Private Banking – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 01 May 2024 08:10:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ttb reserve ชูเป้าปี 67 เจาะลูกค้ากลุ่ม Young Wealth กลุ่ม SME และดีลเลอร์รถยนต์ คาด AUM ปีนี้โตได้ 40% https://positioningmag.com/1471716 Wed, 01 May 2024 05:26:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1471716 ttb reserve โดย ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยกลยุทธ์ธุรกิจในปี 2567 โดยตั้งเป้าเจาะลูกค้ากลุ่ม Young Wealth กลุ่ม SME และดีลเลอร์รถยนต์ ขณะเดียวกันในด้านการลงทุนก็จะเน้นในเรีื่องการจัดพอร์ตให้กับลูกค้าเพื่อที่จะปกป้องความมั่งคั่ง คาดว่าปีนี้ AUM จะเติบโตได้ 40%

ฐากร ปิยะพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ทีเอ็มบีธนชาต ได้กล่าวถึงกลุ่มลูกค้า Wealth เพิ่มมากขึ้น และต้องการให้ฐานลูกค้านั้นเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งในปี 2566 ที่ผ่านมา และเขายังได้กล่าวถึงลูกค้ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่สถาบันการเงินหลายแห่งได้ให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบันลูกค้า ttb reserve มี 2 แบบใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มลูกค้าที่มีสินทรัพย์ 5 ล้านบาทขึ้นไป กับลูกค้าที่มีสินทรัพย์ 30 ล้านบาทขึ้นไป ในปี 2566 ที่ผ่านมาธนาคารมีฐานลูกค้ากลุ่มนี้รวมกัน 39,000 คน และมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) ประมาณ 600,000 ล้านบาท

ฐานลูกค้าของ ttb reserve ในปีนี้ที่ต้องการเจาะตลาดได้แก่ กลุ่มลูกค้า Young Wealth อายุ 40 ขึ้นไป เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีครอบครัวกำลังต้องการส่งไปศึกษาต่อในต่างประเทศ หรือโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย ซึ่งกลุ่มลูกค้าดังกล่าวมีศักยภาพสูง

เพื่อที่จะสื่อสารภาพลักษณ์ดังกล่าว ทาง ttb reserve ยังได้เปิดตัว Brand Ambassador คนแรก คือ โสภิตนภา ชุ่มภาณี (เจี๊ยบ) มาเป็นตัวแทนกลุ่มลูกค้าครอบครัวที่ให้ความสำคัญเรื่องการวางแผนการศึกษาส่งต่ออนาคตที่ดีที่สุดให้ลูก

นอกจากนี้ ttb reserve ยังเตรียมเจาะกลุ่มลูกค้า SME ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ หรือแม้แต่ดีลเลอร์รถยนต์ ซึ่งลูกค้าเหล่านี้อยู่ใน Ecosystem ของ ทีเอ็มบีธนชาต อยู่แล้ว เพื่อต่อยอดความสำเร็จสู่ชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น

บุษรัตน์ เบญจรงคกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า ในปีนี้ธนาคารได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์และฟีเจอร์ใหม่เพื่อที่จะตอบโจทย์ลูกค้า ttb reserve ในกลุ่มดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นบริการธุรกรรมสกุลเงินต่างประเทศ (FX Solution) ผ่านแอป ttb touch ไปจนถึงบริการ FX Advisory ที่แนะนำบริหารจัดการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยผู้เชี่ยวชาญ

และยังรวมถึงบริการบัญชีเงินฝากสกุลต่างประเทศ (FCD) เพื่อลูกค้าที่มีบุตรหลานที่เรียนในต่างประเทศ หรือเพื่อค่าใช้จ่ายการศึกษาในอนาคต สามารถเก็บเงินในสกุลต่างประเทศได้ ซึ่งรองรับ 10 สกุลเงินสำคัญๆ ของโลก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร ปอนด์ เยน สวิสฟรังก์ สิงคโปร์ดอลลาร์ ออสเตรเลียนดอลลาร์ เป็นต้น

ณัฐวรรณ อภิรัตนพิมลชัย ประธานกลุ่ม กลยุทธ์ลูกค้าบุคคล ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า ttb reserve ได้เสนอโซลูชันการปรับพอร์ตลงทุน (Wellness Solution) เพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก โดยที่เน้นรักษาเงินต้น และจำกัดความเสี่ยงในช่วงตลาดผันผวน บริการดังกล่าวจะมาพร้อมกับทีม Private Banking ที่ปรึกษาทางการเงินและการลงทุนส่วนบุคคลที่ลูกค้าสามารถติดต่อได้หลายช่องทาง

ประธานกลุ่ม กลยุทธ์ลูกค้าบุคคล ทีเอ็มบีธนชาต ได้กล่าวว่า ในการจัดพอร์ตให้กับลูกค้าจะเน้นในเรื่องของพอร์ตการลงทุนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น การจัดสรรน้ำหนักการลงทุน เช่น ใน 10 ล้านบาท จะมีเงินฝากกี่ % กองทุนรวมกี่ % หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ ตามความเสี่ยงที่ลูกค้ารับได้

ขณะเดียวกันเธอยังกล่าวว่าจะมีการร่วมมือกับทาง บลจ. อีสท์สปริง ในการเสนอและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้กับลูกค้า ttb reserve เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังเน้นในเรื่องของ Open Architecture ในการเสนอผลิตภัณฑ์จาก บลจ. รายอื่นด้วยเช่นกัน

สำหรับเป้าหมายทางธุรกิจของ ttb reserve ในปี 2567 คือมี AUM เพิ่มขึ้น 40% มาอยู่ที่ราวๆ 700,000 ล้านบาท มีฐานลูกค้าที่ใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 44,000 คน

]]>
1471716
KBank Private Banking ชี้ปีหน้าเศรษฐกิจโลกยังเติบโตได้ แนะจัดพอร์ตการลงทุนเน้นเรื่องความเสี่ยงเป็นหลัก https://positioningmag.com/1455567 Thu, 14 Dec 2023 01:43:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455567 KBank Private Banking มองมุมการลงทุนและสภาวะเศรษฐกิจในปี 2024 นั้น เศรษฐกิจโลกยังเติบโตได้ และอาจได้เห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขณะเดียวกันก็แนะจัดพอร์ตการลงทุนเน้นเรื่องความเสี่ยงเป็นหลัก และแนะนำให้นักลงทุนชาวไทยถึงการลงทุนในต่างประเทศยังเป็นเรื่องสำคัญ

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวถึงภาพรวมการลงทุนในปี 2023 นี้แม้จะมีข่าวร้ายรายวันเกิดขึ้น แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นข่าวร้ายภายในประเทศไทย รวมถึงหุ้นไทย แต่ถ้าหากหันมามองภาพใหญ่แล้วนั้นปีนี้ดัชนีหุ้นโลก (MSCI World Index) นั้นให้ผลตอบแทนถึง 17.18%

แต่จิรวัฒน์ได้ชี้ว่าผลตอบแทนนั้นถ้าหากหักหุ้น 7 ตัวที่ทำผลงานได้ดีอย่างเช่น Tesla, Nvidia, Apple, Microsoft, Alphabet (Google), Amazon รวมถึง Meta ออกไปแล้ว ดัชนีหุ้นโลกจะมีผลตอบแทนแค่ 9.51% เท่านั้น

ถ้าหากข้ามฝั่งมาดูผลตอบแทนตลาดหุ้นอื่นๆ นั้น ในทวีปเอเชีย หุ้นญีปุ่นให้ผลตอบแทนมากถึง 30% ในรูปแบบเงินเยน แต่ถ้าหากคิดเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ อาจเหลือแค่ 15% เท่านั้น ขณะที่หุ้นจีนไม่ว่าจะเป็นทั้ง A-Share หุ้นที่จดทะเบียนซื้อขายในแผ่นดินใหญ่ กับดัชนีฮั่งเส็ง กลับทำผลงานไม่ดีนัก รวมถึงหุ้นไทยด้วย

