ธุรกิจเเบงก์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 07 May 2021 07:07:24 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เผยโฉมโลโก้ธนาคารใหม่ ‘ttb’ ทหารไทยธนชาต เปลี่ยนคอลเซ็นเตอร์เป็น 1428 https://positioningmag.com/1330936 Fri, 07 May 2021 06:35:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330936
หลังธนาคารทหารไทย (TMB) และธนาคารธนชาต ประกาศควบรวมกิจการ เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ‘ทหารไทยธนชาต’ หรือ ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ มาวันนี้ถึงเวลาเผยโฉมโลโก้ใหม่ เป็น ‘ttb’ ผ่านช่องทางทั้งโซเชียลมีเดีย สาขา ตู้เอทีเอ็ม แอปพลิเคชัน และสื่อการตลาดต่างๆ ทั่วประเทศ ตามกลยุทธ์การ ‘รีเเบรนด์ดิ้ง’ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้ลูกค้า

 

สำหรับชื่อย่อคือ ‘ttb’ (ทีทีบี) นั้นสื่อความหมายถึงการรวมพลังของสองธนาคารเป็นหนึ่งเดียว โดยอักษร t สีน้ำเงินตัวแรกมาจาก TMB (ทหารไทย) และ t สีส้มตัวที่สองมาจาก Thanachart (ธนชาต) ส่วนอักษร b สีกรมท่ามาจากคำว่า Bank (ธนาคาร) โดยจะดำเนินการเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์จดทะเบียนจาก TMB เป็น TTB ต่อไป

ในช่องทางโซเชียลมีเดีย ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า ttbbankofficial ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ยูทูบ ส่วนไลน์จะใช้ TTB Bank และเว็บไซต์ทางการใช้ชื่อว่า ttbbank.com

นอกจากนี้ ยังเปลี่ยนหมายเลขคอนแทกต์เซ็นเตอร์ (Contact Center) จากหมายเลข 1558 และ 1770 ให้เป็นหมายเลขเดียวคือ ‘1428’ ส่วนเลขทะเบียนนิติบุคคล เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐาน 0-2299-1111 และที่อยู่สำนักงานใหญ่นั้น ‘ไม่มีการเปลี่ยนแปลง’

โดยลูกค้า TMB เเละธนชาต สามารถใช้ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ได้เช่นเดิมภายใต้แบรนด์ใหม่ โดยเลขที่บัญชีและรหัสสาขายังคงเดิม ส่วนลูกค้าของธนาคารธนชาต จะแจ้งรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า รวมทั้งขั้นตอนที่แนะนำให้ลูกค้าปฏิบัติเพื่อความต่อเนื่องในการใช้บริการของทีเอ็มบีธนชาตต่อไป

คาดว่าทั้งสองธนาคารจะควบรวมกิจการ ‘เสร็จสมบูรณ์’ ได้ในเดือนกรกฎาคมนี้ เตรียมเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ในไทย เเละดำเนินงานร่วมกัน ตามโมเดล “ONE GOAL”

ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2563 ทีเอ็มบีธนชาต มีสินทรัพย์รวมกันราว 1.8 ล้านล้านบาท เงินให้สินเชื่อ 1.39 ล้านล้านบาท เงินฝาก 1.37 ล้านล้านบาท ฐานลูกค้ารวมกันประมาณ 10 ล้านราย

สำหรับการ ‘โอนย้ายพนักงาน’ กว่า 11,000 คน จากธนชาตไป ttb นั้น ได้มีการทยอยโอนย้ายมาต่อเนื่องเป็นระยะ โดยเมื่อพนักงานจากธนชาต มารวมกันกับพนักงานของ TMB ที่มีอยู่ราว 8,000 คน จะทำให้มีจำนวนพนักงานในธนาคารใหม่ทั้งสิ้นราว 19,000 คน

อ่านเพิ่มเติม :  ภารกิจ “TMB – ธนชาต” ย้ำควบรวมเสร็จในก.ค. 64 ตั้งเป้าปีนี้มีสาขาร่วม 100 แห่ง

]]>
1330936
‘เเบงก์ชาติสิงคโปร์’ สั่งธนาคาร จับตาธุรกรรมน่าสงสัยกับ ‘เมียนมา’ หวั่นก่ออาชญากรรมการเงิน https://positioningmag.com/1321984 Thu, 04 Mar 2021 12:10:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321984 ธนาคารกลางสิงคโปร์ เเจ้งสถาบันการเงินภายในประเทศ จับตาธุรกรรมที่น่าสงสัยระหว่างสิงคโปร์กับเมียนมา ทั้งการโอนเงินหรือเงินหมุนเวียนของกองทุน เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับอาชญากรรมทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้ หลังการทำรัฐประหารในเมียนมา

ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ได้ส่งหนังสือเวียน เเจ้งเตือนไปยังผู้เหล่าผู้บริหารของสถาบันการเงินทุกเเห่งในประเทศ ให้ตรวจสอบสถานะกิจการ ประเมินทรัพย์สินของบริษัท (Due Diligence) ของลูกค้ารายสำคัญด้วยความระมัดระวัง และใช้มาตรการลดความเสี่ยงที่เหมาะสมสำหรับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง 

ความเคลื่อนไหวดังกล่าว เกิดขึ้นท่ามกลางการเดินขบวนประท้วงเพื่อประชาธิปไตยในเมียนมา หลังกองทัพประกาศเข้ายึดอำนาจ

MAS มองว่า สถานการณ์ความรุนแรงในเมียนมา มีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การฟอกเงิน การระดมเงินทุนเพื่อการก่อการร้าย หรืออาจก่ออาชญากรรมทางการเงินประเภทอื่นๆ ได้ ซึ่งหากสถาบันการเงินตรวจพบการทำธุรกรรมที่น่าสงสัย ต้องแจ้งให้ธนาคารกลางทราบในทันที

นอกจากนี้ ยังขอให้สถาบันการเงิน ติดตามความเป็นไปในเมียนมาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรวมถึงมาตรการคว่ำบาตรต่อเมียนมาของประเทศต่างๆ ด้วย

สิงคโปร์เเละเมียนมา มีเงินไหลเวียนข้ามพรมเเดนระหว่างกันจำนวนมาก เเละมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ใกล้ชิด เเละสิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าไปลงทุนรายใหญ่

ก่อนหน้านี้ลี เซียนลุงนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ กล่าวว่า การที่กองทัพเมียนมาใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมของผู้ประท้วงที่ไม่ติดอาวุธ ถึงขั้นเสียชีวิตเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ พร้อมเสนอให้คณะรัฐประหารปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี และหาทางออกกับสถานการณ์ในประเทศอย่างสันติ

 

ที่มา : Reutersthestar 

]]>
1321984
กำไร ‘เเบงก์พาณิชย์’ ปี 2563 ลดลง 46% เเต่สินเชื่อโต 5.1% ‘หนี้เสีย’ ทั้งระบบขยับเพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1320360 Mon, 22 Feb 2021 09:23:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320360 เเบงก์ชาติเผยปี 2563 ธนาคารพาณิชย์ในไทย ทำกำไรลดลง 46% อยู่ที่ 1.46 เเสนล้านบาท ผลจากการกันสำรองเพิ่มขึ้นช่วง COVID-19 ภาพรวมสินเชื่อโต 5.1% ด้าน NPL เพิ่มขึ้นที่ 3.12% ลูกหนี้กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวโรงเเรมน่าเป็นห่วงสุด 

สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยใน ปี 2563 ว่า มีกำไรสุทธิราว 146,200 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ราว  271,000 ล้านบาท หรือลดลง 46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 

