เครือสหพัฒน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 05 Jul 2023 14:16:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ธนูลักษณ์” หลังปรับโครงสร้างธุรกิจแตกไลน์สู่วงการ “การเงิน-อสังหาฯ” ตั้งเป้ารายได้ปี’66 โต 20-30% https://positioningmag.com/1436653 Wed, 05 Jul 2023 08:50:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1436653 “ธนูลักษณ์” หนึ่งในบริษัทเครือสหพัฒน์ ผู้ผลิต “เสื้อผ้าเครื่องหนัง” แบรนด์ดัง เช่น ARROW, ELLE, ERA-WON ปรับโครงสร้างธุรกิจและผู้ถือหุ้นขนานใหญ่ไปเมื่อปี 2565 แตกไลน์สู่วงการ “การเงินอสังหาฯ” เพื่อช่วยเร่งผลกำไร พร้อมต้อนรับ “BTS” เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ คาดการณ์ปี 2566 รายได้พุ่ง 20-30% โดยไตรมาส 1 เห็นอัตรากำไรที่ดีขึ้น 3 เท่า

บมจ.ธนูลักษณ์ (TNL) เป็นหนึ่งในบริษัทเก่าแก่ของเครือสหพัฒน์ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2518 และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2530 รายได้หลักของบริษัทมาจากการเป็นผู้ผลิตและจำหน่าย เสื้อผ้า สิ่งทอ เครื่องหนัง แยกเป็นกลุ่มแบรนด์ที่บริษัทได้รับลิขสิทธิ์การผลิตจำหน่าย เช่น ARROW, ELLE, DAKS, Guy Laroche และกลุ่มแบรนด์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทเอง เช่น ERA-WON เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์ตัวเดียวในการโล้คลื่นลมเศรษฐกิจยุคนี้อาจไม่เพียงพอ ทำให้เมื่อปี 2565 ธนูลักษณ์มีการเปลี่ยนแปลงภายในครั้งใหญ่ ทั้งการปรับโครงสร้างองค์กร/ผู้ถือหุ้น และปรับโครงสร้างธุรกิจ มีการแตกไลน์ไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ

“สุธิดา จงเจนกิจ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ธนูลักษณ์ (TNL) ขึ้นเวทีภายในงาน “นักวิเคราะห์ นักลงทุนพบกลุ่มสหพัฒน์” สรุปการดำเนินงานในปี 2565 ของธนูลักษณ์ทั้งสองส่วน และผลสำเร็จที่เริ่มจะมองเห็นได้ในไตรมาส 1/2566

ธนูลักษณ์
เสื้อผ้าแบรนด์ ARROW

ในส่วนการปรับโครงสร้างองค์กรนั้นเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมปีก่อน ธนูลักษณ์มีการขายหุ้นเพิ่มทุนซึ่งเปิดให้ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนูลักษณ์จึงเป็น บมจ.สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง หรือ SPI ถือหุ้น 42% และ BTS ถือหุ้น 42%

ส่วนการปรับโครงสร้างธุรกิจของธนูลักษณ์ คือการเพิ่มเครื่องยนต์ใหม่ 3 ธุรกิจในกลุ่มการเงินและอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่

  • ธุรกิจสินเชื่อที่มีหลักประกัน – บริษัท ออกซิเจน แอสเซ็ท จำกัด (Oxygen) มุ่งเน้นการให้สินเชื่อกลุ่มลูกค้าบุคคลและองค์กรรายใหญ่
  • ธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและทรัพย์สินรอการขาย – บริษัท บริหารสินทรัพย์ ออกซิเจน จำกัด (OAM) ซื้อพอร์ตสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมาเจรจาปรับโครงสร้างหนี้
  • ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย – บริษัท ทีเอ็นแอล อัลไลแอนซ์ จำกัด (TNLA) ซึ่งจะอาศัยความเชี่ยวชาญของ BTS ผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่ช่วยในการลงทุน
ธนูลักษณ์
โครงสร้างธุรกิจ TNL หลังปรับเปลี่ยนแตกไลน์

 

“ธนูลักษณ์” ตั้งเป้ารายได้ปี’66 เติบโต 20-30%

ย้อนไปช่วงปี 2562 ธนูลักษณ์ทำรายได้รวม 1,779 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 89 ล้านบาท กระทั่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ทั้งรายได้และกำไรต่างลดต่ำลง ขณะที่ปี 2565 บริษัทกลับมาฟื้นตัวทำรายได้รวม 1,960 ล้านบาท กำไรสุทธิ 111 ล้านบาท

สุธิดากล่าวว่า ปี 2566 ซึ่งเป็นปีที่บริษัทปรับโครงสร้างองค์กรและธุรกิจแล้วเต็มปี คาดว่าจะทำรายได้เพิ่มขึ้น 20-30%

โดยการดำเนินงานของเครื่องยนต์ใหม่ทั้ง 3 บริษัทมีความคืบหน้า ดังนี้

  • “Oxygen” ณ ไตรมาส 1/2566 มีพอร์ตสินเชื่อขึ้นไปแตะ 4,200 ล้านบาท และตั้งเป้าจะเพิ่มขนาดพอร์ตอีก 20% ภายในสิ้นปีนี้
  • “OAM” ตั้งเป้าการประมูลซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินไว้ที่ 1,500-2,000 ล้านบาท ภายในสิ้นปีนี้
  • “TNLA” เข้าร่วมลงทุนกับ บมจ.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ ทั้งหมด 7 โครงการ ได้แก่ นิว โนเบิล รัชดา-ลาดพร้าว, โนเบิล เคิร์ฟ, โนเบิล คิวเรท, โนเบิล ครีเอท, นิว คอร์ คูคต สเตชั่น, นิว ไฮป์ สุขสวัสดิ์ และนิว ริเวอร์เรสต์ ราษฎร์บูรณะ
ธนูลักษณ์
นิว ริเวอร์เรสต์ ราษฎร์บูรณะ หนึ่งในโครงการที่ธนูลักษณ์ร่วมลงทุนผ่านบริษัทลูก TNLA

จากผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2566 ที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรากฏว่าธนูลักษณ์ทำรายได้รวม 622 ล้านบาท และทำกำไรสุทธิ 106 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 17%

ที่ผ่านมาธนูลักษณ์มักจะมีอัตรากำไรสุทธิวิ่งอยู่ที่ 4-5% เสมอมา ผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกจึงส่งสัญญาณว่าการปรับโครงสร้างธุรกิจได้ทำให้บริษัทมีอัตรากำไรที่สูงขึ้นไม่น้อยกว่า 3 เท่า

ทั้งนี้ รายได้ในไตรมาสแรกของปีนี้ยังไม่มีรายได้จาก OAM เข้ามา เพราะยังอยู่ในช่วงประมูลซื้อสินทรัพย์ จึงน่าสนใจว่าเมื่อเครื่องยนต์ธุรกิจเดินครบแล้วจะทำให้ “ธนูลักษณ์” เติบโตไปอย่างไร

—————

Tips: ทำไม “ธนูลักษณ์” จึงเลือกร่วมลงทุนกับ BTS? ข้อมูลประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ BTS จากข่าวการร่วมลงทุนกับธนูลักษณ์ระบุว่า เครือสหพัฒน์กับ BTS นั้นมีความผูกพันกันยาวนาน 60 ปีตั้งแต่ รุ่น 1’ ของธุรกิจ เพราะ “ดร.เทียม โชควัฒนา” และ “มงคล กาญจนพาสน์” ต่างก็เป็นชาวจีนโพ้นทะเลที่มาเปิดธุรกิจในย่านเก่าแก่แถบถนนเยาวราช ราชวงศ์ และทรงวาด โดยสมัยนั้น ดร.เทียมทำธุรกิจร้านค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนเถ้าแก่มงคลเป็นช่างซ่อมนาฬิกาและเอเย่นต์นำเข้านาฬิกาจากญี่ปุ่น

ความสัมพันธ์ที่ดีของทั้งสองถูกส่งต่อให้ ‘รุ่น 2’ คือ “บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา” และ “คีรี กาญจนพาสน์” และยังสนิทชิดเชื้อกันจนถึงลูกๆ รุ่น 3 ของทั้งสองครอบครัวเช่นกัน

]]>
1436653
“สหพัฒน์” เตรียมเปิดมิกซ์ยูส “KingSquare” โครงการมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท ย่านพระราม 3 https://positioningmag.com/1436190 Fri, 30 Jun 2023 10:02:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1436190 รุกเข้าสู่วงการอสังหาฯ อย่างต่อเนื่อง “สหพัฒน์” เตรียมเปิดโครงการมิกซ์ยูสใหม่ “KingSquare” ย่านพระราม 3 ติดกับโรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ โดยจะมีทั้งคอนโดฯ ระดับลักชัวรี คอมมูนิตี้มอลล์ และเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ มูลค่ารวมกว่า 1 หมื่นล้านบาท

“วรยศ ทองตัน” กรรมการบริหารและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานลงทุนและยุทธศาสตร์องค์กร บมจ.สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง (SPI) เปิดเผยแผนการลงทุนปีนี้ในเครือ “สหพัฒน์” จะมีการเปิดตัวโครงการ “KingSquare” เป็นมิกซ์ยูสมูลค่าโครงการรวมกว่า 1 หมื่นล้านบาท บนที่ดิน 20 ไร่ บนถนนรัชดาภิเษก-พระราม 3 ติดกับ โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ

โดยโครงการนี้จะประกอบด้วย คอนโดมิเนียม KingSquare Residences ที่พักอาศัยระดับลักชัวรีบนอาคารสูง 52 ชั้น, คอมมูนิตี้มอลล์ และ เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์

เฉพาะส่วนคอนโดฯ และคอมมูนิตี้มอลล์ จะเริ่มงานก่อสร้างภายในไตรมาส 4 ปีนี้ และจะสร้างเสร็จภายใน 30 เดือน หรือราวกลางปี 2569 ขณะที่เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์จะก่อสร้างเป็นเฟสถัดไป

KingSquare สหพัฒน์
แผนที่โครงการ KingSquare

รายละเอียดของ KingSquare Residences จะเปิดตัวในช่วงไตรมาส 3 ขณะนี้ยังไม่เปิดเผยราคา แต่จะเป็นคอนโดฯ หรูที่ตอบโจทย์นักเรียน ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และบุคลากรในโรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ เป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันคิงส์คอลเลจมีนักเรียนศึกษาอยู่ประมาณ 1,200 คน และครูอาจารย์มีจำนวนมากที่เป็นชาวต่างชาติ (*สหพัฒน์ถือหุ้นราว 10% ในโรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ และเป็นผู้ให้เช่าที่ดินแก่โรงเรียน)

คอนโดฯ แห่งนี้มีการร่วมลงทุนกับ Tokyu Corporation จากญี่ปุ่น เข้าถือหุ้นเป็นสัดส่วน 40% โดย Tokyu จะเป็นพาร์ทเนอร์หลักที่แบ่งปันองค์ความรู้ด้านการก่อสร้างให้กับโครงการอีกด้วย

KingBridge Tower คาดก่อสร้างเสร็จ ไตรมาส 4 ปี 2567

ก่อนหน้านี้สหพัฒน์มีการลงทุนอสังหาฯ ในย่านพระราม 3 มาแล้ว โดยลงทุนโครงการตึกออฟฟิศ “KingBridge Tower” ริมถนนพระราม 3 ติดกับสะพานภูมิพล ใกล้ BRT วัดด่าน

