปินส์ ประกาศปลดล็อกข้อจำกัดในการนำเข้าวัคซีนของเอกชน โดยอนุญาตให้บริษัทต่าง ๆ สามารถนำเข้าวัคซีนเพื่อนำมาใช้สำหรับพนักงานของตนเอง นอกเหนือจากที่รัฐจะจัดหาให้ เพื่อต่อสู้กับโรคระบาดในประเทศที่กลับมาอีกครั้ง

ส่วนทางการเวียดนาม ได้ขอให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยเหลือ หลังจากถูกปรับลดวัคซีนจากโครงการ COVAX ลงกว่า 40% เหลือ 811,200 โดส และคาดว่าจะได้รับวัคซีนล่าช้าออกไปอีกหลายสัปดาห์ 

ด้านเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียเผยกับ Reuters ว่า รัฐบาลอาจจะได้รับวัคซีนจำนวนกว่า 10.3 ล้านโดสจากโครงการ COVAX ล่าช้าออกไปจนถึงเดือนพฤษภาคม

ก่อนจะเจอปัญหานี้ นักวิเคราะห์มองไปในทิศทางเดียวกันว่า ‘อินเดีย’ มีเเนวโน้มจะขึ้นตัวท็อปในการผลิตวัคซีน COVID-19 ของโลก ทั้งในด้านการคิดค้นวัคซีนและผลิตเอง หรือเป็นโรงงานรับจ้างผลิตให้กับต่างชาติ

โดยอินเดีย’ กำลังจะเป็นผู้ผลิตวัคซีน รายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ โดยจะมีกำลังผลิตที่สูงมาก ครอบคลุมทั้งประชากรในประเทศ 1.3 พันล้านคน เเละยังส่งต่อไปยังประเทศกำลังพัฒนา ผ่านโครงการ วัคซีนไมตรี (VaccineMaitr) เป็นของขวัญเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

นับเป็น ‘การทูตเเบบใหม่’ เพื่อยกระดับบทบาทในเวทีโลก ไปพร้อมๆ กับการ ‘ต่อต้านจีน’ ที่กำลังขยายอิทธิพลในเอเชียใต้ ต้องลุ้นว่าอินเดียจะกลับมาส่งมอบวัคซีนไปต่างประเทศอีกครั้งได้อย่างเร็วที่สุดเมื่อใด

ขณะเดียวกันจีนเเละรัสเซียก็กำลังจะเข้ามาคว้าโอกาสนี้ โดยฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย พึ่งพาวัคซีนจาก Sinovac ของจีนจำนวนมากเพื่อการขับเคลื่อนการกระจายวัคซีน เเละเพิ่งอนุมัติใช้วัคซีน Sputnik V ของรัสเซีย ซึ่งฟิลิปปินส์คาดว่าจะได้รับ Sputnik V ล็อตแรกภายในเดือนเมษายนนี้

โดยรัฐบาลจีนประกาศว่า จะส่งความช่วยเหลือด้านวัคซีน COVID-19 ให้แก่ 80 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศอีก 3 แห่ง รวมถึงส่งออกวัคซีนไปยังกว่า 40 ประเทศ

 

 

ที่มา : CNA , Aljazeera

]]>
1325808
มาเลเซีย เตรียมฉีดวัคซีนโควิด ให้ ‘ชาวต่างชาติ’ ในประเทศ รวมผู้ลี้ภัย-เข้าเมืองผิดกฎหมาย https://positioningmag.com/1319012 Thu, 11 Feb 2021 10:42:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319012 รัฐบาลมาเลเซีย เตรียมจะฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายให้กับชาวต่างชาติทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศ รวมถึงผู้อพยพและผู้เดินทางเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายด้วย

โดยย้ำว่า จะให้ความสำคัญในการฉีดวัคซีนให้กับชาวมาเลเซียก่อน ส่วนกำหนดการฉีดวัคซีนให้กับชาวต่างชาตินั้นจะมีการประกาศในภายหลัง

การฉีดวัคซีนถือเป็นการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม โดยสภาพเเวดล้อมที่ปลอดภัยจาก COVID-19 จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ในมาเลเซียจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้มีภูมิคุ้มกันไวรัสนี้

การตัดสินใจดังกล่าว มีขึ้นหลังจากการพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น อัตราการติดเชื้อ COVID-19 ของเเรงงานต่างชาติที่อยู่ในมาเลเซียที่มีอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง เกษตรกรรมและการผลิต ซึ่งการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มแรงงานต่างชาติ นับว่ามีค่าใช้จ่ายสูงเนื่องจากต้องมีขั้นตอนการรักษาและการกักตัว

แรงงานต่างชาติ เป็นส่วนหนึ่งในชุมชนของเรา และยังมีส่วนช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศด้วยแถลงการณ์ระบุ

ทั้งนี้ ชาวต่างชาติที่มีสิทธิ์ได้รับวัคซีนฟรีของทางการมาเลเซียนั้น จะรวมถึงผู้ขอลี้ภัยที่ลงทะเบียนไว้กับสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และชาวต่างชาติที่ไม่มีเอกสารเข้าเมืองที่ถูกต้อง หรือเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายด้วย 

คณะกรรมการด้านจัดหาวัคซีนในมาเลเซีย จะหารือกันต่อไปว่าจะดำเนินการเรื่องการฉีดวัคซีนกับชาวต่างชาติกลุ่มนี้อย่างไร โดยอาจต้องขอความร่วมมือกับรัฐบาลของแต่ละประเทศ สถานทูตเเละองค์กรต่างๆ ให้เข้ามาช่วยเหลือในการแจกจ่ายวัคซีนครั้งนี้ด้วย

ทางการมาเลเซีย ตั้งเป้าจะฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรอย่างน้อย 80% ของประชากรทั้งหมดที่มีอยู่ 32 ล้านคนให้ได้ภายใน 1 ปี 

โดย ‘เฟสแรก’ จะเริ่มขึ้นในเดือนนี้ และเสร็จสิ้นภายในเดือน เม.. ครอบคลุมบุคลากรการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด่านหน้าราว 5 เเสนคน

จากนั้นเฟสสองจะเริ่มขึ้นระหว่างเดือน เม.. – .. ฉีดให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง อย่างผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว ราว 9.4 ล้านคน ต่อมาวางเเผนจะแจกจ่ายวัคซีนเฟสสามซึ่งจะเป็นช่วงสุดท้าย ระหว่างเดือน ส..ปีนี้..ปีหน้า ครอบคลุมประชาชนราว 16 ล้านคน ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

ปัจจุบัน มาเลเซียสั่งจองวัคซีนป้องกัน COVID-19 หลากหลายขนาน มีทั้งวัคซีนของบริษัท Pfizer จากสหรัฐอเมริกา , วัคซีน Sinovac ของจีน และสั่งซื้อวัคซีน Sputnik V ของรัสเซีย นอกจากนี้ยังเข้ารับความช่วยเหลือผ่านโครงการ COVAX ที่สนับสนุนโดยองค์การอนามัยโลกด้วย

 

ที่มา : CNA , Malaymail

]]>
1319012