startup – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 15 Jan 2024 00:52:15 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 นักลงทุนสหรัฐฯ อัดฉีดเงินเข้าสตาร์ทอัพลดลงเกือบ 30% ในปี 2023 แม้ AI จะเป็นกลุ่มดึงดูดเม็ดเงินก็ตาม https://positioningmag.com/1458718 Sun, 14 Jan 2024 16:47:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458718 ปี 2023 นั้นอาจเป็นปีที่ไม่ค่อยดีมากนักสำหรับสตาร์ทอัพ เนื่องจากนักลงทุนสหรัฐฯ อัดฉีดเงินเข้าสตาร์ทอัพลดลงเกือบ 30% สาเหตุสำคัญคือต้นทุนทางการเงินจากการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา แม้ว่าในปีที่ผ่านมาเทคโนโลยี AI จะเป็นกลุ่มที่ดึงดูดเม็ดเงินก็ตาม

สำนักข่าว Reuters ได้รายงานข่าว โดยอ้างอิงรายงานข้อมูลจาก PitchBook ว่า เม็ดเงินของนักลงทุนในสหรัฐอเมริกาที่อัดฉีดเข้าไปยังสตาร์ทอัพในปี 2023 นั้นลดลงมากถึงเกือบ 30% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีที่น่าสนใจอย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่กำลังได้รับความสนใจก็ตาม

เม็ดเงินลงทุนในสตาร์ทอัพที่นักลงทุนสหรัฐฯ ได้ใส่เงินลงไปในปี 2023 อยู่ที่ 170,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 242,00 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ในปี 2021 นั้นอยู่ที่ 348,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ข้อมูลจาก PitchBook ยังชี้ว่าในปี 2023 นั้นบริษัทร่วมลงทุน (VC) ได้มีการระดมทุนมากถึง 67,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งลดลงจากปี 2022 ถึง 60% ซึ่งเม็ดเงินระดมทุนดังกล่าวถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เม็ดเงินลงทุนนั้นลดลงอย่างรวดเร็วคือต้นทุนการเงินของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มสูงขึ้นจากการประกาศขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทำให้อัตราดอกเบี้ยนั้นสูงเกิน 5%

ผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยที่สูงในสหรัฐอเมริกาไม่ใช่แค่ทำให้เม็ดเงินไหลเข้าสตาร์ทอัพลดลงเท่านั้น แต่ยังทำให้หลายสตาร์ทอัพต้องปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ธุรกิจสามารถเลี้ยงตัวเองได้ หรือแม้แต่มาตรการอย่างการปลดพนักงาน

อย่างไรก็ดีในปี 2023 นั้นเทคโนโลยีที่น่าสนใจมากที่สุดก็คือ AI ซึ่งเป็นผลจากความโด่งดังของเจ้าของ ChatGPT อย่าง OpenAI เป็นผลทำให้เม็ดเงินนั้นยังเข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดังกล่าว โดยรายงานของ PitchBook ชี้ว่า 1 ใน 3 ของสตาร์ทอัพเหล่านี้นักลงทุนในสหรัฐอเมริกาได้หว่านเม็ดเงินลงทุนลงไปด้วย

โดยดีลที่ใหญ่ที่สุดในปี 2023 ของสตาร์ทอัพเกิดขึ้นกับบริษัทด้าน AI อย่าง OpenAI และ Anthropic ซึ่งเม็ดเงินที่ลงทุนใน 2 บริษัทดังกล่าวนี้คิดเป็น 10% ของการลงทุนรวมในสตาร์ทอัพของนักลงทุน

]]>
1458718
สตาร์ทอัพสหรัฐฯ ไอเดียดี เตรียมเปิดตัวกาแฟไร้เมล็ด ลดการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อปลูกต้นกาแฟ https://positioningmag.com/1446831 Thu, 05 Oct 2023 07:35:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446831 Atomo Coffee สตาร์ทอัพจากสหรัฐอเมริกา เตรียมเปิดตัวกาแฟไร้เมล็ด โดยผลิตมาจากส่วนประกอบหลายชนิต มีรสชาติแทบจะเหมือนกาแฟทุกประการ โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวผลิตเพื่อลดการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อปลูกต้นกาแฟ รวมถึงลดปัญหาโลกร้อน

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า Atomo Coffee สตาร์ทอัพจากเมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา เตรียมที่จะเปิดตัวกาแฟไร้เมล็ด โดยจุดประสงค์หลักคือลดการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการปลูกต้นกาแฟ หลังความต้องการกาแฟเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ

ส่วนผสมของกาแฟไร้เมล็ดที่บริษัทผลิตออกมานั้นประกอบไปด้วยน้ำมันสะกัดจากดอกทานตะวัน อินทผลัม กาเฟอีน ฟีนูกรีกหรือลูกซัดที่สกัดเอาไขมันออกไป เป็นต้น ซึ่งรสชาตินั้นผู้ผลิตได้กล่าวว่าแทบเหมือนกาแฟเกือบทุกประการ เนื่องจากผลิตโดยใช้โครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกัน

Andy Kleitsch ซึ่งเป็น CEO และผู้ร่วมก่อตั้งของ Atomo Coffee ได้กล่าวว่า “กาแฟทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าในแต่ละวัน โดยในแต่ละวันมีการตัดไม้ทำลายป่า 10 เท่าของขนาดของ Central Park ใน New York ซึ่งถือเป็นอัตราที่น่าตกใจ

การตัดไม้ทำลายป่าถือเป็นสาเหตุสำคัญอันดับ 2 ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามหลังจากการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล และจากการศึกษาพบว่าภายในปี 2050 พื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งที่ใช้ปลูกกาแฟในปัจจุบันอาจไม่สามารถผลิตเม็ดกาแฟออกมาได้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ไม่เพียงเท่านี้ ปริมาณฝนที่ตกหนักจากสภาวะโลกร้อนก็ส่งผลทำให้การเก็บเกี่ยวเมล็ดกาแฟนั้นทำได้ลดลง ส่งผลทำให้เมล็ดกาแฟมีราคาแพงมากขึ้น

นอกจากนี้บริษัทกล่าวว่ากาแฟไร้เมล็ดของบริษัทช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 93% และใช้น้ำน้อยกว่ากาแฟทั่วไปถึง 94%

โดยผลิตภัณฑ์กาแฟไร้เมล็ดของบริษัทจะเจาะไปยังกลุ่มลูกค้าร้านกาแฟเป็นหลักก่อน และบริษัทกำลังเจรจากับบริษัทผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ของโลกบางรายในการผลิตสินค้าเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดหลังจากนี้

Atomo Coffee ได้รับเงินลงทุนมากถึง 51.6 ล้านเหรียญสหรัฐ และนักลงทุนบางส่วนเคยเป็นนักลงทุนผู้อยู่เบื้องหลังบริษัทอย่าง Beyond Meat ด้วย โดยนักลงทุนเหล่านี้หวังว่ากาแฟไร้เมล็ดจากผู้ผลิตรายนี้จะได้รับความนิยมในท้ายที่สุด

]]>
1446831
คุยกับ ‘ผอ. NIA’ ถึงวงการ ‘สตาร์ทอัพไทย’ ในยุคที่มีแต่ ‘FinTech’ ทั้งที่เป็นประเทศเกษตรกรรม https://positioningmag.com/1441348 Thu, 17 Aug 2023 04:41:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441348 หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ NIA หรือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หน่วยงานที่คอยให้การสนับสนุนสตาร์ทอัพ, SMEs หรือ Social Enterprise ที่มีนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ ซึ่ง NIA เพิ่งได้ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA คนล่าสุด ที่จะมาฉายภาพของวงการสตาร์ทอัพไทยในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร จุดไหนที่ยังต้องเสริมความแข็งแรง และทิศทางของ NIA จากนี้จะเป็นอย่างไร

