ธนาคารกรุงศรีอยุธยา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 28 Apr 2024 10:51:37 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กรุงศรีฯ คาดสินเชื่อธุรกิจลูกค้าญี่ปุ่น-บรรษัทข้ามชาติ โต 7% ในปีนี้ มองกลุ่ม อสังหาฯ อิเล็กทรอนิกส์ ต้องการลงทุนมากขึ้น https://positioningmag.com/1471329 Sun, 28 Apr 2024 10:51:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1471329 กรุงศรีฯ คาดสินเชื่อธุรกิจลูกค้าญี่ปุ่น-บรรษัทข้ามชาติ โต 7% ในปีนี้ โดยมองว่าอาเซียนได้ปัจจัยบวกจากการย้ายฐานการผลิต หรือแม้แต่ปัจจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันมองว่าลูกค้ากลุ่มอสังหาฯ หรืออิเล็กทรอนิกส์ ต้องการขยายธุรกิจมากขึ้น นอกจากนี้ยังชักชวนให้ผู้ประกอบการขยายธุรกิจออกไปในภูมิภาคเพิ่มเติม

บุนเซอิ โอคุโบะ ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวถึง กลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่น (JPC) และบรรษัทข้ามชาติ (MNC) ในปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งพอร์ตสินเชื่อเหล่านี้ บุนเซอิ ได้กล่าวว่า NPL สำหรับกลุ่มลูกค้านี้ถือว่าน้อยมาก

ผู้บริหารรายนี้ยังได้กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มลูกค้าของทางกลุ่มมีตั้งแต่อุตสาหกรรมหนักอย่างธุรกิจพลังงาน โลหะ ผลิตภัณฑ์เคมี ไปจนถึงอุตสาหกรรมเบาอย่างผู้ให้บริการทางการเงิน แพลตฟอร์มการบริการจัดส่งพัสดุ สินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

สำหรับกลยุทธ์ที่ทางธนาคารจะนำมาใช้ในปีนี้ ประกอบไปด้วย

  1. เร่งส่งเสริมระบบนิเวศด้านความยั่งยืนให้กับสังคมไทย โดยอาศัยจุดแข็งในการมีความรู้ ความชำนาญในด้าน ESG ผ่านความร่วมมือกับ MUFG เพื่อนำเสนอโซลูชันทางการเงินเพื่อความยั่งยืนที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของลูกค้
  2. ต่อยอดความร่วมมือเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ โดยจะขยายความร่วมมือเพิ่มเติมกับ ลาว และเวียดนาม เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลที่เอื้อต่อสังคม ชุมชน ทั้งในประเทศไทยและอาเซียน
  3. ขยายฐานลูกค้าบรรษัทข้ามชาติจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (East Asian Economies) ด้วยพื้นฐานและปัจจัยที่เอื้อต่อการลงทุนในประเทศไทย ทั้งความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ดึงดูดการลงทุนจากกลุ่มประเทศดังกล่าว โดยเฉพาะจีน ไต้หวัน ฮ่องกง และเกาหลี กรุงศรีจะใช้โอกาสนี้ทำงานร่วมกับ MUFG ในการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจจากกลุ่มประเทศที่ต้องการเข้ามาลงทุนและขยายการเติบโตของธุรกิจในประเทศไทย
  4. ยกระดับบริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจ Krungsri ASEAN LINK เชื่อมทุกความต้องการทำธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน โดยกรุงศรีพร้อมใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสานพลังเครือข่ายธุรกิจของธนาคาร และ MUFG ที่ครอบคลุม 9 ใน 10 ประเทศในอาเซียน อาทิ Danamon Bank ในอินโดนีเซีย VietinBank ในเวียดนาม และ Security Bank ในฟิลิปปินส์ เพื่อต่อยอดบริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจสำหรับลูกค้าที่ต้องการขยายธุรกิจสู่อาเซียน ตั้งแต่ในขั้นตอนเริ่มแรก เช่น การสำรวจแปลงที่ดิน การรวบรวมข้อมูลและกฎระเบียบ จนถึงการจัดตั้งและดำเนินการทางธุรกิจในต่างประเทศ

ปัจจัยที่ทำให้การลงทุนในอาเซียนเพิ่มมากขึ้นในมุมของผู้บริหารรายนี้ ได้แก่ ปัญหาเรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ หรือแม้แต่เรื่องการกระจายความเสี่ยงในเรื่อง Supply Chain

ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติฯ ยังได้กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา อัตราการปล่อยสินเชื่อกลับติดลบเนื่องจากกลุ่มยานยนต์มีผลประกอบการไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากปัญหาหนี้ครัวเรือนของประเทศไทย แต่เขายังมองว่าอุตสาหกรรมอื่น เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อสังหาริมทรัพย์  ดูเหมือนจะมีการลงทุนมากขึ้น

นอกจากนี้ผู้ประกอบการจากประเทศญี่ปุ่นเองได้เข้ามาร่วมทุนหรือลงทุนในประเทศไทย ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละอุตสาหกรรม เนื่องจากมีข้อกำหนดจากหน่วยงานกำกับดูแลว่าสามารถถือหุ้นได้สัดส่วนเท่าใด เช่น ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่นได้มาร่วมทุนในประเทศไทย เป็นต้น

สำหรับมุมมองการลงทุนในอาเซียน เขาได้ชี้ว่าในช่วงที่ผ่านมาบริษัทจากจีนและญี่ปุ่นต่างเข้าไปลงทุนในเวียดนาม โดยอุตสาหกรรมเด่นๆ เช่น พลังงานทดแทน ภาคการผลิต หรือแม้แต่กลุ่มขนส่ง Logistics ขณะที่อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์เองก็มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง และต้องการให้ลูกค้าขยายการลงทุนในภูมิภาคนี้ด้วย

ในส่วนของเศรษฐกิจไทย เขามองว่าตัวเลขอัตราการเติบโตของสินเชื่อในช่วง 2-3 ปีนี้น่าจะอยู่ในระดับเดียวกับ GDP ของไทย

ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติฯ ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ยังตั้งเป้าว่าสินเชื่อในกลุ่มธุรกิจฯ จะสามารถเติบโตได้ถึง 7% ในปีนี้ และเขาเองยอมรับว่ามีความท้าทาย แต่ลูกค้าหลายธุรกิจเองต้องการที่จะขยายธุรกิจเพิ่มมากขึ้น

]]>
1471329
เปิดสูตร ‘ธุรกรรมการเงิน’ ของกรุงศรี กับภารกิจสร้าง ‘บริการดิจิทัล’ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ทุกกลุ่ม https://positioningmag.com/1351948 Thu, 16 Sep 2021 10:00:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351948

หลายคนคงคุ้นเคยกับบริการหลักๆ ของธนาคาร อย่างเงินฝาก สินเชื่อ บัตรเครดิต/เดบิต การบริหารความเสี่ยงด้านอัตราเเลกเปลี่ยน การลงทุนเเละบริการ ‘ธุรกรรมการเงิน’

เมื่อเจาะลึกไปยังส่วนของ ‘ธุรกรรมการเงิน’ จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่อยู่ ‘ใกล้ตัวเรามากที่สุด’ ทั้งการรับ-จ่ายเงินในประเทศ ระหว่างประเทศ หรือชำระสินค้าเเละบริการ ส่งเงินให้เพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง การรับจ่ายเงินเหล่านี้ จึงครอบคลุม ‘ลูกค้าทุกกลุ่ม’ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ผู้ประกอบการรายย่อย SMEs ไปจนถึงธุรกิจรายใหญ่เเละหน่วยงานภาครัฐ


บริการที่เปลี่ยนไป ตามเทรนด์ดิจิทัล

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ธุรกรรมการเงิน ได้เปลี่ยนเเปลงไปอย่างมาก จากเดิมในอดีตที่ส่วนใหญ่มักจะให้บริการกับองค์กรขนาดใหญ่ ปัจจุบันลูกค้าทั่วไปสามารถเข้าถึงช่องทางดิจิทัลได้ทุกคน โอนเงินผ่านมือถือได้ทุกที่

เเนวโน้มตลาดที่เติบโต ทำให้บรรดาลูกค้าธุรกิจขนาดเล็กเเละขนาดกลาง เริ่มเปิดช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายมากขึ้น โดย ‘ลูกค้าทุกกลุ่ม’ ต่างหันมาใช้บริการทางการเงินดิจิทัล สะท้อนให้เห็นการมุ่งไปสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’ (Cashless Society) อย่างเต็มรูปแบบในอนาคตอันใกล้

จากข้อมูลพบว่า จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของไทย เพิ่มขึ้น 14% จากปี 2559-2563 คิดเป็นกว่า 75% ของประชากรทั้งหมด

เทรนด์เทคโนโลยีเหล่านี้ มีส่วนช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าของ ‘ธนาคารกรุงศรีอยุธยา’ จำนวนมาก หันมาใช้บริการผ่านทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น โดยในกลุ่มลูกค้าบุคคล มีการใช้ช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นกว่า 131% จากปี 2561 เเละลูกค้าธุรกิจ เพิ่มขึ้น 56% จากปี 2562

 ขณะเดียวกัน ช่องทางการใช้บริการก็เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น ผู้ใช้บริการทางดิจิทัลล้วนๆ จากเดิมมีเเค่ 8% เเต่ขณะนี้เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 33% นับเป็นอัตราการเติบโตที่น่าสนใจทีเดียว

ดังนั้น การสร้างสรรค์ ‘นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ’ จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่สถาบันการเงิน ต้องพัฒนาให้ก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภค เปิดทางการรับ-จ่ายเงินของทั้งผู้ซื้อเเละผู้ขาย ผู้ส่งเเละผู้รับ ให้ง่าย สะดวกเเละมีความปลอดภัยสูง

วันนี้ เรามีโอกาสพูดคุยกับ ‘ยิ่งลักษณ์ คงคาสัย’ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกรรมการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ถึงภารกิจการยกระดับธุรกรรมการเงินในยุคดิจิทัล ว่ามีกลยุทธ์เเละทิศทางต่อไปอย่างไรบ้าง


ทันสมัย ครบ เเละเเตกต่าง

 เธอเล่าว่า เมื่อโลกปรับ ธุรกิจต้องเปลี่ยน นำมาสู่เเผนการดำเนินธุรกิจระยะกลางของกรุงศรี ในช่วงปี 2564-2566 เพื่อเป้าหมายสำคัญสู่การเป็นสถาบันการเงินไทยที่เป็น ‘ที่หนึ่งในใจลูกค้า’ พร้อมเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้าทั่วภูมิภาคอาเซียน

โดยปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกรรมการเงิน เติบโตไปกับเทรนด์ของโลกได้ ก็คือการพัฒนาบริการตามพฤติกรรมผู้บริโภค การปรับกฎ กติกาของภาครัฐให้เอื้อต่อการใช้ดิจิทัล รวมไปถึง ต้องก้าวไปพร้อมกับการขยายตัวของธุรกิจในภูมิภาคที่มีการชำระเงินระหว่างประเทศมากขึ้น เเละเทคโนโลยีที่รองรับวิถีการจ่ายเงินในยุคใหม่ อย่าง e-Wallet , QR Payment ฯลฯ

