Shopping – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 14 Sep 2023 02:23:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สยามพิวรรธน์เดินเกมรุก ครองแชมป์ Global Destination อันดับหนึ่งของไทย ขานรับนโยบายรัฐบาล ทุ่ม 1,000 ล้านบาท ดันนักท่องเที่ยว ทะลุเกินเป้าใน Q4 https://positioningmag.com/1444112 Thu, 14 Sep 2023 04:00:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444112

บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ เจ้าของและผู้บริหารโครงการที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ประกาศยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนธุรกิจขานรับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล ผ่าน 4 Strategic Pillars ย้ำจุดแข็งในการเป็นผู้สร้าง Global Destinations อันดับหนึ่งของประเทศไทย ดังนี้ 1) ผู้นำการสร้างประสบการณ์ shopping ยิ่งใหญ่เหนือความคาดหมาย เสริมแกร่งตลาด Luxury retail ที่มีความครบครันที่สุดแห่งหนึ่งของโลก 2) ผู้นำการจัด World Class Event และการประชุมนานาชาติ 3) ผู้นำในการยกระดับผลงานศิลปะไทย สนับสนุนกรุงเทพฯ ให้เป็นศูนย์กลางศิลปะระดับโลก และ 4) ผู้นำในการปั้น Soft power ของไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์และต่อยอดสู่เวทีโลก  ทั้งนี้ สยามพิวรรธน์ได้เตรียมทุ่มงบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท อัดฉีดเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นให้แตะ 30 ล้านคน ในไตรมาส 4 ปีนี้

นางชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ กล่าวว่าสยามพิวรรธน์เป็นผู้นำในการพัฒนาจุดหมายปลายทางระดับโลก (Global Destinations) ที่เป็นแม่เหล็กดึงดูดให้ประเทศไทยเป็นหมุดหมายที่ครองความเป็นที่หนึ่งในใจผู้คนทั่วโลกมาอย่างยาวนานประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับในวงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกด้วยรางวัลชนะเลิศหลากหลายเวที อีกทั้งยังเป็นผู้ครองฐานลูกค้ากำลังซื้อสูงมากที่สุดในประเทศไทยตลอดมา ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 นี้ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาศูนย์การค้าของสยามพิวรรธน์มีถึง 14 ล้านคน เพิ่มขึ้น 46% จากปี 2565 โดยมียอดการใช้จ่ายโดยเฉลี่ยที่ 8,500 บาท/คน/วัน เมื่อรัฐบาลมีนโยบายที่จะอำนวยความสะดวกและดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสู่ประเทศไทยอย่างเต็มที่แล้ว เชื่อมั่นว่าภายในสิ้นปีนี้ประเทศไทยจะมียอดนักท่องเที่ยวถึง 30 ล้านคน และสยามพิวรรธน์จะทุ่มทุนจัดกิจกรรมในไตรมาสสุดท้ายทุกศูนย์การค้าด้วยงบประมาณ 1,000 ล้านบาทเพื่อเป็นแม่เหล็กให้ผู้คนทั่วโลกอยากมาเยี่ยมชม

การขับเคลื่อนธุรกิจของกลุ่มสยามพิวรรธน์เพื่อขานรับนโยบายรัฐบาล ได้กำหนดยุทธศาสตร์ผ่าน 4 Strategic Pillars  ดังนี้

1. ผู้นำการสร้างประสบการณ์ Shopping ยิ่งใหญ่เหนือความคาดหมาย เสริมแกร่งผู้นำในตลาด Luxury retail ด้วยการผนึกกำลังกับ Luxury brand ร้านค้าผู้เช่า และพันธมิตรธุรกิจ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก โดยเตรียมเปิดร้าน Luxury brands ใหม่เพิ่มเติมถึง 20 ร้านค้าในไตรมาส 4 ซึ่งหลายแบรนด์เป็นสาขาแรกในประเทศไทย อีกทั้ง มีคิวจัด Pop-up store และงานอีเวนต์ระดับโลก ร่วมกับแบรนด์ต่างๆ มากกว่า 40 แบรนด์ไปจนถึงสิ้นปี 2567 รวมทั้งบรรดาลักซ์ซูรี่แบรนด์ทุกค่าย เตรียมขยายพื้นที่กว่าเท่าตัวให้เป็น Iconic store ที่ใหญ่ที่สุดในสยามพารากอนและไอคอนสยามในปีหน้าอีกด้วย

2.ผู้นำการจัด World Class Event และการประชุมนานาชาติ โดยทำงานร่วมกับองค์กรภาครัฐ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) และภาคเอกชนต่างๆ เพื่อดึงดูดนักธุรกิจและนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ๆ ที่มีกำลังซื้อสูงจากทั่วโลก โดยใช้พื้นที่รอยัลพารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน และทรู ไอคอนฮอลล์ ชั้น 7 ไอคอนสยาม เป็นสถานที่จัดงานอีเวนต์มาตรฐานระดับโลกหรือการประชุมนานาชาติ ซึ่งในปีนี้ได้รองรับงานสำคัญรวมกันกว่า 40 งาน และมีการจองใช้ใน ปี 2567 แล้วมากถึง 70% โดยสยามพิวรรธน์จะร่วมมือกับพันธมิตรใน Global Ecosystem ซึ่งประกอบด้วยพันธมิตรจากหลากหลายธุรกิจทั้งสายการบิน ธุรกิจโรงแรม ท่องเที่ยว ภัตตาคาร เพื่อรองรับการจัดงานหลากหลายรูปแบบ ส่งเสริมธุรกิจ MICE และสนับสนุนประเทศไทยให้เป็นจุดหมายปลายทางการจัดประชุมนานาชาติของ S/E Asia นอกจากนี้ สยามพิวรรธน์ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้จัดงานอีเวนต์รายใหญ่ของโลกรายหนึ่งที่จะมาร่วมลงทุนสร้างศูนย์ประชุมและการแสดงเพิ่มเติมอีกด้วย สำหรับในไตรมาส 4 ของปีนี้จะลงทุนจัดกิจกรรมระดับชาติครั้งยิ่งใหญ่ในทุกศูนย์การค้ารวมกันถึง 40 กิจกรรม ด้วยงบประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยจะสื่อสารประชาสัมพันธ์ออกสื่อทั่วโลก จึงมั่นใจว่าจะสามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต้องการมาชมและสนุกสนานร่วมกัน

