ผู้บริโภค – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 05 Apr 2024 00:05:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ชำแหละพฤติกรรม ‘ผู้บริโภค’ ยุคตื่นจากฝันหันมา ‘พึ่งตัวเอง’ และรายได้ 2 ทางไม่พออีกต่อไป https://positioningmag.com/1469166 Thu, 04 Apr 2024 12:09:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469166 จากการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคประจำปี 2567 ภายใต้หัวข้อ “Consumers Untold” ที่เปิดเผยในงาน GroupM FOCAL 2024 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2024 ที่จำเป็นต้องตื่นจากความฝัน หลังจากที่เริ่มมีหวังในปี 2023 

คุณหลอกดาว! ผู้บริโภคพึ่งได้แค่ตัวเอง

จากปี 2023 หลายคนมองว่าเป็นปีแห่งความหวัง เพราะมีการเลือกตั้ง ภาพของการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้น ทำให้คนคิดว่าปีนี้เศรษฐกิจต้องดีกว่าเดิม แต่กลายเป็นว่าทุกอย่างเป็นแค่ภาพลวงตาในปี 2024 เพราะผู้บริโภคมองว่า รัฐบาลใหม่พึ่งไม่ได้ ในส่วนของ นักท่องเที่ยวมาเยอะจริง แต่รายได้ไม่เพิ่ม สวนทางกับ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้  ผู้บริโภคต้อง พึ่งพาตัวเอง ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด

“เขามองว่านักท่องเที่ยวมาเยอะจริง แต่เลือกไปแต่งานอีเวนต์ใหญ่ ๆ หรือจังหวัดใหญ่ ๆ ไม่ไปเมืองรอง และรัฐเขาก็พึ่งไม่ได้ ต้องหาเงินเองให้ได้มากที่สุด ต้องพึ่งพาตัวเอง เพราะเงินมีเท่าเดิม แต่ของแพงขึ้น” 

รายได้ 2 ทางไม่พอ ต้อง 3-4-5 ทาง

ภาพที่สะท้อนให้เห็นคือ คนมองว่า รายได้ทางที่ 2 ไม่เพียงพอ การใช้จ่ายเน้น ความคุ้มค่าที่สุด ดังนั้น จะใช้จ่ายแต่ละครั้งจะมีการ เปรียบเทียบ ทั้งการเปรียบเทียบระหว่างแพลตฟอร์มออนไลน์ และสินค้าหน้าร้าน เพื่อให้คุ้มราคามากที่สุด

การใช้จ่ายที่ลดลง ก็ส่งผลกระทบกับร้านโชห่วยเล็ก ๆ ที่เริ่ม ไม่ไม่สต็อกของเยอะ เพราะขายได้น้อยลง และจะเริ่มเห็น โปรโมชั่นแปลก ๆ ตามพฤติกรรมกลุ่มลูกค้าของร้าน เช่น การจับคู่สินค้าระหว่างขนมกับเครื่องดื่มชูกำลัง นอกจากนี้ ห้างท้องถิ่นจะรับบัตรประชารัฐมากขึ้น

บางชุมชนในต่างจังหวัด เริ่มหันมาผนึกกำลังกันเอง ทั้งขายของกันในชุมชน รวมถึงเริ่มทำกลุ่มออมทรัพย์ของตัวเอง ส่วนคนรุ่นใหม่เริ่มกลับบ้านเกิด ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน

สายมูที่พึ่งยามยาก 

แต่นอกจากพึ่งพาตัวเองแล้ว อีกสิ่งที่พอจะพึ่งพาก็คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือ สายมู เพื่อช่วยให้ความสบายใจ โดยคนไทยสามารถมูได้หมดไม่มีขีดจำกัด เช่น วัด, ตำหนัก แม้แต่มูออนไลน์ มูเลขมงคล, สีมงคล และนอกจากจะใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ การมูยังกลายเป็น ความเอนเตอร์เทน ได้ด้วย

แน่นอนว่าคนมูก็เพื่ออยากรวย ดังนั้น ต่อให้ไม่มีเงินแค่ไหน ลอตเตอรี่ ยังคงเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคซื้อ และเริ่มนิยมซื้อออนไลน์ เพราะว่าเลือกเลขที่ต้องการง่ายกว่า

คนไทยใช้เทคโนโลยีเก่งขึ้น

การ เสิร์ช ไม่จำกัดแค่ใช้ Google อีกต่อไป แต่ผู้บริโภคเริ่มเก่งในการ ตั้งคำถาม นอกจากนี้มีการใช้ ChatGPT ในการหาข้อมูลเพราะช่วยสรุปมาให้แล้ว ในขณะที่ คอนเทนต์ เริ่มไม่มีเส้นแบ่งระหว่างเอนเตอร์เทนเมนต์ ข่าว และสาระความรู้ 

“อย่างรายการโหนกระแส บางคนก็ดูเพื่อเสพข่าวสาร แต่บางคนดูเพื่อความบันเทิง”

อย่างไรก็ตาม ด้วยความเครียดจากเศษฐกิจ คอนเทนต์ เอนเตอร์เทนเมนต์ ยังคงเป็นคอนเทนต์ยอดนิยม โดยผู้บริโภคยัง นิยมดูคอนเทนต์ทีวี เพียงแต่ไม่ได้ดูผ่านทีวี แต่กระจายไปทุกแพลตฟอร์ม อาทิ YouTube, TikTok และ Netflix

“คอนเทนต์ที่ฉายทีวียังอยู่ แต่คนดูบนออนไลน์ แปลว่าคนยังตามคอนเทนต์อยู่ ดังนั้น ต้องวางแผนการตลาดให้ดี”

แพลตฟอร์มยอดนิยมของคนไทย

  • ข่าวสาร : Facebook, TikTok, YouTube, X (Twitter) 
  • การสื่อสาร : LINE, Messenger, Instagram
  • ความบันเทิง : TikTok, YouTube, Netflix, Pirate App
  • การเงิน : Krungthai, SCB, KBank, True Wallet, MyMo
  • ช้อปปิ้ง : Shopee, LAZADA, Facebook, Instagram, TikTok
  • บริการเดลิเวอรี่ : Grab, LINE MAN, 7-Eleven

