ซีรีส์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 18 Jan 2023 06:24:45 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยาว ๆ ไป! ‘Netflix’ เตรียมอัด ‘ซีรีส์เกาหลี’ ลงเสิร์ฟ 34 เรื่อง สูงสุดที่เคยมีมา https://positioningmag.com/1415773 Wed, 18 Jan 2023 06:03:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1415773 เชื่อว่าหลายคนยอมเป็นสมาชิก เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) เพราะ ซีรีส์เกาหลี ที่มีมาแย่งเวลานอนของเราอยู่ตลอด ๆ โดยเฉพาะปีที่ผ่านมาที่มีซีรีส์เกาหลีหลายเรื่องโด่งดังจนกลายเป็นไวรัลและได้รับการตอบรับจากผู้ชมทั่วโลก แน่นอนว่าเน็ตฟลิกซ์ก็เห็นเทรนด์ดังกล่าว ดังนั้นในปีนี้ แพลตฟอร์มเลยวางแผนจะอัดคอนเทนต์จากเกาหลีเพิ่มเป็น 34 เรื่อง ทั้งภาคต่อและเรื่องใหม่มาตกผู้ชม

เน็ตฟลิกซ์ เปิดเผยว่า กำลังวางแผน เพิ่มคอนเทนต์จากเกาหลีใต้มากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยปีนี้จะมีทั้งหมด 34 เรื่อง ทั้งเรื่องใหม่ ๆ และภาคต่อ ไม่ว่าจะเป็นซีรีส์, ภาพยนตร์ และรายการเรียลลิตี้ เนื่องจากพบว่าปีที่ผ่านมา สมาชิกกว่า 60% ดูคอนเทนต์จากเกาหลี

อย่างไรก็ตาม เน็ตฟลิกซ์ไม่ได้เปิดเผยถึงเม็ดเงินลงทุนในปีนี้ แต่ย้อนไปในปี 2021 ผู้บริหารของเน็ตฟลิกซ์เคยเปิดเผยว่า บริษัทวางแผนที่จะลงทุนประมาณ 500 ล้านดอลลาร์ นอกเหนือจากงบลงทุน 700 ล้านดอลลาร์ ที่ใช้ไปแล้วตั้งแต่ปี 201

ย้อนไปปี 2021 เน็ตฟลิกซ์มีคอนเทนต์จากเกาหลี 15 เรื่อง และปี 2022 ที่ผ่านมาก็เพิ่มขึ้นเป็น 25 เรื่อง จนกระทั่งปีนี้ก็เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวเน้นย้ำว่า เน็ตฟลิกซ์พยายามเพิ่มเนื้อหาเกาหลีเป็นสองเท่าเพื่อมัดใจแฟน ๆ

“ความนิยมทั่วโลกของคอนเทนต์เกาหลีนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2022 โดยซีรีส์และภาพยนตร์เกาหลีติดอันดับ Global Top 10 อย่างสม่ำเสมอในกว่า 90 ประเทศ และรายการที่มีผู้ชมมากที่สุดของ 3 อันดับแรกมาจากเกาหลี Don Kang รองประธานฝ่ายเนื้อหาเกาหลีของเน็ตฟลิกซ์กล่าว

สำหรับซีรีส์ที่โด่งดังไปทั่วโลกก็คือ Squid Game ซีรีส์แนวเอาตัวรอดที่ให้ผู้เข้าแข่งขันเล่นเกมเสี่ยงตายเพื่อชิงเงินรางวัล นอกจากนี้ก็มี Extraordinary Attorney Woo ซีรีส์ที่จะตามติดชีวิตทนายอูยองอูที่มีอาการออทิสติก ก็ขึ้นอันดับสูงสุดของชาร์ตแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเป็นเวลาหลายสัปดาห์

สำหรับคอนเทนต์ในปี 2023 นี้ มีการเปิดเผยว่าจะมีเป็นภาพยนตร์ 6 เรื่อง เริ่มด้วยภาพยนตร์ไซไฟระทึกขวัญ JUNG-E นอกจากนี้ยังรวมถึง Destined With You ที่จะเล่าถึงเรื่องราวความรักระหว่างทนายความสุดฮอตกับข้าราชการ ส่วนซีรีส์ภาคต่อก็มี Sweet Home

ปัจจุบัน เน็ตฟลิกซ์กำลังผลิตออริจินอล คอนเทนต์จากต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ และพึ่งพาโอกาสในต่างประเทศมากกว่าในอเมริกา โดยในช่วงไตรมาส 3 ปี 2022 จำนวนสมาชิกจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของเน็ตฟลิกซ์เพิ่มขึ้น 1.4 ล้านราย ส่งผลให้เป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดของบริษัท

ไม่ใช่แค่เน็ตฟลิกซ์ที่เห็นเทรนด์นี้ แต่ Disney+ ก็พยายามเพิ่มคอนเทนต์จากเกาหลีเพื่อดึงดูดผู้ใช้ด้วยเช่นกัน

]]>
1415773
กระแสดีไม่ช่วยอะไร! เหตุที่ Netflix ยกเลิกภาคต่อ ‘ซีรีส์’ เพราะคน ‘ไม่ดูจนจบ’ https://positioningmag.com/1415273 Thu, 12 Jan 2023 06:00:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1415273 ‘ซีรีส์’ หลายเรื่องบน Netflix ถูกยกเลิกไม่ให้งบสร้างซีซั่นต่อไป ทั้งๆ ที่กระแสดีมาก เป็นไวรัลบนอินเทอร์เน็ต หรือถูกใจนักวิจารณ์ เหตุเพราะดาต้าเบื้องหลังพบว่า แม้คนจะเริ่มกดดูกันเยอะแต่ส่วนใหญ่แล้ว “ไม่ดูจนจบ”

“เราใช้สัญชาตญาณ 70% และใช้ดาต้า 30% …ส่วนใหญ่ดาต้าก็มายืนยันสัญชาตญาณและลางสังหรณ์เนี่ยแหละ ดาต้าเหมือนมาเพิ่มน้ำหนักให้ลางไม่ดีที่คุณรู้สึก หรือมาสนับสนุนสิ่งที่คุณตัดสินใจจะทำ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง” Ted Sarandos ประธานกรรมการของ Netflix เคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่ง เมื่อถูกถามถึงวิธีตัดสินใจว่าคอนเทนต์ไหนที่จะได้ไฟเขียวให้สร้าง และเรื่องไหนจะถูกยกเลิกไม่ให้ทำต่อ

แต่วันนี้หลายคนคงตั้งคำถามว่าการใช้สัญชาตญาณเป็นส่วนใหญ่ของ Netflix นั้นจริงหรือเปล่า

ซีรีส์เรื่องล่าสุดที่ Netflix ยกเลิกสร้างภาคต่อจนทำให้ผู้ชมงงกันเป็นทิวแถวคือเรื่อง ‘1899’ ทำให้สตรีมมิ่งเจ้านี้มีซีรีส์ที่คนดูจะไม่มีวันได้รู้ตอนจบกองพะเนิน และหลายคนไม่เชื่อแล้วว่าบริษัทนี้ใช้ “สัญชาตญาณ” ในการตัดสินใจ เพราะมันดูสวนทางกับความรู้สึกผู้ชม หลายคนมองว่าจริงๆ แล้ว Netflix หันมาใช้ “ดาต้า” แทนต่างหาก

Netflix
ซีรีส์เรื่อง 1899 ที่เป็นกระแสเปิดตัว แต่สุดท้ายถูกยกเลิกภาคต่อ

มีมาตรวัดอย่างหนึ่งที่เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญนั่นคือ “อัตราการดูจบของผู้ชม” จากบริษัทภายนอกที่ทดลองติดตามดูมาตรวัดนี้ของซีรีส์ Netflix พวกเขาพบว่า อัตราการดูจบมีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนกับการ ‘ได้ไปต่อ’ ของซีรีส์เรื่องนั้น

มาดูกันว่าซีรีส์ดังแต่ละเรื่องมีอัตราดูจบสูงหรือต่ำแค่ไหน

  • Heartstopper ดูจบ 73% และได้ไปต่ออีก 2 ซีซั่น
  • Squid Game ดูจบสูงถึง 87% และได้ไฟเขียวซีซั่นถัดไปทันที
  • Arcane ดูจบ 60% ทำให้รอดตัวและได้สร้างต่อ
  • Resident Evil ขึ้นอันดับ 1 ในช่วงที่ซีรีส์เปิดตัว แต่กลับมีอัตราดูจบแค่ 45% ทำให้ถูกยกเลิกซีซั่นถัดไป ถือเป็นอีกเรื่องที่ช็อกแฟนๆ
  • 1899 ที่เป็นกระแสในอินเทอร์เน็ต แต่มีอัตราดูจบ 32% เท่านั้น ยอดที่ต่ำขนาดนี้ทำให้ซีรีส์ถูกยกเลิกง่ายๆ
Heartstopper ที่มีอัตราดูจบสูงและได้ไฟเขียวภาคต่ออีก 2 ซีซั่น

วิธีคิดนี้น่าจะเรียกได้ว่าสมเหตุสมผล เพราะถึงกระแสจะดีมาก แต่ถ้ามีคนดูไปจนจบแค่ 30-40% เท่านั้น แปลว่าเมื่อซีซั่นต่อไปออกฉาย ผู้ชมน่าจะไม่กลับมาดูต่อ (ซีซั่นก่อนหน้ายังดูไม่จบเลยด้วยซ้ำ) ดังนั้น จะลงทุนสร้างภาคต่อไปเพื่ออะไร

แต่แน่นอนว่าผู้ชม 30-40% ที่สู้อุตส่าห์ดูจนจบก็ต้องมาอารมณ์ค้าง เพราะซีรีส์ของพวกเขาไม่ได้ไปต่อ ประเด็นนี้สำคัญมากต่อวิธีคิดของผู้ชมในภายภาคหน้า เพราะถ้าดูทรงแล้วซีรีส์เรื่องที่สนใจอยู่ในกลุ่ม ‘ดูยาก’ และคงจะไม่ได้สร้างภาคต่อ ผู้ชมอาจจะเลือกไม่รับชมเสียแต่แรกไปเลย

ในขณะที่ซีรีส์ประเภท ‘ดูง่าย’ เนื้อหาดูไปเพลินๆ แถมใช้เวลาเพียง 30 นาทีต่อตอน ก็จะทำให้อัตราการดูจบสูงกว่า มีโอกาสได้สร้างภาคต่อมากกว่า

นั่นแปลว่าผู้สร้างอาจจะหันมาหาซีรีส์ที่มีเนื้อหาเบาสมองกว่า และตัดเป็นตอนสั้นๆ กันมากขึ้น

นอกจากอัตราการดูจบแล้ว Netflix น่าจะพิจารณาเรื่องงบลงทุนว่าคุ้มค่าพอที่จะ ‘ถัวเฉลี่ย’ กับอัตราดูจบที่ต่ำไหม ยกตัวอย่างซีรีส์เรื่อง The Lincoln Lawyer มีอัตราดูจบ 56% ผ่านเส้นยาแดงมาไม่ไกล แต่ด้วยทุนสร้างไม่สูงมาก จึงได้ไปต่อ

ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากบริษัทภายนอก และการคาดเดาของนักวิเคราะห์ เพราะทาง Netflix ไม่เคยให้ข้อมูลเรื่องอัตราดูจบ จะให้เฉพาะจำนวนชั่วโมงรับชม แต่ถ้าอนาคตคุณสังเกตเห็นซีรีส์ที่เปิดตัวเป็นอันดับ 1 บนชาร์ต แถมยังมีจำนวนชั่วโมงรับชมสูง แต่สุดท้ายถูกแคนเซิลซีซั่นหน้า ก็เป็นไปได้ว่าอัตราดูจนจบนี่แหละที่เป็นปัญหา

Source

]]>
1415273
“บีอีซี สตูดิโอ” อาวุธใหม่ “บีอีซี เวิลด์” ลงทุนโรงถ่าย-บุคลากร ปั้น “ซีรีส์” ส่งออกเทียบชั้นเกาหลี https://positioningmag.com/1389092 Fri, 17 Jun 2022 02:13:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1389092 เอาจริงแบบจัดเต็ม! “บีอีซี เวิลด์” เปิดบริษัทย่อย “บีอีซี สตูดิโอ” ลุยงานผลิต “ซีรีส์” เพื่อส่งออกต่างประเทศโดยเฉพาะ ลงทุนสร้างสตูดิโอหนองแขมเฟสแรก 400 ล้านบาท ปั้นบุคลากรทั้งเขียนบท-โปรดักชัน-ซีจี เพื่อยกระดับคุณภาพคอนเทนต์ให้เป็นสากล ดึงตัว “อภิชาติ์ หงส์หิรัญเรือง” จาก True CJ Creations คุมทัพ ส่งต่อองค์ความรู้การผลิตซีรีส์จากเกาหลี