“ธนาคารไม่ใช่เเค่ต้องก้าวให้ทัน เเต่ต้องคาดการณ์ถึงอนาคตได้ว่า ลูกค้ามีความต้องการอย่างไร”

สำหรับเเผนงานหลักของกรุงศรี เพื่อปูทางสร้างรากฐานการให้บริการที่เเข็งเเกร่ง ให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เเบ่งออกเป็น 3 ส่วนง่ายๆ คือ

1.ทันสมัย นำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ เพื่อให้บริการรับ-จ่ายเงินทั้งในเเละต่างประเทศ

2.ครบ ต้องบริการให้ครบความต้องการของลูกค้าเเต่ละกลุ่ม ที่เเตกต่างกัน ทั้งบุคคลทั่วไป ธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่

3.เเตกต่าง ท่ามกลางสมรภูมิการเเข่งขันของเเบงก์ในยุคดิจิทัล กรุงศรี มีจุดเเข็งคือ การนำเครือข่ายธนาคาร MUFG บริษัทเเม่จากญี่ปุ่น และพันธมิตรทางธุรกิจทั่วโลก มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการให้บริการกับลูกค้า

“การที่ MUFG มีเครือข่ายอยู่กว่า 50 ประเทศทั่วโลก ทำให้กรุงศรีสามารถให้คำปรึกษาเรื่องการลงทุนต่างประเทศกับลูกค้าที่ต้องการได้เป็นอย่างดี ข้อมูลต่างๆ มีความเเม่นยำและมีธนาคารที่สนับสนุนด้านธุรกรรมการเงินเพราะ MUFG ทำธุรกิจอยู่ในประเทศนั้นๆ อยู่เเล้ว” 


บริการที่ดีต้องตอบโจทย์ ‘ลูกค้าทุกกลุ่ม’

 ความเคลื่อนไหวด้านธุรกรรมการเงินดิจิทัลของกรุงศรี ในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา มีกลยุทธ์ที่น่าศึกษาอย่าง การนำเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า API มาเป็นตัวช่วยเชื่อมต่อการเเลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างลูกค้าเเละธนาคาร ให้มีความสะดวก รวดเร็วเเละปลอดภัยยิ่งขึ้น

นิลวรรณ จีระบุญ ผู้บริหารสายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ธุรกรรมการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด
(มหาชน) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงผลิตภัณฑ์และบริการในด้านธุรกรรมการเงินว่า ที่ผ่านมามีบริการที่ต่อยอดเทคโนโลยี API มาใช้ในชีวิตประจำวันของลูกค้าทุกคน อย่างเช่น การเติมเงิน จ่ายบิล ออนไลน์ช้อปปิ้งผ่านเเพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ

นอกจากนี้ ยังอัพเกรดการจ่ายเงินด้วย QR Code ให้ครอบคลุมทั้งในเเละต่างประเทศ นำร่องเปิดบริการ cross-border QR payment ระหว่างไทย-ญี่ปุ่นก่อนเมื่อปีที่เเล้ว เเละล่าสุดเพิ่งประกาศเปิดตัวในอินโดนีเซีย ไปในเดือนก.ย. 2564

โดยมุ่งตอบโจทย์การใช้งานในกลุ่มลูกค้าคนไทยที่เดินทางท่องเที่ยวไปที่อินโดนีเซีย และชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นหลัก ซึ่งกรุงศรีจะมีเเผนการขยายไปยังประเทศอาเซียนอื่นๆ ต่อไป

อีกบริการที่ขาดไม่ได้ คือการขยายช่องทางการโอนเงินระหว่างประเทศ โดยเน้นไปที่ลูกค้าบุคคลรายย่อยที่โอนเงิน 15 สกุลเงินผ่านเเอปพลิเคชัน KMA

ด้านลูกค้าธุรกิจนั้น กรุงศรีได้เชื่อมโยงกับภาครัฐในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศ เช่น การให้บริการยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ในส่วนของปีนี้ ก็มีการพัฒนาต่อยอดบริการ โดยเน้นไปที่การทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยรับ-จ่ายเงินได้สะดวกมากขึ้น สอดคล้องกับวิถีชีวิต New Normal ในช่วงโรคระบาด เช่น เเอปพลิเคชันสำหรับร้านค้า ที่มีชื่อว่า ‘กรุงศรี มั่งมีช้อป’ ขยายการชำระเงินด้วย QR Code เเละ e-Wallet เเละช่องทางรับเงินจากการขายผ่านเว็บไซต์

ทั้งนี้ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ฟังก์ชั่นธุรกรรมการเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ การจ่ายชำระค่าสินค้า “โดยมีปริมาณการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เเต่จำนวนเงินในแต่ละรายการต่ำลง” เนื่องจากผู้คนจ่ายเงินเพื่อซื้อของเล็กๆ น้อยๆ หลักสิบหลักร้อยกันมากขึ้น เพื่อลดการสัมผัสเงินสด

สำหรับลูกค้าธุรกิจขนาดกลางเเละรายใหญ่ มีการเชื่อมต่อโดยตรงกับระบบของลูกค้าได้เเบบ ‘เรียลไทม์’ รวมถึงการเชื่อมต่อกับการจัดซื้อของลูกค้าได้ เเละนำส่งรายงานต่างๆ ที่จำเป็นให้กับภาครัฐ อย่าง e-WHT , e-TAX Invoice เเละ e-Receipt

“เราต้องการลดขั้นตอนการทำธุรกรรมให้กับลูกค้า ให้ผู้ใช้สะดวกสบายมากขึ้น ลดการเซ็นเอกสาร ให้ลูกค้าสามารถใช้บริการได้ในเเพลตฟอร์มเดียว เเละเรียกดูรายงานได้ทุกที่ ทุกเวลา ได้รับประโยชน์ที่จับต้องได้”

 ด้านการขยายทีมงาน เพื่อพัฒนาด้านดิจิทัลของกรุงศรีนั้น นอกจากจะทุ่มงบเงินลงทุนในส่วนนี้มากขึ้นเเล้ว สิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญก็คือการ ReSkill เเละ UpSkill ขยายทักษะของบุคลากรที่มีอยู่ จัดเทรนนิ่งภายในบริษัท ให้พนักงานก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป


ความท้าทายของ ‘ดิจิทัลเเบงก์กิ้ง’

เมื่อพูดถึงเเนวโน้มตลาดดิจิทัลเเบงก์กิ้งในอาเซียน ยิ่งลักษณ์ มองว่า ตอนนี้ทุกประเทศมีความตื่นตัวในการใช้ดิจิทัลเพื่อการรับจ่ายเงินเพิ่มขึ้น เเต่การยอมรับเเละการนำไปใช้จริงในเเต่ละประเทศนั้น ‘จะไม่เท่ากัน’

ในส่วนของประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) เเละมีเเผนเเม่บทอย่างชัดเจน เเละมีความร่วมมือกับธนาคารกลางในประเทศอื่นๆ ด้วย อย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ จุดนี้ทำให้เห็นว่า การขับเคลื่อนจากฝั่งรัฐบาลที่มาช่วยเสริมเอกชนนั้น ทำให้ดิจิทัลเเบงก์กิ้งในอาเซียนจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ได้เร็วขึ้น

“ความท้าทายในการยกระดับธุรกรรมการเงินในไทย ไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยีหรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เเต่เป็นเรื่องของการยอมรับการใช้ ผู้บริโภครายเล็กจะยอมรับได้ง่ายกว่า เพราะโอนจ่ายในชีวิตประจำวันอยู่เเล้ว เเต่ภาคธุรกิจที่มีปริมาณธุรกรรมเยอะ จะคำนึงถึงระบบความปลอดภัย ความเเม่นยำ ข้อมูลสำหรับตรวจสอบ จึงเป็นความท้าทายในเเง่ของการประยุกต์ใช้”

ต่อไปนี้ เราคงได้เห็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเงินและระบบการชำระเงินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สอดคล้องกับทิศทางการทำธุรกรรมการเงินผ่านดิจิทัลที่เติบโต ซึ่งส่งผลดีต่อผู้บริโภคอย่างเราๆ ที่จะได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยยิ่งขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

อ่านรายละเอียดบริการดิจิทัลเเบงก์กิ้งของกรุงศรี ได้ที่ www.krungsri.com

 

]]>
1351948
ทิศทางตลาดเงินปี 64 กรุงศรีฯ มอง “บาทไทยยังแข็ง” แตะ 29.25 บาท/ดอลลาร์ ทุนต่างชาติไหลเข้า https://positioningmag.com/1308787 Wed, 02 Dec 2020 15:43:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308787 ทิศทางตลาดเงินปี 2564 จะผันผวนน้อยลงกว่าปีนี้ เเต่ยังมีความไม่เเน่นอนสูงเเบงก์กรุงศรีฯ ประเมินเงินบาทเเข็งค่ายาวถึงสิ้นปี 64 เเตะ 29.25 บาท จากเเนวโน้มเงินดอลลาร์ที่ยังอ่อนค่า มองกระแสเงินทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะอาเซียน ส่วนภาพรวมการลงทุนจะราบเรียบแต่ไม่ราบลื่น

ตรรก บุนนาค ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวถึง การคาดการณ์ตลาดเงินในปี 2564 ว่ายังมีความผันผวนเเละเงินบาททีเเนวโน้มเเข็งค่าจากปัจจัยทั้งในเเละนอกประเทศ

  • ไตรมาส 1 ปี 2564 คาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 30.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
  • ไตรมาส 2 ปี 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ 29.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
  • ไตรมาส 3 ปี 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ 29.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
  • ไตรมาสปี 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ 29.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจัยต่างประเทศหลักๆ มาจากเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง (ทำให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าต่อ) จากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของสหรัฐฯ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤต COVID-19 ทั้งการขยายวงเงิน QE การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำ (0.00-0.25%) ต่อเนื่อง

นอกจากนี้ มองว่าสงครามการค้าระหว่างจีนสหรัฐฯ เเละการกีดกันทางการค้าต่างๆ ที่มีแนวโน้มลดความรุนแรงลง จะมีส่วนช่วยกดดันค่าเงินหยวนและสกุลคู่ค้าในภูมิภาค ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวจะส่งผลให้เงินทุนไหลกลับเข้าสู่กลุ่มตลาดเกิดใหม่อย่างอาเซียน รวมถึงประเทศไทยด้วย

ปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องติดตาม ได้แก่ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 ทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาด นโยบายการเงินและการคลังของยุโรปที่จะรับมือต่อโรคระบาด การพัฒนาและกระจายวัคซีน รวมถึงข้อสรุปของ Brexit ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด

ส่วนปัจจัยในประเทศ คือการที่บัญชีเดินสะพัดของไทยยังเกินดุลเล็กน้อย เเต่การท่องเที่ยวของไทยฟื้นตัวช้า มาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อชะลอเงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็ว รวมถึงการผ่อนคลายเกณฑ์ให้ไปลงทุนในต่างประเทศ 

ปัจจัยที่ชี้นำเงินบาทในปีหน้า เราให้น้ำหนักกับปัจจัยภายนอกเป็นหลักประมาณ 70-80% ที่เหลือเป็นปัจจัยในประเทศ

สำหรับภาคการส่งออกของไทยนั้น จะยังได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการส่วนใหญ่เคยชินกับค่าเงินที่อยู่ในระดับ 30-31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่หากเเนวโน้มเงินบาทมีโอกาสจะแข็งค่าถึงระดับ 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก็จะส่งผลกระทบอย่างแน่นอน

ขณะที่ทิศทางเศรษฐกิจไทยและอัตราดอกเบี้ย มองว่า เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึง มีความเสี่ยงขาลงสูงมาก โดยมีจุดเปราะบางสำคัญ คือปัญหาว่างงานและหนี้ภาคครัวเรือนที่พุ่งสูง โดยศูนย์วิจัยกรุงศรี คาดว่า GDP ปี 2564 จะขยายตัวที่ 3.3% แม้ว่าปี 2563 นี้จะติดลบราว 6.4% คาดว่า กนง. จะตรึงดอกเบี้ยนโยบายตลอดปี 2564 ไว้ที่ 0.5%”

ด้านภาพรวมการลงทุนในปี 2564 มองว่าจะราบเรียบแต่ไม่ราบลื่นเพราะแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก สะท้อนจากดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระดับสูงกว่า 1,400 จุด

ส่วนผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น คาดว่าจะอยู่ระดับต่ำ ตามแนวโน้มการตรึงดอกเบี้ยนโยบายส่วนการระดมทุนจากภาคเอกชนและภาครัฐส่งผลให้อัตราผลตอบแทนระยะยาวสูงขึ้นเล็กน้อย

 

]]>
1308787
เศรษฐกิจไทยมีหวัง! กรุงศรี คาด GDP ปี 64 โต 3.3% ส่งออกดี-ท่องเที่ยวซบยาว การเมืองกระทบ “ลงทุน” https://positioningmag.com/1307537 Wed, 25 Nov 2020 09:30:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307537 ปีหน้ายังมีหวัง เศรษฐกิจไทยจะฟิ้นตัว เเต่ไม่หวือหวามากนักเเบงก์กรุงศรีปรับจีดีพี ปี 2564 ดีขึ้นเป็น 3.3% จากเดิมคาดไว้ที่ 2.9% จากเเรงหนุนส่งออก ลงทุนภาครัฐ บวกอานิสงส์ต่างประเทศเริ่มฟื้น ส่วนธุรกิจท่องเที่ยวยังต้องรอชาวต่างชาตินานถึงปลายปีหน้า

ปัญหาการเมืองยืดเยื้อ กระทบจีดีพี 0.6-1.1% มีผลต่อการลงทุนเเละความเชื่อมั่น มองไทยเข้าร่วม RCEP เปิดตลาดเสรี คือโอกาสหนุนเศรษฐกิจโตในระยะยาว 

สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เปิดเผยว่า ธนาคารได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปี 2564 อยู่ที่ 3.3% จากเดิมที่คาดไว้ที่ 2.9%

พร้อมๆ กับการปรับจีดีพี ปี 2563 จาก -10.3% มาอยู่ที่ -6.4% เนื่องจากเห็นสัญญาณที่ดีของเศรษฐกิจไทยที่เริ่มฟื้นตัวมาตั้งเเต่ช่วงไตรมาสที่ 3 จากการใช้จ่ายของภาครัฐที่มีการเร่งตัวขึ้น และการส่งออกที่ดีเกินคาดโดยล่าสุดการส่งออกสินค้าปรับดีขึ้นทุกหมวดสินค้า

คาดว่าเศรษฐกิจไทย จะกลับมาเป็นบวกได้ ตั้งแต่ไตรมาส 2/2564 จากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า การเร่งใช้จ่ายภาครัฐ และการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายนอกประเทศ

การลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะขยายตัว 10.5% ในปีหน้า จะเป็นตัวผลักดันภาคการบริโภคขยายตัว 2.5% จากปีนี้ -1.1% และการลงทุนในประเทศโต 3.2% จาก -11% ในปีนี้

ส่วนความท้าทายที่รออยู่นั้น วิจัยกรุงศรีฯ มองว่า หลักๆ คือปัจจัยลบจากสถานการณ์ในประเทศ การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวจะช้ากว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีการพึ่งพาการท่องเที่ยวสูงมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ทำให้เกิดการว่างงาน ส่งต่อเป็นปัญหารายได้และการใช้จ่ายของผู้บริโภค

“คาดว่าเศรษฐกิจไทย จะกลับเข้าสู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิด COVID-19 ได้ในไตรมาส 3 ปี 2565” 

ท่องเที่ยวฟื้นช้า รอต่างชาติยาวถึงปลายปี 64

ผู้บริหารกรุงศรี มองว่า ภาคการท่องเที่ยว เป็นดัชนีชี้วัดเดียวที่ยังไม่มีหวังที่จะกลับมาในเร็วๆ นี้ โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2564 จะอยู่ที่ 4 ล้านคน จากปีนี้อยู่ที่ 6.7 ล้านคน ซึ่งตอนนั้นยังพอมีนักท่องเที่ยวต่างชาติบ้างในช่วงไตรมาส 1

คาดว่าวัคซีน COVID-19 จะถูกนำมาใช้จริงในช่วงกลางปีหน้า เเต่ยังต้องใช้เวลาในการเเจกจ่ายให้ทั่วถึง ขึ้นอยู่กับนโยบายของเเต่ละประเทศ ทำให้การเปิดพรมเเดนรับนักท่องเที่ยวต้องใช้เวลานานยิ่งขึ้นไปอีก โดยความคืบหน้าด้านวัคซีน อาจเร่งให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นได้ในช่วงไตรมาส 4/2564”

ขณะที่การเติบโตของการบริโภคภาคเอกชน ปี 2563 มีการปรับคาดการณ์จาก -4.2% เป็น -1.1% และคาดว่าจะเติบโตที่ 2.5% ในปี 2564 โดยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนจะค่อยๆ ฟื้นตัว แต่การใช้จ่ายในเกือบทุกหมวดสินค้าจะยังต่ำกว่าระดับก่อนวิกฤต

“การใช้จ่ายของผู้บริโภคในปีนี้ จะหดตัวน้อยกว่าที่คาดไว้ จากมาตรการให้เงินช่วยเหลือวงเงินมากกว่า 4 แสนล้านบาท ในช่วงไตรมาส 2 และ 3 และมาตรการส่งเสริมการใช้จ่ายในประเทศวงเงินประมาณ 1 แสนล้านบาท ในไตรมาส 4/2563”

ส่วนในปี 2564 กรุงศรีฯ มองว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม (งบประมาณพิเศษของรัฐบาลวงเงิน 2 แสนล้านบาท) กำลังซื้อจากกลุ่มชั้นกลาง และกลุ่มที่มีรายได้สูง จะเป็นปัจจัยหนุนการบริโภคภาคเอกชนเติบโตต่อเนื่อง

การเมืองกระทบ “ลงทุน” 

สมประวิณ กล่าวว่า สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศนั้น อาจจะส่งผลให้จีดีพีของปี 2564 ลดลงราว 0.6% ถึง 1.1% และมีผลกระทบระยะยาว (ธนาคารได้รวมปัจจัยนี้ไว้ในการคาดการณ์จีดีพีที่ 3.3% ในกรณีที่ไม่เกิดเหตุรุนเเรง)

โดยมีการประเมินจาก เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่จะกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว และการลงทุน ซึ่งมีผลโดยตรงกับความเชื่อมั่น เเละการตัดสินใจในการเข้ามาทำธุรกิจ

มอง RCEP เปิดตลาดเสรี คือโอกาส

เศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะ “เป็นบวก” ได้มาจาก “การส่งออก” ที่จะพลิกกลับมาขยายตัวได้ 4.5% จากปี 2563 ที่ -7.5% จากอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน COVID-19 อุปกรณ์ทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (work from home)

องค์การการค้าโลก (WTO) คาดการณ์ว่าการเติบโตของยอดส่งออกโลกจะเพิ่มขึ้น 7.2% ในปี 2564 จากคาดการณ์ที่ติดลบในปีนี้ -9.2% มีโอกาสการเติบโตในระยะปานกลาง จากภูมิภาคอาเซียนที่กำลังขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและแนวโน้มการพึ่งพากันภายในภูมิภาคมากขึ้น (Regionalization)

“การเข้าร่วมในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ของไทย ถือว่าเป็นปัจจัยหนุนต่อการช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป” 

สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ผู้บริหารกรุงศรี มองว่า ประเทศอาเซียนส่วนใหญ่อยู่ในตำแหน่งที่แตกต่างกันบนซัพพลายเชนโลก แสดงถึงโอกาสที่จะเอื้อประโยชน์ต่อกันและกัน ดังนั้นความร่วมมือ RCEP ที่เชื่อมโยงทั้งการค้าและห่วงโซ่อุปทานการผลิต จะเป็นโอกาสในการที่ประเทศไทย จะได้ขยายฐานการส่งออกไปสู่ประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น และเป็นกลุ่มประเทศที่ประชากรเริ่มมีกำลังซื้อสูงขึ้น ทำให้ช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยได้

ทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สรุปข้อเสนอเเนะเกี่ยวกับ “มาตรการช่วยเหลือ” ใน 4 ประเด็น ได้เเก่ 

  • การปรับโครงสร้างหนี้ เพราะจะช่วยให้ระบบการเงินขับเคลื่อนไปได้
  • สร้างสภาพคล่องในระบบ เเม้ว่าธุรกิจต่างๆ จะกลับมาเปิดให้บริการตามปกติเเล้ว
  • สนับสนุนให้เกิดการจ้างงาน กระตุ้นให้กลุ่มคนที่ “มีกำลังซื้อ” ออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
  • ช่วยเหลือภาคท่องเที่ยว เช่นการลดภาษี กระตุ้นให้ผู้คนท่องเที่ยวในประเทศ

“ควรดำเนินการทันทีและทำให้เหมาะสม ขึ้นอยู่กับระดับของปัญหาสภาพคล่อง ซึ่งมาตรการช่วยเหลือที่ออกมาส่วนใหญ่ยังคงไม่เพียงพอ เเละยังขาดมาตรการที่ส่งเสริมการให้สินเชื่อใหม่”

 