ปัจจัยหลักๆ มาจากการกันสำรองในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อองรับผลกระทบจาก COVID-19 ต่อคุณภาพหนี้ในระยะต่อไป ประกอบกับผลของฐานสูงจากรายได้จากเงินลงทุนซึ่งเป็นปัจจัยพิเศษในปีก่อน 

โดยระบบธนาคารพาณิชย์ มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 2,994.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) ที่ 20.1% เงินสำรองอยู่ในระดับสูงที่ 799.1 พันล้านบาท โดยอัตราส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL coverage ratio) อยู่ที่ 149.2% และอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) อยู่ที่ 179.6%

สำหรับผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Assets: ROA) ลดลงมาอยู่ที่ 0.65% จากปีก่อนที่ 1.39% และอัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (NIM) ลดลงมาอยู่ที่ 2.51% จากปีก่อนที่อยู่ที่ 2.73%

ด้านภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ในปีที่ผ่านมา ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5.1% จากปีก่อนที่ขยายตัว 2%

สินเชื่อธุรกิจ ขยายตัว 5.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัว 0.8% ปัจจัยหลักจากการเติบโตของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่ส่วนหนึ่งกลับมาใช้สินเชื่อแทนการออกตราสารหนี้ในช่วงไตรมาส 2/63

สินเชื่อ SMEs หดตัวในอัตราที่ลดลงจากผลของมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan)

สินเชื่อที่อยู่อาศัย ขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามอุปสงค์ในตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะแนวราบที่ปรับดีขึ้นและแคมเปญการตลาดของผู้ประกอบการ

สินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัว 4.6% ลดลงจากปีก่อนที่ขยายตัว 7.5% สอดคล้องกับกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด

คาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้นในทุกพอร์ตสินเชื่อ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น หลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

ด้านคุณภาพสินเชื่อลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์ ทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL หรือ Stage3) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 5.233 เเสนล้านบาท คิดเป็น 3.12%

ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม อยู่ที่ 6.62% ส่วนแนวโน้ม NPL นั้นคาดว่าจะทยอยเพิ่มขึ้น จากกลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือมีหนี้ที่มีปัญหาที่หลากหลาย

กลุ่มลูกหนี้ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ ลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างหนัก เช่นกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวเเละโรงเเรม เเม้จะเริ่มฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวในประเทศ เเต่เมื่อมีการระบาดระลอกใหม่ก็ทำให้คนไทยท่องเที่ยวน้อยลง โดยโรงเเรมหรือธุรกิจที่พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบ 100% ก็ยังต้องรอความคืบหน้าในเรื่องวัคซีน

ทั้งนี้ พอร์ตลูกหนี้กลุ่มธุรกิจโรงแรม มีอยู่ประมาณ 4 แสนล้านบาทในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย

 

]]>
1320360
อัปเดตภารกิจ “ทีเอ็มบี – ธนชาต” ย้ำควบรวมเสร็จในก.ค. 64 ตั้งเป้าปีนี้มีสาขาร่วม 100 แห่ง https://positioningmag.com/1291881 Mon, 10 Aug 2020 09:31:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291881 ภารกิจใหญ่ของทีเอ็มบีธนชาตที่กำลังจะก้าวสู่การเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ อันดับ 6 ในไทย หลังประกาศดีลควบรวมมูลค่า 1.4 แสนล้าน ตั้งเเต่ช่วงต้นปี 2019 ที่ผ่านมา เเละเริ่มดำเนินการร่วมกัน ตามโมเดล “ONE GOAL” มาเป็นเวลา 6 เดือนวันนี้เราจะมาอัปเดตความคืบหน้าของดีลนี้กัน

หลังผ่านช่วงวิกฤต COVID-19 ที่กระทบธุรกิจทุกภาคส่วน ล่าสุดธนาคารทหารไทย (TMB) และธนาคารธนชาต ยืนยันว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามเเผนเดิม ตามเป้าหมายที่จะรวมสองธนาคารเป็นหนึ่งเดียว ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคม ปี 2564 

สำหรับการดำเนินงานช่วง 6 เดือนที่ผ่านมานั้น ความคืบหน้าล่าสุดของ ทีเอ็มบีธนชาต ในด้านการให้บริการลูกค้าได้เน้นไปที่การเชื่อมโยงการให้บริการในช่องทางบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น

  • ลูกค้าชำระบิลสินเชื่อรถยนต์ ประกันรถยนต์ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด ของธนาคารธนชาต สามารถทำรายการดังกล่าวได้ผ่านโมบายล์แอปพลิเคชัน TOUCH และตู้ ATM ของทีเอ็มบี (ยกเว้นสินเชื่อบ้าน และประกันรถยนต์) ได้เรียบร้อยแล้ว และในส่วนของลูกค้าทีเอ็มบี สามารถใช้บริการกดเงินไม่ใช้บัตรผ่าน TOUCH เพื่อรับเงินสดจากเครื่อง ATM ของธนชาตได้เช่นกัน

  • ลูกค้าทั้งสองธนาคารสามารถทำรายการ ฝาก ถอน และโอน ได้ฟรี ไม่มีค่าธรรมเนียม ผ่าน ATM/ADM ทั้งของทีเอ็มบีและธนชาต กว่า 4,900 เครื่องทั่วประเทศ  เหมือนตู้ของธนาคารเดียวกัน
  • บริการสาขา ธนาคารได้เปิดตัว สาขาที่ให้บริการร่วม (Co-Location) ระหว่างทีเอ็มบี และธนชาต ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เเละสิ้นปี 2563 ตั้งเป้าหมายอยู่ที่ประมาณ 100 สาขา แบ่งเป็นในกรุงเทพฯ ราว 60 สาขา และต่างจังหวัดอีก 30 สาขา โดยพนักงานทีเอ็มบีสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ทั้งสินเชื่อรถยนต์ใหม่รถใช้แล้วและรถแลกเงินของธนชาตให้กับลูกค้าได้

ประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย หรือ ทีเอ็มบี กล่าวว่า การรวมกิจการของธนาคารทีเอ็มบีและธนาคารธนชาต ภายใต้ One Dream, One Team, One Goal เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยคาดว่ากระบวนการรวมกิจการทั้งสองธนาคาร จะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 

เมื่อภารกิจการรวมธนาคารของเราสำเร็จเรียบร้อยทุกด้าน ธนาคารใหม่ที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ขึ้น แตะระดับ 10 ล้านราย ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์อื่น ทั้งในระดับประเทศและระดับอาเซียนให้ดีขึ้น รวมทั้งสามารถสร้างสรรค์สินค้าและบริการด้านการเงินใหม่ๆ ให้ลูกค้าได้มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น” 

สำหรับการ โอนย้ายพนักงาน กว่า 11,000 คนจากธนชาตไปธนาคารใหม่นั้น ทางทรัพยากรบุคคลกลางได้เริ่มดำเนินการสื่อสารและจะเริ่มดำเนินการโอนการจ้างพนักงาน มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และมีการทยอยโอนย้ายเป็นระยะ ตามเป้าหมายที่วางไว้ เเม้จะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ หากมาพนักงานจากธนชาตมารวมกันกับพนักงานทีเอ็มบี ที่มีอยู่ราว 8,000 คน จะทำให้มีพนักงานในธนาคารใหม่ทั้งสิ้นราว 19,000 คน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2564 นี้เช่นกัน

อ่านต่อ : เปิดเเผนโอนย้ายพนักงานกว่า 11,000 คน ในการควบรวมทีเอ็มบีธนชาต

โดยผู้บริหารของธนาคารใหม่ได้ย้ายมาทำงานร่วมกันทั้งหมดตั้งแต่ต้นปี และตลอดครึ่งปีที่ผ่านมา มีการโอนย้ายพนักงานบางส่วนแล้ว เช่น กลุ่มผู้บริหารระดับสูง พนักงานระดับหัวหน้างาน และพนักงานส่วนปฏิบัติการ  

