อีเว้นต์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 31 Oct 2024 04:29:21 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “อิมแพ็ค” แย้มสนใจเปิดโรงแรมเพิ่ม 1,000 ห้อง เทรนด์อีเวนต์กลับมา – คิวคอนเสิร์ตเต็มเอี้ยดทั้งปี’68! https://positioningmag.com/1496548 Wed, 30 Oct 2024 12:25:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1496548
  • “พอลล์ กาญจนพาสน์” เผยปีหน้าลุ้นขายโรงแรม 2 แห่งเข้ากองรีท หมุนเงินลงทุนโรงแรมแห่งที่ 3 เพิ่ม 1,000 ห้องใน อิมแพ็ค เมืองทองธานี เน้นระดับ 5 ดาวตอบโจทย์แขกวีไอพี
  • ปี 2567 เทรนด์อีเวนต์กลุ่มคอนเสิร์ตและอินเซนทีฟพุ่งทะยาน เหลือกลุ่มจัดประชุมและนิทรรศการยังรอฟื้น ภาพรวมรายได้กลับมาใกล้เคียงก่อนโควิด-19
  • ปี 2568 สัญญาณบวกงานคอนเสิร์ตจองคิว อิมแพ็ค อารีน่าเต็มยาวถึงสิ้นปีแล้ว
  • การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขั้นต่อไปภายใต้วิสัยทัศน์ของ “พอลล์ กาญจนพาสน์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ไม่ใช่การสร้างฮอลล์จัดงานเพิ่ม แต่เป็นการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการมาจัดงานอีเวนต์นั่นคือ “โรงแรม”

    ปัจจุบันในเมืองทองธานีบริเวณใกล้สถานที่แสดงสินค้าของอิมแพ็คมีโรงแรม 2 แห่งหลัก คือ ไอบิส กรุงเทพ อิมแพ็ค กับ โนโวเทล กรุงเทพ อิมแพ็ค พอลล์ระบุว่าทั้ง 2 แห่งรวมกันมีจำนวนห้องพักประมาณ 1,000 ห้อง ซึ่งปรากฏว่าไม่เพียงพอแล้วในวันนี้

    “exhibitor พูดมาเยอะมากว่าอยากให้เรามีโรงแรม 5 ดาวในบริเวณ เพราะแขกผู้ที่จะมาร่วมงานของเขามีเงื่อนไขว่าจะต้องพัก 5 ดาว” พอลล์กล่าวถึงช่องว่างที่ต้องการจะอุดให้อิมแพ็คเป็นสถานที่จัดงานที่สมบูรณ์แบบ “รวมถึงจำนวนห้องพักก็ไม่พอ exhibitor หลายรายบอกว่า ขอห้องพักรอบๆ ขั้นต่ำ 2,000 ห้อง ถ้าเรามีให้ไม่พอ เขาก็ตัดเราออกจากตัวเลือกเลย”

    โนโวเทล กรุงเทพ อิมแพ็ค (Photo: Facebook@NovotelIMPACT)

    ทำให้ปี 2568 นี้อิมแพ็คมีแนวทางว่าอาจจะมีการขายโรงแรมทั้งไอบิสและโนโวเทลเข้ากองทรัสต์ IMPACT GROWTH REIT เพื่อนำเงินมาใช้ในการลงทุนโรงแรมแห่งใหม่ซึ่งคาดว่าน่าจะต้องใช้เงินลงทุนราว 4,000 ล้านบาทขึ้นไป หากต้องการมีโรงแรม 5 ดาวเพิ่ม 1,000 ห้องในเมืองทองธานี

    “จริงๆ การมีโรงแรมเพิ่มจะดีกับทั้งเมืองทองธานี เพราะอิมแพ็คก็มีโอกาสได้รายได้ค่าเช่าเพิ่มจากจำนวนงานที่เพิ่มมากขึ้น และแขกที่พักโรงแรมก็มีโอกาสจะมาใช้จ่ายกับร้านค้าต่างๆ แถวอิมแพ็ค” พอลล์กล่าว

    ทั้งนี้ หากมีนักลงทุนรายใดสนใจที่จะร่วมพาร์ทเนอร์กับอิมแพ็คเพื่อก่อสร้างโรงแรมแห่งใหม่ดังกล่าวก็ไม่ขัดข้อง เปิดรับเจรจาทุกดีล

     

    ปี’67 ธุรกิจอีเวนต์กลับมาใกล้เคียงก่อนโควิด-19

    ด้านภาพรวมธุรกิจอีเวนต์ปี 2567 สำหรับอิมแพ็คแล้วพอลล์กล่าวว่ากลับมาฟื้นตัวใกล้เคียงกับก่อนโควิด-19 โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มที่มีทั้งเติบโตมากกว่าช่วงก่อนโควิด-19 และที่อาจจะยังไม่ฟื้นตัวมากนัก ได้แก่

    • กลุ่มคอนเสิร์ตคาดการณ์รายได้ปีนี้ 380 ล้านบาท เติบโตเกือบ 70% จากปี 2562 ถือเป็นปีที่การจัดแสดงทางดนตรีเฟื่องฟูอย่างมาก
    • กลุ่มอินเซนทีฟ (เลี้ยงลูกค้าหรือพนักงาน) – คาดการณ์รายได้ปีนี้ 250 ล้านบาท เติบโต 103% จากปี 2562 เป็นธุรกิจที่เติบโตดีมากในปีนี้ สามารถดึงลูกค้าจากต่างประเทศเข้ามาได้มาก
    • กลุ่มจัดประชุมสัมมนา รายได้ยังเติบโตได้ไม่เท่ากับปี 2562 อยู่ระหว่างร่วมมือกับภาครัฐเพื่อดึงงานประชุมสัมมนาจากต่างประเทศเข้ามามากขึ้น
    • กลุ่มจัดนิทรรศการและแสดงสินค้าถือเป็นกลุ่มที่คาดว่าจะต้องรออีกราว 18 เดือนจึงจะฟื้นตัวเต็มที่ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจร่วมกับค่าเงินบาททำให้การดึงการจัดงานเข้าสู่เมืองไทยทำได้ยากขึ้น ประกอบกับ exhibitor หลายรายปิดตัวไปตั้งแต่เกิดโควิด-19

    อิมแพ็ค

    หากวัดตามฐานลูกค้ามาจากแหล่งใดนั้น อิมแพ็คให้ข้อมูลไว้ว่าเมื่อรอบปีบัญชีก่อน (1 เมษายน 2566 – 31 มีนาคม 2567) อิมแพ็คมีสัดส่วนงานจากภาคเอกชน 57% จากรัฐบาล 21% และจากผู้จัดต่างประเทศ 22%

     

    สัญญาณดีคอนเสิร์ตจองเต็มทั้งปี’68

    ขณะที่สัญญาณธุรกิจอีเวนต์ปีหน้า พอลล์กล่าวว่าในกลุ่มคอนเสิร์ตเป็นไปในเชิงบวกมาก ปัจจุบันอิมแพ็ค อารีน่ามีคิวจองเต็มตลอดทั้งปี 2568 เรียบร้อยแล้ว

    อิมแพ็ค

    ส่วนกลุ่มอื่นๆ นั้นอิมแพ็คมีกลยุทธ์ “หากลุ่มเป้าหมายใหม่” 2 กลุ่มที่จะช่วยดึงการจัดงานเข้ามาได้มากขึ้น คือ

    1.กลุ่มตลาด “จีน”

    เนื่องจากจีนถือเป็นตลาดใหญ่ มีโอกาสที่จะดึงทั้งกลุ่มจัดแสดงสินค้าและอินเซนทีฟเข้ามาไทยได้จำนวนมาก และประเทศจีนเริ่มเปิดให้คนเดินทางออกนอกประเทศได้มากขึ้น จากปี 2567 มีกลุ่มอีเวนต์จากประเทศจีนเข้ามาเช่าจัดแสดงคิดเป็นรายได้กว่า 100 ล้านบาท คาดว่าปี 2568 น่าจะดันขึ้นไปถึง 200-250 ล้านบาทได้ โดยอิมแพ็คมีการจัดทีมเซลส์สำหรับเจาะตลาดจีนโดยเฉพาะ เพื่อสร้างโปรไฟล์ให้ exhibitor ชาวจีนรู้จักอิมแพ็คมากยิ่งขึ้น

    นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มต่างประเทศอื่นๆ ที่ถือว่าน่าสนใจสำหรับอิมแพ็คและมีการจัดเซลส์เข้าไปเจาะตลาดด้วยเช่นกัน เช่น อินเดีย ตะวันออกกลาง เกาหลีใต้ เวียดนาม เป็นต้น

    2.กลุ่มลูกค้าใหม่ – อินฟลูเอนเซอร์และสื่อ

    สมัยก่อนนี้การจัดงานอีเวนต์ต่างๆ มักจะถูกสร้างสรรค์ขึ้นโดย exhibitor มืออาชีพเป็นหลัก แต่ระยะหลังมีเทรนด์ลูกค้ากลุ่มใหม่ที่หันมาเป็นผู้จัดกันมากขึ้น คือ “อินฟลูเอนเซอร์และสื่อ” โดยมักจะจัดงานที่สอดคล้องกับสิ่งที่สื่อของตนสื่อสารและมีกลุ่มลูกค้าของตนเองอยู่แล้ว เช่น ปีนี้มีการจัดงาน Restech 2024 ที่จัดโดย TORPENGUIN ได้รับเสียงตอบรับที่ดีมาก ทำให้อิมแพ็คมองเห็นว่าลูกค้าจัดงานในกลุ่มนี้จะเป็น ‘New S-Curve’ ได้ จึงมีแนวคิดจะจัดเป็นแพ็กเกจราคาเฉพาะกลุ่มที่ทำให้อินฟลูฯ สามารถขึ้นงานอีเวนต์ใหม่ได้ง่ายขึ้น มีโอกาสโตไปด้วยกันมากขึ้น

    บรรยากาศจากงาน Restech 2024 (Photo: Facebook@Restechthailand)

    พอลล์ยังมองด้วยว่าปี 2568 อิมแพ็ค เมืองทองธานี น่าจะได้แรงบวกหลักจาก “รถไฟฟ้าสายสีชมพู” ส่วนต่อขยาย 2 สถานีเข้าสู่เมืองทองธานี ซึ่งคาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จพร้อมให้บริการภายในไตรมาส 2/2568 ขณะที่การก่อสร้างโครงการ Sky Entrance ทางเชื่อมจากสถานีรถไฟฟ้าสู่อาคารอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์นั้นคืบหน้าไป 62.6% คาดจะเสร็จรอการมาถึงของรถไฟฟ้าได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2568

    อิมแพ็ค เมืองทองธานีนั้นถือเป็นสถานที่จัดแสดงสินค้าและการประชุมที่ใหญ่ที่สุดและมีมาร์เก็ตแชร์สูงสุดหากวัดตามขนาดพื้นที่เช่า โดยคิดเป็น 50% ของตลาดพื้นที่จัดงานทั้งหมดในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล แต่ถ้าเทียบกับสถานที่จัดงานแห่งอื่นอาจจะยังเสียเปรียบในเรื่องขนส่งมวลชน เพราะสถานที่ที่เป็น ‘คู่แข่ง’ อื่นๆ ได้แก่ ไบเทค บางนา, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และพารากอน ฮอลล์ ล้วนเข้าถึงได้ด้วยรถไฟฟ้าแล้วทั้งหมด ดังนั้น การมาถึงของส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่อิมแพ็คน่าจะเป็นอีกจุดเปลี่ยนสำคัญให้กับพื้นที่

    อิมแพ็คให้ข้อมูลด้วยว่าอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ยรวมขณะนี้ (ณ เดือนเมษายนมิถุนายน 2567) อยู่ที่ 50% ซึ่งพอลล์มองว่าหากสามารถดันอัตราเช่าให้ขึ้นไปถึง 60% ได้จะถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว

    ]]>
    1496548
    รู้จัก “The Party Setter” ธุรกิจดิสรัปต์วงการ “อีเวนต์” ให้เช่าของตกแต่งสถานที่ พร้อมส่งทันที-มีให้เลือกถึง 100 ธีม! https://positioningmag.com/1485674 Thu, 08 Aug 2024 13:00:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1485674

    Positioning วนทำความรู้จัก “The Party Setter” และ “THEMEchitect” ธุรกิจให้เช่าสิ่งของตกแต่งสถานที่และอีเวนต์ ชูจุดขายดิสรัปต์วงการด้วยธีมงานที่มีให้เลือกมากกว่า 100 ธีม พร้อมระบบสต็อกในคลังสินค้าที่ทำให้ส่งของออกไปบริการลูกค้าได้ทันที ไม่ต้องรอจัดหาหรือสั่งทำ และไม่ทิ้งให้เป็นขยะต่อสิ่งแวดล้อม