ทางด้านสินทรัพย์อื่น อย่างหุ้นกู้เอกชนทั่วโลก ปีนี้ให้ผลตอบแทน 5% พันธบัตรรัฐบาล 0% ขณะที่ทองคำให้ผลตอบแทน 11% ขณะที่น้ำมันดิบให้ผลตอบแทน -9%

สำหรับมุมมองเศรษฐกิจในปี 2024 ทาง KBank Private Banking ได้มองแนวโน้มของเศรษฐกิจ ได้แก่

  • เศรษฐกิจโลกจะเติบโตต่อได้ แต่ในอัตราที่ชะลอลง โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถเลี่ยงภาวะถดถอย ยุโรปค่อยๆ ฟื้นตัว ขณะที่จีนกำลังรอมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม
  • เงินเฟ้อจะลดลง ธนาคารกลางจะหยุดขึ้นดอกเบี้ย และจะเริ่มลดดอกเบี้ยในไตรมาส 2 หรือครึ่งหลังของปี 2024
  • ตลาดจะจับตาประเด็นการเมือง โดยเฉพาะการเลือกตั้งสหรัฐฯ ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ รวมทั้งความขัดแย้งในตะวันออกกลาง

ในส่วนการจัดพอร์ตการลงทุนนั้น KBank Private Banking ได้แนะนำให้เงินลงทุนส่วนใหญ่ (50-70%) ให้ลงทุนเป็นพอร์ตหลักในกองทุนผสมแบบ Risk-based asset allocation

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ – Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย

ขณะที่เงินลงทุนในพอร์ตเสริม (30-50%) ให้กระจายลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดีทั้งพันธบัตรและหุ้นกู้ เพราะดอกเบี้ยรับที่สูงกว่าอดีตและโอกาสที่ราคาจะเพิ่มขึ้นเมื่อดอกเบี้ยในตลาดปรับลดลง ในส่วนของตลาดหุ้นยังมีความ  ท้าทายจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว จึงควรเน้นกองทุนที่บริหารเชิงรุกในหุ้นเติบโตทั่วโลกรวมถึงหุ้นเอเชียที่ราคาถูกกดดันมามากทั้งในตลาดหุ้นไทย จีน อินเดีย รวมทั้งเวียดนาม

สำหรับการลงทุนในกองทุนบริหารความเสี่ยง (Hedge Funds) จะช่วยลดความผันผวนและสร้างผลตอบแทนที่ไม่อิงกับภาวะตลาด แต่ควรเน้นสินทรัพย์อ้างอิงในตลาดใหญ่ที่มีสภาพคล่องสูง เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลหลัก

นอกจากนี้ในปี 2024 ยังมีปัจจัยบวกที่เหมาะกับการลงทุนที่ KBank Private Banking มองคือ ยุคการลงทุนอย่างหนัก (Capex Boom) ซึ่งมีทั้งการลงทุนในพลังงานสะอาด หรือการลงทุนใหญ่ในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีมากขึ้นในการลงทุนได้

Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย ยังได้กล่าวถึงการลงทุนในต่างประเทศนั้นมีความสำคัญ และมองว่านักลงทุนเองจะต้องเปิดมุมมองให้กว้างมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันจิรวัฒน์ชี้ว่าเม็ดเงินของนักลงทุนในระดับมหาเศรษฐีนั้นจะกลับมาที่ประเทศไทยจากนโยบายภาษี แต่เม็ดเงินดังกล่าวก็ยังลงทุนในต่างประเทศเหมือนเดิม

ในส่วนของธุรกิจ KBank Private Banking ปี 2023 มีลูกค้าทั้งสิ้น ปัจจุบันมี 13,269 ราย เติบโต 2% และมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ 857,251 ล้านบาท

ทิศทางธุรกิจในปี 2024 ของ KBank Private Banking นั้นยังคงพัฒนาบริการและสานต่อโซลูชัน 4 เสาหลัก ที่ประกอบไปด้วย การลงทุนบนหลักการ Risked-based Asset Allocation การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก การลงทุนเพื่อความยั่งยืน และการบริหารจัดการทรัพย์สินครอบครัว โดยคาดว่ารายได้ในปี มองรายได้ในปี 2024 จะเติบโต 15-20% จากปี 2023

]]>
1455567
LGT มองกระแสโลกาภิวัตน์ยังไม่จางหาย ปริมาณการค้าโลกที่ยังสูง แต่ประเทศอื่นได้ประโยชน์จากการแข่งขัน https://positioningmag.com/1444947 Wed, 20 Sep 2023 15:37:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444947 Private Banking เจ้าใหญ่จากประเทศลิกเตนสไตน์อย่าง LGT ได้ให้มุมมองทางเศรษฐกิจว่า กระแสโลกาภิวัตน์ยังไม่จางหายไปไหน จากปริมาณการค้าที่ยังเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก แต่ประเทศอื่นจะได้ประโยชน์จากการแข่งขันนี้ ขณะเดียวกันก็มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะไม่ถดถอย แต่ชะลอตัวลงหลังจากนี้

สเตฟาน โฮเฟอร์ กรรมการผู้จัดการและหัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนในทีมบริการด้านการลงทุน บริษัท หลักทรัพย์ แอลจีที (ประเทศไทย) จำกัด หรือ LGT ได้กล่าวถึงกระแสที่โลกาภิวัตน์จะจางหายไป และจะเกิดกระแส Deglobalization หรือการทวนกระแสโลกาภิวัตน์นั้นเขามองว่าสามารถดูได้จากปริมาณการค้าโลกที่ยังทำสถิติสูงอยู่ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด

เขาได้ชี้ถึงสินค้าจากภาคการผลิตยังมีการแข่งขันที่สูงในตลาดโลก ไม่ว่าจะเป็นสินค้าจากจีน หรือแม้แต่สินค้าจากประเทศต่างๆ ที่มีการย้ายฐานการผลิต ไม่ว่าจะเป็น ไทย เวียดนาม ไปจนถึง เม็กซิโก ที่ล่าสุดสหรัฐฯ นำเข้าสินค้าแซงประเทศจีนไปแล้ว แต่ก็มองว่านี่คือการแข่งขันซึ่งหลายประเทศเองก็ได้ประโยชน์

LGT มองว่าเมื่อมีสินค้าจำนวนมากขึ้นในท้องตลาดจะช่วยขับเคลื่อนให้เงินเฟ้อลดต่ำลงในอนาคดทั้งระยะกลางและระยะยาว และเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ภาคธุรกิจมีความมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในสหรัฐฯ และยุโรปจะสามารถกลับเข้าสู่ระดับปกติที่ 2% ภายในกลางปี 2024 ได้

นอกจากนี้ในมุมของ สเตฟาน ยังมองว่าจีนจะค่อยๆ ปรับค่าเงินหยวนให้อ่อนค่าลง เพื่อจะช่วยให้ภาคการผลิตจีนส่งออกสินค้าได้มากขึ้น แต่จะไม่เห็นค่าเงินหยวนอ่อนค่าอย่างรวดเร็วทันที เพราะไม่งั้นจะเห็นปัญหาอีกปัญหาหนึ่งก็คือเม็ดเงินไหลออกจากประเทศจีนอย่างรวดเร็ว

ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ LGT มองว่าในช่วงที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเร็ว และแรงเพื่อที่จะสกัดเงินเฟ้อให้ได้ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ล่าสุดจะอยู่ที่ 5.25% แต่ตัวเลขเงินเฟ้อก็กำลังปรับตัวลงมาแล้ว ทำให่เขามองว่าหลังจากนี้จะมีการขึ้นดอกเบี้ยอีกแค่ 1 ครั้งเท่านั้น

แต่ถ้าหากมองไปยังตลาดแรงงานแล้วนั้น สเตฟานชี้ว่า ตอนนี้อัตราว่างงานของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 3.8% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่ยังถือว่าต่ำอยู่ ขณะที่ค่าจ้างในสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อก็ยังเติบโตเป็นบวก เขาได้อธิบายเพิ่มว่าแรงงานสหรัฐฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย แม้ว่าเงินเฟ้อจะสูงขึ้น ปัจจัยนี้จะช่วยให้การอุปโภคบริโภคและการใช้จ่ายในภาพรวมของสหรัฐฯ อยู่ในเกณฑ์ดี