3.ผู้นำในการส่งเสริมศิลปะไทย ยกระดับกรุงเทพฯ ให้เป็นศูนย์กลางศิลปะระดับโลก  โดยสยามพิวรรธน์ได้บุกเบิกและเป็นผู้ประกอบการที่สนับสนุนศิลปินไทยมาตลอดเวลากว่า 15 ปี เป็นรายแรกที่นำผลงานของศิลปินไทยมาจัดแสดงเป็น public arts ประจำในศูนย์การค้า และจัดกิจกรรมต่างๆ ส่งเสริมความสามารถของศิลปินไทยตลอดมา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ สยามพิวรรธน์เตรียมแผนเสนอรัฐบาลที่จะปั้นให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางของ S/E Asia ที่จะจัดงานศิลปะระดับโลกให้เกิดขึ้นเพื่อดึงดูดบุคคลในวงการศิลปะเข้ามาในประเทศไทย อาทิ งาน Art Basel และ Frieze เป็นต้น ซึ่งจะทำให้บรรดาศิลปินไทยได้มีโอกาสแสดงผลงานร่วมกับศิลปินระดับโลกด้วย โดยจะร่วมทำงานกับภาครัฐในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ ยิ่งไปกว่านั้น สยามพิวรรธน์มีนโยบายที่จะเปิดศูนย์ศิลปะริเวอร์มิวเซียม ชั้น 8 ไอคอนสยาม ในปี 2026 ด้วยพื้นที่ 8,000 ตารางเมตร ซึ่งจะเป็นมิวเซียมมาตรฐานโลกแห่งแรกของประเทศไทยที่สามารถรองรับงานศิลปะ master piece ระดับโลกได้ทัดเทียมกับมิวเซียมชั้นนำในประเทศต่างๆ ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่จะดึงดูดบุคคลสำคัญในวงการศิลปะและบรรดา นักสะสมงานศิลปะจากทั่วโลกเข้ามาในประเทศไทย นับว่าเป็นกลุ่มท่องเที่ยวคุณภาพสูงกลุ่มใหม่ที่จะต่อยอดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีในระยะยาว

4.ผู้นำในการปั้น Soft power ของไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์และต่อยอดสู่เวทีโลก ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี ที่สยามพิวรรธน์ได้พัฒนาแพลตฟอร์มแห่งโอกาสที่นำสุดยอดฝีมือในด้านต่างๆ ของไทย เพื่อนำเสนอ Soft power ของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร ภาพยนตร์ แฟชั่น ดีไซเนอร์ และอื่นๆ รวมทั้งการพัฒนาแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs และพ่อค้าแม่ค้าจาก 77 จังหวัด จำนวนกว่า 6,000 ราย มารวมตัวกันนำเสนออัตลักษณ์ไทยรูปแบบต่างๆ ผ่านเมืองสุขสยาม ซึ่งมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมไม่ต่ำกว่าวันละ 70,000 คนและเป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่างมากใน social media ทั่วโลก นอกจากนี้ การสร้างแบรนด์สินค้าของคนไทยผ่านธุรกิจรีเทลของสยามพิวรรธน์ อันได้แก่ ICONCRAFT, ODS และ ECOTOPIA ก็สามารถขายแฟรนไชส์ไปต่างประเทศ ทั้งนี้ สยามพิวรรธน์​พร้อมที่จะร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งพันธมิตรระดับโลก ยกระดับ Soft power ของคนไทยให้เป็นที่ชื่นชมบนเวทีโลกด้วยเช่นกัน

สยามพิวรรธน์พร้อมที่จะผสานพลังทุกภาคส่วน สนับสนุนนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล ร่วมผลักดันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ทำให้ประเทศไทยครองแชมป์จุดหมายปลายทางของโลก ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ที่จะช่วยกระตุ้นกิจกรรมเศรษฐกิจ สร้างรายได้ และก่อให้เกิดการจ้างงานกับประชาชนจำนวนมาก ส่งผลกระทบครอบคลุมกว้างขวาง ไม่ใช่เฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวโดยตรงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงธุรกิจค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจ MICE และบริการที่จะได้ประโยชน์จากการมาเยือนของชาวต่างชาติ

“สยามพิวรรธน์จะเดินหน้าอย่างเต็มกำลัง โดยเตรียมอัดงบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาทเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวในไตรมาส 4 นี้ และเตรียมจัดงบประมาณเพิ่มอีกเท่าตัวในปีหน้า เพื่อเดินเครื่องหนุนการท่องเที่ยวของไทยตามนโยบายของรัฐบาล โดยมั่นใจว่ารัฐบาลชุดนี้จะทำให้การท่องเที่ยวของประเทศไทยเป็นจุดแข็งที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม สร้างปรากฏการณ์ ปักหมุดให้ประเทศเป็นจุดหมายปลายทางแรกที่ต้องมาเยือนสำหรับนักท่องเที่ยวและนักเดินทางจากทั่วโลก” นางชฎาทิพกล่าวปิดท้าย

 

]]>
1444112
Meta เผย ปี 2022 คนไทยซื้อสินค้าในเทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์อันดับ 3 ของเอเชีย แม้กระเป๋าเงินแฟบ https://positioningmag.com/1440903 Mon, 14 Aug 2023 08:32:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440903 ข้อมูลจาก Meta ได้เผยผลสำรวจคนไทยว่า ผู้บริโภคชาวไทยช้อปปิ้งสินค้าช่วงเทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์ เช่น 8/8 หรือ 11/11 แม้กระเป๋าเงินจะแฟบก็ตาม โดยปัจจัยสำคัญที่นักช้อปชาวไทยให้ความสำคัญคือส่วนลด ขณะเดียวกันก็มีการศึกษาหาข้อมูลก่อนจะตัดสินใจซื้อสินค้า

ทีม Business Marketing Research and Intelligence จาก Meta ได้จัดทำผลศึกษาใน 31 ประเทศกว่า 38,548 คน ซึ่งรวมผู้บริโภคชาวไทย 1,000 คนในช่วงปลายปี 2022 ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการช้อปสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในช่วง Mega Sales Day เช่น วันที่ 8/8 หรือ 11/11 บนแพลตฟอร์มของบริษัท

ในรายงานของ Meta ชี้ว่า ผู้บริโภคชาวไทยขึ้นแท่นอันดับ 3 ของเอเชียที่ซื้อสินค้าในช่วง Mega Sales Day โดยมีอัตราการมีส่วนร่วมจับจ่ายใช้สอยสูงถึง 91% โดยตัวเลขดังกล่าวนี้รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 69% ขณะที่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเฉลี่ยที่ 83%

สำหรับปัจจัยที่ดึงดูดให้นักช้อปชาวไทยซื้อสินค้าในช่วงเวลาดังกล่าว 78% นั้นถูกดึงดูดด้วยราคาและส่วนลด ขณะเดียวกันครีเอเตอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์ที่ผู้ใช้งานได้ติดตามก็มีอิทธิผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ามากถึง 61% นับว่าเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 50% เท่านั้น