สตาร์ทอัพไทยดูเงียบ ๆ

สตาร์ทอัพไทยเกิดใหม่เพิ่มขึ้นมาทุกปี โดยเฉพาะในช่วงโควิดก็มีเกิดใหม่เพิ่มมากขึ้น เพราะคนทยก็คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี ซึ่งจากการการจัดอันดับ Global Startup Ecosystem Index 2023 โดย StartupBlink กรุงเทพฯ เติบโตอย่างก้าวกระโดดขยับขึ้น 25 อันดับ เป็นที่ 74 ของโลก แซงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย (อันดับ 87) มาเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน โดยปัจจุบันสตาร์ทอัพไทยมีประมาณ 2,000 กว่าราย โดยในปีหน้าคาดว่าจะแตะประมาณ 3,000 ราย

อย่างไรก็ตาม จำนวนของสตาร์ทอัพนั้นไม่สำคัญเท่ากับการอยู่รอดและเติบโต ซึ่งปัจจุบันไทยเองก็มีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นอยู่บ้าง ทั้งสายของ FinTech สายโลจิสติกส์ ซึ่ง NIA ก็อยากจะมีจำนวนของสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นในไทยให้มากขึ้น แต่การจะสร้างยูนิคอร์นได้หนีไม่พ้นการสนับสนุนจากบริษัทขนาดใหญ่ หรือ VC CVC ขนาดใหญ่ ที่จะลงเม็ดเงินเพื่อให้เขากลายเป็นยูนิคอร์นแล้วก็หาตลาด ช่วยในการ penetrate ตลาด

“สตาร์ทอัพมันไม่ใช่ Number of Game ไม่ใช่ว่าจำนวนมากมันจะดี ปัญหามันคือ สตาร์ทอัพที่มีอยู่มีการเติบโตอย่างไร นั่นคือสิ่งที่อยากจะมุ่งเน้นด้วย”

FinTech เยอะ ทั้งที่เป็นประเทศเกษตรกรรม

เซกเมนต์ที่สตาร์ทอัพไทยมีเยอะที่สุดก็คือ FinTech ยิ่งโควิดมายิ่งเติบโตจนบางทีก็แข่งกันเอง ดังนั้น NIA เลยอยากจะเน้นใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ เกษตร อาหาร การแพทย์ ท่องเที่ยว พลังงานและสิ่งแวดล้อม อีกส่วนหนึ่งก็คือ เรื่องเกี่ยวกับ Soft Power อย่าง AgriTech (สตาร์ทอัพด้านการเกษตร) ซึ่งในไทยมีแค่ 53 ราย น้อยมาก แล้วอยู่ใน Seed Stage เยอะด้วย

ที่น่าแปลกใจคือ คนที่จบด้านการเกษตรมามีไม่น้อย โดยเฉพาะในแวดวงวิชาการเยอะมาก แต่ปัญหาคือ เขาอาจต้องเพิ่ม Entrepreneurship Mindset เข้าไปเพื่อสร้างให้เขาเป็นผู้ประกอบการ เพราะส่วนใหญ่เขาเรียนจบมาหางานทำเลย ไม่ได้คิดจะทำธุรกิจ อีก pain point ก็คือ เกษตรกรยังไม่ค่อยมีความรู้ด้านเทคโนโลยี ทำให้เกษตรกรยังไม่เข้าใจในเซอร์วิสของสตาร์ทอัพ นี่ก็เป็นโจทย์ของ NIA ในการแมตช์สตาร์ทอัพกับเกษตรกร

FinTech นี่น่าจะคิดเป็นครึ่งหนึ่งของสตาร์ทอัพไทย ส่วนหนึ่งมองว่ามันน่าจะทำง่ายกว่า สเกลได้ไวที่สุด แต่เกษตรกว่าจะสเกลได้ต้องพยายามใช้คนในพื้นที่ช่วยนะ มีข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง ดังนั้น ไม่แปลกใจหรอกทำไมเราเห็น FinTech เยอะสุด”

อยากให้สตาร์ทอัพไทยเป็นตัวเลือกแรกของรัฐ-เอกชน

การสนับสนุนสตาร์ทอัพขององค์กรใหญ่มี 3 มิติ ได้แก่ สร้างบริษัทลูกขึ้นมาเป็นสตาร์ทอัพ, เอาเม็ดเงินเข้ามาลงทุนเพื่อ take หุ้น หรือ ช่วยในเรื่องของการเป็นสร้าง brotherhood ทำตลาด สร้างตลาด และเอาเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าด้านไหนก็เป็นประโยชน์ ช่วยให้ระบบนิเวศนวัตกรรมของสตาร์ทอัพดีขึ้นแน่นอน

อย่างไรก็ตาม เราอยากให้ทั้งองค์กรใหญ่และภาครัฐ ให้ความสำคัญกับการเลือกสตาร์ทอัพไปใช้งานก่อนจะใช้องค์กรใหญ่ โดยเฉพาะภาครัฐที่ใช้งานสตาร์ทอัพไทยน้อยมาก ซึ่งต้องยอมรับว่า ถ้าเขียน TOR ตามปกติหน่วยงานรัฐ โดยทั่วไปสตาร์ทอัพเข้าไม่ได้ เพราะเขาไม่มีประสบการณ์ ดังนั้น อยากให้มีกระบวนการพิเศษในการที่จะส่งเสริมสตาร์ทอัพให้สามารถมาใช้บริการอื่น ๆ Government for Startup พวกนี้

“ไม่ค่อยเห็นภาครัฐใช้งานสตาร์ทอัพ ตัวอย่างชัด ๆ มีแค่ QueQ ไปใช้กับโรงพยาบาล ใช้กับการจองวัคซีน เข้าชมอุทยาน แต่เราอยากมีแบบนี้มากขึ้น”

อยากเห็นการสนับสนุนอะไรจากรัฐบาลใหม่

อยากเห็นการสนับสนุนที่เป็นในทิศทางเดียวกัน เพราะตอนนี้มันมีหลายหน่วยงานซึ่งอาจจะต้องมาร้อยเรียงกัน เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการทั่วไปว่า แต่ละคนมีบทบาทเสริมหนุนกันยังไงบ้าง ต้องไม่ซ้ำซ้อนกันแต่เสริมกันได้ แล้วก็ต้องการให้ตัวนโยบายของรัฐบาลใหม่ ให้ความสำคัญกับธุรกิจนวัตกรรมมากขึ้น แล้วก็ส่งเสริมให้มีตลาดของภาครัฐมากขึ้นอย่างที่บอก

อีกส่วนคือ ข้อกฎหมายหลาย ๆ ตัวที่เป็นปัญหา สำหรับผู้ประกอบการนวัตกรรมที่อยากให้ปลดล็อกมากขึ้น ปัจจุบัน NIA เสนอไปแล้วคือ ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ ร่าง พ.ร.บ. สตาร์ทอัพ ซึ่งตอนนี้อยู่ในกระบวนการพิจารณาของกฤษฎีกา

อีกข้อคือ กฎหมายเกี่ยวกับเรื่องของหุ้น โดยเฉพาะตัว ESOP (Employee Stock Ownership Plan) เพราะเขาอยากให้มีหุ้นที่เขาสามารถที่จะไปปล่อยออกไปได้ง่ายขึ้น แล้วก็โฟลว์กลับมาได้ง่ายขึ้น ซึ่งอันนี้ในตัวของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมีข้อจำกัด แล้วอีกส่วนหนึ่งที่อยากจะทำให้สตาร์ทอัพ คือเรื่องของ ภาษี Tax Income ที่ควรจะต้องมี เรทพิเศษ เพื่อที่จะกระตุ้นให้สตาร์ทอัพสามารถที่จะเติบโตได้

จะได้เห็นอะไรใหม่ ๆ จาก NIA

NIA จากนี้จะมีการปรับกระบวนการของการให้ทุนให้มีความรวดเร็วมากขึ้น สามารถกระจายตัวของการให้ทุนได้มากขึ้น ไปสู่กลุ่มต่าง ๆ ได้มากขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ อาจจะมีการปล่อยลักษณะเป็น คูปองนวัตกรรม ไม่ต้องผ่านกระบวนการทั้งหมดเหมือนการให้ทุนตามปกติ นอกจากนี้ NIA ก็มีแผนจะร่วมกับสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าไทย แล้วก็ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เพื่อจะได้กระจายทุนได้ดีขึ้น ตรงจุด