    ภายในคลังสินค้าของ “The Party Setter” ย่านบางแสน จ.ชลบุรี มีของตกแต่งสารพัดสิ่งที่ใครคนหนึ่งจะนึกออก ทั้งหมดวางอัดแน่นบนชั้นวางสูงตั้งแต่พื้นจรดเพดาน มองไปมุมหนึ่งเป็นตุ๊กตาทุกรูปแบบ อีกมุมเป็นลูกเต๋าไซส์จัมโบ้จนถึงไซส์จิ๋ว ขณะที่อีกมุมมีรูปปั้นมือยักษ์วางอยู่

    แน่นอนว่าของทุกชิ้นอยู่ในสต็อกสินค้าที่เพียงคีย์เลขบาร์โค้ดในระบบ พนักงานก็สามารถมาตามหาของชิ้นนั้นเจอได้ทันที พร้อมนำไปจัดส่งให้ลูกค้า

    บริการของ “The Party Setter” และแบรนด์ในเครืออย่าง “THEMEchitect” เกิดจากฝีมือของกลุ่มเพื่อนสามคน คือ “นุดี กีรติยะอังกูร” “รัตนนันท์ กิติวัฒน์” และ “จุฑาภัทร บันไดเพชร” ที่เห็นช่องว่างในตลาดหลังเปิดร้านอาหารชื่อ “IfItIs” ย่านทองหล่อแล้วพบว่า มีลูกค้ามากมายที่ต้องการจัดปาร์ตี้ตามธีมเพื่อเฉลิมฉลองมากกว่าแค่นัดกันมาทานอาหาร

    จุดเริ่มต้นจากการจัดตกแต่งปาร์ตี้ให้ลูกค้าในร้านอาหารนาน 2 ปี มาสู่การแยกไลน์มาสร้างธุรกิจ “The Party Setter” เต็มตัวเมื่อปี 2562 และสู้จนผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 จนปัจจุบันบริษัทเติบโตอย่างเป็นระบบ สามารถรับงานได้ตั้งแต่งานเล็กราคาเริ่มต้น 5,500 บาท จนถึงงานสเกลใหญ่มูลค่าหลักล้านบาท


    แก้ไขทุก ‘pain point’ ของการตกแต่งอีเวนต์

    บริการของ “The Party Setter” คือการให้เช่า “พร็อพ” หรือของตกแต่งสถานที่และอีเวนต์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะจัดเวที แบกดรอป ตกแต่งโต๊ะอาหาร ทำซุ้ม แต่งผนังถึงเพดาน ฯลฯ เป็นนักตกแต่งอีเวนต์ที่ใช้ธีม (Theme) ต่างๆ เป็นแกนหลักในการบอกเล่าเรื่องราวและสตอรี่

    “รัตนนันท์” Design Director ของบริษัทอธิบายจุดเด่นของ The Party Setter ที่ช่วยแก้ไข ‘pain point’ ให้กับธุรกิจนี้ คือ บริษัทมีธีมให้เลือกถึง 100 ธีม กับของตกแต่งกว่า 10,000 ชิ้น ทำให้ครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะจินตนาการแบบไหนแทบจะมีรองรับได้ทั้งหมด หรือถ้าต้องการ ‘Customize’ แบบเฉพาะเจาะจงสามารถปรึกษาดีไซเนอร์ของบริษัทเพื่อออกแบบพิเศษได้

    ที่สำคัญคือ พร็อพตกแต่งของ The Party Setter สามารถจัดส่งเร่งด่วนได้ในระดับ “สั่งวันนี้ พรุ่งนี้ลงงานได้เลย” หากพร็อพชิ้นนั้นๆ ยังไม่มีคิวจองไว้

    เหนือไปกว่านั้นคือการออกแบบพร็อพให้ประกอบง่ายแถมยังมีคู่มือประกอบให้ด้วย “นุดี” Operation Director ของบริษัทบอกว่า บริษัทได้คิดค้นระบบ “RTD Props System” (Ready to Decorate Props System) ขึ้นมา นั่นคือการออกแบบพร็อพแต่ละชิ้นจะพยายามทำให้เหมือนการต่อ “เลโก้” คือประกอบเองได้ง่ายไม่ซับซ้อน หรือบางชิ้นแค่วางตามจุดที่แนะนำในคู่มือก็เสร็จเรียบร้อย ทำให้ทุกคนและทุกธุรกิจสามารถตกแต่งงานสำคัญได้อย่างรวดเร็วในราคาถูกลง แต่ยังได้มาตรฐานงานอาร์ตที่สวยงาม

    เหตุที่ต้องออกแบบระบบ RTD เช่นนี้เพราะ The Party Setter มีการบริการ 3 แบบ คือ

    1.Full Team Operation – ทีมงานชุดใหญ่จากบริษัทเข้าพื้นที่เพื่อตกแต่งให้ทั้งหมด  เน้นงานที่มีความยากในการติดตั้ง ต้องมีการปรับหน้างาน

    2.Junior Setter – ทีมงานซัพพลายเออร์ช่วยตกแต่งให้

    3.Self-Installation – ลูกค้าตกแต่งเองตามคู่มือ จัดวางเองได้ง่าย พร้อมทีมซัพพอร์ตออนไลน์

    เมื่อพร็อพตกแต่งสามารถจัดวางประกอบได้ง่ายๆ ก็จะทำให้บริษัทไม่ต้องส่งทีมตามประกบไปทุกงาน แต่สามารถส่งเฉพาะพร็อพไปที่สถานที่จัดงาน และให้ซัพพลายเออร์ในพื้นที่นั้นรับงานประกอบหรือลูกค้าจะตกแต่งเองก็ได้

    วิธีนี้จึงช่วยให้ “วิน-วิน” ทั้งลูกค้าและ The Party Setter เพราะบริษัทสามารถส่งของให้เช่าออกไปได้มากขึ้นและไกลขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องมีทีมงานจากส่วนกลาง ทำให้ลูกค้าในต่างจังหวัดก็สามารถเช่าพร็อพได้ ส่วนลูกค้าที่มีงบจำกัดก็สามารถลดต้นทุนลงอีกได้ เพราะหากเลือกแบบ Self-Installation ราคาค่าเช่าจะลดลงไปเกือบครึ่ง!


    ดิสรัปต์วงการด้วยการ “ไม่ทิ้ง” พร็อพหลังจบงาน

    เคล็ดลับเบื้องหลังของการส่งพร็อพได้รวดเร็วเกิดจากการ “สต็อก” พร็อพทั้งหมดไว้ในคลังสินค้าที่ จ.ชลบุรี ซึ่งรัตนนันท์บอกว่า เป็นสิ่งที่วงการอีเวนต์ไม่เคยมีใครทำมาก่อน เพราะวิถีปฏิบัติปกติของวงการคือการจัดหาหรือสร้างพร็อพขึ้นมาใหม่ ใช้งานเดียว และทิ้งทั้งหมดหลังจบงาน ขณะที่วิธีของ The Party Setter จะเก็บพร็อพกลับคืนคลังเพื่อใช้ในงานต่อไป

    “เราเชื่อว่าเราเปลี่ยนวัฒนธรรมของวงการนี้ได้ เราอยากเปลี่ยนให้คนเห็นว่าเราไม่ได้เป็นธุรกิจฟุ่มเฟือย” รัตนนันท์กล่าว

    “เราเชื่อว่าของทุกชิ้นจะไม่กลายเป็นขยะ ไม่มีวันหมดอายุ แค่เปลี่ยนหน้าที่ เปลี่ยนตำแหน่งให้มัน มันก็ยังใช้ต่อได้” นุดีกล่าว โดยเธอคือขุมพลัง ‘แพสชัน’ ของทีมนี้ในการเปลี่ยนวงการอีเวนต์ที่สร้างขยะจำนวนมาก เปลี่ยนมาใช้ประโยชน์จากทุกสิ่งอย่างเต็มที่

    นอกจากจะ “ไม่ทิ้ง” แล้ว ทีมงานนี้ยังมีการพัฒนาเรียนรู้วัสดุต่างๆ ที่จะนำมาใช้ผลิตพร็อพ คิดค้นหาวิธีเพื่อให้พร็อพแต่ละชิ้นคงทนถาวรให้ได้นานที่สุด และยังยินดีรับสิ่งของที่คนอื่นอาจเห็นเป็น “ขยะ” มาดัดแปลงเป็นพร็อพ เช่น นาฬิกาโบราณที่ตายแล้ว ยังนำมาใช้เป็นพร็อพปาร์ตี้วินเทจได้ หรือ หุ่นโชว์ขาหัก มาแต่งเป็นพร็อพธีมฮัลโลวีน ทั้งหมดนี้คือความพยายามของ The Party Setter ที่จะไม่เพิ่มขยะให้กับโลกใบนี้


    จากงานหลักพันสู่งานหลักล้านกับ THEMEchitect

    ด้านกลุ่มเป้าหมายลูกค้าของบริษัท “จุฑาภัทร” Marketing Director ระบุว่าปัจจุบันลูกค้าแยกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

    • 50% ลูกค้ากลุ่ม B2C เช่น จัดปาร์ตี้วันเกิด เลี้ยงรุ่น งานวันพ่อ งานวันแม่
    • 50% กลุ่ม B2B เช่น รับซับคอนแทร็คให้ออร์แกไนเซอร์ งานเลี้ยงบริษัท งานเปิดตัวสินค้า ตกแต่งร้านอาหาร ตกแต่งบ้านตัวอย่าง

    จุฑาภัทรมองว่าทั้งสองกลุ่มลูกค้ามีความต้องการทั้งที่เหมือนและต่างกัน โดยสิ่งที่ ‘เหมือน’ คือทุกคนต่างต้องการอีเวนต์ที่ตกแต่งได้ ‘น่าประทับใจ’

    แต่สิ่งที่ ‘ต่าง’ คือ ลูกค้า B2C ต้องการที่ปรึกษาเรื่องธีมงานและพร็อพมากกว่า เพราะลูกค้าอาจจะไม่รู้ว่าตนเองต้องการอะไรบ้าง

    ขณะที่ลูกค้า B2B จะต้องการความเป็นมืออาชีพจากบริษัท คือต้อง ‘แม่นยำ’ แบบพลาดไม่ได้ ทั้งเรื่องเวลาทำงานและผลงานที่ออกมา เพราะทุกปัจจัยจะมีผลต่อความสำเร็จทางธุรกิจและหน้าที่การงานของลูกค้า รวมถึงการจัดอีเวนต์ที่จะเป็นเวทีบอกตัวตนและเป็นสิ่งที่คนจะจดจำเกี่ยวกับตัวผู้จัดงาน

    เหตุผลนี้เป็นสิ่งที่ทำให้บริษัทมีการแตกแบรนด์ย่อยออกมาในชื่อ “THEMEchitect” เพื่อใช้ในการแข่งขันรับงานกับลูกค้า B2B โดยเฉพาะ ด้วยชื่อแบรนด์ที่มีความเป็นทางการมากขึ้น สื่อให้เห็นว่าบริษัทพร้อมรับงานสเกลใหญ่ มีความเกี่ยวข้องกับโครงสร้าง และดูแลลูกค้ากลุ่มธุรกิจให้ได้ตรงตามความต้องการทุกด้าน ตรงทั้งงบประมาณ ตรงโจทย์ ตรงใจ และตรงเวลา


    ขยายให้ไกล กว้าง และเปิดคลังรับฝากเช่า “พร็อพ” จากทุกคน

    สำหรับอนาคตของธุรกิจ The Party Setter รัตนนันท์มองว่าด้วยพื้นฐานของระบบ RTD เธอเชื่อว่าบริษัทจะสามารถสเกลให้ ‘ไกล’ ได้มากกว่าเดิม ที่ผ่านมาบริษัทเคยส่งพร็อพไกลที่สุดคือ จ.กาญจนบุรี แต่ด้วยความสะดวกของบริษัทขนส่งในปัจจุบัน ต่อไปอาจจะเห็นลูกค้าสั่งเช่าพร็อพไกลถึงประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นไปได้