โครงการ KingBridge Tower เป็นอาคารสำนักงานเกรด A สูง 52 ชั้น พื้นที่เช่ากว่า 44,000 ตร.ม. มูลค่าโครงการ 6,000 ล้านบาท คาดว่าจะสร้างเสร็จไตรมาส 4 ปี 2567 และหลังสร้างเสร็จจะใช้พื้นที่ 50% เป็นสำนักงานของเครือสหพัฒน์ ขณะที่อีก 50% จะปล่อยเช่าทั่วไป ปัจจุบัน JLL เอเย่นต์โครงการระบุราคาเช่าไว้ที่ 999 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน

วรยศกล่าวว่า กลยุทธ์การลงทุนของสหพัฒน์ในระยะหลัง ต้องการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตเข้าสู่ธุรกิจประเภทธุรกิจบริการมากขึ้น โดยขณะนี้มีการลงทุนหลายกลุ่ม บางโครงการลงทุนด้วยตนเอง และหลายโครงการมีการจอยต์เวนเจอร์หรือถือหุ้นบางส่วน เช่น

  • กลุ่มการศึกษา – โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ, โรงเรียนบุนกะแฟชั่น, โรงเรียนภาษาญี่ปุ่นวาเซดะ
  • กลุ่มการแพทย์ – โรงพยาบาลนวเวช เกษตรนวมินทร์
  • กลุ่มอสังหาฯ – โครงการออฟฟิศ KingBridge, โครงการมิกซ์ยูส KingSquare, โครงการทิวทะเลเวิลด์ และ ศศรา หัวหิน, โครงการ J-Town ศรีราชา, การลงทุนร่วมกับ NOBLE รวม 7 โครงการ

“เร็วช้าหนักเบาในการลงทุนต่างๆ อยู่ที่จังหวะที่เหมาะสม” วรยศกล่าวถึงกลยุทธ์การลงทุนด้านบริการหลังจากนี้ ไม่ได้ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน แต่ขึ้นกับโอกาส ทั้งนี้ ในแง่ของแลนด์แบงก์กรุงเทพฯ ยังมีที่ดินเหลือบางส่วนในย่านพระราม 3 ที่อาจพัฒนาเพิ่มเติมอีกในอนาคต

]]>
1436190
ไม่แก่แล้ว! “โอซีซี” พลิกโฉม “KMA” และ “Guy Laroche” ให้โดนใจวัยรุ่น นำเข้าแบรนด์ทดแทน “Shiseido” https://positioningmag.com/1436169 Fri, 30 Jun 2023 08:11:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1436169
  • โอซีซี บริษัทในเครือ “สหพัฒน์” ประกาศรีเฟรชแบรนด์ในระดับองค์กรให้ทันสมัย และนำร่องพลิกโฉมแบรนด์เครื่องสำอาง “KMA” และชุดชั้นใน “Guy Laroche” ให้โดนใจวัยรุ่น
  • KMA มีการปรับโลโก้และแพ็กเกจจิ้งใหม่หมด และวางตำแหน่งทางการตลาดเป็นแบรนด์เครื่องสำอาง “Genderless” ดึงนักร้องสาว “โบกี้ไลอ้อน” เป็นพรีเซ็นเตอร์สินค้ากลุ่มรองพื้น
  • ด้านกลยุทธ์หลังเสียสิทธิจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เส้นผมของ “Shiseido” ไปเมื่อปีก่อน โอซีซีได้คว้าสิทธิจัดจำหน่ายแบรนด์ทดแทนคือ “Wella” จากเยอรมนี และ “Demi” จากญี่ปุ่น
  • บริษัท โอซีซี จำกัด (มหาชน) หนึ่งในปีกสินค้าแฟชันของเครือ “สหพัฒน์” ที่ต้องผ่านมรสุมในช่วงโควิด-19 จนมีผลขาดทุนติดต่อกัน 2 ปี โดยปี 2564 ขาดทุน -1.97 ล้านบาท และปี 2565 ขาดทุน -22.82 ล้านบาท เฉพาะปีที่ผ่านมามีปัจจัยลบเพิ่มอีกหนึ่งอย่างคือการเสียสิทธิจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เส้นผมของ Shiseido (ชิเซโด้) เพราะการเปลี่ยนแปลงในบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น

    ในปี 2566 นี้บริษัทจึงต้อง “ปรับใหญ่” โดยแม่ทัพหญิง “ธีรดา อำพันวงษ์” กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารแห่งโอซีซี ประกาศการปรับโลโก้บริษัทให้ทันสมัย และปีนี้จะมีการนำร่องปรับแบรนด์ในเครือ 2 แบรนด์

    โอซีซี
    “ธีรดา อำพันวงษ์” กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โอซีซี จำกัด (มหาชน) กับโลโก้ใหม่ของบริษัท

     

    KMA พลิกโฉมหมดจด “มินิมอล ทันสมัย และ Genderless”

    เริ่มจากเครื่องสำอาง “KMA” เริ่มปรับลุคใหม่หมดตั้งแต่โลโก้จนถึงแพ็กเกจจิ้ง ทำให้ลุคแอนด์ฟีลของผลิตภัณฑ์ดูมินิมอล ทันสมัย ให้ภาพที่พรีเมียมขึ้น เข้ากับรสนิยมคนรุ่นใหม่ในยุคนี้ รวมถึงปรับจุดยืนของแบรนด์ให้เป็น “Genderless” เครื่องสำอางของคนทุกเพศ

    ธีรดายังแย้มด้วยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้ บริษัทจะมีแคมเปญใหญ่ดึงตัว “โบกี้ไลอ้อน” นักร้องสาวชื่อดัง มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับผลิตภัณฑ์รองพื้นของ KMA ช่วยกระตุ้นแบรนด์ให้เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภค

    KMA โอซีซี
    ดีไซน์โลโก้และแพ็กเกจจิ้งเปลี่ยนโฉมใหม่ ฉีกแนวแตกต่างจากเดิม

     

    Guy Laroche ไม่ใช่ชุดชั้นในสูงวัยอีกต่อไป

    ขณะที่อีกแบรนด์ในเครือที่เป็นผลิตภัณฑ์สำคัญอย่างชุดชั้นในและชุดว่ายน้ำ “Guy Laroche” (กีลาโรช) ธีรดากล่าวว่า บริษัททำการศึกษาตลาดพบว่า แบรนด์ยังถือเป็น Top of Mind ของผู้บริโภค หากคิดถึงชุดชั้นในลูกไม้ชั้นสูงจากฝรั่งเศส แต่โจทย์สำคัญของแบรนด์คือ ผู้บริโภคมองว่าเป็นชุดชั้นในที่ ‘สูงวัย’ ทำให้โอซีซีเริ่มปรับการสื่อสารแบรนด์ให้เชื่อมโยงกับวัยรุ่นมากขึ้น

    จะเห็นได้ว่าแบรนด์เริ่มมีแคมเปญถ่ายแบบที่เปลี่ยนจากการใช้นางแบบลุคชาวต่างชาติ มาเป็นลุคคนไทยวัยรุ่น สวมใส่ชุดชั้นในในลักษณะที่เป็นแฟชันหนึ่งในชีวิตประจำวัน

    โอซีซี Guy Laroche
    ปรับการสื่อสารผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เข้ากับคนรุ่นใหม่มากขึ้น

     

    คว้าแบรนด์ “Demi” ทดแทน “Shiseido”

    ธีรดายังกล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อปีก่อนที่บริษัท Henkel ในเยอรมนี เข้าซื้อกิจการกลุ่ม “Hair Professional” หรือกลุ่มดูแลเส้นผม เฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของแบรนด์ “Shiseido” ซึ่ง Henkel เลือกที่จะจัดสรรสิทธิจัดจำหน่ายในเขตเอเชียแปซิฟิกใหม่ทั้งหมด โอซีซีจึงเสียสิทธิในแบรนด์สำคัญไป

    อย่างไรก็ตาม โอซีซีได้นำเข้าและได้สิทธิจัดจำหน่ายแบรนด์มาทดแทนตลาด ได้แก่ “Wella” แบรนด์ดูแลเส้นผมจากเยอรมนี และ “Demi” แบรนด์ดูแลเส้นผมจากญี่ปุ่น

    ผลิตภัณฑ์กลุ่มทำสีผม

    โดยเฉพาะ Demi นี้ธีรดามองว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนได้เป็นอย่างดี เพราะแบรนด์มีชื่อเสียงในด้านการทำสีผม และกลุ่มแชมพูระดับพรีเมียม ซึ่งเหมาะกับช่องทางจำหน่ายประเภทร้านทำผม/ซาลอนที่โอซีซีมีเครือข่ายอยู่มากกว่า 600 แห่ง

    ธีรดายังกล่าวปิดท้ายถึงการเพิ่มศักยภาพอีคอมเมิร์ซในปีนี้ บริษัทจะเร่งปั้นแบรนด์ในเครือผ่านการทำงานร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบิวตี้บล็อกเกอร์ ดารานักแสดง เซเลป นางงาม ช่างแต่งหน้า ฯลฯ

    ทั้งนี้ แบรนด์ภายใต้โอซีซีนั้นมีมากกว่า 10 แบรนด์ ที่เป็นพอร์ตโฟลิโอสำคัญ เช่น กลุ่มเครื่องสำอาง Covermark, KMA กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม Demi, Wella, BSC Hair Care และกลุ่มผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า เช่น Guy Laroche สำหรับไตรมาส 1/2566 โอซีซีทำรายได้ 232 ล้านบาท และทำกำไร 0.31 ล้านบาท

    ]]>
    1436169
    ‘มาม่า’ ร้องต้นทุนพุ่ง 150% ทำ ‘ขาดทุน’ แล้ว 2 เดือน ย้ำตรึงไม่ไหวยังไงก็ต้อง ‘ขึ้นราคา’ https://positioningmag.com/1390974 Fri, 01 Jul 2022 15:55:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1390974 ปี 2022 ถือเป็นการครบรอบ 80 ปีของ เครือสหพัฒน์ ยักษ์ใหญ่สินค้าอุโภคบริโภคของเมืองไทยที่มี มาม่า แบรนด์พระเอกของเครือที่ครบรอบ 50 ปี ในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ปีนี้อาจไม่ได้ใจดีกับเครือสหพัฒน์นัก เพราะด้วยสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าต่าง ๆ พุ่งอย่างก้าวกระโดด และถือเป็นวิกฤตที่หนักสุดเท่าที่เคยเจอมาเลยทีเดียว

    ต้นทุนพุ่งกว่า 150% ยังไงต้องขึ้นราคา

    เวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ยอมรับว่า ราคาวัตถุดิบนั้นเริ่มปรับตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงก่อนเกิดสงคราม แต่ลสงครามส่งผลให้ต้นทุนพุ่งอย่างก้าวกระโดด ซึ่งถือว่าเป็น วิกฤตหนักสุด และถือว่า ท้าทายที่สุด เท่าที่เคยเจอมา

    โดย 2 วัตถุดิบหลักที่คิดเป็นครึ่งหนึ่งของต้นทุนการผลิตอย่าง น้ำมันปาล์ม ราคาขึ้น 110% ส่วน ข้าวสาลี ขึ้น 53% ขณะที่ น้ำมัน ก็ทำให้ต้นทุนโดยรวมขึ้นหมด โดยเฉพาะในการผลิต แพ็กเกจจิ้ง และ การขนส่ง