“หลาย ๆ คนอาจจะบอกว่าเข้าถึงแหล่งเงินทุนมันยาก ไม่รู้จะเข้ายังไง ไม่รู้จะเขียนยังไง ต้องทำยังไงบ้าง เราก็จะทำให้มันทำได้ง่ายขึ้น และเวลาเราจะให้ทุนไป มันต้องผ่านคณะกรรมการดำเนินการเยอะ ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างนาน เราก็จะทำให้มันเร็วขึ้น และจากนี้เราจะพยายามเน้นที่ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก จากที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าการให้ทุนเราจะกระจาย ซึ่งอาจจะวัดผลกระทบที่จับต้องได้ไม่ชัดเจน เลยอยากจะทำมันจับต้องได้”

เป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวของ NIA

ในส่วนของเป้าหมายระยะสั้นของ NIA จากนี้จะเป็นการปรับทิศทางการทำนวัตกรรมให้ ตอบโจทย์รายอุตสาหกรรม มากขึ้น การทำเครือข่ายผู้ประกอบการ ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก มาทำลักษณะของการทำร่วมกันใน value chain ให้มากขึ้น รวมถึงสานต่องาน Startup Thailand และ Incubation Program ให้ลงไปทั่วมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่

ในระยะยาว ที่อยากจะมีอีเวนต์ใหญ่ของประเทศที่เหมือน Web Summit ที่คนทั่วโลกต้องมา อาจจะเป็น Thailand Innovation Fairพราะเรามองว่าการจัดอีเวนต์เป็นแตกแยก ๆ ไปเยอะ อิมแพคมันไม่เกิด ซึ่งอีเวนต์ใหญ่เราอยากทำให้เกิดขึ้นภายในปีหน้า

“ท้ายที่สุดแล้ว NIA อยากให้สตาร์ทอัพไทยเป็น DeepTech Startup มากขึ้น เพราะจะอยู่ได้ยาว ก๊อปปี้กันยาก และเรื่องของนวัตกรรมต้องเป็น agenda หลักของประเทศ ตั้งแต่เรื่องของสร้างเทคโนโลยี การสร้างระบบที่มันเสริมเอานวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ ซึ่งต้องทำร่วมกันทั้งประเทศ เพื่อช่วยให้ไทยไปสู่เป้าหมายการขึ้นเป็นอันดับที่ 30 ของ Global Innovation Index ภายในปี 2030 จากปัจจุบันไทยอยู่อันดับที่ 43 จาก 132 ประเทศทั่วโลก

]]>
1441348
“กสิกรไทย” จัดหลักสูตรติวเข้มสตาร์ทอัพไทย ผ่านโครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2023 อัดแน่นด้วยองค์ความรู้จาก Silicon Valley พร้อมเครื่องมือต่อยอดธุรกิจ https://positioningmag.com/1437143 Tue, 11 Jul 2023 10:00:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437143

ในประเทศไทยเราได้เห็นเทรนด์ของ “สตาร์ทอัพ” มาหลายปีแล้ว ซึ่งวงการสตาร์ทอัพในไทยก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มี Ecosystem ที่แข็งแกร่งมากขึ้น ทั้งในแง่ของผู้ประกอบการ ศูนย์บ่มเพาะ และนักลงทุน แต่การที่เหล่าบรรดาสตาร์ทอัพจะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งนั้น จำเป็นต้องมีผู้สนับสนุนที่คอยชี้แนะแนวทาง เราจึงได้เห็นองค์กรใหญ่ๆ มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับวงการสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่อง

“ธนาคารกสิกรไทย” เป็นอีกหนึ่งองค์กรใหญ่ที่ส่งเสริมและผลักดันวงการสตาร์ทอัพไทยต่อเนื่องอย่างครบวงจร ทั้งด้านเงินทุน ความเชี่ยวชาญ เครือข่ายธุรกิจ พันธมิตร รวมทั้งการให้องค์ความรู้ผ่านโครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2023 หลักสูตรพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจเพื่อสตาร์ทอัพที่ธนาคารกสิกรไทยร่วมพัฒนาขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา


เดินหน้า 4 ปีต่อเนื่อง ปั้นตัวตึงวงการสตาร์ทอัพ

สำหรับโครงการในปีนี้ ซึ่งทีจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จะเป็นหลักสูตรเข้มข้น ภายใต้แนวคิด “Unleash Your Entrepreneurial Spirit for Sustainable Success” ระยะเวลา 9 สัปดาห์ที่จะทำให้สตาร์ทอัพพัฒนาธุรกิจและเติบโตอย่างยั่งยืน อัดแน่นด้วยองค์ความรู้การทำสตาร์ทอัพ ในแง่มุมต่างๆ ตั้งแต่เรื่องทีมงาน การวางรากฐาน ไปจนถึงปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้ธุรกิจเติบโต ทั้งเทคโนโลยีที่กำลังมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ Artificial Intelligence (AI) และ Machine Learning (ML) รวมทั้งแนวคิดการจัดการธุรกิจที่คำนึงถึง ESG สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้จริง พร้อมคว้าโอกาสใหม่ในเทรนด์ธุรกิจแห่งอนาคต

นอกจากนี้ สตาร์ทอัพที่เข้ารับการอบรมยังได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมถึงโอกาสนำเสนอโครงการเพื่อชิงเงินรางวัลพร้อมรับการสนับสนุนเครื่องมือในการทำธุรกิจ รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาทอีกด้วย เรียกว่าได้ทั้งองค์ความรู้ และเครื่องมือในการติดปีกธุรกิจไปพร้อมๆ กัน

โดยใน 3 ปีที่ผ่านมามีสตาร์ทอัพไทยเรียนจบหลักสูตรทั้งสิ้นกว่า 100 ทีม และมีหลายทีมที่นำองค์ความรู้ที่ได้ในโครงการไปต่อยอดกับธุรกิจจนประสบความสำเร็จ สำหรับปีนี้ ธนาคารจะมุ่งเน้นส่งเสริมเทคสตาร์ทอัพที่มีผลิตภัณฑ์หรือต้นแบบ (Prototype) ที่พร้อมแล้ว ในกลุ่มอุตสาหกรรมการเงิน (FinTech) สิ่งแวดล้อม (ESG และ Green Technology) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligenceและ Machine Learning) เทคโนโลยีด้านสุขภาพ (HealthTech) และโซลูชั่นสำหรับองค์กร (Enterprise Solution) ตอกย้ำเจตนารมณ์ของธนาคารในการพัฒนาสตาร์ทอัพไทยให้แข็งแกร่งเพื่อร่วมเป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างความยั่งยืน

ทั้งนี้มี 2 บริษัทได้มาถ่ายทอดประสบการณ์ที่เคยเข้าร่วมโครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2022 ได้แก่ โปรเจค อีวี (Project EV) และ PetPaw


ทำ Customer Validation หาลูกค้าตัวจริง ปรับแผนธุรกิจให้เป็นไปได้สูง

โปรเจค อีวี (Project EV) เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นแบบครบวงจรเพื่อดัดแปลงรถยนต์สันดาปภายใน (ICE) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ รวมทั้งมีบริการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ศูนย์กระจายสินค้า หรือใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าของพันธมิตรทั่วประเทศ พร้อมทั้งมีศูนย์บริการซ่อมบำรุงรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงตลอดระยะเวลาการใช้งานการใช้รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงสามารถช่วยลดต้นทุนเชื้อเพลิงและลดภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ให้กับบริษัทขนส่งโลจิสติกส์ได้เป็นอย่างมาก

ปัจจุบัน โปรเจค อีวี ให้บริการดัดแปลงรถกระบะไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ เหมาะสำหรับบริษัทขนส่งโลจิสติกส์ที่มีศูนย์กระจายสินค้าระยะการขนส่งไม่เกิน 250 กิโลเมตรต่อวัน สามารถคืนทุนภายในระยะเวลา 2 ปีครึ่ง ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ประมาณ 30.8 ตันต่อคันต่อปี ในรถกระบะที่วิ่งประมาณ 90,000 กิโลเมตรต่อปี ขณะนี้อยู่ในระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพและสมรรถนะการใช้งานจริงร่วมกับบริษัทขนส่งโลจิสติกส์

ปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้ก่อตั้ง โปรเจค อีวี ได้เล่าว่า “รู้จักโครงการ KATALYST จากการประชาสัมพันธ์ของทีมงาน Beacon VC และจากคำแนะนำของสตาร์ทอัพ ที่เข้าร่วมโครงการปีก่อน จึงสนใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งจุดเด่นและประโยชน์สำคัญที่ได้รับจากโครงการนี้ คือเนื้อหาหลักสูตรที่มีความกระชับ แนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างเป็นขั้นตอน รวมทั้งมีการบ้านให้ลงมือทำ Customer Validation หาลูกค้าตัวจริง ทำให้การปรับปรุงแผนธุรกิจมีความเป็นไปได้สูงขึ้น และที่สำคัญคือ คำแนะนำจาก Mentorทำให้เข้าใจและมีมุมมองทางธุรกิจกว้างขึ้น ตลอดจนการวางแผนการตลาด และการเงินซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการ Scale Business และระดมทุน”

ปริวรรต ยังเสริมอีกว่า โครงการมีประโยชน์มากสำหรับ Early Stage Startup ที่มีไอเดียใหม่ๆ หรือสตาร์ทอัพที่เริ่มต้นธุรกิจมาบ้างแล้วและต้องการปรับหรือ Pivot Business ให้มีความเป็นไปได้ทางธุรกิจมากขึ้น ส่งเสริมให้เกิดการประเมินมูลค่าธุรกิจ (Business Valuation) บนฐานของ Business Traction และรายได้อย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถเข้าสู่การระดมทุนได้ดีขึ้น


จุดประกายสร้าง Prototype Ecosystem ช่วยต่อยอดธุรกิจ

สำหรับ PetPaw เป็นบริษัท Startup ที่มีจุดมุ่งหมายในการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้าง Eco-System ให้กับอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยง และ ผู้ที่รักสัตว์ โดยปัจจุบันทาง PetPaw เองมี 3 ช่องทางหลักๆ ในการเชื่อมโยง Eco-System เข้าด้วยกัน

PetPaw Application – Application ที่รวบรวม Feature ต่างๆ ที่คนรักสัตว์สามารถเข้ามาใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยง / การหาข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงแต่ละสายพันธุ์ / การพูดคุยปรึกษากับสัตว์แพทย์ผ่านช่องทาง Online รวมถึงการหาซื้อ ศึกษาเปรียบเทียบประกันสำหรับสัตว์เลี้ยง

PetPaw O2O Commerce – ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงผ่านทาง Online และ Offline โดยปัจจุบันช่องทาง Online อยู่ระหว่างการเพิ่มรายการสินค้าให้มีมากกว่า 10,000 รายการ และในส่วนของช่องทาง Offline ทาง PetPaw ได้ทำการเปิดหน้าขายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงเรียบร้อยแล้ว 2 สาขา คือที่ สาขา ปตท.พระราม4 กล้วยน้ำไท และ สาขาเทพารักษ์ และ ยังมีแผนการขยายสาขาเพิ่มเติมทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และ ต่างจังหวัด เพิ่มอีก 10-15 สาขา ภายในปี 2566

PetPawVet Service – Software บริหารจัดการธุรกิจโรงพยาบาลสัตว์ครบวงจร ทั้งการทำนัดผ่านระบบ เชื่อมต่อไปยัง Application PetPaw / การสั่งจ่ายยาผ่านระบบ Online จัดส่งไปยังลูกค้า / ระบบจัดซื้อสินค้าเครื่องมือแพทย์ ปัจจุบันมีโรงพยาบาลสัตว์เข้าใช้งานมากกว่า 1,400 โรงพยาบาลทั่วประเทศ

แรกเริ่ม PetPaw ได้เขียนแผนธุรกิจ และ เริ่มเข้าร่วมงานการแข่งขัน Pitching ตามงานต่างๆ รวมถึงได้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสตาร์ทอัพของหน่วยงานรัฐเช่น DEPA และได้รับคำแนะนำให้ลองเข้ามาสมัครในโครงการ KATALYST Startup Launchpad และได้รับโอกาสเข้าร่วมโครงการนี้

ณัฐวัฒน์ กลการวิทย์ Team Lead PetPaw ได้เล่าว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่มีประโยชน์มากๆ สำหรับผู้ที่มีไอเดียในการเริ่มต้นธุรกิจ หรือเริ่มต้นทำธุรกิจไปแล้วแต่ยังหาขั้นตอนวิธีการเข้าสู่ตลาดไม่ได้ เพราะทางโครงการจะช่วยให้คุณกลับมาทบทวนตั้งแต่การสร้างทีมผู้ก่อตั้ง การประเมินขนาดตลาด การเริ่มนำสินค้าเข้าสู่ตลาด ไปจนถึงการนำเสนอธุรกิจเพื่อหานักลงทุน

เนื้อหาที่ได้จากการเรียนและทำ Workshop สามารถนำมาปรับใช้กับตัวธุรกิจของทาง PetPaw ได้โดยตรง จากที่ทางเราพยามที่จะสร้าง Eco-System ซึ่งจำเป็นจะต้องมี Service ที่หลากหลายครบถ้วนและตอบโจทย์ลูกค้าที่หลากหลาย ทำให้ Service ของเราเป็น Prototype ที่ไม่สมบูรณ์ แต่หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการและทำ Workshop ทีมงานจึงได้ตัดสินใจ เลือกทำ Service ของเราให้แข็งแรงเติบโตขึ้นทีละส่วน จึงสามารถทำให้เราสามารถขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะช่องทาง Offline


หลักสูตรส่งตรงจาก Silicon Valley

เนื้อหาของหลักสูตรภายใต้โครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2023 ได้รับการสนับสนุนผ่านโครงการวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด นำโดยรองศาสตราจารย์ Charles (Chuck) Eesley นอกจากนั้นธนาคารได้จับมือกับพันธมิตรในด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับคำปรึกษา และคำแนะนำโดยเมนเทอร์ชั้นนำจากหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อาทิ ผู้บริหารจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ผู้แทนจาก Amazon Web Services (AWS) รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจาก กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG)  และบีคอน วีซี (Beacon VC) ที่จะมาให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อผลักดันให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ดึงศักยภาพของตัวเองและทีมออกมาได้อย่างเต็มที่

ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้การพัฒนาศักยภาพของสตาร์ทอัพอย่างครบวงจรตั้งแต่พื้นฐานเริ่มที่ไอเดียธุรกิจ การวิเคราะห์ความต้องการลูกค้า การพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน การสร้างแบรนด์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของความเป็นผู้ประกอบการ การตลาด การบริหารเงิน การวางแผนธุรกิจ และทักษะการนำเสนอ รวมถึงโอกาสในการสร้างเครือข่ายและต่อยอดการทำธุรกิจกับผู้เข้าร่วมโครงการในรุ่นก่อนๆ และในสัปดาห์สุดท้ายของการอบรม ทีมสตาร์ทอัพที่มีผลงานโดดเด่นจะได้รับคัดเลือกให้นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ โดยผู้ชนะ 3 อันดับแรกจะได้รับทั้งเงินรางวัล และสิทธิประโยชน์จากทางพาร์ทเนอร์ของ KATALYST by KBank เพื่อต่อยอดธุรกิจพร้อมโอกาสการร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทยในด้านธุรกิจรวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคดิจิทัล

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดหลักสูตร คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ และสมัครได้ทางเว็บไซต์ของ KATALYST ที่  https://launchpad.klandingservice.com หรือติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการทางเฟซบุ๊กที่ https://www.facebook.com/KATALYSTbyKBank โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึง 31 กรกฎาคม 2566 และเริ่มเรียนตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน ถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2566

]]>
1437143
OR เตรียมจัดอีเวนต์ใหญ่ ให้ธุรกิจใหญ่เล็กมาจับคู่กัน เตรียมทำ Superapp เปิดตัวเร็วๆ นี้ https://positioningmag.com/1392490 Tue, 12 Jul 2022 16:40:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1392490 OR เชิญชวนผู้ประกอบการธุรกิจทุกขนาด สตาร์ทอัพ และผู้สนใจร่วมเส้นทางเติมเต็มโอกาสเพื่อการเติบโตไปด้วยกันในงานเสวนาและโชว์เคสธุรกิจครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี “Inclusive Growth Days empowered by OR” ขณะเดียวกันก็ได้เปิดเผยว่าทางบริษัทกำลังพัฒนา Superapp ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวได้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้

จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR กล่าวว่า ทางบริษัทได้จัดงาน “Inclusive Growth Days empowered by OR” ขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะขับเคลื่อนโอกาสและสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินธุรกิจสู่อนาคต

สำหรับในงานมีทั้ง การระดม 50 ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักธุรกิจชั้นนำ ร่วมเจาะลึกโมเดลธุรกิจแห่งอนาคตที่จะมาช่วยต่อยอดการลงทุน ผู้เชี่ยวชาญวงการสตาร์ตอัพมาไขรหัสแห่งความสำเร็จ พร้อมโอกาสในการสรรหาพันธมิตร สร้างเครือข่ายทางธุรกิจ เพื่อร่วมเติมเต็มศักยภาพและก้าวสู่ความสำเร็จไปด้วยกัน

จิราพร ยังได้กล่าวว่า ผู้ประกอบการธุรกิจทุกรูปแบบทุกขนาด ทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ รวมถึงสตาร์ทอัพ จะได้รับประโยชน์โดยตรงเมื่อมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมถึงมองหาพันธมิตรและช่องทางธุรกิจ ตลอดจนสร้างความร่วมมือซึ่งกันและกันระหว่างธุรกิจต่าง ๆ และเธอยังได้กล่าวว่าทาง OR ยินดีเป็นพื้นที่เปิด จะจับคู่ทางธุรกิจกันก็ได้ ไม่ใช่แค่ในงานที่จัด 3 วันเท่านั้น แต่ทางบริษัทเปิดส่วนงานสำหรับในการคุยธุรกิจ และจับคู่ธุรกิจด้วย

ขณะเดียวกันประธานเจ้าหน้าที่บริหารฯ ยังได้เล่าถึง บริษัทต่างๆ หลังจากที่ทาง OR ได้ลงทุนนั้นช่วยให้บริษัทต่างๆ เติบโตขึ้นมากกว่าเดิมโดยใช้ช่องทางของ OR ไม่ว่าจะเป็น Gowabi หลัง OR เข้ามาลงทุนและช่วยโปรโมต ก็มีธุรกิจต่างๆ อย่างคลินิก ฯลฯ เข้ามาในแพลตฟอร์มมากขึ้น หรือแม้แต่ Grab & Go ของโอ้กะจู๋ ซึ่งตอนแรก 8-10 สาขา ตอนนี้ 80 สาขาแล้ว จะเห็นได้ว่า OR ช่วยขยายสเกลเพิ่มขึ้นได้

นอกจากนี้จิราพร ยังกล่าวว่าทางบริษัทเตรียมที่จะเปิดตัว Superapp ของ OR โดยเธอได้เล่าว่าถ้าหากผู้บริโภคคนไหนต้องการสินค้าและบริการ หรือแม้แต่เรื่อง Mobility ก็เข้าแอพของ OR ได้ คาดว่าในเดือนพฤศจิกายนนี้จะเป็นช่วงเริ่มต้นของ Superapp นี้ และเธอยังกล่าวว่ายังให้แพลตฟอร์มอื่นๆ มาเชื่อมต่อกับ Superapp นี้ได้ 

โดยอีเวนต์ Inclusive Growth Days empowered by OR จะมีตั้งแต่ 22 – 24 กรกฎาคม 2565 ที่ บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 22 

]]>
1392490
ผู้ก่อตั้ง Zilingo เตรียมซื้อกิจการต่อจากนักลงทุน เตรียมปรับโครงสร้างบริษัทใหม่ https://positioningmag.com/1389308 Mon, 20 Jun 2022 04:59:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1389308 Dhruv Kapoor หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Zilingo สตาร์ทอัพด้าน Market Place ที่เน้นสินค้าแนวแฟชั่นจากผู้ค้ารายเล็กจากสิงคโปร์ ได้เตรียมซื้อกิจการต่อจากนักลงทุน หลังจากที่สตาร์ทอัพรายนี้ประสบปัญหาอย่างหนัก รวมถึงมีการปลด CEO ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งออกในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

สื่อต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น Business Times ของสิงคโปร์ และ Bloomberg ได้เห็นรายงานข่าวโดยอ้างอิงเอกสารที่ Dhruv Kapoor ได้เสนอกับบอร์ดของ Zilingo ว่าเขาเตรียมที่จะตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาเพื่อซื้อกิจการของ Zilingo รวมถึงบริษัทลูกบางบริษัท และจะมีการอัดฉีดเงินอีก 8 ล้านเหรียญสหรัฐ และจะมีการปรับโครงสร้างบริษัทใหม่ด้วย

ขณะที่บริษัทที่ไม่ได้ซื้อกิจการในครั้งนี้จะมีการชำระบัญชี และนำเงินที่ได้ไปชำระให้กับ Zorro Assets ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายสำคัญของบริษัท

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้จะทำให้ Zilingo สามารถต่ออายุกิจการออกไปได้อีกระยะ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา Zorro Assets เตรียมตัดสินใจที่จะเรียกคืนเงินกู้ทั้งหมดของ Zilingo ซึ่งจะทำให้สตาร์ทอัพรายนี้ถึงขั้นขาดสภาพคล่องได้

อย่างไรก็ดี ยังมีความคลุมเครือว่านักลงทุนรายใดที่ร่วมหัวจมท้ายกับ Dhruv Kapoor ในครั้งนี้ แต่ Business Times ได้รายงานว่าอาจเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในบริษัทนอกตลาดหุ้น (Private Equity) จากสหรัฐอเมริกานั้นสนใจที่จะร่วมลงทุนในครั้งนี้

สตาร์ทอัพสิงคโปร์รายนี้เริ่มมีข่าวฉาวในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยบริษัทได้พบความผิดปกติด้านบัญชีของบริษัท และบริษัทได้จ้างผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระจากภายนอก จนท้ายที่สุดได้มีการไล่ Ankiti Bose ซึ่งเป็น CEO และหนึ่งในผู้ก่อตั้งของบริษัทออกในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

สำหรับ Zilingo ก่อตั้งในปี 2015 โดยได้ไอเดียจากการเดินเที่ยวสวนจตุจักร และวางธุรกิจของบริษัทในรูปแบบของ Market Place ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างผู้ซื้อกับร้านค้ารวมถึงแบรนด์แฟชั่นเล็กๆ โดยที่รายได้ของบริษัทคือการเก็บค่าธรรมเนียมจากร้านค้าโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย

ที่มา – Bloomberg, Business Times

 

]]>
1389308
จับตา ยุค ‘ตื่นทอง’ ของสตาร์ทอัพอาเซียน เงินระดมทุนเพิ่มขึ้นเท่าตัว ปั้นยูนิคอร์นรุ่นใหม่ https://positioningmag.com/1372526 Tue, 01 Feb 2022 09:44:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372526 เหล่าสตาร์ทอัพดาวรุ่งในอาเซียน ระดมทุนได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 2.57 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2021 เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปีก่อนหน้านี้

ช่วงวิกฤตโควิด-19 นักลงทุนทั่วโลกอที่ถือครองเงินสดจำนวนมาก ต่างพยายามเข้ามามีส่วนร่วมในตลาดอาเซียน ที่เป็นเหมือนขุมทองด้านเทคโนโลยีเเห่งใหม่ของโลก จากศักยภาพการเติบโตท่ามกลางการขับเคลื่อนของเศรษฐกิจดิจิทัล

บรรดากองทุนต่างๆ เเละบริษัทร่วมทุนขนาดใหญ่ กำลังแสวงหาโอกาสการลงทุนที่จะช่วยให้ได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญจึงประเมินว่า ยุคตื่นทอง” (Gold Rush) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะยังคงดำเนินต่อไปในปีนี้ หลังปั้นยูนิคอร์นได้ถึง 25 บริษัท เเละเงินลงทุนกำลังจะเข้าหากลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ที่ยังมีต่ำกว่ามูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์มากขึ้น 