    โอกาสทางธุรกิจที่ลูกค้าจะเช่าพร็อพตกแต่งก็น่าจะ ‘กว้าง ขึ้นกว่าการจัดกิจกรรมอีเวนต์ส่วนตัวด้วย “พฤติกรรมผู้บริโภควันนี้ต้องการสถานที่ที่ ‘photogenic’ ทำให้บริการของเราจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น เพราะทุกคนต้องการไปสถานที่ที่สวยงาม ถ่ายรูปแล้วดูดี มีรูปไปโพสต์ได้” นุดีกล่าว

    โดยโอกาสที่ The Party Setter เล็งเห็น เช่น  “ร้านอาหาร” หรือ “คอมมูนิตี้ มอลล์” ที่ต้องการใช้พร็อพสร้างอีเวนต์พิเศษหรือมุมถ่ายรูปใหม่ๆ เพื่อดึงลูกค้าให้กลับมาได้บ่อยๆ สร้างความน่าสนใจให้ธุรกิจได้มากขึ้น

    รวมถึงระบบที่พัฒนาขึ้นมาอย่าง “RTD Props System” ของบริษัท จุฑาภัทรมองว่าระบบนี้จะต่อยอดทางธุรกิจได้ เพราะไม่เพียงแค่เก็บพร็อพของบริษัทเอง แต่ยังสามารถใช้เก็บสต็อกพร็อพของตกแต่งจากผู้อื่นและปล่อยเช่าแทนให้ได้ด้วย กลายเป็นระบบ ‘ฝากเช่า’ พร็อพในอนาคต ทำให้เจ้าของพร็อพตกแต่งไม่ต้องทิ้งเป็นขยะหรือเก็บไว้อย่างเปล่าประโยชน์ ธุรกิจส่วนนี้เชื่อว่าจะเป็นที่สนใจของธุรกิจอื่นๆ ในระบบนิเวศเดียวกันที่มีการใช้ของตกแต่ง เช่น ออร์แกไนเซอร์ ศูนย์การค้า สวนสนุก โรงแรม เป็นต้น

    จุฑาภัทรยังบอกด้วยว่า ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทเติบโตสะสมถึง 300% สะท้อนให้เห็นว่าตลาดการเช่าของตกแต่งมีการขยายตัวสูง และลูกค้าสนใจใช้บริการมากขึ้นหลังได้รู้จัก The Party Setter

    อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าบริษัทจะขยายตัวสูงมากแค่ไหน สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของบริษัทก็ยังคงเป็นการสร้างโมเมนต์ให้ลูกค้าได้มี  “Your Best Event, Your Best Moment”

    “ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่เรามาจับธุรกิจนี้ เราเคยจัดหลายงานที่สร้าง ‘human feeling’ สูงมาก อย่างครั้งหนึ่งมีคุณแม่ให้เราตกแต่งงานวันเกิดให้ลูกซึ่งเป็นงานฉลองที่สำคัญกับความรู้สึกของคุณแม่มาก เพราะลูกเคยผ่าตัดหัวใจตั้งแต่เด็กๆ และคุณแม่ดีใจมากที่ลูกยังมีชีวิตอยู่จนอายุครบ 18 ปีในวันนี้” รัตนนันท์เล่าถึงจุดตั้งต้นแรงบันดาลใจในการทำงาน

    “เราจึงรู้สึกว่า ธุรกิจของเราคือการสร้างโมเมนต์ความทรงจำให้เป็นที่จดจำไปตลอดกาล นั่นคือเหตุผลที่เราทำธุรกิจนี้ และเรามาสร้างทีมบนฐานความคิดเดียวกัน สิ่งนี้จะรักษาไว้กับบุคลากรของเรา ทุกคนจะอิ่มเอมใจกับการที่ได้สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าเสมอ”

    ]]>
    1485674
    บูมอีสาน! “ยูดี ทาวน์” อัดงบ 40 ล้านจัดสงกรานต์ “EDM” ปี’66 กรุยทางดึงจีนสายมูเที่ยว “อุดร” https://positioningmag.com/1422060 Tue, 07 Mar 2023 07:32:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1422060 สายแดนซ์เตรียมพร้อม “ยูดี ทาวน์” เตรียมจัดใหญ่ UDON SONGKRAN FESTIVAL 2023 จัดปาร์ตี้ดนตรี “EDM” รับช่วง “สงกรานต์” ใหญ่ที่สุดที่เคยจัดในภาคอีสาน คาดการณ์ปี’66 ท่องเที่ยว “อุดร” ฟื้นตัวได้เท่าก่อนโควิด-19 ลุ้นดึงนักท่องเที่ยวจีน “สายมู” ทัวร์ริมโขง-ไหว้พระขอพร

    “ยูดี ทาวน์” ศูนย์การค้าท้องถิ่นแห่งอุดรธานี เตรียมกลับมาจัดเทศกาลสงกรานต์ครั้งใหม่ใหญ่กว่าเดิมในงาน UDON SONGKRAN FESTIVAL 2023 ระหว่างวันที่ 12-16 เมษายน 2566 บนพื้นที่ลานเดอะแลนด์ ขนาด 12,000 ตร.ม. พร้อมอุโมงค์น้ำขนาดยักษ์

    ไฮไลต์งานนี้คือเทศกาลดนตรี EDM Party ที่จะจัด 4 คืนต่อเนื่อง (13-16 เม.ย. 66 เวลา 17:00-24:00 น.) พร้อมเชิญศิลปิน-ดีเจทั้งในไทยและต่างประเทศกว่า 40 ราย เปิดรายชื่อดีเจระดับโลกที่จะมาแสดงในงาน เช่น Mike William จากเนเธอร์แลนด์, Gammer จากสหราชอาณาจักร, Bonka จากโคลัมเบีย ส่วนของไทยจะมีวงหมอลำอินเตอร์ฯ Paradise Bangkok ร่วมแสดง

    ยูดี ทาวน์
    ยูดี ทาวน์ อุดรธานี

     

    ปาร์ตี้ EDM ต้อนรับชาวอีสานกลับบ้าน-เศรษฐีชาวลาว

    “อภิชา วีรชาติยานุกูล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุดรพลาซ่า จำกัด รุ่นสองของกลุ่มยูดี ทาวน์ กล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้ว่าเป็นการกลับมาในรอบ 3 ปี โดยงานดนตรี EDM ทางยูดี ทาวน์มีการจัดครั้งแรกเมื่อปี 2559 เริ่มจากงานขนาดเล็ก ก่อนจะขยายใหญ่ขึ้นทุกปีจนถึงปี 2562 ที่จัดครั้งสุดท้ายก่อนต้องหยุดจัดอีเวนต์ใหญ่เพราะโควิด-19

    งานครั้งนี้ใช้งบลงทุนไป 30-40 ล้านบาท จัดใหญ่กว่าเมื่อปี 2562 ถึง 2 เท่า และคาดว่าจะมีทราฟฟิกเฉพาะในงานนี้รวม 5 วัน 100,000 คน หรือเฉลี่ยวันละ 20,000 คน

    ตัวอย่าง headliner งาน

    ราคาตั๋วในงานจะมีตั้งแต่ระดับสูงสุด VVIP First Class ราคาเหมา 4 วัน 100,000 บาทต่อโต๊ะ 6 ท่าน ซึ่งจะได้สิทธิ Private Dry Zone ทางเข้าส่วนตัว ห้องน้ำส่วนตัว แพ็กเกจเครื่องดื่ม ฯลฯ ไปจนถึงตั๋วโซน GA ผู้ชมทั่วไป ราคา 400 บาทต่อวันต่อคน

    อภิชากล่าวว่า บริษัทคาดหวังรายได้ขั้นต่ำ 30 ล้านบาทจากงานนี้ และหากขายตั๋วได้เต็มอัตราน่าจะทำรายได้ได้ถึง 100 ล้านบาท

    “เป้าหมายของงานนี้จะเป็นคนวัย 20 ปีขึ้นไป ตอบโจทย์ชาวอุดรและชาวอีสานที่จะกลับมาเยี่ยมบ้านจากการไปทำงานที่กรุงเทพฯ และคนอีสานก็ต้องการเทศกาล EDM แบบนี้เหมือนกัน รวมไปถึงชาวลาวที่มีกำลังซื้อสูง สนใจเข้ามาท่องเที่ยวในช่วงสงกรานต์” อภิชากล่าว

    ยูดี ทาวน์ สงกรานต์
    งานสงกรานต์ที่ยูดี ทาวน์ รอบปี 2562

    งานครั้งนี้ยังมีการจัดพื้นที่ให้กับกลุ่ม VVIP แพ็กเกจทั้งหมดประมาณ 20% ของพื้นที่ เพิ่มขึ้นจากครั้งล่าสุดในปี 2562 ที่กันไว้ 10% ของพื้นที่ เพราะจากงานครั้งก่อนพบว่า แพ็กเกจระดับนี้ขายหมดเร็วมาก ไม่เหลือพอที่จะขายหน้างาน สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มเป้าหมายมีกำลังซื้อและต้องการโต๊ะแบบ VVIP เพื่อสะท้อนไลฟ์สไตล์ของตน

    อีเวนต์ใหญ่รับสงกรานต์ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการปรับตัวในช่วงหลังโควิด-19 ของยูดี ทาวน์ เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน เริ่มสั่งอาหารและสินค้าทางเดลิเวอรีมากขึ้น ทำให้ทราฟฟิกเข้าศูนย์ฯ ลดลงเหลือ 8,000 คนต่อวัน จากก่อนโควิด-19 มีลูกค้าเฉลี่ย 10,000 คนต่อวัน

    แม้ยอดขายของร้านค้าเช่าจะไม่ต่ำลงเพราะลูกค้าเพียงหันมาซื้อผ่านเดลิเวอรี แต่ศูนย์ฯ จะต้องปรับมามีอีเวนต์มากขึ้น และมีการตกแต่งใหม่บ่อยขึ้นเพื่อดึงให้คนมาใช้ชีวิต ถ่ายรูป มีความบันเทิงนอกบ้าน โดยอภิชากล่าวว่าจากนี้ยูดี ทาวน์จะมีอีเวนต์ใหญ่ทุกๆ 2 เดือน และมีพันธมิตรสำคัญคือ “ไทยเบฟเวอเรจ” และ “เป๊ปซี่” ที่จะสร้างสีสันผ่านคอนเสิร์ตหมุนเวียนเข้ามาต่อเนื่อง

     

    ท่องเที่ยวฟื้นปีนี้ หวังปีหน้าดึง “จีน” ทัวร์ทำบุญ

    ด้าน “ธนกร วีรชาติยานุกูล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุดรพลาซ่า จำกัด รุ่นหนึ่งผู้ก่อตั้งศูนย์ฯ เปิดภาพรวมการท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี จากสถิติผู้โดยสารเข้าออกทางเครื่องบินเมื่อปี 2565 มีผู้โดยสาร 1.77 ล้านคน ปี 2566 นี้เป็นไปได้ว่าจะมีผู้โดยสารทางเครื่องบินกลับไปเท่าปี 2562 คืออยู่ที่ 2.8 ล้านคนต่อปี เนื่องจากเที่ยวบินเข้าออกอุดรธานีเพิ่มขึ้นเกือบจะเท่ากับปีก่อนโควิด-19 แล้ว

    (จากซ้าย) อภิชา วีรชาติยานุกูล, ภาสกร วีรชาติยานุกูล, ธนกร วีรชาติยานุกูล

    ธนกรกล่าวถึงจุดยุทธศาสตร์ของอุดรธานีว่า เป็นจังหวัดศูนย์กลางการเดินทางไปหนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม หนองคาย เวียงจันทน์ ได้สะดวก และมีสถานที่ท่องเที่ยวทั้งเชิงธรรมชาติ/วัฒนธรรม เช่น ทะเลบัวแดง บ้านเชียง โดยเฉพาะการท่องเที่ยวสายธรรมะ ไหว้พระทำบุญ อุดรธานีและทัวร์ภาคอีสานมีความโดดเด่นมาก เชื่อว่าจะเป็นจุดที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ต่อเนื่อง

    นอกจากนักท่องเที่ยวไทยแล้ว ภาคอีสานยังคาดหวังว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาเพิ่มขึ้นในอนาคต หลังการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เริ่มโปรโมตเส้นทางท่องเที่ยวริมโขง ตั้งแต่หนองคาย อุดรธานี ไล่ไปจนถึงนครพนม และชาวจีนเริ่มแสดงความสนใจ เนื่องจากชาวจีนบางกลุ่มก็มีความเชื่อในทางวัตถุมงคล การไหว้พระทำบุญ เช่นเดียวกับคนไทย เพียงแต่ต้องใช้เวลาในการทำการตลาด อาจจะยังไม่เห็นชัดเจนในปีนี้ แต่ปี 2567 น่าจะเห็นชาวจีนเที่ยวอีสานมากขึ้น