ปัจจุบัน LGT เป็นกลุ่มบริษัทด้านการบริการไพรเวตแบงก์กิ้งและการจัดการสินทรัพย์ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งบริหารงานโดยราชวงศ์แห่งลิกเตนสไตน์ โดยบริษัทเปิดสำนักงานในประเทศไทยอย่างเป็นทางการในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา และให้บริการด้านการลงทุนและการบริหารความมั่งคั่งที่มีเอกลักษณ์ให้กับลูกค้าบุคคลที่มีความมั่งคั่งลูกค้าองค์กร และสถาบันการเงินในประเทศ

ในปี 2024 นี้ สเตฟาน มองว่าจะเป็นปีที่ดีมากขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางน่าจะลดลงช่วงกลางปี และเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะชะลอตัวลงแต่ไม่ใช่เข้าสู่สภาวะถดถอย กำไรต่อหุ้นของบริษัทในสหรัฐอเมริกาจะกลับมาฟื้นตัวได้ ขณะเดียวกันเขาก็มองว่าค่าเงินบาทอาจจะทรงตัวมากขึ้น

]]>
1444947
ปิดดีลเรียบร้อย! UBS ประกาศซื้อกิจการ Credit Suisse มูลค่า 3,250 ล้านเหรียญสหรัฐ https://positioningmag.com/1423852 Mon, 20 Mar 2023 02:17:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1423852 หลังจากที่เกิดความวุ่นวายในระบบสถาบันการเงินในสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากราคาหุ้นของเครดิตสวิส (Credit Suisse) นั้นตกลงจนต้องทำให้ธนาคารกลางของประเทศเข้ามาช่วย ล่าสุดมีการเจรจาในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาให้สถาบันการเงินคู่แข่งอย่างยูบีเอส (UBS) เข้าซื้อกิจการแล้ว

UBS ได้ประกาศว่าได้เข้าซื้อกิจการของ Credit Suisse ด้วยมูลค่า 3,250 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 110,695 ล้านบาท และถือเป็นการควบรวมกิจการธนาคารในสวิตเซอร์แลนด์ครั้งแรกหลังจากวิกฤตการเงินในปี 2008 เป็นต้นมา

ก่อนหน้าที่จะมีการประกาศซื้อกิจการของ Credit Suisse สถาบันการเงินรายนี้มีมูลค่ากิจการ 7,400 ล้านฟรังก์สวิส หรือคิดเป็นเงินไทย 271,852 ล้านบาท

หนึ่งในเงื่อนไขที่ทำให้ UBS เข้าซื้อกิจการของ Credit Suisse นั่นก็คือรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์รับประกันที่จะแบกรับผลขาดทุนสูงสุดถึง 9,700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทย 330,158 ล้านบาท เนื่องจากการขาดทุนของ Credit Suisse

การควบรวมกิจการยังทำให้ UBS มีทรัพย์สินของธุรกิจบริหารความมั่งคั่งเพิ่มมากขึ้นเป็น 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และยังมีสาขาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงเท่านี้ UBS คาดว่าดีลดังกล่าวทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนมากถึง 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2027 ด้วย

ก่อนหน้านี้ 2 สถาบันการเงินดังกล่าวเคยมีข่าวลือว่าจะมีการควบรวมกิจการมาแล้วหลายครั้ง หลังจากที่ Credit Suisse ประสบปัญหาด้านการเงินในช่วงปี 2021 ที่ผ่านมา จนในท้ายที่สุดได้มีการเจรจากันในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังราคาหุ้น Credit Suisse ตกลงอย่างหนัก จากเหตุผลที่นักลงุทนไม่ให้ความไม่เชื่อมั่นในสถาบันการเงินรายดังกล่าวจนทำให้ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ต้องเข้ามาให้สภาพคล่องเพิ่มเติม

อย่างไรก็ดีความน่าเศร้าของการควบรวมกิจการครั้งนี้นั้นยังทำให้มีพนักงานของ Credit Suisse อาจโดนปลดมากถึง 10,000 รายจากรายงานของสำนักข่าว Reuters

คาดว่าดีลดังกล่าวจะแล้วเสร็จได้ภายในสิ้นปี 2023 นี้ และกลายเป็นการปิดฉากสถาบันการเงินอายุมากถึง 167 ปีอย่าง Credit Suisse

]]>
1423852
KBank Private Banking แนะการลงทุนปี 2023 สินทรัพย์หลายตัวเริ่มน่าสนใจ จับจังหวะเข้าลงทุนได้ https://positioningmag.com/1413380 Thu, 22 Dec 2022 03:16:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1413380 KBank Private Banking มองการลงทุนในปี 2023 ว่าสินทรัพย์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้ หุ้นกู้ ทองคำ เริ่มน่าสนใจมากขึ้น โดยปัจจัยที่ต้องจับตามองครั้งสำคัญคือดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐจะขึ้นสู่จุดสูงสุดเมื่อไหร่ แต่ยังเน้นในหลักการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวถึงภาพรวมการลงทุนในปี 2022 นี้ว่าหลายสินทรัพย์นั้นมีผลตอบแทนติดลบ ไม่ว่าจะเป็นดัชนีหุ้นโลก (MSCI World Index) ปีนี้ช่วงผลตอบแทนที่แย่ที่สุดของดัชนีดังกล่าวนั้นอยู่ที่ -26.1% ก่อนที่ล่าสุดมีผลตอบแทนอยู่ที่ -17.9% เนื่องจากสภาวะตลาดดีขึ้น

ขณะที่สินทรัพย์อื่นๆ จิรวัฒน์มองว่าพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ทั่วโลกทำผลตอบแทนแย่มาก ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาผลตอบแทนของพันธบัตรและหุ้นกู้ไม่เคยแย่ขนาดนี้มาก่อน และยังเป็นอีกปีที่ผลตอบแทนทั้งตราสารหนี้กับหุ้นนั้นทำผลตอบแทนที่แย่ที่สุดในรอบหลายปีด้วย

ไม่เพียงเท่านี้สินทรัพย์อื่นๆ ก็ให้ผลตอบแทนที่แย่ ไม่ว่าจะเป็น ทองคำ น้ำมัน ขณะที่พระเอกในปีนี้คือ Dollar Index ถือว่าให้ผลตอบแทนดีในบรรดาสินทรัพย์ทางเลือก

พอร์ตการลงทุนของลูกค้า

Executive Chairman ของ KBank Private Banking ได้เปิดเผยถึงการจัดพอร์ตการลงทุนให้กับลูกค้าว่าจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่

  • Liquidity – พอร์ตการลงทุนที่เน้นสภาพคล่องสูงโดยมีสัดส่วนเงินสดหรือตราสารหนี้ระยะสั้นอยู่ที่ 15-20% ซึ่งปีนี้ได้เพิ่มสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากสภาวะตลาดที่ไม่เป็นใจ
  • Long Term Investment – พอร์ตการลงทุนระยะยาว มีสัดส่วน 60-70% เขากล่าวว่ากองทุนหลายๆ กองนั้นติดลบน้อยกว่าตลาด แต่ถ้าเป็นกองทุนที่ลงทุนในธีมต่างๆ ส่วนใหญ่ก็ติดลบ แต่ KBank Private Banking แนะนำลดการลงทุนพอร์ตการลงทุนในปีนี้
  • Aspiration พอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก มีสัดส่วน 15-20% ซึ่งกองทุนที่ลงทุนใน Private Equity ได้สร้างผลตอบแทนที่ดีในช่วงที่ผ่านมา สวนทางกับตลาดการเงิน

ทำให้ในปี 2022 ผลตอบแทนของลูกค้า KBank Private Banking มีผลตอบแทนตั้งแต่ -3.8% ถึง -5.5% แล้วแต่ความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน ซึ่งจิรวัฒน์ได้ชี้ว่าดีกว่าตลาดโดยรวม