]]>
1307537
จับอินไซต์พฤติกรรมรูดบัตรเครดิต “กรุงศรี” หลัง COVID-19 กำลังซื้อลด ระวังหนี้เสีย “เรื้อรัง”  https://positioningmag.com/1305637 Sun, 15 Nov 2020 07:31:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305637 ธุรกิจบัตรเครดิตสินเชื่อเจองานหินจากผลกระทบของ COVID-19 ฉุดยอดใช้จ่ายผ่านบัตรร่วง ตลาดรวมฟื้นบ้างเเต่ยังติดลบผู้คนระมัดระวังการใช้จ่าย มนุษย์เงินเดือนรู้สึกไม่มั่นคงต้องจับตาหนี้เสียที่อาจเกิดขึ้น

เรามาดูกันว่า พฤติกรรมของผู้ใช้บัตรเครดิต หลังวิกฤต COVID-19 ได้เปลี่ยนเเปลงไปอย่างไร

กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ ผู้ให้บริการบัตรเครดิตเเละสินเชื่อส่วนบุคคลรายใหญ่ ที่มีฐานลูกค้าทั่วไทยกว่า 8-9 ล้านคน ยอมรับว่า ปี 2563 ลูกค้าสมัครบัตรใหม่จะลดลงถึง 44% 

ณญาณี เผือกขำ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ บอกว่า จากผลกระทบโรคระบาดเเละมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลกระทบ ‘โดยตรง’ กับยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเเละธุรกิจสินเชื่อ อย่างต่อเนื่องเเละในปี 2564 ก็ยังหนักหนาอยู่

ภาพรวมการใช้จ่ายผ่านบัตรจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า 8 เดือนแรกของปีนี้ ตลาดรวมหดตัวที่ -12%

สำหรับไตรมาส 3/63 ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ อยู่ที่ 196,000 ล้านบาท ขณะที่ยอดสินเชื่อปล่อยใหม่อยู่ที่ 58,000 ล้านบาท สินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 133,000 ล้านบาทติดลบเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อนหน้า

โดยไตรมาส 4/63 คาดว่า ภาพรวมของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบัตรจะปรับตัวดีขึ้นราว 25% จากไตรมาส 3/63 ถ้าเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จะติดลบราว 7-8% เพราะผลกระทบทางเศรษฐกิจยังเรื้อรัง

ส่วนคาดการณ์ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ในไตรมาสที่ 4 มองว่าจะเติบโต 20% เทียบกับในไตรมาสที่ 3 และคาดว่าตลอดทั้งปี 2563 จะมียอดใช้จ่ายผ่านบัตร 280,000 ล้านบาท ยอดสินเชื่อใหม่ 83,000 ล้านบาท และยอดสินเชื่อคงค้าง 144,000 ล้านบาท…เเม้จะปรับตัวดีขึ้น เเต่ยังต้องระวังในปัจจัยหลายประการ 

คนไทยใช้บัตรเครดิตอย่างไร หลังวิกฤต COVID-19 ?

การใช้จ่ายของผู้บริโภค จะยังไม่กลับมาในระดับเทียบเท่ากับปีที่แล้ว แต่ก็เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น

จากข้อมูลการวิเคราะห์พฤติกรรมใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและบัตรสินเชื่อในเครือกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงกันยายน 2563 ชี้ให้เห็นว่า วิกฤต COVID-19 ที่เกิดขึ้นส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ทุกวัยเริ่มคุ้นชินกับความสะดวกสบายที่ได้จากบริการออนไลน์ แม้คลายล็อกดาวน์แล้ว บริการเหล่านี้ก็ยังเป็นที่นิยม เช่น หมวดช้อปออนไลน์, สินค้าตกแต่งบ้าน, บริการสั่งอาหาร, สตรีมมิ่งและบันเทิงออนไลน์

ขณะที่บางหมวดหลังคลายล็อกดาวน์ ก็เริ่มมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น หมวดโรงแรมในประเทศ, หมวดร้านอาหาร, ห้างสรรพสินค้า, แฟชั่น, ความงามและเครื่องสำอาง

“หมวดที่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ยังมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา คือ หมวดประกันภัย และซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ยังคงเป็นหมวดใช้จ่ายผ่านบัตรที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ”

โดยมีพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้ถือบัตรเครดิต ที่น่าสนใจ ดังนี้

ยอดใช้จ่ายในหมวดช้อปปิ้งออนไลน์ยังคงเติบโตต่อเนื่อง แต่เริ่มมีแนวโน้มช้าลง

ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ยอดใช้จ่ายออนไลน์เติบโตกว่าปีที่แล้วกว่า 150% แต่หลังเดือนพฤษภาคม เติบโตเพียง 75% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยลูกค้าทุกวัย ยังคงมีแนวโน้มใช้จ่ายในหมวดช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มขึ้น

  • หมวดสินค้าตกแต่งบ้าน ช่วงล็อกดาวน์ ลูกค้าซื้อสินค้าหมวดสินค้าตกแต่งบ้าน ผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าตัว และหลังปลดล็อก ยอดขายหน้าร้านก็เพิ่มสูงขึ้นมาก แสดงถึงความสนใจในการตกแต่งบ้านที่เพิ่มขึ้น
  • ยอดใช้จ่ายในหมวดบริการสั่งอาหาร (Food Delivery) ยังคงเติบโตต่อเนื่อง เติบโตขึ้นกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 3 เท่าตัว
  • หมวดบริการสตรีมมิ่งและความบันเทิงออนไลน์ เติบโตสูง แม้หลังช่วงคลายล็อกดาวน์ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Y 
  • หมวดความบันเทิง เช่น ธุรกิจโรงหนัง ยังคงซบเซา แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคเริ่มหันมาใช้บริการสตรีมมิ่งและความบันเทิงออนไลน์มากขึ้น

shopping online

หมวดโรงแรมในประเทศ  ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า แฟชั่น ความงามและเครื่องสำอาง มีสัญญาณที่ดีขึ้นหลังคลายล็อกดาวน์

  • ท่องเที่ยวในประเทศ “เริ่มฟื้น”

ยอดจองโรงแรมในเดือนสิงหาคมถึงกันยายน มีแนวโน้มสูงขึ้น คาดว่าเป็นผลจากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค รวมถึงมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากภาครัฐ

“ยอดจองตั๋วเครื่องบิน ยอดใช้จ่ายในหมวดตัวแทนท่องเที่ยว โดยรวมส่วนใหญ่ยังซบเซา ยกเว้นตัวแทนท่องเที่ยวที่เป็นพันธมิตรหลักในโครงการเราเที่ยวด้วยกันของรัฐ และยอดจองตรงกับโรงแรม ซึ่งมียอดสูงขึ้น” 

นอกจากนี้ ยอดใช้จ่ายในหมวด “บริการเช่ารถ” ยังเติบโตขึ้น แสดงถึงความนิยมในการเดินทางท่องเที่ยวแบบส่วนตัวมากขึ้น

  • คนเริ่มกลับมารับประทานอาหาร “ที่ร้าน” มากขึ้น

แม้ว่ายอดใช้จ่ายในหมวดร้านอาหาร จะยังไม่กลับมาในระดับที่เทียบเท่ากับปีที่แล้ว แต่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ยอดใช้จ่ายในแต่ละครั้ง สูงขึ้นกว่าช่วงล็อกดาวน์ ถึง 64% ยอดใช้จ่ายในหมวดนี้ในช่วงหลัง 2 ทุ่ม ก็กลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยเฉพาะในคืนวันศุกร์ แสดงให้เห็นว่า คนเริ่มกลับมารับประทานอาหารที่ร้านมากขึ้น

  • หลังคลายล็อคดาวน์ คนเริ่มกลับเข้าห้าง ในเดือนสิงหาคม 2563 ยอดใช้จ่ายในหมวดห้างสรรพสินค้าสูงกว่ายอดในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา 3% ก่อนจะลดลงในช่วงเดือนกันยายน
  • ยอดใช้จ่ายสินค้าแฟชั่น เริ่มกลับมากระเตื้องขึ้น ที่น่าสนใจคือ ยอดใช้จ่ายในการซื้อสินค้าแบรนด์หรูเติบโตสูงกว่าแบรนด์ระดับกลาง แสดงว่าผู้บริโภคส่วนหนึ่งยังคงมีกำลังซื้อ และใช้จ่ายต่อเนื่อง
  • หมวดความงามและเครื่องสำอาง กลับมากระเตื้องขึ้นหลังคลายล็อกดาวน์ โดยยอดใช้จ่ายในหมวดสินค้าประเภทสกินแคร์ เติบโตสูงกว่าสินค้าประเภทเครื่องสำอาง
ท่องเที่ยว ประเทศไทย
Photo : Shutterstock

ลูกค้าบัตรใหม่จะหายไปถึง 44% 

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตร “เฉลี่ยต่อคน” ยังไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก แต่จำนวนคนที่ใช้จ่ายกลับลดลง ความเสี่ยงหนี้เสียยังไม่เเน่นอน ทำให้บริษัทต้องระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อใหม่ โดยคาดว่าปีนี้จำนวนลูกค้าสมัครใหม่จะอยู่ที่ 500,000 ใบ ลดลงถึง 44% จากปีก่อน

“โดยรวมทุกบัตรเครดิตของกรุงศรีฯ ลูกค้ายังเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้ออยู่ เเต่บัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ (Krungsri First Choice) จะได้รับผลกระทบหนักที่สุด เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มฐานราก กลุ่มพนักงานที่อาจะโดนลดเงินเดือน หรือลูกค้าผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19”

เมื่อมีความเสี่ยงหนี้เสียเพิ่มขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจ เเละลูกค้าบัตรใหม่ “ลดลง” กลยุทธ์จึงเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าที่มีความสามารถในการใช้จ่ายและชำระหนี้ มีการคัดกรองที่เข้มงวดมากขึ้น เเละพัฒนาการเข้าถึงผ่านช่องทางออนไลน์ เเละหากลุ่มลูกค้าใหม่ อย่างล่าสุดกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ได้จับมือกับ Grab เพื่อปล่อยสินเชื่อให้กับไรเดอร์ (คนขับ) บนเเพลตฟอร์ม ฯลฯ

ด้านแอปพลิเคชัน UChoose ของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 5.3 ล้านบัญชี จากฐานลูกค้าทั้งหมดที่มีอยู่ 8-9 ล้านบัญชี พร้อมมีการพัฒนา “AI มะนาว” เพื่อให้บริการตอบคำถามเบื้องต้นกับลูกค้า

ต้นปี 64 จับตาหนี้เสีย “เรื้อรัง” 

สำหรับสถานการณ์หนี้เสีย หรือ NPL ของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ในช่วงไตรมาส 3/63 อยู่ที่ 2.25% เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปีที่เพิ่งมีการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ 2.14% ซึ่งคาดว่าทั้งปี 2563 คงจะไม่เกิน 2.25% โดยอัตราหนี้เสียของบัตรต่างๆ จะเผยยอดให้เห็นชัดในไตรมาส 1/64