สำหรับทีเอ็มบี” มีจุดเด่นในการระดมเงินฝาก, Deposit Franchise และรูปแบบการให้บริการด้านการเงินที่แตกต่างจากธนาคารแบบดั้งเดิม (Traditional Bank) ส่วน “ธนชาต” เป็นผู้เชี่ยวชาญการให้บริการสินเชื่อรายย่อยโดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ เป็นผู้นำอันดับ 1 ของตลาด โดยเมื่อกระบวนการรวมกิจการเสร็จสิ้น คาดว่าธนาคารใหม่นี้จะมีสินทรัพย์รวมเกือบ 2 ล้านล้านบาท 

ล่าสุด (25 ก.พ.2564) TMB แจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเห็นสมควรเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนชื่อธนาคารเป็นธนาคาร ‘ทหารไทยธนชาต’ (TMBThanachart Bank) เป็นไปตามกลยุทธ์การ ‘รีเเบรนด์ดิ้ง’ ของธนาคารโดยธนาคารมีแผนจะเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์จาก TMB เป็น ‘TTB’ ต่อไป

 

]]>
1291881
KBank ออกหุ้นกู้ 17 ล้านยูโร ผ่าน “บล็อกเชน” ครั้งแรกในไทย คาดช่วยลดต้นทุนได้ 80-90% https://positioningmag.com/1284240 Fri, 19 Jun 2020 10:26:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1284240 KBank ออกหุ้นกู้ 17 ล้านยูโร อายุ 3 เดือน ดอกเบี้ย 0.52% ต่อปี ร่วมมือสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เสนอขายบนบล็อกเชนสำเร็จเเบงก์เเรกในไทย คาดช่วยลดต้นทุนซื้อขายหุ้นกู้ลงได้ถึง 80-90% มองปีนี้เอกชนออกหุ้นกู้ลดลงเหลือ 8-9 แสนล้านบาท 

ขายหุ้นกู้บนบล็อกเชนครั้งแรกในไทย

จงรัก รัตนเพียร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย (KBank) กล่าวว่า ธนาคารได้ร่วมกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ดำเนินการเสนอขายและออกหุ้นกู้สกุลเงินยูโรให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันในประเทศผ่านเทคโนโลยี Distributed Ledger Technology (DLT) หรือที่เรียกว่าบล็อกเชน” (Blockchain) ภายใต้โครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน โดย KBank เป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกที่เสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินต่างประเทศด้วยบล็อกเชน

หุ้นกู้สกุลเงินยูโรที่ออกในครั้งนี้ เป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และไม่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ มูลค่าเสนอขายรวมทั้งสิ้น 17 ล้านยูโร แบ่งเป็น 17,000 หน่วย อายุหุ้นกู้ประมาณ 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 0.52% ต่อปี และได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่อันดับความน่าเชื่อถือระดับสูงสุด “F1+(tha)”

สำหรับการออกหุ้นกู้สกุลเงินยูโรมูลค่า 17 ล้านยูโรนี้ อยู่ภายใต้โครงการหุ้นกู้ธนาคารกสิกรไทย วงเงินไม่เกิน 30,000 ล้านบาท ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) อนุญาตให้ธนาคารสามารถเสนอขายหุ้นกู้ภายใต้โครงการ Medium Term Note ได้ภายในระยะเวลา 2 ปี

การออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนของแบงก์เป็นกิจกรรมปกติ ไม่ได้อิงกับสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนจาก COVID-19 แต่ต้องการบริหารสภาพคล่องของธนาคารให้อิงกับปริมาณการปล่อยสินเชื่อ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารก็มีเงินฝากไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก เพราะความไม่เเน่นอนทำให้คนหันมาฝากเงินกับธนาคารมากขึ้น

ส่วนการระดมทุนในรูปแบบสกุลยูโรนั้น ก็เพื่อกระจายความเสี่ยง ไม่ให้กระจุกตัวอิงสกุลใดสกุลหนึ่ง ขณะที่เเนวโน้มการออกหุ้นเพิ่มเติมในปีนี้ ธนาคารต้องประเมินความต้องการสินเชื่อของลูกค้า สภาพคล่องของธนาคารและภาวะตลาดในขณะนั้นก่อน

การเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้มีความพิเศษกว่าการเสนอขายแบบปกติ เพราะเป็นโครงการนำร่องที่ทาง KBank ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมในตลาดทุนไทยนำเทคโนโลยี บล็อกเชนมาใช้ในงานนายทะเบียนหลักทรัพย์ เพื่อยกระดับการพัฒนาตลาดทุนไทย ร่วมกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก สำนักงาน ก...ให้นำร่องโครงการ Registrar Service Platform Phase 1 (RSP1) และบรรจุอยู่ในโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวถือเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนในระยะที่ 1

คาดปีนี้เอกชนออก “หุ้นกู้” ลดลงเหลือ 8-9 แสนล้าน 

ธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า โครงการ Registrar Service Platform Phase 1  เป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบงานในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยประยุกต์ใช้บล็อกเชน มาช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลผู้ถือครองตราสารหนี้ ที่ผู้ร่วมตลาดทุกรายใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลชุดเดียวกัน

สำหรับเเผนการต่อไป จะมุ่งยกระดับโครงสร้างพื้นฐานในตลาดแรกของตราสารหนี้ภาคเอกชนให้เป็น DLT Scripless Corporate Bond ซึ่งโครงการ RSP1 จะเป็นก้าวแรกของการกระโดดครั้งใหญ่ของตลาดตราสารหนี้ไทย และจากการจัดการออกและขายหุ้นกู้ของธนาคารกสิกรไทยด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน จะเป็นต้นแบบและมาตรฐานในการพัฒนาเพื่อใช้สำหรับตลาดตราสารหนี้ไทยต่อไป

ปีนี้คาดเอกชนจะออกหุ้นกู้ประมาณ 8-9 แสนล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่ออกหุ้นกู้ไป 1.08 ล้านล้านบาท โดยบริษัทเอกชนจะออกหุ้นกู้เรตติ้งที่ A- ขึ้นไปยังมีความต้องการจากนักลงทุนสูง และไม่ได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ” 

ด้านธิติ ตันติกุลานันทน์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย ประเมินว่า ปีนี้จะมีเอกชนออกหุ้นกู้ใหม่ประมาณ 9 แสนล้านบาท เเละระดับเรตติ้งที่ต่ำกว่า A- ความต้องการในตลาดลดลง

แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจและตลาดทุนจะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แต่การเสนอขายหุ้นกู้ มูลค่า 17 ล้านยูโรครั้งนี้ ยังได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนในประเทศหลายแห่ง ทั้งจากกองทุนภายใต้การบริหารของ บลจ. และบรรดาบริษัทประกันภัย

เขามองว่า ในฐานะตัวกลางในการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ จะทำให้ธนาคารมีประสบการณ์ตรงในฐานะผู้ออกหุ้นกู้ และเมื่อต้องรับหน้าที่เป็นตัวกลาง ธนาคารก็จะสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ออกตราสารหนี้รายอื่นๆ ในตลาดได้อย่างมั่นใจ ส่วนผู้ลงทุนในหุ้นกู้ จะทำให้ผู้ลงทุนสามารถซื้อขาย ตรวจสอบ และเข้าถึงข้อมูลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว 

