ยานยนต์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 13 Aug 2021 00:52:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผ่าตลาดแรงงานครึ่งปีแรก “ท่องเที่ยว-โรงแรม-การบิน” ยังเคว้งอีกยาว “อาหาร” ยังต้องการสูง https://positioningmag.com/1344486 Thu, 12 Aug 2021 14:12:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344486 ผ่าตลาดแรงงานในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 คนไทยยังมีความต้องการสมัครงานสูง การแข่งขันสูงขึ้น กลุ่มอาหาร ยานยนต์ และบริการ ยังมีความต้องการสูงที่สุด ส่วนกลุ่ม “ท่องเที่ยว-โรงแรม-การบิน” ยังเคว้งอีกยาว หลายองค์กรเริ่มเปิดรับการทำงานแบบ Work from Home มากขึ้น

โลกการทำงานในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน โดยมีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับตลาดแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดทำให้เกิดนวัตกรรม เกิดอาชีพใหม่ๆ ตลอดจนปัญหาระบบการศึกษาที่ไม่สามารถผลิตคนได้ตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบกับตลาดแรงงานเป็นวงกว้าง

แสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการของจ๊อบไทย (JobThai) เปิดเผยถึงข้อมูลการหางาน สมัครงาน จากการรวบรวมข้อมูลในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 พร้อมวิเคราะห์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบกับตลาดแรงงานไทย พบว่า ในเดือนมกราคม – มิถุนายน 2564 มีผู้ต้องการหางาน สมัครงาน เพิ่มขึ้นกว่าปี 2563

Photo : Shuttetstock
  • มีผู้ใช้งานสะสมมากกว่า 13 ล้านคน เติบโตขึ้น 17%
  • มีการสมัครงาน 9.6 ล้านครั้ง เติบโตขึ้น 8%
  • องค์กรมีการเปิดรับพนักงานรวมทั้งหมด 772,145 อัตรา เพิ่มขึ้น 13.70%
  • ในช่วงที่ผ่านมาหลายองค์กรมีการเปิดรับบุคลากรโดยสามารถทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) หรือทำงานทางไกล (Remote Working) 11,036 อัตรา เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3-4 ปี 2563 18.70%
  • องค์กรยังเปลี่ยนมาสัมภาษณ์งานทางออนไลน์มากถึง 78,101 อัตรา เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3-4 ปี 2563 ถึง 208.10%

สำหรับข้อมูลความต้องการแรงงาน และความต้องการของผู้สมัครงานทั่วประเทศ ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2564 มีดังนี้

5 ประเภทธุรกิจมีความต้องการแรงงานมากที่สุด

  1. ธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม 66,977 อัตรา

องค์กรที่มีความต้องการแรงงานมากในธุรกิจนี้ เช่น บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเครื่องดื่มในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, บริษัท ไทย อกริ ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตอาหาร เครื่องดื่ม อาหารสำเร็จรูป อาทิ อาหารกระป๋อง และอาหารแช่แข็งเพื่อการส่งออก, บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ผู้ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์โคคา-โคล่า และผลิตภัณฑ์อื่นๆ

2. ธุรกิจยานยนต์/ชิ้นส่วนยานยนต์ 57,390 อัตรา

องค์กรที่มีความต้องการแรงงานมากในธุรกิจนี้ เช่น บริษัท ท็อปเบส์ท จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนโครงสร้าง ตัวถัง ประกอบรถโดยสาร และตัวถังรถบรรทุก และจัดจำหน่ายรถโดยสารและรถบรรรทุกเพื่อการพาณิชย์, MAXXIS INTERNATIONAL (THAILAND) CO.,LTD. ผู้ผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์, บริษัท สยามกลการอุตสาหกรรม จำกัด ผู้นำเข้า จัดจำหน่ายและบริการซ่อม และอะไหล่ รถ Forklift ในแบรนด์ของ Unicarrier ประเทศไทย