แบรนด์จะทำอย่างไรกับผู้บริโภคปี 2024

  • เน้นการ ชนะใจ ไม่ใช่มุ่งไปที่ ยอดขาย มองการเติบโตอย่างยั่งยื่นไม่ใช่แค่เป้าระยะสั้น
  • Consumer Journey ผู้บริโภคมีความซับซ้อนขึ้น อย่ายึดติดกับการตลาดตามตำราเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า
  • Data & Tech เป็นของล้ำค่า ต้องเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีและข้อมูล ถ้าทำไม่ได้ให้หาตัวช่วย
  • ออฟไลน์ กับ ออนไลน์ แยกกันไม่ได้แล้ว เพราะทุกสื่อหลอมรวมกันหมดกัน
  • แบรนด์ดิ้ง ยังมีความสำคัญเสมอ เพราะจะช่วยสร้างการจดจำและความสำเร็จในระยะยาว
]]>
1469166
“Nike” คาดยอดขายรอบปีนี้โตต่ำกว่าเป้า หลังดีมานด์ทั่วโลกชะลอตัว-ผู้บริโภคใช้จ่ายระมัดระวัง https://positioningmag.com/1456959 Fri, 22 Dec 2023 11:32:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1456959 Nike ประกาศปรับลดยอดขายคาดการณ์รอบปี 2023-24 หลังพบพฤติกรรมผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายทั้งหน้าร้านและช่องทางออนไลน์ รวมถึงบริษัทจะรัดเข็มขัดในช่วง 3 ปีข้างหน้า คุมค่าใช้จ่ายทั้งการผลิตสต็อกสินค้า พัฒนาซัพพลายเชน ลดลำดับชั้นในการบริหาร

ธุรกิจของ Nike ต้องเผชิญแรงกดดันในปีนี้ หลังจากห้างค้าปลีกทั้งหลายเริ่มสั่งคำสั่งซื้อสินค้าน้อยลง เพราะดีมานด์ลูกค้าที่ลดลง แม้แต่ในช่องทางออนไลน์เองก็มีคำสั่งซื้อลดลงเช่นกัน รวมถึงตลาดใหญ่อย่างจีนก็ทำยอดขายได้น้อยลงจากภาวะเศรษฐกิจจีนที่ไม่เป็นใจ ทำให้บริษัทต้องอัดโปรโมชันมากขึ้นเพื่อกระตุ้นยอดขาย

“เราเห็นดัชนีที่ชี้ว่าผู้บริโภคทั่วโลกใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น” Matthew Friend ซีเอฟโอ Nike กล่าว

ล่าสุด Nike จึงปรับคาดการณ์รายได้รอบปีนี้ลง คาดจะเติบโตประมาณ 1% เท่านั้น แตกต่างจากการคาดการณ์ครั้งก่อนหน้าที่เชื่อว่าจะโต ‘ซิงเกิลดิจิตในระดับกลางๆ’ ขณะที่นักวิเคราะห์ยังคาดการณ์ว่า Nike จะโตได้ 3.8%

“Nike เริ่มพูดถึงการลดจำนวนสินค้าลง บางทีบริษัทอาจจะรู้สึกว่ามีสินค้าหลายตัวเกินไปที่ทำกำไรได้น้อย และไม่ได้ช่วยผลักดันให้มียอดขายสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ” David Swartz นักวิเคราะห์หุ้นอาวุโสที่ Morningstar กล่าว

แม้ว่าจะลดจำนวนสินค้า แต่ Nike ก็จะยังเปิดสินค้าสไตล์ใหม่ๆ เพื่อมาดึงฐานลูกค้าเพิ่มอีก เพราะเคยประสบความสำเร็จมาแล้วกับกลุ่มรองเท้าบาสเก็ตบอล เช่น รุ่น Lebron 21

“ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ที่ผู้บริโภคมีแรงกดดันทางเศรษฐกิจสูงและต้องแข่งกันด้านโปรโมชัน นวัตกรรมของสินค้าและอะไรที่ออกมาใหม่จะช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ ปัจจัยเหล่านี้ที่จะทำให้เราไปได้ในการแข่งขันอัดโปรโมชันบนมาร์เก็ตเพลส” Friend ซีเอฟโอบริษัทกล่าว

Nike ไม่ได้ระบุว่าจะตัดสินค้าตัวไหนออก บอกเพียงว่ามีสินค้ารุ่นไหนบ้างที่ยังขายดี เช่น สนีกเกอร์ Air Force 1, Dunk และ Court

ด้านแผนการลดต้นทุนให้ได้ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายใน 3 ปีข้างหน้า Nike จะลดการสต็อกสินค้าบางรุ่นลง พัฒนาซัพพลายเชนให้ดีขึ้น ลดลำดับชั้นในการบริหาร และเพิ่มการใช้ระบบออโตเมชัน

รอบปีบัญชีนี้ของ Nike เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2023 – พฤษภาคม 2024 โดยไตรมาสสองของรอบปีบัญชี ช่วงเดือนกันยายนพฤศจิกายน 2023 นั้นบริษัททำรายได้ไป 13,390 ล้านเหรียญสหรัฐ ตกเป้าที่ตั้งไว้ 13,430 ล้านเหรียญสหรัฐไปเล็กน้อย

Source

]]>
1456959
UOB สำรวจผู้บริโภคชาวไทย มอง 6-12 เดือนข้างหน้าใช้จ่ายระมัดระวัง กังวลเศรษฐกิจชะลอตัว https://positioningmag.com/1446324 Sun, 01 Oct 2023 15:37:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446324 ยูโอบี ได้ออกรายงาน ASEAN Consumer Sentiment Study 2023 ซึ่งเปิดเผยความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจของผู้บริโภคชาวไทย มีความกังวลถึงสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า และมองว่าทำให้มีการใช้จ่ายแบบระมัดระวังตัวมากขึ้นจากปัจจัยดังกล่าว

UOB ได้ทำการสำรวจผู้บริโภคในอาเซียน รวมถึงประเทศไทย และได้ออกรายงาน ASEAN Consumer Sentiment Study โดยในปี 2023 นี้ รายงานการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคคนไทยยังคงเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของประเทศ แต่ก็มีความระมัดระวังและปรับตัวให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่อาจจะชะลอตัว

การสำรวจของ UOB ที่ทำในประเทศไทยได้เน้นเจาะกลุ่มชนชั้นกลางที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 50,000 บาท ไปจนถึงมากกว่า 200,000 บาท เป็นจำนวน 600 คนด้วยกัน

72% ของผู้ตอบแบบสำรวจ แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่อาจเกิดขึ้นในอีก 6-12 เดือนข้างหน้า ส่งผลให้ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างระมัดระวังกว่าเดิม และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเงิน โดยผู้ที่ตอบแบบสอบถามได้เลือกกันเงินสำหรับการออมและการลงทุนมากขึ้น 

โดย 3 ใน 4 ของผู้บริโภคในไทยมีความกังวลในสถานะการเงินของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่สูงขึ้น หรือแม้แต่ความมั่งคั่งของตัวเองลดลง ขณะที่ด้านการงานมองว่ากังวลในเรื่องที่จะได้โบนัสลดลง ความสามารถในการหาตำแหน่งงานที่ดีกว่า ไปจนถึงความเป็นไปได้ที่จะตกงาน