หมดยุคส่งกระดาษ “บล็อกเชน” ช่วยลดต้นทุนออกหุ้นกู้ลงถึง 80-90% 

ศีลวัต สันติวิสัฏฐ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เล่าว่า หลังจากที่ KBank ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาบริการออกหนังสือค้ำประกัน (LG) บนเทคโนโลยีบล็อกเชนได้สำเร็จเป็นธนาคารแรกของโลก นำมาสู่การต่อยอดบริการอื่น ๆ อย่างเช่น การออกหุ้นกู้บนเทคโนโลยีบล็อกเชน

เขาอธิบายว่า เทคโนโลยีบล็อกเชนนี้ มีประโยชน์ทั้งในมุมของฐานข้อมูล ความปลอดภัยของข้อมูล และการใช้ประโยชน์ข้อมูลของผู้ร่วมตลาด มีความสะดวกต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการออกหุ้นกู้ ทั้งผู้จองซื้อ ผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ออกหุ้นกู้ นายทะเบียน ผู้รับฝากทรัพย์สิน ให้สามารถทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการออกหุ้นกู้ได้แบบเรียลไทม์ (Real Time) สามารถลดต้นทุนและลดขั้นตอนในการติดต่อสื่อสาร และทำให้การตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งแต่วันที่มีจองซื้อหุ้นกู้ จนถึงวันที่หุ้นกู้ครบกำหนดอายุ

ส่วนของนายทะเบียนหุ้นกู้ ก็สามารถจัดการข้อมูล ตรวจสอบ สอบทาน หรือติดตามผู้ถือหุ้นกู้ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น สามารถลดขั้นตอนงานที่เคยใช้คนทำ (Manual) เนื่องจากลักษณะพื้นฐานของเทคโนโลยีของ Blockchain และ smart contract ซึ่งทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง และมีความปลอดภัยสูง ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นการอำนวยความสะดวกและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไปพร้อมๆ กันในยุคดิจิทัล

ด้านของผู้รับฝากทรัพย์สิน (custodian) เทคโนโลยีนี้ถือเป็นประตูเชื่อมระหว่างโลกของธุรกิจการรับฝากทรัพย์สินทางการเงินในปัจจุบัน กับโลกของการรับฝากทรัพย์สินดิจิทัล ทำให้หุ้นกู้ที่เป็นสินทรัพย์ทางการเงินในปัจจุบันสามารถเก็บในรูปของสินทรัพย์ดิจิทัลได้ด้วย และเปิดโอกาสให้มีนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ได้อีกมาก

“ระบบเดิมจะมีค่าดำเนินการ 1 รายการระหว่าง Business-to-Business (B2B) ในการซื้อขายตราสารกระดาษ ต้นทุนจะอยู่ตั้งแต่ 500-2,000 บาท ขึ้นอยู่กับไซส์ของผู้เล่น โดยผู้เล่นรายใหญ่จะต้นทุนต่ำกว่า เเต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิทัลบนบล็อกเชนทั้งหมดเเล้ว จะสามารถลดต้นทุนการออกหุ้นกู้ปกติสูงถึง 80-90% ไม่ต้องรอเงิน รอเช็กว่าโอนหรือยัง รวมถึงการส่งมอบหลักฐานต่างๆ ก็ไม่ต้องส่งผ่านกระดาษแล้ว เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดด้วย”

โดยในอนาคตมีเเผนจะขยายไปสู่รายย่อย ซึ่งปัจจุบันธนาคารสามารถโอนเงินไปต่างประเทศได้แล้ว 12 สกุล

 

 

 

]]>
1284240
BBL ปิดดีลซื้อ “เพอร์มาตา” เเบงก์อินโดฯ โอนเงิน 7.37 หมื่นล้าน จ่ายค่าหุ้น 89.12% เสร็จสมบูรณ์ https://positioningmag.com/1279805 Wed, 20 May 2020 18:10:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279805 ธนาคารกรุงเทพ ปิดดีลซื้อ “พอร์มาตา” ธนาคารใหญ่อินโดฯ เสร็จสมบูรณ์เเล้ว หลังโอนเงิน 73,722 ล้านบาท จ่ายค่าหุ้น 89.12% เดินหน้าทำคำเสนอซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดอีก 10.88% จากผู้ถือหุ้นรายย่อย

ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพได้โอนชำระค่าหลักทรัพย์ธนาคารพีที เพอร์มาตา ทีบีเค (เพอร์มาตา-Permata) ร้อยละ 89.12 ตามมูลค่าประเมินที่ตกลงร่วมกันที่ 1.63 เท่าของมูลค่าตามบัญชีของเพอร์มาตา ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 เป็นเงิน 73,722 ล้านบาท (หรือประมาณ 33,662,797 ล้านรูเปียห์ หรือ 2,282 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ให้กับ พีที แอสทรา อินเตอร์เนชั่นแนล ทีบีเค และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เสร็จสมบูรณ์ในวันนี้

“ธนาคารขอขอบคุณธนาคารแห่งประเทศไทย หน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจการเงินของอินโดนีเซีย Otoritas Jasa Keuangan และหน่วยงานของทางการที่เกี่ยวข้องที่ได้อนุมัติและสนับสนุนการเข้าซื้อกิจการในครั้งประวัติศาสตร์นี้ ซึ่งการเข้าซื้อกิจการธนาคารเพอร์มาตาที่มีสินทรัพย์ 366,595 ล้านบาท (หรือประมาณ 167,394,076 ล้านรูเปียห์ หรือ 11,349 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ธนาคารขนาดใหญ่อันดับ 12 ของอินโดนีเซียเมื่อพิจารณาจากสินทรัพย์รวม พร้อมด้วยฐานลูกค้าจำนวน 3.75 ล้านราย และสาขา 312 แห่งทั่วอินโดนีเซีย นับเป็นสมาชิกใหม่ในกลุ่มธุรกิจการเงินของธนาคารกรุงเทพที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้จะส่งผลให้สัดส่วนของสินเชื่อในตลาดต่างประเทศต่อสินเชื่อรวมของธนาคารกรุงเทพเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 17 เป็นร้อยละ 25 เป็นไปตามกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างรากฐานของธนาคารกรุงเทพเพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน”

ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

สำหรับการดำเนินการในลำดับถัดไปธนาคารกรุงเทพจะยื่นขออนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจการเงินของอินโดนีเซีย (Otoritas Jasa Keuangan) เพื่อ จัดทำคำขอเสนอซื้อหุ้นส่วนที่เหลือทั้งหมดของธนาคารเพอร์มาตาอีกร้อยละ 10.88 จากผู้ถือหุ้นรายย่อย

หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการรวมสาขาธนาคารกรุงเทพในอินโดนีเซียเข้ากับธนาคารเพอร์มาตา ซึ่งจะช่วยเสริมให้ธนาคารกรุงเทพมีรากฐานที่มั่นคงยิ่งขึ้นในสองประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดยจะร่วมกับธนาคารเพอร์มาตาในการขยายธุรกิจต่อยอดจากจุดแข็งเดิมในตลาดลูกค้าบุคคล ลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอี และลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกันลูกค้าของธนาคารกรุงเทพจะมีโอกาสมากขึ้น

ส่วนการขยายธุรกิจเข้าไปในประเทศอินโดนีเซีย ธนาคารยังมุ่งหวังให้ความร่วมมือในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างธนาคารเพอร์มาตากับกลุ่มแอสทราให้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ด้าน พริโจโน ซูกิอาร์โต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีที แอสทรา อินเตอร์เนชั่นแนล ทีบีเค กล่าวว่า กลุ่มบริษัทแอสทราขอขอบคุณสำหรับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในความสำเร็จของธุรกรรมธนาคารเพอร์มาตาในครั้งนี้ กลุ่มบริษัทแอสทรายังคงเชื่อมั่นในภาคธุรกิจบริการทางการเงินของอินโดนีเซีย โดยยังคงให้ความสำคัญกับการขยายบริการทางการเงินไปยังลูกค้าบุคคล และขออวยพรให้ธนาคารกรุงเทพและธนาคารเพอร์มาตาประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทแอสทราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้พัฒนาความสัมพันธ์กับธนาคารเพอร์มาตาให้แน่นแฟ้นต่อไป

