ดอกเบี้ย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 14 Apr 2022 01:48:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘นิวซีเเลนด์’ ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.5% สู่ระดับ 1.5% สูงสุดในรอบ 22 ปี หวังสกัดเงินเฟ้อ https://positioningmag.com/1381537 Wed, 13 Apr 2022 07:45:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381537 ธนาคารกลางนิวซีเเลนด์ ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ในรอบ 22 ปี ส่งสัญญาณว่าผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกกำลังเพิ่มความพยายามที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อ

ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่ม 0.50% สู่ระดับ 1.50% สูงสุดในรอบ 22 ปี นับตั้งแต่ปี 2000 โดยเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 4 ติดต่อกัน เพื่อลดผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก

RBNZ ระบุในเเถลงการณ์ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ จะทำให้เกิดความยืดหยุ่นด้านนโยบายเพิ่มขึ้นในอนาคต ท่ามกลางภาวะแวดล้อมของเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอนสูง

อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกกำลังเร่งตัวขึ้น ท่ามกลางการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานและผลกระทบของการรุกรานยูเครนของรัสเซียที่มีต่อราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ โดยในนิวซีแลนด์และแคนาดาได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบ 3 ทศวรรษ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ อยู่ที่ 8.5% สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1981

การรุกรานยูเครนของรัสเซียทำให้อัตราเงินเฟ้อแย่ลง ขณะเดียวกันก็กระทบต่อความเชื่อมั่นและทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจชะลอลง หลังเพิ่งฟื้นตัวจากวิกฤตโรคระบาดโควิด-19

นิวซีแลนด์ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดที่สุด โดยมีการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางแคนาดา เตรียมจะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 0.5% สู่ระดับ 1% ในเร็วๆ นี้

ขณะเดียวกัน หลายฝ่ายต่างจับตาการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่จะมีขึ้นในช่วงต้นเดือนพ..ที่จะถึงนี้ หลังเริ่มมีสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกรอบ เเละอาจจะปรับขึ้น 0.5% หากสถานการณ์มีความจำเป็น

Jarrod Kerr หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Kiwibank มองว่า เฟดก็กำลังจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% เช่นกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหาอัตราเงินเฟ้อ

 

ที่มา : Bloomberg , nikkei 

]]>
1381537
Goldman Sachs คาดเฟดจะประกาศ ‘ขึ้นดอกเบี้ย’ ถึง 7 ครั้งในปีนี้ https://positioningmag.com/1373697 Fri, 11 Feb 2022 08:18:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373697 Goldman Sachs วาณิชธนกิจรายใหญ่ คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 7 ครั้งภายในปีนี้ เพื่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ หลังตัวเลข CPI สูงกว่าที่คาดไว้

ก่อนหน้านี้ Goldman Sachs ประเมินว่า เฟดจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 5 ครั้งในปีนี้ เเต่มุมมองนี้เปลี่ยนไป หลังดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ หรือ CPI ประจำเดือนม.. แตะที่ระดับ 7.5% สูงสุดในรอบ 40 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 1982 สร้างแรงกดดันให้เฟดต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจัง

ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ก็พุ่งขึ้น 6.0% ในเดือนม.. เมื่อเทียบรายปี

นักเศรษฐศาสตร์ของ Goldman Sachs ประเมินว่า ในการประกาศขึ้นดอกเบี้ยของเฟดทั้ง 7 ครั้ง อาจจะมีการขึ้นดอกเบี้ยที่ 0.25% อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย ‘0.50%’ ในการประชุมนโยบายการเงินเดือนมี..นี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงมาก รวมไปถึงการปรับเพิ่มของค่าจ้างในตลาดเเรงงาน

เช่นเดียวกับความเห็นของนักวิเคราะห์จาก Citi ที่คาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนมี..นี้ เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ

ตอนนี้เราคาดว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนมีนาคม ตามด้วยการปรับขึ้น 0.25% สี่ครั้งในเดือนพฤษภาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม

นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 3 ครั้งในปี 2033 หลังจากที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวม 1.50% ในปีนี้

ขณะที่นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าเฟดจะคงแนวทางนโยบายการเงินเเบบ ’ค่อยเป็นค่อยไปแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงเกินคาดก็ตาม

 

ที่มา : Straitstimes , Reuters , CNBC 

]]>
1373697
ประเมิน ‘เงินเฟ้อ’ มีแนวโน้มเร่งขึ้น เเต่อุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวช้า ธุรกิจท่องเที่ยวยังมีข้อจำกัด https://positioningmag.com/1361153 Tue, 09 Nov 2021 10:57:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361153 วิจัยกรุงศรี คาดกนง. คงดอกเบี้ย 0.50% ไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2565 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนตุลาคมสูงสุดในรอบ 5 เดือน ตามราคาน้ำมัน-ราคาอาหารสด พืชผัก แต่อุปสงค์ในประเทศยังฟื้นตัวช้า ภาคท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวเเบบมีข้อจำกัด

โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ‘เดือนตุลาคม’ อยู่ที่ 2.38% YoY จาก 1.68% เดือนกันยายน สาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศตามสถานการณ์ราคาพลังงานโลก (+37.1%) และการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสดในกลุ่มพืชผัก (+7.1)

“ผลกระทบจากน้ำท่วมทำให้ผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดยาสูบเพิ่มสูงขึ้นจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต”

ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 0.21% จาก 0.19% เดือนกันยายน สำหรับในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 0.99% และ 0.23% ตามลำดับ

อัตราเงินเฟ้อยังคงเผชิญแรงกดดัน ในช่วงที่เหลือของปี หลักๆ มาจาก 

⚫ ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทรงตัวในระดับสูงตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาด้านอุปทาน

⚫ กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ภายหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด และการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัวจากประเทศที่กำหนด

⚫ การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตรบางชนิด ที่ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก

แม้ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเร่งสูงขึ้นจากปัจจัยทางด้านอุปทานเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่อุปสงค์ในประเทศมีทิศทางฟื้นตัวค่อนข้างช้า สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนล่าสุดที่ทรงตัวในระดับต่ำ ประกอบกับสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง หลังหลายประเทศกำลังประสบกับการกลับมาระบาดใหม่หลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุม

ทั้งนี้ ในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้ (วันที่ 10 พฤศจิกายน) คาดว่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% และมีแนวโน้มตรึงไว้อย่างน้อยจนถึงสิ้นปีหน้า เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความเปราะบางและไม่สม่ำเสมอ แม้อาจเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อจากปัจจัยด้านอุปทานอยู่บ้างในช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้าก็ตาม

ความเชื่อมั่นผู้บริโภค เพิ่มสูงสุดรอบ 5 เดือน

ด้านความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นทางธุรกิจฟื้นต่อเนื่อง ขณะที่การเปิดประเทศสัปดาห์แรกมีนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้วกว่า 2 หมื่นราย กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวหลังสถานการณ์การระบาดบรรเทาลง และมาตรการควบคุมการระบาดที่ผ่อนคลายเพิ่มเติม หนุนให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 สู่ระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ 43.9 จาก 41.4 ในเดือนกันยายน

โดยเป็นการปรับขึ้นในทุกองค์ประกอบ ด้านดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 สู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือนที่ 47.0 จาก 42.6 เดือนกันยายน จากการปรับเพิ่มขึ้นในเกือบทุกองค์ประกอบ ยกเว้นด้านต้นทุนที่ยังถูกแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับขึ้นเหนือระดับ 50 (ขยายตัว) ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 อยู่ที่ 52.5 จาก 50.7

แม้เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีมีสัญญาณฟื้นตัวจากความเชื่อมั่นทั้งผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาด (ที่ระดับค่าเฉลี่ย 75.5 และ 48.9 ตามลำดับ ในปี 2562)

Photo : Shutterstock

ภาคท่องเที่ยวฟื้นตัวล่าช้า- มีข้อจำกัด

นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังกระจายตัวไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวที่ยังฟื้นล่าช้าแม้จะเริ่มมีการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยจากข้อมูลช่วงวันที่ 1-7 พฤศจิกายน มีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 22,832 ราย แม้สูงกว่าทั้งเดือนกันยายนที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 12,237 ราย

แต่การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวโดยรวมแล้วอาจยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง อย่าง นโยบายของประเทศต้นทางที่ยังคุมเข้มการเดินทางระหว่างประเทศ และความกังวลจากสถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันของไทยที่ยังค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน

“มาตรการภาครัฐที่เพิ่มกำลังซื้อของผู้บริโภค และกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ จะเป็นปัจจัยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงปลายปีนี้” 