     

    โรงแรมเติบโต วางแผนเปิดแห่งที่สองเพิ่ม

    “ภาสกร วีรชาติยานุกูล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนาทิพย์ 456 จำกัด รุ่นสองที่เข้ามาช่วยบริหารงานโรงแรมโมโค (MOCO) และศูนย์ประชุมนานาชาติมลฑาทิพย์ กล่าวว่า โรงแรมโมโคซึ่งเป็นบูทีคระดับ 4 ดาว ขนาด 68 ห้อง หลังเปิดมาเกือบ 2 ปี ปัจจุบันมีอัตราเข้าพักเฉลี่ย 60% และคาดว่าปีนี้น่าจะขยับเป็น 70-80% ได้ หลังการท่องเที่ยวฟื้นตัว เที่ยวบินกลับมาเปิดบินเต็มที่

    ส่วนศูนย์ประชุมฯ มลฑาทิพย์ก็เริ่มกลับมาคึกคัก มีงานอีเวนต์ แต่งงาน จัดประชุม ทุกวัน ขณะนี้อยู่ระหว่างกระตุ้นตลาดเพิ่ม

    ธนกรกล่าวต่อถึงแผนอนาคตของกลุ่มยูดี ทาวน์ ยังเหลือที่ดินอีก 2 แปลง แปลงละ 4 ไร่ รวมถึงที่ดินใกล้เคียงกับโรงแรมโมโคที่สามารถปรับการใช้งานได้ ที่ดินเหล่านี้กำลังวางแผนว่าอาจจะเปิดเป็นโรงแรมระดับกลาง ราคาห้องพักคืนละ 1,500-2,000 บาท คาดว่าจะก่อสร้างเป็นอาคาร 2 ชั้น 2 อาคาร รวม 140 ห้อง ใช้งบลงทุนราว 200 ล้านบาท แต่จังหวะการลงทุนอาจใช้เวลาอีก 2-3 ปีในการตัดสินใจ

    ]]>
    1422060
    พร้อมเปิด Q3! “ท็อปกอล์ฟ” สนามไดรฟ์ผนวกความบันเทิง แม่เหล็กกิจกรรมแนวใหม่ย่านบางนา https://positioningmag.com/1377039 Thu, 10 Mar 2022 09:19:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377039 “ท็อปกอล์ฟ” อัปเดตความคืบหน้าการก่อสร้างสนามไดรฟ์กอล์ฟแนวใหม่ เปิดไตรมาส 3 ปีนี้ วางโมเดลธุรกิจและคอนเซ็ปต์สนามซ้อมพร้อมความบันเทิง เน้นการจัดกิจกรรม อีเวนต์ สังสรรค์กับเพื่อน-ครอบครัว เล็งลูกค้าองค์กรจัดทีมบิลดิ้ง ยังมั่นใจศักยภาพตลาดไทย พร้อมหาทำเลขยายเพิ่มอีก 1-2 สาขา

    สนามไดรฟ์กอล์ฟ “ท็อปกอล์ฟ เมกาซิตี้” อัปเดตความคืบหน้าการก่อสร้างสนามบนพื้นที่ 29 ไร่ด้านหลังเมกา บางนา คาดเปิดให้บริการได้ภายในไตรมาส 3 ปีนี้ เลื่อนจากกำหนดเดิมราว 2 เดือนเนื่องจากการก่อสร้างชะลอระหว่างปิดแคมป์คนงานปีก่อน

    “แอนดรูว์ นาธาน” กรรมการผู้จัดการ ท็อปกอล์ฟ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ “ทิม โบดา” ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ ท็อปกอล์ฟ ประเทศไทย สอดงผู้บริหารเป็นผู้ให้ข้อมูล โดยกล่าวถึงเชนสนามไดรฟ์กอล์ฟ “ท็อปกอล์ฟ” เป็นแบรนด์ที่เริ่มต้นในอังกฤษ แต่ประสบความสำเร็จอย่างสูงที่สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเปิดบริการกว่า 70 สาขาใน 7 ประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ, อังกฤษ, เยอรมนี, ออสเตรเลีย, UAE และ “ไทย” จะเป็นประเทศที่ 8 ที่เปิดให้บริการ ถือเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ท็อปกอล์ฟ
    “ทิม โบดา” ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ ท็อปกอล์ฟ ประเทศไทย และ “แอนดรูว์ นาธาน” กรรมการผู้จัดการ ท็อปกอล์ฟ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    คอนเซ็ปต์ของท็อปกอล์ฟจะเน้นกีฬาผนวกความบันเทิง เหมาะเป็นสถานที่สังสรรค์ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ออกแบบบรรยากาศสนุกสนาน มีร้านอาหารและบาร์

    ไฮไลต์อีกส่วนอยู่ที่ “ลูกกอล์ฟ” ซึ่งติดชิพ RFID และในสนามมีเซ็นเซอร์ตรวจจับ ทำให้หน้าจอสามารถแสดงผล simulator วิถีของลูกและจุดตกได้ชัดเจน พร้อมกับมี “เกม” กอล์ฟเข้ามาเสริมระหว่างตี ช่วยให้คนที่ไม่เคยมีประสบการณ์หรือเด็กๆ สนุกมากขึ้น

    เหตุนี้ท็อปกอล์ฟจึงมีเป้าหมายดึงดูดลูกค้าทั้งนักกอล์ฟและที่ไม่ใช่นักกอล์ฟ โดยสถิติที่ผ่านมาท็อปกอล์ฟมีลูกค้า 51% ซึ่งไม่ได้เล่นกีฬานี้เป็นประจำ

    ท็อปกอล์ฟ
    สนามไดรฟ์กอล์ฟท็อปกอล์ฟ เปิดให้สื่อมวลชนเยี่ยมชมไซต์ระหว่างก่อสร้าง อนาคตบริเวณนี้จะเป็น Hitting Bay

    สำหรับ ท็อปกอล์ฟ เมกาซิตี้ จะก่อสร้างเป็นอาคาร 4 ชั้น ภายในมี Hitting Bay ทั้งหมด 102 เลน (กระจายในพื้นที่ 3 ชั้น) รองรับแขกได้ 8 ท่านต่อเลน และมีสปอร์ตบาร์พร้อมจอทีวีขนาดยักษ์ ร้านอาหาร รูฟท็อปบาร์ รวมถึงห้องประชุมความจุ 180 คน ทำให้สนามพร้อมจัดงานประชุมสังสรรค์องค์กร งานทีมบิลดิ้ง อีเวนต์ขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางได้

     

    มั่นใจตลาด คนไทยรักการสังสรรค์

    เหตุที่ท็อปกอล์ฟข้ามฟากโลกและเลือกเมืองไทยเป็นประเทศแรกของภูมิภาคนี้ที่เปิดตัว “ทิม โบดา” กล่าวว่า เหตุผลหลักๆ คือ ‘core value’ ของท็อปกอล์ฟที่ตรงกับลักษณะของคนไทย สนามไดรฟ์กอล์ฟแบรนด์นี้ต้องการสร้าง “ความสนุก” และ “ความใส่ใจ” สอดคล้องกับคนไทยที่ชื่นชอบการสังสรรค์ รักความสนุกสนานจากการทำกิจกรรมร่วมกัน รวมถึงมีความใส่ใจห่วงใยคนรอบข้าง

    อีกเหตุผลหนึ่งคือ เมืองไทยเป็นจุดหมายปลายทางของนักกอล์ฟในภูมิภาคนี้อยู่แล้ว ทำให้มีฐานลูกค้าที่เป็นเป้าหมาย เชื่อว่าการเปิดในไทยจะประสบความสำเร็จได้

    บรรยากาศเน้นความสนุกสนาน ปาร์ตี้สังสรรค์

    ขณะนี้เป้าหมายลูกค้าจะเน้นคนไทยเป็นหลัก รวมถึงชาวต่างชาติที่ทำงานในไทย (expat) ส่วนเป้าหมายนักท่องเที่ยวต่างชาติจะทำการตลาดต่อไปเมื่อไทยเปิดประเทศได้เต็มที่

    ด้านปัจจัยเสี่ยงกรณี COVID-19 ที่ยังไม่หยุดการระบาด และเศรษฐกิจที่ซบเซา แอนดรูว์ นาธาน มองว่า บริษัทยังเชื่อมั่นโอกาสในเมืองไทย เพราะกีฬากอล์ฟกำลังได้รับความนิยมเป็นขาขึ้น และหากมองในแง่บวก สนามไดรฟ์แห่งนี้ออกแบบเป็นกึ่งกลางแจ้งกึ่งในร่ม ทำให้ผู้ที่มีความกังวลเกี่ยวกับโรคระบาดน่าจะสบายใจกว่าเมื่อมาทำกิจกรรมในท็อปกอล์ฟ

    สปอร์ตบาร์ที่นี่จะติดตั้งจอใหญ่ สามารถชมได้จากทั้งชั้น 1 และชั้น 2

    “เราเข้าใจเรื่องความไม่แน่นอนของสถานการณ์ แต่ว่าชีวิตต้องดำเนินต่อไป และเห็นว่าคนไทยน่าจะต้องการความสนุกมากยิ่งกว่าที่เคยในช่วงนี้ด้วย” แอนดรูว์กล่าว “เรายังเชื่อว่าการทำธุรกิจนี้ขณะนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง”

     

    มองหาเพิ่มอีก 1-2 โลเคชัน

    ด้านการขยายตัวในภูมิภาคนี้ของท็อปกอล์ฟ เป็นลักษณะสัญญาแฟรนไชส์ที่มอบสิทธิ์ให้กับบริษัท TG SEA Development Pte., Ltd แอนดรูว์ระบุว่า ประเทศไทยเป็นสาขาแรกของบริษัทหลังรับลิขสิทธิ์ จากทั้งหมด 6 ประเทศที่ได้สัญญา ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

    ในประเทศอื่นๆ นั้นยังอยู่ระหว่างศึกษาพื้นที่ และในไทยเองก็ไม่ได้วางแผนเปิดเพียงสาขาเดียว แต่ต้องการจะขยายเพิ่มอีก 1-2 สาขา ส่วนจะเป็นแห่งใดนั้นยังไม่สามารถเปิดเผยได้

    ผู้ที่สนใจสามารถรอติดตามการเปิดสนามได้เร็วๆ นี้ ทั้งนี้ “ทิม” แย้มราคาไดรฟ์กอล์ฟที่นี่แล้วว่า คาดว่าจะเริ่มต้นที่ 200 บาทต่อคนต่อชั่วโมง สำหรับช่วงเวลา non-peak hour และ 350 บาทต่อคนต่อชั่วโมง สำหรับช่วงเวลา peak hour โดยสนามจะเปิดตั้งแต่เช้าจนถึงดึกทุกวัน ราคาดังกล่าวรวมยืมอุปกรณ์พื้นฐานฟรี แต่สามารถอัปเกรดเพิ่มอุปกรณ์ระดับพรีเมียมได้ (ชม virtual tour ของสนามได้ที่นี่)

    ]]>
    1377039
    “อินเด็กซ์ฯ” ฮึดสู้พายุไวรัสปี’65 วางเป้าฟื้น 60% ใช้กลยุทธ์ปั้น “อีเวนต์” เอง ลดพึ่งพิงงานลูกค้า https://positioningmag.com/1370150 Wed, 12 Jan 2022 09:42:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370150
  • อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ สรุปผล ปี 2564 ทำรายได้ 580 ล้านบาท เติบโต 33% แม้ภาพรวมธุรกิจ “อีเวนต์” จะดิ่งลงต่อเนื่องจากปี 2563
  • เชื่อปี 2565 ตลาดอีเวนต์ฟื้นตัว วางเป้าหมายปีนี้รายได้เติบโต 60% กลับมายืนที่กว่า 900 ล้านบาท โดยจะเป็นปีเก็บเกี่ยวจากการลงทุนงานแบบ ‘Own Project’ หลังพัฒนาโครงการซิกเนเจอร์ของตนเองตั้งแต่ปีก่อน พร้อมเพิ่มงานใหม่ๆ ร่วมกับพาร์ตเนอร์
  • “เกรียงไกร กาญจนะโภคิน” มองการจัดการรัฐบาลและ ศบค. ควรผ่อนคลายมาตรการมากกว่านี้เพื่อให้ธุรกิจไปต่อได้ และสื่อสารให้ประชาชนไม่ตื่นกลัวจนเกินไป
  • “เกรียงไกร กาญจนะโภคิน” ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในบริษัทด้านครีเอทีฟ อีเวนต์รายใหญ่ของไทย เปิดเผยสถานการณ์ล่าสุดของบริษัทและธุรกิจ “อีเวนต์” ไทย