บิล วินเทอร์ส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาทีมงานธนาคารเพอร์มาตามีผลงานที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง และเราเชื่อว่าธนาคารเพอร์มาตายังคงมีศักยภาพที่แข็งแกร่งสำหรับการเติบโตในระยะยาว แต่ยุทธศาสตร์ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดในขณะนี้ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจผ่านสาขาของธนาคารเองเป็นหลัก การเปิดทางให้ผู้ถือหุ้นรายใหม่อย่างธนาคารกรุงเทพที่ได้รับความเชื่อถืออย่างกว้างขวางและมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ธนาคารเพอร์มาตามีการพัฒนาทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

ชาติศิริ กล่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารกรุงเทพดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนานกว่า 50 ปี ในประเทศอินโดนีเซีย โดยเปิดทำการสาขาจาการ์ตาเป็นแห่งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยมีความเชื่อมั่นในความมั่นคงทางเศรษฐกิจและโอกาสในการเติบโตของอินโดนีเซีย แม้ในช่วงเวลาอันยากลำบากที่ทุกประเทศกำลังต่อสู้กับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมาก ธนาคารกรุงเทพพร้อมยืนหยัดเคียงข้างธนาคารเพอร์มาตา และร่วมมือกันสนับสนุนบุคลากร ลูกค้าและสังคม ให้ก้าวผ่านช่วงเวลาแห่งความท้าทายนี้ไปด้วยกัน


ทั้งนี้ การเข้าถือหุ้นของธนาคารกรุงเทพในธนาคารเพอร์มาตาครั้งนี้ จะทำให้ทั้งสองสามารถนำความเชี่ยวชาญและจุดแข็งของกันและกันมาใช้สนับสนุนการขยายธุรกิจในตลาดลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และเอสเอ็มอี โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารกรุงเทพมีเครือข่ายที่เข้มแข็งและครอบคลุมทั่วภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งความสัมพันธ์กับบริษัทชั้นนำทั่วเอเชีย รวมถึงความเชี่ยวชาญในบริการทางการเงินสำหรับการค้าระหว่างประเทศและประสบการณ์เชิงลึกในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยธนาคารเพอร์มาตาสามารถสนับสนุนลูกค้าด้วยผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่มีคุณภาพสูง และส่งเสริมการเข้าถึงตลาดนอกประเทศอินโดนีเซียผ่านเครือข่ายของธนาคารกรุงเทพทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ

นอกจากนี้ ธนาคารยังมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะในภาคการเกษตรและยานยนต์ให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ อีกทั้งยังพร้อมส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินและเผยแพร่ความรู้ทางการเงินในประเทศอินโดนีเซีย

 

]]>
1279805
KBank เปิดงบไตรมาส 1/63 กำไร 6,581 ล้านบาท ลดลง 34.47% จับตา NPL เพิ่ม https://positioningmag.com/1274510 Tue, 21 Apr 2020 04:54:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1274510 พิษไวรัส COVID-19 กระทบเศรษฐกิจ “กสิกรไทย” แจ้งไตรมาส 1 ปี 63 กำไร 6,581 ล้านบาท ลดลง 34.47% รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยลดลงจากมาตรฐานบัญชีใหม่ ธนาคารจับตา NPL เพิ่ม

พัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของธนาคารในไตรมาส 1 ปี 2563 โดยธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิไตรมาส 1 ปี 2563 จำนวน 6,581 ล้านบาท ลดลง 34.47% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 28,082 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการเติบโตของสินเชื่อ และการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรับเกี่ยวกับการให้สินเชื่อด้วยวิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) จากเดิมรับรู้ตามสัญญา ซึ่งเป็นการปฏิบัติตาม TFRS 9 รวมถึงการปรับลดอัตราเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินลง

ทำให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (NIM) อยู่ที่ระดับ 3.49% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2562 ที่อยู่ระดับ 3.32%

ด้านรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอยู่ที่ 7,372 ล้านบาท ลดลง 39.78% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุนจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันเนื่องมาจากผลกระทบของ COVID-19 รวมทั้ง TFRS 9 กำหนดให้จัดประเภทและวัดมูลค่าของเงินลงทุนใหม่ โดยสะท้อนในรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยนี้

ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ อยู่ที่ 17,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.19% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเกิดจากค่าใช้จ่ายในการจัดการหนี้ ค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และค่าใช้จ่ายกิจกรรมทางการตลาด ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to Income Ratio) อยูที่ระดับ 49.31%

ธนาคารมีผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss) เพิ่มขึ้นจำนวน 4,292 ล้านบาท จากปีก่อน โดยพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบเพื่อให้สอดคล้องกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19

เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL gross) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 3.86% เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2562 ที่อยู่ระดับ 3.65% โดยธนาคารได้มีการติดตาม ให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งควบคุมดูแลคุณภาพสินเชื่อของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างใกล้ชิด

ขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 138.66% โดยสิ้นปี 2562 อยู่ที่ระดับ 148.60%

“กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยในไตรมาส 1 ปี 2563 หดตัวลงในเกือบทุกภาคส่วน เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส  COVID-19 โดยภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกหดตัวลงสอดคล้องกับสัญญาณถดถอยของเศรษฐกิจโลก ขณะที่มาตรการปิดเมืองของหลายประเทศมีผลกระทบต่อการเดินทางและการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ  นอกจากนี้ยังกดดันบรรยากาศการใช้จ่ายภายในประเทศ และสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินไทย ซึ่งทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และใช้มาตรการเพิ่มเติมในการดูแลเสถียรภาพของระบบการเงิน ขณะที่ภาครัฐเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19″ 

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 3,483,527 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.76% จากสิ้นปี 2562 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินสุทธิ และการเติบโตของสินเชื่อ สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 อยู่ที่ 18.53% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 15.17%

 

 

]]>
1274510
SCB บุกตลาด “เมียนมา” เต็มสูบ จัดตั้งธนาคารลูก วางเป้ายอดสินเชื่อเเตะ 7 พันล้านใน 5 ปี https://positioningmag.com/1272729 Fri, 10 Apr 2020 09:00:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1272729 เเบงก์ใหญ่ในไทย พาเหรดเข้าลงทุนอาเซียน ยกเป็นตลาดเติบโตใหม่ ล่าสุด “ไทยพาณิชย์” บุกเมียนมาเต็มสูบ หลังรับอนุมัติจัดตั้งธนาคารลูก ตั้งเป้า 5 ปี ยอดสินเชื่อแตะ 7 พันล้านบาท เจาะลูกค้าทุกกลุ่มทั้งรายใหญ่ SMEs เเละรายย่อย

ทำไมถึงเลือก “เมียนมา” ?

อาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า เมียนมาเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจอันดับต้นๆ ของภูมิภาคที่นักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลกให้ความสนใจ

โดยใน 5 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัวของจีดีพีเฉลี่ยประมาณ 6-7% และมีมูลค่าการลงทุนตรงจากประเทศไทย (FDI) ที่ได้รับการอนุมัติแล้วจนถึงปัจจุบันที่ 11 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์ และจีน นอกจากนั้นประเทศไทยยังเป็นคู่ค้าในลำดับที่ 2 รองจากจีน มีมูลค่าการค้า 7.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2562 โดยไทยพาณิชย์เริ่มต้นให้บริการผ่านสำนักงานผู้แทนธนาคารในเมียนมาตั้งแต่ปี 2555

“วันนี้เราได้รับอนุมัติจากธนาคารกลางเมียนมาให้จัดตั้งธุรกิจแบบจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายเมียนมา (Subsidiary Bank) ทำให้สามารถเปิดธนาคารในรูปแบบบริษัทลูกที่มีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้ถือหุ้น 100% และสามารถประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้เต็มรูปแบบเสมือนธนาคารท้องถิ่นในเมียนมา”

ทั้งนี้ ภายใต้ Subsidiary License ทำให้ธนาคารสามารถเปิดสาขาในแหล่งธุรกิจที่สำคัญได้ถึง 10 สาขา

ปูทางลูกค้าไทยลงทุนในเมียนมา

ผู้บริหาร SCB เปิดเผยว่าในระยะแรก ธนาคารจะมุ่งตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้าธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนแล้ว และที่ต้องการเข้าไปขยายธุรกิจทั้งด้านการค้าและการลงทุนในเมียนมา ด้วยโซลูชั่นทางการเงินเพื่อธุรกิจการค้าครบวงจร อาทิ สินเชื่อ อัตราแลกเปลี่ยน ธุรกรรมการค้า ซัพพลายเชน และบริหารเงินสด เป็นต้น

“ด้วยแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในทุกภาคอุตสาหกรรม และจุดเด่นที่ทำให้เมียนมาเป็นที่สนใจของนักลงทุนจากต่างชาติอีกประการหนึ่งคือ ค่าแรงที่อยู่ในระดับไม่สูงมากนักของแรงงานเมียนมา จึงเป็นโอกาสของนักลงทุนไทยที่จะเข้ามาใช้เมียนมาเป็นฐานการผลิตและส่งออกไปทั่วภูมิภาคได้”

ปัจจุบันมีลูกค้านักธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนที่เมียนมาและมีความสนใจใช้บริการกับธนาคารแล้วกว่า 100 ราย จากกลุ่มอุปโภคบริโภค พลังงาน นิคมอุตสาหกรรม ภาคการผลิต และอุตสาหกรรมการเกษตร โดยธนาคารตั้งเป้าประมาณการวงเงินสินเชื่อ 7,000 ล้านบาท ภายในปี 2567

โอกาสตีตลาดคนท้องถิ่น

SCB จะได้รับอนุญาตให้บริการทางการเงินสำหรับลูกค้ารายย่อยของเมียนมาได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป

“ตลาดลูกค้ารายย่อยของเมียนมานั้น ถือว่าเป็นโอกาสที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับธุรกิจธนาคาร ด้วยประชากรกว่า 54 ล้านคนถือเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพที่ธนาคารจะพัฒนาการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินขั้นพื้นฐานให้แก่ชาวเมียนมา”

ทั้งนี้ ธนาคารวางแผนที่จะพิจารณาการให้บริการลูกค้ารายย่อยชาวเมียนมาด้วยผลิตภัณฑ์ทางด้านเงินฝาก สินเชื่อบุคคล ดิจิทัลแบงกิ้ง และกลุ่มลูกค้ามั่งคั่งอีกด้วย

ปัจจุบันไทยพาณิชย์ มีเครือข่ายครอบคลุมกลุ่มประเทศ CLMV+2 ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม จีน และสิงคโปร์ โดยหวังจะเป็นสะพานเชื่อมดึงนักลงทุนต่างชาติมายังไทย เมียนมา เเละประเทศอื่นในลุ่มแม่น้ำโขง

ด้านธนาคารใหญ่อีกเจ้าอย่างกสิกรไทย หรือ KBank ในช่วงต้นปีมีข่าวว่า กำลังเจรจาที่จะเข้าไปทำธุรกิจธนาคารในเมียนมาเช่นกัน โดยความเป็นไปได้ของการเข้าลงทุน ยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนของการพิจารณา ของธนาคารกลางแห่งเมียนมา ซึ่งอาจจะมีดำเนินธุรกิจได้ใน 3 รูปแบบ คือ

  1. จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ (Subsidiary)
  2. จัดตั้งสาขาต่างประเทศของธนาคารกสิกรไทยในเมียนมา (Foreign Bank Branch)
  3. การเข้าร่วมลงทุนในธนาคารท้องถิ่นในประเทศเมียนมา (Equity Participation)

ส่วนเเบงก์ “กรุงศรีอยุธยา” ประกาศวางเเผนธุรกิจ ปี 2020 เพื่อขยายธุรกิจไปอาเซียน โดยตอนนี้มีความร่วมมือกับธนาคารพันธมิตรที่อยู่ในเครือข่าย MUFG ที่เป็นบริษัทเเม่ เเละมีพันธมิตรที่ร่วมลงทุนในประเทศฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งกำลังมองหาโอกาสลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเวียดนามกับอินโดนีเซีย

]]>
1272729
ก้าวใหม่กสิกรไทย เปิดเเนวคิด “กอบกาญจน์-ขัตติยา” รับไม้ต่อ พาธุรกิจเเบงก์ฝ่าวิกฤต https://positioningmag.com/1272531 Thu, 09 Apr 2020 12:01:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1272531 การปรับทัพของเเบงก์ใหญ่ท่ามกลางวิกฤต COVID-19 น่าจับตามองยิ่ง หลังการอำลาวงการธนาคาร 40 ปีของ “บัณฑูร ล่ำซำ” ที่เพิ่งลงจากตำแหน่งประธานกรรมการ เปิดทางผู้บริหารหญิง 2 คน ได้ก้าวขึ้นมากุมบังเหียนสูงสุดของ “กสิกรไทย” เมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา

คนเเรกคือ “กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร” ประธานกรรมการธนาคารกสิกรไทยคนใหม่ที่ก้าวขึ้นมารับตำเเหน่งหลังเป็นกรรมการอิสระมานาน กลับเข้าสู่งานธนาคารอีกครั้ง หลังไปเป็น “รัฐมนตรี” บริหารงานภาครัฐ

กอบกาญจน์ เคยร่วมงานในฐานะกรรมการอิสระมาแล้วในปี 2554 ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เมื่อพ้นจากตำแหน่งได้กลับมาร่วมงานกับธนาคารกสิกรไทยอีกครั้ง เดือนเมษายน 2561 ในฐานะรองประธานกรรมการและประธานกรรมการอิสระ ควบคู่กับประธานกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดอัตราค่าตอบแทน ต่อมาเดือนตุลาคม 2561 ได้ทำหน้าที่ประธานกรรมการกากับความเสี่ยงเพิ่มเติม ขณะเดียวกันยังทำหน้าที่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด และเป็นที่ปรึกษา หอการค้าไทย สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี (สถาปัตยกรรมศาสตร์) Rhode Island School of Design สหรัฐฯ

อีกคนคือ “ขัตติยา อินทรวิชัย” ลูกหม้อที่งานอยู่กับเเบงก์สีเขียวมายาวนาน ค่อยๆ เลื่อนตำเเหน่งจนขึ้นมาเป็น
“ซีอีโอ” คนเเรกที่ไม่ได้มาจากตระกูล “ล่ำซำ”

เธอเริ่มทำงานกับกสิกรไทยมาตั้งเเต่ปี 2530 สำเร็จการศึกษา ปริญญาโท (บริหารธุรกิจ-การเงินและการลงทุน)
University of Texas at Austin สหรัฐฯ จากการเป็นนักเรียนทุนธนาคารกสิกรไทย หลังจากสำเร็จปริญญาตรี (บริหารธุรกิจ-การตลาด) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีประสบการณ์ด้านสินเชื่อ ยทธศาสตร์องค์กร การตลาด การเงิน เทคโนโลยีทรัพยากรบุคคล เคยผ่านเหตุการณ์สำคัญมาตั้งแต่ยุค re-engineering ปี 2553 ผ่านวิกฤติการเงิน “ต้มยำกุ้ง” ปี 2540 และ K-Transformationปี 2550