ที่ผ่านมา มีลูกค้ากรุงศรี คอนซูมเมอร์ ใช้มาตรการพักชำระหนี้จากวิกฤต COVID-19 อยู่ราว 1 ล้านคน ซึ่งบริษัทได้มีมาตรการช่วยเหลืออย่าง การลดอัตราดอกเบี้ย โดยโครงการรีไฟแนนซ์เพื่อยืดการผ่อนชำระ มีลูกค้าเข้าร่วม ราว 93,000 บัญชี มูลค่ารวม 4 พันล้านบาท

ลูกค้ากลุ่มดังกล่าว ยังมีความไม่เเน่นอนที่ต้องจับตา เพราะหากช่วงปลายปียังไม่สามารถชำระหนี้ได้ ก็สามารถเข้าสู่กระบวนการขอปรับโครงสร้างหนี้ (TDR) ได้ โดยจะให้ระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้สูงสุด 96 เดือน (8 ปี) ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมที่อยู่ราว 48 เดือน ทั้งนี้ ปัจจุบันกรุงศรี คอนซูมเมอร์มีมีลูกค้าเข้าโครงการ TDR จำนวน 32,400 ราย คิดเป็นยอดสินเชื่อคงค้าง 2,500 ล้านบาท

เเม่ทัพคนใหม่ ในบ้านหลังเดิม

ณญาณี ให้สัมภาษณ์ถึงความรู้สึกเเละก้าวต่อไป หลังขึ้นมารับตำเเหน่งคุมบังเหียนใหญ่ในกรุงศรี คอนซูมเมอร์ เเทน “ฐากร ปิยะพันธ์” ที่กระโดดไปนั่งเก้าอี้ CEO บมจ.เครือไทย โฮลดิ้งส์ เมื่อช่วงที่ผ่านมาว่า “เป็นความท้าทายที่อบอุ่น” ด้วยความที่เติบโตในบ้านกรุงศรีฯ มานาน เเม้จะมารับตำเเหน่งในช่วงวิกฤต COVID-19 ที่สะเทือนธุรกิจ เเต่การมีทีมงานที่เข้าใจกันเเละเชื่อใจกัน รู้จักกันมานานทำให้มีกำลังใจฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ

“มั่นใจว่าเราจะเติบโตไปได้อีก อยู่ในครอบครัวเดิม เป็นคนเดิม เเต่ต้องทำหน้าที่เพิ่มขึ้น”

ณญาณี เผือกขำ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์

ส่วนการเข้ามาในช่วงวิกฤต COVID-19 ก็มีส่วนช่วยให้ต้องมีการปรับองค์กรเร็วขึ้น ปรับกลยุทธ์การทำงานให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งตอนนี้กำลังวางเเผนอยู่ ปีหน้าคงจะมีการปรับการทำงานของพนักงานเเบบเต็มสูบ เรียกว่าเป็นการ “ปรับรูปแบบการทำงานใหม่” ให้เข้ากับสถานการณ์โลกต่อไป…

 

 

]]>
1305637
“กรุงศรี” เปิดผลกำไรครึ่งปีแรก 63 จำนวน 13,500 ล้านบาท ลดลง 31.4% https://positioningmag.com/1288913 Tue, 21 Jul 2020 14:33:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288913 กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) รายงานผลการดำเนินงานสำหรับงวดครึ่งปีแรกของปี 2563 โดยมีกำไรสุทธิจำนวน 13,500 ล้านบาท ลดลง 31.4% จากช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ซึ่งมีการบันทึกกำไรพิเศษจากการขายหุ้นจำนวน 50% ของบริษัท เงินติดล้อ จำกัด ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

สรุปผลประกอบการและฐานะการเงินที่สำคัญสำหรับครึ่งปีแรกของปี 2563

  • กำไรสุทธิ: จำนวน 13,500 ล้านบาท
  • เงินให้สินเชื่อ: เพิ่มขึ้น 2.0% หรือจำนวน 36,900 ล้านบาท จาก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากมาตรการสนับสนุนเพื่อตอบสนองความต้องการเงินทุนหมุนเวียนของกลุ่มลูกค้าธุรกิจ โดยเฉพาะการเสริมสภาพคล่องภายใต้โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่กลุ่มลูกค้า SME ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 สินเชื่อลูกค้าธุรกิจและสินเชื่อลูกค้า SME เพิ่มขึ้น 4.3% และ 3.3% ตามลำดับ ขณะที่สินเชื่อลูกค้ารายย่อยปรับลดลง 0.1%
  • เงินรับฝาก: เพิ่มขึ้น 8.4% หรือจำนวน 131,800 ล้านบาท จาก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 สอดคล้องกับอุตสาหกรรมธนาคารทั้งระบบ
  • ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM): อยู่ที่ 3.74% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 เทียบกับ 3.69% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 เนื่องจากต้นทุนทางการเงินปรับลดลง
  • รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย: ลดลง 40.3% หรือจำนวน 10,700 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปี 2562 เนื่องจากไม่มีการบันทึกกำไรจากการลงทุนเหมือนในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 และการปรับลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ ซึ่งเป็นผลจากกิจกรรมทางธุรกิจของลูกค้ารายย่อยที่ซบเซาตามสภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว หากไม่รวมรายการพิเศษที่บันทึกในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง 11.7% หรือจำนวน 2,100 ล้านบาท
  • อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้: อยู่ที่ระดับ 41.4% เทียบกับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานตามปกติในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ 45.4% สะท้อนการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายเชิงรุกเพื่อให้สอดคล้องกับปัจจัยแวดล้อมในการดำเนินงานที่ไม่เอื้ออำนวยในปัจจุบัน
  • อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL Ratio): อยู่ที่ระดับ 2.20% เทียบกับ 1.98% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562
  • อัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้: อยู่ที่ระดับ 156.2% เทียบกับ 163.8% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562
  • อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง: อยู่ที่ 16.61%

เซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

“ในฐานะธนาคารที่มีความสำคัญเชิงระบบ กรุงศรีได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินแก่กลุ่มลูกค้าธุรกิจและลูกค้ารายย่อยที่ประสบปัญหาการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 เงินให้สินเชื่อภายใต้มาตรการช่วยเหลือลูกค้าของกรุงศรีอยู่ที่ประมาณ 29% ของเงินให้สินเชื่อรวม ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้ารายย่อย 1,792,820 ราย และลูกค้าธุรกิจ 36,490 ราย ทั้งนี้ ธุรกิจ SME ได้รับผลกระทบมากที่สุดในกลุ่มลูกค้าธุรกิจ ซึ่งนอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือตามมาตรการข้างต้นแล้ว ธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้า SME กว่า 5,700 รายด้วยวงเงินสินเชื่อเพิ่มจำนวน 18,312 ล้านบาท เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องภายใต้โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารออมสิน”

]]>
1288913
รู้จัก Kept เเอปฯ “ออมเงิน” แก้ปัญหา Gen Y-Z เก็บเงินไม่อยู่ ตั้งเป้าดึงเงินฝากเพิ่ม 4-5 พันล้าน https://positioningmag.com/1285987 Wed, 01 Jul 2020 09:36:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285987 การเพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้คนหันมาออมเงินมากขึ้น เพราะความไม่เเน่นอนของชีวิตเเละหน้าที่การงาน ขณะเดียวกันเหล่านักลงทุนรายย่อย ก็หลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเเละหันมาฝากเงินมากขึ้นเช่นกัน

จากข้อมูลของธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า การออมของคนไทย มีจำนวนบัญชีเงินฝากรวม 102 ล้านบัญชี มียอดเงินฝากรวม 15 ล้านล้านบาท โดยพบว่ากว่า 86.6% มียอดเงินฝากเฉลี่ยต่ำกว่า 5,000 บาทต่อบัญชีเท่านั้น

ขณะที่บริษัทข้อมูลเครดิตเเห่งชาติ (NCB) ระบุว่า หนี้ครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และคนไทยเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยคนไทยอายุ 30 ปี ถึง 50% มีหนี้ และยิ่งไปกว่านั้นคือ 1 ใน 5 ของคนในช่วงอายุ 29-30 ปี มีหนี้เสีย

พร้อมกันนั้น กลุ่มคนรุ่นใหม่ไทย ยังมีการวางแผนทางการเงินในระดับต่ำ โดยเฉพาะกลุ่ม first jobber ที่มักมีทัศนคติที่ให้ความสำคัญต่อการออมน้อยกว่าคนรุ่นก่อน ดังนั้นวินัยการเก็บเงินของคนรุ่นใหม่ชาว Gen Y เเละ Gen Z จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเเละส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย

ในอีกมุมหนึ่งเมื่อคนไทยมีความระมัดระวังการใช้เงินมากขึ้นในช่วงนี้ ก็เป็นโอกาสของสถานบันการเงินที่จะเข้ามาเพิ่มยอดเงินฝากนั่นเอง

ล่าสุด ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เปิดตัว Kept (เคป) แพลตฟอร์มบริหารเงินที่คำนึงถึง pain point ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการออมเงินอย่างมีระบบ ดึงดูดด้วยดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงกว่าฝากประจำทั่วไป

พงษ์อนันต์ ธณัติไตร ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจลูกค้ารายย่อยและเครือข่ายการขาย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  ตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่ผ่านมา มีการออมผ่านบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารกรุงศรีฯ โตถึง 8% ถือเป็นการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เงินฝากจะมีอัตราเติบโตเพียง 4-5% เท่านั้น

ขณะที่ตัวเลขผู้ใช้งานโมบายแบงกิ้งของทั้งระบบเพิ่มสูงถึง 63 ล้านคน คิดเป็นการเติบโต 28% จำนวนธุรกรรมมากกว่า 523 ล้านรายการ เติบโต 14% สอดคล้องกับ Krungsri Mobile Application (KMA) ที่เติบโตในแง่ฐานลูกค้า 12% และในแง่จำนวนรายการ 21%

เมื่อยอดการออมเเละการใช้โมบายแบงกิ้งพุ่งสูงขึ้นพร้อมๆ กัน จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะเปิดตัวเเอปฯ Kept ในช่วงนี้ ผ่านแนวคิด small change for BIG FUTURE #ปรับนิดชีวิตเปลี่ยน ช่วยให้การออมเงินเป็นเรื่องง่าย สนุกและสำเร็จจริง

Kept : ระบบ 1 กระเป๋า 2 กระปุก

จุดเด่นคือ Kept จะมาเป็นผู้ช่วยการออมเงินด้วยฟีเจอร์อัตโนมัติที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามรูปแบบการใช้ชีวิตของลูกค้าผ่าน 3 บัญชี คือ บัญชี Kept บัญชี Grow และบัญชี Fun ที่ทำงานร่วมกันในระบบ 1 กระเป๋า 2 กระปุกโดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่สูง 1.7%ต่อปี โดยปีแรกรับ 1.6% และปีที่สอง 1.8% (ปีหลังจากนั้นจะเป็นดอกเบี้ยตามภาวะตลาด) โอน-ถอนได้ทุกเวลา ไม่ต้องมีบัญชีธนาคารกรุงศรีก็ใช้งานได้