อาเซียน เนื้อหอมดึงดูดเงินทุนทั่วโลก 

รายงานของ SE Asia Deal Review ที่รวบรวมโดย DealStreetAsia แพลตฟอร์มข้อมูลสตาร์ทอัพของสิงคโปร์ ระบุว่า ในปี 2021 ที่ผ่านมาสตาร์ทอัพในภูมิภาคนี้สามารถระดมทุนได้ถึง 2.57 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.7 เท่า จาก 9.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 และมากกว่าปี 2018 ที่เคยมีมีการระดมทุนสูงสุดที่ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตัวเลขการระดมทุนที่เพิ่มขึ้น เป็นสัญลักษณ์ของตลาดใหม่ที่กำลังเติบโต เเละยังเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกที่มีต่อตลาดอาเซียน ทั้งในแง่การเป็นตลาดเกิดใหม่สำหรับธุรกิจและศูนย์กลางนวัตกรรมทางเทคโนโลยีระดับโลก” DealStreetAsia กล่าวในบทวิเคราะห์

ยุค Gold Rush เเห่งอาเซียน 

ระบบนิเวศของสตาร์ทอัพในอาเซียน เริ่มเติบโตในช่วงต้นปี 2010 ตามหลังจีนอยู่ประมาณ 5-10 ปี ท่ามกลางช่วงธุรกิจสมาร์ทโฟนที่เข้ามาเจาะตลาดอาเซียน 

จนกระทั่งก่อนเกิดโรคระบาด เงินทุนส่วนใหญ่เริ่มตกไปอยู่กับกลุ่มสตาร์ทอัพใหม่ที่เติบโตอย่างโดดเด่นอย่าง Grab ของสิงคโปร์ เเละ Gojek คู่แข่งจากอินโดนีเซีย

โดยหนึ่งในนักลงทุนรายใหญ่ที่เข้ามาบุกอาเซียน ก็คือ ‘SoftBank Group’ ของญี่ปุ่น ที่ทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์ให้กับ Grab และ Tokopedia แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย

สำหรับบริษัทที่ระดมทุนได้มากในปี 2021 คือGoTo’ ของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นบริษัทเทคฯ ที่เกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการระหว่าง Gojek เเละ Tokopedia ซึ่งระดมทุนได้ราว 1,600 ล้านดอลลาร์ รวมถึงเงินทุนที่ Gojek ระดมทุนได้ก่อนรวมกิจการกันทำให้เป็นบริษัทที่ระดมทุนได้มากที่สุดอันดับสองของภูมิภาค 

Photo : Shutterstock

ขณะที่ Grab ระดมทุนได้ 675 ล้านดอลลาร์ ก่อนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ในเดือนธ..ที่ผ่านมา ขึ้นเป็นบริษัทใหญ่สุดอันดับที่ 4

เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดของการระดมทุนในปี 2018 เราได้เห็นการกระจายตัวของแหล่งเงินทุนไปยังบริษัทที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งในตลาดและภาคส่วนต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพและการเติบโตของระบบนิเวศ

Yinglan Tan ผู้จัดการกองทุน Insignia Ventures เเสดงความคิดเห็นของเขาในรายงาน DealStreetAsia โดยเขาอธิบายสถานการณ์ปัจจุบันว่าเป็น “ยุคตื่นทองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

ปี 2021 ปั้นยูนิคอร์น 25 ตัว จับตาสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ 

เมื่อแยกตามภาคธุรกิจเเล้ว สตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทคถือเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับการระดมทุนมากที่สุดในปี 2021 โดยระดมทุนได้กว่า 5,830 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 4 เท่าจาก 1,460 ล้านดอลลาร์ในปี 2020

โดยการระบาดของโควิด-19 ได้กระตุ้นให้เกิดการชำระเงินแบบไร้เงินสดมากขึ้นและบริการทางการเงินออนไลน์อื่นๆมากขึ้น

บริการเหล่านี้มีผลกระทบทางสังคมนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมากหากเทียบกับตลาดที่พัฒนาแล้วจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชนรายใหม่เเละการเปิดบัญชีออนไลน์มากขึ้น

ยกตัวอย่าง เช่น สตาร์ทอัพ Mynt ของฟิลิปปินส์ หรือที่รู้จักกันในชื่อกระเป๋าเงินเคลื่อนที่ GCash ที่ได้รับการสนับสนุนโดยบิ๊กเทคของจีนอย่าง Ant Group ระดมทุนได้ 475 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 จากบรรดานักลงทุนระดับโลก ซึ่งรวมถึง Warburg Pincus กองทุนเพื่อการลงทุนหุ้นนอกตลาดจากสหรัฐฯ

ด้านภาคโลจิสติกส์ตามมาเป็นอันดับสอง ด้วยยอดการระดมทุนได้ประมาณ 5,560 ดอลลาร์ในปี 2021 ด้วยปัจจัยหนุนการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จากความต้องการของผู้บริโภคที่ช้อปปิ้งออนไลน์เเละส่งพัสดุเพิ่มขึ้นมาก  

การลงทุนที่เพิ่มขึ้น ก็มาพร้อมกับการประเมินมูลค่าที่สูงขึ้นเช่นกัน โดยบริษัททั้ง 4 แห่ง ได้แก่ Mynt, MoMo, J&T Express และ Ninja Van ก็มีมูลค่าทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์ได้ปีที่แล้ว นับเป็นอีกกลุ่มสตาร์ทอัพยูนิคอร์นที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคนี้

DealStreetAsia ระบุว่า มีสตาร์ทอัพ 25 แห่งจาก 6 ประเทศอาเซียน ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทยูนิคอร์นได้ในปี 2021 โดยทั้งหมดมีมูลค่ารวมอยู่ที่ราว 55,400 ล้านดอลลาร์ และส่วนใหญ่เป็นบริษัทสตาร์ทอัพในอินโดนีเซียและสิงคโปร์

นอกจากนี้ ยังมียูนิคอร์นที่เพิ่งเกิดใหม่ที่น่าสนใจอย่าง Carro แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสำหรับรถยนต์มือสอง ของสิงคโปร์ , บริษัทโลจิสติกส์ของไทย Flash Express และร้านกาแฟในเครือ Kopi Kenangan ของอินโดนีเซีย

เหล่าผู้เชี่ยวชาญ มองว่าการไหลเข้ามาของเงินทุนจะดำเนินต่อเนื่องในปี 2565 เนื่องจากมีเงินทุนจากภายนอกเข้ามาให้ความสนใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่ยังมีต่ำกว่ามูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์

]]>
1372526
ย้อนดู ‘3 ยูนิคอร์น’ สัญชาติไทยที่เกิดพร้อมกันในปี 2021 https://positioningmag.com/1369454 Wed, 05 Jan 2022 07:47:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369454 หากพูดถึงวงการสตาร์ทอัพไทยที่มีมานานเกือบ 10 ปี แต่ในช่วง 2-3 ปีหลังหลายคนเริ่มมองว่าเป็นขาลง ขนาด ‘Dtac’ ยังยุบ ‘Dtac Accelerate’ ไป หลายคนในแวดลงมองว่ามีเพียง ‘ยูนิคอร์น’ หรือ บริษัทที่มีมูลค่า ‘1,000 ล้านดอลลาร์’ เท่านั้นที่จะฟื้นความเชื่อมั่นได้ และในที่สุดปี 2021 ที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยก็มียูนิคอร์นถือกำเนิดแถมไม่ได้มีแค่ตัวเดียว แต่กลับมีถึง 3 ราย ภายในปีเดียวกัน โดย Positiongmag จะสรุปยูนิคอร์นไทย 3 รายว่ามีใครบ้าง

1. Flash Express

ผู้ก่อตั้ง : นายคมสันต์ ลี

ธุรกิจ : บริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส โลจิสติกส์และอีคอมเมิร์ซครบวงจร (Flash Logistics, Flash Fulfillment, Flash Home, Flash Pay, Flash Money)