ไม่เพียงเท่านี้นักช้อปชาวไทยกว่า 54% ยังระบุว่าตั้งใจซื้อสินค้าจากร้านในต่างประเทศ (Cross-Border) สำหรับสินค้าที่มีราคาถูกกว่า ในขณะที่อีก 45% จะเลือกซื้อสินค้าจากต่างประเทศเมื่อมองหาแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีขายในประเทศไทย

ข้อมูลจาก Meta

ผลสำรวจจากรายงานดังกล่าวพบว่า 65% พบว่าสภาวะทางการเงินตอนนี้ของคนไทยแย่ลงกว่าปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันนักช้อปชาวไทยก็ยอมรับว่าใช้เงินช่วง Mega Sales นี้มากขึ้นด้วย

ในรายงานดังกล่าว Meta ยังแนะนำ 3 กลยุทธ์ที่จะช่วยให้ธุรกิจไทยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการขายสินค้าได้มากที่สุดในช่วงเทศกาลช้อป Mega Sales ที่กำลังจะมาถึงในปีนี้ รวมถึงในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น

  1. เริ่มสร้างความสนใจล่วงหน้า เริ่มจากการสร้างความสนใจให้กับกลุ่มลูกค้าในช่วงก่อนเทศกาล ไม่ว่าจะเป็นการประกาศโปรโมชันล่วงหน้า หรือเปิดตัวสินค้าใหม่เพื่อสร้างกระแสที่น่าตื่นเต้นก่อนช่วงเทศกาลลดราคา โดยผลสำรวจพบว่า 51% ของนักช้อปช่วงเทศกาลมีพฤติกรรมการซื้อของล่วงหน้าในช่วงต้น ๆ ของการเริ่มเทศกาลลดราคา
  2. ร่วมมือกับครีเอเตอร์ ร่วมมือกับครีเอเตอร์ที่มีบุคลิกที่สอดคล้องกับตัวตนของแบรนด์ของคุณ และต่อยอดด้วยการโปรโมตช่องทางการตลาดที่มีการสร้างแบรนด์ร่วมกันกับเหล่าครีเอเตอร์เหล่านั้น
  3. ตอบสนองความต้องการแบบเฉพาะบุคคล เมื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายตามเซกเมนต์หลัก ๆ แล้ว คุณสามารถขยายกลุ่มเป้าหมายของคุณด้วยการมองหาลูกค้ารายใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ AI ในการหาลูกค้าเพิ่มเติม ผ่านการแจ้งโปรโมชัน ฯลฯ ซึ่งรายงานของ Meta ชี้ว่าการนำ AI เข้ามาหากลุ่มลูกค้าจะช่วยลดค่าโฆษณาต่อหน่วยได้

นอกจากนี้ในผลสำรวจยังพบว่า 97% ของนักช้อปชาวไทยมีโอกาสเลือกซื้อ แบรนด์ใหม่ๆ มากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว โดยหมวดหมู่สินค้ายอดนิยมที่มีโอกาสที่ผู้บริโภคไทยจะลองแบรนด์ใหม่ๆ คือ อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้าและแฟชั่น สุขภาพและความงาม การท่องเที่ยวพักผ่อน ซึ่งเจ้าของแบรนด์ในหมวดหมู่เหล่านี้อาจต้องคิดแคมเปญหรือจูงใจให้ลูกค้าใช้สินค้าหรือบริการแบรนด์ต่อไป เพราะไม่งั้นแล้วโอกาสที่เสียลูกค้าสูงมาก

]]>
1440903
บริษัททั่วโลกเริ่มลดโปรโมชั่นจูงใจลูกค้า สาเหตุคือยอดขายไม่โต คุมค่าใช้จ่าย จากสภาวะเศรษฐกิจไม่เป็นใจ https://positioningmag.com/1440001 Sun, 06 Aug 2023 15:26:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440001 บริษัททั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นค้าปลีก ไปจนถึงสายการบินหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา เริ่มที่จะลดโปรโมชั่นจูงใจลูกค้า สาเหตุสำคัญนั้นมาจากยอดขายที่เติบโตลดลงจากสภาวะเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันบริษัทเองก็ต้องควบคุมค่าใช้จ่าย

CNBC ได้รายงานว่าบริษัทหลายแห่งไม่ว่าจะเป็นค้าปลีกไปจนถึงสายการบินหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา หลายบริษัทเป็นแบรนด์ระดับโลก เริ่มลดโปรโมชั่นจูงใจลูกค้า หรือแม้แต่เริ่มหาวิธีทำให้ลูกค้าได้สิทธิประโยชน์ยากมากขึ้น เนื่องจากสาเหตุสำคัญคือมาตรการควบคุมค่าใช้จ่าย

บริษัทหลายแห่งได้เริ่มงัดมาตรการเข้มงวดไม่ว่าจะเป็น การให้สิทธิประโยชน์สำหรับลูกค้านั้นยากมากขึ้น หรือแม้แต่โปรโมชั่นสำหรับวันเกิดของลูกค้าที่หลายแบรนด์ต่างนำมาใช้ต่างก็มีเงื่อนไขที่ยุ่งยากมากขึ้น เช่น แบรนด์อย่าง Dunkin’ แต่เดิมโปรโมชั่นวันเกิดจะได้รับเครื่องดื่มฟรี แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นถ้าหากซื้อสินค้าในช่วงวันเกิดจะได้คะแนนสะสมเพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่าแทน

ทางด้านของ Sephora เองจะต้องซื้อสินค้าอย่างน้อย 25 ดอลลาร์และจะต้องอยู่ใน Loyalty Program ถึงจะได้ของขวัญวันเกิด

ร้านค้าปลีกหลายแห่ง ในรายงาน CNBC ได้ชี้ว่าตอนนี้ลูกค้าต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการคืนสินค้าหากต้องการส่งคืนเสื้อผ้า รองเท้า หรือสิ่งของอื่นๆ ที่ไม่ต้องการ แบรนด์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Urban Outfitters และ Nordstrom รวมถึง J.Crew ถ้าหากต้องการส่งคืนสินค้า ลูกค้าจะต้องออกค่าใช้จ่ายเอง จากเดิมลูกค้าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลย

นอกจากนี้หลายแบรนด์เองเริ่มต้องการที่จะหาลูกค้าที่สามารถจับจ่ายใช้สอยในช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ โดยค้าปลีกในสหรัฐฯ หลายราย ไม่ว่าจะเป็น Target หรือแม้แต่ Walmart บริษัทมอบสิทธิประโยชน์สำหรับลูกค้าที่ซื้อสินค้าบ่อยๆ หรือแม้แต่ Best Buy เองก็ได้ออกโปรแกรมสมาชิกถ้าหากจ่ายเงินสมัครก็สามารถส่งคืนสินค้าได้ฟรี หรือแม้แต่เพิ่มระยะเวลาสามารถคืนสินค้าได้ยาวถึง 60 วัน