    “ตอนนี้ต้นทุนของเรามันทะลุเพดานไปนานแล้ว แต่ที่ผ่านมาเรายังตรึงราคาได้เพราะยังมีสต็อกวัตถุดิบ แต่ตอนนี้ไม่ไหวแล้ว เราขาดทุนมาแล้ว 2 เดือน ทำให้ต้องยื่นเรื่องขอขึ้นราคา 1 บาทกับกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเราเชื่อว่ากระทรวงพาณิชย์เข้าใจ แต่อาจต้องใช้เวลาพิจารณาเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับปากท้องประชาชน”

    ขึ้นราคากำไรก็ยังไม่เท่าเดิม

    เวทิต กล่าวต่อว่า แม้ว่ามาม่าขึ้นราคาจาก 6 เป็น 8 บาท แต่ กำไรก็ยังไม่เท่ากับก่อนหน้า และมองว่าหากมาม่าขึ้นราคาก็ยังถูกกว่าสินค้าอื่น ๆ ที่ปรับขึ้น ดังนั้น เชื่อว่าจะ ไม่ส่งผลกระทบกับผู้บริโภค แต่ในระยะแรกอาจจะมีช็อกบ้าง เนื่องจากต้องยอมรับว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคปีนี้แย่หนักกว่าช่วงโควิด

    ทั้งนี้ ภาพรวมตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่า 20,000 ล้านบาท ในครึ่งปีแรกเติบโต 7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ส่วนทั้งปีคาดว่าจะเติบโตได้ 3-5% โดยมาม่ายังครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 โดยช่วงครึ่งปีแรกมีอัตราการเติบโตกว่า 7%

    “ต้องยอมรับก่อนว่า มาม่าถือเป็นของที่ถูกที่สุดที่คนจะหาได้ ดังนั้น แม้ครึ่งปีหลังตลาดจะปรับราคาสินค้าก็ยังขายได้ แต่ที่ประเมินว่าตลาดจะเติบโตน้อยเป็นเพราะปีที่ผ่านมาตลาดโตเยอะ โดยเฉพาะช่วงครึ่งปีหลังที่เริ่มเดินทางได้”

    ไปสู่ความพรีเมียมและส่งออกมากขึ้น

    สำหรับแผนช่วงครึ่งปีหลังนี้ สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม พรีเมียม โดยที่ออกมาแล้ว อาทิ ชุดครบรอบ 50 ปี ราคาซองละ 10 บาท และ ชุดลดโซเดียม ราคา 8 บาท โดยที่ผ่านมา ตลาดพรีเมียม (ราคา 10 บาทขึ้นไป) เป็นกลุ่มที่เติบโตอย่างมาก โดยมาม่าเองเติบโตได้ถึง 28% ขณะที่ภาพรวมตลาดเติบโต 15% ปัจจุบัน สินค้ากลุ่มพรีเมียมของมาม่าคิดเป็น 20% ของพอร์ต

    นอกจากนี้ มาม่าจะเพิ่มการส่งออกมากขึ้น เนื่องจากเห็นความต้องการที่เติบโต โดยปัจจุบันสินค้าส่งออกคิดเป็นสัดส่วน 30% และสินค้าใหม่ที่ออกในช่วงครึ่งปีหลังจะเป็นการผลิตโดยคำนวณบนฐานต้นทุนใหม่ทั้งหมด

    “เราไม่ได้ตั้งเป้าว่าพอร์ตสินค้าพรีเมียมจะต้องโตเป็นเท่าไหร่ เราไม่ได้จะเน้นเฉพาะตลาดพรีเมียม เมื่อมีความต้องการที่ไหนเราผลิต เมื่อมีการแข่งขันเราก็ปรับตัว ดังนั้น สัดส่วนสินค้าไม่ใช่ประเด็น เพราะมาม่าเป็นแบรนด์ของทุกคน”

    มาม่าไม่ใช่ตัวชี้วัดเศรษฐกิจ

    สุดท้าย เวทิต ย้ำว่า ต้นทุนจะยังสูงขึ้นต่อเนื่องและอาจลากยาวกว่าที่คิด อย่างไรก็ตาม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่เคยเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจแบบผกผัน แต่เป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจในทางตามกัน หากเศรษฐกิจดีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขายดีมาก เศรษฐกิจไม่ดีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็ยังขายได้

    “ผู้บริโภคช็อกไปแล้ว แต่ต้องยอมรับความจริงว่าของแพงขึ้นทั้งโลก หลายคนชอบถามว่า ขึ้นราคาแล้วก็ไม่ลงแล้วสิ นั่นไม่จริง เพราะเราไม่ใช่แบรนด์เดียวในตลาด ใคร ๆ ก็อยากได้มาร์เก็ตแชร์ มันจะต้องต่อสู้กันอยู่แล้ว เพราะตลาดเสรีไม่ใช่ตลาดผูกขาด อย่าไปคุมมันมากเดี๋ยวมันจะหาทางไปเอง”

    ]]>
    1390974
    ‘เจ้าสัวสหพัฒน์’ มองปัญหาต้นทุนหนักกว่า ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ แนะรัฐคุมนานสินค้าอาจ ‘ขาดแคลน’ https://positioningmag.com/1388352 Thu, 09 Jun 2022 12:34:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388352 หากพูดถึงเครือ ‘สหพัฒน์’ เชื่อว่านี่คือชื่อที่อยู่คู่สินค้าอุปโภคบริโภคของคนไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะ ‘มาม่า’ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เปรียบเสมือนเพื่อนยามยากเวลาหิว โดยภายในงานแถลงข่าว งานสหกรุ๊ปแฟร์ ครั้งที่ 26 เจ้าสัวบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาเปิดใจถึงวิกฤตต้นทุนสินค้า ที่ส่งผลกระทบต่อสินค้าอุปโภคบริโภคในไทยว่า ครั้งนี้หนักกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อ 26 ปีที่แล้วเสียอีก

    ปัญหาต้นทุนหนักกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง

    บุณยสิทธิ์ ยอมรับว่า ปัญหาเรื่องต้นทุนวัตถุดิบในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา หรือนับตั้งแต่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบต่อราคาวัตถุดิบมากกว่าช่วง 2 ปีที่เกิดวิกฤตโควิด และส่งผลกระทบรุนแรงกว่าช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 หรือ 26 ปีที่แล้ว ซึ่งช่วงนั้นเงินบาทอ่อนตัวส่งผลให้สินค้าขึ้นราคา แต่เมื่อก่อนเป็นการ ค่อย ๆ ปรับขึ้น แต่ครั้งนี้ ขึ้นพรวดเดียว

    “เราจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์ครั้งแรกเมื่อช่วงที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง และเวลานี้เหตุการณ์เหมือนกับ 26 ปีที่แล้ว โดยมีสงครามเป็นตัวทำให้ของขึ้นราคาและไม่รู้ว่าจะไปจบตรงไหน ซึ่งตอนนี้ สินค้าที่กระทบสุดมากที่สุด คือ ข้าวสาลี น้ำมันปาล์ม และนำมัน เลยทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกระทบก่อน”

    บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)

    ด้วยปัญหาต้นทุน ทำให้สินค้าในเครือต้องมีการปรับราคาไม่เช่นนั้นบริษัทก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผงซักฟอก โดยตอนนี้กำลังรอเจรจากับกระทรวงพาณิชย์เพื่ออนุมัติเรื่องการปรับราคาเนื่องจากปัญหาต้นทุน เพราะถ้ายิ่งควบคุมนาน มีโอกาสที่สินค้าจะขาดตลาด เพราะวัตถุดิบในการผลิตไม่เพียงพอ เหมือนกรณีของ วัคซีน อย่างไรก็ตาม จะขึ้นราคามากน้อยแค่ไหนต้องรอพิจารณาจากต้นทุนวัตถุดิบอีกที

    “ตอนนี้ทุกประเทศขึ้นราคาหมด เราเองตอนนี้ก็แบกต้นทุนอยู่ ดังนั้น ยังไงก็ต้องขึ้น แต่การขึ้นราคา ต้องค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ผู้บริโภคยอมรับได้”

    แนะดันส่งออกบรรเทาวิกฤตต้นทุน

    สถานการณ์จะดีขึ้นเมื่อไหร่นั้นขึ้นอยู่กับสงคราม จากตอนแรกคาดว่าจะจบภายในไม่ถึงเดือน แต่ปัจจุบันลากยาวมากว่า 3 เดือน ดังนั้น ต้องเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด เครือสหพัฒน์เองก็ไม่ได้วางแผนไว้ตายตัว เพราะต้องรอดูสถานการณ์สงครามวันต่อวัน

    อย่างไรก็ตาม มองว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะดีกว่า 2 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถกลับไปสู่ช่วงก่อนเกิดโควิด เพราะแม้มีวิกฤตเงินเฟ้อแต่ไม่ต้องล็อกดาวน์เหมือนที่ผ่านมา อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหาร ดังนั้น มองว่าการส่งออกเป็นอีกแนวทางบรรเทาปัญหาต้นทุน

    “เชื่อว่าประเทศไทยฟื้นตัวเร็วกว่าประเทศอื่นในฝั่งเอเชียด้วยกัน เพราะเราเป็นประเทศส่งออกอาหาร แม้ไทยจะเจอผลกระทบก็จริง แต่คนไทยก็ปรับตัวได้เร็ว”

    จะอยู่รอดต้องเปิดทางคนรุ่นใหม่

    บุณยสิทธิ์ คาดว่า เครือสหพัฒน์ต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปี รายได้ถึงจะกลับไปเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด โดยจากนี้ก็จะเน้นสินค้าในกลุ่ม เฮลท์แคร์ และเวลเนส เนื่องจากคนหันมาดูแลสุขภาพตั้งแต่ช่วงโควิดที่ผ่านมา และมองว่า ธุรกิจจากนี้จะอยู่รอดได้ต้องปรับตัวและต้องเปลี่ยนมือให้ คนรุ่นใหม่ มารับช่วงต่อ

    แต่ละช่วงไม่เหมือนกัน เราต้องทำใจให้เปลี่ยนทันเหตุการณ์ ตอนนี้สหกรุ๊ปแฟร์เปลี่ยนให้คนใหม่มารับต่อ ไม่ได้เอาคนเก่ามาดู เพราะเราต้องยอมรับว่ารุ่นใหม่เขามีความสามารถแบบหนึ่ง คนเก่าก็มีความสามารถอีกแบบ คนรุ่นเก่าอาจเก่าเรื่องระวังตัว คนรุ่นใหม่เก่าเทคโนโลยี เราพยายามทำให้การเปลี่ยนเเปลง ทำให้เกิดผลบวก”

    สินค้าแฟชั่นปีนี้โตเพราะไม่มี Work From Home

    ธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในเครือสหพัฒน์ กล่าวเสริมว่า ในส่วนต้นทุนผ้าของบริษัทก็พุ่งขึ้นตั้งแต่ 50-100% ตั้งแต่เกิดสงครามเป็นต้นมา เนื่องจากน้ำมันขึ้นราคา ดังนั้น ไอ.ซี.ซี ก็เพิ่มไลน์สินค้าใหม่ แม้มีราคาสูงแต่ผู้บริโภคบางคนยังยอมจ่าย เพราะอั้นมาจาก 2 ปีก่อนเนื่องจากตลาดปิด