สภาวะ “ดิสรัปต์ชัน” ในวงการโทรทัศน์ ทำให้ “บีอีซี เวิลด์” พึ่งพิงเฉพาะรายได้จาก “ช่อง 3” ไม่ได้อีกต่อไป จึงมีการวางกลยุทธ์ ‘New S-curve’ สร้างธุรกิจ “ผลิตคอนเทนต์” ไม่ใช่แค่ป้อนให้กับช่อง 3 แต่เพื่อส่งออกตลาดต่างประเทศซึ่งมีโอกาสกว้างกว่า แต่ก็ต้องแข่งขันสูง และต้องยกระดับคอนเทนต์ให้เป็นสากล

“อภิชาติ์ หงส์หิรัญเรือง” กรรมการผู้อำนวยการ สายธุรกิจ บริษัท บีอีซี สตูดิโอ จำกัด เปิดเผยว่า จากกลยุทธ์ของบีอีซี เวิลด์ทำให้บริษัทย่อยแห่งใหม่นี้จะเป็นหัวหอกในการสร้างคอนเทนต์ป้อนตลาดต่างประเทศ โดยบริษัทมีการศึกษาตัวอย่างจาก “เกาหลีใต้” ซึ่งสามารถพัฒนาซีรีส์ให้เป็นสากลจนเป็นเบอร์ 1 ของเอเชีย เพื่อนำมาเปรียบเทียบอุดช่องโหว่ในไทย

บีอีซี สตูดิโอ
“อภิชาติ์ หงส์หิรัญเรือง” กรรมการผู้อำนวยการ สายธุรกิจ บริษัท บีอีซี สตูดิโอ จำกัด

ข้อสรุปที่อภิชาติ์พบว่าเป็น “จุดที่ต้องพัฒนา” ของละครหรือซีรีส์ไทยหากอยากไปตลาดโลก มีทั้งหมด 3 ข้อ คือ

1.บทละคร ต้องยกระดับให้เป็นสากลในด้านวิธีการเล่าเรื่อง และการพัฒนาตัวละครให้ลึกขึ้น ในขณะที่ยังคงรสชาติของวัฒนธรรมไว้ได้

2.โปรดักชันการผลิต ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญมาก โดยการผลิตซีรีส์ของเกาหลีเรื่องหนึ่งใช้เวลาเพียง 4 เดือนถ่ายเสร็จ ขณะที่ไทยต้องใช้เวลาอย่างน้อย 7-8 เดือน

ข้อแตกต่างคือ เกาหลีมีการสร้างสตูดิโอในร่ม ทำให้สามารถเซ็ตแสงกลางวัน-กลางคืนได้ ควบคุมเวลาได้ ซีนถ่ายทำส่วนใหญ่อยู่ในสตูดิโอเดียว ไม่ต้องเคลื่อนย้ายมาก ขณะที่ไทยมักจะใช้สถานที่ถ่ายทำนอกสตูดิโอ ซึ่งทำให้การควบคุมแสงทำได้ลำบาก การถ่ายทำไม่ต่อเนื่อง

นอกจากนี้ เกาหลีจะมีการถ่ายทำ 5 วันต่อสัปดาห์ แต่ไทยมีวิธีทำงานแบบถ่ายทำควบ 2 กองถ่ายแต่ใช้คนกองชุดเดียวกัน ทำให้แต่ละกองจะได้คิวถ่าย 3-4 วันต่อสัปดาห์ จึงใช้เวลานานต่อหนึ่งเรื่อง

ตัวอย่างภาพเบื้องหลังการถ่ายทำ Squid Game ในโรงถ่าย โดยใช้สกรีนช่วยเพื่อทำซีจีในภายหลัง (Photo: YouTube@Still Watching Netflix)

3.นักแสดง ต้องมีการพัฒนาให้มีคุณภาพการแสดงที่ยกระดับมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ มองว่าข้อดีของนักแสดงไทยนั้นมีบุคลิก รูปร่างหน้าตาที่เป็นที่ยอมรับของตลาดสากล ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบ

 

ลงทุน 400 ล้านเนรมิตสตูดิโอหนองแขม

อภิชาติ์กล่าวต่อว่า บีอีซี สตูดิโอ จึงมีการลงทุนเพื่อตอบโจทย์ทุกอย่างเหล่านี้ทั้งทางกายภาพและบุคลากร แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่

1.Studio

บริษัทเตรียมงบลงทุน 400 ล้านบาท สำหรับก่อสร้างสตูดิโอ “CH3 Sound Stage Studio” เฟสแรก ในพื้นที่โรงถ่ายหนองแขมซึ่งมีที่ดินรวม 72 ไร่ (ที่ดินของตระกูลมาลีนนท์)

ที่ดินนี้เดิมมีการสร้างเซ็ตติ้งประเภท Backlot ไว้อยู่แล้ว เป็นฉากถ่ายทำแบบกลางแจ้งสำหรับละครประเภทพีเรียด แต่การสร้างสตูดิโอแบบ Sound Stage จะเป็นแบบในร่ม ใช้ถ่ายทำซีนภายในอาคารต่างๆ สามารถจัดแสงได้ง่าย และถ่ายทำแบบ Green Screen ได้ โดยเฟสแรกจะมีทั้งหมด 6 สตูดิโอ แบ่งเป็นขนาด 2,000 ตร.ม. 2 สตูดิโอ, 1,500 ตร.ม. 2 สตูดิโอ และ 800 ตร.ม. 2 สตูดิโอ

บีอีซี สตูดิโอ โรงถ่าย
ภาพจำลองสตูดิโอแบบ Sound Stage ที่จะก่อสร้างขึ้น
บีอีซี สตูดิโอ
สตูดิโอแบบ Backlot ใช้ในการถ่ายทำละครพีเรียด

2.Creative

กรณีนี้บีอีซี สตูดิโอต้องการจะยกระดับนักเขียนบทในไทยให้พัฒนาบทได้เป็นสากล จึงเปิดโปรเจ็กต์ Workshop การเขียนบท โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ 12 แห่งของไทย และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามาเป็นวิทยากรอบรม

รอบแรกเดือนเมษายน 2565 มีการรับสมัครและจัด Workshop ไปแล้ว 35 คน (คัดเลือกจากใบสมัครกว่า 600 คน) และหลังจากนี้จะมีการเปิดรอบต่อๆ ไป

3.Production

บีอีซี สตูดิโอมีการว่าจ้างทีมงานผู้กำกับและโปรดิวเซอร์ที่เป็น in-house ทำให้สามารถวางแผนการพัฒนาการถ่ายทำได้คล่องตัว

4.Post-production

อีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ทำให้ไทยแตกต่างจากสากล คือการทำ “ซีจี” (Computer Graphic) หลังการถ่ายทำที่ต้อง ‘เนียน’ ให้มากขึ้น ซึ่งบริษัทจะมีการนำเข้าเทคโนโลยี และติดต่อผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามาเทรนนิ่งให้กับบุคลากรทีมซีจีของบีอีซี สตูดิโอ

นอกจากนี้ จะมีการใช้เทคโนโลยี Virtual Production เข้ามาถ่ายทำด้วย โดยเทคโนโลยีนี้เป็นการใช้กำแพง LED ฉายภาพฉากเสมือนจริงขึ้นมาระหว่างถ่ายทำ ไม่ต้องรอใส่ฉากเข้าไปใน Green Screen ภายหลัง

 

ประเดิม 3 ซีรีส์แรก เริ่มเปิดกล้องปีนี้

ด้านโมเดลธุรกิจของบีอีซี สตูดิโอ ดังที่กล่าวว่าเป็นการผลิตเพื่อเจาะตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะ บริษัทจะมีทั้งการผลิตแบบ Original Series ด้วยทีมงานของบีอีซีเอง และติดต่อขายให้กับ OTT และช่องโทรทัศน์ในประเทศต่างๆ โดยซีรีส์กลุ่มนี้จะลงฉายในช่อง 3 และดิจิทัลแพลตฟอร์ม 3Plus ด้วย รวมถึงบริษัทยังมีการผลิตแบบ Co-Production กับสตูดิโอหรือช่อง OTT ต่างประเทศด้วย ขณะนี้มีดีลที่กำลังเจรจาและจะประกาศได้เร็วๆ นี้

อภิชาติ์กล่าวถึงตลาดศักยภาพของไทย แน่นอนว่าอันดับ 1 คือ “จีน” ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด รองๆ ลงมา เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ ทวีปอเมริกาใต้

บีอีซี สตูดิโอ
ซีรีส์ที่เริ่มการถ่ายทำในปี 2565 ของ บีอีซี สตูดิโอ

โดยปี 2565 นี้มีซีรีส์พร้อมเปิดกล้องถ่ายทำแล้ว 3 เรื่อง จะเริ่มเปิดกล้องครบในวันที่ 19 มิถุนายนนี้ ได้แก่

  • มือปราบกระทะรั่ว – ซีรีส์แนว Action Comedy กำกับโดย ฉิก-สกล เตียเจริญ นำแสดงโดย เต๋อ-ฉันทวิชช์ และ เต้ย-จรินทร์พร
  • เกมโกงเกมส์ – ซีรีส์แนว Crime & Suspense กำกับโดย โต้ง-ตรัยยุทธ กิ่งภากรณ์ นำแสดงโดย กระทิง-ขุนณรงค์ และ เก้า-สุภัสสรา
  • ร้อยเล่ม เกมส์ออฟฟิศ – ซีรีส์แนว Drama กำกับโดย เอ-นัฐพงศ์ วงษ์กวีไพโรจน์ นำแสดงโดย มิ้นต์-ชาลิดา และ นนกุล ชานน

ถือเป็นการประเดิมปีแรกของบีอีซี สตูดิโอ แต่จริงๆ แล้ว อภิชาติ์มองว่าบริษัทสามารถรับกำลังผลิตได้ถึง 10 เรื่องต่อปี

 

ไทยคือ “ดาวรุ่ง” ดวงใหม่ แต่ต้องใช้เวลาพัฒนา “คน”

แม่ทัพของบีอีซี สตูดิโอนั้นเคยเป็นกรรมการผู้จัดการ True CJ Creations มาก่อน ทำให้ได้องค์ความรู้และอินไซต์จากฝั่งเกาหลีผ่าน CJ Entertainment มาไม่น้อย และมุมมองจากฝั่งเกาหลีเชื่อว่าคอนเทนต์บันเทิงไทยนั้นมีโอกาส

“ถ้าจะมีประเทศไหนในเอเชียที่จะเป็น ‘ดาวรุ่งดวงใหม่’ ต่อจากเกาหลีใต้ได้ ก็ต้องเป็นประเทศไทย เพราะเรามีองค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่ไม่แพ้ใคร อย่างอาหารไทยที่โด่งดังไปทั่วโลก เรามีดาราที่หน้าตาดี บุคลิกดี เป็นที่ยอมรับ และประเทศเรามียุทธศาสตร์ที่เป็นมิตรกับหลายประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มองเชิงบวกกับเราทั้งหมด” อภิชาติ์กล่าว

“สิ่งที่สำคัญวันนี้คือบุคลากรซึ่งต้องใช้เวลาพัฒนา เป็นเรื่องที่ใช้เงินทุ่มขึ้นมาทันทีไม่ได้”

อภิชาติ์มองเป้าหมายสูงสุดขององค์กรว่า บริษัทต้องการจะยกระดับการผลิตคอนเทนต์ให้ทัดเทียมต่างประเทศ และตั้งเป้าว่าภายในปี 2567 คนไทยจะได้เห็นซีรีส์ไทยจากบีอีซีที่มีคุณภาพสากลอย่างแน่นอน

]]>
1389092
เปิดเส้นทาง 11 ปี “นาดาวบางกอก” จากกำไร 26,000 บาท สู่โปรดักชั่นมือทองของ GDH https://positioningmag.com/1301319 Thu, 15 Oct 2020 17:15:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301319 เเม้ชื่อของ “ย้ง-ทรงยศ สุขมากอนันต์” จะเป็นผู้กำกับชื่อดังที่เริ่มต้นได้สวยงาม จากหนังดังในตำนานอย่าง “แฟนฉัน” มาตั้งเเต่ปี 2546 เเต่เส้นทางการพลิกบทบาทสู่ผู้บริหาร ปลุกปั้น “นาดาวบางกอก” มากว่า 11 ปีนั้น ไม่ได้ราบรื่นเท่าไหร่นัก

จากผู้กำกับร่วมในเเฟนฉัน ลงสนามเป็นผู้กำกับเดี่ยวในภาพยนตร์เด็กหอ ตามมาด้วย 5 แพร่ง, ปิดเทอมใหญ่หัวใจว้าวุ่น และวัยรุ่นพันล้าน โกยความสำเร็จไปด้วยดี เเต่จากนั้นเขาตัดสินใจออกจาก Safe Zone ด้วยการมานั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการของ “นาดาวบางกอก” ซึ่ง ณ เวลานั้นยังเป็นเพียงแค่บริษัทดูแลศิลปินในสังกัดของ GTH

ย้อนความหลัง : วันที่ “นาดาว” เกือบต้อง “ปิดบริษัท” 