สองผู้บริหารคนใหม่แห่ง KBank ได้เปิดตัวครั้งเเรกเวที HER TALK พูดคุยกับสื่อมวลชนผ่านออนไลน์ ถึงหลักการทำงาน วิสัยทัศน์ ทิศทางการขับเคลื่อนองค์กรในช่วงโรคระบาด เเละเป้าหมายต่อไปของการเป็นธนาคารเเห่งอาเซียน

กอบกาญจน์ เล่าว่าในฐานะคณะกรรมการ บทบาทสำคัญคือการกำหนดนโยบายและกำกับดูแล เพื่อให้ธนาคารดำเนินการให้สอดคล้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีและบริหารความเสี่ยงให้พอเหมาะ โดยสิ่งที่จะทำอย่างแรก คือ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการกับฝ่ายจัดการ ที่ต้องความสัมพันธ์ที่มีอิสระต่อกัน แต่ทำงานร่วมกัน

ภารกิจสำคัญอีกอย่างอย่างการ “หาคนเก่งมาร่วมงาน” โดยจะความสำคัญการสรรหาบุคคลชั้นนำ ที่มีการพัฒนาทักษะ มีความรู้ความสามารถหลากหลาย เเละมิติความหลากหลายทางเพศ เข้ามาทำหน้าที่คณะกรรมการธนาคาร เพื่อให้มีส่วนผสมครบทุกมุมมอง

“ปัจจุบันคณะกรรมการธนาคารกสิกรไทยมีสัดส่วนผู้หญิงมากถึง 41% มีจำนวน 7 คน จาก 17 คน เป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในระบบธนาคารไทย เรามีกรรมการอิสระถึง 9 คน มากกว่าครึ่งหนึ่งของคณะกรรมการ”

หลังการทำงานในฐานะผู้บริหารธุรกิจมาเกือบ 40 ปี เเละมีโอกาสทำหน้าที่รัฐมนตรีบริหารประเทศ “กอบกาญจน์” มีหลักการทำงานที่ถือปฏิบัติอยู่เสมอ 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ

1. สร้างคน ต้องเปิดกว้างให้พนักงานกล้าคิด กล้าคิดนอกกรอบ กล้าทำ ดึงศักยภาพของเขาออกมาให้คน
ทำงานมีเเรงบันดาลใจ

2. ทำให้คนเก่งเหล่านั้นร่วมมือกันในทิศทางเดียวกัน เพราะในบริษัทหนึ่งมีคนเก่งจากหลายมิติ เเต่สิ่งสำคัญคือต้อง “ใจเดียวกัน” มีเป้าหมายเดียวกัน ถึงจะมีพลังขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ฝันที่ตั้งเป้าไว้

3. ผู้นำต้องเข้มแข็ง ต้องมีสติ ต้องมีวินัย ตัดสินใจดี ทำงานบนความถูกต้อง ความเสมอภาค จะทำให้เติบโตต่อไปอย่างมั่นคง

กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร (ซ้าย) ขัตติยา อินทรวิชัย (ขวา)

พระอาทิตย์ขึ้นใหม่เสมอ – เรียนรู้ตลอดชีวิต – เท้าต้องติดดิน

ประธานกรรมการกสิกรไทย ฝากถึงคนรุ่นใหม่ที่เริ่มทำงานและกำลังขบคิดว่าทำอย่างไรจะให้ประสบความสำเร็จและมีความสุขว่า เราต้องมีจุดยืน มีปรัชญาในการดำรงชีวิต ปรัชญาในการทำงาน เพื่อที่ว่าจะได้แน่วแน่ไปให้ถึงจุดนั้นให้ได้

“การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเรียนจบอะไรมาหรือประสบความสำเร็จในอดีต วันนี้และวันข้างหน้าสำคัญกว่า อะไรที่อยู่ในตำราวันนี้อาจจะล้าสมัยไปแล้ว เพราะโลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว สิ่งที่สำคัญคือเท้าต้องติดดิน รับฟังความเห็นของผู้อื่น เราต้องกล้าที่จะรับฟังความคิดเห็นจากคนรอบข้าง”

ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวเเละมีปัญหารอบด้าน กอบกาญจน์เเนะว่า ต้องเชื่อมั่นในประเทศ เชื่อในจังหวัดที่เราอยู่ เชื่อมั่นในธุรกิจที่ทำ

“เรามักจะมองสนามหญ้าหน้าบ้านคนอื่นเขียวกว่าเรามักคิดว่าธุรกิจเราเป็นประเภทพระอาทิตย์ตกหรือเปล่า เมื่อเราปล่อยให้มันตก ก็จะตกทันที เเต่ถ้าคิดว่าในทุกๆ ที่มีสิ่งดีๆ อยู่ เราจะกล้าหาญสร้างสรรค์ พระอาทิตย์จะขึ้นใหม่เสมอ ในธุรกิจของเรา ในจังหวัดของเรา และในประเทศของเรา”

คำว่า “โชคดี” ไม่มีจริง – ทำงานเเบบมองไปข้างหน้า

คำว่า “โชคดี” ไม่มีจริง แต่มีประโยคหนึ่ง คือ life is what happens when preparation meets opportunity หมายถึง ทุกอย่างเราต้องเตรียมพร้อม เราต้องเตรียมความพร้อมเสมอ ไม่หยุดเรียนรู้ ไม่มีใครแก่เกินเรียน

นี่คือความเชื่อของขัตติยา โดยเธอเล่าให้ฟังอีกว่า ตอนนี้ได้เริ่มเรียนภาษาจีนเพื่อรองรับกับการเป็นธนาคารในภูมิภาค รวมถึงได้เรียนเรื่อง design thinking ผ่านออนไลน์เพราะเป็นทักษะใหม่ในยุคนี้

“กสิกรไทยเปิดโอกาสให้คนได้แสดงความสามารถ และจะผสมผสานคนแต่ละรุ่น ความเก่งในหลายมุมที่เรียกว่า multi-disciplinary เพื่อสร้างวัฒนธรรมที่คนเก่งหลากหลายมุมทำงานร่วมกันได้ ให้ประสบการณ์ต่างๆ ผสมผสานกัน สร้างสิ่งดีไปในอนาคต”

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย

สำหรับหลักการทำงานของเธอ คือการ “มองไปข้างหน้า” ในฐานะที่เพิ่งก้าวขึ้นมาเป็นซีอีโอ สิ่งที่ต้องทำคือต้องบริหารเวลาให้ดีขึ้น ทำในสิ่งที่ซีอีโอสามารถทำได้ งานที่เป็นของคนอื่นทำได้ก็ให้คนอื่นทำ จะได้โฟกัสไปยังสิ่งที่สำคัญจริงๆ

“เราต้องเพิ่มอำนาจให้ทีม ต้องเชื่อมั่นในทีมงานของเรา และต้องดูแลสุขภาพเพื่อไม่ให้งานสะดุด”

อีกเรื่องที่ขัตติยา อยากฝากถึงคนวัยทำงาน คือชีวิตเราต้องมี work-life-balance จากประสบการณ์ของตัวเองนั้น
เมื่อทำงานหนัก ต้องหาเวลาพัก ซึ่งการพักของเเต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจเป็นการได้อยู่กับครอบครัว การออกกำลังกาย ในการทำงานเราก็หาความสุข หรือพัฒนาตัวเองได้ด้วย เป็นการเสริมกันเเละกัน ทำให้มีพลังและกลับมาทำงานใหม่ได้