]]>
1361153
เปิดความเห็น ‘เศรษฐีเอเชีย’ มองเทค บริหารเงินกงสี ความยั่งยืน ปรับพอร์ตลงทุนในตลาดผันผวน https://positioningmag.com/1320828 Wed, 24 Feb 2021 17:23:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320828 เปิดความเห็นของเหล่า ‘เศรษฐี’ ในเอเชีย กับมุมมองด้านเทคโนโลยี การลงทุน การบริหารทรัพย์สินครอบครัว และความยั่งยืน ท่ามกลางตลาดที่ผันผวนในวิกฤต COVID-19 

Lombard Odier (ลอมบาร์ด โอเดียร์) ร่วมกับ KBank Private Banking สำรวจมุมมองและข้อกังวลของผู้มีความมั่งคั่งสูง (UHNWIs) ในประเด็นสานสัมพันธ์ เปลี่ยนผ่าน และพลิกโฉม : การเข้าถึงผู้มีความมั่งคั่งสูงในภูมิภาคเอเชีย ในยุค New Normal’ 

โดยรวบรวมความคิดเห็นของศรษฐี 150 ราย ใน 7 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และไต้หวัน 

วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner and Chief Executive Officer, Asia, Lombard Odier กล่าวว่า ผลกระทบจากโรคระบาดครั้งใหญ่ในศตวรรษ ทำให้เหล่านักธุรกิจชั้นนำเปลี่ยนมุมมองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว รวมไปถึงหันมาเน้นลงทุนไม่หวือหวา แต่ถือได้ยาวนานขึ้น

ผู้มีความมั่งคั่งสูงหลายราย ต้องการพึ่งพาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในประเทศนั้นๆ เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ ในช่วงที่การเดินทางยังลำบาก เราจึงได้เห็นสถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่งเริ่มมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งร่วมกับสถาบันการเงิน ‘ท้องถิ่น’ มากขึ้น

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย (ซ้าย) วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner and Chief Executive Officer, Asia, Lombard Odier (ขวา)

เเม้เศรษฐกิจโลกจะตกต่ำ เเต่ธุรกิจ Private Banking ที่ดูเเลลูกค้ามั่งคั่ง กลับมีผลประกอบการดีที่สุดในรอบหลายปี เพราะพิษเศรษฐกิจสะเทือน ‘รากหญ้า’ มากกว่า ‘คนรวย’

Lombard Odier เเละ KBank Private Banking คาดว่า แนวโน้มการเติบโตของบุคคลผู้มีสินทรัพย์สูง หรือ Ultra High Net Worth Individuals : UHNWIs ในเอเชียจะยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ราว 10-15% ภายหลังวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว เเละสงครามการค้าคลี่คลายลง

“จำนวนของเศรษฐีใหม่ในเอเชียจะมีเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตามเทรนด์การลงทุนในธุรกิจดิจิทัลใหม่ๆ ที่เเจ้งเกิดเเละเติบโตในช่วง COVID-19”

สำหรับในประเทศไทย มองว่า ธุรกิจที่จะสามารถ ‘ฟื้นตัวได้เร็ว’ จากวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจด้านพลังงาน ,  ธุรกิจด้านวัสดุหรือวัตถุดิบ (Material) และธนาคาร

เทคโนโลยี : more digital…เเต่ยังชอบ ‘พบปะพูดคุย’ 

ผลสำรวจนี้ ชี้ให้เห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนของบุคคลผู้มีความมั่งคั่งสูงในการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล

กว่า 81% ของคนรวยในเอเชีย เห็นว่าการติดต่อผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น และลดการพบปะกันลง more digital, less physical จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่

โดยผู้มีความมั่งคั่งสูงในไทยที่คิดเห็นเช่นนี้ มีจำนวนมากเป็นลำดับที่ 3 ในเอเชีย

อย่างไรก็ตาม พวกเขามองว่าไม่ใช่ทุกอย่างที่สามารถขับเคลื่อนบนโลกดิจิทัลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการติดต่อสื่อสาร และการสร้างความไว้วางใจระหว่างลูกค้าและ Private Bank

เพราะการลงทุนครั้งละกว่าร้อยล้านพันล้าน การได้พูดคุยกันต่อหน้ายังมีความจำเป็น

โดย 59% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียและในประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังคงต้องการพบปะพูดคุยที่ธนาคารหรือสถานที่อื่นๆ มากกว่าการติดต่อผ่านทางอีเมล จดหมาย วิดีโอคอล หรือโทรศัพท์

เมื่อสถานการณ์ COVID-19 จบลง ผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยจำนวนหนึ่งกล่าวว่า การพบปะกันยังคงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับการดำเนินธุรกิจ และไม่คิดว่ากิจกรรมเหล่านี้จะสามารถทดแทนได้ผ่านการติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์

การลงทุน : ‘ดอกเบี้ยต่ำ’ จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่

ผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชีย เห็นความผันผวนของตลาดมากขึ้น เเต่กลุ่มนักลงทุนที่เคยผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมากเเล้ว ‘ไม่ได้ตื่นตระหนกต่อวิกฤตครั้งนี้มากนัก”

ผลสำรวจ ระบุว่า70% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย เเละ 81% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียไม่ได้ปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุน โดยเฉพาะระยะเวลาของการลงทุน

สำหรับด้านการบริหารสินทรัพย์ แม้ว่าจะมีผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียบางส่วน เลือกที่จะบริหารจัดการแบบที่ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ (Conservative) โดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ เงินฟรังก์สวิส เงินเยน และพันธบัตรรัฐบาล

“แต่ก็ยังมีผู้มีความมั่งคั่งสูงอีกจำนวนหนึ่งที่มองเห็นโอกาสในช่วงเวลานี้ โดยให้ความสนใจกับหุ้น และตราสารหนี้ภาคเอกชน เนื่องจากเล็งเห็นแนวโน้มว่าภาวะดอกเบี้ยต่ำจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่” 

โดย 78% มองว่าภาวะดอกเบี้ยตํ่าจะเป็นส่วนหนึ่งของโลกยุคหลัง COVID-19 และอาจดําเนินต่อเนื่องไปอีกทศวรรษ

ผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยกว่า 87% กล่าวว่า การมีบริการพิเศษที่นอกเหนือบริการด้านลงทุนจะส่งผลอย่างมากต่อการตัดสินใจในการเลือกธนาคาร โดยบริการ 3 อันดับแรกที่มีความสำคัญสูงสุด ได้เเก่ 

  • บริการด้านสินเชื่อ
  • ความสามารถในการเข้าถึงเครือข่ายผู้ประกอบการ
  • ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการเงิน
  • การเข้าถึงโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์จริง เช่น อสังหาริมทรัพย์

บริหารทรัพย์สินครอบครัว : สนใจ ‘ธรรมาภิบาล’ มากขึ้น 

ความผันผวนของตลาด ทำให้ผู้มั่งคั่งในเอเชีย เริ่มกลับมา ‘ทบทวน’ ธรรมาภิบาลในการจัดการทรัพย์สินครอบครัวและการดําเนินธุรกิจในระยะยาว และทําให้เรื่องนี้เร่งด่วนขึ้น

สำหรับประเทศไทย 35% ของครอบครัวผู้มีความมั่งคั่งสูงได้มีการจัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวแล้ว และวิกฤตในครั้งนี้ก็ได้ส่งผลให้อีก 45% ของครอบครัวที่ยังไม่ได้จัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวสนใจที่จะเริ่มวางแผนในอนาคต

นอกจากนี้ บริการที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Advisory Service) ได้กลายเป็นอีกหนึ่งบริการที่เติบโตสูงที่สุด และเข้ามาตอบโจทย์การบริหารจัดการที่ดินของครอบครัวผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย

สำหรับในปี 2020 ที่ผ่านมา KBank Private Banking ได้ทำการศึกษาและดูแลพอร์ตการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ให้แก่กลุ่มลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งสูงจำนวน 121 ราย โดยครอบคลุมที่ดินทั้งหมด 940 แปลง

เศรษฐีรุ่นใหม่มองความ ‘ความยั่งยืน’ คืออนาคต 

เหล่ามหาเศรษฐี เริ่มตระหนักถึงสิ่งที่มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตหลังวิกฤต COVID-19 ซึ่งเทรนด์ ‘ความยั่งยืน’ เป็นที่สำคัญที่สุดสำหรับการตัดสินใจเลือก Private Bank

69% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย ได้จัดอันดับให้เทรนด์ด้านความยั่งยืนเป็น 1 ใน 3 ประเด็นที่สำคัญที่สุด โดยไทยคือประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเป็นที่สอง รองจากญี่ปุ่น