ช่วง 3-4 ปีเเรกของนาดาว ลุ่มๆ ดอนๆ มาก ตอนนั้นจับทางไม่ได้ว่าการพัฒนาศิลปินเเล้วมาทำรายได้อย่างไร จนกระทั่งถึงตอนถ่ายทำซีรีส์ฮอร์โมนส์ฯ ซึ่งตอนนั้นเกือบจะปิดกิจการบริษัทไปเเล้ว เพราะปีนั้นทำกำไรเเค่ 26,000 บาท

ย้งเล่าย้อนไปในช่วง 11 ปีที่ผ่านมาของนาดาว ว่า ซีรีส์ “ฮอร์โมนส์วัยว้าวุ่น” ซีซัน 1 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของบริษัท ช่วย “กู้วิกฤต” ให้เขาไม่ต้องทำธุรกิจ “เจ๊ง” 

ช่วงเริ่มเเรก นาดาวบางกอก มีทีมงานเพียงแค่ 7-8 คนเท่านั้น โดยระหว่างการถ่ายทำซีรีส์ฮอร์โมนส์ ซีซัน 1 นั้นถือเป็นงานใหญ่ที่ต้องใช้ “คนทั้งออฟฟิศ” มาทำงานเดียว จนทำให้ไม่มีเวลาไปรับงานอื่น ไม่มีรายได้เข้ามา จึงทำให้ผลประกอบการของนาดาวในปีนั้นมีกำไรเพียงแค่ 26,000 บาท (เป็นตัวเลขที่พนักงานรุ่นเก่าจำได้ขึ้นใจ)

ตอนนั้นรู้สึกท้อ คิดว่ามันคงเป็นสิ่งที่เราทำไม่เป็นจริงๆ เเหละ…ทำใจเเล้ว ตอนฮอร์โมนส์ฯ ออกฉาย เราหา
สปอนเซอร์ได้เเค่เจ้าเดียว พอฉาย 2 ตอนเเรก กระเเสเริ่มมีบ้างประปราย ก็คิดว่าเราก็จะ “จบสวยเหมือนกันนะ (หัวเราะ) พอฉายไปจนจบซีซัน กระเเสตอบรับดีเกินคาด ผู้ชมเเละสปอนเซอร์ถามหาเยอะ ตอนนั้นเเหละผมถึงมีความคิดว่าต้องไปต่อ ซึ่งซีซัน 2 ถือเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้บริษัทมีทุกวันนี้

จากซีรีส์ฮอร์โมนส์วัยว้าวุ่น นาดาวบางกอก ขยับฝ่ายโปรดักชั่นไปต่อยอดทำออริจินัลคอนเทนต์ ให้กับ LINE TV เเละทำซีรีส์ที่เจาะตลาดคนทุกวัยอย่าง “เลือดข้นคนจาง” ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างมากเช่นกัน

ซีรีส์ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น ซีซัน 1

รายได้ของ “นาดาว” มาจากอะไรบ้าง 

ปัจจุบันงานหลักๆ ของนาดาวบางกอก มีอยู่ 3 อย่างด้วยกัน คือ ฝ่ายดูแลพัฒนาศิลปินนักแสดง ฝ่ายโปรดักชั่นผลิตซีรีส์คอนเทนต์ และค่ายเพลง Nadao Music

ด้วยความที่ธุรกิจของนาดาวขึ้นอยู่กับคนอื่นเยอะทั้งลูกค้าเเละสปอนเซอร์ พรีเซ็นเตอร์เเละอีเวนต์ต่างๆ จึงทำให้คาดการณ์รายได้ยากว่าในเเต่ละปีบริษัทจะโตเท่าไหร่ โดยรายได้ในปี 2019 อยู่ที่ราว 270 ล้านบาท

เเบ่งรายได้ของนาดาวง่ายๆ เป็น 2 ส่วน ได้เเก่ ดูแลศิลปินและนักแสดง ราว 60% ส่วนอีก 40% มาจากการทำซีรีส์และคอนเทนต์ต่าง ๆ

ที่น่าสนใจคือกำไรที่ได้นั้นกลับสวนทางกัน โดยฝ่ายโปรดักชั่น เเม้จะมีรายได้ในสัดส่วนที่น้อยกว่า เเต่ทำกำไรเมื่อหักค่าใช้จ่ายเเล้วได้ประมาณ 20-30% ขณะที่ส่วนดูเเลศิลปิน รายได้ส่วนใหญ่ที่ได้จากค่าตัว มักจะถูกแบ่งให้กับศิลปินในสัดส่วนที่มากกว่า เเละเมื่อหักลบอะไรต่าง ๆ แล้ว จึงเหลือเป็นกำไรกลับมายังบริษัทเพียงแค่ประมาณ 8-15% ต่องานเท่านั้น

ช่วงที่จัดอีเวนต์ไม่ได้ หายไปเลยกว่า 2 เดือนที่ล็อกดาวน์นั้น กระทบงานส่วนดูเเลศิลปินโดยตรง เพราะรายได้ศิลปินทั้งหมดมาจากงานอีเวนต์ราว 20% พรีเซ็นเตอร์ 70% เเละออนไลน์ 10%”

ยัง เล่าลึกลงไปถึงการลงทุนในโปรดักชั่นว่า ซีรีส์ส่วนใหญ่ของนาดาว มีต้นทุนต่อตอนราว 2.5 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นต้นทุนที่สูงกว่าละครในช่วง Prime-Time ของทีวีช่องใหญ่ทั่วไป ที่มักจะเฉลี่ยอยู่ที่ 1.4-1.5 ล้านบาท

การจะให้ลดต้นทุนโปรดักชั่นเพื่อเพิ่มกำไร ไม่ใช่ทางของนาดาว มันเป็นเรื่องของการรักษาคุณภาพ รายละเอียดของงาน เพราะคนทำงานก็มาจากคนทำหนัง พอลงมาทำสเกลเล็กกว่าอย่างซีรีส์ ค่าตัวของทีมงานก็ยังเหมือนเดิม มีซีนเยอะขึ้นก็มีค่าตัดต่อเพิ่มอีก เหล่านี้ก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมในเเต่ละปี จึงได้ชมซีรีส์จากนาดาวเพียง 1-2 เรื่อง

โดยตอนนี้รายได้ของนาดาวบางกอก มาจากในประเทศ 90% ส่วนที่เหลืออีก 10% เป็นรายได้ที่มาจากต่างประเทศ (ส่วนใหญ่มาจากจีนที่ซื้อซีรีส์ไปฉาย)

ความท้าทายของธุรกิจ “ดูเเลศิลปิน” 

ตอนนี้นาดาวบางกอก มีศิลปินอยู่ในสังกัด 36 คน การทำงานกับ “คนรุ่นใหม่” ที่มีความคิดความอ่านเเตกต่างกันตามเจเนอเรชันนั้น “ไม่ใช่งานง่ายๆ”

ทรงยศ บอกว่า นโยบายของนาดาวยังคงเหมือนเดิม คือ การพัฒนาคนขึ้นมาให้เป็นนักเเสดงเเละศิลปินที่ดีพอให้คนข้างนอกมาจ้าง อยากทำงานกับพวกเขา ไม่ใช่วนเล่นหนังให้กับ GDH หรือนาดาว

ถ้าเห็นน้องคนไหนไปทำงานข้างนอกเยอะๆ ไม่ได้ทำนาดาวเลย นั่นคือนักเเสดงที่เราภูมิใจนะ เราพยายามส่งเสริมให้เขามีประสบการณ์ มีความสามารถเพียงพอที่จะเอาตัวรอด ทำงานกับผู้จัดข้างนอกได้ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาก็ถือว่าภูมิใจในสิ่งที่เราทำมา เเละน้องๆ ก็ได้ออกไปทำในสิ่งที่อยากทำด้วย

“เเท๊ด-รดีนภิส โกสิยะจินา” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เเผนการตลาดเเละสื่อสารองค์กรของนาดาวบางกอก เสริมว่า สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการที่ศิลปินอยู่กับเราตั้งเเต่เด็กจนโต ทำให้เห็นความเปลี่ยนเเปลง พอเป็นวัยรุ่นก็ต้องใช้เหตุผลคุยกัน มุมหนึ่งก็คุยกันง่ายขึ้น เเต่อีกมุมเขาก็เริ่มมีทัศนคติ มีเเนวคิดของตนเอง

อะไรที่เป็นสิ่งที่ทำให้ศิลปินยังอยู่กับนาดาว” ?

ย้งตอบว่าผมไม่เคยถามน้องๆ นะ เเต่เดาว่า คงเป็นการที่เราอยู่เเบบพี่น้อง การทำสัญญากับนาดาวไม่มีการผูกมัด ถ้าศิลปินรู้สึกว่าวันหนึ่งไม่อยากทำเเล้ว อยากยกเลิกสัญญา ก็ทำ เมื่อไหร่ก็ได้ เเต่ต้องมาคุยกันก่อน มีเหตุผลที่เข้าใจได้เเละไม่มีอะไรค้างคา ทำงานเเบบรับผิดชอบต่อกัน เรื่องการบริหารคนก็มีปัญหาหยุมหยิมไปหมด เเต่ต้องคุยกันให้เข้าใจ ให้รู้สึกสบายใจ

ย้ง ทรงยศเเละเเท๊ด-รดีนภิส โกสิยะจินา สองผู้บริหารของนาดาวบางกอก

ตลอด 11 ปีที่ผ่านมา เฟ้นหาเด็กมา “ปั้นเป็นดารา” อย่างไร มองจากอะไร ?

ผมว่ามันเป็นเรื่องของสัญชาตญาณ เวลาเเคสติ้งนักเเสดงมาเล่นหนังก็เจาะจงไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องรสนิยมส่วนตัว เเต่เด็กที่ทำให้เราสนใจได้ ต้องมีคาเเร็กเตอร์บุคลิกเฉพาะตัวของเขา เช่น เดินมาเเล้วพูดอะไรบางอย่าง เเล้วเราจำเด็กคนนี้ได้ ไม่ใช่เเค่เรื่องหน้าตาเท่านั้น เเต่ชวนมอง มองได้ไม่เบื่อ

นาดาวบางกอก มีการเสริมทักษะให้ศิลปินต่างๆ เริ่มจากการให้เรียนการเเสดงก่อนจากนั้นค่อยๆ ให้เข้าสู่โปรเจกต์ที่ไม่ยากเกินตัว เวลาส่งศิลปินไปเเคสติ้งงาน ก็อยากรู้ฟีดเเบ็กจากลูกค้าว่าทำไมเลือกศิลปินเรา เเละทำไมไม่เลือก เพื่อนำมาปรับปรุงเเละพัฒนาต่อไป

ความเป็นเด็กนาดาว ทำให้มีภาษีกว่าที่อื่นไหม ?

ถ้าเป็นช่วงหลังๆ ก็อาจจะมีบ้าง มีข้อได้เปรียบว่ารุ่นพี่สร้างภาพจำที่ดีว่าสังกัดนี้ตั้งใจ รับผิดชอบเเละมีทักษะการ
เเสดงที่โอเคระดับหนึ่ง เเต่สุดท้ายเเล้วก็ขึ้นอยู่กับเเต่ละบุคคลว่าตัวเขาเองทำได้ดีเเค่ไหน

Nadao Music กับความฝัน T-POP ระดับเอเชีย

ย้งเล่าว่า การทำค่ายเพลงของนาดาว เกิดจากความไม่ได้ตั้งใจทำเป็นธุรกิจ เเต่เกิดจากการที่มีกลุ่มศิลปินที่มีความสามารถด้านการร้องเพลง โดยสมัยก่อนจะให้ไปเซ็นสัญญากับที่อื่น เเต่พอมาคิดดูเเล้ว คงถึงเวลาเเล้วที่นาดาวจะต้องจะทำเองเพื่อซัพพอร์ตความสามารถของศิลปิน

เมื่อพอคิดจะมียูนิตนี้ อย่างไรก็ต้องทำให้เป็นธุรกิจให้ได้ ด้วยความบังเอิญที่ตอนนั้นซีรีส์รักสุดใจนายฉุกเฉิน เเล้วทำเพลงประกอบ “รักติดไซเรนเกิดกระเเสฮอตฮิตขึ้นมา จึงเป็นการปูทางให้บริษัทได้เรียนรู้การทำตลาดจากเพลงจริงจัง โดยตอนนี้มีเบลสุพล นักร้องชื่อดัง มานั่งแท่นเป็นหัวเรือใหญ่

ล่าสุดมีศิลปินในสังกัด 6 คน คือ เจเลอร์ กฤษณภูมิ , ไอซ์ พาริส , กัปตัน ชลธร , บิวกิ้น พุฒิพงศ์ , แพรวา ณิชาภัทร เเละนาน่า ศวรรยา โดยมีเเผนจะเพิ่มศิลปินในอนาคต เเต่ขอโฟกัสที่มีอยู่ตอนนี้ให้ดีก่อน

ถ้าถามว่านาดาว บางกอกมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ต้องขอบคุณซีรีส์ฮอร์โมนส์ฯ ถ้าถามว่าเกิด Nadao Music ได้ยังไง ก็ต้องขอบคุณเพลงรักติดไซเรน