    โดยปี 2564 ที่ผ่านมามองว่าเป็นปีที่ “หนักที่สุด” ตั้งแต่เกิดโรคระบาด เนื่องจากมีการล็อกดาวน์ยาวนานในช่วงการระบาดรอบที่ 3 ทำให้มูลค่าตลาดอีเวนต์ไทยลดลงไปเหลือประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาทเท่านั้น เทียบกับช่วงก่อนการระบาดที่เคยมีมูลค่าสูงถึงปีละ 14,000-15,000 ล้านบาท

    อย่างไรก็ตาม อินเด็กซ์ฯ มีการปรับตัวตามกลยุทธ์ใหม่ ทำให้สามารถฟื้นตัวได้ โดยปิดรายได้ไปที่ 580 ล้านบาท เติบโต 33% เทียบกับปี 2563 ซึ่งดีกว่าสถานการณ์ตลาด

    อีเวนต์ของ House of illumination เซ็นทรัลเวิลด์ จัดร่วมกับวง POLYCAT ช่วยดึงดูดคนเข้าชม

    กลยุทธ์การเติบโตมาจากการปรับตัวไปจัดอีเวนต์ที่เป็น ‘Own Project’ มากขึ้น โดยเป็นโครงการที่สร้างสรรค์และลงทุนเองทั้งหมด และเก็บรายได้จากการเข้าชม ทำให้พอร์ตสมดุลและมั่นคงมากขึ้น ไม่ต้องพึ่งพิงงานจ้างจากลูกค้าเป็นหลัก สามารถตัดสินใจการเดินหน้าจัดต่อ เลื่อนการจัดงาน หรือยกเลิกงานเองได้ตามที่เห็นเหมาะสม

    โครงการที่อินเด็กซ์ฯ จัดเองจนเป็น ‘ซิกเนเจอร์’ กลายเป็นแบรนด์งานที่จะไปต่อได้ทุกปี เมื่อปีก่อนมีการจัดทั้งหมด 6 งาน ขณะนี้มีผู้เข้าชมสะสมรวมทุกงานมากกว่า 100,000 คน ได้แก่

    • Village of illumination @Singha Park Chiang Rai เทศกาลประดับไฟฤดูหนาว
    • House of illumination งานศิลปะดิจิทัล จัดที่เซ็นทรัลแกลลอรี เซ็นทรัลเวิลด์
    • เมืองโบราณไลท์เฟส เทศกาลประดับไฟฤดูร้อนยามค่ำคืน
    • Forest of illumination at Kirimaya เขาใหญ่ เทศกาลประดับไฟและการแสดงแสง สี เสียง
    • เทศกาลโคมไฟและอาหารนานาชาติ ณ เมืองโบราณ สมุทรปราการ
    • Tha Maharaj illumination เทศกาลประดับไฟที่ท่ามหาราช
    เทศกาลโคมไฟและอาหารนานาชาติ ณ เมืองโบราณ สมุทรปราการ (Photo: FB@เมืองโบราณ สมุทรปราการ)

    เห็นได้ว่าซิกเนเจอร์ของอินเด็กซ์ฯ คือการจัดงานประดับไฟและศิลปะดิจิทัลจนติดตลาด โดยเล็งเห็นว่าผู้มาร่วมงานเกิดเทรนด์ FOMO-FOTO: Fear of Missing Out และต้องการถ่ายรูป ทำคอนเทนต์ตลอดเวลา ทำให้ประสบการณ์ในงานจะต้องได้รูปถ่ายสวยงาม มีคอนเทนต์สวยๆ ให้เล่า และเทรนด์เหล่านี้จะมีการขยายต่อในปีนี้

     

    ปี 2565 บุกด้วย Own Project ต่อเนื่อง

    เกรียงไกรกล่าวต่อถึงแผนปีนี้ว่า จะยังคงใช้กลยุทธ์ปั้น Own Project ต่อเนื่อง โดยมองว่า ปีที่แล้วเป็นการลงทุนและสร้างฐานแฟนคลับ ส่วนปีนี้จะได้เก็บเกี่ยวเต็มเม็ดเต็มหน่วย

    ทำให้วางแผนงานไว้แล้ว 20 โครงการตลอดปี ทั้งงานที่จัดอีกครั้งต่อเนื่องจากปีก่อน เช่น Kingdom of Lights งานแสงสีเสียงที่เมืองโบราณในค่ำคืนฤดูร้อน, งานเทศกาลโคมไฟและอาหารนานาชาติเมืองโบราณ ซึ่งจะจัดในช่วงฤดูหนาว

    งานวิ่ง Sub 1 กำลังจะเริ่มครั้งแรกเดือนมีนาคมนี้

    และจะมีงานที่จัดขึ้นใหม่ร่วมกับพาร์ตเนอร์ เช่น งานประกาศรางวัล Young Self-made Millionaire Awards จัดร่วมกับรายการอายุน้อยร้อยล้าน, งานแข่งขันวิ่ง V RUNNER แข่งวิ่ง 10 กม. ภายใน 1 ชั่วโมง ซึ่งจะมี 3 ครั้ง ที่เมืองโบราณ และอีก 2 ครั้งอยู่ในภาคเหนือและภาคกลาง, งาน Wind Toy Fest อีเวนต์กับสนูปปี้และผองเพื่อน ที่จะจัดแบบในร่มกับศูนย์การค้าเครือเซ็นทรัลพัฒนา 6 แห่ง เป็นต้น

    งานใหม่ Wind Toy Fest จัดร่วมกับ CPN

    นอกจากนี้ อินเด็กซ์ฯ จะกลับมาจัดงานเทรดแฟร์ทั้งในไทยและต่างประเทศ เช่น Bangkok Beauty Show 2022 ที่ไบเทค, Cambodia Architect & Décor, Cambodia Health and Beauty Expo, Cambodia Food Plus Expo ประเทศกัมพูชา

    ทั้งหมดนี้คาดหวังว่าจะมีผู้ร่วมงานรวมไม่ต่ำกว่า 200,000 คน และทำให้รายได้ส่วน Own Project ปีนี้เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วน 30% ของรายได้รวมบริษัท เทียบกับเมื่อปี 2562 (ก่อนโรคระบาด) มีสัดส่วนเพียง 6.2% และคาดว่า ปี 2565 นี้ บริษัทจะมีรายได้เติบโต 60% อยู่ที่ประมาณ 925 ล้านบาท

    เทียบรายได้ อินเด็กซ์ฯ ปี 2562-2564 และคาดการณ์ผลประกอบการปี 2565

    เกรียงไกรมองว่า การพัฒนา Own Project เองทำให้พอร์ตของบริษัทมั่นคงขึ้น เพราะท่ามกลางความไม่แน่นอนของโรค ทำให้งานกลุ่ม Marketing Service รับจัดอีเวนต์ให้ลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นอีเวนต์การตลาด มักจะมีการยกเลิกหรือเลื่อนไปทันทีที่เกิดกระแสการระบาดใหม่ แต่งานที่บริษัทพัฒนาเอง สามารถตัดสินใจเองได้ว่ามีความคุ้มค่าและความปลอดภัยพอที่จะลงทุนและเดินหน้าต่อหรือไม่

     

    วอนรัฐบาลหยุดสร้างความกังวล

    สำหรับสถานการณ์โดยรวมปี 2565 เชื่อว่าธุรกิจอีเวนต์น่าจะกลับมามีมูลค่า 4,000-5,000 ล้านบาท หากไวรัสโอมิครอนไม่สร้างผลร้ายแรงมากนัก โดยถือเป็นการกลับตัวดีขึ้นจากปีที่แล้ว แต่ยังไม่กลับมาแบบเต็มที่

    อย่างไรก็ตาม เกรียงไกรมองด้วยว่าการรับมือกับไวรัสโอมิครอนนั้นรัฐบาลและ ศบค. ควรจะปรับมาตรการและสื่อสารให้เป็นปัจจุบันมากกว่านี้ เนื่องจากประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มไปแล้วเกิน 70% ของประชากร และเริ่มทยอยเข้ารับบูสเตอร์โดสกันแล้ว ทำให้ความเสี่ยงลดลงมากจากก่อนหน้าที่จะมีวัคซีน เห็นได้จากยอดผู้เสียชีวิตที่ยังต่ำแม้ผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้น

    “เกรียงไกร กาญจนะโภคิน” ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน)

    “ศบค.ควรจะผ่อนคลายกฎระเบียบ เพราะกฎเดิมตั้งมาตั้งแต่ก่อนมีวัคซีนแล้ว เช่น การจัดอีเวนต์ให้มีผู้ร่วมงานไม่เกิน 500 คน โดยไม่ได้พิจารณาถึงขนาดสถานที่และลักษณะว่าเป็นแบบกลางแจ้งหรือในร่ม หรือระเบียบการเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ควรจะผ่อนผันให้ไม่ต้องมีการกักตัวทั้งหมด เพียงแค่นักท่องเที่ยวมีหลักฐานฉีดวัคซีนครบโดสและมีผล RT-PCR มาจากประเทศต้นทางแล้ว” เกรียงไกรกล่าว

    “อีกเรื่องหนึ่งคือ ศบค. รวมถึงสื่อควรจะเลือกสื่อสารให้ประชาชนไม่หวาดกลัวไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนมากเกินไป เพราะมีผู้เสียชีวิตต่ำ และประเทศไทยฉีดวัคซีนได้อัตราสูงแล้ว มีวัคซีนบูสเตอร์เพียงพอกับประชาชน อยากให้ ศบค. เน้นย้ำส่วนนี้มากกว่าย้ำเรื่องจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันซึ่งทำให้ประชาชนตื่นกลัว”

    ]]>
    1370150
    กลับสู่ชีวิตปกติ! Live Nation ลุยจัดทัวร์ “คอนเสิร์ต” เต็มสูบในสหรัฐฯ เอเชียรอปีหน้า https://positioningmag.com/1342803 Fri, 16 Jul 2021 09:52:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342803 Live Nation บริษัทผู้จัดคอนเสิร์ตรายใหญ่ วางตารางงานคอนเสิร์ตทั่วสหรัฐฯ แบบจัดเต็ม ขายบัตรทุกที่นั่ง ขณะที่ฝั่งยุโรปคาดว่าจะกลับมาได้ภายในฤดูใบไม้ร่วงนี้ ส่วนเอเชียต้องรอปีหน้าตามสถานการณ์การฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตาม ยังต้องเฝ้าระวังสายพันธุ์ “เดลตา” อาจเป็นตัวป่วนแผนธุรกิจ

    “ไมเคิล ราพิโน” ซีอีโอบริษัท Live Nation Entertainment เปิดเผยกับสำนักข่าว CNBC ว่า ธุรกิจ “คอนเสิร์ต” ในสหรัฐอเมริกาขณะนี้กลับมา “เปิดเต็มที่” แล้ว หลังผ่านพ้นการระบาดที่ดิสรัปต์วงการมานานแรมปี โดยบริษัทมีไลน์อัพรอขึ้นแสดงแน่นตารางงานช่วงฤดูร้อนนี้เรียบร้อย

    “เราตื่นเต้นมากกับตลาดอเมริกัน เพราะ 70% ของธุรกิจเราอยู่ในสหรัฐฯ และอังกฤษ ทั้งสองตลาดนี้เริ่มกลับเข้าที่เข้าทางแล้ว” ราพิโนกล่าว “ในสหรัฐฯ เรากลับมาเปิดคอนเสิร์ตเต็มที่ได้แล้วตอนนี้”

    Live Nation เริ่มจัดงานคอนเสิร์ตแบบเปิดขายบัตรทุกที่นั่งแล้วตั้งแต่สัปดาห์ก่อน และจะทยอยจัดต่อเนื่อง 30 งานทั่วประเทศ งานใหญ่ที่สุดงานหนึ่งคือ Rolling Loud เทศกาลดนตรีที่ไมอามี ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานถึง 200,000 คนตลอด 3 วันจัดงาน วันที่ 23-25 กรกฎาคม 2021 (บัตรขายหมดแล้ว) ทั้งนี้ ราพิโนระบุว่าฤดูร้อนนี้บริษัทจะจัดเทศกาลดนตรีประมาณ 10-15 งาน