3. ธุรกิจบริการ 51,822 อัตรา

องค์กรที่มีความต้องการแรงงานมากในธุรกิจนี้ เช่น บริษัท เอ็มโอแค็ป จำกัด ซึ่งทำธุรกิจด้าน Outsourcing Contact Center, บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์ จำกัด (มหาชน) ธุรกิจด้าน Customer Service Management, Thailand YellowPages ผู้บุกเบิกธุรกิจการให้บริการค้นหาข้อมูล รายชื่อ และหมายเลขโทรศัพท์ขององค์กรธุรกิจ การค้นหาสินค้า และบริการต่างๆ เป็นรายแรกของประเทศไทย

4. ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง – รับเหมาก่อสร้าง 50,132 อัตรา

องค์กรที่มีความต้องการแรงงานมากในธุรกิจนี้ เช่น บริษัทดูโฮม จำกัด (มหาชน) ผู้จำหน่ายวัสดุก่อสร้างครบวงจร, บริษัท เจ ดับบลิว เอส คอนสตรัคชั่น จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจด้านรับเหมาก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีก่อสร้างชั้นสูง, บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด แหล่งรวมสินค้า และวัสดุอุปกรณ์เพื่อการตกแต่งซ่อมแซมที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร

5. ธุรกิจขายปลีก 47,956 อัตรา

องค์กรที่มีความต้องการแรงงานมากในธุรกิจนี้ เช่น บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด หรือโลตัส ประเทศไทย, บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ผู้จัดจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค, วัตสัน ประเทศไทย ร้านเพื่อสุขภาพ และความงาม

5 สายงานที่มีการเปิดรับมากที่สุด

สายงานที่มีการเปิดรับมากที่สุด ได้แก่

  1. งานขาย 158,753 อัตรา
  2. งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ 89,279 อัตรา
  3. งานช่างเทคนิค/อิเล็กทรอนิกส์ 83,440 อัตรา
  4. งานธุรการ/จัดซื้อ 43,574 อัตรา
  5. งานวิศวกร 40,697 อัตรา
Photo : Shutterstock

5 สายงานไอทีที่มีการเปิดรับมากที่สุด

  1. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) 12,296 อัตรา

ทำหน้าที่พัฒนาระบบซอฟต์แวร์รวมถึงดูแลระบบ ให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

ทักษะที่จำเป็น : ทักษะการเขียนโปรแกรมและความรู้ด้านภาษาคอมพิวเตอร์ โดยมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาที่นิยมใช้ เช่น JavaScript, C#, Python และ PHP

2. ไอทีแอดมิน/เน็ตเวิร์กแอดมิน (IT Admin/Network Admin) 5,629 อัตรา

ทำหน้าที่ดูแลระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเน็ตเวิร์ก ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อให้พนักงานแผนกต่าง ๆ สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น

ทักษะที่จำเป็น : มีความรู้ความสามารถในเรื่องของระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ และระบบเน็ตเวิร์ก

3. เทคนิคซัพพอร์ต (Technical Support/Help Desk) 3,598 อัตรา

ทำหน้าที่ดูแลการใช้งานโปรแกรมและอุปกรณ์ต่างๆ ของพนักงานภายในบริษัท และช่วยเหลือให้คำแนะนำเรื่องการใช้โปรแกรมกับลูกค้าหากเกิดปัญหาขึ้น

ทักษะที่จำเป็น : มีความรู้ความสามารถในเรื่องการใช้งานและแก้ปัญหาโปรแกรมต่าง ๆ

Bearded IT Technician in Glasses with Laptop Computer and Black Male Engineer Colleague are Using Laptop in Data Center while Working Next to Server Racks. Running Diagnostics or Doing Maintenance Work

4. วิศวกรคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) 2,354 อัตรา

ทำหน้าที่ออกแบบและพัฒนาระบบและสถาปัตยกรรมทางด้านคอมพิวเตอร์ครอบคลุมทั้งในส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบ

ทักษะที่จำเป็น : มีความรู้ด้านระบบ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการออกแบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

5. นักทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Tester) 1,961 อัตรา

ทำหน้าที่ทดสอบซอฟต์แวร์เพื่อค้นหาข้อผิดพลาด ตรวจสอบคุณภาพของระบบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อให้คนใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะที่จำเป็น : ความรู้พื้นฐานทางด้าน Software Testing, การวิเคราะห์ ออกแบบการ Test