ขณะที่สายการบินรายใหญ่ในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น American Airlines และ Delta Air Lines รวมถึง United Airlines ก็เริ่มที่จะให้ลูกค้าต้องใช้คะแนนสะสมเพิ่มมากขึ้นในโปรแกรม Royalty ต่างๆ ของแต่ละสายการบิน ซึ่งก่อนหน้านี้สายการบินเหล่านี้ต้องการดึงดูดลูกค้าไว้ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยซ้ำ

สาเหตุสำคัญที่ทำให้หลายแบรนด์ต้องเลือกวิธีการนี้คือสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มไม่เป็นใจ จากตัวเลขเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายของลูกค้านั้นเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อการตัดสินใจในการจับจ่ายใช้สอย ส่งผลทำให้ยอดขายของหลายบริษัทนั้นแทบไม่เติบโต ขณะเดียวกันการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลทำให้หลายบริษัทเองก็ต้องคุมค่าใช้จ่าย จากปัญหาต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ดีในรายงานของ CNBC ยังชี้ว่าถ้าหากหลายแบรนด์เองได้ลดโปรโมชั่นจูงใจลูกค้า ก็อาจส่งผลเสียกลับมาที่แบรนด์หรือกิจการต่างๆ ด้วยเช่นกัน

]]>
1440001
‘เซี่ยงไฮ้’ หนุนเปิดร้าน ‘ดิวตี้ฟรี’ ดันเศรษฐกิจปลอดภาษี กระตุ้นการใช้จ่ายผู้บริโภค https://positioningmag.com/1352482 Sat, 18 Sep 2021 08:52:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352482 เซี่ยงไฮ้ ประกาศสนับสนุนบริษัทต่างๆ ให้ยื่นขออนุมัติขายสินค้าดิวตี้ฟรี’  เเละเปิดร้านค้าปลอดภาษีที่สนามบิน โรงแรม ห้างสรรพสินค้าเเละพื้นที่พาณิชย์ต่างๆ

โดยเป็นส่วนหนึ่งของเเผนการบริโภค ในปี 2021-2025 ที่รัฐบาลท้องถิ่นของเซี่ยงไฮ้จะมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจปลอดภาษี (duty-free economy) เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายสินค้านำเข้าเเละสินค้าหรูที่มีการเก็บภาษีหนัก

ปัจจุบัน การใช้จ่ายซื้อสินค้าปลอดภาษีในจีน ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในมณฑลไห่หนานซึ่งในปีที่ผ่านมา ได้จำกัดการใช้จ่ายที่ยกเว้นภาษีบุคคลไม่เกินปีละ 100,000 หยวน (ราว 5.1 เเสนบาท) เพิ่มขึ้นจากเดิม 30,000 หยวน (ราว 1.5 เเสนบาท)

จีนมีการเก็บภาษีสินค้าอุปโภคบริโภคที่นำเข้าจากต่างประเทศ ในอัตราแตกต่างกัน เช่น บรรดาสินค้าหรู อย่างน้ำหอม นาฬิกา ก็มีการเก็บภาษีเกินกว่า 30%

การเก็บภาษีที่สูงมากนี้ ทำให้ชาวจีนหลายล้านคน เลือกจะเเห่กันมาช้อปปิ้งสินค้าดิวตี้ฟรีที่ห้างในมณฑลไห่หนานเเทน เเละยิ่งเจอวิกฤตโควิด-19 ที่เดินทางไปต่างประเทศลำบาก นักท่องเที่ยวจีนจำนวนมาก ก็ยิ่งพากันมาซื้อของที่ไห่หนานมากขึ้น

China Daily รายงานมูลค่ายอดขายดิวตี้ฟรีบนเกาะไห่หนาน รอบวันที่ 1 มิถุนายน 2020 ถึง 31 พฤษภาคม 2021 แตะ 4.55 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 2.22 แสนล้านบาท) เติบโตขึ้นถึง 236% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

ในจีนมีร้านค้าปลอดภาษีกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ ขายสินค้าหลากหลายตั้งแต่น้ำหอม เครื่องสำอาง ไปจนถึงเสื้อผ้าและรองเท้า โดยมีบริษัทใหญ่อย่าง China Tourism Group ครองเจ้าตลาดอยู่ ด้วยร้านค้าปลอดภาษีเกือบ 200 สาขา ทั้งนี้ ในตลาดรวมยอดการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าดิวตี้ฟรีของจีน มีมูลค่าสูงหลายหมื่นล้านหยวนต่อปี

 

ที่มา : Reuters , texasnewstoday

]]>
1352482
Shopee เตรียมบุกตลาดอีคอมเมิร์ซ ‘ยุโรป’ เล็งเปิดตัวใน ‘โปแลนด์’ https://positioningmag.com/1350787 Wed, 08 Sep 2021 07:05:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350787 อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่เเห่งอาเซียนอย่าง ‘Shopee’ (ช้อปปี้) เตรียมการสยายปีกบุกตลาดยุโรป เล็งเปิดตัวในโปเเลนด์ 

เเหล่งข่าวบอกกับ Reuters ว่า Shopee มีเเผนจะเปิดให้บริการในประเทศโปแลนด์เร็วนี้ๆ โดยกำลังอยู่ระหว่างเปิดรับสมัครพนักงานฝ่ายขาย

Shopee เป็นเเบรนด์อีคอมเมิร์ซในเครือของ Sea Limited บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของสิงคโปร์ ซึ่งมีบริการหลากหลาย ทั้งเกมออนไลน์อย่าง Garena เเละธุรกิจให้บริการทางการเงิน อย่าง AirPay, ShopeePay, SPayLater

การเปิดตัวของ Shopee ที่โปเเลนด์ จึงเป็นก้าวเเรกของการขยายตลาดอีคอมเมิร์ซในยุโรป หลังจากเคยส่ง Garena มาบุกเบิกตลาดเกมเเล้ว ได้รับกระเเสตอบรับที่ดีมาก

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Reuters เพิ่งรายงานข่าวว่า Shopee กำลังเตรียมจะเปิดตัวในอินเดียซึ่งเป็นตลาดใหญ่อันดับต้นๆ ของโลกเเละมีการเเข่งขันสูง หลังจากที่ได้ทุ่มขยายธุรกิจในโซนละตินอเมริกา มาตั้งเเต่ช่วงต้นปี