    นอกจากนี้ สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผ้าอย่าง เอสเซ้นซ์ ก็ต้องขึ้นราคาไม่ช้าก็เร็ว เพราะวัตถุดิบหลักได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันเช่นกัน แต่สินค้ากลุ่มดังกล่าวยังมีกลไกตลาดควบคุมอยู่ ดังนั้น อาจจะยังต้องทนแบกต้นทุนอยู่ดี

    “จริง ๆ ราคามันควรจะขึ้นตอนนี้แล้วเพราะโรงงานก็ไม่ไหวแล้ว แต่ที่ราคายังไม่ขึ้นเพราะสินค้าในตลาดตอนนี้ยังเป็นล็อตเก่าอยู่ ซึ่งเราคงจะขึ้นราคาสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าควบคุม แต่คงขึ้นไม่เกินเพดานที่ตั้งไว้ เพราะราคาปัจจุบันยังมีช่องให้ขึ้นได้อยู่”

    สำหรับผลประกอบการ ไอ.ซี.ซี ปีนี้คาดว่าจะเติบโตได้ประมาณ 20% เป็นอย่างน้อย จากปีที่ผ่านมาติดลบเกือบ -50% อย่างไรก็ตาม ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ไอ.ซี.ซี.ได้ปรับวิธีการทำงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายได้พอสมควร ทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มมากขึ้น แม้ยอดขายในปัจจุบันจะไม่เท่ากับช่วงก่อนโควิดก็ตาม

    “แม้จะมีปัญหาเงินเฟ้อ แต่เชื่อว่าธุรกิจแฟชั่นและ FMCG ยังไงก็โตเพราะมีปัจจัยบวกจากการเลิก Work From Home คนเลยแต่งตัวออกจากบ้านมากขึ้น เราก็มีสินค้าใหม่ที่ยังเพิ่ม Need ลูกค้าได้อยู่”

    ]]>
    1388352
    ครบรอบ 50 ปี “มาม่า” ครองตลาดไทย 50% อีก 5 ทศวรรษข้างหน้าลุยครอง “ตลาดโลก” https://positioningmag.com/1374105 Tue, 15 Feb 2022 10:04:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374105 “มาม่า” ยึดครองตลาดเมืองไทยได้อย่างเหนียวแน่น เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ชื่อยี่ห้อกลายเป็นชื่อเรียกสินค้าที่ผูกพันกับคนไทยมายาวนาน 50 ปี แต่การ “ไปต่อ” ของมาม่าจะเติบโตได้ต้องอาศัย “ตลาดโลก” และการพัฒนาสินค้าระดับ “พรีเมียม” กำไรสูงให้ได้มากขึ้น

    ครอบครัว “พะเนียงเวทย์” ยกทัพจัดแถลงข่าวร่วมกันในวาระครบรอบ 50 ปีของ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิต “มาม่า” ในเครือสหพัฒนพิบูล

    มาครบทั้ง “พิพัฒ พะเนียงเวทย์” ซีอีโอและรองประธานกรรมการ “ดร.พจน์ พะเนียงเวทย์” กรรมการผู้อำนวยการ “ดร.พจนี พะเนียงเวทย์” รองผู้อำนวยการ แม่ทัพด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ “พจนา พะเนียงเวทย์” กรรมการธรรมาภิบาลและบริหารความเสี่ยง แม่ทัพด้านตลาดต่างประเทศ “เพชร พะเนียงเวทย์” ที่ปรึกษาบริษัท และผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด 2 บมจ.สหพัฒนพิบูล ดูแลงานขายและการตลาดให้มาม่า “พันธ์ พะเนียงเวทย์” ผู้จัดการสำนักกรรมการผู้อำนวยการ ร่วมด้วย “ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์” ที่ปรึกษาบริษัท

    มาม่า
    กลุ่มผู้บริหาร บมจ.ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์

    50 ปีของมาม่า เริ่มจากการร่วมทุนของสหพัฒน์กับบริษัท เพรซิเดนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จากไต้หวันเมื่อปี 2515 ก่อนที่ฝั่งไทยจะซื้อหุ้นทั้งหมดในเวลาต่อมา ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายวิกฤต จากการบริหารความเสี่ยง ไม่ลงทุนเกินตัว และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งรสชาติใหม่ สินค้าใหม่ แพ็กเกจจิ้งใหม่ จนถึงวิธีการผลิตที่ทำให้ประหยัดต้นทุนมากขึ้น ชีวิตคนโรงงานดีขึ้น

    ระหว่าง 5 ทศวรรษนี้ มาม่าขึ้นราคามาเพียง 3 เท่า จากซองละ 2 บาทเป็นซองละ 6 บาท โดยยึดหลักการผลิตสินค้า 5 เสาหลักคือ อร่อย สะดวก ปลอดภัย เก็บได้นาน และประหยัด ทำให้พยายามตรึงราคาไว้ ขึ้นราคาครั้งสุดท้ายก็เมื่อปี 2551 ที่บริษัทมองว่าไม่สามารถจัดการต้นทุนได้แล้ว

    อย่างไรก็ตาม 5 ทศวรรษถัดไปจากนี้ “มาม่า” จะมีการเพิ่มเข้าไปอีก 2 เสาในการพัฒนาสินค้า คือ มีคุณค่า และรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อตามให้ทันผู้บริโภคยุคใหม่ และให้สอดคล้องกับการเข้าสู่ “ตลาดโลก”

     

    “ตลาดโลก” จะเป็นครึ่งหนึ่งของรายได้ “มาม่า”

    พื้นฐานไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ปัจจุบัน ปี 2564 ทำยอดขายไปประมาณ 14,000 ล้านบาท (ไม่รวมรายได้จากการถือหุ้นในบริษัทต่างๆ) แบ่งเป็นตลาดไทย 10,000 ล้านบาท และตลาดต่างประเทศ 4,000 ล้านบาท

    ในไทยนั้นไม่ต้องพูดถึง มาม่าเป็นเจ้าตลาดมีมาร์เก็ตแชร์ถึง 50% แต่เนื่องจากตลาดกำลังอิ่มตัว เพชรระบุว่า คนไทยมีอัตราการรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 53.2 หน่วยต่อคนต่อปี เป็นอันดับ 5 ของโลก และเทียบกับค่าเฉลี่ยโลกที่รับประทานกัน 15 หน่วยต่อคนต่อปี คนไทยนับว่าทานมากกว่าหลายเท่า

    มาม่า ชุดครบรอบ 50 ปี นำ 3 รสชาติที่คนคิดถึงกลับมาขายแบบ Limited Edition ได้แก่ ข้าวซอยไก่, เส้นโฮลวีตรสหมูพริกไทยดำ และบะหมี่หยกแห้งรสเป็ดย่าง

    โอกาสที่เห็นชัดจึงไปอยู่กับตลาดประเทศอื่นๆ ทั้งประเทศที่ผู้บริโภคทานบะหมี่กึ่งฯ สูงมากอยู่แล้ว เช่น เกาหลีใต้ ทานกัน 75-80 หน่วยต่อคนต่อปี และประเทศที่ทานน้อยจนมีช่องว่างให้ทำตลาดผลักดันการรับประทานเพิ่ม เช่น ประเทศแถบตะวันตก ประเทศในทวีปแอฟริกา

    พจนาแจกแจงว่า ปัจจุบันมาม่าส่งออกอยู่แล้ว 68 ประเทศทั่วโลก โดยมีทั้งส่งออกจากโรงงานในไทย 5 แห่ง และโรงงานต่างประเทศ 4 แห่งที่เมียนมา กัมพูชา บังกลาเทศ และฮังการี แบ่งสัดส่วนทวีปที่ส่งออก ดังนี้

    • 50% เอเชีย
    • 28% ยุโรป
    • 18% อเมริกา
    • 3% ออสเตรเลีย
    • 1% แอฟริกา
    มาม่า โอเรียนทอลคิทเช่น หนึ่งในสินค้ากลุ่มพรีเมียม

    สินค้าที่ส่งไปแบ่ง 80% เป็นตลาดแมส คือกลุ่มมาม่าปกติเหมือนที่มีขายในไทย และ 20% เป็นกลุ่มพรีเมียมและไฮแวลู เช่น มาม่าโอเรียนทอลคิทเช่น, เฝอ, เส้นพาสต้าปราศจากกลูเตน, เส้นพาสต้าผลิตจากข้าวเจ้าออร์แกนิกส์ เหมาะกับคนต่างชาติที่แพ้กลูเตนกันมาก

    จากการปูทางในตลาดโลกมานาน เป้าหมายต่อไปของมาม่าจะบุกหนักมากขึ้น โดยตั้งเป้าทำรายได้ต่างประเทศเพิ่มเป็น 15,000 ล้านบาท ภายในปี 2569 ซึ่งคาดว่าจะมีสัดส่วน 50% ของรายได้รวมบริษัท (นั่นเท่ากับว่า ปีนั้นมาม่าจะสร้างยอดขายรวมประมาณ 30,000 ล้านบาท) การเติบโตนี้จะต้องก้าวกระโดด 4 เท่าตัวภายใน 4 ปี!

    ตัวอย่างสินค้าที่ขายในต่างประเทศ: พาสต้าปราศจากกลูเตน

    กลยุทธ์ที่จะไปถึงยอดขายดังกล่าว พจนากล่าวว่า บริษัทมีการร่วมงานกับพาร์ทเนอร์ผู้จัดจำหน่ายในแต่ละประเทศ ผลักดันกลยุทธ์การตลาดผ่านดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง, ใช้อินฟลูเอนเซอร์, เพิ่มช่องทางจำหน่ายผ่านอีคอมเมิร์ซ โดยแนวทางหลักพยายามดึงลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งมีกำลังซื้อมาทดแทนกลุ่มผู้สูงวัย

    รวมถึงพยายามขยายโอกาสจากเดิมเน้นชาวเอเชียในต่างประเทศ ขยายเป็นชาวต่างชาติท้องถิ่นมากขึ้น มีการออกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับคนต่างชาติสูงขึ้นดังที่กล่าวไป ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นสินค้าไฮแวลูที่ทำกำไรสูง

     

    ตั้ง “โรงงาน” ให้ครบทุกทวีป

    ในแง่การลงทุนเพิ่ม มาม่าจะขยายออฟฟิศและเพิ่มผู้จัดจำหน่าย แบ่งเป็น 2 เฟส คือ เฟสแรกในประเทศฮังการี อินเดีย มาเลเซีย และเวียดนาม ส่วนเฟสที่สองจะจัดตั้งในสหรัฐฯ ตะวันออกกลาง และทวีปแอฟริกา

    แผนการตั้งออฟฟิศและตัวแทนจัดจำหน่ายต่างประเทศเพิ่มเติม

    ไม่เฉพาะการขายและการตลาดเท่านั้น พจนากล่าวว่า มาม่ามีแผนระยะยาวจะตั้งโรงงานให้ครบทุกทวีปภายใน 5 ปี โดยทวีปที่ขาดอยู่ปัจจุบันคือแอฟริกาและอเมริกา

    พันธ์เสริมในส่วนนี้ว่า เหตุที่มาม่าต้องการจะตั้งโรงงานทุกทวีป เพราะหากจะบุกตลาดโลกแล้ว การขนส่งข้ามทวีปต้องส่งทางเรือซึ่งใช้เวลานานแรมเดือน ทำให้อาหารไม่สดใหม่ และหากเกิดวิกฤตเรือขาดอีกก็จะเป็นปัญหา