นอกจากสายงานที่กล่าวไปข้างต้นแล้วยังมีอาชีพงานไอทีที่น่าจับตามองอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น วิศวกรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security), นักพัฒนาบล็อกเชน (Blockchain Developer), นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist), นักพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Engineer)

กระทบการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่

ในแต่ละปีจะมีนักศึกษาจบใหม่เข้ามาในตลาดแรงงาน ซึ่งในปีนี้นักศึกษาจบใหม่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากโควิด-19 โดยในจ๊อบไทยมีบัญชีผู้ใช้งานที่เป็นนักศึกษาจบใหม่ 178,399 คน คิดเป็น 17.14% ของจำนวนผู้สมัครงานทั้งหมดในแพลตฟอร์ม ซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

  • สายงานที่เปิดรับนักศึกษาจบใหม่มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.งานขาย 35,031 อัตรา 2.งานช่างเทคนิค/อิเล็กทรอนิกส์ 14,074 อัตรา 3.งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ 11,332 อัตรา 4.งานบริการ 8,777 อัตรา และ 5.งานวิศวกร 7,677 อัตรา
  • สายงานที่มีนักศึกษาจบใหม่สมัครมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.งานธุรการ/จัดซื้อ 60,780 คน 2.งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ 47,137 คน 3.งานขาย 36,980 คน 4.งานวิศวกร 30,565 คน และ 5.งานขนส่ง-คลังสินค้า 28,344 คน

นักศึกษาจบใหม่ท่องเที่ยว / โรงแรม / การบินเคว้ง

ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น โรงแรม หรือการบิน ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยตรง ทำให้องค์กรต่างๆ ไม่มีการจ้างงานในสายนี้เพิ่มมากนัก นักศึกษาจบใหม่ในสาขานี้จึงได้รับผลกระทบไปด้วย

โดยข้อมูลจาก กลุ่มบนเฟซบุ๊ก “JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน” ซึ่งมีสมาชิกภายในกลุ่มกว่า 200,000 คน พบว่าประเด็นในการพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาของเด็กจบใหม่ในสาขาดังกล่าว มีดังนี้

  • การหางานด้านท่องเที่ยว โรงแรมยาก ทำให้ว่างงานนานขึ้น
  • คนที่ทำงานด้านท่องเที่ยว โรงแรม เช่น ไกด์ พนักงานในโรงแรม พนักงานบริษัททัวร์ ถูกลดเงินเดือน ให้ลาไม่รับค่าจ้าง ตลอดจนถูกปลด เนื่องจากบริษัทต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราวหรือถาวร
  • ต้องหางานข้ามสายซึ่งต้องแข่งขันกับคนที่จบมาตรงสาย

ด้านข้อมูลในจ๊อบไทยพบว่า 5 สายงานที่นักศึกษาจบใหม่ด้านท่องเที่ยว/โรงแรมสมัครมากที่สุด ได้แก่ 1.งานธุรการ/จัดซื้อ 11,590 ครั้ง 2.งานบริการ 5,998 ครั้ง 3.งานขาย 5,682 ครั้ง 4.งานบุคคล/ฝึกอบรม 3,127 ครั้ง และ 5.งานการตลาด 2,633 ครั้ง

ในสถานการณ์นี้ปฏิเสธไม่ได้ว่านักศึกษาจบใหม่ในธุรกิจท่องเที่ยว/โรงแรม/การบิน ต้องเพิ่มโอกาสในการหางานจนกว่าสถานการณ์เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวไทยจะฟื้นตัว โดยต้องนำทักษะที่มีไปต่อยอดใช้กับสายงานอื่น (Transferable Skills) อย่างคนที่มีทักษะความสามารถทางภาษาอาจมองหาโอกาสในสายงานดูแลลูกค้าหรือบริการในธุรกิจอื่น ๆ  ที่ไม่ได้รับผลกระทบมาก หรือ งาน Account Executive ในเอเจนซี่ ซึ่งเป็นการใช้จุดแข็งทางด้านภาษาและการสื่อสารที่มีอยู่แล้ว และเพิ่มคอร์สเรียนเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ รวมทั้งการใช้ Social Media ก็จะทำให้โปรไฟล์เข้าตา HR มากขึ้นได้ หรืออาชีพเสริมอื่น ๆ เช่น ติวเตอร์สอนภาษา เนื่องจากช่วงนี้นักเรียนต้องเรียนออนไลน์ก็อาจเป็นโอกาสในการทำงานของเราได้