    บรรยากาศคอนเสิร์ต Rolling Loud ในปีก่อนๆ

    อย่างไรก็ตาม คอนเสิร์ตเริ่มกลับมาจัดพร้อมๆ กับความกังวลของหน่วยงานสาธารณสุขของสหรัฐฯ เนื่องจากเกิดไวรัสสายพันธุ์ “เดลตา” ขึ้น และรัฐกำลังกระตุ้นให้ประชาชนไปรับวัคซีนให้มากขึ้นเพื่อเร่งป้องกันการระบาด

    ส่วนตลาดยุโรปนั้น ราพิโนมองว่าจะกลับมาเปิดเต็มที่ได้ในช่วงปลายฤดูร้อนจนถึงช่วงฤดูใบไม้ร่วง (ราวเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน) ขณะที่ตลาดเอเชียยังต้องรอก่อน อย่างเร็วที่สุดคือ “ปีหน้า” เนื่องจากการฉีดวัคซีนยังคงล่าช้า

    ราพิโนกล่าวต่อว่า Live Nation จะไม่รีบอัดโชว์ที่ค้างหรือเลื่อนมาเพราะโรคระบาด และยังมองยาวไปถึงปี 2022-23 ด้วยว่า ศิลปินจะไม่ยอมขึ้นแสดง “นอกจากพวกเขาจะได้วันหยุดระหว่างทัวร์ และได้ไปเมืองที่ใช่ ในตลาดที่ใช่ของพวกเขา”

    “เราจะทำให้แน่ใจว่า เราจะไม่เปิดตารางโชว์ 4 งานในสัปดาห์เดียว แล้วผู้ชมต้องเลือกไปได้แค่งานใดงานหนึ่ง” ราพิโนกล่าว “เราจะเกลี่ยงานที่มีดีมานด์เหล่านี้ให้ครอบคลุมไปอีก 2-3 ปี และไปได้ 2-3 ตลาด ดังนั้น เรามองดีมานด์ที่ค้างอยู่ในตลาดว่าเป็นความเป็นไปได้ แต่เราต้องแน่ใจด้วยว่าผู้บริโภคมีเวลาซื้อบัตรและไปงาน”

    Harry Styles หนึ่งในศิลปินที่จะกลับมาทัวร์คอนเสิร์ต โดยออกทัวร์ในสหรัฐฯ ตั้งแต่กันยายน-พฤศจิกายน 2021

    หลังจาก “มนต์เสน่ห์” แห่งการร่วมอีเวนต์การแสดงสดกลับมาแล้ว ราพิโนกล่าวว่า สิ่งที่จะเปลี่ยนไปในงานเหล่านี้คือ “การชำระเงิน” หน้างาน

    “เราใช้โอกาสช่วง COVID-19 ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ในฝั่ง Ticketmaster (*บริษัทในเครือเดียวกัน) ส่วนที่เราเร่งการเติบโตมากที่สุดคือ การชำระเงินแบบไร้สัมผัส” ราพิโนกล่าว “หลังจากนี้เมื่อคุณไปที่สถานที่จัดแสดง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อตั๋ว ซื้อเบียร์ ซื้อเสื้อยืด คุณจะใช้แอปฯ จ่ายเงินได้แบบไร้สัมผัสทั้งหมด”

    ระหว่างเผชิญโรคระบาดที่ดิสรัปต์วงการแสดงสดไปเลย Live Nation ปรับตัวด้วยการเข้าถือหุ้นใหญ่ใน Veeps ซึ่งเป็นบริษัทจัดงานแสดงสดแบบสตรีมมิ่งออนไลน์โดยคิดค่าตั๋วเข้าชม ปรากฏว่างานรูปแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ศิลปินที่ต้องการจัดแสดงเพื่อคงความสัมพันธ์กับแฟนๆ ให้เหนียวแน่นต่อไปในยุคเว้นระยะห่างทางสังคม

    อย่างไรก็ดี ราพิโนเชื่อว่าคอนเสิร์ตเสมือนจริงเหล่านี้จะกลายเป็น “สินค้าสมนาคุณ” ไป เมื่อแฟนๆ กลับมาชมการแสดงสดแบบเจอตัวจริงได้แล้ว

    Source

    อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

    ]]>
    1342803
    ‘สุนัขดมกลิ่น’ ตัวช่วยเสริมความเร็ว คัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 ในสนามบิน-งานอีเวนต์คนเยอะ https://positioningmag.com/1333798 Tue, 25 May 2021 09:24:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333798 สุนัขดมกลิ่นกำลังจะมาเป็นตัวช่วย’ เสริมความรวดเร็วในการคัดกรองผู้ป่วยโรคโควิด-19 ขั้นต้น ตามสนามบิน เเละอีเวนต์ใหญ่ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก

    ทีมวิจัยในสหราชอาณาจักร ได้ฝึกฝนสุนัขให้จดจำกลิ่นพิเศษจากผู้ป่วยโควิด-19 ที่จมูกมนุษย์ไม่สามารถตรวจจับได้ อย่างไรก็ตาม ต้องมีการรับรองผลในห้องแล็บอีกครั้งเพื่อความเเน่นอน

    สุนัขสามารถดมกลิ่นได้ดีกว่ามนุษย์ถึง 1 แสนเท่า และมาช่วยงานดมกลิ่นหายาเสพติดและระเบิดเป็นเวลานานเเล้ว งานวิจัยในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า สุนัขสายพันธุ์รีทรีฟเวอร์และสแปเนียล สามารถดมและแยกแยะกลิ่นเฉพาะของโรคต่างๆ ได้ เช่น มะเร็ง พาร์กินสัน และมาลาเรีย

    โดยสุนัข 6 ตัวได้รับการฝึกฝนให้ดมกลิ่นของผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากถุงเท้า หน้ากากอนามัย และเสื้อผ้าต่างๆ หากพวกมันดมกลิ่นเเล้วระบุได้ว่า ของใช้เหล่านั้นเป็นของผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือของผู้ที่ไม่ติดเชื้อ ก็จะได้รับรางวัล

    นอกจากนี้ ยังมีการฝึกให้สุนัขแยกเเยะกลิ่นของผู้ติดเชื้อโควิด-19 กับกลิ่นของผู้ที่เป็นไข้หวัดทั่วไป หรือติดเชื้อทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้ รวมถึงผู้ติดเชื้อโควิดหลายสายพันธุ์ ทั้งที่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการน้อย

    Claire Guest หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ของ Medical Detection Dogs ซึ่งเป็นศูนย์ฝึกสุนัขในโครงการนี้ ระบุว่าผลการวิจัยดังกล่าวเป็นหลักฐานเพิ่มเติมว่า สุนัขเป็นหนึ่งในเครื่องตรวจจับทางชีวภาพที่เชื่อถือได้มากที่สุดสำหรับการค้นหากลิ่นโรคในมนุษย์

    Photo : DHSC

    โดยสุนัขดมกลิ่นสามารถตรวจจับผู้มีผลตรวจโรคโควิด-19 เป็นบวก ได้ถึง 88% หมายความว่า ในทุก ๆ 100 คนสุนัขดมกลิ่นผิดพลาดเพียง 12 คนเท่านั้น

    ส่วนในกรณีผู้ที่ไม่ติดเชื้อโควิด สุนัขดมกลิ่นผิดพลาดไป 16 คน (บอกว่าผู้ไม่ติดเชื้อคือผู้ติดเชื้อ) โดยสมมติ หากเครื่องบินหนึ่งลำ มีผู้โดยสารทั้งหมด 300 คน เเต่มีผู้ติดเชื้อ 1 คน สุนัขดมกลิ่นก็มีแนวโน้มที่จะระบุถึงบุคคลนั้นได้อย่างถูกต้อง เเต่ก็อาจจะระบุผิดว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด อีก 48 คน

    ดังนั้นทีมวิจัย จึงไม่แนะนำให้ใช้สุนัขดมกลิ่นเพียงอย่างเดียวในกรณีกลิ่นตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นบวก

    โดยอาจใช้สุนัขดมกลิ่นมาเป็นตัวช่วยร่วมในการคัดกรอง ไปพร้อม ๆ กับการใช้วิธีคัดกรองอื่น ๆ ด้วย เช่น ให้สุนัขดมกลิ่นคัดกรองในขั้นแรก จากนั้นก็ใช้การตรวจเเบบ swab ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ จะสามารถตรวจพบผู้ติดเชื้อได้ถึง 91%

    ประโยชน์ที่แท้จริงจากการนำสุนัขมาใช้ร่วมคัดกรอง คือความรวดเร็ว

    นักวิจัยระบุว่า การตรวจเเบบ swab โดยทั่วไปใช้เวลาเร็วที่สุด 15 นาทีจึงจะทราบผล แต่สุนัขใช้เวลาดมเชื้อโรคได้ภายในไม่กี่วินาที ซึ่งสุนัขที่ได้รับการฝึกแล้ว 2 ตัว สามารถดมกลิ่นและคัดกรองคนได้ถึง 300 คนในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมง  

    James Logan ศาสตราจารย์จากวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งทำการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยเดอรัม ให้ความเห็นว่าการทดสอบด้วยการดมกลิ่น เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการคัดกรองผู้คนจำนวนมาก

    งานวิจัยนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น เเละยังต้องมีการทดลองเเละตรวจสอบอีกมาก ก่อนที่จะสามารถเผยแพร่ เเละดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้

     

     

    ที่มา : BBC  , Reuters 

    ]]>
    1333798
    ธุรกิจ “อีเวนต์” เลื่อนยาวถึงกุมภา’64 ZAAP ปรับแผนงัดกิจกรรมเว้นระยะห่างกลับมาอีกครั้ง https://positioningmag.com/1312049 Fri, 25 Dec 2020 04:57:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312049 COVID-19 ระบาดรอบใหม่สร้างความปั่นป่วนวงการอีเวนต์ ZAAP Party มือจัดงานคอนเสิร์ต-เฟสติวัล เผยสถานการณ์ “อีเวนต์” ที่จะจัดช่วงสิ้นปียาวถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เลื่อนออกไปก่อนเพื่อความปลอดภัย พร้อมปรับแผนงัดแนวทางเดิมมาใช้ใหม่ จัดกิจกรรมไซส์เล็ก เว้นระยะห่างได้ เจาะตลาดพรีเมียม ประเดิมด้วย “Single Camp” แคมป์ปิ้งทริปคนโสดต้นปีหน้า

    สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 กลับมาระลอกใหม่ในประเทศไทย และประจวบเหมาะตรงกับเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ นาทีทองของวงการอีเวนต์ต้องฝันสลาย งานจำเป็นต้องเลื่อนเพื่อความปลอดภัยและเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย

    โดยเมื่อวานนี้ (24 ธ.ค. 63) ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เพิ่งประกาศแบ่งโซนพื้นที่เป็น 4 ระดับตามความรุนแรงของการระบาด ซึ่งทำให้มี 5 จังหวัด คือ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี นครปฐม และกรุงเทพฯ ที่ไม่สามารถจัดกิจกรรมสาธารณะรวมคนจำนวนมากได้ เพราะเป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเขตพื้นที่ควบคุม ส่วนจังหวัดอื่นๆ ก็ต้องเฝ้าระวังเข้มงวดมากขึ้น

    เช่นเดียวกับงานอีเวนต์ในมือของ “เทพวรรณ คณินวรพันธุ์” ซีอีโอ บริษัท ZAAP Party จำกัด เปิดเผยกับ Positioning ว่า ขณะนี้งานอีเวนต์ที่บริษัทดูแลเลื่อนไปแล้วเกือบ 10 งาน โดยงานที่จะจัดตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2563 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 จะเลื่อนออกไปก่อนทั้งหมด บางงานมีกำหนดการใหม่แล้ว และบางงานยังไม่มีกำหนด

    “ดีกว่ารอบก่อน เพราะไม่ได้ใช้คำว่ายกเลิกแต่เป็นการเลื่อน รอบก่อนจะมีงานที่ยกเลิกเลย” เทพวรรณกล่าว โดยเขากล่าวถึงสถานการณ์รอบที่มีการล็อกดาวน์ประเทศไทยช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม’63 ซึ่งทำให้งานบางส่วนต้องยกเลิกทันที

    แถลงการณ์เลื่อนการจัดงาน “บางกอกเฟส” โดยยังอยู่ระหว่างพิจารณาการรับคืนบัตร ทำให้มีเสียงวิจารณ์ทั้งบวกและลบ