    แต่การตั้งโรงงานต้องหา “พาร์ตเนอร์” ที่เข้ากันได้ดีจึงจะประสบความสำเร็จ ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ไม่สามารถเข้าไปลงทุนเองได้ ยังต้องการพันธมิตรที่เข้าใจตลาด เข้าใจกฎหมายท้องถิ่น ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ที่ผ่านมาบริษัทเคยไปตั้งโรงงานในจีนและเวียดนามแล้วต้องถอนทัพกลับมาแล้ว เนื่องจากความไม่ลงตัวกับการทำธุรกิจร่วมกัน ดังนั้น จึงยังกำหนดไม่ได้ว่าดีลการลงทุนจะสำเร็จเมื่อใดและใช้เงินลงทุนมากแค่ไหน

     

    พัฒนาสินค้า “พรีเมียม” หาน่านน้ำใหม่

    อีกกลยุทธ์หนึ่งของ 5 ทศวรรษหน้าของ “มาม่า” จะเป็นการวิจัยและพัฒนาสินค้าพรีเมียม/ไฮแวลูออกมาต่อเนื่อง โดยบริษัทมีการกันงบ 0.5% ของกำไรเพื่อ R&D ทุกปี

    มาม่า
    ตัวอย่างสินค้านวัตกรรม: เส้นบะหมี่จากโฮลวีต ในกลุ่มสินค้าเดียวกันยังมีเส้นที่ผลิตจากเห็ดชิตาเกะ และจากผักเคล

    การวิจัยสินค้าต่อจากนี้ พจนีกล่าวว่าจะมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เช่น ม.เกษตรศาสตร์ ม.มหิดล จุฬาฯ เทคโนโลยีสุรนารี ฯลฯ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่บริษัทสนใจบางอย่างซึ่งเป็น ‘Future Foods’ เช่น เนื้อทำจากพืช (plant-based) บริษัทไม่มีพื้นฐานงานวิจัยด้านนี้ และหากมีโอกาสก็จะจับมือกับนักวิชาการด้านอาหารในต่างประเทศด้วย

    “เราจะมาก้าวสั้นๆ ช้าๆ ก็อาจจะไม่ทันแล้ว” พจนีกล่าวถึงการยื่นมือหาพันธมิตรงานวิจัย เพื่อตามให้ทันผู้บริโภคที่วันนี้เปลี่ยนรสนิยมอย่างรวดเร็ว

    ปัจจุบันยอดขายบริษัทแบ่งเป็นตลาดแมส 75% และตลาดพรีเมียม 25% แต่ในอนาคตอาจจะเปลี่ยนแปลงสัดส่วนได้ ซึ่งไม่ใช่ว่ามาม่าจะเลิกผลิตหรือพัฒนาสินค้าตลาดแมส แต่การเพิ่มสินค้าพรีเมียมจะยิ่งเข้มข้นขึ้น ทั้งในกลุ่มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเองที่ผู้บริโภคเปิดรับสินค้าราคาสูงขึ้นหากได้รสชาติหรือคุณภาพที่พรีเมียมกว่า และผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ที่บริษัทจะผลิตต่อไป

    ]]>
    1374105
    “ร่วมอิสสระ” ลุยต่อทำเลตากอากาศ เปิดคอนโดฯ “ศศรา หัวหิน” เจาะกลุ่มไฮเอนด์ยังมีกำลังซื้อ https://positioningmag.com/1361163 Tue, 09 Nov 2021 12:27:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361163 “ร่วมอิสสระ” บริษัทร่วมทุนระหว่าง “เครือสหพัฒน์” กับ “ชาญอิสสระ” ลุยพัฒนาโครงการทำเลตากอากาศ เปิดคอนโดฯ “ศศรา หัวหิน” ติดหาดเขาตะเกียบ ราคาเฉลี่ยตร.ม.ละ 200,000 บาท เจาะกลุ่มลูกค้าไฮเอนด์ ข้อมูลจาก “ไนท์แฟรงค์” ประเมินปีนี้ตลาดหัวหินยังซบเซา แต่คอนโดฯ หรูติดหน้าหาดมีโอกาสการขายที่ดีกว่า

    บริษัท ร่วมอิสสระ จำกัด บริษัทร่วมทุนระหว่างเครือสหพัฒน์กับชาญอิสสระ เริ่มขยายพื้นที่พัฒนาโครงการออกนอกเขต “ทิวทะเลเวิลด์” ชะอำ ที่ขึ้นคอนโดฯ ไปแล้วมากกว่า 1,000 ยูนิต และมีโรงแรมบาบา บีช คลับ หัวหินกับพื้นที่พาณิชย์ “หัวหิน วัน” รองรับ

    ครั้งนี้บริษัทร่วมอิสสระเลือกแปลงที่ดินข้ามมาทางฝั่งเขาตะเกียบ ห่างจากตลาดซิคาดา 2 กม. เพื่อพัฒนาโครงการหรู “ศศรา หัวหิน” เป็นคอนโดมิเนียมตากอากาศบนที่ดิน 5 ไร่ จำนวนห้องชุด 110 ยูนิต มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท

    โครงการศศรา หัวหิน

    โครงการศศรา หัวหิน แบ่งการพัฒนาเป็น 5 อาคาร สูง 4 ชั้น ออกแบบโดย บริษัท แฮบบิตา จำกัด เน้นการออกแบบสไตล์ธรรมชาติ ตกแต่งด้วยอิฐและไม้ พร้อมสระว่ายน้ำ 5 สระ เกมรูม บีชคลับ พูลคลับ ฯลฯ เหมาะกับการมาพักผ่อนและทำกิจกรรมกับครอบครัว

    ห้องชุดมีตั้งแต่ 1 ห้องนอน พื้นที่ใช้สอยเริ่มต้น 37 ตร.ม. จนถึง 3 ห้องนอน พื้นที่ใช้สอยสูงสุด 160 ตร.ม. ราคาเริ่ม 5.5 ล้านบาท สูงสุด 55 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 200,000 บาทต่อตร.ม. เริ่มเปิดแกรนด์ โอเพนนิ่งแล้ว โดยมีช่วงโปรโมชันพรีเซลจนถึง 31 มกราคม 2565 ส่วนลดสูงสุด 500,000 บาท เริ่มก่อสร้างภายในไตรมาส 2/65 ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี (ขณะนี้อยู่ระหว่างยื่นขอใบอนุญาต EIA)

    ศศรา หัวหิน
    ภาพตัวอย่างห้องบีชคลับและเกมรูม ศศรา หัวหิน

     

    ใช้คาเฟ่ดึงดูด ขายไปแล้ว 40%

    โครงการนี้เริ่มซอฟต์ โอเพนนิ่งไปตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคม 2564 แต่เนื่องจากเกิดการระบาดรอบใหม่ของ COVID-19 ทำให้การเปิดตัวเต็มรูปแบบต้องเลื่อนมาจนถึงขณะนี้ อย่างไรก็ตาม “สงกรานต์ อิสสระ” รองประธานกรรมการ บริษัท ร่วมอิสสระ จำกัด ระบุว่า ศศรา หัวหิน มียอดจองแล้ว 40%

    ศศรา หัวหิน
    ห้องตัวอย่างศศรา หัวหิน

    “COVID-19 มีผลบ้างต่อการขาย แต่เราก็ยังเห็นว่ามีคนเดินทางมาเยี่ยมชมเรื่อยๆ ในช่วงที่ผ่านมา และทำให้เกิดการจอง” บุญเกียรติ โชควัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท ร่วมอิสสระ จำกัด กล่าวเสริม

    ทั้งนี้ โครงการมีการก่อสร้างคาเฟ่และโรงเรียนสอนเซิร์ฟอย่าง Pineapple Surf Club ริมหาด ควบคู่ไปกับเซลส์แกลลอรี ทำให้ลูกค้าหลายคนที่แวะมาใช้บริการคาเฟ่ได้เห็นบรรยากาศหน้าหาดของโครงการ เป็นกลยุทธ์การขายอย่างหนึ่ง

    “พอ COVID-19 เริ่มซา ที่แรกที่คนกรุงเทพฯ หรือคนไทยจะอยากมาก่อนก็คือหัวหิน เพราะไม่ต้องบินไป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คนไทยชอบอยู่แล้ว บางคนบอกเลยว่า หัวหินคือ ‘ผู้ชนะ’ ของช่วง COVID-19” สงกรานต์กล่าว

    Pineapple Surf Club

     

    คอนโดฯ หรูติดหาดยังขายได้

    ด้าน “ดิฐวัฒน์ อิสสระ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ร่วมอิสสระ จำกัด กล่าวถึงสภาวะตลาดหัวหิน ย้อนไปช่วง 2-3 ปีก่อนหน้านี้เป็นช่วงที่คอนโดฯ หัวหินบูม มีดีเวลอปเปอร์ขึ้นโครงการจำนวนมาก แต่ยอดขายภาพรวมอาจไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากโครงการส่วนใหญ่ทำเลไม่ติดหน้าหาด ทำให้ขายยาก เทียบกับคอนโดฯ ติดหาดจะมีดีมานด์สูงกว่า

    ผู้บริหารบริษัท ร่วมอิสสระ จำกัด: (จากซ้าย) “ดิฐวัฒน์ อิสสระ” กรรมการผู้จัดการ, “บุญเกียรติ โชควัฒนา” ประธานกรรมการ และ “สงกรานต์ อิสสระ” รองประธานกรรมการ

    สอดคล้องกับข้อมูลจาก “ไนท์แฟรงค์” สรุปสถานการณ์ตลาดหัวหินช่วงครึ่งปีแรก 2564 ณ เดือนมิถุนายนมีซัพพลายคอนโดฯ ชะอำ-หัวหิน-เขาเต่า จำนวนกว่า 27,900 หน่วย ซึ่งขายไปแล้ว 85% ทำให้มีหน่วยเหลือขายอีกกว่า 4,300 หน่วย และเฉพาะครึ่งปีแรก 2564 มีการขายใหม่ได้เพียง 280 หน่วย

    ในช่วงครึ่งปีแรกมีโครงการเปิดใหม่เพียง 1 แห่งคือ เดอะ ไรน์ หัวหิน จำนวน 350 หน่วย แต่ยังมีโครงการที่ผ่าน EIA แล้วและรอเปิดตัวอีก 2 แห่ง คือ เดอะ แฮมป์ตัน หัวหิน บาย แสนสิริ จำนวน 256 หน่วย และ วานา นาวา เรสซิเดนซ์ หลังสวนน้ำวานา นาวา จำนวน 382 หน่วย

    ไนท์แฟรงค์ประเมินว่าปีนี้ตลาดหัวหินน่าจะยังทรงตัวซบเซาเหมือนกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ซื้อหลักที่ยังสนใจตลาดหัวหินคือกลุ่มระดับบนที่ถือเงินเย็น ไม่ต้องรีบร้อนตัดสินใจ ดังนั้น สินค้าที่ยังขายได้มักจะเป็นคอนโดฯ ไฮเอนด์ติดหาด มีความน่าเชื่อถือว่าจะสามารถบริหารโครงการหลังขายได้ดี เช่น การันตีด้วยการใช้แบรนด์เชนโรงแรม หรือเป็นคอนโดฯ พร้อมอยู่ที่ลดราคาแรง

    ทั้งนี้ คอนโดฯ ติดหาดมักจะมีการแบ่งราคาตามวิวของห้องชุด โซนไม่เห็นวิวทะเลราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ราว 160,000 บาทต่อตร.ม. โซนเห็นวิวทะเลได้ 45 องศาจะตั้งราคา 200,000-250,000 บาทต่อตร.ม. และโซนที่เห็นวิวทะเล 180 องศา อยู่ใกล้ชายหาดที่สุด จะตั้งราคา 300,000-360,000 บาทต่อตร.ม.