ข้อมูลจาก UOB

ผู้ตอบแบบสำรวจ 30% ยังกังวลถึงเรื่องของความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยข้าวของที่จำเป็นสำหรับตนเองและครอบครัว ขณะที่ความสามารถในการมีไลฟ์สไตล์แบบปัจจุบันรวมถึงด้านการออมเงินมีมากถึง 30% เช่นกัน ในด้านของการใช้เงินนั้น 25% มองว่าค่าใช้จ่ายตัวเองจะใช้มากขึ้น ขณะที่ 41% จะคงไว้ที่จำนวนเท่าเดิม ขณะที่ 31% จะลดด้านการใช้จ่ายลง

ในเรื่องของการเงินนั้น ผลสำรวจได้ชี้ว่า คนรุ่นใหม่ได้ให้ความสำคัญกับการออมและการลงทุน โดยเฉพาะ Gen Z เป็นกลุ่มที่ระมัดระวังที่สุด 41% มีแผนออมเงินมากขึ้นในปีนี้ ในขณะที่ Gen Y มุ่งเน้นการลงทุนมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น

ขณะที่ด้านของการใช้บริการของธนาคารผ่านช่องทางต่างๆ 61% นั้นใช้ช่องทางผ่านโทรศัพท์มือถือ 38% ผ่าน Internet Banking 30% ผ่านช่องทางเครื่องทำธุรกรรมอัตโนมัติ เช่น ATM หรือ CDM ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้บริโภคชาวไทยปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมดังกล่าวได้ดี

รายงานฉบับดังกล่าวยังชี้ว่า 89% ของผู้บริโภคยังพร้อมแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวกับธนาคารเพื่อรับบริการเฉพาะบุคคลมากขึ้นผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร มากกว่าแอปพลิเคชันแบบอื่นๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของผู้บริโภค ในการเปิดรับข้อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่คัดสรรเฉพาะจากธนาคาร

]]>
1446324
เปิดพฤติกรรม ‘นักช้อป 6 สาย’ ใครเป็นสายไหนเช็คด่วน! https://positioningmag.com/1420345 Wed, 22 Feb 2023 07:54:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1420345 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของคนไทย โดยสถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) หรือ Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (THAILAND) ก็ได้มีการทำแบบสอบถามเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากประชากรเพศชายและหญิงจำนวน 1,200 คน อายุระหว่าง 20-59 ปีจาก 6 ภูมิภาค ทั่วประเทศทุก ๆ สองเดือน จนสามารถแบ่งพฤติกรรมของผู้บริโภคได้เป็น 6 สาย ได้แก่ 

สายเน้นชัวร์ (Save&Safe)

สายที่มีจำนวนมากที่สุด (56%) โดยจะเป็นสายที่เน้นใช้เหตุผลในการตัดสินใจซื้อ เน้นคุณภาพ ดูความคุ้ม เน้นความชัวร์ ความคุ้นเคย ไม่ชอบลองของใหม่ ๆ จะไม่ซื้อของเพื่อตอบสนองความสุขของตัวเอง ไม่ถูกกระตุ้นง่าย คิดแล้วคิดอีกกว่าจะซื้อ และจะบอกต่อถ้าใช้ดี

ดังนั้น ถ้าแบรนด์อยากจับคนกลุ่มนี้ แบรนด์ต้องให้ความรู้สึกพึ่งพาได้ต้องสร้างความสัมพันธ์ที่คุ้นเคย ทำตัวเป็นเหมือนพาร์ตเนอร์ ให้คนกลุ่มนี้เกิดความรู้สึกมั่นคงในการซื้อ

แม่บุญทุ่ม (The Care-giver)

คิดเป็น 11% จากผลสำรวจ โดยคนกลุ่มนี้ ชอบซื้อให้คนอื่น มีความสุขเมื่อเห็นผู้ที่ได้รับมีความสุข เนื่องจากมองว่าการ สานสัมพันธ์เป็นการเติมเต็มตัวเอง ดังนั้น จุดประสงค์หลักในการช้อปคือเพื่อ เชื่อมต่อกับคนสำคัญ โดยให้ความสำคัญกับคนใน ครอบครัว เป็นอันดับ 1 (Family First) เพื่อต้องการแน่ใจว่าพวกเขามีครบและมีสุข

ดังนั้น แบรนด์สามารถกระตุ้นการจับจ่ายด้วยการสร้างเหตุผลใหม่ ๆ ให้แก่คนกลุ่มนี้ได้ซื้อและเกิดความรู้สึกอิ่มเอมใจในการให้เพิ่มขึ้นได้ เพราะคนกลุ่มนี้ถูกกระตุ้นด้วยอารมณ์ได้ง่าย

สายรอโปรฯ (The Deal-Hunter)

คิดเป็น 7% ของกลุ่มสำรวจ โดยคนกลุ่มนี้พร้อม รอโปรโมชันหรือดีลสำคัญ เพื่อให้ได้ราคาที่คุ้มที่สุดเสมอ ยิ่งซับซ้อนยิ่งรู้สึกอยากเอาชนะ สินค้าราคาสูงยิ่งดึงดูดใจ ซึ่งแบรนด์สามารถเติมเต็มความชอบท้าทายด้วยการ สร้างพื้นที่ให้นักช้อปเป็น ผู้เล่น เสมือนการเล่นเกม หรือ ใช้แพลตฟอร์มที่มีอยู่เปิดพื้นที่ให้เหล่านักช้อปมาแชร์ tips and tricks ในการหาดีลพิเศษ และเป็นประโยชน์กับนักช้อปมือสมัครเล่นได้นำไปใช้ด้วย

ชอบก็จัดประหยัดทำไม (The Passionate Spender)

คนกลุ่มนี้มองว่า ความสุขซื้อได้ด้วยการช้อป คิดเป็น 7% จากกลุ่มตัวอย่าง โดยคนกลุ่มนี้ พร้อมเปย์ตลอดปีแบบไม่มีอะไรมากั้น ไม่ว่าจะเครียดหรือสุขก็พร้อมจ่าย ความอยากใช้เงินถูกกระตุ้นด้วยความรู้สึกในแต่ละวัน ซื้อเพื่อตอบสนองอารมณ์ อยากได้ต้องได้ มากกว่าเหตุผล เมื่อได้จ่ายเงินแล้วก็จะรู้สึกสบายใจ ฟินสุดคือตอนจ่ายเงินหรือรูดบัตร บางทีของยังไม่แกะของด้วยซ้ำ

ดังนั้น แบรนด์ควรจับตาเทรนด์หรือ trigger point ที่อาจก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เพื่อช่วยสร้างข้ออ้างใหม่ ๆ ในการช้อป และปลุกไฟแห่งการอยากเปย์ให้ลุกโชนอยู่เสมอ เช่น ช้อปแก้ช้ำวันหวยออก ช้อปแก้ขัดก่อนวันหยุดงาน เป็นต้น

สายชิล ไม่คิดเยอะ (The Happy-Go-Lucky)