แม้ว่า 89% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียกล่าวว่า เทรนด์ความยั่งยืนจะยังคงมีบทบาทสำคัญในระยะยาว แต่กลับมีเพียง 61% ที่วางแผนการลงทุนโดยคำนึงถึงมิติด้าน ESG และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้มีความมั่งคั่งสูงบางส่วน ยังไม่เชื่อมั่นว่าการลงทุนด้านความยั่งยืนจะสร้างผลตอบแทนท่ีดีได้ โดย 1 ใน 3 ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชีย (ส่วนใหญ่จาก ฮ่องกง ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์) ไม่มีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนที่คํานึงถึงมิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของไพรเวทแบงก์ในการให้คำแนะนำ เพื่อแสดงให้กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงเห็นถึงศักยภาพและแนวทางการสร้างผลกำไรของการลงทุนอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

“กลุ่มเศรษฐีรุ่นใหม่ ให้ความสําคัญกับความยั่งยืนเป็นลําดับต้นๆ และต้องการใช้บริการของธนาคารที่มีการลงมือด้านนี้อย่างจริงจัง” 

4 เรื่องที่ Private Bank ต้องพัฒนา 

KBank Private Banking ให้บริการการบริหารความมั่งคั่งแก่ลูกค้าธนาคารกสิกรไทย ที่มีเงินฝากและเงินลงทุนกับธนาคาร ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ส่วน Lombard Odier เป็นบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์และความมั่งคั่งที่มีประสบการณ์กว่า 220 ปี ดูแลสินทรัพย์รวมของลูกค้าทั่วโลกกว่า 290 พันล้านฟรังก์สวิส (ข้อมูล วันที่ 30 มิถุนายน 2563)

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ระบุว่า ผลสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นความต้องการของกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงที่เพิ่มขึ้นและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

KBank Private Banking เเละพันธมิตรทางธุรกิจอย่าง Lombard Odier มองว่ามี 4 เรื่องที่ผู้ให้บริการต้องทำเพื่อช่วยสร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืนให้แก่ลูกค้า ได้แก่

  1. เร่งพัฒนาคุณภาพของบริการดิจิทัล ทั้งในด้านการสื่อสาร การส่งมอบบริการ การรายงานข้อมูลทางการเงิน และการทำธุรกรรม ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการให้บริการของไพรเวทแบงเกอร์
  2. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนที่มีกลไกควบคุมความเสี่ยง ติดตั้งเครื่องมือที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้สะดวกขึ้นในทุกๆ ผลิตภัณฑ์
  3. เสริมความแข็งแกร่งของบริการที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการลงทุนในตลาดทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนนอกตลาดและลงทุนโดยตรงในบริษัท หรือบริการให้คำแนะนำด้านอสังหาริมทรัพย์และการวางแผนความมั่งคั่ง
  4. เป็นสื่อกลางในการพิสูจน์ให้เห็นถึงผลตอบแทนในระยะกลางและระยะยาวของการลงทุนอย่างยั่งยืน และนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

 

อ่านรายงานฉบับเต็ม (ที่นี่)

 

]]>
1320828
กำไร ‘เเบงก์พาณิชย์’ ปี 2563 ลดลง 46% เเต่สินเชื่อโต 5.1% ‘หนี้เสีย’ ทั้งระบบขยับเพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1320360 Mon, 22 Feb 2021 09:23:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320360 เเบงก์ชาติเผยปี 2563 ธนาคารพาณิชย์ในไทย ทำกำไรลดลง 46% อยู่ที่ 1.46 เเสนล้านบาท ผลจากการกันสำรองเพิ่มขึ้นช่วง COVID-19 ภาพรวมสินเชื่อโต 5.1% ด้าน NPL เพิ่มขึ้นที่ 3.12% ลูกหนี้กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวโรงเเรมน่าเป็นห่วงสุด 

สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยใน ปี 2563 ว่า มีกำไรสุทธิราว 146,200 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ราว  271,000 ล้านบาท หรือลดลง 46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 

ปัจจัยหลักๆ มาจากการกันสำรองในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อองรับผลกระทบจาก COVID-19 ต่อคุณภาพหนี้ในระยะต่อไป ประกอบกับผลของฐานสูงจากรายได้จากเงินลงทุนซึ่งเป็นปัจจัยพิเศษในปีก่อน 

โดยระบบธนาคารพาณิชย์ มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 2,994.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) ที่ 20.1% เงินสำรองอยู่ในระดับสูงที่ 799.1 พันล้านบาท โดยอัตราส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL coverage ratio) อยู่ที่ 149.2% และอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) อยู่ที่ 179.6%

สำหรับผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Assets: ROA) ลดลงมาอยู่ที่ 0.65% จากปีก่อนที่ 1.39% และอัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (NIM) ลดลงมาอยู่ที่ 2.51% จากปีก่อนที่อยู่ที่ 2.73%

ด้านภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ในปีที่ผ่านมา ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5.1% จากปีก่อนที่ขยายตัว 2%

สินเชื่อธุรกิจ ขยายตัว 5.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัว 0.8% ปัจจัยหลักจากการเติบโตของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่ส่วนหนึ่งกลับมาใช้สินเชื่อแทนการออกตราสารหนี้ในช่วงไตรมาส 2/63

สินเชื่อ SMEs หดตัวในอัตราที่ลดลงจากผลของมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan)

สินเชื่อที่อยู่อาศัย ขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามอุปสงค์ในตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะแนวราบที่ปรับดีขึ้นและแคมเปญการตลาดของผู้ประกอบการ

สินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัว 4.6% ลดลงจากปีก่อนที่ขยายตัว 7.5% สอดคล้องกับกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด

คาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้นในทุกพอร์ตสินเชื่อ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น หลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

ด้านคุณภาพสินเชื่อลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์ ทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL หรือ Stage3) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 5.233 เเสนล้านบาท คิดเป็น 3.12%

ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม อยู่ที่ 6.62% ส่วนแนวโน้ม NPL นั้นคาดว่าจะทยอยเพิ่มขึ้น จากกลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือมีหนี้ที่มีปัญหาที่หลากหลาย

กลุ่มลูกหนี้ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ ลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างหนัก เช่นกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวเเละโรงเเรม เเม้จะเริ่มฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวในประเทศ เเต่เมื่อมีการระบาดระลอกใหม่ก็ทำให้คนไทยท่องเที่ยวน้อยลง โดยโรงเเรมหรือธุรกิจที่พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบ 100% ก็ยังต้องรอความคืบหน้าในเรื่องวัคซีน

ทั้งนี้ พอร์ตลูกหนี้กลุ่มธุรกิจโรงแรม มีอยู่ประมาณ 4 แสนล้านบาทในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย

 

]]>
1320360
กนง. คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อปี มอง COVID-19 ระลอกใหม่ สะเทือนเศรษฐกิจไทยไม่เเรงเท่ารอบแรก https://positioningmag.com/1317719 Wed, 03 Feb 2021 08:15:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317719 กนง. มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี หนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง มอง COVID-19 ระลอกใหม่ไม่กระทบรุนแรงเท่ารอบแรก

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินว่า แม้ว่าในระยะสั้นเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ แต่แรงกระตุ้นจากมาตรการของภาครัฐและการส่งออกที่ฟื้นตัวดีขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจไทยโดยรวมยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับความเสี่ยงด้านต่ำและความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นในระยะข้างหน้า จึงยังต้องการแรงสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในการประชุมครั้งนี้ และรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีจำกัด เพื่อใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

“ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ไม่รุนแรงเท่ากับการระบาดระลอกแรกจากมาตรการควบคุมการระบาดที่ไม่เข้มงวดเท่าครั้งก่อน”

กนง. มองว่า เศรษฐกิจยังได้รับแรงกระตุ้นจากมาตรการของภาครัฐที่ออกมาได้เร็วและตรงจุด และการส่งออกที่ฟื้นตัวดีขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้แต่ต่ำกว่าประมาณการเดิมบ้าง เเต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง

โดยในระยะสั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ขณะที่ในระยะถัดไปขึ้นอยู่กับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประสิทธิผลและการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 แรงสนับสนุนจากภาครัฐที่เพียงพอและต่อเนื่อง

“ตลาดแรงงานที่เปราะบางขึ้นจากการระบาดระลอกใหม่ ทำให้จำนวนผู้ว่างงานและเสมือนว่างงานมีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะสั้น” 

Photo : Shutterstock

นอกจากนี้ การฟื้นตัวของแต่ละภาคเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมากขึ้นจะส่งผลต่อความยั่งยืนของการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป

ด้าน ระบบการเงิน มีเสถียรภาพ แต่มีความเปราะบางมากขึ้นในบางจุดจากผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและธุรกิจ SMEs

สำหรับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป จะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปี 2564 และจะอยู่ใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายตลอดช่วงประมาณการ โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย

สภาพคล่องโดยรวม อยู่ในระดับสูงและต้นทุนทางการเงินอยู่ในระดับต่ำ แต่การกระจายตัวของสภาพคล่องยังไม่ทั่วถึงจากความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้นตามฐานะการเงินที่เปราะบาง โดยเฉพาะธุรกิจที่ฟื้นตัวช้าและครัวเรือนที่ถูกกระทบเพิ่มเติมจากการระบาดระลอกใหม่

ด้าน อัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เคลื่อนไหวสอดคล้องกับเงินสกุลภูมิภาค คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิดและพิจารณาความจำเป็นของการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม รวมถึงผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) อย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการฯ เห็นว่าความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายระหว่างหน่วยงานมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะถัดไป โดยนโยบายการเงินต้องผ่อนคลายต่อเนื่อง มาตรการทางการเงินและสินเชื่อควรเร่งกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและทันการณ์ เช่น

  • มาตรการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อลดความเสี่ยงด้านเครดิต
  • การผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เกิดผลในวงกว้าง
  • พิจารณามาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อเสริมประสิทธิภาพการกระจายสภาพคล่องและเพื่อรองรับเศรษฐกิจช่วงฟื้นฟูในอนาคต
  • มาตรการทางการคลังต้องพยุงเศรษฐกิจโดยไม่ขาดช่วง โดยเฉพาะการเร่งเบิกจ่ายภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสามารถควบคุมการระบาดระลอกใหม่ได้
  • ดำเนินการนโยบายด้านอุปทาน เพื่อปรับรูปแบบธุรกิจและยกระดับทักษะแรงงาน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืน

คณะกรรมการฯ ยังคงให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ รวมถึงจะติดตามความเพียงพอของมาตรการภาครัฐและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะสถานการณ์การระบาดทั้งในและต่างประเทศ ในการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า โดยพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจำเป็น

 

ที่มา : ธนาคารเเห่งประเทศไทย 

]]>
1317719
เเบงก์ใหญ่ญี่ปุ่น Mizuho ลุยโมเดลหารายได้เสริม ประกาศขายข้อมูล “พฤติกรรมลูกค้า” https://positioningmag.com/1305568 Wed, 11 Nov 2020 11:16:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305568 ธนาคารในญี่ปุ่น เริ่มหา รายได้เสริมด้วยโมเดลธุรกิจใหม่ ล่าสุด Mizuho Financial Group เป็น
เเบงก์เเรกของประเทศที่ประกาศขายข้อมูลลูกค้าเช่นพฤติกรรมการใช้จ่าย การกู้เเละรายได้

Koji Fujiwara ซีอีโอฝ่ายธนาคารของ Mizuho ให้สัมภาษณ์ว่า กำลังจะมีการเสนอขายข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคให้กับลูกค้าองค์กรเเละผู้ประกอบการที่สนใจ ซึ่งธนาคารมีข้อมูลเหล่านี้อยู่จำนวนมาก ทั้งการทำธุรกรรมและการกู้ยืมต่างๆ โดยเน้นย้ำว่า ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกรวบรวมทำให้เป็นนิรนามไม่ระบุตัวตน เเละจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภค

Mizuho ตามรอยธนาคารใหญ่ในโลกหลายเเห่ง ที่หันมาหารายได้จากการขายข้อมูลพฤติกรรมทางการเงินของลูกค้าอย่าง Bank of America เเละ Lloyds Banking Group เช่นเดียวกับ บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง Facebook เเละ Alphabet (บริษัทเเม่ของ Google) ที่ทำเงินมหาศาลจากข้อมูลของผู้ใช้

โดยมีการประเมินว่า บรรดาธนาคารทั้งหลาย จะมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1% ถึง 2% หากสามารถใช้ประโยชน์จากการแบ่งปันข้อมูลที่มีได้

ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นมีกฎข้อบังคับที่เข้มงวดต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคาร แต่หลังจากที่อัตราดอกเบี้ยและดีมานด์การกู้ลดต่ำลงต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจปล่อยสินเชื่อของธนาคารอย่างมาก รัฐบาลจึงมีการผ่อนปรนนโยบายและปลดล็อกข้อกฏหมายต่าง ๆ ให้ธนาคารหารายได้หลากหลายช่องทางมากขึ้น

ในเบื้องต้น Mizuho ไม่ได้เผยถึงรายได้หรือค่าบริการที่ตั้งเป้าไว้ เเต่ระบุว่า ธนาคารมีเป้าหมายในการให้เสนอบริการข้อมูลนี้กับลูกค้าให้ได้ 100 รายภายใน 3 ปี เเละหวังว่าจะมีการนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจค้าปลีก หรือร้านอาหารอาจจะเลือกที่ตั้งของสาขาใหม่ โดยอ้างอิงจากข้อมูลรายได้การใช้จ่ายและข้อมูลอื่นๆ ของทางธนาคาร

(Photo by Tomohiro Ohsumi/Getty Images)

เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ธนาคาร Mizuho เเละเเบงก์ต่างๆ ในญี่ปุ่น กำลังให้ความสำคัญเเละสนใจเข้าไปร่วมกิจการใหม่ๆ

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา Mitsubishi UFJ Financial Group ทุ่มเงินลงทุนกว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในสตาร์ตอัพยูนิคอร์นอย่าง Grab ขณะที่ Sumitomo Mitsui Financial Group เข้าซื้อหุ้นในบริษัทผู้ให้บริการแอปฯ ข้อมูลทางการแพทย์ของญี่ปุ่น

ซีอีโอฝ่ายธนาคารของ Mizuho เชื่อว่า แม้ธุรกิจหลักของธนาคารจะยังสำคัญอยู่ แต่ก็ไม่เพียงพออีกต่อไป โดยธนาคารต้องหันไปให้บริการแบบ Non-financial Service เพิ่มขึ้นต่อไป

นักวิเคราะห์ Bloomberg มองว่า ธนาคารในญี่ปุ่นมีเเนวโน้มจะการพัฒนาด้านเทคโนโลยีมากขึ้น หลังจากที่โยชิฮิเดะ ซูงะนายกรัฐมนตรีคนใหม่ สัญญาว่าจะยกเครื่องการทำงานที่ล้าสมัย เเละปรับให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น

 

ที่มา : Bloomberg , Japantimes

]]>
1305568
เปิดตำนาน 15 ปี “Easy Money” โรงรับจำนำเจ้าใหญ่ ทรานส์ฟอร์ม “โรงตึ๊ง” สู่สถาบันสินเชื่อ https://positioningmag.com/1300566 Fri, 09 Oct 2020 13:53:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300566 โรงรับจำนำอยู่กับคนไทยมาหลายยุคหลายสมัยเศรษฐกิจจะดีหรือเเย่ ก็สามารถมองผ่านเลนส์ของธุรกิจโรงรับจำนำได้

จากภาพจำเดิมๆ ที่เคยน่ากลัวในวันวาน การไปโรงรับจำนำในวันนี้ ถูกดิสรัปชันให้ทันสมัย ผู้คนรู้สึกสบายใจเหมือนไปทำธุรกรรมที่ธนาคารมากขึ้น

เล่าถึงโรงรับจำนำแห่งแรกในไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2409 เป็นโรงรับจำนำของชาวจีน ที่มีชื่อว่าย่องเซี้ยงปัจจุบันคือโรงรับจำนำสำราญราษฎร์ ย่านประตูผี แต่มีอีกหลักฐานระบุว่าโรงรับจำนำ อาจมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา

ช่วงเเรกที่ย่องเซี้ยงเปิดให้บริการนั้นได้รับความนิยมมาก ทำให้มีโรงรับจำนำเจ้าอื่นๆ ผุดขึ้นตามอีกมากมายหลายร้อยเเห่ง ส่วนใหญ่เป็นของเอกชน ต่อมาโรงรับจำนำของรัฐแห่งแรกก็ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2498

ในปัจจุบัน โรงรับจำนำทั่วประเทศไทย มีอยู่ประมาณ 800 แห่ง แบ่งเป็นของรัฐประมาณ 300 แห่ง และของเอกชนราว 500 แห่ง มูลค่าตลาดรวมกว่า “เเสนล้านบาท” ซึ่งรวมถึงธุรกิจขายฝากที่ทำในร้านทองเเละร้านรับซื้อของเก่าต่างๆ ด้วย เติบโตราว 10% ต่อปี

ด้วยความที่ “รายได้” ของโรงรับจำนำมาจาก “ดอกเบี้ย” เป็นหลัก ดังนั้นการที่มีผู้เข้ามาใช้บริการจำนวนมาก ก็คือการเติบโตของธุรกิจนี้ ทำให้ต้องงัดกลยุทธ์ใหม่ๆ มาดึงใจลูกค้า ยิ่งในยุคเทคโนโลยีเเล้ว การปรับตัวของธุรกิจดั้งเดิมไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เมื่อต้องสู้กับตลาดที่มีการฟาดฟันเเละเเข่งขันสูง…ธุรกิจโรงรับจำนำ จึงไม่ใช่ “เสือนอนกิน” อีกต่อไป 