ลงทุนปี 2023 ยังไง

จิรวัฒน์ได้ชี้ว่า ในปี 2023 นี้สถานการณ์การลงทุนน่าจะดีขึ้นกว่าปี 2022 โดยเขาชี้ว่าจุดเปลี่ยนสำคัญในปี 2023 นี้คือจุดที่ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอเมริกาขึ้นจุดสูงสุด ถ้าหากตัวเลขเงินเฟ้อไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมาก ธนาคารกลางสหรัฐยังขึ้นดอกเบี้ยเท่าเดิม อย่างไรก็ดีเขาได้ชี้ว่าจุดเปลี่ยนนี้จะขึ้นอยู่กับตัวเลขทางเศรษฐกิจเป็นหลัก

ถ้าหากผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอเมริกา 10 ปี “ยังไม่ขึ้นจุดสูงสุด”

  1. ลดน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้น
  2. เน้นการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์คุณภาพสูง เช่น หุ้นบริษัทที่ความสามารถในการแข่งขัน และกำหนดราคา ทำให้สามารถเป็นผู้ชนะในภาวะเงินเฟ้อสูงได้
  3. กระจายความเสี่ยงผ่านสินทรัพย์ทางเลือก เช่น กองทุน Hedge Fund
  4. กระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์นอกตลาดที่มีความผันผวนด้านราคาในระยะสั้นต่ำ

ถ้าหากผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอเมริกา 10 ปี “ขึ้นจุดสูงสุด” ไปแล้ว

  1. ลงทุนบางส่วนในทองคำ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะเปลี่ยนแนวโน้มเป็นอ่อนค่าลง
  2. หุ้นกู้เอกชนผลตอบแทนสูง (High Yield) จะกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง
  3. ทยอยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้น หากแนวโน้มการลดดอกเบี้ยเพื่อต้านทานภาวะเศรษฐกิจถดถอยชัดเจนขึ้น

หัวเรือใหญ่ของ KBank Private Banking ยังมองว่าในปี 2023 ตราสารหนี้และหุ้นกู้น่าจะมีผลตอบแทนเป็นบวกได้ เมื่อเทียบกับสินทรัพย์อื่นๆ

มองธุรกิจ KBank Private Banking ในปี 2023

เสาหลักธุรกิจในปี 2023 ของ KBank Private Banking ที่จะเน้นนั้นประกอบไปด้วย การลงทุนบนหลักการ Risked-based Asset Allocation การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก การลงทุนเพื่อความยั่งยืน รวมถึงการบริหารจัดการทรัพย์สินครอบครัว ที่ให้บริการไปแล้วถึง 790 ครอบครัว

ในปี 2022 นั้น KBank Private Banking มีลูกค้าเพิ่มขึ้น 1% มีสินทรัพย์ AUM ลดลง 1% เมื่อเทียบกับปี 2021 จากสภาวะตลาด ซึ่งจิรวัฒน์มองว่าในปี 2023 ปริมาณการเติบโตของลูกค้าน่าจะกลับไปเติบโต 3-5% เท่ากับช่วงเวลาปกติก่อนการแพร่ระบาดของโควิดได้ 

]]>
1413380
KBank Private Banking เปิดตัวบริการ Family Office ขยายฐานลูกค้าเพิ่ม ชูจุดเด่นเน้นบริการครบวงจร https://positioningmag.com/1409561 Wed, 23 Nov 2022 10:18:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1409561 KBank Private Banking ได้เปิดบริการ Family Office หรือ “สำนักงานครอบครัว” โดยชูจุดเด่นคือบริการที่ครบวงจร นอกจากนี้ผู้บริหารยังเชื่อมั่นว่าบริการดังกล่าวยังช่วยทำให้มีโอกาสที่จะมีลูกค้าใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นผู้เล่นรายแรกๆ ในประเทศไทย

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวว่า ปัจจุบันมีหลายปัจจัยกระตุ้นให้การบริหารจัดการทรัพย์สินครอบครัวไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ทั้งวิกฤตเงินเฟ้อ ความผันผวนของตลาดลงทุน ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ตลอดจนนโยบายการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษีระหว่าง สรรพากรไทยและรัฐบาลสหรัฐฯ (FATCA) รวมถึงรัฐบาลชาติอื่นๆ ภายใต้ความตกลง Common Reporting Standard หรือ CRS ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2566

ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ลูกค้ากลุ่มบุคคลสินทรัพย์สูงเกิดความตื่นตัวในการวางแผนทรัพย์สินครอบครัวและต้องการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงด้านภาษีมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้เขายังชี้ว่า จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่มีมากขึ้น จากเดิมที่เป็นการส่งต่อจากรุ่นที่ 1 ไปรุ่นที่ 2 ปัจจุบัน เป็นการส่งต่อจากรุ่นที่ 2 ไปรุ่นที่ 3 หรือจากรุ่นที่ 3 ไปรุ่นที่ 4 มีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้การส่งต่อทรัพย์สินมีขั้นตอนและรายละเอียดที่มากขึ้นไปด้วย

KBank Private Banking ได้ประกาศเปิดตัวบริการใหม่ Family Office หรือ “สำนักงานครอบครัว” ภายใต้บริการ Family Wealth Planning Service หรือ ที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว ซึ่งแต่เดิมนั้นทาง KBank Private Banking ได้ให้คำปรึกษาเท่านั้น

บริการ Family Office ของทาง KBank Private Banking ประกอบไปด้วย

  1. งานจดทะเบียนที่ดิน เช่น รังวัด ขอราคาประเมิน จำนอง เสียภาษี เป็นต้น
  2. งานเอกสารด้านกฎหมาย เช่น ตรวจทานพินัยกรรม จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน เป็นต้น
  3. งานจดทะเบียนบริษัทหรือจัดตั้งบริษัท รวมถึงจดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับ
  4. งานติดตามหนี้
  5. งานติดตามทรัพย์สิน
  6. บริการจัดเก็บเอกสาร

สำหรับจุดเด่นของบริการ Family Office จาก KBank Private Banking ได้แก่

  • การจัดการแบบองค์รวม: ด้วยบริการที่ครบวงจรทำให้ลูกค้าเข้าใจภาพรวมของแผนงานทั้งหมด ทราบความเคลื่อนไหวในการทำงานแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจน จึงสามารถกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนได้แม่นยำ
  • ความสะดวกและความต่อเนื่อง: ลูกค้าสามารถใช้บริการสำนักงานครอบครัวดำเนินการตามแผนได้ทันที ทำให้การบริหารจัดการทรัพย์สินครอบครัวเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสะดวกสบาย
  • ความเชื่อมั่น: ด้วยความร่วมมือจาก ทองเอก แอนด์ ทราทิต สำนักงานกฎหมายแนวหน้าของประเทศ จึงมั่นใจได้ว่าบริการที่ลูกค้าจะได้รับนั้นจะมีมาตรฐานเดียวกับสำนักงานกฎหมายและสถาบันการเงินชั้นนำ

ค่าใช้จ่ายต่างๆ นั้นลูกค้าของ KBank Private Banking จะไม่โดนเรียกเก็บค่าบริการแต่อย่างใด แต่ค่าใช้จ่ายนั้นจะเกิดขึ้นกับสำนักงานกฎหมายที่เป็นพาร์ตเนอร์ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการ เป็นต้น

โดย KBank Private Banking นั้นคาดว่าบริการดังกล่าวจะทำให้ลูกค้านั้นเพิ่มมากขึ้นจากบริการดังกล่าว และมีสินทรัพย์ภายใต้การปรึกษา (AUA) มากกว่าในปัจจุบันที่ 180,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีครอบครัวที่ใช้บริการดังกล่าวแล้วมากกว่า 790 ครอบครัว

]]>
1409561
มูฟใหม่ ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ เเข่งตลาด Wealth ส่ง ‘ttb reserve’ เจาะลูกค้ารายได้สูง 3 เเสน/เดือน https://positioningmag.com/1335743 Mon, 07 Jun 2021 12:07:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335743 ทีเอ็มบีธนชาต ขยับมูฟใหม่หลังรวมกิจการ เปิดตัว ‘ttb reserve’ (ทีทีบี รีเซิร์ฟ) ลงสนามตลาด Wealth เจาะลูกค้ามั่งคั่ง รายได้สูง 3 เเสนบาทต่อเดือน ด้วยคอนเซ็ปต์ Earn Fast – Burn Smart ตั้งเป้าสิ้นปีมีลูกค้าบัตร 3 หมื่นใบ เเนะจัดพอร์ตเน้นตราสารทุนหุ้น มุ่งกระจายลงทุนไปต่างประเทศ