]]>
1344486
ญี่ปุ่นยกเลิก ‘โตเกียว มอเตอร์โชว์’ ไม่จัดงานออนไลน์ หลัง COVID-19 ระบาดไม่หยุด https://positioningmag.com/1328844 Thu, 22 Apr 2021 10:43:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328844 ญี่ปุ่นประกาศยกเลิกโตเกียว มอเตอร์โชว์ปีนี้ หลัง COVID-19 ระบาดไม่หยุด ย้ำไม่มีการจัดงานทางออนไลน์ 

สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่น ประกาศยกเลิกจัดงานโตเกียว มอเตอร์โชว์ (Tokyo Motor Show) ในปี 2021 หลังสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ยังน่าเป็นห่วง

โตเกียว มอเตอร์ โชว์เป็นหนึ่งในงานแสดงนวัตกรรมยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดครั้งล่าสุดไปเมื่อปลายปี 2019 โดยมีผู้เข้าชมงานกว่า 1.3 ล้านคน

โดยการยกเลิกจัดงานครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรก ตั้งเเต่มี ‘โตเกียว มอเตอร์ โชว์ในปี 1954 โดยมีการจัดงานต่อเนื่องทุกๆ 2 ปี

อากิโอะ โตโยดะ ประธานสมาคมผู้ผลิตรถยนต์แห่งญี่ปุ่น เเละและประธานบริษัทโตโยต้า กล่าวว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่จะจัดงานมอเตอร์โชว์ในปีนี้ ไปพร้อมๆ กับการที่ต้องรับประกันความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมงานในช่วงที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในญี่ปุ่นกลับมารุนแรง

เราไม่ต้องการจัดงานทางออนไลน์ เราต้องการจัดงานที่สามารถมาพบปะกันได้ นั่นคือเหตุผลที่เราเลือกที่จะยกเลิกงานในครั้งนี้

ล่าสุด โยชิฮิเดะ สุงะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกำลังพิจารณาว่า จะประกาศภาวะฉุกเฉินในกรุงโตเกียว, โอซาก้า และพื้นที่อื่นๆ หรือไม่ รวมถึงมาตรการควบคุมอื่นๆ ก่อนเริ่มการแข่งขันงานโตเกียวโอลิมปิกอีก 3 เดือนข้างหน้า

ปัจจุบันญี่ปุ่นมีผู้ป่วยสะสมจาก COVID-19 มากกว่า 5.4 เเสนคน มียอดเสียชีวิตสะสมมากกว่า 9. พันราย ขณะที่ผู้ป่วยอีกอย่างน้อย 4.2 หมื่นคนยังคงต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล

สำหรับโครงการการกระจายวัคซีนของญี่ปุ่น จะมีการใช้วัคซีนต้าน COVID-19 จากหลายผู้ผลิต เช่น Pfizer , Moderna เเละ Astrazeneca เเต่ขณะนี้วัคซีน Pfizer เป็นยี่ห้อเดียวที่องค์การยาของญี่ปุ่นอนุมัติให้ใช้ได้ โดยทางการญี่ปุ่นได้สั่งซื้อไปเเล้วถึง 144 ล้านโดส

 

 

ที่มา : japantimes

]]>
1328844
ถึงเวลา ‘โตโยต้า’ เอาจริง ลงเเข่งตลาด ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ เร่งผลิต EV ให้ได้อีก 15 รุ่น ภายในปี 2025 https://positioningmag.com/1328699 Wed, 21 Apr 2021 13:24:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328699 ยักษ์ใหญ่วงการยานยนต์โลกอย่างโตโยต้า’ (Toyota) เริ่มขยับปรับมูฟใหม่เข้าหารถยนต์ไฟฟ้าประกาศเร่งผลิตให้ได้อีก 15 รุ่น ภายในปี 2025 ชิงส่วนแบ่งตลาดรถยนต์เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว หลังปล่อยให้คู่เเข่งฝั่งสหรัฐฯ และยุโรปนำหน้าไปเเล้วหลายรุ่น