นอกจากนี้ Shopee มีเเผนจะขยายธุรกิจไปทั่วโลก เพื่อทดสอบตลาดใหม่ๆ ที่มีเเนวโน้มจะเติบโตได้ โดยมีกระเเสข่าวว่าบริษัทกำลังจะเข้าไปเปิดบริการที่อาร์เจนตินาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ทั้งนี้ Shopee เป็นผู้เล่นหลักในตลาดอีคอมเมิร์ซของภูมิภาคอาเซียน โดยมีรายได้ราว 1.2 พันล้านดอลลาร์ ในไตรมาสล่าสุดที่สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิ.. 64

ขณะที่ Euromonitor ประเมินว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซในโปแลนด์มีมูลค่า 1.6 หมื่นล้านยูโร ซึ่งยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เมื่อเทียบกับตลาดในประเทศตะวันตกอื่นๆ ที่มีเจ้าใหญ่อย่าง Amazon ครองตลาดอยู่

Amazon เองก็กำลังจะเปิดตัวที่โปแลนด์ในปีนี้ ส่วน Allegro อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดของประเทศก็กำลังพัฒนาบริการของตัวเอง เพื่อรับคู่เเข่งรายใหม่ งานนี้การที่ Shopee จะบุกเข้าตลาดโปแลนด์ได้นั้นจึงไม่ง่ายนัก

ต้องรอดูว่าการปูทางขยายธุรกิจไปยังยุโรปเเละในหลายทวีปทั่วโลกครั้งนี้ของ Shopee จะเป็นอย่างไรต่อไป…

 

 

ที่มา : Reuters , Straitstimes , Techinasia 

]]> 1350787 เพียง 3 เดือนเเรกของปีนี้ ยอดขาย ‘Hermes’ พุ่งเกือบ 44% คนรวยเอเชียทุ่มช้อปเเบรนด์หรู https://positioningmag.com/1329060 Fri, 23 Apr 2021 11:45:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329060 ‘Hermes’ เเบรนด์เเฟชั่นหรูจากฝรั่งเศส เจ้าของกระเป๋า Birkin สุดโด่งดัง ทำยอดขายในไตรมาสแรกของปี 2021 เพิ่มขึ้นสูงถึงเกือบ 44% จากพลังช้อปของเหล่าคนรวยในเอเชีย โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน หลังมีการผ่อนคลายมาตรการสกัดโรคระบาดเเละกลับมาเปิดร้านค้าได้อีกครั้ง

ความนิยมซื้อของหรูของกลุ่มคนมั่งคั่ง ไม่เเผ่วลงในช่วงวิกฤต COVID-19 โดยผลประกอบการของ Hermes ประจำไตรมาส 1/2021 เพิ่มขึ้น 43.7% ในอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่จากปี 2020 โดยสามารถรายได้รวมถึง 2,083 ล้านยูโร (ราว 7.8 หมื่นล้านบาท) ในช่วงเเค่ 3 เดือนแรกของปีนี้เท่านั้น เหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ว่าคาดจะเพิ่มขึ้น 24%

ปัจจัยที่ส่งเสริมรายได้ของ Hermes ในช่วงนี้ก็คือยอดขายในเอเชีย(ไม่รวมญี่ปุ่น) ที่เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดถึงถึง 93.6% เมื่อเทียบกับจากไตรมาสแรกของปี 2020 โดยเฉพาะยอดขายในจีน ที่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว บวกกับยอดขายที่ทรงตัวในเกาหลีใต้ ไทย สิงคโปร์ และออสเตรเลีย 

ญี่ปุ่นยังเป็นตลาดสำคัญที่เติบโตได้ดีของ Hermes โดยมียอดขายเพิ่มขึ้น 20% ส่วนยอดขายฝั่งอเมริกาก็เพิ่มขึ้นกว่า 24% ช่วยชดเชยยอดขายที่ลดลงในตลาดยุโรป ที่เพิ่มขึ้นเพียงแค่ 4.4% เพราะยังต้องเผชิญกับการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาระลอกใหม่

โดยสินค้าขายดีที่สุดของเเบรนด์ Hermes เป็นกลุ่มเครื่องหนัง , เสื้อผ้า Ready-to-Wear และผ้าไหม 

Eric du Halgouët ผู้บริหารระดับสูงของ Hermes ยืนยันว่า การเติบโตของยอดขายในไตรมาสดังกล่าวไม่ใช่แรงหนุนจาก ‘ราคาที่เเพงขึ้นเพราะบริษัทมีการปรับราคาขึ้นเพียง 1.4%ในปีนี้

ยอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้น 100% หรือมากกว่านั้นในทุกภูมิภาค และมีแนวโน้มที่จะเกิน 1 พันล้านยูโรในไม่ช้า

ยอดขายที่เพิ่มขึ้นของแบรนด์แฟชั่นไฮเอนด์ต่างๆ ชี้ให้เห็นถึงสัญญาณการกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งของกลุ่มสินค้าลักชัวรี โดยคู่แข่งอย่าง LVMH และ Kering ก็มีรายได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตามองปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในวิกฤตนี้ เช่นในญี่ปุ่นที่ COVID-19 กำลังกลับมาระบาดรุนเเรงอีกครั้ง

 

 

ที่มา : Reuters , wwd 

]]>
1329060
มองอนาคต Uniqlo ในจีน “โตเร็ว” มีร้านค้าแซงญี่ปุ่น รุกโมเดลธุรกิจใหม่ ขยายได้ถึง 1,300 สาขา https://positioningmag.com/1301218 Mon, 12 Oct 2020 16:10:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301218 Uniqlo ฟาสต์แฟชั่นยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น เติบโตได้สวยในการตีตลาดจีน มองอนาคตสามารถขยายสาขาได้ถึง 3,000 แห่ง สวนทางเเบรนด์เสื้อผ้าอื่นๆ ที่ทยอยใช้นโยบายปิดสาขา

ย้อนกลับไป Uniqlo เริ่มขยายสาขาไปต่างประเทศครั้งเเรก หลังเหตุวินาศกรรม 9/11 โดยเปิดสาขาเเรกนอกญี่ปุ่นที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จากนั้นเพียง 1 ปีก็บุกไปจีนเเละมีสาขาแรกอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ 

วันนี้ Uniqlo ในประเทศจีน ขยายตัวเร็วมากมีจำนวนแซงหน้าญี่ปุ่นไปเรียบร้อย โดยมีอยู่ทั้งสิ้น 767 สาขา มากกว่าประเทศบ้านเกิดที่มีอยู่ 764 สาขา โดยจำนวนร้านค้าในเเดนมังกรเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับจำนวนร้าน  387 สาขาที่มีในเดือนสิงหาคม 2015