Flash Express (แฟลช เอ็กซ์เพรส) ก่อตั้งเมื่อปี 2017 ก่อนจะให้บริการในปี 2018 ซึ่งถือเป็นช่วงที่อีคอมเมิร์ซกำลังเติบโต จุดเด่นของแฟลชคือ ให้บริการตลอด 7 วันไม่มีหยุด มีบริการรับถึงบ้านฟรี เพื่อตัดปัญหาการหาหน้าร้าน รวมถึงราคาที่เริ่มต้นเพียง 15 บาท โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา Flash มีการเติบโตกว่า 1,000% และได้มีการแตกบริการไปอย่างครบวงจร และในวันที่ 31 พ.ค. 2021 Flash ได้ระทมทุนซีรีส์ D+ และ E จาก SCB 10X, PTTOR, TOP และอื่น ๆ ส่งผลมูลค่าบริษัททะลุ 30,000 ล้านบาท ขึ้นเป็นยูนิคอร์นตัวแรกของประเทศไทย

2. Ascend Money

ผู้ก่อตั้ง : นายศุภชัย เจียรวนนท์

ธุรกิจ : บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ในเครือแอสเซนด์ ให้บริการ Fintech เช่น E-Wallet (True Money), สินเชื่อออนไลน์ (Ascend Nano), ประกันออนไลน์ (Ascend Assurance, Ascend Weath)

Ascend Money เป็นบริษัทที่อยู่ในกลุ่ม Ascend Group ในเครือซีพี หากพูดถึงชื่อบริษัทหลายคนคงไม่คุ้น แต่ถ้าพูดชื่อของ True Money คนต้องรู้จักแน่นอน โดย True Money เริ่มให้บริการปี 2003 และในปี 2016 สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยบริการ True Money Wallet นอกจากนี้ยังได้ Ant Financial Services Group บริษัทในเครือของ Alibaba Group เป็นพันธมิตร

ปัจจุบัน True Money ได้ให้บริการใน 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มียอดผู้ใช้กว่า 50 ล้านราย เฉพาะยอดผูู้ใช้ไทยมีมากกว่า 20 ล้านราย ส่วนยอดการทำธุรกรรมรวมทั้งหมดกว่า 2,200 ล้านครั้ง เป็นมูลค่ารวมกว่า 14,000 ล้านดอลลาร์ (ตัวเลขสิ้นปี 2020)

และในเดือน ก.ย 2021 Ascend Money ก็มีมูลค่าเพิ่มเป็น 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากระดมทุนรอบล่าสุดจำนวน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากบริษัท โบว์ เวฟ แคปปิตอล แมเนจเมนท์ (Bow Wave Capital Management) จากสหรัฐอเมริกา มาลงทุนร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ แอนท์ กรุ๊ป (Ant Group) ทำให้บริษัทกลายเป็นฟินเทคยูนิคอร์นรายแรกของประเทศไทย

3. Bitkub 

ผู้ก่อตั้ง : นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโอชา

ธุรกิจ : บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในเครือบิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป Exchange Platform สำหรับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล

หากพูดถึงคริปโตเคอร์เรนซีหรือสกุลเงินดิจิทัล แน่นอนว่ามันไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะไม่ว่าจะเป็น Bitcoin, Ethereum ต่างก็มีอยู่นานเเล้ว เเต่กระเเสกลับมาร้อนแรงขึ้นในช่วงปี 2020-2021 เนื่องจากมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดจนใคร ๆ ก็อยากลงทุน โดยในไทยเองก็มี บิทคับ (Bitkub) Exchange Platform สำหรับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล โดย Bitkub ก่อตั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2018

เนื่องจากกระเเสความร้อนแรงของคริปโตเคอร์เรนซีรวมถึงแพลตฟอร์มของ Bitkub ทำให้ในเดือนพฤศจิกายน 2021 กลุ่ม SCBX ประกาศใช้เงินลงทุนถึง 17,850 ล้านบาท เข้าถือหุ้นสัดส่วน 51% ใน Bitkub ทำให้กลายเป็นยูนิคอร์นตัวที่ 3 ของเมืองไทยทันที

เชื่อว่าอนาคตของสตาร์ทอัพไทยคงไม่ได้มียูนิคอร์นแค่ 3 ตัวนี้แน่ ๆ เพราะยังมีสตาร์ทอัพอีกหลายรายที่มีศักยภาพในการเติบโต ไม่ว่าจะเป็น ‘LineMan Wongnai’ ที่ปัจจุบันมีมูลค่าถึงระดับ ‘เซนทอร์’ หรือประมาณ 3,300 ล้านบาท หรืออย่าง ‘Omise’ ก็เพิ่งสามารถระดมทุนในซีรีส์ C มาได้ ดังนั้น ในปี 2022 นี้จะได้เห็น ยูนิคอร์น ตัวที่ 4 หรือไม่ต้องติดตาม

]]>
1369454
‘เจฟฟ์ เบโซส’ ประเดิมเข้าลงทุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอาเซียน ผ่าน ‘Ula’ สตาร์ทอัพอินโดฯ https://positioningmag.com/1354720 Mon, 04 Oct 2021 11:03:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1354720 เจฟฟ์ เบโซสมหาเศรษฐีรวยที่สุดในโลก ผู้ก่อตั้ง Amazon ประเดิมเข้าลงทุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซในตลาดอาเซียน ผ่านการระดมทุน Series B ของ ‘Ula’ สตาร์ทอัพสัญชาติอินโดนีเซีย

โดยการระดมทุนในรอบ Series B ครั้งนี้ Ula มีผู้ลงทุนรายใหญ่ให้การสนับสนุนอย่าง Prosus Ventures, Tencent และ B Capital เเละ เจฟฟ์ เบโซส

Ula เปิดตัวในปี 2020 เป็นเเพลตฟอร์มที่นำเสนอโซลูชันให้กับผู้ค้าปลีกรายย่อยโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพิ่มรายได้ ขยายธุรกิจเเละบริการไปในอินโดนีเซีย เเละประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน 

พร้อมให้บริการซื้อก่อนจ่ายทีหลัง หรือ Buy-now-pay-later ที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ เสนอสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนให้โดยใช้ดาต้า รวมถึงการช่วยสร้างห่วงโซ่อุปทาน จัดการสินค้าคงคลัง และโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ ปัจจุบันมีผู้ค้าในเเพลตฟอร์มกว่า 70,000 ราย และจำหน่ายผลิตภัณฑ์กว่า 6,000 รายการ

ที่ผ่านมา Ula สตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย ระดมทุนได้กว่า 30 ล้านดอลลาร์ และดึงดูดนักลงทุนที่มีชื่อเสียงได้จำนวนมากนับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว เเละตอนนี้ได้รับเงินทุนจากบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ที่เพิ่งประกาศหลังลงจากตำแหน่งแม่ทัพ Amazon เพื่อหันไปทุ่มในธุรกิจอวกาศ Blue Origin

ความสนใจของเบโซส ใน Ula ซึ่งดำเนินการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซแบบ B2B นั้น มีความเชื่อมโยงกับการที่ Amazon ยังเข้าเจาะตลาดประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ไม่มากนัก

ขณะที่ Ula ยังมีผู้บริหารมือดี เป็นผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง Nipun Mehra ซึ่งเป็นอดีตผู้บริหารของ Flipkart ในอินเดียและอดีตหุ้นส่วนที่ Sequoia Capital India พร้อมด้วย Alan Wong ที่เคยทำงานกับ Amazon เเละ Derry Sakti อดีตผู้บริหารของ P&G ยักษ์ใหญ่ด้านสินค้าอุปโภคบริโภคในอินโดนีเซีย และ Riky Tenggara ที่เคยทำงานกับ Lazada และ aCommerce

นับเป็นอีกสตาร์ทอัพด้านอีคอมเมิร์ซที่กำลังจะเป็นดาวรุ่งในอาเซียน

 

ที่มา : techcrunch , dealstreetasia

]]>
1354720
รู้จัก ‘ฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ I’ กองทุนสตาร์ทอัพ 3 พันล้าน เปิดทางนักลงทุน ร่วมปั้นยูนิคอร์นไทย https://positioningmag.com/1348779 Fri, 27 Aug 2021 09:59:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348779 มาทำความรู้จักกับฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ I’ กองทุนสตาร์ทอัพ มูลค่า 3 พันล้าน โปรเจกต์ใหม่จากกรุงศรี ฟินโนเวต‘ เตรียมเปิดรับนักลงทุนสถาบันนักลงทุน Ultra High Net Worth ร่วมปั้นทีมยูนิคอร์นไทยลุยฟินเทคอีคอมเมิร์ซออโตโมทีฟ