อนุวัติร์ เหลืองทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าบุคคล ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เล่าว่า ภายหลังการรวมกิจการของทั้ง 2 ธนาคารอย่างทีเอ็มบีเเละธนชาต สำเร็จลุล่วง ทำให้ ttb มีฐานลูกค้ารายย่อยรวมกว่า 10 ล้านราย และมีจำนวนสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) อยู่ที่ 1.3 ล้านล้านบาท 

ในจำนวนนี้ น่าสนใจว่าเป็นกลุ่มลูกค้ามั่งคั่งกว่า 80,000 ราย เเม้จะคิดเป็นเพียง 1% ของลูกค้ารายย่อยทั้งหมด เเต่กลับมี AUM สูงถึง 7 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 55% ของ AUM ในภาพรวมเลยทีเดียว

นับเป็นโอกาสธุรกิจสำคัญ ที่ธนาคารจะพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อรักษาฐานลูกค้ากลุ่มนี้เอาไว้ โดยกว่า 36% ของกลุ่มลูกค้ามั่งคั่ง มีอายุราว 35-55 ปี เเละอีก 57% อยู่ในช่วงอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป จากข้อมูลยังพบว่า 60% อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารถึง 40% 

ดังนั้น ttb reserve จึงจะมุ่งให้บริการโซลูชันทางการเงิน ที่จะมาช่วยตอบโจทย์ลูกค้าตามช่วงชีวิต เเบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ได้เเก่

ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ

เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการสะสมความมั่งคั่งอยากให้เงินทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เเละอยากมีคุณภาพชีวิตที่ดี เผื่ออนาคตวัยเกษียณ จึงยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนได้มากกว่า อย่าง ตราสารทุนและกองทุนรวม ที่มีการปรับให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันตลอดเวลา

วัยใกล้เกษียณเกษียณเเล้ว

เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการรักษาความมั่งคั่งและส่งต่อความสำเร็จไปให้ลูกหลาน มีไลฟ์สไตล์เฉพาะตัว อยากมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่อยากอยู่เเบบมีความกังวล จึงจะเน้นลงทุนเเบบปลอดภัยไว้ก่อน เพื่อรักษาเงินต้นและมองหาผลิตภัณฑ์ประกันประเภทต่างๆ 

Earn Fast – Burn Smart

โดยบริการเเรกที่ออกจะมาเจาะกลุ่มลูกค้ามั่งคั่ง (Wealth) คือ บัตรเครดิต ‘ttb reserve’ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า มีให้เลือก 2 ประเภทคือ

  • บัตรเครดิต ttb reserve Signature สำหรับลูกค้าที่มียอดเงินฝาก เงินลงทุน ประกันชีวิตรวม 5 ล้านบาทขึ้นไป
  • บัตรเครดิต ttb reserve Infinite สำหรับลูกค้าที่มียอดเงินฝาก เงินลงทุน ประกันชีวิตรวม 30 ล้านบาทขึ้นไป

ลูกค้ากลุ่มมั่งคั่งของ ttb มีรายได้รวมที่ประมาณ 300,000 บาทต่อเดือน

นันทพร ตั้งเจริญศิริ หัวหน้าบริหารการตลาดลูกค้าบุคคลและประสบการณ์ลูกค้า ทีเอ็มบีธนชาต ระบุว่า บัตรเครดิต ttb reserve มีจุดเด่นเรื่องความเร็วของคะแนนสะสม และการนำคะแนนสะสมที่ได้รับไปต่อยอด ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Earn Fast-Burn Smart’ เช่น รับคะแนนพิเศษรายปีสูงสุด 180,000 คะแนน โดยไม่ต้องมีการใช้จ่ายผ่านบัตร และสะสมคะแนนเพิ่มจากทุกการใช้จ่าย 10 บาท รับ 1 คะแนนทุกหมวด 

ส่วนการใช้จ่ายในหมวดโรงพยาบาลและช็อปออนไลน์ ลูกค้าจะได้รับคะแนน 2 เท่า หรือเทียบเท่า 5 บาทเท่ากับ 1 คะแนน และเมื่อใช้จ่ายหมวดประกันชีวิตที่ร่วมรายการ จะได้รับคะแนนสูงสุด 10 เท่า หรือเทียบเท่า 1 บาทเท่ากับ 1 คะแนน

ขณะเดียวกัน ลูกค้ายังสามารถแลกรับเครดิตเงินคืนเป็นมูลค่าหน่วยลงทุนได้ถึง 1,200 บาท สำหรับการซื้อกอง
ทุนทุกๆ 100,000 บาท 

สำหรับเป้าหมายการขยายฐานลูกค้า ในช่วงเเรกธนาคารจะมุ่งให้บริการกลุ่มลูกค้ามั่งคั่ง ที่มีอยู่เเล้ว 8 หมื่นรายก่อน จากนั้นจะค่อยๆ ขยายฐานลูกค้าใหม่ต่อไป โดยคาดว่าจะมีลูกค้าบัตรเครดิต ttb reserve จำนวน 30,000 รายภายในสิ้นปี 2564

ในช่วงที่การเดินทางระหว่างประเทศยังลำบาก สถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่งเริ่มมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งร่วมกับสถาบันการเงินท้องถิ่นมากขึ้น เมื่อตลาด Wealth โตพุ่ง ธุรกิจ Private Banking ก็เติบโตตามไปด้วย

ท่ามกลางหลายธนาคารที่ลงสนามมาบุกตลาดนี้ อะไรคือจุดเเข็งของ ttb reserve ?

ในตลาดส่วนใหญ่ จะเน้นไปที่การให้สิทธิพิเศษหรือพรีวิลเลจที่เกี่ยวกับด้านไลฟ์สไตล์เป็นหลัก ในขณะที่ tbb จะเน้นเรื่องให้สิทธิพิเศษที่สามารถต่อยอดความมั่งคั่งทางการเงินผ่านคะแนนสะสมรายปีที่ให้ความคุ้มค่าเป็นหลัก

เน้นตราสารทุนหุ้น มุ่งกระจายไปต่างประเทศ

เเนวโน้มการลงทุนของกลุ่มลูกค้าระดับเศรษฐีเติบโตขึ้นมาก’ ในช่วงที่ผ่านมา ท่ามกลางโรคระบาดเมื่อสภาพคล่องล้นตลาดเเละอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ การออมเงินฝากหรือพันธบัตรไม่ได้ให้ผลตอบเเทนที่ดีมากนัก เหล่านักลงทุนจึงต้องหาทางลงทุนอื่นๆ เพื่อให้ได้ผลตอบเเทนมากขึ้น เเม้จะต้องรับความเสี่ยงจากตลาดที่ผันผวน

โดย ttb แนะนำการจัดพอร์ตการลงทุนในช่วงนี้ว่า

เรายังคงมีมุมมองบวกต่อตลาดทุน โดยให้น้ำหนักการลงทุนในตราสารทุน หรือหุ้นมากกว่าตราสารหนี้ และจะเน้นกระจายการลงทุนไปยังตลาดต่างประเทศมากกว่าในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นตลาดสหรัฐฯ หรือตลาดเอเซียอย่างจีน และญี่ปุ่นเนื่องจากเรายังมองว่าเศรษฐกิจในหลายประเทศ น่าจะเริ่มฟื้นตัวได้อย่างมีนัยสำคัญ จากปัจจัยเรื่องกระจายวัคซีน การทยอยเปิดเมือง หลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 ในหลายประเทศเริ่มดีขึ้น

โดยลูกค้า Wealth ของ ttb มีพอร์ตการลงทุนประมาณ 2 แสนล้านบาท เทียบกับภาพรวมของทั้งธนาคารที่ 2.5 แสนล้านบาท

 