ความคืบหน้าของ Nadao Music นั้น ย้งบอกว่า เพิ่งเปิดตัวเป็นปีเเรก…ต้องสู้กันอีกยาวยังยากลำบากเเละผลประกอบการก็ยังน่าเป็นห่วง เเต่ไปต่อเเน่นอน

ผู้บริหารนาดาว มองว่า เเม้ธุรกิจค่ายเพลงจะอยู่ในช่วงขาลง เเต่วงการนี้ยังมี “ลู่ทาง” ที่จะไปต่อได้ เช่น การขยายฐานตลาดเเฟนเพลงออกไปยังต่างประเทศแทน เริ่มจากประเทศในอาเซียน ที่ตอนนี้นาดาวมีฐานแฟนอยู่ในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และจีน อยู่แล้ว ถ้าเราอยากทำเพลงดี ลงทุนสูง ตลาดในบ้านเรา อาจจะไม่พอ

โดยตั้งเป้าจะเจาะตลาดเอเชียเป็นหลัก ซึ่งประเทศที่ฝันอยากจะไปให้ถึงก็คือเกาหลีใต้และญี่ปุ่น  เพราะทั้งสองประเทศมีวัฒนธรรมด้านบันเทิงที่แข็งเเกร่งมาก

ถ้าถามว่าเป้าหมายอยากทำ T-POP ให้โด่งดังในระดับเอเชียไหม คำตอบคืออยากมาก เเต่จะสำเร็จไหมก็ต้องดูกันยาวๆ”

ซีรีส์วาย ต้อง “หลากหลาย” ถ้าอยากไปต่อ

นาดาวเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์เจ้าเเรกๆ ที่ลงสนามมาทำ “ซีรีส์วาย” จนตอนนี้กลายเป็นกระเเสฮิตติดลมบนไปเเล้ว

“เรากำลังทำความเข้าใจเเละเรียนรู้ตลาดซีรีส์วายอยู่ตลอด เเต่ไม่ได้มองว่าพอตลาดมันฮิตเเล้วค่อยลงไปทำ เเต่เราทำเพราะทีมงานเราอยากทำ มาเสนอโปรเจกต์ที่เห็นว่าเหมาะสมกับช่วงเวลาเเละพอจะขายได้ เช่น แปลรักฉันด้วยใจเธอ ก็เป็นการต่อยอดการเเสดงของ #พีพีบิวกิ้น จากบทหมอเต่าทิวเขาในละครรักฉุดใจนายฉุกเฉิน”

ผู้บริหารนาดาว มองว่า ตลาดซีรีส์วาย ถือว่าเติบโตเร็วเเละใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เเม้ทุกวันนี้จะเป็นเฉพาะกลุ่ม เเต่เป็นกลุ่มที่กว้างมาก ทำให้เราเห็นว่าโลกทุกวันนี้ สิ่งที่เป็น Niche Market จะกลายเป็นตลาดเเมส ไม่มีอะไรที่เเมสจริงๆ เเล้ว ซีรีส์วายก็จะเป็น Niche ที่เเมสไปอีกเเบบหนึ่ง

ผมว่าซีรีส์วาย ถ้าอยากจะไปต่อ เราต้องทำคอนเทนต์ให้หลากหลายกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ เเละมีมาตรฐานชัดเจน

ซีรีส์วายเรื่องใหม่ของนาดาวบางกอก -แปลรักฉันด้วยใจเธอ

ศิลปินคอนเทนต์กับวิกฤต COVID-19

ทรงยศ กล่าวถึงการปรับตัวของนาดาวบางกอก ในสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ให้ฟังว่า ตอนเเรกก็ตั้งตัวไม่ทัน ต้องเเก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันเเทบทุกอย่าง เพราะตอนนั้นถึงเวลาเปิดกล้องถ่ายทำละครแปลรักฉันด้วยใจเธอเเต่จากมาตรการล็อกดาวน์ทำให้ออกไปถ่ายทำไม่ได้ ต้องมีการประเมินสถานการณ์เเบบวีคต่อวีค

ส่วนมากต้องเจรจากับลูกค้า เพราะการเลื่อนถ่ายทำคือการเลื่อนฉาย เเต่จะเลื่อนไปได้ถึงไหน ตอนนั้นยังไม่รู้ เเต่หลังเราชนฝาได้เพียงสิ้นปี จะข้ามปีไม่ได้ ทั้งปัญหางบประมาณเเละคิวนักเเสดง จากใบเสนอราคาที่เคยเข้าบริษัทเดือนละ 30 ใบ ตอนนั้นเข้าเเค่ 6 ใบ” 

ส่วนธุรกิจดูเเลศิลปินนั้น ต้องปรับตัวอย่างมาก เพราะงานอีเวนต์ต่างๆ ที่บริษัทรับไว้ถูกยกเลิกเพราะสุ่มเสี่ยงเกินไป เหล่าสปอนเซอร์ที่เป็นคอนซูมเมอร์โปรดักส์ได้รับผลกระทบหมด เพราะขายของไม่ได้ จึงมีผลต่อการตัดสินใจในงบที่จะมาเป็นผู้สนับสนุนซีรีส์สักเรื่องมีทั้งเจ้าที่ยกเลิกเเละระงับโปรเจกต์ไปก่อน

ช่วง COVID-19 ดูเหมือนนาดาวจะเงียบๆ ไม่มีงาน เเต่งานหลักของเราคือการเเก้ปัญหาความวุ่นวายหลังบ้าน เช่น ลูกค้าที่ซื้อพรีเซ็นเตอร์ศิลปินเรา ถ่ายโฆษณาไม่ได้ ออกอีเวนต์ไม่ได้ น้องเราจะช่วยอะไรกลับได้บ้าง ทำอะไรทดเเทนได้บ้าง

เเบรนด์ต่างๆ ก็ปรับตัวเร็ว อย่างการเปลี่ยนให้ศิลปินไลฟ์เองจากที่บ้าน โพสต์รูปกักตัวอยู่บ้านในอินสตาเเกรมเเละทวิตเตอร์ รวมไปถึงให้ศิลปินช่วยไลฟ์ในเเพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ กระตุ้นขายของ ซึ่งต่อไปการจัดอีเวนต์หรือโปรโมตสินค้า ก็คงต้องเป็นรูปแบบผสมออฟไลน์ออนไลน์

ศิลปินก็ต้องปรับตัว ทำคอนเทนต์กึ่งๆ โฆษณาจากที่บ้านเอง เเต่งหน้าเองเพราะไม่มีกองถ่ายไปดูเเล พวกเขาต้องถ่ายเอง ลองผิดลองถูก มีการทำคอนเทนต์กักตัวเดอะซีรีส์ ทุกอย่างโปรโมตผ่านออนไลน์ ทำให้ได้เข้าใจการใช้เเพลตฟอร์มโซเชียลมากขึ้น ถือเป็นความท้าทายใหม่ของศิลปินในยุค New Normal”

หลังคลายล็อกดาวน์ ทีมงานสามารถกลับมาทำงานโปรดักชั่นได้เต็มรูปแบบเเล้ว เดินหน้ากองละครต่อเนื่องได้ตั้งเเต่ช่วงเดือนสิงหาคม ตอนนี้ก็ถือว่ากลับเข้าสู่โหมดปกติศิลปินเริ่มมีงานอีเวนต์เเละลูกค้าหลายๆ เจ้าก็พร้อมเตรียมลุยงานปีหน้าเเล้ว

ใจเราก็อยากโตทุกปี ไม่เคยมีเป้าตัวเลขชัดเจน ขอเเค่ไม่ต่ำกว่าเดิม ปีที่เเล้วเราจบที่ 270 ล้านบาท เเต่เมื่อเจอโรคระบาด ปีนี้ก็คงไม่โตเเน่นอน ต้องลุ้นกันว่าจะไปได้ถึงจุดไหนมากกว่า คาดว่าสินปีนาดาวคงทำรายได้ไม่เกินที่ 230 ล้าน

ผู้กำกับสู่ผู้บริหาร : มุมมองที่เปลี่ยนไป

จริงๆ ผมก็อยากกลับไปเป็นผู้กำกับนะ เเต่ก็ได้เรียนรู้จากการเป็นผู้บริหารเยอะมาก เรานิ่งขึ้น ได้ใช้สกิลหลายๆ อย่างไปจัดการงานในเชิงสร้างสรรค์

ไม่ได้ชอบงานบริหาร ไม่ได้อินขนาดนั้น เเต่ถามว่าสนุกไหม ก็สนุกมาก ตลอด 11 ปีที่ผ่านมามีช่วงเครียด มีปัญหารุมเร้า เเต่เพราะได้ทำงานที่เราชอบ กับคนที่เราอยากทำงานด้วย จึงกลายเป็นความท้าทายเวลาต้องลงไปเเก้ปัญหา ด้วยความที่เราเป็นผู้กำกับก็ทำให้เห็นภาพรวม ก็เลยช่วยให้ทำงานบริหารได้

เเม้กลุ่มผู้ชมของนาดาวส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นมัธยมมหาลัยเเต่เวลาทำงานคอนเทนต์จะต้องมองให้ครบทุกเจเนอเรชัน ผลักดันให้ไปถึงทุกกลุ่ม อย่างเช่น ตอนทำละครเลือดข้นคนจางเเรกๆ จะดันศิลปิน 9by9 เเต่เราก็ต้องเล่าเรื่องให้คนเข้าถึงเยอะที่สุดเเต่ก่อนเราทำหนังทำซีรีส์มา เเม่เราไม่เคยได้ดูเลย เราก็เลยอยากทำเลือดข้นฯ ให้เเม่ดูบ้าง

โดยได้มีการทำความเข้าใจกับผู้ชมในทุกช่องทาง เช่นการอ่านคอมเมนต์ใน “ทวิตเตอร์” ซึ่งเขามองว่าเป็นฟีดเเบ็กที่สดเเละจริง เพราะคนดูเเล้วรู้สึกอย่างไรก็ทวีตออกมาเลย

“ผมสนใจคำติมากกว่าคำชมด้วยซ้ำ เพราะเราจะได้รู้ทิศทางว่าควรพัฒนางานเราต่อไปยังไง” 

ในวันที่ “ย้ง-ทรงยศ” ขยับจากผู้กำกับมาเป็นผู้บริหาร เเละนาดาวประสบความสำเร็จขึ้นเรื่อยๆ เขาก็เริ่มภารกิจ
“ส่งไม้ต่อ” ให้กับผู้กำกับรุ่นใหม่อย่าง พัฒน์ บุญนิธิพัฒน์ ผู้กำกับละคร ฉลาดเกมส์โกง เเละ บอสนฤเบศ กูโน ผู้กำกับ รักฉุดใจนายฉุกเฉิน, Side By Side พี่น้องลูกขนไก่ เเละแปลรักฉันด้วยใจเธอ

“การปั้นคนทำงานยังเป็นความท้าทายของเราอยู่ ผมไม่เคยคิดเลยว่าจะมาถึงวันที่นาดาวมีพนักงาน 50 คน จากจุดเริ่มต้น 7-8 คน ตอนนี้มองว่าการที่เราจะไปต่อได้ไกลๆ ยังไงก็ต้องสร้างคนทำงาน จะสร้างเเค่ศิลปินไม่ได้ นาดาวจะพยายามเดินไปในเส้นทางที่ทำงานในปริมาณที่เราทำได้ดี อยู่มือเเละควบคุมภาพได้ต่อไป

 

 

]]>
1301319
ฟ้าหลังฝน GDH วางเกม “ทำหนังสลับซีรีส์” สู่โกอินเตอร์ หวัง “บุพเพฯ 2” ดึงคนไทยหวนดูหนังโรง https://positioningmag.com/1298788 Mon, 28 Sep 2020 10:43:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298788 อุตสาหกรรมหนังไทยเหมือนโดนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เมื่อต้องเจอ COVID-19 ทำให้กระเเสหนังไทยยิ่งซบเซาลงไปอีก เจออุปสรรคทั้งต้องเลื่อนฉายในโรงภาพยนตร์ ยกเลิกการถ่ายทำ รวมถึงเงินทุนที่ค่อยๆ หมดไป

เเม้หลังคลายล็อกดาวน์เเล้ว ผู้คนจะกลับมาใช้ชีวิตปกติ เริ่มกลับมาดูหนังในโรงกันมากขึ้นหลังจากที่โหยหามานาน เเต่การฟื้นตัวของทั้งวงการในยามนี้ ก็ถือว่ายากลำบากมากทีเดียว

เมื่อพูดถึงค่ายหนังที่ครองใจชาวไทย ส่งหนังทำเงินเข้าฉายเป็นประจำ หนึ่งในนั้นต้องมี GDH รวมอยู่ด้วยอย่างเเน่นอน โดยปีที่ผ่านมาได้ส่งหนัง 3 เรื่อง ติดท็อปทำรายได้สูงสุดของปี 2019 ทิ้งห่างหนังไทยเรื่องอื่นไปหลายเท่า

ดังนั้น ทิศทาง กลยุทธ์เเละการปรับตัวของ GDH ในช่วงต่อไปนี้ จึงมีผลต่ออุตฯหนังไทย เเละมีความน่าสนใจไม่น้อย