โดยมีให้ดาวน์โหลดฟรี ทั้งระบบ iOS และ Android เปิดบัญชีผ่านระบบยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (National Digital ID – NDID) ไม่ต้องมาที่สาขา หรือยืนยันตัวตนผ่านช่องทาง Krungsri i-CONFIRM ซึ่งเป็นจุดบริการยืนยันตัวตน ณ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา ทั่วประเทศ

1.กระเป๋า Kept

เป็นกระเป๋าสตางค์แยกเงินไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ลูกค้าสามารถโอนเงินเข้ากระเป๋า Kept และตั้งยอดที่ต้องการใช้เงินในกระเป๋า Kept ไว้ล่วงหน้า ส่วนที่เหลือจะถูกโอนไปเก็บไว้ในกระปุก Grow แบบอัตโนมัติทุกสิ้นวัน ทั้งนี้ หากเงินในกระเป๋า Kept ไม่พอใช้ ระบบก็มีฟีเจอร์โอนกลับอัตโนมัติที่จะหยิบเงินส่วนที่ขาดมาจากกระปุก Grow คืนมายังกระเป๋า Kept  ซึ่งลูกค้าสามารถโอนเงินเข้าออกบัญชี Kept ได้บ่อยเท่าที่ต้องการโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

2.บัญชี/กระปุก Grow

เป็นกระปุกเงินเพื่อเก็บเงินก้อน เก็บเงินก้อนส่วนเกินจากจำนวนที่ได้ตั้งไว้เพื่อใช้จ่ายจากกระเป๋า Kept มาใส่ในกระปุก Grow โดยอัตโนมัติ (ขั้นต่ำ 5,000 บาท) เพื่อรับดอกเบี้ยที่สูง ในปีแรกและสูงขึ้นอีกในปีที่ 2 โดยคิดดอกเบี้ยทุกวัน จ่ายดอกเบี้ยทุกวันที่ 28 ของเดือน ซึ่งในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.6% และ 1.8% ตามลำดับ

3.บัญชี/กระปุก Fun

เป็นกระปุกเงินสำหรับการเก็บเล็กผสมน้อย ที่สามารถทำได้ทุกวัน มาพร้อม 2 ฟีเจอร์เด็ดที่ทำให้การออมเงินเป็นเรื่องสนุก คือแอบเก็บที่ช่วยเก็บเงินให้ทุกครั้งที่โอนออกหรือสแกนจ่ายด้วย QR code ด้วยวิธีแอบเก็บที่เลือกได้เอง และสั่งเก็บ ให้เก็บเงินเมื่อไรและจำนวนเท่าใดก็ได้ ช่วยให้มีเงินออมสม่ำเสมอโดยไม่ต้องเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ และเมื่อต้องการใช้เงินในกระปุกนี้ก็สามารถโอนเข้ากระเป๋า Kept ได้

สำหรับ ฟีเจอร์แอบเก็บ เป็นไอเดียมาจากลูกค้าคนหนึ่งที่ชอบการช้อปปิ้งมาก ทุกครั้งที่กดช้อปปิ้งออนไลน์ เขาจะเเบ่งเงินตัวเองเก็บไว้อีก 300 บาททุกครั้ง เพราะไม่อยากรู้สึกผิด (ที่ช้อปปิ้งบ่อย) ดังนั้นเราจึงนำมาพัฒนาให้มีตัวช่วยเเอบเก็บให้ลูกค้า ซึ่งสามารถตั้งจำนวนเงินได้ เช่น สั่งซื้อของ 50 บาท ตั้งไว้ให้หักอีกครั้งละ 50 บาท รวมเป็นตัดบัญชี 100 บาท (ตัดเข้ากระเป๋าออม 50 บาท) หรือจะตั้งให้ปัดเศษได้ เช่น ซื้อของ 137 บาท ตัดเป็น 140 บาท (ตัดเข้ากระเป๋าออม 3 บาท) เป็นต้น

ทั้งนี้ การฝากเงินใน Kept สามารถขอรายการเดินบัญชี (e-statement) ได้ย้อนหลังได้ไม่เกิน 24 เดือน โดยทำรายการผ่านเเอปฯ Kept เช่นเดียวกับการขอรายการเดินบัญชีเเบบทั่วไป

“เป้าหมายของ Kept จะเน้นเจาะกลุ่ม Young Money เเละ Growing Money ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ Gen Y เเละ Gen Z โดยคาดว่าภายใน 1 ปีจะมียอดดาวน์โหลด 2 เเสนรายเเละดึงดูดยอดเงินฝากได้ราว 4-5 พันล้านบาท เฉลี่ยเงินฝาก 20,000 บาทต่อบัญชี” 

 

]]>
1285987
“กรุงศรี” เปิดงบไตรมาส 1/2563 กำไรสุทธิ 7,030 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.3% https://positioningmag.com/1274690 Tue, 21 Apr 2020 14:38:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1274690 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และบริษัทในเครือ รายงานผลการดำเนินงานสำหรับงวดไตรมาส 1/2563 ด้วยกำไรสุทธิจำนวน 7,030 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.3% จากไตรมาส 4/2562

โดยมีกำไรจากการดำเนินงานที่เพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าจะมีการรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss หรือ ECL) เพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ทวีความรุนแรงอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ภายใต้กรอบมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 (TFRS 9) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563

แม้ว่าการแพร่ระบาดดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อภาคการท่องเที่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 อีกทั้งยังมีมาตรการปิดเมืองที่เริ่มส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม 2563 แต่เงินให้สินเชื่อยังคงเติบโต 2.9% ในไตรมาส 1/2563 โดยมีความต้องการเงินทุนหมุนเวียนของกลุ่มลูกค้าธุรกิจเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก

สรุปผลประกอบการและฐานะการเงินที่สำคัญในไตรมาส 1/2563

  • กำไรสุทธิ: จำนวน 7,030 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.3% จากไตรมาส 4/2562
  • เงินให้สินเชื่อ: เพิ่มขึ้น 2.9% คิดเป็นจำนวน 52,000 ล้านบาท จาก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 จากความต้องการเงินทุนหมุนเวียนของกลุ่มลูกค้าธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตของสินเชื่อเพื่อรายย่อย สะท้อนถึงการเติบโตที่ต่อเนื่องมาจากช่วงสิ้นปี 2562 ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลปรับลดลง 6.1% จากการชำระหนี้ตามฤดูกาลและปริมาณการใช้จ่ายที่ชะลอตัวลง
  • เงินรับฝาก: เพิ่มขึ้น 6.4% หรือจำนวน 100,000 ล้านบาทจาก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562  
  • ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM): อยู่ที่ 3.94% เทียบกับ 3.52% ในไตรมาส 4/2562 ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของต้นทุนทางการเงินและการเพิ่มสูงขึ้นของอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์
  • รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย: ลดลง 9.2% หรือจำนวน 869 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2562 ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิที่เป็นผลจากการลดลงของกิจกรรมทางธุรกิจของลูกค้ารายย่อย สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงในระหว่างไตรมาส
  • อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้: อยู่ที่ 41.0% ปรับตัวดีขึ้นจาก 43.7% ในไตรมาส 4/2562     
  • อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL Ratio): อยู่ที่ระดับ 2.22% เทียบกับ 1.98% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562
  • อัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้: อยู่ที่ระดับ 159.1% เทียบกับ 163.8% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562
  • อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง: อยู่ที่ 15.66%

เซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

“แม้ว่ากรุงศรีสามารถส่งมอบผลการดำเนินงานที่น่าพอใจในไตรมาส 1/2563 ซึ่งสะท้อนถึงพอร์ตสินเชื่อที่สมดุลและการบริหารความเสี่ยงด้วยความรอบคอบระมัดระวัง ธนาคารคาดว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะรุนแรงมากขึ้นในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากการแพร่ระบาดได้ส่งผลกระทบอย่างมากทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน จากการหยุดชะงักของภาคการผลิตและรายได้ที่ลดลง

เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อกิจกรรมทางธุรกิจและลดภาระดอกเบี้ยของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ธนาคารได้ปรับลดดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 24 มีนาคม และ 10 เมษายน 2563 ซึ่งเป็นมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมนอกเหนือจากมาตรการอื่นๆ ที่ได้ออกมาสำหรับลูกค้าทุกกลุ่ม อาทิ การพักชำระหนี้เงินต้นและ/หรือดอกเบี้ย การปรับลดการชำระดอกเบี้ย และการขยายระยะเวลาผ่อนชำระ”

]]>
1274690
รวมมิตร 14 ธนาคาร “พักหนี้” ทั้งต้นทั้งดอก 6 เดือน ช่วย SMEs-รายย่อย ฝ่ามรสุม COVID-19 https://positioningmag.com/1273383 Tue, 14 Apr 2020 15:00:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273383 “เเบงก์พาณิชย์-เเบงก์รัฐ” ขานรับนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พาเหรดออกมาตรการช่วยลูกหนี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

ลูกค้ารายย่อยเเละเจ้าของธุรกิจ SMEs ที่กำลังหาข้อมูลมาตรการ “พักชำระหนี้” ของธนาคารต่างๆ Positioning รวบรวมมาให้เเล้วถึง 14 ธนาคาร 

1. ไทยพาณิชย์ (SCB)

เริ่มต้นกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศมาตรการพักชำระสินเชื่อทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 6 เดือนให้แก่ลูกค้าผู้ประกอบการ SMEsที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาททุกราย โดยจะธนาคารดำเนินการพักหนี้
ให้ลูกค้ากลุ่มนี้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระทางด้านค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ

“ลูกค้าเอสเอ็มอีมีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาททุกราย จะได้รับการพักชำระหนี้ 6 เดือนโดยอัตโนมัติโดยไม่จำเป็นต้องติดต่อธนาคาร”

นอกจากนี้ยังมีมาตรการสนับสนุน “สินเชื่อซอฟต์โลน” อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ยในระยะ 6 เดือนแรก เนื่องจากรัฐบาลจะเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยในช่วงดังกล่าวแทนผู้ประกอบการ สามารถขอสินเชื่อซอฟต์โลนใหม่ได้ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางการเงินสำหรับการดำเนินธุรกิจต่อไป

สำหรับลูกค้าที่ต้องการสินเชื่อซอฟต์โลนสามารถแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2563 – 30 กันยายน 2563

อ่านเพิ่มเติม : ถาม-ตอบ กรณีลูกค้าสินเชื่อบุคคลและ SMEs ขอรับความช่วยเหลือจากการได้รับผลกระทบ COVID-19

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? 02-722-2222

2. กสิกรไทย (KBank)

ตามมาด้วย กสิกรไทย ที่ปัจจุบันมีลูกค้าเงินกู้ในระบบที่เป็น SMEs อยู่ถึง 40% ได้ประกาศมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับลูกค้าผู้ประกอบการที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท ระยะเวลา 6 เดือน เริ่มตั้งเเต่ 1 เมษายน 2563-30 กันยายน 2563 รวมถึงพร้อมให้เงินกู้เสริมสภาพคล่องลูกค้าผู้ประกอบการที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยให้ลูกค้าสามารถกู้ได้ 20% ของยอดวงเงินเดิม คิดอัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี
และไม่คิดอัตราดอกเบี้ย 6 เดือนแรก