    ]]>
    1361163
    “สหพัฒน์” ดึง “โตคิว” ร่วมทุนอีก 800 ล้าน ผุด HarmoniQ 2 ศรีราชา จับดีมานด์ครอบครัวญี่ปุ่น https://positioningmag.com/1311751 Tue, 29 Dec 2020 07:19:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311751 “โตคิว” ยังขยายการลงทุนในไทย ผ่าน “โตคิว คอร์ปอเรชั่น” ร่วมลงทุนกัยสหพัฒน์อีก 800 ล้านบาท เดินหน้าขยายการลงทุนในเขตศรีราชา ผุดโครงการ HarmoniQ 2 โครงการที่อยู่อาศัยสไตล์ญี่ปุ่นใน EEC

    ดึงโตคิวร่วมทุน

    เครือสหพัฒน์ ผนึกกลุ่ม “โตคิว” เตรียมลงทุนเพิ่ม 800 ล้านบาท เปิดตัวโครงการ HarmoniQ 2 โครงการบ้านพักที่อยู่อาศัยในศรีราชา ร่วมกับโตคิว ต่อยอดโครงการแรกที่ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ตอบรับดีมานด์ลูกค้าชาวญี่ปุ่นที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยโครงการทั้งหมดมูลค่ารวมกว่า 1,700 ล้านบาท ประกอบด้วย บ้านที่อยู่อาศัย

    กลุ่มโตคิว เป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ในญี่ปุ่น มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 98 ปี ทั้งในธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน โรงแรม การก่อสร้างขนาดใหญ่ ระบบขนส่งมวลชนทั้งรถบัส และรถไฟ โดยหลักทรัพย์ของกลุ่มโตคิว (Tokyu Corporation) ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่น มีมูลค่าตลาดประมาณ 230,000 ล้านบาท

    harmoniq residence sriracha

    วิชัย กุลสมภพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

    “แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวในปีนี้ ซึ่งนับเป็นวิบากกรรมทั่วโลก แต่เราเชื่อมั่นในโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่ยังมีศักยภาพและความแข็งแกร่ง โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC ที่มีศักยภาพเติบโตต่อเนื่อง ทั้งนี้เราคาดการณ์ว่าภาคอสังหาฯ ไทยจะรีบาวน์กลับมาอีกครั้ง ดังนั้น เครือสหพัฒน์ จึงเตรียมแผนขยายการลงทุน เดินหน้าโครงการต่างๆ ซึ่งจะเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว”

    จับกลุ่มครอบครัวญี่ปุ่น

    โปรเจกต์ HarmoniQ 2 เป็นการขยายการลงทุนเพิ่มเติมอีกกว่า 800 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยให้กับชาวญี่ปุ่น บนพื้นที่กว่ารวมกว่า 50 ไร่ในอำเภอ ศรีราชาจังหวัด ชลบุรี โดยคาดว่าจะเปิดให้ชมห้องตัวอย่างได้ในเดือนเมษายน ปี 2564

    harmoniq residence sriracha

    โครงการนี้จะเป็นบ้านสำหรับครอบครัวชาวญี่ปุ่นอย่างแท้จริง ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม สะดวกสบาย โดยคำนึงถึงการใช้ชีวิตของชาวญี่ปุ่นที่ต้องปรับสภาพแวดล้อมจากญี่ปุ่นมาอยู่ที่ศรีราชา

    • การออกแบบพื้นที่ใช้สอย : รวบรวมความรู้ด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่นเข้าด้วยกัน โดย Tokyu Corporation ซึ่งมีความรู้ในด้านการวางผังเมือง และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศญี่ปุ่น โดดเด่นด้วยบรรยากาศผ่อนคลายสำหรับครอบครัว ให้ความสำคัญกับการปรับตัวของผู้อยู่อาศัย

    harmoniq residence sriracha

    • ครบครัน สะดวกสบาย ใส่ใจคุณภาพชีวิต : สำหรับโครงการนี้นอกเหนือจากการเพิ่มเติมบ้านพักอีกกว่า 140 หลัง โครงการยังมีการขยายส่วนต่อทั้งส่วนกลาง และสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆ อาทิ สนามเทนนิส, สนามบาสเกตบอล, พื้นที่ทำกิจกรรมเอาต์ดอร์ เป็นต้น รวมถึงขยาย Club House ที่ตอบโจทย์ทุกกิจกรรมด้วยคาเฟ่, โรงยิม, ห้องสมุด, ห้องสำหรับเด็ก, ห้องเก็บเสียง, ห้องประชุม และสตูดิโอบัลเลต์

    harmoniq residence sriracha

    • สภาพแวดล้อมใกล้เคียง : มีโรงเรียนสำหรับชาวญี่ปุ่นอยู่ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามของโครงการ ด้วยความใส่ใจในการศึกษาและความปลอดภัยในการเดินทางไปโรงเรียน ตัวโครงการยังอยู่ติดกับโรงเรียนญี่ปุ่นศรีราชา และโรงเรียนอนุบาล Oisca ซึ่งอยู่ติดกับตัวโครงการจนเด็กๆ สามารถเดินไปโรงเรียนได้โดยไม่ต้องก้าวออกนอกเขตหมู่บ้าน นอกจากนี้ ยังมีสถานพยาบาล แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ รวมถึง ใกล้เคียง Community Mall J-Park Nihonmura Sriracha และรักษาความปลอดภัยโดย Secom บริษัท Security อันดับหนึ่งจากญี่ปุ่นอีกด้วย

    การขยายการลงทุนของโครงการอสังหาฯ ใน “ศรีราชา” เป็นการตอกย้ำศักยภาพของอำเภอนี้ในชลบุรีว่าเป็น “เมืองหลวงแห่งอุตสาหกรรม” ที่น่าจับตามองในเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC เฉพาะที่ศรีราชาขณะนี้มีนิคมอุตสาหกรรมกว่า 10 แห่ง และจำนวนโรงงาน มีโรงงานทั้งสิ้นกว่า 1,300 แห่ง

    โดยญี่ปุ่นเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมายาวนานโดยเฉพาะในพื้นที่ศรีราชา ซึ่งในปัจจุบันมีชาวญี่ปุ่นพักอาศัยอยู่กว่า 10,000 คน และมีสมาคมธุรกิจญี่ปุ่นอยู่กว่า 20 แห่ง ดังนั้น EEC จึงเป็นทำเลศักยภาพอีกแห่งหนึ่งสำหรับตลาดที่อยู่อาศัยในไทย ที่จะสามารถตอบรับดีมานด์ชาวต่างชาติและชาวไทยได้

    ]]>
    1311751
    เปิดเทอมแรก “คิงส์คอลเลจ” รร. นานาชาติที่ “สหพัฒน์” ร่วมหุ้น ผู้ปกครองดีมานด์สูงเกินคาด https://positioningmag.com/1304275 Tue, 03 Nov 2020 11:24:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304275
  • ชมบรรยากาศโรงเรียนนานาชาติ “คิงส์คอลเลจ” กรุงเทพฯ เปิดเทอมแรก ผู้ปกครองพาบุตรหลานสมัครเรียนสูงเกินคาด ปัจจุบันรับนักเรียนแล้วกว่า 300 คน จากเป้าหมาย 100 คน
  • โรงเรียนแห่งนี้มีจุดเริ่มต้นจาก ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ เล็งเห็นถึงระบบโรงเรียนนานาชาติในไทยยังสามารถพัฒนาให้ตอบโจทย์ได้ดียิ่งขึ้น และสุดท้ายสามารถดึงเครือสหพัฒน์ร่วมถือหุ้นกว่า 10% รวมถึงเป็นผู้ให้เช่าที่ดินกลางเมืองย่านพระราม 3 ทำเลที่ตั้งของโรงเรียน
  • มองกระแสผู้ปกครองไทยมีดีมานด์ต่อโรงเรียนนานาชาติสูงมาก โดยปัจจัยสถานการณ์ COVID-19 ระบาดมีส่วนทำให้ผู้ปกครองที่เตรียมส่งลูกเรียนมัธยมในต่างประเทศ กลับมาพิจารณาการเรียนในไทย โดยโรงเรียนหลักสูตรอังกฤษเป็นที่นิยมมากขึ้นในช่วงหลัง
  • โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ หรือ King’s College International School Bangkok เปิดเทอมแรกแล้ว! โดยโรงเรียนแห่งนี้เป็นสาขาของ King’s College School, Wimbledon ประเทศอังกฤษ โรงเรียนชั้นนำที่สามารถส่งนักเรียนถึง 25% เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย Oxford และ Cambridge ได้

    สาขาที่ประเทศไทยนั้นเป็นสาขานอกประเทศอังกฤษสาขาที่ 3 ของโลก (2 สาขาก่อนหน้านี้อยู่ในเมืองอู๋ซีและหางโจว ประเทศจีน) เริ่มต้นโครงการโดย ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ ประธานบริหาร โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ ซึ่งพบประสบการณ์ตรงหลังจากลูกชายย้ายโรงเรียนจากโรงเรียนนานาชาติในไทยไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ ทำให้เล็งเห็นว่าโรงเรียนนานาชาติในไทยยังสามารถยกระดับการศึกษาให้ดีขึ้นอีก เพื่อเทียบเคียงกับในอังกฤษได้

    โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ

    ในที่สุด ดร.สาคร สามารถติดต่อขอนำแบรนด์และระบบจาก King’s College School, Wimbledon มาเปิดการเรียนการสอนในไทยได้สำเร็จ พร้อมประสานเช่าที่ดินขนาด 22.5 ไร่ ย่านพระราม 3 ของ “เครือสหพัฒน์” เป็นทำเลก่อสร้างโรงเรียน และสหพัฒน์ได้เข้าร่วมถือหุ้นด้วยประมาณกว่า 10% โครงการนี้ใช้งบลงทุนทั้งหมด 4,000 ล้านบาท ก่อนจะเปิดเรียนวันแรกไปเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563

     

    ดีมานด์สูงเกินคาด รับนักเรียนปีแรกกว่า 300 คน

    ดร.สาครกล่าวว่า ปัจจุบันโรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ชั้น Pre-nursery ถึง Year 10 ก่อนจะทยอยเปิดเพิ่มจนถึง Year 13 ขณะนี้กำลังพิจารณาว่าในปีการศึกษา 2565 จะสามารถเปิดเพิ่มถึง Year 12 ได้หรือไม่ และจะมีการลงทุนก่อสร้างตึกเรียนเพิ่มเติมรองรับนักเรียน

    ออกแบบสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการใช้ชีวิตนอกห้องเรียน

    สำหรับปีการศึกษาแรกนี้ มีนักเรียนเข้าเรียนแล้วมากกว่า 300 คน ถือว่าเหนือความคาดหมาย เพราะเดิมมองว่าปีแรกน่าจะมีนักเรียนราว 100 คนเท่านั้น และกว่า 300 คนที่ได้เข้าเรียนนี้ยังต้องผ่านการสอบแข่งขันและสอบสัมภาษณ์ด้วย ไม่สามารถรับได้ทุกคน ทำให้เห็นว่าพ่อแม่ผู้ปกครองยุคนี้มีความต้องการการศึกษาในระบบนานาชาติสูงมาก