Positioning เจาะลึกธุรกิจโรงรับจำนำในหลายเเง่มุมใกล้ตัวเรา พร้อมเปิดตำนาน 15 ปี “Easy Money” (อีซี่ มันนี่) โรงรับจำนำเอกชนรายใหญ่ที่สุดของไทย กับการเปลี่ยนผ่านสู่สถาบันสินเชื่อทางเลือก” ในศึกเงินด่วนยุคดิจิทัล

15 ปี “Easy Money” เเก้ Pain Point ขอกู้ยาก 

โรงรับจำนำ Easy Money ของบริษัท ตั้งธนสิน จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2547 โดย “สิทธิวิชญ์ ตั้งธนาเกียรติ” นายธนาคารผู้เชี่ยวชาญด้านสินเชื่อ จากการมองเห็น “ช่องว่างของตลาด” เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีโรงจำนำที่มีรูปแบบร้านที่ทันสมัยเเละเข้าถึงง่ายเลย อีกทั้งต้องการเเก้ Pain Point ของผู้ขอสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์ในยุคนั้น ที่มีขั้นตอนยุ่งยาก ใช้เอกสารเยอะ พิจารณานานเเละอาจจบที่ไม่ผ่านกู้ โดยที่มาของชื่อ Easy Money ก็เเปลความหมายตรงตัวว่าลูกค้าจะได้ “เงินเเบบง่ายๆ” นั่นเอง

โดยจุดเด่นของโรงรับจำนำ คือความน่าเชื่อถือ ดอกเบี้ยถูก ขั้นตอนน้อย ได้เงินง่าย (ถ้าของที่จำนำผ่าน) ถือเป็นการเเปลงทรัพย์สินเป็นทุนที่รวดเร็ว เมื่อเทียบกับสินเชื่อเเบบอื่นๆ เเละยังมีความใกล้ชิดชุมชนมากกว่า เช่น เเม่ค้าในละเเวกนั้นเอาของมาจำนำตอนเช้า นำเงินไปหมุน-แก้ปัญหา ตกเย็นขายของได้ก็มาไถ่คืน

“ตอนนั้นมองว่าธุรกิจโรงรับจำนำ ไม่จำเป็นต้องเจาะกลุ่มลูกค้าคนจน-รายได้ต่ำเสมอไป เป็นช่องว่างตลาดที่จะขยายฐานลูกค้าไปยังพนักงานออฟฟิศ ที่ต้องการเสริมสภาพคล่อง เเละผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการเงินหมุนในธุรกิจ”

โรงรับจำนำ Easy Money สาขาแรกเปิดตัวที่เมืองรังสิต จ.ปทุมธานี เมื่อปี 2548 ช่วงเเรกมีพนักงานเริ่มต้นเพียง 10-20 คน ขยายตัวมาเรื่อยๆ จนตอนนี้มีพนักงานกว่าพันคน พร้อมสาขาปัจจุบัน 54 แห่งใน 30 จังหวัดครบทุกภาค เเละยังมีร้านจำหน่ายสินค้าหลุดจำนำภายใต้ชื่อ Easy Money Shop อีก 2 แห่ง ที่เซ็นทรัลพระราม 3 และที่นครราชสีมา

การขยายสาขาของ Easy Money นั้นเน้นไปต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ เพราะมองว่าในกรุงเทพฯ มีโรงรับจำนำอยู่จำนวนมากแล้ว โดยมีการลงทุนประมาณ 40-50 ล้านบาทต่อสาขา ซึ่งปีนี้ตั้งเป้าจะมีการขยายอีก 2 สาขาเป็น 56 สาขาใน 31 จังหวัด

Easy Money เป็นโรงรับจำนำที่มีสาขามากที่สุดในประเทศไทย มีกระแสเงินหมุนเวียนเฉลี่ยเดือนละ 2,000-3,000 ล้านบาท อัตราการเติบโตเฉลี่ย 20% ต่อปี (ก่อนวิกฤต COVID-19) มีรายได้หลักมาจากดอกเบี้ย รายได้รองคือ การขายสินทรัพย์หลุดจำนำ ผลประกอบการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ได้แก่

  • ปี 2560 รายได้ 1,439.66 ล้านบาท กำไร 23.49 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้ 1,615.69 ล้านบาท กำไร 33.25 ล้านบาท
  • ปี 2562 รายได้ 1,768.58 ล้านบาท กำไร 39.14 ล้านบาท

ใครคือลูกค้า “โรงรับจำนำ” ? 

กลุ่มลูกค้าของ Easy Money ปัจจุบันมีอยู่หลายแสนราย เเบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ พนักงานเงินเดือนเเละผู้ประกอบการรายย่อย (SME) ล่าสุดมีสัดส่วนเป็นพนักงานเงินเดือน 75% เเละ SME 25% เติบโตจากปี 2561 ที่มีสัดส่วนพนักงานเงินเดือน 77% เเละ SMEs 23%

สำหรับกลุ่มลูกค้าที่เป็น “พนักงานเงินเดือน” เป็นกลุ่มที่เน้นนำเงินไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ชอบเก็บออมทรัพย์สินในรูปแบบของเครื่องประดับเเละทองคำ โดยพฤติกรรมการไถ่ถอนทรัพย์จะเป็นไปตามฤดูกาล เช่นช่วงปลายเดือนธันวาคม ที่มีโบนัสออก ช่วงตรุษจีนเเละเทศกาลสงกรานต์ จะมีการมาไถ่ถอนมาก ขณะช่วงใกล้เปิดเทอมก็จะมีการนำมาจำนำมากเป็นพิเศษ เพื่อนำเงินไปใช้ในการศึกษาของบุตรหลาน

ส่วนกลุ่มลูกค้า “SME” จะเเตกต่างกับพนักงานเงินเดือน เพราะต้องการนำเงินไปหมุนเวียนในธุรกิจ ต่อยอดการลงทุน เเละสต๊อกสินค้า หรือใช้เสริมสภาพคล่องในช่วงที่รายรับรายจ่ายไม่สมดุลกัน

ยอดเงินเฉลี่ยของกลุ่มพนักงานเงินเดือนที่นำของมาจำนำคือ 20,000 บาทต่อคน เเละกลุ่ม SME อยู่ที่ 1 เเสนบาทต่อคน ในจำนวนนี้มีลูกค้าจากภาคกลางมากที่สุด

“ถ้ามีพ่อค้าเเม่ค้านำทรัพย์สินมาจำนำมากๆ เเสดงว่าช่วงนั้นเป็นโอกาสการค้าขายที่คึกคัก เศรษฐกิจดี จึงต้องการเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น พอมีรายได้เข้ามาก็รีบมาไถ่ถอน อันนี้จึงเป็นอีกปัจจัยที่เป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจได้ว่าดีหรือซบเซา” สิทธิวิชญ์ระบุ

ลบภาพจำ…คนไม่กล้าเข้า “โรงตึ๊ง” 

ความท้าทายของธุรกิจโรงรับจำนำ ตลอดช่วง 15 ปีที่ผ่านมาของ Easy Money หลักๆ คือ การเปลี่ยนภาพจำในทางลบของผู้คนที่มีต่อโรงจำนำ หรือโรงตึ๊ง

“เเต่ก่อนคนมองว่า โรงจำนำกลายเป็นเรื่องน่าอาย ต้องเเอบไป หลายคนถึงขั้นยอมไปใช้บริการสินเชื่อจากที่อื่น ยอมเป็นหนี้บัตรเครดิต ยอมกู้นอกระบบ ทั้งที่ดอกเบี้ยของโรงรับจำนำถูกกว่าเยอะ” 

ในสมัยก่อน บรรยากาศของโรงตึ๊งนั้น จะมีกระจกทึบปิดบังประตูเข้าออก มีกรงเหล็กกั้นเเน่นหนา ดูไม่ค่อยเป็นมิตรเเละไม่น่าเข้าไปเท่าไหร่นัก ยิ่งมีข่าวลือถึงการถูก “กดราคา” ความไม่ปลอดภัยของทรัพย์สินที่อาจเสียหาย รวมไปถึงการ “ปั๊มหัวเเม่มือ” ด้วยหมึกสีน้ำเงินเห็นได้ชัด ยิ่งทำให้คนอับอายเเละไม่กล้าเข้าไปใช้บริการ