อ่านเพิ่มเติม : รวมมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อทั้งหมดสำหรับลูกค้ารายย่อยและผู้ประกอบการของ KBank

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? ลูกค้าบุคคล 02-8888888
? ลูกค้าผู้ประกอบการ 02-8888822

3. กรุงศรีอยุธยา

ด้านธนาคารกรุงศรีอยุธยา ก็ออกมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยนาน 6 เดือนแก่ลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท เริ่มตั้งเเต่ 1 เมษายน 2563 – 30 กันยายน 2563 เช่นกัน พร้อมด้วยมาตรการให้เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง (Soft loan) แก่ลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยสามารถกู้ได้สูงสุด 20% ของยอดหนี้คงค้าง ณ สิ้นปี 2562 ในอัตราดอกเบี้ย 2% เป็นเวลา 2 ปี และไม่ต้องชำระดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก

ทั้งนี้ ลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs สามารถติดต่อผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์ หรือแจ้งขอรับมาตรการความช่วยเหลือได้ที่ โครงการรับเรื่องจากลูกค้าสินเชื่อที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 บนเว็บไซต์ krungsri.com

สำหรับลูกค้าสินเชื่อบ้าน จะมีมาตรการพักชำระเงินต้นเเละดอกเบี้ย 6 เดือนเเละพักชำระหนี้เงินต้น 6 เดือน ส่วนสินเชื่อบุคคล (สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคลเเละสินเชื่อกรุงศรี IFIN) พักชำระเงินต้นเเละดอกเบี้ย 6 เดือน ซึ่งเป็นโปรเเกรมสำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 เท่านั้นเเละขอสงวนสิทธิ์เเล้วเเต่กรณี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?1572
?เว็บไซต์ krungsri.com

กรุงศรีคอนซูมเมอร์ : ลูกค้าบัตรเครดิต

กรุงศรีคอนซูเมอร์ ปล่อยโครงการ “เราจะก้าวผ่านไปด้วยกัน กับกรุงศรี คอนซูมเมอร์” ช่วยเหลือลูกค้าบัตรเครดิตกว่า 6 ล้านบัญชี โดยออก 3 มาตรการพิเศษ ด้วยการลดยอดชำระขั้นต่ำต่อเดือน และการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน สำหรับ “ลูกค้าทุกราย” โดยไม่ต้องแจ้งความจำนง

รวมถึงการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม โดยเน้นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางตรง เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม การบิน และบริการอื่นที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ เหลือ 12% สำหรับบัตรเครดิต และ 22% สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล โดย “ลูกค้าต้องลงทะเบียน” เพื่อขอรับพิจารณาความช่วยเหลือดังกล่าวผ่านแอปพลิเคชัน UCHOOSE ซึ่งจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี

มีรายละเอียดดังนี้

มาตรการที่ 1 : ลดยอดชำระขั้นต่ำต่อเดือน สำหรับบัตรเครดิตจากเดิม 10% เหลือ 5% ตามรอบบัญชีตั้งแต่ 1 เม.ย. 2563 – 31 ธ.ค. 2564 ส่วนผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลจากเดิม 5% เหลือ 3% ตามรอบบัญชีตั้งแต่ 18 มี.ค. 2563 – 31 ธ.ค. 2563 สำหรับลูกค้าทุกราย โดยมิต้องติดต่อแจ้งความจำนง

มาตรการที่ 2 : พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน ให้กับลูกค้าบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลทุกรายโดยมิต้องแจ้งความจำนงเป็นระยะเวลา 2 รอบบัญชี สำหรับลูกค้าทุกรายที่มีวันครบกำหนดชำระตั้งแต่ 14 เม.ย. – 12 มิ.ย. 2563 โดยดอกเบี้ยยังคงคำนวณตามอัตราปกติแบบลดต้นลดดอก ทั้งนี้ สถานะบัญชีของลูกค้าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เปลี่ยนแปลง

มาตรการที่ 3 : ปรับลดดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ เริ่มต้น 12% สำหรับลูกค้าในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยลูกค้าต้องลงทะเบียนแจ้งความจำนง และจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี ส่วนผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษเหลือ 12% และลดภาระการชำระคืนด้วยการขยายการเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 48 เดือน ผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เหลือ 22% และลดการผ่อนชำระขั้นต่ำเหลือเพียง 3%

โดยมาตรการดังกล่าว สำหรับลูกค้าในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว หรือธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศของทางราชการ โดยลูกค้าต้องมีบัญชีสินเชื่อกับบริษัทก่อนเดือน มี.ค. 2563

ทั้งนี้ ลูกค้าจะถูกปรับลดวงเงินสินเชื่อ ให้คงเหลือเท่ากับยอดสินเชื่อคงค้างที่เข้าร่วมโครงการ โดยลูกค้าสามารถลงทะเบียนรับพิจารณาความช่วยเหลือดังกล่าว ผ่านแอปพลิเคชัน UCHOOSE ตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย. 2563 – 30 มิ.ย. 2563 โดยบริษัทจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2563 เป็นต้นไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?บัตรเครดิตกรุงศรีอยุธยา krungsricard.com
?บัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน centralthe1card.com
?บัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ firstchoice.co.th
?บัตรเครดิตเทสโก้ โลตัส วีซ่า tescolotusmoney.com

4. กรุงไทย

ธนาคารกรุงไทย ได้เพิ่มมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยประกาศพักชำระหนี้เงินต้นเเละดอกเบี้ย 6 เดือน ให้กับลูกค้าธุรกิจที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 100 ล้านบาท เพื่อรับมือกับรายจ่ายที่จำเป็นของธุรกิจ เริ่มมีผลเดือนเมษายน – กันยายน 2563 เเละยังสนับสนุนสินเชื่อใหม่ (Soft Loan) เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กลุ่มลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยกู้ได้สูงสุดไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้าง ณ 31 ธันวาคม 2562 อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี

“ธนาคารไม่คิดดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้”

ก่อนหน้านี้ กรุงไทยได้ออกมาตรการช่วยเหลือ “ลูกค้าทุกกลุ่มทุกขนาด” อย่างการพักชำระเงินต้น 12 เดือน ให้กับลูกค้ารายย่อย พักชำระเงินต้น 12 เดือน ขยายระยะเวลาชำระหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) และสินเชื่อ Trade Finance ออกไป 6 เดือน สำหรับลูกค้าธุรกิจที่มีรายได้ลดลง

มีการพักชำระหนี้ให้ลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจที่มีสถานะชำระปกติทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยนาน 3 เดือน ทั้งสินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท สินเชื่อธุรกิจที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อ “กรุงไทยต้านภัยโควิด-19 ดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 2% ต่อปี คงที่ 2 ปีแรก วงเงินกู้สูงสุด 20 ล้านบาท ฟรีค่าธรรมเนียม บสย. ค้ำประกัน 4 ปี ทำธุรกรรมโอน รับ จ่าย ไม่คิดค่าธรรมเนียมนาน 1 ปี สำหรับลูกค้าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม รถเช่า ร้านขายของฝาก ของที่ระลึก เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?02 111 1111
? facebook : Krungthai Care

5. กรุงเทพ

ด้านธนาคารกรุงเทพ ร่วมออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs ให้มีเงินทุนและสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินธุรกิจและรักษาการจ้างงานต่อไปโดยมี 2 มาตรการ ดังนี้

1. สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการค้าทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยและมีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท ได้พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยโดยอัตโนมัติ ระยะเวลา 6 เดือนและไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต เพื่อช่วยให้มีสภาพคล่องรองรับรายจ่ายจำเป็น

ทั้งนี้ ลูกค้าผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ ธนาคารขอแนะนำให้ชำระหนี้ตามปกติเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

2. ธนาคารพร้อมสนับสนุนสินเชื่อใหม่ (soft loan) เพื่อเป็นเงินกู้เสริมสภาพคล่อง สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการค้าทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย และมีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษ 2% ต่อปี ในช่วง 2 ปีแรกและไม่คิดดอกเบี้ยในช่วง 6เดือนแรก ทั้งนี้ลูกค้าต้องมีสถานะผ่อนชำระปกติหรือค้างชำระไม่เกิน 90 วัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 โดยแต่ละรายสามารถขอกู้ได้ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้างของลูกหนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562

ด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่ออเนกประสงค์ที่ใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันวงเงิน ขณะอนุมัติไม่เกิน 3 ล้านบาท พักชำระเงินต้น จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยนาน 3 เดือน เเละวงเงินขณะอนุมัติตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไปขอความช่วยเหลือเป็นรายกรณีตามสถานการณ์

ส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ประเภทเงินกู้ (Installment Loan) จะพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยนาน 3 เดือน

มาตรการปรับลดอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำมาอยู่ที่ 5% (จากเดิม 10%) จนถึง 31 ธันวาคม 2564 สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพทุกประเภท และทุกรายได้รับสิทธิอัตโนมัติ โดยไม่ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิปรับลดดอกเบี้ยลงเป็นพิเศษ อยู่ที่ 12% สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงประกอบอาชีพหรือทำงานในธุรกิจโรงแรม การท่องเที่ยว สายการบินและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจากการที่รัฐบาลประกาศให้หยุดบริการชั่วคราวพักชำระเงินต้น และดอกเบี้ยนาน 3 เดือนยกเว้นดอกเบี้ยค้างชำระ 1 เดือน (ลงทะเบียนที่นี่)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?1333
?bangkokbank.com

ธนาคารกรุงเทพ

6. LH BANK

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ แจ้งลูกค้าผ่านไลน์ ว่า พร้อมให้ความช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs โดยจะพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน สำหรับเอสเอ็มอีที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท รวมถึงพร้อมปล่อยกู้เสริมสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี ปลอดดอกเบี้ย 6 เดือน ซึ่งกู้ได้ไม่เกิน 20% ของหนี้คงค้าง ณ 31 ธ.ค.2562

สำหรับลูกค้าทุกกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 มีมาตรการช่วยเหลือ ได้แก่ ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระ เช่น ปลอดเงินต้นสูงสุด 12 เดือน และขยายระยะเวลาเงินกู้ เพื่อให้ภาระการผ่อนชำระลดลง หลังหมดช่วงปลอดเงินต้น เเละสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติมด้วย

“ธนาคารคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกค้าได้ในระดับหนึ่งโดยมาตราการดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงตามผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะต่อไปและตามความเหมาะสมทางธุรกิจของลูกค้าแต่ละราย”

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?1327

7. ออมสิน

ธนาคารออมสิน ออกมาตรการพักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย โดยอัตโนมัติทันที สำหรับลูกค้ากลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เป็นเวลา 6 เดือนตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 2563

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?1115 หรือ 0-2299-8000

 

8. ธ.ก.ส.