    สำหรับการระบาดรอบนี้ งานใหญ่ที่สุดที่ส่งผลกระทบกับบริษัทคือ “บางกอกเฟส #เฟสใหญ่ส่งท้ายปี” ซึ่งเดิมจะจัดขึ้นในวันที่ 26-27 ธันวาคม 2563 ที่สวนสนุก Wonder World รามอินทรา มีศิลปินดังขึ้นเวทีถึง 45 ราย และจะรวมผู้ชมในงานถึง 20,000 คน แต่บริษัทได้แจ้งเลื่อนล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา เนื่องจากกังวลกับสถานการณ์การระบาด

    งานนี้จะต้องเลื่อนยาวไปถึงวันที่ 10-11 กรกฎาคม 2564 และบริษัทกำลังติดต่อศิลปินเพิ่มเติมขึ้นเวที เพื่อเป็นการชดเชยลูกค้าที่ได้ซื้อบัตรไว้แล้วและต้องรอไปอีกครึ่งปี อย่างไรก็ตาม หลังมีแผนชดเชยแล้ว หากลูกค้ายืนยันต้องการขอคืนบัตร (refund) ก็จะเปิดให้คืนบัตรได้

    “ถามว่าเจ็บตัวไหม? แน่นอน เพราะเรามีการลงทุนไปแล้ว เวทีจริงๆ เริ่มเซ็ตอัพไปแล้ว” เทพวรรณกล่าว “แต่เราไม่ดื้อ เราไม่เสี่ยงกับการถูกต่อว่า และเราไม่อยากให้ทุกคนไม่สบายใจ”

     

    งัดแผนอีเวนต์ไซส์เล็กกลับมาอีกครั้ง

    ซีอีโอ ZAAP กล่าวว่า สำหรับไตรมาส 1 ปี 2564 ซึ่งงานที่รวมคนจำนวนมากทั้งหมดจะเลื่อนออกไป ทำให้บริษัทต้องปรับแผน นำไอเดียกิจกรรมที่เว้นระยะห่างทางสังคมได้กลับมาจัดใหม่อีกครั้งในช่วงนี้ โดยต่อยอดจากงานเดิมที่เคยจัดช่วงไตรมาส 2-3/63 หลังคลายล็อกดาวน์ แต่นำมาเพิ่มเติมกิมมิกใหม่ให้น่าสนใจขึ้น (อ่านเพิ่มเติม : กลยุทธ์ ZAAP Party พลิกเกม เมื่อ “อีเวนต์” จัดใหญ่เหมือนเดิมไม่ได้)

    คอนเสิร์ตผสานการจัดแคมป์ปิ้ง Social This Camping Event ที่ จ.เชียงราย งานต้นแบบที่จะนำมาปรับใช้กับ Single Camp ปี 2564

    งานที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้วคือ Single Camp เป็นการผนวกรวมไอเดียจาก Single Fest คอนเสิร์ตคนโสดที่เป็น
    งานซิกเนเจอร์ของ ZAAP เข้ากับไอเดียของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่โปรโมตทริปคนโสดแล้วปรากฏว่าขายหมดอย่างรวดเร็ว ภายในงานจะเป็นการตั้งแคมป์กลางป่าเขา กับดนตรีอะคูสติกฟังสบาย บรรยากาศแบบเว้นระยะห่างทางสังคม ไม่แออัด คาดว่าจะจัดได้ 5 จังหวัดเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวด้วย อยู่ระหว่างหารือว่าควรจัดที่ไหนเพื่อความปลอดภัย

    “เรามีฐานคิดว่าจะใช้กิจกรรมที่ทุกคนทำอยู่แล้ว เช่น แคมป์ปิ้ง ทานข้าวร้านอาหาร ท่องเที่ยว มาจัดเป็นอีเวนต์” เทพวรรณกล่าว “จะจับกลุ่มพรีเมียม คนจะไม่มาก ทำให้มีพื้นที่เว้นระยะห่างกันได้”

    เมื่อถามว่างานเล็กแต่พรีเมียมช่วยทดแทนงานขนาดใหญ่ได้แค่ไหน เทพวรรณบอกว่า “ตอนนี้ไม่คาดหวังเรื่องตัวเลขแล้ว”

    “ปีนี้มันไม่มีอะไรที่ปกติ เราคุยกันในบริษัทด้วยซ้ำว่า ‘ปีนี้ไม่ต้องนับ’ ว่าอย่างนั้นได้เลย” เทพวรรณกล่าว “แต่เราไม่อยากให้คิดว่าจัดอะไรไม่ได้ เรามองว่าต่อไปจะทำอะไรดีกว่า เหมือนตอนนี้เรามาสร้างบริษัทขึ้นใหม่ แล้วเราเตรียมพร้อมไว้สำหรับ 3 ปีข้างหน้า”

    ]]>
    1312049
    ออนไลน์ไม่ใช่ทุกอย่าง! หากทดแทนสัมผัสจริงไม่ได้ ผู้บริโภคจะกลับสู่อีเวนต์ on ground https://positioningmag.com/1285864 Tue, 30 Jun 2020 13:43:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285864 “เอ็นไวโร” วิจัยอินไซต์ผู้บริโภคช่วงเริ่มคลายล็อกดาวน์ พบว่ากิจกรรมบางส่วนจะกลับไปสู่วิถีชีวิตแบบเดิม เพราะการรับประสบการณ์ผ่านออนไลน์ยังทดแทน on ground ไม่ได้ แต่บางอย่างก็อาจจะถูกแทนที่ด้วยกิจกรรมออนไลน์อื่นๆ ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปถาวร พร้อมชี้แนวคิดผู้บริโภคยุคหลัง COVID-19 ใส่ใจสุขภาพและการเก็บออมสูงขึ้น แบรนด์ควรปรับวิธีสื่อสารใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์

    “สรินพร จิวานันต์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นไวโร ประเทศไทย จำกัด บริษัทในเครือ อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ ผู้จัดงานอีเวนต์รายใหญ่ เปิดเผยรายงานการวิจัยผู้บริโภคซึ่งสำรวจเมื่อวันที่ 1-15 มิถุนายน 2563 ตั้งคำถามว่า New Normal ที่ทุกคนพูดถึงกันจะเป็นแฟชั่นหรือเกิดขึ้นถาวร?

    โดยงานวิจัยมีการสำรวจกลุ่มประชากร 1,161 คน กระจายตัวจากทั่วประเทศ แบ่งกลุ่มเพศ 50% เพศหญิง และ 50% เพศชาย แบ่งช่วงอายุเป็นกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ 14% กลุ่มเจนเอ็กซ์ 48% เจนวาย 30% และเจนซี 8% สรุปผลงานวิจัยผู้บริโภคยุคหลัง COVID-19 ได้ดังนี้

     

    ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่แฮปปี้กับ “อีเวนต์ออนไลน์”

    สิ่งหนึ่งที่ถูกพูดถึงในช่วงที่ผ่านมาคือ การจัดอีเวนต์คอนเสิร์ต สัมมนา อบรม การเรียน อาจจะปรับไปเป็นการจัดผ่านช่องทางออนไลน์แทน แต่จากการสำรวจครั้งนี้ เอ็นไวโรพบว่า มีผู้บริโภค 15% เท่านั้นที่เคยเข้าร่วมอีเวนต์ออนไลน์ และ 16% ที่เคยสมัครเรียนออนไลน์

    และในกลุ่มที่เคยเข้าร่วมเหล่านี้ มีเพียง 12% ที่พึงพอใจ และ 15% ที่ตอบว่าอีเวนต์ออนไลน์สามารถทดแทนอีเวนต์แบบ onground ได้ ส่วนที่เหลือซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ไม่พึงพอใจและไม่คิดว่าจะทดแทนได้

    (ที่มา : เอ็นไวโร)

    สรินพรกล่าวว่า สาเหตุที่ทดแทนไม่ได้เพราะอีเวนต์ออนไลน์ไม่ตอบโจทย์เรื่อง 5 senses หรือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส การรับประสบการณ์จึงไม่เต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น

    ดังนั้นหากบริษัทหรือแบรนด์ไหนยังต้องการจะปรับไปทำอีเวนต์ออนไลน์ จึงไม่สามารถทำเพียงยกการจัดงานในรูปแบบเดิมมาถ่ายทอดผ่านหน้าจอ แต่ต้องมีอะไรใหม่ๆ ที่ทำให้งานออนไลน์แตกต่าง คนละรูปแบบกับการจัดงาน on ground ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเป็นโลกอีกใบหนึ่ง (ทั้งนี้ มุมมองของ Virtual Solution บริษัทจัดอีเวนต์ออนไลน์มองว่า ในระยะยาวอีเวนต์ออนไลน์จะกลายเป็นรูปแบบหลักของการจัดงาน หรือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ผสมผสานกับการจัดอีเวนต์ on ground สามารถติดตามอ่านได้ที่นี่)

     

    ผู้บริโภคจะกลับไปอีเวนต์ on ground แต่ไม่ได้เกิดขึ้นทันที

    อย่างไรก็ตาม แม้ผู้บริโภคจะไม่พึงพอใจงานอีเวนต์ออนไลน์ และยังต้องการกลับไปงาน on ground แต่ผู้บริโภคถึง 69% ยังคงกังวลกับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา ดังนั้นผู้บริโภคจะตัดสินใจกลับไปทำกิจกรรม on ground ต่างๆ ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน ดังนี้

    • 70% พร้อม “รับประทานอาหารนอกบ้าน” ทันที
    • 44% พร้อม “ท่องเที่ยวในประเทศ” ทันที
    • 36% พร้อม “เดินงานแฟร์” ภายใน 3-6 เดือน
    • 31% พร้อม “ร่วมกิจกรรมงานวิ่ง” ภายใน 3-6 เดือน
    • 58% ไม่พร้อม “ชมกีฬาในสนาม”
    • 59% ไม่พร้อม “ดูภาพยนตร์ในโรง”
    • 66% ไม่พร้อม “ไปเที่ยวผับบาร์”
    • 66% ไม่พร้อม “ชมคอนเสิร์ต”
    • 70% ไม่พร้อม “ท่องเที่ยวต่างประเทศ”
    (ที่มา : เอ็นไวโร)

    จะเห็นได้ว่า มีกิจกรรมที่สามารถกลับสู่วิถีชีวิตปกติได้เลยคือ การรับประทานอาหารนอกบ้านและการท่องเที่ยวในประเทศ และงานที่จะทยอยกลับมาเป็นปกติเร็วๆ นี้คือ งานแฟร์สินค้าต่างๆ และงานวิ่ง ส่วนที่เหลือนั้นผู้บริโภคยังไม่พร้อม

    ทั้งนี้ สรินพรแนะนำว่าเนื่องจากผู้บริโภคยังกังวลเกี่ยวกับ COVID-19 ดังนั้นงาน on ground ที่จัดควรเป็นงานขนาดเล็กแต่จัดถี่ขึ้น

    “ทุกคนในอุตสาหกรรมต้องร่วมมือกันในการปรับโมเดลธุรกิจใหม่ เพราะงานควรจะจัดเล็กลงแต่จัดถี่ขึ้น สถานที่จัดงานอาจจะต้องคำนึงถึงราคาที่เหมาะสมหรือเปลี่ยนมาเป็นโมเดล profit sharing หรือคิดแพ็กเกจใหม่ๆ” สรินพรกล่าว

     

    ถ้ากิจกรรมออนไลน์ทดแทนได้ อาจเกิดขึ้นตลอดไป

    อย่างไรก็ตาม กิจกรรมออนไลน์บางอย่างก็ทดแทนการไปทำกิจกรรมนอกบ้านได้เช่นกัน โดยอาจจะไม่ใช่การแทนกันโดยตรงก็ได้ แต่ทำให้ผู้บริโภคใช้เวลาทำอย่างอื่นแทนในช่วง COVID-19 จนกลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ และละทิ้งการทำกิจกรรมแบบเก่าไป

    ตัวอย่างเช่น เกมออนไลน์และการชมอี-สปอร์ตส กลายเป็นกิจกรรมมาแรง มีการดาวน์โหลดเกมใน Google Play Store เพิ่มขึ้น 25% หรือ Twitch มีผู้ชมเพิ่มขึ้นกว่า 30% ในเดือนมีนาคม ขณะที่ Netflix มียอดสมัครสมาชิกเพิ่ม 22% ในไตรมาสแรกของปีนี้ (ทั้งหมดเป็นข้อมูลรวมทั่วโลก)

    นอกจากนี้ ยังมี “การช้อปปิ้งออนไลน์” ที่เพิ่มขึ้นทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นเดลิเวอรี่ ออนไลน์มาร์เก็ตเพลซ กลุ่มขายของบนโซเชียล รวมถึงทีวีไดเร็คด้วย สวนทางกับร้านค้าออฟไลน์ เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต ตลาด ร้านของชำ ร้านสะดวกซื้อ ที่ลดลงทั้งหมด