การที่ Uniqlo มีการขยายหน้าร้านไปถึง 7 แห่งตามภูมิภาคต่างๆ ในจีน ตั้งเเต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า บริษัทกำลังพึ่งพาตลาดจีนมากขึ้นในยามวิกฤต COVID-19 ซึ่งจีนเป็นประเทศเเรกที่มีการเเพร่ระบาดเเละมีการควบคุมโรคได้ดี

Fast Retailing บริษัทเเม่ของ Uniqlo กำลังเร่งกลยุทธ์สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ในจีนด้วยการรวมแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเข้ากับการขายที่สาขา ให้สามารถส่งออกสินค้ากลับไปยังญี่ปุ่นได้

เเม้จีนจะเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก เป็นตลาดใหญ่ที่สุดของ Uniqlo เเต่บางครั้งปัญหาความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างสองประเทศนี้ก็สร้างความเสี่ยงให้ธุรกิจไม่น้อย

ด้วยตลาดที่มีประชากรมากถึง 1.3 พันล้านคน เราคิดว่า  Uniqlo สามารถขยายสาขาได้ถึง 3,000 แห่ง  Tadashi Yanai ผู้ก่อตั้งเเละประธานของ Fast Retailing กล่าวกับ Nikkei Asian Review

Uniqlo ให้ความสำคัญในการตีตลาดจีนมากขึ้น ดูจากยอดขายในจีนเมื่อรวมกับฮ่องกงและไต้หวันที่สร้างรายได้กว่า 5.025 แสนล้านเยน (ราว 1.48 แสนล้านบาท) สำหรับปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2019 คิดเป็นสัดส่วนรายได้ถึง 20% แม้ยอดขายจะน้อยกว่าในญี่ปุ่นที่ทำได้ 8.729 แสนล้านเยน หรือ 2.56 แสนล้านบาท เเต่ก็เป็นการเติบโตที่มีนัยสำคัญ

โดยกลุ่มประเทศที่พูดภาษาจีนมีการขยายตัวที่รวดเร็ว ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จนถึงเดือนสิงหาคม 2019 มีอัตราการเติบโตต่อปีที่ 15% มากกว่าญี่ปุ่นถึง 3% ดังนั้นจึงมีการประเมินว่ายอดขายในจีนจะเเซงยอดขายในญี่ปุ่นได้ ในช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2024 

นักช้อปชาวจีนยังรับสินค้าราคาสูงได้ค่อนข้างดี และยังตอบรับอีคอมเมิร์ซได้ดีอีกด้วย โดยชาวจีนนิยมซื้อสินค้าออนไลน์ประมาณ 20% ของยอดขายในจีนของ Fast Retailing ในปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2019 เติบโตขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับญี่ปุ่น

Tadashi Yanai มองว่า หากบริษัทใช้กลยุทธ์เชื่อมอีคอมเมิร์ซกับหน้าร้านที่มีอยู่ได้ทั้งหมด จะทำให้ยอดขายพุ่งสู่ 2 ล้านล้านเยน (ราว 5.86 แสนล้านบาท) ได้ภายในหนึ่งปี จากที่ก่อนหน้านี้ บริษัทเคยประเมินว่ายอดขายจะมากถึง 1.99 ล้านล้านเยน ภายในสิ้นสิงหาคม 2020

Tadashi Yanai
Photo : Getty Images

รูปแบบการเชื่อมธุรกิจออฟไลน์ออนไลน์เเบบไร้รอยต่อของ Fast Retailing ในจีน เรียกว่าเป็นกลยุทธ์ Information-driven manufacturer-retailer (ข้อมูลข่าวสารขับเคลื่อนการผลิตและค้าปลีกซึ่งตลาดจีนน่าจะเป็นกุญเเจสำคัญเพราะจีนเป็นผู้นำในด้านอีคอมเมิร์ซและระบบการชำระเงินที่ก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นไปมาก

โดยสาขาในจีนนั้นมีการสั่งออเดอร์ออนไลน์มากขึ้น รวมถึงลูกค้ามีส่วนร่วมในเเคมเปญโซเชียลมีเดีย ขณะที่ในบ้านเกิดอย่างญี่ปุ่น ยังประสบปัญหาแพลตฟอร์มออนไลน์ออฟไลน์ของ Uniqlo ยังไม่เชื่อมโยงกันได้ดีเท่าไหร่นัก

อย่างไรก็ตาม การพึ่งพาจีนเกินไปของ Uniqlo ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่มาก หลังในปี 2012 บริษัทต้องปิดชั่วคราวเกือบครึ่งหนึ่งเมื่อเกิดเหตุพิพาทพรมแดนรวมถึงเรื่องโลโก้ที่ไม่สามารถนำมาใช้ในจีนได้จากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ไม่เเน่นอนนี้

เเม่ทัพของ Fast Retailing ก็ยอมรับว่าบริษัทต้องสร้างสมดุลและไม่พึ่งพาจีนมากเกินไป

 

ที่มา : Nikkei Asian Review (1) (2) , WSJ

]]> 1301218 “สยามพิวรรธน์” ปรับรับอีเวนต์หด เปิดพื้นที่ให้ขายของฟรี กระตุ้นใช้จ่ายเเบบไทยช่วยไทย https://positioningmag.com/1281010 Thu, 28 May 2020 11:21:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281010 ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ห้างสรรพสินค้ากลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง พร้อมกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป

“สยามพิวรรธน์” เผยทราฟฟิกกลับมา 50% กลุ่มนักท่องเที่ยวยังต้องรออีกเป็นปี ด้าน “พารากอน ฮอลล์” เจอหนัก อีเวนต์หด รายได้หาย ปรับกลยุทธ์โฟกัสงานในประเทศ ประเดิมเปิดพื้นที่ให้ “ขายของฟรี” กระตุ้นลูกค้าใช้จ่ายเเบบ “ไทยช่วยไทย”

พฤติกรรม “คนเดินห้าง” ไม่เหมือนเดิม

“หลังจากกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งช่วง 2 สัปดาห์เเรก พบว่าลูกค้ามาเดินห้าง เฉลี่ยไม่เกินคนละ 2 ชั่วโมง เเละมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปคือ มาเเเบบมีจุดประสงค์เเน่ชัดหรือมาเพื่อซื้อสินค้าที่ต้องการจริงๆ เเล้วรีบกลับบ้าน ต่างจากเดิมที่มาเดินห้างเพื่อพักผ่อนหรือมาเดินเที่ยวเพื่อใช้ชีวิตทั้งวัน”