ตลาดหนังไทย…เหนื่อยหนัก

ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ อุตสาหกรรมหนังในไทยทำรายได้ไปแค่ 580 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา มีรายได้ถึงกว่า 3,000 ล้านบาท ในจำนวน 580 ล้านบาทนี้ เป็นรายได้จากหนังไทยเพียง 120 ล้านบาท ซึ่งไม่มีหนังเรื่องไหนเลยที่มีรายได้เเตะ 50 ล้านบาท” 

จินา โอสถศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด หรือ GDH ให้สัมภาษณ์กับ Positioning พร้อมเล่าย้อนกลับไปถึงช่วงระบาดหนักว่า ตามปกติบริษัทจะทำหนังออกมาสู่ตลาดปีละ 2-3 เรื่อง โดยปีก่อนมีหนังฉาย 3 เรื่อง ส่วนปีนี้ตั้งใจทำหนัง 2 เรื่อง และละคร 1 เรื่อง แต่พอเจอสถานการณ์ COVID-19 ทำให้เเผนธุรกิจเเละไทม์ไลน์ต่าง ๆ ที่วางไว้ต้องเปลี่ยนไป

จินา โอสถศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GDH

ในปี 2019 หนังของ GDH อย่างตุ๊ดซี่ส์ & เดอะเฟคเป็นหนังไทยที่ทำเงินสูงสุด ด้วยรายได้ 141 ล้านบาท รองลงมาคือเรื่อง “Friend Zone ระวังสิ้นสุดทางเพื่อนอยู่ที่ 134 ล้านบาท และฮาวทูทิ้งทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอมีรายได้ที่ 57 ล้านบาท

ภาพรวม “หนังไทยตลอดปี 2019 ไม่ค่อยสดใสนัก มีออกฉายราว 40 เรื่อง ทำรายได้รวมทั้งหมดประมาณ 711 ล้านบาท ลดลง 14% เฉลี่ยต่อเรื่องทำรายได้เพียง 15 ล้านบาทเท่านั้น จากปี 2018 อยู่ที่ 18-19 ล้านบาท เเละที่น่าตกใจคือ มีหนังไทยกว่า 17 เรื่องที่ทำรายได้น้อยกว่า 1 ล้านบาทยิ่งพอมาเจอวิกฤต COVID-19 ไปอีกในปีนี้อาการยิ่งสาหัส

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหาร GDH มองว่ายังมีความหวังโดยปี 2020 บริษัทจะฉายหนังเพียงเรื่องเดียวในช่วงปลายปี วันที่ 3 .. นี้ คือ  อ้ายคนหล่อลวง” นำทีมนักเเสดงชื่อดังอย่าง ณเดชน์ คูกิมิยะ, ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก และ แบงค์ ธิติ ฯลฯ

แน่นอนว่าปีนี้คงไม่ได้เท่ากับปีที่แล้ว แต่คาดหวังกับ อ้ายคนหล่อลวงไว้สูงเหมือนกัน โดยตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 80 ล้านบาท

ขณะที่บรรยากาศของคนดูหนัง หลังวิกฤต COVID-19 นั้นยังมีความกังวลอยู่บ้าง โดยช่วงตั้งเเต่เดือนส.ค.เป็นต้นมา ก็เริ่มมีหนังต่างประเทศเข้ามา อย่าง TENET, Peninsula เเละมู่หลาน ก็เริ่มมีตัวเลขให้เห็นบ้าง เเต่ภาพรวมยังถือว่า “อาการหนัก” โดยจบปีนี้คาดว่าภาพรวมอุตสาหกรรมหนังไทยน่าจะมีรายได้ราว 1,000 ล้านบาทเท่านั้น

“เราหวังว่า ปี 2021 อุตสาหกรรมหนังในไทยจะกลับมาคึกคักแน่นอน และจะมีหนังไทยไม่ต่ำกว่า 45-50 เรื่องเข้าฉาย” 

บรรยากาศของโรงหนังในไทย เมื่อช่วงที่มีมาตรการป้องกัน COVID-19

ฉลาดเกมส์โกง…ช่วยชีวิต

“โชคดีจริงๆ ที่มีละครฉลาดเกมส์โกงมาช่วย เพราะในช่วงที่ผ่านมาไม่มีหนังฉาย ถ่ายทำไม่ได้ แต่ยังคงมีรายจ่ายต่าง ๆ ไม่งั้น GDH คงเครียดกว่านี้” 

จินา เล่าต่อว่า ละครเรื่อง “ฉลาดเกมส์โกง” ได้รายได้จาก ช่องONE และ WeTV รวมถึงสามารถขายในต่างประเทศทั้งจีน และประเทศอื่นๆ รวมได้มาทั้งหมด ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 60 ล้านบาท) 

นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ ซีรีส์ทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ การฉายในโรงภาพยนตร์
และการฉายบนเเอปพลิเคชันเเละเเพลตฟอร์ม OTT ต่างๆ เช่น WeTV, Netflix, LINE TV, AIS Play, True ID ฯลฯ และช่องทางโทรทัศน์ต่างๆ

“ต้องยกเครดิตให้ WeTV ที่จุดประกายเราให้เราทำละครต่อยอดความสำเร็จจากหนังทำให้เรามีเงินล่วงหน้าได้” 

“คาดว่าปีนี้รายได้รวมของ GDH จะอยู่ที่ 345 ล้านบาท ถือว่าไม่ขาดทุน เเต่จะมีกำไรไม่เท่าปีก่อน เพราะเราได้ฉายหนังเเค่เรื่องเดียว เเละละครอีก 1 เรื่อง เทียบกับปีก่อนเรามีหนังทำเงินถึง 3 เรื่อง ดังนั้นถ้าทำได้สามร้อยกว่าล้านก็ถือว่าโชคดีมากแล้ว”

ทั้งนี้ GDH ด้วยรายได้รวมอยู่ที่ 471.29 ล้านบาท ในปี 2019 เติบโตจากปี 2018 ประมาณ 12% โดยการทำหนังเรื่องหนึ่งของ GDH มีต้นทุนราว 45-50 ล้านบาท แบ่งเป็นทุนสร้าง 20-30 ล้าน ส่วนที่เหลือคืองบสำหรับทำการตลาด

เเผนต่อไป GDH : ทำหนังสลับซีรีส์ ต่อยอด OTT โกอินเตอร์ 

เเม้ความสำเร็จของละครละครเรื่อง “ฉลาดเกมส์โกง” จะช่วยอุ้มบริษัทไว้ได้ในช่วงวิกฤต เเต่ GDH ยังคงยืนหยัดที่จะทำหนัง “ยังไงหัวใจของ GDH ก็คือทำหนัง เเละเราจะทำหนังต่อไป” 

โดยทิศทางต่อไปของ GDH จะเน้นการ “ผสม” มากขึ้น อาจจะทำเป็นละครหรือซีรีส์สลับกัน เเละมีหลักเป็นการทำหนัง เพราะ “การทำหนังยังไปได้ไกลกว่า” ยกตัวอย่างหนังเรื่องฉลาดเกมส์โกง ที่สามารถทำ Box Office ในจีนได้ถึง 1,200 ล้านบาท หรือหนังเรื่อง Friend Zone ก็ทำรายได้ดีเช่นกัน 

“ต่อไปนี้ถ้ามีดีลกับจีนอีก เราจะไม่ขายขาดเเบบฉลาดเกมส์โกงเเล้ว เพราะเรารู้ตลาดเเล้วว่าทำเงินได้ ก็คงจะเป็นข้อตกลงที่เป็นดีลร่วมกันมากกว่า” 

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือการ “ต่อยอดคอนเทนต์” เพราะหากทำหนังดี หนังทำเงินได้ขึ้นมาเเล้ว ก็สามารถไปอยู่ต่อในเเพลตฟอร์ม OTT เจ้าต่างๆ ได้อีกช่องทาง เเละวนกลับมาสร้างเป็นสะครเเละซีรีส์ได้อีก “การได้ไปฉายบนเเพลตฟอร์ม OTT คือการปูทางที่หนังของ GDH จะออกสู่สายตาชาวต่างชาติมากขึ้น ซึ่งเป็นทิศทางของเราที่ต้องการโกอินเตอร์ ขยายไปทั้งเอเชีย ยุโรปเเละตลาดอเมริกา”  

ขณะที่กระเส “ซีรีส์วาย” ที่กำลังฮอตฮิตในปัจจุบันเเละมีผู้ผลิตคอนเทนต์หลายเจ้ากระโจนเข้าตลาดนี้ GDH มองว่าจะยังคงเป็นเทรนด์ไปอีกสักระยะ เเละจะไม่หายไปง่ายๆ ด้วยการมีฐานเเฟนคลับที่เหนียวเเน่น มีกลุ่มผู้ชมชัดเจนเเละกำลังขยายไปหลายช่วงวัย มีกำลังซื้อสูง ซึ่งบริษัทในเครือของ GDH อย่าง “นาดาว บางกอก” ก็มีการลุยตลาดนี้ต่อไป โดยในส่วนของ GDH นั้นยังไม่ไม่เเผนที่จะทำหนังหรือซีรีส์เเนวนี้ในช่วงนี้ เเต่เเย้มว่า “มีโอกาสที่จะทำในอนาคต” 

“บุพเพฯ 2” หวังสูง…ดึงคนไทยดูหนังโรง 

สำหรับโปรเจกต์ ปี 2021 ของ GDH จะมีอยู่ 4 เรื่องด้วยกัน เริ่มจาก…

1.“โกสต์แล็บ…ฉีกกฎทดลองผี” จากผู้กำกับกอล์ฟ ปวีณ ที่ได้ ต่อ ธนภพ, ไอซ์ พาริส มารับบทนำ ซึ่งตามเดิมต้องถ่ายทำและฉายในปีนี้ เเต่ต้องเลื่อนเพราะสถานการณ์ COVID-19

2. “ร่างทรง” หนังสยองขวัญที่ร่วมทุนกับค่ายหนังเกาหลี  Showbox Crop ฝีมือผู้กำกับ “โต้ง บรรจง” ที่ได้ผู้กำกับชื่อดังอย่าง “นา ฮงจิน” มาร่วมเป็นโปรดิวเซอร์ด้วย

3. “W” หนังที่ร่วมทุนกับ นาดาว บางกอกบริษัทในเครือของ GDH นับเป็นหนังเรื่องเเรกของนาดาวฯ โดยมีปิง เกรียงไกร เป็นผู้กำกับ และ ย้ง ทรงยศ เป็นโปรดิวเซอร์

4. “บุพเพสันนิวาส 2” โปรเจกต์ใหญ่ที่สุดของปี ที่ร่วมทุนกับบรอดคาซท์ ไทยเทเลวิชั่น ได้ปิง อดิสรณ์ ผู้กำกับเดียวกับรถไฟฟ้ามาหานะเธอ มากำกับให้ พร้อมนักแสดงนำคู่ขวัญจากจอทีวีอย่าง “โป๊ป-เบลล่า” ซึ่งคาดว่าจะออกฉายในช่วงปลายปี 2021

บุพเพสันนิวาส 2 เราใช้เงินลงทุนไปกว่า 80 ล้านบาท เเละตั้งเป้ารายได้ไว้สูงถึง 200 ล้านบาท เรื่องราวจะต่างกับละครทีวี เพราะจะเล่าไปข้างหน้า อารมณ์คล้ายกับการเล่าเรื่องในหนังพี่มากพระโขนง ขึ้นอยู่กับคนทำหนังว่าจะหยิบจับมุมไหนมาต่อยอด เรื่องนี้ก็ถือว่าตั้งความหวังไว้สูง ลงทุนมาก คิดว่าคนน่าจะกลับมาดูหนังกันเเล้ว ก็คิดว่าจะตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 200 ล้านบาท” 

จากโปรเจกต์หนังใหม่ทั้ง 4 เรื่องนี้ ซีอีโอของ GDH คาดว่าบริษัทจะรายได้สูงเกิน 500 ล้านบาท เพราะมีจำนวนหนังที่มากกว่าปกติ บวกกับยังมีรายได้จากนำคอนเทนต์ไปฉายกับแพลตฟอร์ม OTT เเละค่าลิขสิทธิ์ต่างๆ ด้วย

Key Success : ไม่หยุดนิ่ง นำไปต่อยอดได้ 

เเม้วิกฤต COVID-19 จะหนักหนาเอาการ เเต่ไม่ใช่วิกฤตรุนเเรงที่สุดของ GDH โดยจินาเล่าย้อนไปถึงสมัย
“น้ำท่วมใหญ่ ปี 2011” ที่ครั้งนั้น ภาพยนตร์เรื่อง “ท็อป ซีเคร็ต วัยรุ่นพันล้าน” เข้าฉาย หนังโปรโมตไปหมดแล้ว คนไม่ไปดูหนังในโรง เพราะคนต้องกลับไปดูเเลบ้านตัวเอง ออฟฟิศของบริษัทเองก็ยังต้องทำกระสอบทรายกั้นน้ำกัน วิกฤตครั้งนั้นจึงถือว่าเเรงที่สุด