เหล่านี้ทำให้ Easy Money ตั้งใจ “พลิกโฉม” โรงจำนำใหม่ ด้วยคอนเซ็ปต์ “เหมือนธนาคาร” คือตกแต่งให้ดูทันสมัย เปลี่ยนจากลูกกรงเหล็กเป็นเคาน์เตอร์กระจก โล่งสบาย เน้นสีสันสดใส มีที่นั่งเป็นสัดส่วน มีโซนของหลุดจำนำให้เเวะชมได้ระหว่างรอ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ออกตั๋ว คิดและคำนวณดอกเบี้ย

มีมาตรฐานในการเก็บรักษาทรัพย์เทียบเท่าสถาบันการเงินชั้นนำ ใช้เทคโนโลยี Finger Scan เพื่อยืนยันตัวตนและความเป็นเจ้าของทรัพย์ แทนการปั๊มหัวแม่มือ ซึ่งเริ่มทำมาได้ 10 ปีเเล้ว เเละล่าสุดก็มีเเอปพลิเคชัน Easy Smart ที่ให้ลูกค้าส่งดอกเบี้ยออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องมาที่สาขา

จากนั้น “การเทรนด์พนักงาน” ก็เป็นสิ่งสำคัญมาก ในการลบภาพจำเก่าๆ ที่เจ้าหน้าที่มักจะดูไม่เป็นมิตร โดยพนักงานทุกคนจะต้องยิ้มเเย้ม ให้บริการด้วยใจ ไม่ทำให้ลูกค้ารู้สึกกลัวหรือกังวล เเละพนักงานต้อง “เชี่ยวชาญ” สามารถแยกแยะและประเมินทรัพย์สินได้อย่างแม่นยำ โดยทองที่นำมาจำนำจะได้รับเงินภายใน 3-5 นาที ส่วนทรัพย์สินประเภทอื่นจะใช้เวลาเฉลี่ยไม่เกิน 20-30 นาที

โดยเกณฑ์ทั่วไปในการประเมินราคาทรัพย์สินที่ลูกค้านำมาจำนำ ได้เเก่ 1) สภาพคล่องทรัพย์สินในการขายทรัพย์ ซื้อมาขายไปได้ง่ายหรือไม่ 2) ราคาตลาดของทรัพย์ ณ ขณะนั้น เเละ 3) สภาพความสมบูรณ์ของทรัพย์ที่นำมาจำนำ

ความยากของธุรกิจโรงรับจำนำอีกอย่าง คือเรื่องพนักงาน เพราะต้องหาคนไว้ใจไว้ ซื่อสัตย์ มีทักษะ เป็นงานที่ต้องใช้ไหวพริบเยอะ ไม่จำกัดว่าต้องเรียนจบสาขาไหนมา เพราะบริษัทจะมีการเทรนนิ่งเฉพาะให้อยู่เเล้ว เเต่จะเน้นว่ามีเเนวคิด ทัศนคติเเละมุมมองที่จะก้าวไปด้วยกันได้หรือไม่

“ความยากของธุรกิจโรงรับจำนำคือการประเมินความเสี่ยง ประเมินราคา เพื่อใม่ให้เกิดความผิดพลาด เเม้คนอื่นจะมองว่าเป็น “เสือนอนกิน” มีความเสี่ยงน้อย เเต่ก็เคยมีคนนำของปลอม ของเก๊มาจำนำ โดยคนกลุ่มนี้มักจะมาช่วงเที่ยง เพราะใช้โอกาสที่คนเยอะ พนักงานยุ่ง ซึ่งจะเร่งรีบกว่าปกติ คนเหล่านี้จะคอยพูดเร่งพนักงานด้วย จึงต้องตั้งข้อสังเกตว่ามีความผิดปกติ”

โรงรับจำนำ ต้องมี Brand Ambassador?

ถือเป็นอีกจุดเปลี่ยนของธุรกิจโรงรับจำนำเลยทีเดียว เมื่อ Easy Money เปิดตัว “เข้ม หัสวีร์ ภัคพงษ์ไพศาล” พระเอกรุ่นใหม่แห่งช่อง 7 มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ในโอกาสครบรอบ 15 ปีเป็นครั้งเเรก จึงเกิดคำถามที่ว่า โรงจำนำควรต้องมี “คนดัง” เป็นพรีเซ็นเตอร์หรือไม่

สิทธิวิชญ์ มองว่า ถึงเวลาเเล้วที่ธุรกิจโรงจำนำ จะมีความทันสมัยเเละมีพรีเซ็นเตอร์เหมือน “เเบรนด์” ในธุรกิจอื่นๆ สร้างภาพจำใหม่ ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่” มากขึ้นด้วย 

“เราเลือกคุณเข้ม เพราะเขาเป็นคนหนุ่มไฟแรง เต็มไปด้วยพลังในการทำงาน พึ่งพาได้ ซึ่งเป็นคาแร็กเตอร์ที่เข้ากับแบรนด์ของ Easy Money คือ มีความเป็นมิตร เข้าถึงได้ง่าย และไว้วางใจได้ จึงเป็นเหมือนสื่อกลางระหว่าง แบรนด์กับลูกค้าที่จะทำให้ประชาชน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยรู้จักและเข้าใจธุรกิจของโรงรับจำนำ ให้มีความสนใจ Easy Money มากขึ้น อีกทั้งถือเป็นเอกลักษณ์ทางการตลาด สร้างความโดดเด่น เพราะเป็นโรงรับจำนำเจ้าเเรกที่มี Brand Ambassador”

เข้ม หัสวีร์ ภัคพงษ์ไพศาล

เทียบดอกเบี้ยโรงรับจำนำรัฐ VS เอกชน 

ตามที่กล่าวมาข้างต้นว่า โรงรับจำนำทั่วประเทศไทย มีอยู่ประมาณ 800 แห่ง แบ่งเป็นของรัฐประมาณ 300 แห่ง และของเอกชนราว 500 เเห่ง โดยสามารถแบ่งเป็น

  • สถานธนานุเคราะห์ เป็นโรงรับจำนำของรัฐ จำนวน 39 แห่ง อยู่ในกรุงเทพฯ ถึง 29 แห่ง
  • สถานธนานุบาล โรงรับจำนำในรูปแบบสถานธนานุบาล จะเป็นโรงรับจำนำที่มาจาก 2 หน่วยงานคือ โรงรับจำนำของกรุงเทพมหานคร 21 แห่ง เเละโรงรับจำนำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ 240 แห่ง
  • โรงรับจำนำเอกชน จำนวน 500 แห่งทั่วประเทศ

ตามกฎหมายกำหนดให้ตั๋วจำนำมีอายุ 4 เดือน บวกระยะเวลาไถ่ถอนอีก 30 วัน (รวม 5 เดือน) โดยมีอัตราดอกเบี้ยเพดานอยู่ที่ 1.25% ต่อเดือน

สำนักงานสถานธนานุเคราะห์ (อ่านรายละเอียดที่ pawn.co.th)

เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อเดือน
เงินต้น 5,001 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.75% ต่อเดือน
เงินต้น 10,001 บาท แต่ไม่เกิน 20,000 บาท คิดดอกเบี้ย 1.00% ต่อเดือน
เงินต้น 20,001 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท คิดดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน

สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร (อ่านรายละเอียดที่ pawnshop.bangkok.go.th )

เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อเดือน
เงินต้น 5,001 – 15,000 บาท คิดดอกเบี้ย 1.00% ต่อเดือน
เงินต้นเกิน 15,000 บาท การคิดดอกเบี้ยแบ่งเป็น เงินต้น 2,000 บาทแรก 2%
ส่วนที่เกิน 2,000 บาท 1.25% ต่อเดือน

โรงรับจำนำเอกชน

คิดอัตราดอกเบี้ยของโรงรับจำนำเอกชนเป็นไปตาม พ.ร.บ.โรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 โดยกำหนดว่า เงินต้น 2,000 บาทแรก คิดอัตราดอกเบี้ย 2% ต่อเดือน ส่วนที่เกินจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน

คนไทยจำนำอะไรมากที่สุด? 