ในช่วงที่ผ่านมาโตโยต้า มอเตอร์ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จากญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับตลาดรถยนต์ไฮบริดก่อน เเต่ตอนนี้ถึงเวลาที่จะเร่งผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าทั้งคัน โดยวางโรดเเมปเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า (EV) รุ่นใหม่อีก 15 รุ่น ภายในปี 2025

นับเป็นเคลื่อนไหวล่าสุดที่ชี้ให้เห็นทิศทางใหม่ของโตโยต้า ที่ตั้งใจจะพัฒนากลุ่มยานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มรูปแบบ โดยรถยนต์รุ่นใหม่ของโตโยต้าทั้ง 7 รุ่นจะเปิดตัวภายใต้ชื่อ bZ (ย่อมาจาก Beyond Zero)

สำหรับรุ่นเเรกจะเป็นโตโยต้า ’bZ4X’ เอสยูวี เปิดตัวโมเดลต้นเเบบไปเเล้วในงาน Shanghai Motor show โดยได้พัฒนาร่วมกับ Subaru เเบรนด์รถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งโตโยต้าถือหุ้นอยู่ 20% และคาดว่าวางจำหน่ายภายในกลางปี 2022

รถรุ่น bZ4X จะผลิตในญี่ปุ่นและจีน เเละจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกของบริษัทที่พัฒนาโดยใช้แพลตฟอร์ม e-TNGA รองรับระบบขับเคลื่อนทุกล้อ พร้อมเเชร์อะไหล่และการดีไซน์ระหว่างรุ่นต่างๆ ได้

bZ4X SUV รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ของโตโยต้า

โตโยต้า มีเป้าหมายจะเพิ่มจำนวนรุ่นของรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งคัน รวมไปถึงรถยนต์ไฮบริด ให้ได้ทั้งหมดประมาณ 70 รุ่นภายในปี 2025 จากปัจจุบันที่มีอยู่ 55 รุ่น ณ สิ้นปี 2020 ซึ่งปัจจุบันโตโยต้าจำหน่ายรถไฟฟ้าทั้งคันจำนวน 4 รุ่น

นอกจากความร่วมมือกับค่ายรถ Subaru เเล้ว โตโยต้ายังเป็นพาร์ตเนอร์กับ BYD ของจีน รวมถึง Suzuki Motor และ Daihatsu Motor เพื่อพัฒนารถยนต์ซีรีส์ใหม่ โดยเมื่อปีที่แล้ว โตโยต้าได้ร่วมทำวิจัยและพัฒนากับ BYD เพื่อมุ่งเน้นผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเป็นหลัก

ทั้งนี้ ปัจจุบันโตโยต้ามีรถยนต์ไฟฟ้าอย่างรุ่น C-HR และ IZOA ที่จำหน่ายในประเทศจีน และ Lexus UX300e ที่จำหน่ายในตลาดโลก

โตโยต้าวางแผนจะเพิ่มยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าและรถเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ให้ได้กว่า 1 ล้านคันภายในปี 2030 จากยอดขายรถ EV ทั่วโลกที่ประมาณ 3,300 คันในปี 2020

การเเข่งขันในวงการรถยนต์ยิ่งดุเดือดขึ้นไปอีก เมื่อคู่เเข่งระดับโลกอย่าง Volkswagen ประกาศว่าจะสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ของรถ EV เพิ่มอีก 6 แห่งในยุโรปภายในปี 2030 เเละตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนรถยนต์ไฟฟ้าเป็น 60% ของยอดขายรถยนต์ใหม่

ในขณะเดียวกันยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกาอย่าง General Motors (GM) ก็ตั้งใจที่จะขายเฉพาะรถยนต์ที่ปราศจากการปล่อยมลพิษ (zero-emission vehicles) ภายในปี 2030 โดยจะให้ความสำคัญกับรถ EV เป็นหลัก

 

ที่มา : Nikkei , theverge 

 