กรุงศรี ฟินโนเวตบริษัทร่วมลงทุนเเบบ Corporate venture Capital หรือ CVC ในเครือธนาคารกรุงศรีฯ ที่เปิดตัวมาตั้งเเต่ปี 2558 ด้วยเป้าหมายเฟ้นหาสตาร์ทอัพใหม่ๆ บ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพในไทยเเละอาเซียน

หลังคลุกคลีในวงการนี้หลายปี ทุ่มเงินลงทุนให้สตาร์ทอัพหน้าใหม่หลายสิบเจ้า จนมีส่วนร่วมในการผลักดันให้ธุรกิจขนส่งดาวรุ่งอย่าง ‘Flash Express’ ขึ้นเเท่นยูนิคอร์นรายเเรกของไทยได้สำเร็จ

มาวันนี้ ถึงเวลาขยับไปอีกก้าว ด้วยการจัดตั้ง ‘ฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ I’ กองทุนสตาร์ทอัพ ประเภท Private Equity Trust รายแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มูลค่า 3,000 ล้านบาท

ความน่าสนใจคือ เป็นการเปิดให้นักลงทุนสถาบันเเละนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth) มีช่องทางใหม่ในการลงทุนบริษัทสตาร์ทอัพที่พวกเขาสนใจได้โดยเฉพาะ

แซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด เล่าให้ฟังว่า ฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อย และองค์กรที่สนใจลงทุนในสตาร์ทอัพ แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพได้เข้าลงทุน ซึ่งกรุงศรีฟินโนเวตจะเข้ามาช่วยในจุดนี้

โดยจะเริ่มเดินสายนำเสนอข้อมูลต่อนักลงทุน (Roadshow) และเปิดขายให้กับนักลงทุนสถาบัน ตั้งแต่ปลายเดือนส.. จากนั้นจะเตรียมขายให้กับนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผ่านกองทุนรวม บริหารจัดการโดย บลจ.กรุงศรีอยุธยา ในช่วงเดือน พ.. เปิดลงทุนขั้นต่ำที่รายละ 1 ล้านบาท

ทั้งนี้ นักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth) ตามนิยามของ ก... คือ บุคคลธรรมดาผู้มีรายได้ต่อปี 7 ล้านบาทขึ้นไป (ถ้ารวมคู่สมรสจะเป็น 10 ล้านบาทขึ้นไป) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ ไม่รวมเงินฝาก 25 ล้านบาทขึ้นไป หรือรวมเงินฝากจะเป็น 50 ล้านบาทขึ้นไป

-แซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด

ตามหาสตาร์ทอัพเเบบไหน ?

กองทุนขนาด 3,000 ล้านบาทนี้ จะมุ่งเข้าลงทุนในสตาร์ทอัพทั้งไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระดับซีรีส์ A ขึ้นไป

เเบ่งคร่าวๆ เป็นการลงทุนสตาร์ทอัพในประเทศไทย ราว 70% และในต่างประเทศ อีก 30% โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เเละความน่าสนใจ เบื้องต้น จะเน้นไปการลงทุนในสตาร์อัพกลุ่มธุรกิจ ได้เเก่

  • ฟินเทค 40%
  • อีคอมเมิร์ซ 30%
  • นวัตกรรมยานยนต์ อีก 30% 

นอกจากนี้ ยังมองหากลุ่มสตาร์ทอัพที่ฟื้นตัวเร็วหรือได้รับโอกาสทางธุรกิจจากวิกฤตโควิด-19 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า Post-Pandemic Boom Startup

กองทุนนี้มีโมเดลธุรกิจมาจาการลงทุนสตาร์ทอัพในญี่ปุ่นเเละสหรัฐฯ เเละการที่กรุงศรี ฟินโนเวต มีบริษัทเเม่เป็น  MUFG ธนาคารใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นที่มีเครือข่ายทั่วโลก มีความเชี่ยวชาญการลงทุนสตาร์ทอัพ ก็เป็นการอุดความเสี่ยงได้ระดับหนึ่งเเละต่อยอดพัฒนาธุรกิจกับพันธมิตรได้ในอนาคต

ผู้บริหาร กรุงศรี ฟินโนเวต ย้ำว่า ผลตอบแทนกองทุนนี้ไม่สามารถการันตีได้เเต่มั่นใจว่าจะสร้างผลตอบเเทนได้มากกว่าที่บริษัทเคยทำได้ เฉลี่ยที่ 20.8% มากกว่าผลตอบแทนของกองทุนเวนเจอร์ต่างๆ ในตลาดที่เฉลี่ยราว 18%

ทั้งนี้ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา กรุงศรี ฟินโนเวตเข้าลงทุนใน 15 สตาร์ทอัพ มูลค่าลงทุนมากกว่า 1,500 ล้านบาทส่วน ธนาคารกรุงศรีฯ เป็นสถาบันการเงินที่ทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 63 บริษัท กว่า 106 โปรเจกต์ และส่งเสริมการทำงานด้านดิจิทัลของกรุงศรีและบริษัทในเครือ 37 หน่วยธุรกิจ 

-สตาร์ทอัพชื่อดังที่กรุงศรี ฟินโนเวตเข้าไปลงทุนในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

หลายคนอาจจะสงสัยว่าประเทศไทยเเละอาเซียน มีศักยภาพเเละฐานผู้บริโภคหลายร้อยล้านคน เเต่ทำไมบริษัทลงทุนต่างชาติ ยังไม่เข้ามาลงทุนมากนัก เมื่อเทียบกับโซนตะวันตก

หลักๆ มาจากปัจจัยวัฒนธรรมที่เเตกต่างกัน ปัญหาเรื่องภาษา เเละกฎระเบียบต่างๆ โดยกรุงศรี ฟินโนเวต จะพยายามเข้ามาเป็นตัวกลางประสานเเละเเก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้สตาร์ทอัพคนไทยเเละอาเซียน

เราต้องการสร้างร่วมผลักดันให้สตาร์ทอัพในไทยและอาเซียน เติบโตเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกลายยูนิคอร์นตัวที่ 2 3 4 5 ต่อไปเรื่อยๆ

โอกาสตลาด ‘สตาร์ทอัพ’ โตในอาเซียน 

ด้านความพร้อมของกองทุนฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ I’ คาดว่าจะสามารถเริ่มลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพรายแรกได้ในเดือนธ..นี้ (หลังเปิดระดมทุนจากนักลงทุนสถาบัน/นักลงทุน Ultra High Net Worth)

ขณะนี้ มีสตาร์ทอัพที่น่าสนใจวางไว้ใน Pipeline ไม่ต่ำกว่า 10 บริษัท และน่าจะสามารถเข้าไปลงทุนได้แน่นอน ราวบริษัท

ส่วนตลาดสตาร์ทอัพในอาเซียนที่น่าจับตามองหลักๆ จะอยู่ที่สิงคโปร์เเละอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มียูนิคอร์นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีฟิลิปปินส์และเวียดนาม ที่มีเทคสตาร์ทอัพใหม่ๆ เกิดขึ้นมาต่อเนื่อง และเป็นประเทศที่เเละเป็นประเทศที่ธนาคารกรุงศรีเข้าไปขยายธุรกิจด้วย

สำหรับเเนวโน้มการเติบโตของสตาร์ทอัพในไทยเเซมมองว่า ในระยะ 3-5 ปี จากนี้ไปจะเป็นช่วงเวลาเเห่งการเปลี่ยนเเปลงครั้งใหญ่ เเละน่าจะมีการเติบโตมากขึ้น

โดยนับจาก ปี 2558 พบว่ามีมูลค่าการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพเติบโตขึ้น 3 เท่า เเละกำลังมีบริษัทที่รอจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกกว่า 10 เเห่ง ซึ่งหากมีโอกาสที่ดี มีเงินลงทุนช่วยเสริมศักยภาพที่มีอยู่ให้ดีขึ้น สตาร์ทอัพไทยก็มีความหวังที่จะประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นไปอีก

 

 

]]>
1348779