ส่งไม้ต่อ…ช่วงวัดใจ

ด้าน “บัณฑูร ล่ำซำ” ก็ออกมาเปิดใจเช่นกันว่า มั่นใจในการปรับทัพทีมบริหารใหม่ครั้งนี้จะผ่านพ้นวิกฤต COVID-19 ไปได้ โดยช่วงชีวิตต่อไปของเขาจะขอเดินหน้าทำงานด้านสิ่งเเวดล้อมสานต่อโครงการ “รักษ์ป่าน่าน” เต็มตัวเเละยืนยันไม่มีแนวคิดลงเล่นการเมือง

บัณฑูร มองว่าการส่งไม้ต่อตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดแล้ว ไม่มีเรื่องกังวล เพราะทีมงานเก่งทุกคน

“ตอนนี้เป็นอีกฉากหนึ่งของชีวิต ทำมาเต็มที่แล้ว ไม่รู้จะทำอะไรแล้ว ทำงานแบงก์มา 40 ปี อยากไปทำอย่างอื่นบ้าง
สมควรแก่เวลาในการส่งต่ออย่างดี ตอนนี้ไม่มีความกังวลอะไรเลย แถมยังมีความสุขด้วย เพราะมั่นใจว่าทีมงานเก่งทุกคน จบฉากเดิมอย่างสบายใจ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญของชีวิต”

บัณฑูรบอกว่าเหตุผลที่เลือก “กอบกาญจน์” นั่งแท่นรักษาการประธานกรรมการ เพราะเป็นคนเก่ง เป็นบุคลากรคุณภาพจากหลายแวดวง มีประสบการณ์ มีมุมมองหลากหลาย เป็นบุคคลที่เป็นที่ยอมรับ และมีคุณธรรม ทางด้านของ “ขัตติยา” เป็นคนเก่ง ใจดี มีเมตตา เฉียบคมทั้งด้านความรู้ และทางเทคนิค

“ที่ลงจากตำแหน่งในวิกฤตเป็นช่วงเวลาที่ดี แสดงว่าเชื่อมั่นในคณะผู้บริหาร เป็นการทดสอบทีมใหม่ ถ้ารับมือกับสถานการณ์ตอนนี้ได้ ก็สามารถรับมือกับตอนไหนก็ได้ จังหวะนี้จึงดีที่สุด เป็นเวลาของเธอที่จะรับโจทย์ยากๆ และก็โชคดีที่จัดการเรื่องต่างๆ เข้าที่มานานแล้ว ส่งไม้ต่อได้ทันที ทุกระดับมีความพร้อม”

อ่านเพิ่มเติม : เปิดใจ “บัณฑูร ล่ำซำ” ปิดฉาก 40 ปีนายแบงก์กสิกรไทย สู่ฉากชีวิต “รักษ์ป่าน่าน” เต็มตัว

สู้ศึกหนัก วิกฤต COVID-19  

กอบกาญจน์กล่าวว่า ในปีที่ผ่านเศรษฐกิจโลกมีสัญญาณชะลอตัวจากหลายปัจจัย สิ่งสำคัญคือ ดิสรัปชันของเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ทำให้สะเทือนทุกภาคธุรกิจ

“ธุรกิจของธนาคาร จะต้องปรับตัวอย่างเข้มข้น ธนาคารเองต้องทำตัวให้มีความหมาย ทำให้ผู้บริโภค ซึ่งคือลูกค้าของธนาคารใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพได้ และทำให้ลูกค้าธุรกิจสามารถต่อยอดและขยายธุรกิจต่อไปได้ด้วยมือของเขาเอง”

การระบาดของไวรัสนี้ มีผลกระทบต่อคนทุกชนชั้น คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะอยู่ที่ -5% หากสามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้ภายในไตรมาสสอง แต่ยังมีปัจจัยที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจคือ การลงทุนภาครัฐที่จะขยายตัว 3% รัฐต้องเร่งผลักดันการลงทุนออกมาในปีนี้ ส่วนการลงทุนภาคเอกชนบอบช้ำพอสมควรน่าจะอยู่ที่ -5%

ในมุมมองของอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กอบกาญจน์มองว่านักท่องเที่ยวจะหายไปเหลือครึ่งหนึ่งราว 17 ล้านคน อาจจะเริ่มกลับมาได้ไตรมาส 3-4 เเละหากพ้นวิกฤตนี้ไปประเทศไทยต้องกลับมาคิดใหม่ เรื่องการเเจ้งเกิดการท่องเที่ยว Health & Wellness เเละ Sport Event ควบคู่ไปกับการส่งเสริม “ไทยเที่ยวไทย”

Photo by Lauren DeCicca/Getty Images

ด้านขัตติยา กล่าวถึงความรู้สึกในการรับตำแหน่งใหม่ในช่วงนี้ว่ามีความท้าทายมาก มีปัญหาภัยแล้ง เศรษฐกิจถดถอย ดิสรัปชัน และ COVID-19 ธนาคารจึงต้องดำเนินธุรกิจในหลายมิติ ทั้งต้องพยายามทำให้ผลประกอบการดีเเละต้องตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้มากที่สุด รวมถึงเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภายใต้ความยากลำบากนี้เรายังต้องทำให้ระบบการเงินการธนาคารของประเทศฝ่าฟันไปได้

“เป็นความท้าทายที่หนักทีเดียว แต่หากเทียบกับวิกฤติต้มยำกุ้งเเล้ว ครั้งนี้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวภาระหนี้ต่างประเทศไม่สูง ไม่มีการเก็งกำไรในหุ้นหรือในอสังหาริมทรัพย์เหมือนในครั้งต้มยำกุ้ง อีกทั้งมาตรการความช่วยเหลือต่างของรัฐมาเร็วกว่าคราวก่อน แต่ครั้งนี้เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก การเติบโตเศรษฐกิจของไทยไม่ค่อยเติบโตมาระยะหนึ่งแล้ว หนี้ครัวเรือนค่อนข้างสูง เมื่อมาเจอ COVID-19 เหตุการณ์นี้เป็นโจทย์ของทั้งโลก ทุกประเทศ ทุกบริษัท”

“กสิกรไทยมีเงินกองทุนขั้นที่ 1 มากกว่า 16% เราตระหนักว่าเงินกองทุนเป็นสิ่งสำคัญ จึงติดตามอย่างสม่ำเสมอ ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จะเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่อยู่ในระดับที่จัดการได้ เพราะมีเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง และมีทีมงานที่มีการจัดการอย่างดี เเละได้มีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าด้านสินเชื่อไปแล้ว 115,000 ราย ยอดสินเชื่อ 124,000 ล้านบาท”

ซีอีโอ KBank ย้ำว่าบริษัทไม่มีนโยบายลดพนักงาน ในช่วงการระบาดของ COVID-19 เเละสุขภาพของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญ ต้องดูแลพนักงาน ซึ่งจะมีมาตรการที่เข้มงวดเพื่อให้พนักงานและลูกค้าที่มาใช้บริการปลอดภัย โดยรวมเชื่อมั่นว่าจะผ่านไปได้

“หลังจากผ่านวิกฤตไปได้ กสิกรไทยจะเป็นธนาคารเเห่งความยั่งยืน ก้าวใหญ่กว่าดิจิทัลเเบงก์กิ้ง โดยจะเน้นขยายไปยังประเทศในอาเซียน ซึ่งกำลังเตรียมลงทุนในอินโดนีเซีย เเละเพิ่มศักยภาพการเติบโตในเมียนมา ลาวเเละกัมพูชา เป็นทิศทางที่เราต้องไป เเม้รายได้ตอนนี้จะยังไม่มากนักเเต่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะเติบโตในอนาคต พร้อมกับการลงทุนใน “สตาร์ทอัพ” ที่เราทำมาอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าในยุคดิจิทัล”

 

]]>
1272531