ชนิสา แก้วเรือน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท สยามพิวรรธน์ กล่าวอีกว่า หลังจากปลดล็อกดาวน์เฟส 2 ให้ธุรกิจค้าปลีกกลับมาเปิดบริการได้แล้วตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา ในส่วนของสยามพิวรรธน์ ที่บริหารสยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ สยามพารากอน และไอคอนสยาม ผู้คนเริ่มกลับมาบ้างเเล้ว เเต่ทราฟฟิกยังไม่กลับมาเท่าเดิม “หายไปเกินครึ่ง” เนื่องจากมาตรการต่างๆ ของรัฐยังเข้มงวดอยู่ โดยลูกค้าตอนนี้จะกลับมาอยู่ที่ราว 50% จากปกติที่กลุ่มวันสยามเคยมีลูกค้าประมาณ 2.5 เเสนคนต่อวัน ที่ไอคอนสยามประมาณ 8 หมื่นคนต่อวัน

“ลูกค้านักท่องเที่ยวต่างประเทศยังไม่สามารถกลับมาได้ มีเพียงชาวต่างชาติที่ทำงานในไทยเท่านั้นที่ออกมาเดินห้าง คงต้องรอถึงช่วงปลายปีอาจจะกลับมาได้ 20-30% จากปกติ เเละต้องรอลุ้นกันยาวถึงปีหน้า ซึ่งไม่ว่าอย่างไรก็ไม่สามารถกลับมาได้ถึงระดับปกติ ตอนนี้เราจึงต้องส่งเสริมกิจกรรมภายในประเทศมากขึ้น”

ทั้งนี้ ที่ผ่านมากลุ่มนักท่องเที่ยวถือเป็นลูกค้าหลักของเครือสยามพิวรรธน์เพราะคิดเป็น 30-40% ของจำนวนลูกค้าทั้งหมด

ส่วนกลุ่มสินค้าที่ขายดีช่วงนี้จะเป็นกลุ่มของ เครื่องใช้ไฟฟ้า ความงาม สุขภาพ และเครื่องใช้ในบ้าน สำหรับธุรกิจร้านอาหารนั้นกลับมาเปิดบางส่วน แต่คาดว่าหลังจากที่ปลดล็อกเฟส 3 ทุกอย่างจะกลับมาเปิดบริการได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้

“ตอนนี้ร้านค้าต่างๆ ในห้างฯ ของเครือสยามพิวรรธน์ ได้เปิดให้บริการเเล้วราว 90% มีบางส่วนที่เหลือยังติดปัญหาเรื่องพนักงานซึ่งต้องกักตัวหลังกลับมาจากต่างจังหวัด คาดว่าในเดือน มิ.ย.จะสามารถเปิดได้เต็ม 100% เเละยังไม่มีร้านใดปิดตัวไป”

ช่วงก่อนหน้าที่จะกลับมาเปิดห้างฯ “ชฎาทิพ จูตระกูล” ซีอีโอแห่งกลุ่มสยามพิวรรธน์ ให้สัมภาษณ์ถึงการรับมือวิกฤต โดยมองว่าช่วงเดือน มิ.ย. – ส.ค.หากรัฐเริ่มคลายล็อกดาวน์ ทั้งทราฟฟิกลูกค้าและรายได้ศูนย์การค้าจะยังไม่สูง คาดว่าจะอยู่ที่ 30-40% ของปกติ และจะทยอยดีขึ้นตามลำดับ

สำหรับภาพรวมทั้งปี 2563 รวมผลกระทบที่ต้องปิดห้างฯ เกือบ 2 เดือน และระยะฟื้นตัว มองว่าธุรกิจศูนย์การค้ารวมร้านค้าภายในทั้งประเทศจะสูญเสียรายได้ 50% จากทั้งธุรกิจที่เคยทำรายได้ให้ประเทศ 1.75 แสนล้านบาทต่อปี

อ่านต่อ : “ชฎาทิพ” แห่ง “สยามพิวรรธน์” ตอบชัด 4 ประเด็น พร้อมเปิดประตูห้างฯ ในยุค New Normal

ชนิสา แก้วเรือน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท สยามพิวรรธน์ (ซ้าย) กฤษณา จรรยาสกุลวงศ์ ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มบริหารงานขายเเละการตลาด บริษัทสยามอัลไลเเอนซ์ เเมเนจเม้นท์ (ขวา)

พารากอน ฮอลล์ : คอนเสิร์ต-อีเวนต์หาย มุ่งรับงานคนไทย 

ด้านธุรกิจอีเวนต์ นับว่าต้องเจอผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 เเบบ “หนักหนาสาหัส” ทีเดียว เนื่องจากต้องงดจัดงานที่เป็นการชุมนุมของคนหมู่มากเเละยังไม่มีทางออกของสถานการณ์เเน่ชัด ทำได้เเค่ “ยกเลิกหรือเลื่อน”

กฤษณา จรรยาสกุลวงศ์ ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มบริหารงานขายเเละการตลาด บริษัทสยามอัลไลเเอนซ์ เเมเนจเม้นท์ เปิดเผยว่า “รอยัล พารากอน ฮอลล์” ได้รับผลกระทบโดยตรง ถือว่าหนักที่สุดตั้งเเต่เปิดมา เพราะไม่มีรายได้เลยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ลูกค้าส่วนใหญ่ขอเลื่อนไปจัดช่วงปลายปี คือไตรมาส 3-4 เเละช่วงต้นปีหน้า

“ส่วนใหญ่ขอเลื่อนมากกว่ายกเลิก ซึ่งบอกจำนวนเเน่ชัดไม่ได้ เพราะยังไม่มีความเเน่นอนโดยเฉพาะลูกค้าต่างประเทศที่ต้องคอยดูสถานการณ์ มาตรการภาครัฐเเละการเปิดประเทศที่ยังไม่สามารถกำหนดช่วงเวลาได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญว่าจะเลือกจัดหรือไม่จัดอีเวนต์”

สำหรับ “รอยัล พารากอน ฮอลล์” เปิดพื้นที่ให้จัดงานประชุม คอนเสิร์ตและอีเวนต์ต่างๆ ราว 80-90 งานต่อปี โดยงานยอดนิยมที่สุดจะเป็นงานคอนเสิร์ตเเละการจัดนิทรรศการ (Exhibition) อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน เพราะคอนเสิร์ตจะจัดวันสุดสัปดาห์ ส่วนนิทรรศการจะจัดช่วงวันธรรมดา

ในระหว่างที่ยังไม่เปิดให้มีการจัดงานอีเวนต์ ทีมงานมีการปรับตัวเพื่อลดค่าใช้จ่ายเเละเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ดูเเลเเละปรับปรุงพื้นที่ให้เข้ากับมาตรการควบคุมโรค คิดหาเเนวทางเพื่อให้ผู้ใช้บริการอุ่นใจเพื่อรองรับการกลับมาอีกครั้ง