กลุ่มนี้จะเน้นใช้ชีวิตและใช้จ่ายแบบ สบาย ๆ สไตล์คนไทย มีมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อย ไม่คิดเยอะ ซึ่งถือเป็น 5% ของกลุ่มการสำรวจ คนกลุ่มนี้ต้องการซื้อความสุขใจให้ตัวเองในปัจจุบัน มากกว่าการวางแผนการเงินในอนาคตอย่างจริงจัง ดังนั้น แบรนด์สามารถเข้าไปมีบทบาทในการช่วยเติมความสุขวันละนิด ให้คนกลุ่มนี้ได้โดยที่ ไม่ต้องเน้นเยอะ แต่เน้นบ่อย

สวยไว้ก่อน (The Always-Glam)

เป็น 5% ของผลสำรวจ จากงานวิจัยพบว่า เสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์เพื่อความงามมักติด Top 5 สินค้าที่ต้องการซื้อ และคนมีความต้องการซื้อสูงกว่า 30% ตลอดทั้งปี ถูกกระตุ้นด้วยอารมณ์ได้ง่าย มองภาพลักษณ์มาก่อน ดังนั้น สินค้าสวยงามเป็นสิ่งแรกที่เลือกซื้อมากกว่าของกินของใช้

คนกลุ่มนี้มองว่า สินค้าแฟชั่น/ความงามไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือยแต่เป็นการลงทุน ดังนั้น แบรนด์จึงต้องตอกย้ำความมั่นใจให้คนกลุ่มนี้ว่า ซื้อเลยสวยชัวร์แบรนด์คิดมาให้ดีแล้ว ไม่มีพลาดต่อหน้าใครแน่นอน ผ่านการจับ trend/occasion ในการแนะนำสินค้า เพื่อกระตุ้นให้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น

]]>
1420345
ครัวเรือนไทย กลุ่ม ‘รายได้ต่ำ’ เสี่ยงเจอพิษ ‘เงินเฟ้อ’ เร่งตัวขึ้นกว่า 6 เท่า https://positioningmag.com/1381616 Fri, 15 Apr 2022 10:20:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381616 ราคาพลังงานในตลาดโลกที่เร่งสูงขึ้นจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ดันเงินเฟ้อไทยพุ่งสูงสุดในรอบ 13 ปี กระทบต้นทุนธุรกิจ ครัวเรือนรายได้ต่ำเจอหนักเร่งตัวขึ้นกว่า 6 เท่าจากปีก่อน สวนทางกับกลุ่มรายได้สูง 

อัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี สร้างความกังวลต่อค่าครองชีพของครัวเรือน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมีนาคมอยู่ที่ 5.73% YOY เพิ่มขึ้นจาก 5.28% เดือนกุมภาพันธ์

วิจัยกรุงศรี ระบุถึงสาเหตุสำคัญว่ามาจาก ราคาพลังงานในตลาดโลกที่เร่งสูงขึ้น จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับสูงขึ้นมาก (+31.4% YOY)

นอกจากนี้ ราคาสินค้าในหมวดอาหารที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ไข่ไก่ ผักสด และเครื่องประกอบอาหาร ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี ที่ 2.0% จาก 1.80% ในเดือนกุมภาพันธ์ สำหรับในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 4.75% และ 1.43% ตามลำดับ

ประชาชนเเบกค่าใช้จ่าย ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค

อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 และอยู่เหนือกรอบของเงินเฟ้อเป้าหมายของทางการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยการปรับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อส่วนใหญ่มาจากราคาพลังงาน แม้ว่าราคาไม่ได้เพิ่มขึ้นในทุกชนิดสินค้า แต่กลับสร้างความกังวลให้แก่สังคมเกี่ยวกับผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายและกำลังซื้อ

ทำให้ยอดค้นหาของคำว่า ‘เงินเฟ้อ’ ใน Google แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2551 และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมีนาคมร่วงลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนที่ 42.0 จาก 43.3 เดือนกุมภาพันธ์

Photo : Shutterstock

กลุ่มรายได้ต่ำ เงินเฟ้อเร่งตัว 6 เท่า

วิจัยกรุงศรี คาดอัตราเงินเฟ้อในปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 4.8% จากแรงหนุนของราคาอาหารเพื่อบริโภคที่บ้านและราคายานพาหนะ อีกทั้งราคาพลังงานที่พุ่งขึ้นตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของไทยยืนอยู่เหนือกรอบเป้าหมาย และอาจใช้เวลาถึงไตรมาสสุดท้ายของปีกว่าที่จะมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
 
นอกจากนี้ ผลการศึกษาของวิจัยกรุงศรีพบว่า จากตะกร้าการบริโภคสินค้าที่มีความแตกต่างกัน กลุ่มคนรายได้ต่ำจะมีสัดส่วนการใช้จ่ายในหมวดอาหารเพื่อบริโภคที่บ้านและการขนส่ง รวมกันราวสองเท่าของกลุ่มคนรายได้สูง จึงมีโอกาสเผชิญเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นกว่า 6 เท่า เมื่อเทียบกับปีก่อน สวนทางกับกลุ่มคนรายได้สูงที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับปี 2564

สงครามรัสเซีย-ยูเครน ลากยาว กระทบเศรษฐกิจโลก 

ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมมีสัญญาณฟื้น แต่ยังมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจกดดันการเติบโตในระยะข้างหน้า

ล่าสุดดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 25 เดือนที่ 89.2 จาก 86.7 ปัจจัยหนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด

รวมถึงการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติจากหลาย ๆ ประเทศทยอยผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ในเดือนมีนาคม ผู้ประกอบการมีการเร่งการผลิตสินค้าเพื่อส่งมอบก่อนวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์

วิจัยกรุงศรีประเมินว่า แม้การผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วงต้นปีจะมีสัญญาณเชิงบวก จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ แต่ในระยะถัดไปปัจจัยกดดันจากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่มีความเสี่ยงอาจลากยาวมากขึ้นกระทบเศรษฐกิจโลกและการค้าชะลอลง ส่งผลต่อภาคการส่งออกและภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทย ขณะที่ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นมากจะส่งผลต้นทุนการผลิตและการขนส่งสินค้า

นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงจากภาวะชะงักงันของอุปทานของโลก หากสถานการณ์การล็อกดาวน์ของจีนเพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 ระลอกล่าสุดมีแนวโน้มยืดเยื้อและเป็นวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากมีการประเมินว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยมีการใช้ input จากจีนคิดเป็นสัดส่วนเมื่อเทียบกับมูลค่าผลผลิตรวมทั้งหมด (gross value added) สูงสุดเป็นอันดับ 3 รองจากเวียดนาม และฮ่องกง

 

 