]]>
1328699
จับตา ‘VinFast’ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่สุดของเวียดนาม จ่อเข้า ‘ระดมทุน’ ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ https://positioningmag.com/1327814 Wed, 14 Apr 2021 10:47:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327814 จับตาความเคลื่อนไหวของ ‘VinFast’ (วินฟาสต์) เเบรนด์รถยนต์เจ้าใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ธุรกิจในเครือ Vingroup เตรียมเข้า IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ คาดระดมทุนได้ถึง 2 พันล้านดอลลาร์ (ราว 6.3 หมื่นล้านบาท)

Bloomberg รายงานโดยอ้างเเหล่งข่าวใกล้ชิด ระบุว่า Vingroup บริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในเวียดนาม เตรียมการจะส่งบริษัทลูกอย่าง ‘VinFast’ เสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก

ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม กำลังอยู่ในช่วงดำเนินงานร่วมกับที่ปรึกษา โดยคาดว่าข้อเสนอดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นได้ภายในไตรมาสนี้ เเละประเมินว่าการระดุมทุน IPO ของ VinFast อาจเพิ่มขึ้นสูงสุดเเตะ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9.4 หมื่นล้านบาท)

ขณะที่แหล่งข่าวให้ข้อมูลกับ Reuters ว่ากลุ่มธุรกิจของ Vingroup ซึ่งมีอยู่หลากหลายอุตสาหกรรม ตั้งเเต่อสังหาริมทรัพย์ไปจนถึงสมาร์ทโฟนกำลังทำงานร่วมกับ Credit Suisse HongKong เพื่อเสนอขาย IPO ในครั้งนี้

หลังจากมีกระเเสข่าวนี้เผยเเพร่ออกมา ส่งผลให้หุ้นของ Vingroup เพิ่มขึ้นมากถึง 5.3% (ณ วันที่ 13 เมษายน) สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้มูลค่าตลาดของบริษัทพุ่งขึ้นเป็น 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6.27 เเสนล้านบาท)

ในช่วงเเรก Vingroup ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นต่อข่าวนี้ เเต่ต่อมาได้ออกมาชี้เเจงว่า บริษัทกำลังกำลังพิจารณาหาโอกาสในการระดมทุนซึ่งอาจจะเป็นไปได้ทั้งรูปเเบบ IPO หรือ SPAC (บริษัทที่สร้างขึ้นมาเพื่อระดมเงินทุนไปซื้อบริษัทอื่น) เเต่การระดมทุนใดๆที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่นสภาวะตลาด

VinFast เพิ่งเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ 3 รุ่นใหม่ ได้แก่ VF31 ,VF32 และ VF33 ในเวียดนาม เเละกำลังจะส่งไปทำตลาดในสหรัฐฯ แคนาดาและยุโรปในปีหน้า โดยกำลังมองหาโอกาสที่จะเปิดโรงงานใหม่ในอเมริกาด้วย

นอกจากนี้ เมื่อเดือนที่เเล้ว มีกระเเสข่าวว่า Vingroup กำลังเจรจากับ Foxconn ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวัน เพื่อร่วมมือเป็นพันธมิตรพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้ากับเเบรนด์ VinFast

 

 

ที่มา : Bloomberg , Reuters

]]>
1327814
ธุรกิจ “ดีลเลอร์รถยนต์” เหนื่อยหนัก กรุงไทยคาดรายได้ปีนี้หดตัว 25% ยอดขายทั้งปี 6.2 แสนคัน https://positioningmag.com/1293114 Tue, 18 Aug 2020 10:26:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293114 ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย คาด COVID-19 ฉุดรายได้ “ดีลเลอร์รถยนต์” หดตัว ถึง 25% คาดยอดขายทั้งปี 6.2 แสนคัน หดตัว 38.2% ต้องใช้เวลาฟื้นตัวไม่ต่ำกว่า 2 ปี ประเมินผู้ประกอบการ 1 ใน 3 มีโอกาสเผชิญหน้ากับภาวะกำไรติดลบ แนะปรับรูปแบบการขายเเละบริการสู่ระบบดิจิทัล