]]>
1335743
จัดการเงิน ‘กงสี’ ยุคใหม่อย่างไร ? KBank ปรับทิศทางบริหารพอร์ตครอบครัวเศรษฐี 1.2 แสนล้าน  https://positioningmag.com/1333029 Thu, 20 May 2021 13:28:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333029 การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในไทย ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจครอบครัวหรือที่เรามักเรียกว่า ‘ธุรกิจกงสีคิดเป็นรายได้กว่า 80% ของจีดีพี มูลค่ารวมกว่า 3 เเสนล้านบาท

ปัจจัยเร่งจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และความเสี่ยงด้านสุขภาพจากโรคระบาด ทำให้ครอบครัวผู้มีสินทรัพย์สูง เริ่มเล็งเห็นถึงความสำคัญของการวางแผนรับมืออย่างเป็นระบบเเละให้ทายาทรุ่นถัดไปเข้ามาจัดการธุรกิจเร็วขึ้น 

เหล่านี้ ทำให้บริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว (Family Wealth Planning Service) ได้รับความสนใจจากลูกค้ามั่งคั่ง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า กว่า 3 ใน 4 ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นธุรกิจครอบครัว

จากสถิติพบว่า 75% เป็นธุรกิจครอบครัวไทย ที่อยู่ในการบริหารของรุ่นที่ 2 และมีเพียง 4% เท่านั้น ที่อยู่ในการบริหารของรุ่นที่ 3 และ 4 ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ธุรกิจครอบครัวไทยส่วนใหญ่ ยังจัดตั้งมาไม่นานและกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญในการเริ่มวางแผนเพื่อบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

จากผลสำรวจของ Lombard Odier พบว่า 45% ของครอบครัวที่ยังไม่ได้จัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวมีความสนใจที่จะเริ่มวางแผนบริหารทรัพย์สินครอบครัวในอนาคต 

ขณะเดียวกัน PWC Family Business Survey 2019 พบว่า 64% ของธุรกิจครอบครัวยังไม่ได้เตรียมการรับมือกับการวางแผนการส่งต่อธุรกิจ รวมทั้งเรื่อง Technology Disruption

หลายธุรกิจต้องเผชิญกับปัญหาโควิด-19 ทำให้ต้องเร่งปรับตัวเข้ากับ ‘New Economy’ ที่จะเปลี่ยนเเปลงไปหลังผ่านวิกฤต เป็นความท้าทายครั้งสำคัญที่จะต้องเปิดรับสิ่งใหม่ๆ เเละผู้บริหารรุ่นใหม่ๆ เข้ามา โดยไม่ต้องรอให้ถึงการส่งต่อสู่รุ่นที่ 3-4

Photo : Shutterstock

ความท้าทายของ ‘กงสี’ ในธุรกิจยุคใหม่ 

พีระพัฒน์ เหรียญประยูร Chief – Wealth Planning, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย ให้ข้อมูลว่า ครอบครัวไทยส่วนใหญ่ ยังคงเน้นไปที่การขยายธุรกิจมากกว่าการวางแผนและจัดการอย่างเป็นระบบ

โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการล่มสลายของธุรกิจครอบครัว มาจากหลายสาเหตุ เช่น ความขัดเเย้งของสมาชิก การบริหารที่ไม่เป็นระบบ การไม่มีเเผนส่งต่อธุรกิจให้ทายาท

ธุรกิจครอบครัวไทย จึงมีความท้าทายและมีความต้องการที่คล้ายคลึงกัน 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่

1) มองหาความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการความเสี่ยง จากการดำเนินธุรกิจและการถือครองทรัพย์สิน โดยเฉพาะการวางแผนด้านภาษีเเละต้นทุนทางภาษีที่ต้องแบกรับ

ปัจจัยเร่งสำคัญมาจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศเพื่อการเก็บภาษีที่เข้มงวดขึ้น อย่างกฎหมาย Foreign Account Tax Compliance Act (FATCA) ของสหรัฐอเมริกา หรือระบบ Common Reporting Standard 

2) บริหารจัดการระบบกงสีแบบดั้งเดิมมีความท้าทายมากขึ้นในบริบทปัจจุบัน

ความยึดมั่นในขนบธรรมเนียมในการตัดสินใจเป็นหลัก หลายครอบครัวจึงเร่งปรับกติกาของกงสีให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ของครอบครัว เช่น การจัดตั้งโครงสร้างที่เป็นระบบโดยใช้กลุ่มบริษัทโฮลดิ้งของครอบครัว หรือการใช้ทรัสต์ที่จัดตั้งในต่างประเทศ เพื่อจัดเก็บและบริหารจัดการกงสีอย่างยั่งยืน

พร้อมทั้งวางแผนการด้านอื่นๆ ไปพร้อมกัน เช่น ในกรณีที่สมาชิกคนใดประสบปัญหาด้านการเงินส่วนตัว ยังมีทรัพย์ที่ได้รับจากกองทรัสต์ เพื่อเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวต่อไป รวมถึงระบบสวัสดิการสำหรับสมาชิกในครอบครัวได้อีก

3) ทัศนคติและเป้าหมายที่แตกต่างกันของสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะทายาทรุ่นที่ 2 และ 3 ที่มีโอกาสได้ไปศึกษาและใช้ชีวิตในต่างประเทศ แนวความคิดใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ อาจทำให้เกิดอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจในช่วงเปลี่ยนผ่านได้

สิ่งที่สำคัญที่แนะนำแก่ลูกค้าคือ การเตรียมความพร้อมให้คนรุ่นใหม่และการเปิดให้พวกเขามีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องสำคัญ ส่วนการวางกติกาครอบครัวที่ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกทุกรุ่น ก็มีความจำเป็นที่ต้องอาศัยคนกลางที่มีประสบการณ์ในการวางแผนอย่างมีระบบ

จับทางพอร์ตครอบครัวเศรษฐี 1.2 แสนล้าน 

ปัจจุบัน KBank Private Banking ให้บริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัวแก่ลูกค้ามาเเล้วทั้งสิ้น 3,600 ราย คิดเป็น 720 ครอบครัว ครอบคลุมทรัพย์สินครอบครัว มีธุรกิจและที่ดินรวมมูลค่าราว 1.2 แสนล้านบาท ชี้ให้เห็นโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมาก

เราตั้งเป้าว่าภายใน 3 ปีจะให้บริการแก่ลูกค้าอย่างน้อย 6,000 ครอบครัว หรือประมาณ 50% ของพอร์ตจากตอนนี้ที่ให้บริการลูกค้า Family Wealth Planning ไปแล้วประมาณ 32%” 

ปัจจุบัน KBank Private Banking มีจำนวนลูกค้ารวมประมาณ 12,000 ราย สินทรัพย์ภายใต้การจัดการทั้งหมดประมาณ 8 แสนล้านบาท

KBank Private Banking วางกลยุทธ์ใหม่เพื่อยกระดับบริการทั้งในด้านกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบติดตามผล ช่วยให้ครอบครัวสามารถวางแผนและดำเนินการบริหารสินทรัพย์ได้อย่างเป็นขั้นตอนและต่อเนื่อง

ต้องมีเตรียมเสริมบริการในด้านการทำสาธารณกุศลของครอบครัว และการอำนวยความสะดวกในเรื่องบริการสำนักงานครอบครัวด้วย

โดยปัจจุบันมีบริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว ครอบคลุม 6 ด้าน ได้แก่ 

  • การจัดโครงสร้างการถือครองทรัพย์สินของครอบครัว (Asset Holding Structures)  
  • การบริหารความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของครอบครัว (Financial Asset, Liability and Risk Management)
  • การสร้างกติกาของครอบครัวและการสืบทอดธุรกิจ อย่างเป็นระบบ (Family Continuity Planning)  
  • การวางแผนการส่งต่อทรัพย์สินจากรุ่นสู่รุ่น (Inheritance and Wealth Transfer)  
  • การทำสาธารณกุศล (Philanthropy)
  • การทำหน้าที่เป็นสำนักงานของครอบครัว (Family Office)  