]]>
1381616
ผู้บริโภคสหรัฐฯ วางเเผนประหยัด-ลดเที่ยว-ทานข้าวนอกบ้านน้อยลง หลังราคาน้ำมันพุ่ง https://positioningmag.com/1377250 Fri, 11 Mar 2022 13:05:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377250 ผู้บริโภคในสหรัฐฯ วางเเผนจะลดค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารนอกบ้านเเละการชมภาพยนตร์ลง หากราคาน้ำมันยังพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง หลังรัสเซียบุกโจมตียูเครนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก

จากผลสำรวจของสำนักข่าว Reuters เเละ Ipsos บริษัทด้านการวิจัยตลาด ที่ได้รวบรวมความคิดเห็นของชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่ 1,005 คน พบว่า 54% เตรียมจะลดค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารนอกบ้านลง หากราคาน้ำมันพุ่งขึ้นถึงระดับ 6-7 ดอลลาร์ต่อแกลลอน ขณะที่ 49% เตรียมจะลดการใช้จ่ายในการรับชมภาพยนตร์และความบันเทิงอื่น ๆ ลง และกว่า 60% กล่าวว่าพวกเขาจะไม่ขับรถทางไกล เพื่อไปทำกิจกรรมยามว่าง

สมาคมยานยนต์อเมริกัน หรือ AAA ระบุว่า ราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ปั๊มในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 10 มี.. อยู่ที่ประมาณ 4.32 ดอลลาร์ต่อแกลลอน เพิ่มขึ้นจาก 3.48 ดอลลาร์ในเดือนที่แล้ว โดยราคาน้ำมันเบนซินอาจพุ่งขึ้นสู่ระดับ 6-7 ดอลลาร์ต่อแกลลอน หากราคาน้ำมันดิบพุ่งแตะ 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

รัฐบาลสหรัฐฯ และชาติพันธมิตร ตอบโต้การบุกยูเครนของรัสเซีย ซึ่งเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 ด้วยมาตรการการคว่ำบาตรต่อรัสเซียครั้งใหญ่อย่างไม่เคยมีมาก่อน รวมถึงการห้ามนำเข้าพลังงานจากรัสเซียด้วย

การคว่ำบาตรทำให้เศรษฐกิจรัสเซียปั่นป่วน เเละผู้บริโภคในสหรัฐฯ เองก็ยังต้องแบกรับต้นทุนจากความขัดแย้งที่เพิ่มสูงขึ้น โดยราคาน้ำมันที่สูงอยู่แล้วได้พุ่งไปสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เเละส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน

ผู้ตอบแบบสำรวจ 47% จะลดการใช้จ่ายในการตกเเต่งเเละปรับปรุงบ้าน อย่างเช่น เฟอร์นิเจอร์ใหม่และเครื่องใช้ต่างๆ หากราคาน้ำมันยังคงเเพงขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังคงจะใช้จ่ายปกติในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่าย ‘จำเป็น’ เช่น 64% ของผู้ตอบแบบสอบถาม มองว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะไม่เปลี่ยนแปลงสิ่งที่พวกเขาใช้จ่ายในการซื้อยารักษาโรค เเละ 58% คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค ส่วนอีกประมาณครึ่งหนึ่งกล่าวว่า พวกเขาจะยังคงใช้จ่ายในการซื้อของชำเหมือนเดิม โดยในส่วนนี้ 28% คาดว่าจะใช้จ่ายน้อยลง 28% และ 18% คาดว่าจะใช้จ่ายมากขึ้น

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1377250
ค่าครองชีพพุ่ง ‘เงินเฟ้อ’ อังกฤษ แตะระดับสูงสุดในรอบ 30 ปี https://positioningmag.com/1370903 Wed, 19 Jan 2022 12:20:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370903 อัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักร พุ่งเเตะระดับสูงสุดในรอบ 30 ปี จากต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้น อุปสงค์ที่กำลังฟื้นตัว และปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่ผลักดันให้ราคาผู้บริโภคสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ CPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ในเดือนธ.. 2021 อยู่ที่ระดับ 5.4% ต่อปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ เเละสูงกว่าเดือนพ..ที่ขยายตัว 5.1% นับเป็นตัวเลขสูงสุดตั้งแต่เดือนมี.. 1992

มีการประเมินว่าราคาน้ำมันและไฟฟ้า จะพุ่งขึ้นถึง 50% ในเดือนเม..นี้ ส่วนราคาสินค้าทั่วไปในเดือนธ.. ก็ปรับตัวพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วกว่ารายรับ จนสร้างแรงกดดันต่อรายได้ครัวเรือนโดยราคาสินค้าและบริการในชีวิตประจำวันปรับสูงขึ้นเร็วกว่าค่าจ้าง

อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นค่อนข้างกระจายตัว (broad based) ซึ่งทำให้ราคาอาหารและค่าอาหารในร้านอาหารแพงขึ้น รวมไปถึงค่าโรงแรม เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ในครัวเรือน เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ

จากเเนวโน้มค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นไปได้ว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง โดยตลาดจะต้องจับตามองการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 3 .. ที่จะถึงนี้อย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ เมื่อเดือนธ.. ที่ผ่านมา ธนาคารกลางอังกฤษ เป็นธนาคารกลางรายใหญ่แห่งแรกที่เริ่มปรับขึ้นต้นทุนการกู้ยืม หลังจากรักษาระดับต่ำในช่วงวิกฤตโควิด-19

ขณะเดียวกัน ตำแหน่งงานว่างที่สูงเป็นประวัติการณ์และอัตราการจ้างงานก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าก่อนเกิดโรคระบาด เชื่อมโยงกับการใช้จ่ายของผู้บริโภค

ไม่ใช่แค่ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ค่าแรงในการทำงานก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน เเต่ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นอาจไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการกลับสู่สภาวะปกติ” Paul Craig จาก Quilter Investors กล่าว

 

ที่มา : CNBC , Bloomberg 

]]>
1370903
ถอดรหัส ‘ผู้บริโภค’ ช่วงวิกฤต รายได้ลด มีปัญหาหนี้ หวังปีหน้าฟื้นตัว เเต่ยัง ‘รัดเข็มขัด’ https://positioningmag.com/1363998 Thu, 25 Nov 2021 10:03:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363998 สรุปประเด็นน่าสนใจจาก EIC Consumer Survey 2564 ถอดรหัสผู้บริโภคยุคโควิด-19 การเงินวิกฤต การใช้ชีวิตไม่เหมือนเดิม กลุ่มรายได้น้อยรับผลกระทบหนักสุด คนส่วนใหญ่หวังปีหน้ารายได้เริ่มกลับมา เเต่ยัง ‘รัดเข็มขัด’ ระมัดระวังใช้จ่าย แม้สถานการณ์โควิดจะคลี่คลายก็ตาม เเนะผู้ประกอบการหาโอกาสจากแนวโน้มการใช้จ่ายในหมวดที่จะเร่งตัวจาก pent-up demand ของผู้มีกำลังซื้อ-รายได้สูง เทรนด์ออนไลน์อยู่ยาว 