ตลาดรถยนต์ไทยอ่วม ดีลเลอร์กำไรหด

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ของไทยในปี 2563 ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มหดตัวรุนแรง (Deep Recession) ที่ 9.1% และฉุดกำลังซื้อของผู้บริโภคอย่างมาก

โดยยอดขายรถยนต์ในประเทศในครึ่งแรกของปี 2563 อยู่ที่เพียง 330,000 คัน หดตัว 37.5% ประเมินว่ายอดขายทั้งปี จะอยู่ที่ 620,000 คัน หรือหดตัวถึง 38.2% ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจตัวแทนจัดจำหน่ายรถยนต์มือหนึ่ง (ดีลเลอร์) ที่พึ่งพารายได้ส่วนใหญ่เกือบ 85% มาจากการขายรถยนต์

สำหรับรายได้ของธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ ในภาพรวมปี 2563 มีแนวโน้มลดลง 25% เทียบกับปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามต้นทุนและค่าใช้จ่ายทั้งหมดของดีลเลอร์ไม่สามารถปรับลงได้เท่ากับรายได้ที่หายไป ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ของผู้ประกอบการมีแนวโน้มแย่ลงจากกำไรที่ 1-1.2% ในช่วงปี 2560-2562 เป็นติดลบ 4.8% ในปี 2563

“คาดว่าสัดส่วนของผู้ประกอบการที่มีกำไรสุทธิติดลบจะเพิ่มขึ้นจาก 24% ในปีที่ผ่านมา เป็น 36% ในปีนี้ โดยกว่าสถานการณ์ยอดขายรถยนต์ในประเทศจะกลับมาอยู่ในช่วงก่อนวิกฤติ COVID-19 หรือที่ประมาณ 1 ล้านคัน จะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี”

Photo : Shutterstock

ลูกค้าไปโชว์รูมลดลง เเนะทำการตลาดเชิงรุก

ด้านดร.มานะ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการฝ่าย ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวว่า ธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ ซึ่งเป็นธุรกิจแบบดั้งเดิม (Brick and Mortar) กำลังเผชิญกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

“ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเข้าไปยังโชว์รูมน้อยลง การปิดการขายจึงยากขึ้นกว่าเดิม ภายใต้สถานการณ์ที่ท้าทายธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์เป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการควรรักษาฐานลูกค้าเดิมอย่างต่อเนื่อง”

โดยเเนะนำให้ธุรกิจดีลเลอร์ ทำการตลาดเชิงรุกเพื่อรองรับกับ Pent Up Demand ที่อาจกลับมาหลังการแพร่ระบาดคลี่คลาย รวมทั้งนำกลยุทธ์ของดีลเลอร์ในต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะการยกระดับการขายและบริการเข้าสู่ระบบดิจิทัล (Digitalize) ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในระยะยาว

“กลยุทธ์ที่ธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ควรทำทันที คือ การรักษาความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าเดิมตลอดช่วงของการล็อกดาวน์ และการทำตลาดเชิงรุกในการหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ในช่วงหลังคลายล็อกดาวน์”

ส่วนในระยะยาวนั้น แนะนำให้ผู้ประกอบการปรับแนวทางการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเฉพาะการนำขั้นตอนการขายและบริการเข้าสู่ระบบดิจิทัล เช่น การแสดง หรือรีวิวรถยนต์ในช่องทางออนไลน์ที่มีความคมชัดสูง การนัดทดลองขับ (Test-drive) ณ ที่พักอาศัยของผู้บริโภคผ่าน Application ไปจนถึงการเพิ่มช่องทางการขายแบบ Omni-channel

โดยกลยุทธ์ดังกล่าวจะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดในยุค New Normal เห็นได้ชัดจากยอดขายของบริษัทที่ใช้ช่องทางออนไลน์เป็นหลักอย่าง Tesla ที่ติดลบเพียง 5% ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 เทียบกับค่ายรถยนต์อื่นๆ ในสหรัฐฯ อย่าง Ford และ GM ที่ลดลงมากกว่า 30% ในช่วงเวลาเดียวกัน

 

 