    “ดีมานด์โรงเรียนนานาชาติสูงกว่าซัพพลายมาตลอด ระยะหลังมีโรงเรียนนานาชาติเปิดใหม่เยอะมากก็จริง แต่ดีมานด์ก็ยังสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีซัพพลายไม่เพียงพอ” ดร.สาครกล่าว

     

    ทัศนคติใหม่ สอนให้เด็กมีเป้าหมายชีวิตและดีรอบด้าน

    การมีโรงเรียนนานาชาติใหม่ๆ นั้นมักจะมาตอบโจทย์ความต้องการที่ต่างออกไปของผู้ปกครอง และวิธีคิดใหม่ในการให้การศึกษายุคนี้

    ดร.สาครเล่าย้อนให้ฟังว่า ในอดีตยุคแรกของการตั้งโรงเรียนนานาชาติที่ประเทศไทย จุดแข็งสำคัญคือเรื่อง “ภาษา”
    ที่ทำให้ใครๆ ต้องการส่งลูกหลานเข้าเรียน ต่อมาพัฒนามาเป็นเรื่องของ “โอกาสทางการศึกษา” เพราะโรงเรียนจะปูทางให้เด็กมีโอกาสมากกว่าเพื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก

    ห้องแล็บวิทยาศาสตร์ของ “คิงส์คอลเลจ” กรุงเทพฯ ก่อสร้างตามมาตรฐานความปลอดภัยของอังกฤษ

    แต่ยุคนี้ ดร.สาครมองว่า สังคมโลกรวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครองไทยมองการศึกษาอีกแบบหนึ่ง โรงเรียนนานาชาติไม่ได้ตอบโจทย์แค่เรื่องภาษากับโอกาส แต่ต้องสร้างให้เด็ก “มีเป้าหมายชีวิตของตัวเองและดีรอบด้าน” คือไม่ใช่แค่เรียนเก่ง แต่รู้ว่าตนเองต้องการอะไร มีทักษะอื่นในชีวิต และมีจิตใจที่ดี

    โดยดร.สาครมองว่าปรัชญาการให้การศึกษาของ King’s College School ซึ่งโรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ ถอดแบบมาใช้ด้วยนั้น สามารถตอบโจทย์นี้ได้ เพราะโรงเรียนจะให้คุณค่า 3 เสาหลัก ทั้งด้านความเป็นเลิศทางวิชาการ หลักสูตรร่วมผสมส่งเสริมกิจกรรมอื่น และดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด พร้อมกับส่งเสริมให้เป็นคนที่ดีผ่านคุณค่าเรื่องกิริยามารยาท จิตใจเมตตา และใฝ่ปัญญา

    สระว่ายน้ำขนาดโอลิมปิก เป็นสระในร่มที่ยังมีช่องแสงเพิ่มความอุ่นให้น้ำในสระ

    “โรงเรียนมีเรื่องความเป็นเลิศทางวิชาการ แต่ไม่ได้ต้องการเป็นโรงเรียนที่กลายเป็นโรงงานฝึกทำข้อสอบ แต่ต้องการส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมอื่นด้วยเพื่อให้เป็นคนที่เติบโตมาแบบรอบด้าน รวมถึงฝึกด้านจิตใจ ทำให้เรามี House System เพื่อสร้างสัมพันธ์พี่น้อง และอบรมเรื่องมารยาทนอบน้อม เคารพผู้ใหญ่ ยังมีความเป็นไทย ที่นี่เด็กยังรู้จักการไหว้ทุกคน” ดร.สาครกล่าว

     

    COVID-19 มีส่วนทำให้พ่อแม่เลือกโรงเรียนในไทยมากขึ้น

    ด้านผลกระทบจาก COVID-19 ต่อโรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ ดร.สาครกล่าวว่า มีผลกับการนำครูและบุคลากรจากต่างประเทศเข้ามาในไทย มีความท้าทายสูงขึ้น แต่สุดท้ายสามารถนำคุณครูเข้ามาได้ตามเป้า ปัจจุบัน โรงเรียนทำการสอนด้วยครูต่างชาติทั้งหมด (ยกเว้นคุณครูภาษาไทย) โดยครูหลายท่านเป็นครูระดับ Tier 1 จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ซึ่งโรงเรียนทุ่มทุนจ้างในอัตรารายได้เดียวกับที่ประเทศอังกฤษ เพราะครูคือหัวใจสำคัญที่สุดของระบบการศึกษา

    ส่วนผลต่อดีมานด์ของผู้ปกครอง ในเชิงเศรษฐกิจนั้นมีผลกระทบกับรายได้ของผู้ปกครองกลุ่มนี้น้อยมาก และยิ่งส่งให้ดีมานด์สูงขึ้นด้วย เพราะในระดับมัธยม ปกติผู้ปกครองมักจะส่งลูกหลานเข้าเรียนในต่างประเทศโดยตรง แต่เมื่อสถานการณ์ COVID-19 ระบาดหนักในต่างประเทศ ทำให้บางส่วนหันกลับมาพิจารณาทางเลือกในไทยมากขึ้น

    ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ ประธานบริหาร โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ

    ขณะที่ตัวเลือกโรงเรียนนานาชาติในไทยที่มักจะแบ่งการศึกษาออกเป็นระบบอังกฤษกับอเมริกัน ดร.สาครมองว่า ในแง่หลักสูตรเชิงวิชาการไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แต่สิ่งที่ต่างกลับเป็นคุณค่าและทักษะประเภท soft skills ซึ่งกระแสระบบอังกฤษจะเป็นที่นิยมมากกว่า เพราะยังปลูกฝังเรื่องกิริยามารยาท จะเห็นได้ว่าโรงเรียนนานาชาติที่เปิดใหม่เป็นระบบอังกฤษเกือบทั้งหมด

    ดร.สาครยังมองภาพระบบการศึกษาไทยว่าสามารถพัฒนาได้ โดยควรจะหันมายึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ มีกฎระเบียบที่ยืดหยุ่นให้ครูแต่ละโรงเรียนปรับวิธีการเรียนการสอนให้เข้ากับท้องถิ่นนั้นๆ

    “เรายังติดกับดักระบบการศึกษาในอดีต คือต้องมีหลักสูตรตายตัวและครูเป็นคนถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก แต่วันนี้เทคโนโลยีทำให้ความรู้สามารถหาได้จากทุกที่ ครูจึงกลายเป็น facilitator มากกว่า เป็นผู้ชี้แนะช่องทางการไปค้นคว้าหาความรู้ สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กหาเป้าหมายของตัวเองเจอ และนำการอภิปรายในชั้นเรียน ช่วยให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นในชีวิต เช่น การคิด การพูด” ดร.สาครกล่าว “ครูต้องผู้สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กเติบโตด้วยความสุข”

    ]]>
    1304275
    พลิกสูตร “สหพัฒน์” จัดงานเเฟร์ออนไลน์ ครั้งเเรกรอบ 24 ปี “เอาเงินค่าเช่าที่ มาอัดโปรโมชั่น” https://positioningmag.com/1284615 Mon, 22 Jun 2020 15:42:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1284615 ก่อนจะเกิดการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เชื่อว่าหลายคนตั้งตารอจะไปเดินงานเเฟร์เพื่อเลือกซื้อสินค้าลดราคาและหาดีลพิเศษมากมาย โดยเฉพาะงานใหญ่ประจำปีอย่างสหกรุ๊ปแฟร์ซึ่งจัดขึ้นมายาวนานกว่า 2 ทศวรรษเเล้ว

    แต่ในปีนี้เกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้น การจัดงานที่มีผู้คนนับหมื่นไปรวมตัวกัน เป็นเรื่องที่ต้องหลีกเลี่ยง เเบรนด์ต่างๆ เเละฝ่ายผู้จัดต้องสรรหาหนทางใหม่ เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เมื่อการซื้อของออนไลน์ได้กลายเป็น New Normal แห่งวงการค้าปลีก

    COVID-19 จึงเป็นเหมือนตัวเร่งให้เครือสหพัฒน์ต้องปรับตัวมาจัดสหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์ครั้งแรกในปีที่ 24 ด้วยเเคมเปญ #ช้อปหยุดโลก

    ด้วยจุดเด่นของงานแฟร์ คือการได้ลองของจริง มีให้เลือกหลากหลายและราคาถูก รวมถึงเป็นเเหล่งการเกิดดีลธุรกิจต่างๆ การจัดสหกรุ๊ปแฟร์แบบออนไลน์ครั้งนี้ จึงไม่ง่ายนักและมีความท้าทายอยู่มาก แต่ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี

    สหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์ครั้งนี้ จะเป็นโมเดลการทดลองขายสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านทางออนไลน์ของเรา

    ธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์กล่าว

    เอาเงินค่าเช่าที่…มาอัดโปรโมชั่น

    จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำห้เครือสหพัฒน์ตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานในปีนี้มาเป็นสหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-5 กรกฎาคม 2563 จับมือกับ 3 แพลตฟอร์ม

    E-Marketplace รายใหญ่อย่าง Lazada , Shopee เเละ JD Central นำสินค้ากว่า 100 แบรนด์ รวม 2 หมื่นรายการ พร้อมมีเว็บไซต์ sahagroupfair.com เป็นเว็บที่รวบรวมโปรโมชั่น ถ่ายทอดสดกิจกรรมต่างๆ และเชื่อมไปยังแพลตฟอร์มนั้นๆ

    การจัดงานเเฟร์ปกติกับการจัดทางออนไลน์ สเกลมันไม่เท่ากันอยู่เเล้ว เราต้องยอมรับสถานการณ์ โดยปีนี้วางเป้าหมายรายได้ไว้ที่ 100 ล้านบาท ถือว่าลดลง 50% เมื่อเทียบกับการจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์เเบบปกติในปีท่ี่ผ่านมา ที่สร้างรายได้สะพัดราว 200 ล้านบาท

    ธรรมรัตน์ ไม่ได้เปิดเผยถึงงบประมาณในการจัดงานครั้งนี้ แต่ระบุว่า การจัดงานในรูปออนไลน์ไม่ต้องเสียค่าเช่าที่” และทางสหพัฒน์ก็มีการพัฒนาด้านออนไลน์ตลอด ดังนั้นต้นทุนจึงน้อยกว่าการจัดงานเเฟร์ปกติ อีกทั้งยังมีการขายเเบบ 24 ชั่วโมงซึ่งน่าจะเป็นการเพิ่มยอดขายได้

    โดยจะมีการนำเงินส่วนที่เหลือมาใช้ในการอัดโปรโมชั่น เพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้สั่งของออนไลน์มากขึ้น รวมถึงให้เปอร์เซ็นต์ส่วนเเบ่งกับแพลตฟอร์ม E-Marketplace ที่เข้าร่วมทั้ง 3 เจ้าให้มีการเสนอดีลพิเศษต่างๆ ให้กับลูกค้าด้วย อย่างการส่งฟรี ให้คูปองส่วนลด มี Flash Sale เป็นต้น

    ในช่วงมาตรการล็อกดาวน์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ของเครือสหพัฒน์ มีอัตราการเติบโตถึง 300% แต่เมื่อเทียบกับยอดขายทางออฟไลน์แล้ว ก็ยังคงมีสัดส่วนน้อย โดยปัจจุบันการขายออนไลน์มีสัดส่วนในยอดขายทั้งหมดที่ 20% อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ตั้งเป้าการเติบโตเพิ่มขึ้นเท่าตัวในอนาคต  ดังนั้นสหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์จึงเป็นก้าวเเรกที่สำคัญในการต่อยอดเเละปรับตัวครั้งนี้