โดยครั้งนี้ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นอีก อย่างกรณี “โรคระบาดระบาดรอบ 2” ผู้บริหาร GDH มองว่า คนทำหนังคงต้องฉายที่โรงก่อน ต้องใช้วิธี ‘รัดเข็มขัด’ เพราะถ้าเกิดขึ้นจริงก็คงถ่ายหนังไม่ได้อีก รายได้หายเเต่รายได้เท่าเดิม การเอาหนังที่ตั้งใจจะฉายในโรงหนัง ไปฉายออนไลน์ ก็ต้องเจออุปสรรคหลายอย่าง

เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป เสน่ห์ของการดูหนังในโรงคือการได้ดูจากจอใหญ่ๆ เสียงดีๆ มีบรรยากาศไปเที่ยวกับเพื่อน ไปเดต แต่ว่าเด็กสมัยนี้ดูในมือถือ ดูไปอาจจะทำสิ่งอื่นไปด้วย

“สิ่งที่ทำให้เรายังอยู่ได้ คือ การไม่อยู่กับที่ ต้องก้าวไปข้างหน้า สร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ดี เพราะถ้าของมันดี ยังไงคนก็ดู โดยสิ่งที่เราต้องพัฒนาต่อไปคือ การต่อยอด เพราะถ้าเราทำแบบเดิม คนก็ดูจะน้อยลง ต้องทำในวิถีทางใหม่ กล้าลอง กล้าทำ ต้องออกไปโกอินเตอร์ให้ได้…” 

อุตสาหกรรม “หนังไทย” จะกลับมาฟื้นได้หรือไม่…ปีหน้าต้องลุ้นกัน

 

]]>
1298788
ฉากต่อไป “ทีวี ธันเดอร์” ยุคเจน 2 ต้องเด็กลง! ขอปรับภาพเกมโชว์ จับตลาด “ซีรีส์วาย” https://positioningmag.com/1297387 Thu, 17 Sep 2020 14:26:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297387 อานิสงส์คนอยู่บ้านเเละต้อง Work from Home ในช่วงวิกฤต COVID-19 ทำให้ตลาดคอนเทนต์เติบโตขึ้นอย่างน่าจับตามอง

เมื่อผู้คนอยู่หน้าจอกันมากขึ้น เสพสื่อหลากหลาย ผ่านทั้งช่องทีวีดั้งเดิม แพลตฟอร์ม OTT ต่างชาติ เเละโซเชียลมีเดีย การเเข่งขันของรายการทีวี วาไรตี้ เเละตลาดใหญ่อย่างซีรีส์ดุเดือดมากขึ้น ผลักดันให้เหล่าผู้ผลิตต้องคิดหาของใหม่เร่งทำผลงานให้เข้าตาเเละเข้าใจผู้ชมยุค New Normal

ที่ผ่านมา เราคงคุ้นเคยกับชื่อของทีวี ธันเดอร์ ผู้ผลิตคอนเทนต์ที่คร่ำหวอดมายาวนานในวงการบันเทิงไทยเกือบ 3 ทศวรรษ มีรายการในตำนานอย่างมาสเตอร์คีย์ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากทั้งปัญหาเล็กใหญ่ ครั้งนี้ถึงกับยอมรับว่าการมาของ COVID-19 เป็นวิกฤตที่หนักหนาที่สุด

ท่ามกลางความท้าทายนี้ทีวี ธันเดอร์มองทิศทางต่อไปที่จะปรับภาพลักษณ์จากผู้ผลิตรายการเกมโชว์ วาไรตี้ ละคร ส่งลงตามช่องทีวี หันไปเน้นผลิตซีรีส์ ป้อนให้ OTT มากขึ้น โดยเฉพาะตลาด “ซีรีส์วาย” ที่กำลังเนื้อหอมพร้อมๆ กับการปั้นนักเเสดง ให้มีเเฟนคลับต่างชาติที่มีกำลังซื้อหนา อย่างจีน รัสเซีย ฟิลิปปินส์เเละมาเลเซีย

จับกระเเสใหม่ ปั้น “ซีรีส์วาย” บุกเเพลตฟอร์ม OTT

ณฐกฤต วรรณภิญโญ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด (มหาชน) ทายาทรุ่นสองที่เข้ามาสืบทอดธุรกิจ เล่าให้ Positioning ฟังว่า ในไตรมาส 4 ของปีนี้ทีวี ธันเดอร์รับรู้รายได้ Black log 150 ล้านบาท จากการผลิตคอนเทนต์ป้อนแพลตฟอร์มต่างๆ ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นการ “ผลิตซีรีส์”

เดิมทีภาพลักษณ์ของทีวี ธันเดอร์ จะถูกมองว่าเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ประเภทรายการโทรทัศน์ป้อนทีวีสถานีต่างๆ อย่าง ช่อง 3 , ช่อง 8 , PPTV , ไทยรัฐทีวีเเละ True4U เเต่เมื่อมีกระเเสความนิยมการดูวาไรตี้เเละซีรีส์ผ่านเเพลตฟอร์ม OTT ที่เพิ่มขึ้น จึงเป็น “โอกาสทอง” ที่จะขยายไปเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดนี้

โดยบริษัทเริ่มความสำคัญต่อช่องทาง OTT ตั้งแต่ 3 ปีก่อน เริ่มจาก AIS play และ LINE TV ปัจจุบันได้ขยายไปในหลายแพลตฟอร์มอย่าง WeTV, NetFlix, POPS และ Viu ยิ่งในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เร่งให้ OTT ในไทยเติบโตได้เร็วขึ้น “ผลงานของคนไทย” จึงเป็นที่ต้องการของตลาดนี้มากขึ้น

“ทีวีธันเดอร์เป็นเบอร์แรกๆ ที่กลุ่ม OTT ต่างชาติเข้ามาเจรจาพูดคุยให้ผลิตคอนเทนต์ให้ โดยเฉพาะประเภทซีรีส์” ณฐกฤต กล่าว

ณฐกฤต วรรณภิญโญ เเละ ภัทรภร วรรณภิญโญ สองผู้บริหารทีวี ธันเดอร์

ทีวี ธันเดอร์ จึงปรับรับด้วยการตั้งทีมงานใหม่ที่โฟกัสกลุ่มซีรีส์อย่างจริงจัง โดยเฉพาะเทรนด์ซีรีส์วายที่กำลังเติบโตดังนั้นในปีนี้ไปจนถึงปีหน้า บริษัทจะเน้นผลิตคอนเทนต์ซีรีส์ให้เเพลตฟอร์ม OTT เป็นหลัก เช่น Manner of Death พฤติการณ์ที่ตาย ซึ่งเป็นซีรีส์สายวายที่จะทำป้อนให้กับทาง WeTV

“เรามองว่ากลุ่มผู้ชมซีรีส์สายวายมีการเติบโตขึ้น ไม่จำกัดเเค่กลุ่มผู้หญิง เเต่มีกลุ่มผู้ชายเเละหลากหลายช่วงวัย ด้วยความที่ตลาดนี้เริ่มมีผู้เล่นเข้ามาเยอะ ผู้ผลิตหลายเจ้าหันมาจับกระเเสนี้ เราจึงพยายามจะทำคอนเทนต์ให้เเตกต่าง อาจจะทำเป็นซีรีส์วายที่ไม่เน้นความโรเเมนติกจ๋ามาก เเต่หันไปเน้นพล็อตเรื่องที่ซับซ้อน เป็นเรื่องราวการสืบสวน สอบสวน” 

ก่อนหน้านี้ ทีวี ธันเดอร์ เคยประสบความสำเร็จจากซีรีส์วายที่ฉายบน LINE TV อย่าง “Together With Me อกหักมารักกับผม” เกิดกระเเสคู่จิ้น “แม็กซ์-ตุลย์” หรือ แม็กซ์-ณัฐพล ดิลกนวฤทธิ์ เเละตุลย์-ภากร ธนศรีวนิชชัย สองนักเเสดงนำที่ตอนนี้มีเเฟนคลับกว่า 30 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในจีน รัสเซีย ฟิลิปปินส์เเละมาเลเซีย ซึ่งจะเป็นเเนวทางให้ บริษัทบุกเเผน “ปั้นนักเเสดงหน้าใหม่” ออกมาอีกในช่วงต่อไป

“แม็กซ์-ตุลย์” จากซีรีส์ Together With Me อกหักมารักกับผม

“ภาพรวมของการลงทุนการผลิตคอนเทนต์จากนี้ไปจนถึงปีหน้า อาจจะต้องใช้มากขึ้นราว 20% ถือว่าเป็นปีที่กลับมาลงทุนสูงอีกครั้ง จากปกติที่มีการลงทุนราว 300 ล้านบาทต่อปี” 

ทั้งนี้ ปัจจุบันทีวี ธันเดอร์ ทำคอนเทนต์ป้อนเเพลตฟอร์ม OTT ในสัดส่วน 50% เท่าๆ กับช่องทางทีวี ซึ่งเเผนต่อไปจะขยายทำส่ง OTT มากขึ้น ตามความนิยมของตลาดคนดู

โดยล่าสุด บริษัทมีการผลิตคอนเทนต์ทั้งหมด 5 รายการ ซีรีส์เเละละคร 7 เรื่อง ยกตัวอย่าง เช่น มาสเตอร์คีย์ , Take Me Out Thailand , ใครเบอร์หนึ่ง Who is No. 1 , Show Me The Money thailand ซีซั่น 2 , ละคร หลวงตามหาชน , ละคร คุณแจ๋วกะเพราไก่คุณชายไข่ดาว , ซีรีส์ เสน่หาสตอรี่ , ซีรีส์ Manner of Death พฤติการณ์ที่ตาย , Take Me Out Reality , ราคาพารวย the Price is Right Thailand เเละ Take Guy Out Thailand

ตลาดทีวีไทย วาไรตี้…ยังขายได้ 

เเม้ทิศทางของทีวี ธันเดอร์ จะมุ่งไปเน้นการทำซีรีส์ป้อน OTT เเต่ก็ยังย้ำว่า “จะไม่ทิ้งทีวี” เพราะมีฐานผู้ชมเหนียวเเน่นมายาวนาน รายการวาไรตี้เเละรายการบันเทิงในตลาดทีวีไทยก็ยังได้รับความนิยมต่อเนื่องเเละเพิ่มขึ้น โดยในปีหน้ากำลังเจรจากับทางช่องต่างๆ อยู่ คาดว่าจะมีออกมาอย่างน้อย 2 รายการ

โดยคอนเทนต์ฮีโร่ของทีวี ธันเดอร์ ได้เเก่ Take Me Out Thailand , Show Me The Money thailand เเละ ซีรีส์ที่เพิ่งเปิดตัวไปอย่าง Manner of Death พฤติการณ์ที่ตาย

ณฐกฤต เล่าเกร็ดเล็กๆ ให้ฟังว่า ปกติเเลัวอายุของรายการทีวีที่มีกระเเสดีมากๆ จะอยู่ราว 3-4 ปี เพื่อไม่ให้คอนเทนต์ซ้ำเเละคนดูยังไม่เบื่อเกินไป เเต่ Take Me Out Thailand อยู่มาเเล้ว 7 ปีก็ถือว่ามาไกลกว่าที่คิดไว้มาก “อนาคตของ Take Me Out Thailand ก็คงไม่ได้เปลี่ยนอะไรมาก เเต่เราจะไปเน้นที่การรักษาคุณภาพ รักษาระดับที่เคยทำไว้ให้ดีเท่าเดิมมากกว่า” 

Photo : facebook /takemeoutthailand

เเม้ตลาดคอนเทนต์จะเติบโตขึ้น แต่ก็ยังมีความท้าทายอยู่มาก ผู้บริหารทีวี ธันเดอร์มองว่า สิ่งที่ผู้ผลิตคอนเทนต์ต้อง ตามให้ทัน คือ “รสนิยมของผู้ชม” ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีความหลากหลาย ทำให้ต้องทำการบ้านกันเยอะขึ้น อีกทั้งการทำคอนเทนต์ส่งลงช่องทางต่างๆ ก็จะทำการตลาดที่ไม่เหมือนกัน

ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มคนดูทีวี ส่วนใหญ่จะอายุ 35 ปีขึ้นไป ชอบดูอะไรที่คุ้นเคย เข้าใจง่าย ไม่ชอบดูอะไรที่ซับซ้อนมาก ส่วนกลุ่มผู้ชมผ่านแพลตฟอร์ม OTT ส่วนใหญ่จะอายุต่ำกว่า 25 ปี ต้องการความเเปลกใหม่ ไม่ซ้ำซาก ไม่ยืดยาว มีความเปิดกว้างกว่า 

“ละครผ่านทีวีจะเน้นเป็นบทประพันธ์นักเขียนรุ่นเก่า เเต่ซีรีส์ผ่าน OTT จะเป็นนักเขียนรุ่นใหม่ที่ทำผลงานโด่งดังในโลกโซเชียล ซึ่งทีวี ธันเดอร์ กำลังมองหาบทซีรีส์ใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น ซึ่งตอนนี้เราก็มีทีมงานคอยเสาะหานักเขียนใหม่ๆ บทใหม่ๆ ตามเเพลตฟอร์มต่างๆ อยู่ตลอด” 