โดยความยากง่ายของบริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว ก็ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของครอบครัวนั้นๆ รวมไปถึงโครงสร้างของธุรกิจ และอุตสาหกรรมที่ธุรกิจนั้นอยู่ด้วย

ในช่วงที่ผ่านมา ครอบครัวระดับมหาเศรษฐีที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤตโควิด-19 อย่างกลุ่มโรงแรมท่องเที่ยว ยังมีสายป่านยาวพอจะประคับประคองธุรกิจไปได้ ในบางธุรกิจก็ใช้ช่วงนี้กลับมาปรับปรุง เปลี่ยนเเปลงเเละหันมาดูแลระบบโครงสร้างภายในของธุรกิจตนเองมากขึ้น

บริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว ต้องใช้เวลาและความละเอียดในการกำหนดแผนการและข้อกำหนดของแต่ละครอบครัว เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่สมาชิกในครอบครัวทุกรุ่นทุกคน เห็นพ้องต้องกัน

 

]]>
1333029
ตลาด Wealth โตพุ่ง SCB ปั้น Private Banking สู่เป้าพอร์ต 1 ล้านล้านบาท โอกาสทองจับ ‘เศรษฐีไทย’  https://positioningmag.com/1321958 Fri, 05 Mar 2021 13:10:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321958 สถาบันการเงิน เร่งเครื่องดันธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง เเย่งลูกค้าเศรษฐีกันดุเดือด ด้วยความที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าการออกสินเชื่อ เเถมยังมีการเติบโตสูง สร้างรายได้ดี เเม้จะเจอวิกฤตเศรษฐกิจ

SCB เป็นอีกหนึ่งเจ้าใหญ่ในไทยที่ประกาศจะขึ้นเป็นผู้นำในตลาด Private Banking โดยตั้งเป้าภายใน 3 ปีจะมี AUM สู่ระดับ 1 ล้านล้านบาทให้ได้

สารัชต์ รัตนาภรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า ธุรกิจ Wealth Management ดูเเลพอร์ตการลงทุนให้ลูกค้าผู้มั่งคั่งเติบโตขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมาท่ามกลางโรคระบาด

ด้วยสภาพคล่องที่ล้นตลาดทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำทั่วโลก การออมเงินฝากหรือพันธบัตร ไม่ได้ให้ผลตอบเเทนที่ดีมากนัก เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต้องหาทางลงทุนอื่นๆ ที่ได้ผลตอบเเทนมากขึ้น เเม้จะความผันผวนในตลาดสูง

โดยกลุ่มผู้มีสินทรัพย์สูง หรือ HNWIs (มีสินทรัพย์ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป) มีความต้องการผู้เชี่ยวชาญที่จะมาให้คำเเนะนำการดูเเลพอร์ตมากขึ้น ทำให้ธุรกิจ Private Banking ขยายตัวตามไปด้วย

ตลาด Wealth โตพุ่ง โอกาสจับ ‘เศรษฐีไทย’ 

SCB ประเมินว่า ภาพรวม Wealth ทั่วโลกในปี 2024 จะเติบโต 7% เมื่อเทียบกับปี 2018 โดยจะขยายตัวมากที่สุดในจีน เเละเอเชียแปซิฟิก

สำหรับตลาด Wealth ในประเทศไทย คาดว่าจะเติบโต 5% สูงกว่า GDP ไทยถึง 2 เท่า โดยจำนวนลูกค้า Wealth ทั้งหมดในไทย คาดว่าจะอยู่ที่ 8.86 แสนคน เพิ่มขึ้น 5% จากปี 2018 ที่อยู่ราว 7.1 แสนคน

ประชากร 1% ของคนไทย ถือครองทรัพย์สิน 80% ของทั้งประเทศ

ในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-10 ‘เศรษฐีหลายราย ต้องการพึ่งพาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในประเทศนั้นๆ เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ เพราะการเดินทางยังลำบาก เราจึงได้เห็นสถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่งเริ่มมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งร่วมกับสถาบันการเงินท้องถิ่นมากขึ้น

ไม่ว่าจะเป็น Credit Suisse ที่เปิดตัวในปี 2016 ต่อมาในปี 2018 กลุ่มธุรกิจบริการ Private Banking รายใหญ่จากสวิตเซอร์แลนด์อย่าง Julius Baer ได้เปิดตัวธุรกิจกับพันธมิตรอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB ถือหุ้นใหญ่ 60% ส่วน Julius Baer ถือหุ้น 40%) เเละในปี 2019 สถาบันการเงินจากลิกเตนสไตน์อย่าง LGT ก็ได้มาเปิดสำนักงานในไทย เเละล่าสุด HSBC จากอังกฤษ ก็เตรียมตั้งธุรกิจ Private Banking ในไทย

ข้อมูลจาก HSBC ระบุว่า สินทรัพย์ที่นักลงทุนกลุ่ม High Net Worth (HNW) ในเอเชียถือครอง จะเพิ่มขึ้นไปสู่ 40 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ภายในปี 2025 ถือว่าเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปี 2017

นี่จึงเป็นโอกาสทอง เเละการเเข่งขันที่สูงมากเช่นนี้ ทำให้ธุรกิจ Private Banking ต้องงัดหากลยุทธ์ใหม่ๆ มาเพื่อครองใจลูกค้าให้ได้มากที่สุด

บริหารความมั่งคั่ง คือ New S-Curve 

ปัจจุบันธุรกิจ Wealth ของไทยพาณิชย์ มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิที่อยู่ภายใต้การบริหาร (AUM) ราว 8.5 แสนล้านบาท เเละในปี 2024 ตั้งเป้าจะมี AUM สู่ระดับ 1 ล้านล้านบาท ภายใต้แนวคิด BEAT THE BENCHMARK

โดยมีฐานลูกค้า Wealth จำนวนกว่า 3 เเสนราย (จากราว 7 เเสนรายทั้งประเทศ) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

  • ลูกค้า SCB Prime มีสินทรัพย์ 2-10 ล้านบาท
  • ลูกค้า SCB First มีสินทรัพย์ 10-50 ล้านบาท
  • ลูกค้า SCB Private Banking มีสินทรัพย์ 50 ล้านบาทขึ้นไป

ธนาคารได้เริ่มแผน Wealth Transformation มาตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งปีนั้นสร้างรายได้ให้ธนาคารคิดเป็น 7% ของรายได้รวม และ 31% ของรายได้ค่าธรรมเนียม จากนั้นก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2020 สามารถทำรายได้ถึง 15% ของรายได้รวม และ 56% ของรายได้ค่าธรรมเนียม

ธุรกิจ Wealth Management จึงกลายมาเป็น New S Curve ของไทยพาณิชย์

โดยคาดว่า AUM ลูกค้ากลุ่ม Wealth ของไทยพาณิชย์จะโตเฉลี่ยปีละ 10-12% และปี 2566 คาดว่าจะมี AUM 1 ล้านล้านบาท ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมคาดว่าจะเติบโตได้ในอัตราสองหลัก 

ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมารายได้จากธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของธนาคาร เติบโตกว่า 25% แม้จะเผชิญกับสถานการณ์วิกฤต COVID-19

ณรงค์ ศรีจักรินทร์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เล่าว่า เมื่อ 4 ปีก่อน ธนาคารได้เฟ้นหาพนักงานหัวกะทิที่โดดเด่นที่สุดของสาขา 1,100 คน มาร่วมทีม Wealth Management โดยมีการจัดเทรนนิ่งอย่างเข้มข้น จนตอนนี้ธนาคารมี RM (Relationship Manager) ที่มีใบรับรองมากที่สุดในไทย

หลักๆ จะเน้นการสร้างขีดความสามารถในการให้คำปรึกษา (Advisory Capability) ควบคู่ไปกับการปรับ ‘Operating Model’ พัฒนาโซลูชันด้านการลงทุนเเบบ Open Architecture คือการมีผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าเลือกลงทุนจากบริษัทพันธมิตรเเละประกัน (ตอนนี้มีอยู่ 35 แห่ง) ไม่ได้มีเเค่ผลิตภัณฑ์ของ SCB เท่านั้น รวมทั้งมีการนำระบบ AI เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการพอร์ต สร้างเเพลตฟอร์มเฉพาะมาบริการเพื่อช่วยให้ลูกค้าเห็นการลงทุนของตัวเองชัดเจนขึ้น