โดย EIC ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคไทยจำนวน 3,205 คน ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม ถึง 27 กันยายน 2564 เกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมในช่วงโควิด-19 และแนวโน้มหลังวิกฤตคลี่คลาย

ผู้บริโภค รายได้ไม่พอรายจ่าย เเบกภาระหนี้ 

วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้บริโภคไทยจำนวนมาก นำไปสู่ 3 ปัญหาทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญในช่วงปีที่ผ่านมา ได้แก่ ปัญหารายได้ไม่พอใช้จ่าย ปัญหาภาระการชำระหนี้ ปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน โดยปัญหาจะมีความรุนแรงเป็นพิเศษในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลทำให้ผู้บริโภคเกือบครึ่ง หรือ 48% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
มีรายได้ลดลง เมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19

โดยมีสัดส่วนถึง 30% ของผู้บริโภคที่มีรายได้ที่ลดลงมากกว่า 10% ขึ้นไปเมื่อเทียบกับระดับรายได้ก่อนโควิด-19 ขณะที่มีผู้บริโภคเพียง 24% เท่านั้น ที่มีรายได้เพิ่มขึ้นในช่วงเดียวกัน

Photo : Shutterstock

คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนทำงานเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนที่มีระดับรายได้ค่อนข้างสูง ด้วยสถานการณ์ด้านรายได้ที่ซบเซา ส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจทั้งในด้านการใช้จ่าย การจัดการภาระหนี้ และปัญหาสภาพคล่อง

โดยผลสำรวจพบว่ามีถึง 63% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ที่กำลังเผชิญปัญหารายได้ ไม่พอรายจ่ายไม่มากก็น้อย

นอกจากนี้ เกินครึ่ง (56%) ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีหนี้กำลังเผชิญปัญหาในการชำระหนี้ และ 52% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดยังมีสภาพคล่องทางการเงินไม่เกิน 6 เดือน

ทั้งนี้ EIC พบว่า มีคนจำนวนถึง 31% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดที่กำลังเผชิญ 3 ปัญหาดังกล่าวพร้อมกัน

คนรายได้น้อย รับผลกระทบหนักสุด

เมื่อพิจารณาแยกตามระดับรายได้ EIC พบว่า กลุ่มผู้บริโภครายได้น้อย หรือคนที่มีรายได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน มีสัดส่วนคนที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจมากที่สุดในทุกประเด็นปัญหาที่กล่าวมา โดยสัดส่วนของจำนวนคนที่มีปัญหาจะลดน้อยลงในกลุ่มระดับรายได้ที่สูงขึ้น

“สะท้อนให้เห็นว่า วิกฤตโควิด-19 เป็นวิกฤตที่กระทบผู้มีรายได้น้อยรุนแรงกว่า ตอกย้ำปัญหาความเหลื่อมล้ำอันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทย”

โดยกลุ่มคนรายได้น้อย มีสัดส่วนของคนที่ระบุว่ารายได้ลดลงในช่วงปีที่ผ่านมาสูงถึง 63% จากจำนวนคนรายได้น้อยทั้งหมด ซึ่งถือว่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่มีรายได้สูงกว่า

ในทำนองเดียวกัน ทั้งสัดส่วนการมีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายของคนรายได้น้อย (87%) สัดส่วนคนมีปัญหาภาระหนี้ (78%) และสัดส่วนคนมีปัญหาสภาพคล่อง (71%) หรือสัดส่วนของคนที่เผชิญทั้ง 3 ปัญหา (49%) ก็ล้วนแล้วแต่สะท้อนถึงผลกระทบที่มีต่อคนรายได้น้อยส่วนใหญ่และระดับปัญหาที่มากกว่าคนรายได้สูงกว่าทั้งสิ้น

หวัง ‘ปีหน้า’ รายได้เริ่มกลับมา

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ มองว่ารายได้จะฟื้นตัวกลับมาเท่ากับที่เคยได้ในช่วงก่อนโควิด ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป แต่ยังค่อนข้างมีความระมัดระวังกับแผนการใช้จ่ายในระยะข้างหน้า

“อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายสำหรับบริการในประเทศบางประเภทมีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากแรงส่งของอุปสงค์คงค้าง (pent-up demand) โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้มีรายได้สูง”

เมื่อมองไปข้างหน้า ผู้บริโภคครึ่งหนึ่ง คาดว่ารายได้ของตนเองจะฟื้นกลับมาเท่ากับช่วงก่อนโควิด-19 ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป

โดยมีผู้บริโภคถึง 16% ที่เชื่อว่ารายได้ตนเองไม่มีทางกลับมาเท่ากับก่อนโควิด-19 ซึ่งคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นคนรายได้น้อย และเป็นคนทำงานในภาคการท่องเที่ยว และค้าส่ง-ค้าปลีก สะท้อนถึงผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจดังกล่าวที่รุนแรงมากและมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ยาก

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ยัง ‘รัดเข็มขัด’ เเม้สถานการณ์จะดีขึ้น 

การคาดการณ์ว่ารายได้จะฟื้นตัวช้า มีส่วนกดดันแผนการใช้จ่ายในระยะข้างหน้า โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ราว 72% ระบุว่าจะยังคงไม่เพิ่มการใช้จ่ายแม้สถานการณ์โควิด จะคลี่คลายก็ตาม ราว 43% ของผู้บริโภคระบุว่าจะลดค่าใช้จ่ายลงจากปัจจุบันอีกด้วย โดยคนกลุ่มที่เลือกจะรัดเข็มขัดเพิ่มเติมนี้ ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีมุมมองว่ารายได้ตนเองจะยังไม่เพิ่มขึ้นในเร็ววัน

อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายบางหมวดมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีจากอุปสงค์คงค้าง (pent-up demand) ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีแนวโน้มกลับไปใช้จ่ายในหมวดที่เกี่ยวกับกิจกรรมนอกบ้าน หลังสถานการณ์คลี่คลาย เช่น การท่องเที่ยวภายในประเทศ และบริการด้านสุขภาพและความงาม เป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มรายได้สูง (รายได้มากกว่า 1 แสนบาทต่อเดือน) ที่มีสัดส่วนคนที่จะกลับไปใช้จ่ายในหมวดดังกล่าวภายในระยะเวลา 6 เดือนข้างหน้าสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ

คาดว่ามาจากความต้องการที่คงค้างมาจากช่วงปิดเมือง และยังเป็นช่วงเวลาของฤดูกาลท่องเที่ยว ประกอบกับยังมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐเป็นอีกแรงสนับสนุนด้วย