    สรินพรมองว่า กิจกรรมเหล่านี้อาจจะทดแทนวิถีชีวิตแบบเก่าได้ถาวร เพราะผู้บริโภคเคยชินกับการทำสิ่งใหม่ไปแล้ว

    “สตรีมมิ่งอาจจะกลายเป็นสิ่งทดแทนโรงภาพยนตร์ โดยเฉพาะกลุ่มเจนเอ็กซ์ถึงเบบี้บูมเมอร์ซึ่งติดบ้านมากขึ้น และสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มเองก็ปรับตัวเพิ่มความเร็วในการนำหนังใหม่เข้ามาฉาย ดังนั้นโรงภาพยนตร์อาจจะต้องปรับตัวในการดึงดูดผู้บริโภคมาที่โรงด้วยมุมอื่นมากกว่าการดูหนัง เช่น มีกิจกรรมพิเศษ หรือปรับไปจัดอีเวนต์อื่นๆ เพิ่มที่เข้ากับผู้บริโภคยุคนี้ เช่น แข่งขันอี-สปอร์ตส” สรินพรกล่าว

     

    “สุขภาพ” + “เก็บเงิน” = ผู้บริโภคสมถะและคิดเยอะขึ้น

    เอ็นไวโรยังสำรวจแนวคิดของผู้บริโภค พบว่าหลัง COVID-19 “เป้าหมายในชีวิต” ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ที่เห็นได้ชัดคือ ความต้องการ “รวย” และ “เที่ยวรอบโลก” ลดลงชัดเจน ขณะที่ความต้องการ “สุขภาพแข็งแรง” เพิ่มมากขึ้น

    สิ่งนี้ส่งผลต่อการใช้เงิน โดยผู้บริโภคเพิ่มสัดส่วน “เงินเก็บ” และ “ค่าใช้จ่ายการรักษาตัว/ประกัน” มากขึ้น และไปลดการใช้จ่ายกับ “สินค้าฟุ่มเฟือย” และ “การท่องเที่ยว”

    เป้าหมายชีวิตที่เปลี่ยนไปหลัง COVID-19 (ที่มา : เอ็นไวโร)

    86% จากที่สำรวจยังบอกด้วยว่าตนเองดู “ความจำเป็น” ก่อนซื้อมากขึ้น และ 65% ดู “ประโยชน์ที่จะได้จากสินค้า” ก่อนซื้อ เห็นได้ว่าผู้บริโภคระมัดระวังการใช้เงิน และต้องการสิ่งที่แสดงฐานะลดน้อยลง

    สรินพรกล่าวว่า ดังนั้นแบรนด์และสินค้าที่จะสื่อสารในยุคนี้ต้องเน้นไปที่ความจำเป็น ประโยชน์ใช้งาน มากกว่าการสื่อสารด้วยอารมณ์ โดยเฉพาะโปรโมชันลดราคาต่างๆ จะได้ผลมาก เพราะทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าคุ้มค่า ประหยัด และสินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพจะได้ปัจจัยบวก

     

    “เจนวาย-เจนซี” มีแนวโน้มใช้จ่ายมากที่สุด

    ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่าธุรกิจที่มีแนวโน้มเชิงลบจะไม่มีโอกาสไปเสียหมด เพราะยังมีข้อยกเว้นเมื่อเจาะไปในกลุ่มช่วงวัยต่างๆ เช่น

    • การชมภาพยนตร์ กลุ่มเจนซี 83% และกลุ่มเจนวาย 49% พร้อมกลับไปทันทีหรือกลับไปภายใน 3-6 เดือน
    • เที่ยวผับบาร์ กลุ่มเจนซี 51% และกลุ่มเจนวาย 42% พร้อมจะกลับไปทันทีหรือกลับไปภายใน 3-6 เดือน
    • ชมกีฬา กลุ่มเจนซี 67% พร้อมจะกลับไปทันทีหรือกลับไปภายใน 3-6 เดือน
    • ชมคอนเสิร์ต กลุ่มเจนซี 44% และกลุ่มเจนวาย 49% พร้อมจะกลับไปทันทีหรือกลับไปภายใน 3-6 เดือน

    เห็นได้ว่ากลุ่มเจนวายและเจนซีคือผู้บริโภคที่พร้อมจะกลับไปทำกิจกรรม on ground มากกว่ากลุ่มเจนเอ็กซ์และเบบี้บูมเมอร์ ดังนั้น สรินพรแนะนำว่าแบรนด์สินค้าหรือบริการอาจจะเน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายนี้ในช่วงที่โรคระบาด COVID-19 ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

    ]]>
    1285864
    อีเวนต์เริ่มฟื้น! “อิมแพ็ค” นำร่องใช้ไฮบริดมิตติ้ง เดือนก.ค. มีลูกค้าจองแล้ว 20 งาน https://positioningmag.com/1285258 Fri, 26 Jun 2020 06:49:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285258 อิมแพ็คเดินหน้าเปิดบริการเต็มรูปแบบภายใต้มาตรฐาน New Normal พร้อมเสริมเทคโนโลยี Hybrid Meeting แจงพื้นที่ศูนย์ฯ มากกว่า 140,000 ตร.ม. ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอบรับรูปแบบจัดงานวิถีใหม่ทุกประเภท เผยกรกฎาคม 2563 ลูกค้าจองพื้นที่จัดงานแล้วมากกว่า 20 งาน

    งานอีเวนต์เริ่มกลับมา

    พอลล์ กาญจนพาสน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวถึงการกลับมาเปิดบริการเต็มรูปแบบอีกครั้ง หลังจากศูนย์บริหารสถานการณ์โรคโควิด-19 (ศบค.) ประกาศคลายล็อกดาวน์ระยะที่ 4 ให้กลุ่มกิจการและกิจกรรมธุรกิจศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าเปิดบริการได้ แต่ยังต้องเข้มงวดในมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรค เนื่องจากเป็นกิจการและกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มของประชาชนจำนวนมาก จึงต้องให้ความสำคัญเรื่องการบริหารจัดการรักษาระยะห่างและการควบคุมความหนาแน่นของผู้ใช้บริการในพื้นที่ ควบคู่กับมาตรการดูแลสุขอนามัยเพื่อความปลอดภัยของทุกคน

    จากข้อมูลเบื้องต้น เดือนกรกฎาคม 2563 ลูกค้าจองพื้นที่จัดงานแล้วมากกว่า 20 งาน แบ่งเป็น กลุ่มงานประชุมสัมมนา จำนวน 11 งาน เช่น การประชุมของหน่วยงานราชการ, การประชุมผู้ถือหุ้นบางกอกแลนด์ กลุ่มงานแสดงสินค้า จำนวน 7 งาน ทั้งของหน่วยงานราชการและเอกชน ซึ่งงานไฮไลต์มีผู้ร่วมงานจำนวนมาก เช่น งานแสดงสินค้าอุปโภคบริโภค Midyear Sale, งานแสดงสินค้าเกี่ยวกับบ้าน HomePro Expo, งานแสดงสินค้าเพื่อแม่และเด็ก BBB Baby and Kids Best Buy, งานแสดงสินค้ายานยนต์ Bangkok Motor Show กลุ่มงานสอบจำนวน 2 งาน เป็นการสอบคัดเลือกบุคคลรับราชการ และกลุ่มงานพิเศษ จำนวน 5-6 งาน เช่น กิจกรรมอินเซนทีฟ กิจกรรมจัดเลี้ยงปาร์ตี้

    “งานใหญ่ของอิมแพ็คที่หลายคนรอคอย คือ บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2020 ครั้งที่ 41 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 15-26 กรกฎาคม 2563 บนพื้นที่รวมกว่า 170,000 ตารางเมตร ถือเป็นงานใหญ่งานแรกสำหรับวงการยานยนต์ของโลกที่จัดขึ้นหลังสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งหลายคนจับตามอง แต่ด้วยเชื่อมั่นถึงการเตรียมความพร้อมของสถานที่จัดงาน นั่นคือ อิมแพ็ค การประกาศผ่อนปรนระยะ 4 ของทางราชการ การดำเนินการจัดงานตามวิถี New Normal และความร่วมมืออันดีของทุกภาคส่วน รวมถึงลูกค้าที่เป็นแฟนประจำงานนี้ที่พร้อมมาชมงานและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการระบาดของไวรัสอย่างเข้าใจและไม่ประมาท จะทำให้การจัดงานครั้งนี้ราบรื่นและประสบความสำเร็จ กลายเป็นต้นแบบให้การจัดงานอื่นๆ ต่อไป”

    จัดมาตรการรับ New Normal

    พอลล์กล่าวว่า ในช่วงที่ปิดบริการกว่า 3 เดือน อิมแพ็คได้เตรียมความพร้อมของพื้นที่และบริการเพื่อให้สอดรับกับระเบียบของทางราชการที่กำหนดข้อปฏิบัติสำหรับกิจการ/กิจกรรมการแสดงสินค้าและการประชุม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยให้ปฏิบัติตามหลายเงื่อนไข เช่น ประชุม อบรม สัมมนา 4 ตร.ม.ต่อคน, จัดเลี้ยง งานอีเวนต์ เปิดตัวสินค้า การประกวด แข่งขันกีฬา ระยะนั่ง-ยืน ห่าง 1 เมตร, งานแสดงดนตรี คอนเสิร์ต ลดหนาแน่น-ไร้ระเบียบ เกณฑ์ 5 ตร.ม./คน เป็นต้น

    พร้อมกันนี้ อิมแพ็คได้จัดทำคู่มือสร้างความเข้าใจร่วมกับลูกค้าผู้จัดงานถึงแนวทางดำเนินการให้บริการในวิถีใหม่ หรือ New Normal จำนวน 7 คู่มือ ได้แก่

    • คู่มือมาตรการความห่วงใยในสุขภาพและความปลอดภัย IMPACT We Do Care
    • คู่มือการจัดงานประชุม-สัมมนา Meeting & Convention
    • คู่มือการจัดงานสังสรรค์ Party
    • คู่มือการจัดงานแสดงสินค้า-นิทรรศการ Exhibition
    • คู่มือการจัดงานสอบ Examination
    • คู่มือการจัดงานแต่งงาน Wedding
    • คู่มือการจัดแสดงคอนเสิร์ต Concert

    โดยทุกคู่มือได้วางข้อปฏิบัติที่เหมาะสมกับกิจกรรมและพื้นที่ของการจัดงาน โดยอ้างอิงข้อมูลคำแนะนำจากทางหน่วยงานด้านสาธารณสุข ระเบียบข้อกำหนดของทางราชการ รวมถึงหน่วยงานผู้กำกับดูแล เช่น สมาคมการแสดงสินค้าไทย (TEA) และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือทีเส็บ (TCEB)

    ยุคนี้ต้อง Hybrid Meeting

    นอกจากนวัตกรรมดูแลสุขภาพอนามัยแล้ว อิมแพ็คเพิ่มความสมาร์ทให้ลูกค้าโดยลงทุนระบบจัดการประชุม Hybrid Meeting หรือ Visual Seminar ซึ่งเป็นระบบที่ตอบรับนโยบายรัฐในการจำกัดความหนาแน่นของการจัดประชุม-สัมมนา อ้างอิงพื้นที่ 4 ตารางเมตรต่อท่าน ทำให้จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมลดลง

    แต่ด้วยระบบไฮบริดสามารถรองรับผู้มาร่วมประชุมในห้องจริง และเปิดลงทะเบียนให้ผู้สนใจร่วมประชุมทางออนไลน์ได้เพิ่มตามจำนวนที่ต้องการ ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสองส่วนสามารถสื่อสารระหว่างกันและมีส่วนร่วมในการประชุมได้เสมือนอยู่ในห้องเดียวกัน ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถลงทะเบียนผู้ร่วมประชุมได้ตั้งแต่ 100-3,000 ท่าน

    ข้อดีนอกจากการเตรียมระบบ รวมถึงกล้องและอุปกรณ์รองรับการจัดประชุมแล้ว ยังมีทีมเจ้าหน้าที่เทคนิคให้การดูแลตั้งแต่เริ่มต้นจนจบงานด้วย เพื่อให้ความสะดวกสำหรับลูกค้าจัดการประชุมสัมมนา แตกต่างจากหลายแห่งที่ลูกค้าจะต้องติดต่อนำระบบเข้ามาเอง

    Source

    ]]>
    1285258