ผู้บริหาร Easy Money เปิดเผยว่า ทรัพย์สินที่คนไทยนำมาจำนำมากที่สุด ยังคงเป็น ทองคำ (ราว 70-80%) รองลงมาคือ เพชรเเละเครื่องประดับ ตามมาด้วย นาฬิกา สินค้าเเบรนด์เนมเเละอุปกรณ์ไอที เเม้จะเจอวิกฤต COVID-19 ก็ยังเรียงตามลำดับนี้

“ความเปลี่ยนเเปลงของยุคนี้ คือ คนรุ่นใหม่มีการนำสินค้าเเบรนด์เนมมาจำนำ เราจะได้เห็น กุชชี่ กระเป๋าเเอร์เมส หรือชาเเนลเยอะขึ้นมาก”

เเต่ถ้าผู้จำนำ ขาดส่งดอกเบี้ยเกินระยะเวลา 4 เดือน กับอีก 30 วัน จะถือว่าทรัพย์ที่นำมาจำนำนั้นกลายเป็นทรัพย์หลุด ตกเป็นสิทธิของโรงรับจำนำ ซึ่งถ้าเจ้าของทรัพย์อยากได้คืนจะต้องทำการประมูลหรือซื้อคืนจากโรงรับจำนำ

โดยทรัพย์ที่หลุดจำนำจะถูกขายผ่านสาขาทั้ง 54 สาขาของ Easy Money จะถูกนำไปวางขายที่ Easy Money Shop ซึ่งมีสาขาอยู่ที่เซ็นทรัลพระราม 3 และที่นครราชสีมา พร้อมกับการจำหน่ายผ่านเว็บไซต์เเละ Facebook ของร้าน ซึ่งสินค้าที่หลุดจำนำจากบริษัทจะมี “ใบรับประกัน” ให้ทุกชิ้น ส่วนเครื่องประดับเพชร จะรับประกันว่าสามารถนำกลับมาจำนำได้มูลค่าคืนถึง 80% ตลอดชีพ

“ยอดขาย Easy Money Shop เติบโตขึ้นในช่วงล็อกดาวน์ เพราะคนหันมาซื้อของผ่านออนไลน์มากขึ้น ด้วยการที่เรามีใบรับประกันให้ คนก็ยิ่งตัดสินใจซื้อง่าย เเม้ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี คนระวังใช้จ่าย เเต่ก็ยังมีผู้บริโภคบางกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบ ยังมีกำลังซื้อ ก็หันมาซื้อของเเบรนด์เนม เครื่องประดับที่ราคาปรับลงในช่วงนี้มากขึ้น” 

ทรัพย์หลุด “เพิ่มขึ้น” ชี้เศรษฐกิจตกต่ำ 

สิทธิวิชญ์ เล่าถึงธุรกิจโรงรับจำนำช่วง COVID-19 ว่า ยอดธุรกรรมการรับจำนำ ตั้งเเต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา เริ่มส่งสัญญาณกลับมาเป็นปกติ หลังจากครึ่งปีเเรก ปริมาณธุรกรรมจำนำลดลง 20-30% สะท้อนว่าภาวะเศรษฐกิจเริ่มกลับมาเป็นภาวะปกติมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ราคาทองคำปรับสูงขึ้น ได้เห็นปรากฏการณ์คนเเห่มาไถ่ถอนทรัพย์เพื่อนำไปขายเพิ่มมากขึ้น ทำให้วงเงินที่ใช้หมุนเวียนในธุรกิจปีนี้ที่เตรียมไว้ประมาณ 2,000 ล้านบาท จึงยังไม่ได้ใช้มากนัก โดยทั้งปีคาดว่าธุรกิจจะมีอัตราการเติบโตใกล้เคียงปีก่อน

อัตราทรัพย์หลุดของ Easy Money เฉลี่ยอยู่ที่ 5% (ปี 2562 คือ 4.9% ส่วนปี 2561 คือ 5%) หมายความว่าถ้ามีคนนำของมาจำนำ 100 คน จะมีทรัพย์หลุด 5 คน เป็นต้น

ปีนี้ทรัพย์หลุดเพิ่มขึ้นจาก 5% มาเป็น 6% สะท้อนว่าเศรษฐกิจตกต่ำลง หลังได้รับผลกระทบจากโรคระบาดอย่างหนัก เนื่องจากกลุ่มที่มีรายได้ประจำตกงาน เเละเจ้าของธุรกิจมีรายได้ลดลง 

โดยตลอด 15 ปีที่ผ่านมามีช่วงปีที่ธุรกิจโรงรับจำนำ Easy Money เจอปัญหาบ้าง เช่นปี 2555 ที่ราคาทองลงมาก ทำให้ลูกค้าหลายคนทิ้งตั๋วจำนำไป ซึ่งครั้งนั้นถือว่าหนักกว่าวิกฤต COVID-19 ที่สถานการณ์ในไทยยังไม่รุนเเรงเท่าประเทศอื่นๆ ในยุโรป 

“ช่วงเดือนเมษายนราคาทองคำลดลง ทำให้ทรัพย์ทองคำหลุดเยอะ แต่หลังจากราคาทองคำพุ่งไปแตะ 3 หมื่นบาท คนก็มาไถ่ถอนไปขาย เราจึงเสนอให้ลูกค้าที่ต้องการเพิ่มเงินก็สามารถทำได้ เราปรับตามภาวะตลาดราคาทองคำ
เเบบเรียลไทม์เลย”

จากสถานการณ์ COVID-19 เมื่อช่วงต้นปี ทำให้บริษัททุ่มประมาณราว 20 ล้านบาท พัฒนา application Easy Smart เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า เชื่อมโรงจำนำกับบริการออนไลน์ ให้สามารถส่งดอกเบี้ยออนไลน์ เรียกดูรายละเอียดของตั๋วจำนำ กำหนดการเตือนก่อนถึงวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ย โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าดาวน์โหลดแอปฯ แล้วจำนวน 6 หมื่นรายจากลูกค้าทั้งหมดราวเเสนราย

“อยากเสนอให้ภาครัฐ ขอขยายวงเงินหน้าตั๋วจากเดิมที่กฎหมายกำหนดอยู่ที่ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อใบ ซึ่งใช้มาหลายทศวรรษเเล้ว ขยับวงเงินเป็น 2-3 ล้านบาทต่อใบ เนื่องจากราคาสินทรัพย์เปลี่ยนแปลงไปมากตามภาวะเศรษฐกิจ การขยายวงเงินจะช่วยเหลือผู้ประกอบการมีสภาพคล่องและเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจมากขึ้น”

เราจะได้เห็นมูฟต่อไปของ Easy Money ที่มีกลุ่มทายาทรุ่นสองมาร่วมดูเเลกิจการ ในทิศทางสู่ “คนรุ่นใหม่” เเละเป็นโรงจำนำดิจิทัลมากขึ้นไปอีก ท่ามกลางการเเข่งขันดุเดือด หนทาง สถาบันสินเชื่อทางเลือก” ยังคงต้องไปต่ออีกไกล…

 

 

 

 

]]>
1300566
เร่งเครื่อง “สินเชื่อบุคคล” โตหลังวิกฤต KTC ลุยบัตรกดเงินสด เสริมรายได้เเทนดอกเบี้ยลด https://positioningmag.com/1293308 Wed, 19 Aug 2020 10:25:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293308 ในปี 2563 แม้เศรษฐกิจจะชะลอตัวจาก COVID-19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนให้ระมัดระวังการใช้จ่าย ต้องประหยัด เเละเน้นเก็บเงินไว้เป็นสภาพคล่องมากขึ้น 

หลังมาตรการคลายล็อกดาวน์ ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ห้างร้านเเละภาคธุรกิจ ทยอยกลับมาให้บริการอีกครั้ง มีเเววจะเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง จากความหวังว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 มาเเล้ว เป็นอีกหนึ่งโอกาสของกลุ่มธุรกิจ Non-Bank ที่จะเร่งเครื่องธุรกิจ “สินเชื่อบุคคล” มากขึ้น

ช่วงเดือนเม.. ถึงพ..ที่ผ่านมา เราได้เห็นสัญญาณการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น จนในเดือนมิ..ถึงเดือนก.. ตัวเลขการผิดนัดชำระกลับมาสู่ระดับปกติแล้วพิชามน จิตรเป็นธรรม ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจสินเชื่อบุคคล บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด หรือ KTC กล่าว

ในช่วงที่วิกฤต COVID-19 ทวีความรุนเเรงขึ้น KTC ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้า เช่น การลดขั้นต่ำการผ่อนชำระ ลดอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น ขณะที่การปรับลดเพดานดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่กำหนดให้สินเชื่อบัตรเครดิตที่ลดจาก 18% เหลือ 16% สินเชื่อบุคคลลดจาก 28% เหลือ 25% ส่งผลกระทบต่อรายได้ธุรกิจ Non-Bank โดยตรง

โดย KTC ประเมินว่า การปรับเพดานดอกเบี้ยดังกล่าว จะทำให้รายได้ดอกเบี้ยหายไปราว 100 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งจะต้องเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น อย่างการควบคุมความเสี่ยงเเละปรับเกณฑ์ด้านสายงานลูกค้าในการพิจารณาสินเชื่อ เช่น สายงานลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรง อย่างสายการบิน โรงแรม ทัวร์เเละการท่องเที่ยว

ปัจจุบันยอดปฏิเสธบัตรใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 75% จากช่วงก่อน COVID-19 จะอยู่ที่ราว 70%”