อย่างไรก็ดี สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ บ้าน รถยนต์ มีผู้บริโภคเพียงส่วนน้อย (5-6%) ที่มีแผนจะใช้จ่ายในช่วง 6 เดือนข้างหน้า สะท้อนถึงผลจากทั้งรายได้และความเชื่อมั่นที่ซบเซา เช่นเดียวกันกับแผนในการท่องเที่ยวต่างประเทศที่ยังมีไม่มากนักในหมู่ผู้บริโภคไทย ตามภาวะรายได้ รวมถึงข้อจำกัดและความเชื่อมั่นในการเดินทางระหว่างประเทศ

พฤติกรรม New Normal เทรนด์ออนไลน์อยู่ยาว 

ในช่วง COVID-19 ผู้บริโภคไทยมีการเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งด้านการใช้เทคโนโลยี และการใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรม 2 กลุ่มนี้มีแนวโน้มกลายเป็น New Normal

ในช่วงปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากผลกระทบของวิกฤต COVID-19 ทั้งในด้านการใช้เทคโนโลยีและการใช้เวลาที่บ้าน โดย ผู้บริโภค 41% ระบุว่ามีการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์เพิ่มขึ้นหรือซื้อเป็นครั้งแรกเมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19

ขณะที่มีเพียง 17% ของผู้บริโภคเท่านั้นที่เพิ่มการใช้จ่ายโดยทั่วไปในช่วงเดียวกัน สะท้อนถึงการเพิ่มสัดส่วนการใช้ช่องทางออนไลน์ในการซื้อสินค้ามากขึ้นในช่วงที่การจับจ่ายใช้สอยในช่องทางออฟไลน์มีข้อจำกัด

นอกจากนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (57%) ยังมีการใช้เวลาทำกิจกรรมที่บ้าน เช่น การปลูกต้นไม้ ทำอาหาร เพิ่มขึ้น หรือทำเป็นครั้งแรกด้วยเช่นกัน จากการที่วิกฤต COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานมาเป็นการทำงานที่บ้านและมีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลต่อเนื่องทำให้การปรับปรุงและตกแต่งบ้าน และการซื้อของออนไลน์ในหมวดสินค้าเกี่ยวกับบ้านเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

สำหรับแนวโน้มหลังโควิดคลี่คลายนั้น พฤติกรรมที่ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนในช่วงที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ต่อเนื่อง หรือกลายเป็น New Normal แม้จะลดน้อยลงบ้างจากที่เคยทำในช่วง COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์ที่กว่า 86% ของผู้บริโภคระบุว่าจะยังทำต่อไปแม้สถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย ซึ่งอาจเป็นเพราะความสะดวกจากการใช้บริการ

(Photo by Carl Court/Getty Images)

พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีแนวโน้มจะกลายเป็น New Normal ได้แก่ การใช้เวลาทำกิจกรรมที่บ้านที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (91%) ระบุว่าจะยังคงทำต่อไป เช่นเดียวกันกับการปรับปรุง-ตกแต่งบ้าน (67%) และการใช้บริการ food delivery (67%) ซึ่งคาดว่าพฤติกรรมกลุ่มนี้ได้รับแรงสนับสนุนจากเทรนด์การทำงานที่บ้านที่หลายองค์กรมีแนวโน้มปรับใช้แบบระยะยาว ทำให้การใช้เวลาที่บ้านของผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นตามมา

อย่างไรก็ตาม กลุ่มพฤติกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มลดลงบ้างเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย เพราะอาจถูกทดแทนด้วยทางเลือกนอกบ้าน โดยเฉลี่ยประมาณ 25-30% ของผู้บริโภคระบุว่าจะยังคงพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์และการใช้เวลาที่บ้าน แต่จะลดน้อยลงจากที่เคยทำในช่วง COVID-19 ทั้งนี้ สาเหตุอาจมาจากการมีทางเลือกมากขึ้นเมื่อบริการที่ทดแทนกันได้แบบออฟไลน์ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร กลับมาเปิดให้บริการได้มากขึ้น

สรุป : 

ข้อค้นพบจากผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคของ EIC ได้บ่งชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ต่อผู้บริโภคไทยที่ค่อนข้างรุนแรงและจะยังมีผลต่อเนื่องไปในระยะข้างหน้า ผ่านความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของรายได้ที่ยังซบเซา กดดันแนวโน้มการใช้จ่ายภาพรวมในอนาคต โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย

“ผู้ประกอบการที่เจาะกลุ่มผู้บริโภคยังสามารถหาโอกาสได้จากแนวโน้มการใช้จ่ายในหมวดที่จะเร่งตัวจาก pent-up demand ของผู้มีกำลังซื้อ รวมถึงโอกาสจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านการซื้อของออนไลน์และการใช้เวลาอยู่บ้านซึ่งมีแนวโน้มกลายเป็น New Normal ที่ดำเนินต่อไปแม้สถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง”

 

]]>
1363998
ประเมิน ‘เงินเฟ้อ’ มีแนวโน้มเร่งขึ้น เเต่อุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวช้า ธุรกิจท่องเที่ยวยังมีข้อจำกัด https://positioningmag.com/1361153 Tue, 09 Nov 2021 10:57:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361153 วิจัยกรุงศรี คาดกนง. คงดอกเบี้ย 0.50% ไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2565 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนตุลาคมสูงสุดในรอบ 5 เดือน ตามราคาน้ำมัน-ราคาอาหารสด พืชผัก แต่อุปสงค์ในประเทศยังฟื้นตัวช้า ภาคท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวเเบบมีข้อจำกัด

โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ‘เดือนตุลาคม’ อยู่ที่ 2.38% YoY จาก 1.68% เดือนกันยายน สาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศตามสถานการณ์ราคาพลังงานโลก (+37.1%) และการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสดในกลุ่มพืชผัก (+7.1)

“ผลกระทบจากน้ำท่วมทำให้ผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดยาสูบเพิ่มสูงขึ้นจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต”

ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 0.21% จาก 0.19% เดือนกันยายน สำหรับในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 0.99% และ 0.23% ตามลำดับ

อัตราเงินเฟ้อยังคงเผชิญแรงกดดัน ในช่วงที่เหลือของปี หลักๆ มาจาก 

⚫ ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทรงตัวในระดับสูงตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาด้านอุปทาน

⚫ กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ภายหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด และการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัวจากประเทศที่กำหนด

⚫ การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตรบางชนิด ที่ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก

แม้ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเร่งสูงขึ้นจากปัจจัยทางด้านอุปทานเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่อุปสงค์ในประเทศมีทิศทางฟื้นตัวค่อนข้างช้า สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนล่าสุดที่ทรงตัวในระดับต่ำ ประกอบกับสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง หลังหลายประเทศกำลังประสบกับการกลับมาระบาดใหม่หลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุม

ทั้งนี้ ในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้ (วันที่ 10 พฤศจิกายน) คาดว่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% และมีแนวโน้มตรึงไว้อย่างน้อยจนถึงสิ้นปีหน้า เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความเปราะบางและไม่สม่ำเสมอ แม้อาจเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อจากปัจจัยด้านอุปทานอยู่บ้างในช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้าก็ตาม