ฝั่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs เเละเกษตรกร โดยพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน ตั้งเเต่ 1 เม.ย. – 30 ก.ย. 2563 เพื่อเป็นการสนับสนุนเงินกู้เสริมสภาพคล่องให้ลูกค้าตามร่างพระราชกำหนดให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) โดยมาตรการอื่นๆ จะมีการเเจ้งให้ทราบต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? 0-2555-0555
? baac.or.th

9. ธพว.

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ระบุว่า ได้ออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือ SMEs โดยเลื่อนชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยอัตโนมัติให้ลูกค้าเป็นเวลา 6 เดือน เริ่มมีผลตั้งแต่เดือนเมษายน – กันยายน 2563 สำหรับภาระหนี้ที่พักชำระไว้ ธนาคารจะนำยอดดังกล่าว ไปรวมกับค่างวดในงวดสุดท้าย ซึ่งในช่วงที่ผ่อนปรนนี้ ไม่ถือว่าเสียประวัติข้อมูลเครดิต

โดยลูกค้าที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวจะได้รับสิทธิโดยอัตโนมัติทันที ไม่ต้องแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการ หรือลงทะเบียนใดๆ ทั้งสิ้นและหากลูกค้าท่านใด ต้องการชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่เคยได้รับก็สามารถชำระได้ตามปกติ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?1357
? smebank.co.th

10. EXIM BANK

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ EXIM BANK แจ้งว่า ธนาคารได้มีมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน สำหรับลูกค้าทุกรายที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม

พร้อมเงินกู้เสริมสภาพคล่องสำหรับลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยให้กู้ได้ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้าง ณ 31 ธ.ค. 2562 คิดอัราดอกเบี้ยต่ำ 2% ต่อปี และ ปลอดดอกเบี้ยช่วง 6 เดือนแรก ซึ่งลูกค้าสามารถติดต่อขอกู้ได้จนถึง 31 ธ.ค. 2563

นอกจากนี้ยังมี โครงการ “สินเชื่อเอ็กซิมเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน” เพื่อสนับสนุนสถานประกอบการในซัพพลายเชนของการส่งออกไทย โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 3% ต่อปี ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? 02-617-2111 ต่อ 3510-2

11. UOB 

ธนาคารยูโอบี (ไทย) ประกาศมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ปรับลดอัตราการผ่อนชำระคืน ขั้นต่ำและมอบทางเลือกในการพักเงินต้น

โดยลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตของธนาคารที่มีสถานะทางบัญชีปกติ จะได้รับการปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำจาก 10% เป็น 5% สำหรับบัตรเครดิตยูโอบี และจาก 5% เป็น 2.5% สำหรับบัตรกดเงินสดยูโอบีแคชพลัส โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563

สำหรับลูกค้าบัตรเครดิตยูโอบีและทูมอร์โรว์ บัตรกดเงินสดยูโอบีแคชพลัสสามารถแจ้งความประสงค์ในการขอพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 รอบบัญชีหรือเปลี่ยนยอดหนี้คงค้างเป็นยอดผ่อนรายเดือนชำระรายเดือนสูงสุด 48 รอบบัญชี สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล i-Cash สามารถแจ้งความประสงค์ในการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 รอบบัญชี

ส่วนลูกค้าสินเชื่อบ้าน สามารถแจ้งความประสงค์เลือกพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 รอบบัญชีหรือพักชำระเงินต้นโดยชำระเฉพาะดอกเบี้ยเป็นเวลา 12 รอบบัญชี

ลูกค้าเอสเอ็มอี สามารถแจ้งความประสงค์ขอพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือนหรือเลือกพักชำระเงินต้นโดยชำระเฉพาะดอกเบี้ยได้สูงสุด 12 เดือน หรือยื่นขอสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องกับสินเชื่อโครงการ Soft Loan
ที่อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? โทร 02 285 1555 , 02 343 3555
? uob.co.th

12-13. TMB & ธนชาต

ด้านธนาคารธนชาตได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อบ้านธนชาต หรือ Thanachart Home Loan ซึ่งประกอบไปด้วย สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ (Refinance), สินเชื่อบ้านมือสอง (Resell house)สินเชื่อปลูกบ้าน (Self built) สินเชื่อบ้านแลกเงิน (Cash Your Home) และสินเชื่อโฮมพลัส (Home Plus)

ด้วยการพักชำระหนี้เงินต้น และดอกเบี้ย นานสูงสุด 3 เดือน และเมื่อครบกำหนดก็ต้องชำระหนี้คืนตามปกติ สำหรับระยะเวลาโครงการนั้นจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2564

สำหรับลูกค้าปัจจุบันสินเชื่อรถยนต์ธนชาต DRIVE ประเภทสินเชื่อรถยนต์ใหม่สินเชื่อรถยนต์ใช้แล้ว และ สินเชื่อรถแลกเงิน สามารถขอพักชำระหนี้ได้สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน (Skip Payment) หรือขยายระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 96 งวด ทั้งนี้ โดยเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด และเมื่อครบกำหนดให้กลับมาชำระหนี้ตามปกติ ส่วนประเภทสินเชื่อเล่มแลกเงิน สามารถขอพักชำระหนี้ได้ไม่เกิน 60 วัน

ด้านธนาคารทหารไทย ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อบ้าน ทีเอ็มบี (TMB Home Loan) ด้วยการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลาสูงสุด 3 เดือน และเมื่อครบกำหนดก็ต้องกลับมาชำระหนี้ตามปกติ
เช่ยเดียวกันกับธนาคารธนชาต

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? โทร ธนชาต 1770 – TMB 1558
? thanachartbank.co.th , tmbbank.com

14. ธอส.

ล่าสุด “ธนาคารอาคารสงเคราะห์” ได้ยกระดับความช่วยเหลือเพิ่มเติมให้แก่ลูกค้าของธนาคารที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในมาตรการที่ 5 โดยหลังจากพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 4 เดือนแล้ว ธนาคารจะยกดอกเบี้ยที่พักชำระไว้ทั้ง 4 เดือนให้กับลูกค้า เมื่อสิ้นสุดระยะเวลากู้ตามสัญญา

สำหรับกลุ่มลูกค้าทุกวัตถุประสงค์การกู้ที่มีวงเงินกู้ทุกบัญชีรวมกัน ไม่เกิน 3 ล้านบาท และมีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 35,000 บาท ครอบคลุมลูกค้า 1.1 ล้านบัญชี ทั้งสถานะบัญชีปกติ และสถานะบัญชีดอกเบี้ยผิดนัดหรือสถานะกฎหมาย และเตรียมกรอบวงเงิน 10,000 ล้านบาท จัดทำมาตรการที่ 6 พักชำระเงินต้นระยะเวลา 4 เดือน พร้อมลดดอกเบี้ยเหลือ 1.00% ต่อปี สำหรับ “บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข”

แจ้งความประสงค์ เข้ามาตรการผ่าน Mobile
Application : GHB ALL ตั้งแต่วันที่ 13 – 30 เมษายน 2563

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? 0-2645-9000
?ghbank.co.th

หมายเหตุ :รวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 14 เมษายน 2563 
ผู้สนใจติดต่อสอบถามทางธนาคารเพื่อการอัพเดตข้อมูลมาตรการอีกครั้ง 

]]>
1273383
MUFG จ่อลงทุน Grab กว่า 2 หมื่นล้าน ดันเป็น “ซูเปอร์เเอป” เจาะชาวอาเซียนที่เข้าไม่ถึงเเบงก์ https://positioningmag.com/1265381 Fri, 21 Feb 2020 05:01:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1265381 สถาบันการเงินใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นอย่าง Mitsubishi UFJ Financial Group (MUFG) เตรียมทุ่มลงทุนในสตาร์ตอัพยูนิคอร์น “Grab” กว่า 727 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.2 หมื่นล้านบาท) เพื่อขยายการบริการด้านการเงินในอาเซียนซึ่งเป็นฐานลูกค้าหลักของ Grab เเละกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่เข้าถึงธนาคาร

Nikkei Asian Review รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวระบุว่า ทั้งสองบริษัทกำลังจะประกาศข่าวการลงทุนอย่างเป็นทางการในเร็ววันนี้ ซึ่งจะทำให้ MUFG มีสัดส่วนการถือหุ้นหุ้นมากที่สุดในบรรดากลุ่มสถาบันการเงินด้วยกัน เเต่ก็ยังน้อยกว่า Softbank Group บริษัทด้านโทรคมนาคมเเละการสื่อสาร ที่ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน Grab เช่นเดิม

ทั้งนี้ Grab นับเป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นที่มีมูลค่าบริษัทกว่า 1.4 หมื่นล้านเเละผู้นำด้าน ride-hailing ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้ใช้ราว 170 ล้านคน (จากการโหลดเเอป) โดยก่อตั้งขึ้นในปี 2012 เริ่มต้นจากการทำธุรกิจในมาเลเซีย จากนั้นได้ย้ายเข้าสู่ตลาดและกลุ่มธุรกิจใหม่ ๆ อย่างการส่งอาหารและบริการทางการเงิน

สำหรับกลยุทธ์ที่ MUFG จะร่วมมือกับ Grab คือการนำเสนอบริการใหม่ โดยตั้งเป้าจะเป็น “ซูเปอร์เเอป” ที่ให้บริการผู้บริโภคทั้งภูมิภาค โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สินเชื่อและประกันภัยที่จะได้ต่อยอดจากข้อมูลดาต้าของผู้ใช้ Grab รวมถึงนำ Digital Skill จาก Grab มาพัฒนาดิจิทัลเเพลตฟอร์มของ MUFG ให้แข็งแกร่งขึ้น

MUFG มองว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพเติบโตในธุรกิจการเงินสูงซึ่งในปี 2013 ได้เข้าซื้อธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือเเบงก์กรุงศรีของไทย และลงทุนในธนาคารท้องถิ่นในเวียดนามฟิลิปปินส์และที่อื่น ๆ เมื่อปีที่แล้วก็ได้ซื้อธนาคาร Danamon ของอินโดนีเซีย

รายงานระบุว่า ชาวอาเซียนจำนวนมาก ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินจากธนาคารโดยในอินโดนีเซียมีประชากร 50% เท่านั้นที่มีบัญชีธนาคารส่วนเวียดนามและฟิลิปปินส์มีเพียง 30% เท่านั้น ขณะที่ญี่ปุ่นมีเกือบ 100% เเล้ว

ดังนั้นการที่ MUFG จับมือกับ Grab จึงเป็นการเดินเกมกลยุทธ์สำคัญในการหาลูกค้าใหม่ที่ยังเข้าไม่ถึงธนาคารนั่นเอง

 

ที่มา : Nikkei Asian Review , techinasia

]]>
1265381