โดยทิศทางของกลุ่มธุรกิจ SCB Wealth ในปี 2021 จะโฟกัสและมุ่งเน้นการเติบโตของเซ็กเมนต์ Private Banking เพื่อจับลูกค้าใหม่ที่มีสินทรัพย์ 50 ล้านบาทขึ้นไป

เมธินี จงสฤษดิ์หวัง รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Private Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า กลุ่มลูกค้า Wealth ของไทยพาณิชย์ เมื่อดู Investment AUM (ไม่รวมเงินฝาก) จะมีสินทรัพย์อยู่ประมาณ 5.7 แสนล้านบาท จาก AUM ทั้งหมดที่ 8.5 แสนบาท สามารถสร้างผลตอบแทนจากการบริหารพอร์ตการลงทุนให้ลูกค้าได้ 14.9% ในระยะเวลา 1 ปี (1 .. – 31 .. 2020) 

มธินี จงสฤษดิ์หวัง รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Private Banking ธนาคารไทยพาณิชย์

โดยในปี 2021 นี้ SCB Private Banking จะดำเนินธุรกิจ ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก ดังนี้

  • Investment Solutions for Wealth Preservation ต่อยอดความมั่งคั่งให้ลูกค้า โดยจะมีลงทุนทั้งในและต่างประเทศในสินทรัพย์ที่หลากหลายประเภท กว่า 10,000 หลักทรัพย์และกองทุน ทั้ง Public assets หรือ Private assets
  • Business Solutions for Wealth Creation บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจอย่างรอบด้าน เปิดโอกาสการลงทุนแบบใหม่ๆ เช่น สินเชื่อ SCB Property Backed Loan ที่เปิดตัวเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ให้ลูกค้านำไปเพิ่มกระแสเงินสด
  • SCB Financial Business Group ประสานกับธุรกิจส่วนต่างๆ ทั้งหมดในธนาคารไทยพาณิชย์ให้ครบวงจรเพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้า

สำหรับข้อเเนะนำในการลงทุนในปีนี้ ผู้บริหาร SCB บอกว่า ควรจะกระจายความเสี่ยงในต่างประเทศ โดยเน้นธุรกิจที่เติบโตในยุค New Normal อย่าง อีคอมเมิร์ซ การขนส่งเเละธุรกิจคลาวด์

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการลงุทนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม พลังงานหมุนเวียน ตามที่จะเห็นรัฐบาลใหญ่ๆ ของโลกทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ต่างออกนโนบายเพื่อขับเคลื่อนสิ่งนี้

ขณะเดียวกันภาวะดอกเบี้ยต่ำที่จะดำเนินต่อเนื่องผู้ลงทุนก็ต้องมองหาผลตอบแทนที่มากกว่า เช่น ตราสารหนี้ , หุ้น เป็นต้น

โดยในปีนี้เเนะนำแบ่งพอร์ตการลงทุนเป็น 60% ลงทุนในหุ้น และ 40% ลงทุนในตราสารหนี้ เเละช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง ให้ปรับตราสารหนี้เป็น 50-60% เเละเมื่อการกระจายวัคซีนได้ผลดีจนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ได้เเล้ว เเนะให้ถือตราสารหนี้ลดลงเหลือ 30% พร้อมกับการติดตามข่าวสารเเละนโนบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ อย่างใกล้ชิด

 

 

]]>
1321958
HSBC รุกหาเศรษฐีเอเชีย เตรียมตั้งธุรกิจ Private Banking ในไทย เป็นแห่งที่ 2 ของอาเซียน https://positioningmag.com/1317535 Tue, 02 Feb 2021 06:47:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317535 เเม้เศรษฐกิจโลกจะตกต่ำ เเต่ ‘ลูกค้ามั่งคั่ง’ ยังเนื้อหอม ล่าสุดสถาบันการเงินรายใหญ่อย่าง HSBC เตรียมเข้ามาเปิดธุรกิจ Private Banking ในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นแห่งที่ 2 ของภูมิภาคต่อจากสิงคโปร์ เพื่อขยายฐานเศรษฐีในอาเซียน

Reuters รายงานว่า HSBC มองว่า ตลาดในไทยมีกลุ่มมั่งคั่งที่มีศักยภาพเติบโตสูง โดยตั้งเป้านำพาลูกค้าให้เข้าถึงตลาดการเงินทั่วโลก ผ่านการใช้เครื่องมือเเละประสบการณ์ให้คำปรึกษาด้านการลงทุนของ HSBC ในเอเชีย

HSBC สถาบันการเงินใหญ่จากอังกฤษ เริ่มรุกเข้าสู่ธุรกิจในเอเชียมากขึ้น ปีที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ โดยรวมธุรกิจ Private Banking และ Retail Wealth เข้าด้วยกัน เป็นหน่วยงานใหม่เพื่อบริหารทรัพย์สินของลูกค้าเศรษฐี ที่มีมูลค่ามากกว่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เเละเป็นที่น่าสนใจว่ากว่า 40% มาจากลูกค้าในภูมิภาคเอเชีย

ในช่วงที่ผ่านมา สถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่ง เริ่มหันมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น Credit Suisse ที่เปิดตัวในปี 2016 ต่อมาในปี 2018 กลุ่มธุรกิจบริการ Private Banking รายใหญ่จากสวิตเซอร์แลนด์อย่าง Julius Baer ได้เปิดตัวธุรกิจกับพันธมิตรอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB ถือหุ้นใหญ่ 60% ส่วน Julius Baer ถือหุ้น 40%) เเละในปี 2019 สถาบันการเงินจากลิกเตนสไตน์อย่าง LGT ก็ได้มาเปิดสำนักงานในไทย 

ต้องรอดูว่าการเข้ามาของ HSBC จะทำให้ศึกธุรกิจบริหารความมั่งคั่งในไทยกำลังระอุขึ้นไปอีกเเค่ไหน

Photo : Shutterstock

HSBC คาดว่า สินทรัพย์ที่นักลงทุนกลุ่ม High Net Worth (HNW) ในเอเชียถือครอง จะขึ้นไปสู่ 40 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ภายในปี 2025 ถือว่าเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปี 2017

ส่วนสินทรัพย์ของนักลงทุน HNW ของไทย คาดว่าจะเติบโตขึ้น 12.4% เป็น 5.48 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 เเละมีบุคคลใน HNW มากกว่า 100,000 คน ซึ่งเป็นการเติบโตสูงสุดเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ท่ามกลางสภาวะการลงทุนที่ยังมีความผันผวน เเต่ด้วยความหลากหลายที่มีอยู่ จึงถือเป็นโอกาสที่ดีเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะนักลงทุนที่มีความมั่งคั่งระดับ ‘สูงมาก’ ของเมืองไทย หรือที่เรียกว่ากลุ่ม Ultra High Net Worth Individuals – UHNWIs / High Net Worth Individuals – HNWIs

สำหรับผู้มีความมั่งคั่งตามนิยามของ SCB Julius Baer ที่จะมาเป็นลูกค้าได้นั้นจะต้องมีสินทรัพย์เพื่อการลงทุน (ไม่รวมบัญชีเงินฝากและที่อยู่อาศัยประจำเริ่มต้นที่ 100 ล้านบาท หรือราว 3 ล้านเหรียญสหรัฐขึ้นไป 

รายงานของ Wealth Report Thailand 2019 เปิดเผยภาพรวมตลาด HNWIs และ UHNWIs ในเมืองไทย มี 13,000 – 14,000 ครอบครัว ถือครองสินทรัพย์รวมกว่า 10 ล้านล้านบาท 

อ่านเพิ่มเติม : SCB Julius Baer เรื่องน่ารู้ธุรกิจดูแลพอร์ตลงทุน “เศรษฐีไทย” เข้าได้ต้องมี 100 ล้าน

 

ที่มา : Reuters , Businesstimes

]]>
1317535