ความเชื่อมั่นผู้บริโภค เพิ่มสูงสุดรอบ 5 เดือน

ด้านความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นทางธุรกิจฟื้นต่อเนื่อง ขณะที่การเปิดประเทศสัปดาห์แรกมีนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้วกว่า 2 หมื่นราย กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวหลังสถานการณ์การระบาดบรรเทาลง และมาตรการควบคุมการระบาดที่ผ่อนคลายเพิ่มเติม หนุนให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 สู่ระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ 43.9 จาก 41.4 ในเดือนกันยายน

โดยเป็นการปรับขึ้นในทุกองค์ประกอบ ด้านดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 สู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือนที่ 47.0 จาก 42.6 เดือนกันยายน จากการปรับเพิ่มขึ้นในเกือบทุกองค์ประกอบ ยกเว้นด้านต้นทุนที่ยังถูกแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับขึ้นเหนือระดับ 50 (ขยายตัว) ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 อยู่ที่ 52.5 จาก 50.7

แม้เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีมีสัญญาณฟื้นตัวจากความเชื่อมั่นทั้งผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาด (ที่ระดับค่าเฉลี่ย 75.5 และ 48.9 ตามลำดับ ในปี 2562)

Photo : Shutterstock

ภาคท่องเที่ยวฟื้นตัวล่าช้า- มีข้อจำกัด

นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังกระจายตัวไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวที่ยังฟื้นล่าช้าแม้จะเริ่มมีการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยจากข้อมูลช่วงวันที่ 1-7 พฤศจิกายน มีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 22,832 ราย แม้สูงกว่าทั้งเดือนกันยายนที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 12,237 ราย

แต่การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวโดยรวมแล้วอาจยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง อย่าง นโยบายของประเทศต้นทางที่ยังคุมเข้มการเดินทางระหว่างประเทศ และความกังวลจากสถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันของไทยที่ยังค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน

“มาตรการภาครัฐที่เพิ่มกำลังซื้อของผู้บริโภค และกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ จะเป็นปัจจัยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงปลายปีนี้” 

]]>
1361153
IDC มอง ‘ตลาดสมาร์ทโฟน’ 2021 ส่งมอบเพิ่ม 7.4% ผู้บริโภคซื้อเพื่ออัพเกรด ใช้ 5G มากขึ้น https://positioningmag.com/1349493 Tue, 31 Aug 2021 12:40:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349493 IDC ประเมินภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกในปี 2021 เเม้มีปัญหาเรื่องซัพพลายเชน เเต่มีเเนวโน้มดีขึ้น ด้วยอานิสงส์เทคโนโลยี 5G ขายดีในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ผู้บริโภคยังอยากอัพเกรดเป็นระดับพรีเมียมมากขึ้น

บริษัทวิจัยตลาด International Data Corporation (IDC) เผยรายงานประเมินธุรกิจสมาร์ทโฟน ในปี 2021 โดยคาดว่า

การจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลก ตลอดปีนี้ จะเพิ่มขึ้นราว 7.4% คิดเป็นส่งจำนวน 1.37 พันล้านเครื่อง และคาดว่าจะเติบโต 3.4% ในปี 2022-23

โดยการเติบโต 7.4% นั้น มาจากการเติบโตอย่างเเข็งเเกร่งของสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS ที่เพิ่มขึ้นถึง 13.8% สองเท่าของ Android ซึ่งอยู่ที่ 6.2% 

ขณะที่ ตลาดใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง จีน สหรัฐอเมริกา และยุโรปตะวันตก เติบโตได้ในระดับช่วงก่อนโควิด (ปี 2019) เเต่ตลาดเกิดใหม่อย่าง อินเดีย ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง เเละแอฟริกา กลับมีการเติบโตที่สูงมาก

บรรดาแบรนด์ชั้นนำต่างๆ มีการรับมือในการจัดการซัพพลายเชนได้ดีขึ้น หลังปีที่ผ่านมาต้องเผลิญสารพัดปัญหาจากวิกฤตโรคระบาด ทำให้ไทม์ไลน์การเปิดตัวสินค้าบางอย่างต้องถูกเลื่อนออกไป ซึ่งมีปีนี้ หลายเเบรนด์กลับมาเดินหน้าผลิตสินค้าตามเเผนต่อไป

ส่วนการกระจายวัคซีนที่ได้ผลดีในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศใหญ่ๆ ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคในช่วงไตรมาสล่าสุด มีการฟื้นตัวต่อเนื่อง

Photo : International Data Corporation (IDC)

นอกจากนี้ การมาของเทคโนโลยี 5G’ ก็ช่วยผลักดันการเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนปีนี้ได้เป็นอย่างดี เหล่าผู้ผลิตเเละผู้จัดจำหน่ายต่างมุ่งไปที่การขายสมาร์ทโฟน 5G ที่มีราคาเฉลี่ยต่ออุปกรณ์ (ASP) สูงกว่าอุปกรณ์ 4G รุ่นเก่าอย่างมีนัยสำคัญ โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2020 อยู่ที่ 634 ดอลลาร์สหรัฐ

ส่วนราคาของสมาร์ทโฟน 4G ก็มีการลดราคาลงครั้งใหญ่เหลือราว 206 ดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงเกือบ 30% จากปีที่แล้ว (277 ดอลลาร์สหรัฐ)

IDC ประเมินว่า การจัดส่งสมาร์ทโฟน  5G ทั่วโลก จะอยู่ที่ราว 570 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 123% จากปีที่เเล้ว โดยประเทศจีน ยังผู้นำตลาดต่อไปด้วยส่วนแบ่งตลาด 5G ทั่วโลกถึง 47.1% ตามมาด้วยสหรัฐฯ 16% อินเดีย 6.1% และญี่ปุ่น 4.1%

ทั้งนี้ คาดว่า ภายในสิ้นปี 2021 อุปกรณ์ 5G จะขึ้นครองส่วนเเบ่งสมาร์ทโฟนใหม่ในตลาดถึง 54.1% 

ด้านความสนใจของผู้บริโภค เเม้จะเผชิญกับระบาดใหญ่และไวรัสโควิดกลายพันธุ์  เหล่าผู้บริโภคยังคงมีความต้องการจะอัพเกรดเป็นสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียม (ราคาตั้งเเต่ 1,000 ดอลลาร์ขึ้นไป) มากขึ้นในปีนี้ เเละมีเเนวโน้มว่าผู้ซื้อจะเปลี่ยนอุปกรณ์ไปเป็นรุ่น 5G ที่มีราคาแพงกว่าเครื่องเดิมที่มีอยู่

 

ที่มา : IDC 

 

]]>
1349493