หารายได้จาก “โซเชียล” ฝ่าพิษ COVID-19 

ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ว่าปีนี้ถือเป็นวิกฤตที่หนักที่สุดของวงการนี้ โดยผู้บริหารรุ่นก่อตั้งอย่าง “ภัทรภร วรรณภิญโญ” ซีอีโอของทีวี ธันเดอร์ เปิดเผยว่า ตั้งเเต่เดือนมี.ค.ช่วงนั้นแทบไม่ได้ออกไปถ่ายทำรายการหรือซีรีส์ เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ต่างๆ ทำให้รายได้รวมในครึ่งปีนี้ติดลบ 20% เป็นปีแรก ขณะที่ตลาดรวมติดลบไป 30%

“คาดว่ารายได้ในปีนี้ไม่ได้โตไปกว่าปีก่อน และคิดว่าจะลดลงราว 10%” 

สัดส่วนรายได้ของบริษัท หลักๆ มาจากการรับจ้างผลิตคอนเทนต์ 60% โฆษณา 35% เเละอื่นๆ 5% โดยในส่วนอื่นๆ นี้ เเบ่งเป็นการจัดอีเวนต์ การทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งให้เเบรนด์ต่างๆ รวมถึงรายได้ที่เกิดจากช่องทางโซเชียลมีเดียของทั้งบริษัท

โดยทีวี ธันเดอร์ มีช่องทางออนไลน์ของตัวเองที่สามารถนำมาต่อยอดทำรายได้ เพื่อพยุงรายได้ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งการพีอาร์นักเเสดง การรับเเอดโฆษณา รายได้ค่าวิดีโอจากเเพลตฟอร์ม อย่าง Youtube เเละ Facebook ซึ่งปัจจุบันช่องทาง Youtube มีตัวเลขผู้ติดตามอยู่ที่ 5.79 ล้านคน ทาง Facebook ของเพจ TV Thunder มีผู้ติดตาม 2.2 ล้านคน Twitter 4,600 คน ยอดผู้ติดตามใน Instagram 92,000 คน และเพจรายการ Take Me Out Thailand มีผู้ติดตามมากที่สุดในเครือที่ 7.8 ล้านคน

“เรามีการหารายได้อื่นๆ พยายามจะเป็น One Stop Service ทั้งผลิตคอนเทนต์ให้ โปรโมตทำมาร์เก็ตติ้งให้ได้ จัดอีเวนต์ได้ มีฐานโซเชียลที่เเข็งเเกร่ง” 

ภัทรภร ทิ้งทายว่า สิ่งที่ทำให้ทีวี ธันเดอร์ ยังอยู่ได้มาเกือบ 3 ทศวรรษ ผ่านมรสุมมามากมายทั้งวิกฤตต้มยำกุ้ง การปฎิวัติ น้ำท่วมใหญ่เเละตอนนี้คือ COVID-19 นั้นก็คือ “การปรับตัวอยู่เสมอ” การที่ตลาดคอนเทนต์โตในช่วงนี้ ก็ถือเป็นโอกาสที่ดี เเละเชื่อว่าธุรกิจจะผ่านวิกฤตไปได้

]]> 1297387 ต้านไม่ไหว! Netflix ยอมเปิดลิสต์ “Top 10” หนัง-ซีรีส์ “ยอดฮิต” ประจำวันในแต่ละประเทศ https://positioningmag.com/1265755 Tue, 25 Feb 2020 06:21:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1265755 Netflix ประกาศเมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า บริษัทวางแผนเปิดฟีเจอร์ใหม่ แสดงผล “Top 10” ภาพยนตร์และซีรีส์ยอดนิยมในแต่ละประเทศ จากเดิมที่ Netflix เก็บยอดวิวของหนังหรือซีรีส์แต่ละเรื่องไว้เป็นความลับมาตลอด

คาเมรอน จอห์นสัน ผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เปิดเผยในหน้าบล็อกของบริษัทว่า Netflix จะแสดงผล Top 10 หนังและซีรีส์แบบรายวัน โดยมีทั้งการจัดอันดับแบบ รวมทุกประเภท (overall) และอันดับแยกเป็นหมวดภาพยนตร์ กับ หมวดซีรีส์ และรายการที่ได้ยอดเข้าชมสูงสุดจะมีตราสัญลักษณ์ Top 10 ติดอยู่

แต่เดิมนั้น การแสดงผลของ Netflix เพื่อแนะนำหนังหรือซีรีส์เรื่องใดให้กับผู้ชม จะแตกต่างกันไปแบบเฉพาะบุคคล เพราะแพลตฟอร์มนี้ใช้อัลกอริธึม ในการคาดเดาว่าผู้ชมรายนั้นๆ จะชอบคอนเทนต์แบบไหนจากประวัติการรับชมที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ก็ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์มาตลอดว่าทำให้ผู้ชมมองหาคอนเทนต์ที่ต้องการดูได้ยาก และทำให้บริษัทผู้ผลิตหนังหรือซีรีส์ไม่มั่นใจในความโปร่งใสของการวัดยอดวิวของ Netflix

ตัวอย่างการติด badge “Top 10” ไว้ที่มุมขวาของโปสเตอร์

แม้ว่าจะมีการจัด Top 10 ให้แล้ว แต่อันดับจะไม่จัดเรียงตามลำดับยอดวิว เพราะ Netflix ยังไม่ยอมทิ้งระบบอัลกอริธึม โดยระบบจะดันคอนเทนต์ในกลุ่ม Top 10 ที่เราน่าจะชื่นชอบขึ้นมาไว้ด้านบน เช่น หากประวัติการชมของเราชื่นชอบหนังสารคดีและไม่ค่อยดูหนังโรแมนติกคอมเมดี้ คอนเทนต์ที่ใกล้เคียงกับความชอบของเราจะขึ้นมาอยู่ด้านบนมากกว่า

ทั้งนี้ Netflix มีการทดลองแสดงผล Top 10 แบบนี้มาแล้วในเม็กซิโกและสหราชอาณาจักรตลอดช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และเพิ่งเริ่มเปิดฟีเจอร์นี้ในสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนธันวาคมปีก่อน ปรากฏว่าผู้ชมมีเสียงตอบรับที่ดี ทำให้บริษัทตัดสินใจจะสร้างฟีเจอร์เดียวกันนี้ทั่วโลก

“เมื่อคุณรับชมหนังหรือซีรีส์ที่ยอดเยี่ยม คุณมักจะแบ่งปันให้ครอบครัวหรือเพื่อนได้ดูด้วย หรือพูดถึงหนังเรื่องนั้นในที่ทำงาน เพื่อให้คนอื่นๆ มารับชมด้วยกัน เราหวังว่าลิสต์ Top 10 จะช่วยสร้างให้การแบ่งปันเหล่านั้นเพิ่มมากขึ้น และทำให้เราหาสิ่งที่ต้องการรับชมได้เร็วและง่ายขึ้น” แถลงการณ์ในหน้าบล็อกดังกล่าวเปิดเผยจุดประสงค์ของฟีเจอร์นี้

The Witcher เป็นหนึ่งในซีรีส์ที่ Netflix ยอมประกาศยอดวิวว่ามีผู้รับชมถึง 76 ล้านคน

การเปิดตัวฟีเจอร์ Top 10 เกิดขึ้นท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดขึ้นในธุรกิจสตรีมมิ่งคอนเทนต์ หลังจากการเติบโตของจำนวนผู้ใช้ Netflix ในสหรัฐฯ เริ่มโตช้าลง และบรรดาผู้ผลิตคอนเทนต์เริ่มดึงคอนเทนต์ไปลงในแพลตฟอร์มคู่แข่ง เช่น Peacock หรือ HBO Max

บริษัท Netflix ถูกตั้งข้อสงสัยเรื่องวิธีนับยอดวิวมาตลอด โดยจะบอกยอดวิวเฉพาะเรื่องที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงเท่านั้น รวมถึงไม่ยอมให้บริษัทบุคคลที่สาม เช่น Nielsen เข้ามาประเมินยอดวิวด้วย อย่างไรก็ตาม Netflix มีการชี้แจงล่าสุดว่าการนับยอดเข้าชมจะนับก็ต่อเมื่อมีการเข้าชมเกิน 2 นาทีต่อตอน

ฟีเจอร์ Top 10 อาจจะยังไม่บอกยอดวิวที่ชัดเจน แต่อย่างน้อยก็ได้เห็นภาพคร่าวๆ ว่าอะไรที่กำลังมาในประเทศของคุณ!

Source: Reuters, Techcrunch

]]>
1265755
สนใจไหม? ปราสาทที่ใช้ถ่ายทำซีรีส์ดัง “The Crown” เปิดให้จองที่พักบน Airbnb https://positioningmag.com/1257449 Tue, 17 Dec 2019 17:36:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1257449 ตอนเด็กๆ ใครฝันอยากจะนอนในปราสาทสุดหรูสักคืน โอกาสของคุณมาถึงเเล้ว เมื่อปราสาทเก่าแก่ที่ถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำซีรีส์ยอดนิยม “The Crown” กำลังจะเปิดให้บุคคลทั่วไปจองที่พักได้บน Airbnb ใครอยากลองใช้ชีวิตตามเเบบฉบับของคนในราชวงศ์วินเซอร์…ตามมาทางนี้เลย

ดยุคและดัชเชสแห่งเมืองรัตแลนด์ ประเทศอังกฤษ ร่วมมือกับ Airbnb เเพลตฟอร์มจองที่พักรายใหญ่ เปิดให้บริการห้องพักบนปราสาท Belvoir Castle ซึ่งตั้งอยู่ในเลสเตอร์ไชร์ เเละเป็นสถานที่ถ่ายทำซีรีส์เรื่องดังเกี่ยวกับราชวงศ์
อังกฤษอย่าง “The Crown” โดยเงินที่ได้รับจากค่าจองห้องพักจะถูกนำไปบริจาคให้แก่มูลนิธิเพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชน

Photo : Airbnb

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าจะจองกันง่ายๆ ต้องลุ้นเเละใช้ความเร็วกันหน่อย เพราะจะเปิดให้เข้าพักห้อง King’s Suite ซึ่งตกเเต่งอย่างหรูหราอลังการในวันพิเศษเพียง 3 คืน อย่างใน วันสิ้นปี 31 ธันวาคม 2019 , วันที่ 11 มกราคม 2020 และวันที่ 25 มกราคม 2020 เท่านั้น

โดยผู้ที่ต้องการจะเข้าพักสามารถจองห้องได้ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2019 เป็นต้นไป (ดูรายละเอียดการจองเเละชมภาพได้ที่ www.airbnb.com/belvoircastle )

สำหรับเเขกที่จะมาพักในปราสาท เตรียมพบกับประสบการณ์พิเศษตั้งเเต่มาถึง โดยจะได้รับชุด Afternoon tea ซึ่งคาดว่ามีจุดเริ่มต้นที่ปราสาทแห่งนี้เมื่อปี 1840 ตามด้วยการทานอาหารมื้อเย็นในห้องจัดเลี้ยงขนาดใหญ่ จากนั้นจะมีการเลี้ยงเครื่องดื่มต้อนรับในห้องสมุด ที่เราเคยได้เห็นในฉากสำคัญของซีรีส์เรื่อง The Crown ของ Netflix

Photo : Airbnb

Belvoir Castle ไม่เพียงปรากฎในซีรีส์ประวัติศาสตร์ราชวงศ์อังกฤษเรื่องนี้เท่านั้น เเต่ยังเคยใช้ถ่ายทำภาพยนตร์ย้อนยุคเรื่อง The Young Victoria อีกด้วย

Jeroen Merchiers กรรมการผู้จัดการ Airbnb ของภูมิภาค EMEA (ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา) กล่าวว่า Belvoir Castle เป็นเหมือนอัญมณีล้ำค่าเเห่งชนบทของอังกฤษ ที่จะดึงดูดผู้คนเเละนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมเยือน เพื่อสำรวจดินเเดนเเห่งประวัติศาสตร์

สำหรับที่พักในปราสาทจะเปิดให้แขกเข้าพักรอบละ 2 คน พักได้ 1 คืน ในราคาประมาณ 10,290 บาทต่อคืน โดยเงินที่ได้จากค่าที่พักจะถูกนำไปบริจาคให้กับมูลนิธิ Rainbows Hospice for Children and Young People
เพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในอังกฤษ

เเละอย่าเพิ่งเสียใจไปถ้าหากคุณพลาดการจองห้อง King’s Suite ของปราสาทนี้ เพราะมีข่าวดีว่าสามารถจองห้องพักอื่นในปราสาทเเละตั้งเเคมป์ในพื้นที่ได้ โดยส่วนห้องโถงปราสาทเเละบริเวณสวน จะเปิดให้คนทั่วไปเช้าชมในเดือนมีนาคม ปี 2020 นี้ ซึ่งมีค่าธรรมเนียมค่าเข้าเพียง 18 ปอนด์ต่อคนเท่านั้น (ราว 714 บาท)