    ภาพบรรยากาศงานสหกรุ๊ป เเฟร์ ครั้งที่ 23 ในปี 2019 ก่อนที่ปีนี้จะมีการปรับมาจัดทางออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19

    ให้ส่วนลดเเลกกับการรอคอย

    คอนเซ็ปต์หลักๆ ของสหกรุ๊ปแฟร์ยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่ผู้คนเปลี่ยนจากการเดินดูซื้อของ ไปเป็นการใช้นิ้วคลิกเลือกซื้อแล้วรอรับที่บ้าน

    ด้วยเหตุนี้ ไฮไลต์สำคัญจึงเป็นการให้ส่วนลดที่มากกว่าปกติ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มกับการรอคอยเเละคุ้มกับค่าจัดส่ง 

    สำหรับสินค้าในสหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์ จะเเบ่งออกเป็น 7 หมวด ได้เเก่ Fashion, Lingerie, Health & Beauty, Baby & Toddler, Household, Grocery และ Services & Education โดยมีสินค้ามาจำหน่ายกว่า 100 แบรนด์ กว่า 20,000 SKU อย่าง วาโก้ บีเอสซี แอร์โรว์ ลาคอสท์ แอล (ELLE) เอราวอน กี ลาโรช อองฟองต์ แอ็บซอร์บา ฟาร์มเฮ้าส์ มาม่า มองต์เฟลอ ริชเชส ซื่อสัตย์ เอสเซ้นต์ เปา ซิสเท็มมา คิเรอิคิเรอิ โชกุบุสซึ วาเซดะบุนกะ ซึ่งสินค้า 7 หมวดนี้ จะมีทั้งสินค้านวัตกรรม สินค้าใหม่ สินค้าขายดี และสินค้า Clearance ที่นำมาลดพิเศษสูงสุดถึง 80% ตลอด 24 ชั่วโมง

    นอกจากการจำหน่ายสินค้าแบบ B2C ให้กับผู้สนใจทั่วไปแล้ว จะมีการจำหน่ายแบบ B2B ให้กับร้านค้าทั่วไป ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ และผู้ที่ซื้อสินค้าไปจำหน่ายต่อในราคาพิเศษ 

    ในเว็บจะมีการไลฟ์สดช่วง Flash Sale และการแจกคูปองส่วนลดเพื่อนำไปลดเพิ่มใน LAZADA SHOPEE และ JD CENTRAL ซึ่งทุกบิลที่ซื้อสามารถนำมากรอกข้อมูลชิงรางวัลในเว็บ กว่า 3,000 รางวัล รวมกว่า 9 แสนบาท สำหรับผู้ที่ต้องการสั่งซื้อล่วงหน้าจะเปิดให้มีพรีออเดอร์ (PRE SALES) สินค้าใหม่ในวันที่ 27 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2020 เฉพาะที่ LAZADA พร้อมทั้งจะมีการรับสมัครสมาชิกและสะสมคะแนน His & Her ด้วย 

    “ในทุกปีๆ สิ่งที่ลูกค้าคาดหวังจะมาดูในสหกรุ๊ปแฟร์ คือกิจกรรมเเละนวัตกรรมต่างๆ ซึ่งในเว็บจะยังคงมีกิจกรรมที่สร้างสีสัน เเต่เราจะทำให้พิเศษกว่าเดิม เพราะเป็นการเเสดงทางออนไลน์ โดยจะมีการจัดแฟชั่นโชว์ เวิร์กช็อปเเต่งหน้า กิจกรรมจากดาราและเซเลบริตี้ รวมไปถึงการรับสมัครงาน” 

    ส่วนสินค้าไฮไลต์ที่จะมาเปิดตัวในปีนี้ จะเน้นไปด้าน Wealthness การดูเเลสุขภาพและนวัตกรรมใหม่ อย่าง นวัตกรรมผ้ายับยั้งเชื้อไวรัส ที่ได้ทำการทดสอบกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3N2 ซึ่งสามารถซักและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รวมไปถึงกางเกงในอนามัยรุ่นใหม่จากวาโก้ หน้ากากจากแอร์โรว์

    ด้านเครื่องสำอางจะมีการเปิดตัวคอลเลกชั่นใหม่ arty professional x snoopy ส่วนโรงเรียนสอนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นวาเซดะ จะมีการจัดคอร์สสอนออนไลน์เต็มรูปแบบ ขณะที่เเบรนด์ “มาม่า” จะมีการเปิดตัวข้าวต้มคัพ รสปลาทรงเครื่อง และเเบรนด์ฟาร์มเฮ้าส์จะมีโปรโมชั่นพิเศษเเละการจัดส่งให้ถึงบ้าน

    อีกหนึ่งจุดเด่นของ “สหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์” คือการ “Cash Back เเละสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ” จากสถาบันการเงินและกองทุน 11 แห่ง ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTC) บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เพื่อให้ส่วนลดเงินสดและเครดิตเงินคืนสำหรับการซื้อแบบ B2C และให้สินเชื่อพิเศษสำหรับการซื้อแบบ B2B ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง

    โดยมีดีลที่น่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น เสนอวงเงินกู้ตั้งเเต่ 2 เเสน- 20 ล้านบาทเพื่อซื้อของในงานด้วยดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนนาน 7-10 ปี การใช้บัตรเครดิตเพื่อรับ Cash Back สูงสุด 30% หรือการสะสมเเต้ม ใช้คะเเนนทำยอดซื้อ เเละรับ E-coupon เป็นต้น (โดยรายละเอียดจะเเตกต่างไปตามเงื่อนไขของธนาคารที่เข้าร่วม)

    โจทย์ยากของ “สหพัฒน์” 

    ธุรกิจยามนี้ ทุกเเบรนด์ต่างหันมาขายออนไลน์กันอย่างเต็มที่ ปรับรับ New Normal ของผู้บริโภค แต่ความท้าทายของแบรนด์ในเครือสหพัฒน์ คือ ยังมีสินค้าจำนวนมากที่ยังไม่เหมาะกับขายผ่านช่องทางออนไลน์ อย่างพวกสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีขนาดใหญ่ ค่าขนส่งเเพง หรือสินค้าประเภทที่ซื้อเเล้วต้องใช้ทันที สินค้าที่ลูกค้าอยากไปเดินช้อปปิ้งเเล้วได้กลับบ้านเลย

    “มันเป็นโจทย์ยากในการปรับตัวมาขายออนไลน์ของเรา แต่สหพัฒน์ก็พยายามทำให้ดีขึ้น อย่างเรื่องการจัดส่งเราจะพยายามพัฒนาไปสู่การส่งเเบบวันเดียวถึง เสื้อผ้าก็ต้องทำให้มีไซส์มาตรฐาน มั่นใจว่ากดสั่งได้แม้ไม่ได้ลอง”

    ขณะที่สิ่งที่ยังน่ากังวลคือ “กำลังซื้อ” ที่เพิ่งจะฟิ้นตัวอย่างช้าๆ เเม้จะมียอดขายทางออนไลน์จะมาช่วยบ้างเเต่ยังมีสัดส่วนน้อย โดยหลังจากปลดล็อกเเล้วกำลังซื้อก็เริ่มดีขึ้น โดยคาดว่าจะกลับมาได้เท่าช่วงก่อน COVID-19 ได้ภายในปีนี้

    “ผมมองว่าคนไทยยังระมัดระวังในการจับจ่ายอยู่ และสิ่งที่น่าห่วงคือต้องรอดูภาวะการว่างงานหลังจากนี้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อกำลังซื้อ และจะฉุดให้ภาวะเศรษฐกิจหดตัวลากยาวต่อไปอีก” ธรรมรัตน์กล่าว

    โดยคาดว่ายอดขายในส่วนของ ไอ.ซี.ซี.ฯ ปีนี้น่าจะติดลบ 10% จากเดิมตั้งเป้าหมายที่จะเติบโต 5% เนื่องจากในช่วงที่มีมาตรการล็อกดาวน์กำลังซื้อลดลงไปถึง 90% ซ้ำเติมจากก่อนล็อกดาวน์ที่ลดลงไป 10% แล้ว แม้ในช่วงคลายล็อกกำลังซื้อจะกลับมา 90% แล้วก็ตาม

    ด้านการลงทุนกับพาร์ตเนอร์ต่างชาตินั้น ตามที่เคยมีการจับมือกับค้าปลีกญี่ปุ่นชื่อดังอย่าง “ดอง กิโฮเต้” (Don Quijote) และร้านขายสินค้าแบรนด์เนมมือสอง “Komehyo” ในช่วงที่ผ่านมา ปีนี้จะมีโอกาสจับมือกับพาร์ตเนอร์ใหม่ๆ หรือไม่นั้น

    พิภพ โชควัฒนา กรรมการบริษัทและกรรมการบริหาร บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ตอบว่า แบรนด์ในเครือยังมีการพิจารณาการลงทุนอยู่ แต่ด้วยความสะไม่ดวกในการประสานงานช่วงนี้ ทำให้การเซ็นสัญญาใหม่อาจจะน้อยลง เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมองว่าหากสถานการณ์คลี่คลาย ปีหน้าก็เป็นโอกาสอันดี

    “เศรษฐกิจของประเทศไทยน่าจะกลับมามีสัญญาณที่ดีขึ้นในช่วงปลายปีนี้ กลุ่มเสื้อผ้าที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตในประจำวันยังขายได้ เเต่กลุ่มเสื้อผ้าเเฟชั่นน้อยลง จึงต้องทำธุรกิจเเบบตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ในช่วงนี้ธุรกิจด้านอาหารก็น่าสนใจ ซึ่งเราก็กำลังดูๆ ไว้อยู่”

    เเบรนด์วาโก้ หันมาผลิตหน้ากากาอนามัย ในช่วง COVID-19

    สำหรับนโยบายของ “เครือสหพัฒน์” ในช่วงเวลานี้ ธรรมรัตน์บอกว่าหลักๆ จะเเบ่งได้ดังนี้

    • การออกสินค้าใหม่ ต้องทบทวนใหม่ เช่นปกติเคยออก 3-4 คอลเลกชั่นต่อไตรมาส ก็จะมีการปรับลดลงตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และไม่ให้เเย่งยอดขายกันเอง
    • ช่องทางการขาย ดูว่าเหมาะกับการขายออนไลน์หรือออฟไลน์ เจาะตลาดที่มีความต้องการจริงๆ
    • ระบายสต็อกสินค้า ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากมาตรการล็อกดาวน์ โดยเฉพาะสินค้าเเฟชั่นที่ยังมีค้างสต็อกอยู่ จากเดิมที่เคยคาดว่าจะใช้เวลา 1 ปี ตอนนี้อาจจะต้องใช้เวลาระบายสต็อกถึง 2 ปี
    • บุกตลาดออนไลน์ เป็นหนึ่งในนโยบายดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นของบริษัท ซึ่งการจัดสหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์จะเป็นการเปิดทางสู่การพัฒนาในยุค E-commerce เเม้ว่าตอนนี้สัดส่วนขายออนไลน์ของสหพัฒน์ยังอยู่ที่ 20% แต่เป้าหมายเพิ่มยอดขายออนไลน์ใน 5 ปี (2019-2023) ตั้งใจว่าทำรายได้ให้ถึง 5,000 ล้านบาท

     

    ]]>
    1284615