ผู้บริหาร KTC มองว่า เเม้ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เเม้สถานการณ์เริ่มปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ยังมีความเสี่ยง เพราะถ้าเศรษฐกิจยังฟื้นตัวช้า อย่างไรผู้คนก็จะระมัดระวังการใช้จ่ายและรักษาสภาพคล่องเงินสดมากขึ้น อีกทั้งต้องรอดูว่าภาครัฐทุ่มงบประมาณเพื่ออัดฉีดเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นหรือไม่ ดังนั้นภาพรวมในช่วงต่อไปจึงต้องมีการประเมินอีกที

ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 มิ.. 2563 ทาง KTC มีโครงสร้างลูกหนี้ เเบ่งเป็นบัตรเครดิต 63.8% เเละสินเชื่อส่วนบุคคล 36.2% เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สินเชื่อบุคคลและดอกเบี้ยค้างรับรวม (ยอดลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล) อยู่ที่ 30,244 ล้านบาท ส่วนหนี้เสีย (NPL) ในหมวดของสินเชื่อบุคคลที่ถูกคำนวณตามมาตรฐานใหม่ TFRS9 อยู่ที่ 8.5% ต่างจากในมาตรฐานเดิม ณ ปี 2562 NPL อยู่ที่ 0.8% เท่านั้น 

ด้วยสภาพเศรษฐกิจในยามนี้ เราจึงจะได้เห็นบรรดาบัตรเครดิต มีการออกแคมเปญ “ผ่อน 0%” กันมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย โดยเฉพาะในสินค้าที่มีวงเงินค่อนข้างสูง เช่น โรงพยาบาล ความงาม และรถยนต์ นับเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลในช่วงนี้

ตั้งแต่ช่วงมาตรการล็อกดาวน์จนถึงปัจจุบัน พบว่ายอดการกดเงินลดลงประมาณ 1-2% จากการระมัดระวังการใช้จ่ายของลูกค้า เเละปกติมียอดใช้จ่ายเฉลี่ยทั้งหมดคนละ 1 หมื่นบาทต่อเดือน

ด้านการกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจช่วงครึ่งปีหลังของ KTC จะมุ่งไปที่การทำให้รายได้ดอกเบี้ยที่ลดลงสามารถทยอยกลับคืนมาได้ ซึ่งมีกลยุทธ์หลักๆ อย่างการขายบริการสู่ธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกัน เช่น สินเชื่อจำนำทะเบียนรถพี่เบิ้ม” เเละล่าสุดกับการเปิดตัวบัตรกดเงินสด KTC PROUD-UNIONPAY โดยตั้งเป้าผู้ใช้ถึงแสนใบ ภายในสิ้นปีนี้

โดย KTC PROUD-UNIONPAY จะมี 4 ฟังก์ชันหลัก กดโอนรูดผ่อน ซึ่งในเดือนก..นี้ จะสามารถโอนเงินเข้าบัญชีทุกธนาคารแบบเรียลไทม์ผ่านแอปฯ KTC Mobile ได้ทันที ขณะที่กลุ่มลูกค้าหลักที่ต้องการจะเจาะยังเป็นกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่มีรับฐานเงินเดือนตั้งเเต่ 12,000 บาทในส่วนของผู้ที่มีรายได้ประจำ แต่หากเป็นเจ้าของธุรกิจเริ่ม 20,000 บาทต่อเดือน

เราหันมาขยายฐานบัตรสินเชื่อกดเงินสด เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในสถานการณ์เศรษฐกิจเช่นนี้ได้มากกว่า

โดยในปีนี้ KTC ตั้งเป้าสินเชื่อใหม่ว่าจะเติบโตราว 10% และคาดว่าจะมีสมาชิกมีบัตรใหม่เพิ่มขึ้น 1.6-1.8 แสนคน จากปัจจุบันที่มีอยู่ราว 891,875 บัญชี และมีส่วนแบ่งทางการตลาด 5.4% ของสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งตลาด

 

]]>
1293308
SCB ประกาศ Q2 กำไร 8,360 ล้านบาท ลดลง 24% ตั้งสำรองสูง 9,734 ล้านบาท​ รับมือโควิด https://positioningmag.com/1288725 Tue, 21 Jul 2020 04:18:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288725 ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กำไรสุทธิในไตรมาส 2 ของปี 2563 จำนวน 8,360 ล้านบาท ลดลง 24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลจากการตั้งเงินสำรองที่สูงขึ้น ด้านกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับครึ่งปีแรกของปี 2563 ธนาคารมีกำไรสุทธิ จำนวน 17,611 ล้านบาท ลดลง 13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และกำไรจากการดำเนินงานยังคงเติบโต 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิมี จำนวน 23,777 ล้านบาท ลดลง 7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากการหดตัวของอัตราส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิสืบเนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลายครั้งลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ผนวกกับการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยหลังจากที่ธนาคารได้ขายหุ้นของบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตในปีที่ผ่านมา ขณะที่สินเชื่อรวมลดลงเพียงเล็กน้อยคือ 1% จากระยะเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 2% จากไตรมาส 1 จากความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจขนาดใหญ่และการสนับสนุนสินเชื่อซอฟต์โลนให้แก่ลูกค้าธุรกิจ

ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมี จำนวน 12,499 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลส่วนใหญ่จากรายได้ที่สูงขึ้นของธุรกิจบริหารความมั่งคั่งและธุรกิจประกันและรายการพิเศษครั้งเดียวจากการขายเงินลงทุนและธุรกรรมของลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ และจากมาตรการปิดเมืองในช่วงไตรมาส 2 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักและทำให้ปริมาณธุรกิจของธนาคารลดลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่เดือนเมษายน อย่างไรก็ดี ได้เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวของธุรกิจในเดือนมิถุนายน พร้อมกับการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองเป็นลำดับ

ด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมี จำนวน 16,141 ล้านบาท ลดลง 3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเกิดจากค่าใช้จ่ายโดยรวมลดลงระหว่างช่วงมาตรการปิดเมืองของประเทศ และการที่ธนาคารควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ของธนาคารในไตรมาส 2 ของปี 2563 ค่อนข้างคงที่ที่ 44.5%

ทั้งนี้ ภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 พร้อมกับการที่ธนาคารยังดำเนินโครงการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ธนาคารจึงได้ตั้งเงินสำรอง จำนวน 9,734 ล้านบาท ในไตรมาส 2 ของปี 2563 ทั้งนี้โครงการเยียวยาภาคธุรกิจและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาลที่คาดว่าจะเริ่มส่งผลในช่วงต่อไปจะช่วยให้ธนาคารสามารถประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ชัดเจนขึ้นและคาดว่าผลกระทบดังกล่าวจะสะท้อนในผลการดำเนินงานของธนาคารในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563

สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 ปรับลดลงอยู่ที่ 3.05% ภายใต้กฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในการพักการจัดชั้นหนี้ด้อยคุณภาพของลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือทางการเงิน ในขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มสูงขึ้นเป็น 152% ทั้งนี้ เงินกองทุนตามกฎหมายของธนาคารยังอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 18%

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เริ่มส่งผลกระทบต่อรายได้และแนวโน้มกำไรของธนาคารในไตรมาสนี้ อย่างไรก็ตาม ธนาคารเชื่อมั่นว่าสถานะเงินกองทุนของธนาคารที่แข็งแกร่งและการตั้งสำรองหนี้สูญในระดับสูง จะช่วยให้ธนาคารสามารถรับมือต่อภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยได้ ตั้งแต่การเริ่มระบาดครั้งใหญ่นี้ ธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าบุคคลไปแล้วกว่า 1.1 ล้านราย และลูกค้าธุรกิจกว่า 13,000 ราย รวมธุรกิจขนาดย่อมและบริษัทต่างๆ คิดเป็นยอดสินเชื่อภายใต้โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 รวมประมาณ 840,000 ล้านบาท หรือ 39% ของยอดสินเชื่อรวมของธนาคาร”

นอกจากนี้ ธนาคารได้อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการขอความช่วยเหลือผ่านช่องทางดิจิทัลบน SCB EASY แอปพลิเคชัน ตลอดจนเปิดตัวแพลตฟอร์มบริการส่งอาหาร ROBINHOOD เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารและลูกค้ารายย่อยโดยทั่วไป แม้ว่าเศรษฐกิจกำลังเริ่มฟื้นตัว แต่ผลกระทบในระยะยาวจากการระบาดของโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง ในช่วงเวลาที่ท้าทายเช่นนี้ ธนาคารยังคงให้การสนับสนุนลูกค้าที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าและทุกภาคส่วนของสังคมสามารถก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ด้วยกัน ในขณะเดียวกันธนาคารยังคงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมด้านดิจิทัลเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวต่อไป

 

]]>
1288725