โดยการนำกระแสความนิยมจากภาพยนตร์หรือซีรีส์มาดึงดูดนักท่องเที่ยว นับเป็นเทรนด์ที่กำลังมาเเรงในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ

 

Source 

]]>
1257449
ไปอีกสเต็ป Netflix ประเดิม จับมือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ส่งซีรีส์ไทยกว่า 700 ชั่วโมงออนแอร์ https://positioningmag.com/1166509 Fri, 20 Apr 2018 01:00:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1166509 หลังถูกตั้งคำถามมาตลอด นับตั้งแต่เข้าเปิดตัวอย่างเป็นทางการในไทยเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว ว่าเมื่อไหร่ Netflix (เน็ตฟลิกซ์) จะมีคอนเทนต์ไทย ในที่สุดผู้ให้บริการวิดีโอสตรีมมิ่งรายใหญ่ของโลกก็ประเดิมร่วมมือกับจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ค่ายผู้ผลิตคอนเทนต์ของไทย ในการนำคอนเทนต์ที่หลากหลายซีรีส์กว่า 700 ชั่วโมงไปออกอากาศให้กับสมาชิกของ Netflix (เน็ตฟลิกซ์) กว่า 125 ล้านคนทั่วโลกได้รับชมพร้อมกัน

ข้อตกลงในครั้งนี้คือการนำซีรีส์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของกลุ่มจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เช่น Hormones (ฮอร์โมน), Bad Genius (แบด จีเนียส), O-Negative (โอเนกาทีฟฯลฯ เช่นเดียวกับ ซีรีส์ 11 เรื่องใหม่ที่กำลังจะออกอากาศ ไม่ว่าจะเป็น Girl From Nowhere The Series (เกิร์ลฟอร์ม โนแวร์ เดอะ ซีรีส์), The Judgement (เดอะ จัดจ์เมนท์), Monkey Twins (มังกี้ ทวิน), Bangkok Love Stories Season 2 (แบงคอก เลิฟ สตอรี่ส์ ซีซัน 2) และ Sleepless Society (สลีปเลส โซไซตี้ซึ่งจะทยอยออกอากาศให้ได้ชมพร้อมกันทั่วโลกทาง Netflix (เน็ตฟลิกซ์) เร็วๆ นี้

การมีคอนเทนต์ไทยไปออกอากาศให้กับสมาชิกทั่วโลก ถือเป็นอีกสเต็ปของเน็ตฟลิกซ์ ที่ต้องใช้ความหลากหลายของคอนเทนต์ สร้างฐานสมาชิกนอกสหรัฐฯ ให้มากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาเน็ตฟลิกซ์เองก็นำคอนเทนต์จากหลายประเทศไปออกอากาศ โดยทำซับไตเติล 20 ภาษา และมีเสียงพากย์ภาษท้องถิ่น

เช่นเดียวกับการทำตลาดในไทยที่เน็ตฟลิกซ์มีทั้งซับไตเติลและเสียงพากย์ภาษาไทยในคอนเทนต์ต่างประเทศที่นำมาออกอากาศในไทย

ความร่วมมือกับจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มของเน็ตฟลิกซ์ที่อาจจะมีความร่วมมือกับผู้ผลิตคอนเทนต์รายอื่นๆ อีกในอนาคตหากซีรีส์จากไทยเป็นที่ชื่นชอบของคนดู

แต่อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะตลาดวิดีโอสตรีมมิ่งเวลานี้ นอกจาก ยูทูปแล้ว ยังมี ไลน์ทีวี ที่กำลังบุกตลาดอย่างหนัก จับมือกับผู้ผลิตคอนเทนต์ของไทยหลายราย ในการนำซีรีส์ ละคร มาออนแอร์บนแพลตฟอร์มของไลน์ทีวี รวมทั้งมีคอนเทนต์ เอ็กซ์คลูซีฟ ที่ไลน์ทีวีจ้างผลิตด้วย

ในขณะที่ผู้ผลิตคอนเทนต์อย่างช่อง 3 นอกจากร่วมมือกับไลน์ และยูทูปแล้ว ได้ร่วมมือกับบริษัท เทนเซ็นต์ วิดีโอ ในเครือบริษัทเทนเซ็นต์ (Tencent) ยักษ์ใหญ่วงการไอทีของจีน เท็นเซ็นต์ ในการนำละครไปออนแอร์ในประเทศจีน ที่เป็นตลาดใหญ่ มีคนดูจำนวนมาก ที่สำคัญไม่ใช่ละครย้อนหลัง แต่เป็นละครที่ออนแอร์พร้อมกับไทยเลย

แน่นอนว่าเจ้าของคอนเทนต์เองก็ไม่ได้ผูกขาดกับแพลตฟอร์มเดียว แต่เปิดกว้างกับทุกแพลตฟอร์มที่มีฐานคนดูจำนวนมาก

ดังนั้นสิ่งที่หลายคนรอดู คือ เน็ตฟลิกซ์จะลงทุนผลิตคอนเทนต์ไทยขึ้นมาเองเมื่อไหร่ เหมือนกับที่เคยทำมาแล้วในหลายประเทศ รวมประเทศในแถบเอเชีย อย่างญี่ปุ่น และกัมพูชา 

ส่วนในแง่ของผู้ผลิตคอนเทนต์ นั้นจะมีช่องทางและรายได้เพิ่มขึ้น ยิ่งการแข่งขันของผู้ให้บริการเหล่านี้มากเท่าไหร่ โอกาสก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น.

]]>
1166509
เจเคเอ็น หยิบซีรีส์ฟิลิปปินส์บิลต์กระแสฮิตในไทย จัดเต็มทั้งเพลง-คอนเสิร์ต https://positioningmag.com/1158906 Mon, 26 Feb 2018 06:14:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1158906 เจเคเอ็นสร้างปรากฏการณ์มาแล้วจากการทำให้ “ซีรีส์” อินเดียมาฮิตในไทย เพราะมองเรื่องของวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน ถ้ามีซีรีส์โปรดักชั่นดี ๆ ทำไมคนไทยจะไม่ชอบไม่ติด ผลก็คือทำให้ทั้งงูทั้งลิง อย่าง นาคิน และหนุมาน มีคนดูติดหนึบทั่วประเทศไทย และผลักดันให้เจเคเอ็นกลายเป็นเจ้าตลาดคอนเทนต์รายใหญ่อีกรายของไทย ที่ช่องไหนกำลังมองหาคอนเทนต์สร้างรายได้มาใส่ให้เต็มเวลา ต้องถามหา

แอน-จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ CEO ของ บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นกระแสไม่แพ้คอนเทนต์ซีรีส์จากประเทศต่าง ๆ ที่เธอเลือกเข้ามาทำตลาดในไทย พูดถึงการเลือกซีรีส์ฟิลิปปินส์เข้ามาเปิดตัวสู่ตลาดไทยจากการทำตลาดรอบล่าสุดของบริษัทว่า เป็นสิ่งที่รู้สึกท้าทาย แต่ก็มั่นใจเต็มที่ว่าจะทำให้ซีรีส์ฟิลิปปินส์แจ้งเกิดในตลาดไทยได้เหมือนซีรีส์จากประเทศอื่น ๆ ที่เคยทำตลาดมาก่อน

แอน-จักรพงษ์
  • เพราะไทยกับฟิลิปปินส์เหมือนประเทศฝาแฝดที่ไม่ได้คล้ายกันแค่หน้าตา แต่ยังมีวิถีชิวิตและรสนิยมที่คล้ายกันด้วย
  • เนื้อหาซีรีส์ที่เลือกมาฉาย เป็นแนวดราม่า แบบบาดลึกทุกอารมณ์ หรือ “เน่าสนิท” แบบสะใจคนดู แนวเดียวกับละครไทยที่คนไทยชื่นชอบ
  • ที่สำคัญเพื่อให้การทำตลาดครบองค์ประกอบ โดยเฉพาะเพื่อการสร้างกระแส บิลต์อารมณ์ให้คนอินกับละครได้แบบสุด ๆ การเปิดตัวซีรีส์ดราม่าครั้งนี้ เจเคเอ็นเลือกทำตลาดด้วยการนำศิลปินนักร้อง “ดีว่า” และนักแต่งเพลงระดับต้น ๆ ของไทยมาทำเพลประกอบละคร เพื่อให้คนดูอินกับอารมณ์ซีรีส์แบบจับต้องได้ต่อเนื่องผ่านการฟังเพลงเหล่านี้

โดยทำการเปิดตัวด้วยมินิคอนเสิร์ตเพลงประกอบซีรีส์ชุดรักกระชากใจ ในงาน The Trendsetter ไปเมื่อวันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ลานอีเดน Central World

ซีรีส์ฟิลิปปินส์จะเป็นบันเทิงแนวใหม่ ที่บริษัทเชื่อว่าจะโดนใจคนดูทั่วประเทศ และจะเป็นเทรนด์ใหม่ของการดูซีรีส์ ที่รับรองครบทุกรสชาติ ติดใจแน่นอน แอนกล้าการันตี ไม่ทำให้คนดูผิดหวัง

แอน-จักรพงษ์ บอก

ซีรีส์ฟิลิปปินส์ชุดแรกที่เจเคเอ็นนำเข้ามาครั้งนี้ จัดมาเป็นเซตพร้อมกัน 8 เรื่อง ให้ชื่อชุดซีรีส์ว่า รักกระชากใจ จะฉายในไบรท์ทีวี ดิจิทัลทีวีช่อง 20 ซีรีส์แต่ละเรื่องพร้อมเพลงประกอบของเรื่องที่ออกมาพร้อมกัน ประกอบด้วย

  1. ซีรีส์ เรื่อง พรุ่งนี้ต้องลืมเธอ (Tomorrow Belong to Me) กับเพลงประกอบ  “ใจทรนง” โดย ใหม่ เจริญปุระ
  2. ซีรีส์ เรื่อง เมียหมายเลขหนึ่ง (The Legal Wife) กับเพลงประกอบ  “สมควรไหมที่กลับไปรักเธอ” โดย อมิตา ทาทา ยัง
  3. ซีรีส์ เรื่อง ผัวชั่วคราว (The Other Mrs.Real) กับเพลงประกอบ  “คนหมดราคา” โดย โบ สุนิตา
  4. ซีรีส์ เรื่อง กระสุนวุ่นรัก (Got to Believe) กับเพลงประกอบ “เชื่อในรัก” โดย Season 5
  5. ซีรีส์ เรื่อง บ่วงไฟ (No Greater Love) กับเพลงประกอบ “พิศวาสมิอาจลืม” โดย เจิน เจิน บุญสูงเนิน
  6. ซีรีส์ เรื่อง สุดทางสิเน่หา (Bridges of Love) กับเพลงประกอบ “ความจริงที่อ่อนแอ” โดย นัท มีเรีย
  7. ซีรีส์ เรื่องผัวสำรอง (My Faithful Husband) กับเพลงประกอบ “เธอที่แสนดีกับเขาที่สำคัญ” โดย นก KPN.
  8. ซีรีส์ เรื่อง เพลิงรักสีรุ้ง (My Husband’s Lover) กับเพลงประกอบ “บอกฉันทีว่าเขาเป็นใคร” โดย มาเรียม เกรย์

สมชาย รังษีธนานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไบรท์ทีวี ทีวีดิจิทัล ช่อง 20 พันธมิตรของเจเคเอ็นเชื่อว่า ซีรีส์ชุดจากตากาล็อกชุดนี้ จะสามารถสร้างความฮือฮาบนหน้าจอไบรท์ทีวีได้เช่นเดียวกับที่เคยทำสำเร็จมาแล้ว จากซีรีส์อินเดีย อย่าง ศิวะพระมหาเทพ รามเกียรติ์ และอภินิหารฮาติม ซึ่งเรียกเรตติ้งสูงสุดให้กับช่องไบรท์ทีวีมาแล้วในปี 2560

กระแสก่อนปล่อยดราม่าสู่จอ นอกจากเพลง มินิคอนเสิร์ต เจเคเอ็นยังเล่นใหญ่ ด้วยการนำ 3 ดาราซีรีส์ดังที่ถือว่าเป็นเบอร์หนึ่งจากฟิลิปปินส์เข้ามาโชว์ตัวในเมืองไทย ซึ่งจักรพงษ์ ยืนยันว่า ดาราระดับนี้ปกติต่อให้คนฟิลิปปินส์เองก็ไม่สามารถพบเห็นตัวจริงได้ง่าย ๆ

“โอกาสที่คนฟิลิปปินส์จะเจอซูเปอร์สตาร์ใกลชิดแบบที่เรานำมาโชว์ตัวในไทยยากมาก ถือว่าแฟนคลับคนไทยโชคดีมาก ๆ”

โดยดาราดังที่มาโชว์ตัวที่ผ่านมา ได้แก่ พระเอกสุตฮอต Michael Daez จากซีรีส์ “ผัวสำรอง” My Faithful Husband และ Benjamin Alves จากซีรีส์ “Beautiful Strangers” รวมถึงพระเอกเบอร์ต้นของฟิลิปปินส์ Dingdong Dantes จากซีรีส์ ผัวชั่วคราว The Other Mrs.Real.

]]>
1158906