มาตรการรักษาความสะอาดปลอดภัยในสยามพารากอน

“เเผนของเราคือในช่วง 6 เดือนนี้จะโฟกัสกับงานในประเทศ กระตุ้นให้คนไทยช่วยคนไทย ประเดิมด้วยการจัดงานฟรี เปิดให้ SMEs มาขายของโดยไม่คิดค่าพื้นที่ มุ่งจัดอีเวนต์ให้ลูกค้าคนไทยก่อน จากนั้นช่วงต้นปี 2564 หากมีการเปิดบินระหว่างประเทศ ก็จะขยายไปหาลูกค้าในเอเชีย เเละถัดไปอีกปีจะขยายฐานลูกค้าไปทั่วโลก ตามที่เคยวางเป้าหมายไว้ก่อนเกิดวิกฤต”

ด้านสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) เผยผลสำรวจทางธุรกิจพบว่า หากรัฐบาลปลดล็อกดาวน์ ผู้ประกอบการจะสามารถจัดงานได้ไม่ต่ำกว่า 900 งาน ทั้งในส่วนของงานประชุมสัมมนา (Meeting & Incentive) การประชุมอบรม (Convention) งานแสดงสินค้าและนิทรรศการ (Exhibition) การจัดงานอีเวนต์ส่งเสริมธุรกิจ และสร้างงานให้กับอุตสาหกรรมไมซ์ภายในประเทศราว 7 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าในการผลักดันเศรษฐกิจ สร้างรายได้เข้าประเทศไทยเป็นกว่า 35,000 ล้านบาท ระหว่างเดือน มิ.ย. 2563 ถึง เดือน มี.ค. 2564

กระตุ้นใช้จ่าย “ไทยช่วยไทย” เปิดพื้นที่ให้ขายของฟรี 

จากเเผนที่จะฟื้นเศรษฐกิจในประเทศเเบบ “ไทยช่วยไทย” นำมาสู่โครงการที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยจะมีการนำพื้นที่จัดงานอีเวนต์ของพารากอน ฮอลล์ (ที่ว่างอยู่) เเละภายให้ห้างฯ ของเครือสยามพิวรรธน์ มาจัดแคมเปญ “I Love Siam-Smile Together” เพื่อช่วยเหลือผู้ว่างงานและผู้ประกอบกการที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยของที่คนไทยผลิต เป็นการนำโมเดลธุรกิจรีเทลใหม่ที่เรียกว่า “ระบบนิเวศค้าปลีก” มาสร้างการค้าเชื่อมโยงระหว่างผู้ขายเเละผู้ซื้อ ซึ่งจะมีการนำร่องใน 4 โครงการหลัก ได้เเก่

1.ตลาดนัดยิ้มสยาม : เปิดพื้นที่ รอยัล พารากอน ฮอลล์ และทรูไอคอน ฮอลล์ รวม 10,000 ตารางเมตร จัดกิจกรรม ‘ตลาดนัดยิ้มสยาม’ ร่วมกับพันธมิตร ให้พนักงานและผู้ประกอบการจากทั่วประเทศที่รับกำลังเดือดร้อนจากวิกฤตครั้งนี้ มาจำหน่ายสินค้า โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่ วันที่ 24 – 28 มิ.ย. ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ และวันที่ 1 – 5 ก.ค. 2563 ณ ทรูไอคอน ฮอลล์ อย่างไรก็ตาม วันและเวลาอาจมีเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับมาตรการผ่อนปรนของรัฐบาล

“ด้วยมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม การจัดบูธก็ต้องมีการเว้นพื้นที่จากเดิมพารากอนฮอลล์ รองรับผู้ประกอบการได้ 400 ร้านก็จะเหลือ 120 ร้าน ส่วนทรูไอคอนก็จะเหลือประมาณ 90 ร้าน ขณะที่จำนวนผู้บริโภคที่จะเข้ามาร่วมงาน ตอนนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ โดยรวมทราฟฟิกของห้างลดลง 50% สัดส่วนร่วมงานก็น่าจะลดลงกว่านี้มาก เพราะต้องมีมาตรการการคัดกรองต่างๆ ด้วย”

สำหรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาร้านที่จะเข้ามาเปิดขายครั้งนี้ จะต้องเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ หรือผู้ที่ตกงานจาก COVID-19 ไม่จำกัดหมวดสินค้า เเต่ต้องเป็นสินค้าที่ถูกกฎหมาย มีคุณภาพ ราคาเป็นธรรม โดยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line @RoyalParagonHall เเละ @TrueconHall

2. Siam Smile Space : เปิดพื้นที่ทำงานให้ทุกคนมาทำงานแบบ co-working space ในศูนย์การค้าในเครือสยามพิวรรธน์ อย่างสยามดิสคัฟเวอรี่ สยามเซ็นเตอร์ และไอคอนสยาม ได้ฟรี มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สาย Wifi และอุปกรณ์ไฟฟ้า พร้อมมาตรการดูแลสุขอนามัยขั้นสูงสุด เริ่มเปิดให้ใช้พื้นที่ได้ในเดือน มิ.ย. 2563 เป็นต้นไป

3.โครงการฟื้นใจไทย : เปิดพื้นที่ให้จำหน่ายสินค้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ตั้งแต่เปิดเมืองสุขสยาม ถึงวันที่ 15 มิ.ย. 2563 รองรับ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มบุคคลทั่วไปหรือนักธุรกิจ กลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน อัตลักษณ์ไทยจาก 77 จังหวัด และกลุ่มเกษตรกรผลไม้คุณภาพจากสวนดัง และเกษตรกรไทยดีเด่น แบ่งจำหน่ายรอบละ 7-10 วัน หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันใน 3 พื้นที่ คือ บริเวณธนบุรีดีไลท์, ลานเมือง 1 และ ลานเมือง 2 จัดตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค. ถึง 30 มิ.ย. 2563 เมืองสุขสยาม ณ ไอคอนสยาม ชั้น G

4. ไทยช่วยไทย ยิ้มไปด้วยกัน : เป็นความร่วมมือของสยามพิวรรธน์ร่วมกับหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จัดมหกรรมผลไม้ 5 ภาค และของใช้อุปโภคบริโภคซึ่งเป็นของดีประจำจังหวัด ส่งตรงจากชาวสวน และผู้ผลิตจากทั่วประเทศไทย มาจำหน่ายบนพื้นที่ของศูนย์การค้าในเครือสยามพิวรรธน์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย จัดขึ้นในเดือน ก.ค. 2563 ณ ลานพาร์คพารากอน สยามพารากอน

“เราต้องช่วยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการอยู่ได้ก่อน เพราะถ้าพวกเขารอด เราก็รอด เศรษฐกิจก็จะฟื้นตัวได้อีกครั้ง คนไทยต้องช่วยกันให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปให้ได้” ผู้บริหารกลุ่มสยามพิวรรธน์กล่าว

]]>
1281010