]]>
1293114
SCB ลดจีดีพีปีนี้ ติดลบ 7.3% จะฟื้นตัวเเบบ “ช้าๆ” ครัวเรือนไทยมีเงินไม่พอรายจ่าย 3 เดือน https://positioningmag.com/1282219 Fri, 05 Jun 2020 09:33:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282219 SCB EIC ปรับลดเป้าจีดีพีไทยปี 63 ติดลบมากขึ้น เป็น -7.3% จีดีพีโลกปีนี้คาดติดลบ 4% หนักสุดในรอบ 90 ปี มองไตรมาส 2 คือจุดต่ำสุดของเศรษฐไทยในปีนี้ จะเริ่มกลับมาดีขึ้นช่วงครึ่งปีหลัง “เเบบช้าๆ” นักท่องเที่ยวหาย 75% โรงเเรมราคาประหยัดจะฟื้นก่อน ห่วงหลังหมดมาตรการพักหนี้จะดัน NPL เพิ่ม ครัวเรือนไทยส่วนใหญ่มีเงินไม่พอรายจ่าย 3 เดือน คาดกนง.คงอัตราดอกเบี้ยที่ 0.5% จนถึงสิ้นปี

ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB EIC เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยฯ ได้ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยปีนี้ เป็นติดลบ 7.3% จากเดิมคาดติดลบ 5.6% จากผลกระทบของ COVID-19 โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวและการลงทุนภาคเอกชน

“แม้เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง เเต่เป็นเเบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งโดยรวมทั้งปีจะยังติดลบ คาดว่าเศรษฐกิจจะเริ่มกลับมาขยายตัวในระดับปกติเท่าปี 2019 ช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ในปี 2022 หรืออีกราว 2 ปี”

ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวที่ปีนี้ คาดว่ามีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยเพียง 9.8 ล้านคน จากปีก่อนที่ 40 ล้านคน (ติดลบ 75%) ด้านการส่งออกติดลบ 10.4% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้คาดว่าจะติดลบ 1.1% เงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ 0.1% โดยไตรมาส 2 จะเป็นจุดต่ำสุดของเศรษฐกิจไทย คาดว่าจะติดลบถึง 12% ผลจากมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวด

ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในรายไตรมาส คาดว่า ไตรมาส 2 ปีนี้ เศรษฐกิจไทยจะอยู่ในระดับต่ำที่สุด โดยจะติดลบ 12.1% ขณะที่ในไตรมาส 3 คาดว่าจะติดลบ 9.2% และติดลบ 6.7% ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

“เศรษฐกิจไทยอ่อนแรงมาก่อนหน้า COVID-19 แล้ว จึงมีแนวโน้มที่ฟื้นตัวแบบ U-Shape จากการฟื้นตัวช้าของอุปสงค์ต่างประเทศ และในประเทศ ที่มีความเปราะบางจากครัวเรือน และภาคธุรกิจ”

สำหรับปี 2021 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะมีเเนวโน้มเติบโตได้ 5-6% และในปี 2022 คาดว่าจะเติบโตได้ 4-5% เเต่จะเป็นการ “ฟื้นตัว” แบบค่อยเป็นค่อยไป จากปัจจัยทั้งด้านอุปสงค์ต่างประเทศ ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย อุปสงค์ในประเทศที่มีความเปราะบางจากภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจเเละปัญหาการว่างงาน

โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า และในแต่ละภาคธุรกิจจะมีลักษณะการฟื้นตัวที่ต่างกัน (uneven) เเบ่งการคาดการณ์ได้ดังนี้

  • การท่องเที่ยว มีแนวโน้มฟื้นตัวช้า จากมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวด เช่น social distancing รวมถึงความกลัวของผู้โดยสารยังคงมีอยู่จนกว่าจะมีวัคซีน
  • การส่งออก มีแนวโน้มหดตัวสูง จากภาวะเศรษฐกิจโลกหดตัว ปัญหา supply chain disruption และราคาน้ำมันที่หดตัวแรง
  • ภาคครัวเรือน มีความเปราะบางทางการเงินเพิ่มขึ้นจากการปรับตัวแย่ลงของการจ้างงานและรายได้ กันชนทางการเงิน ความเชื่อมั่น และความมั่งคั่ง ขณะที่การช่วยเหลือจากภาครัฐจะสามารถบรรเทาผลกระทบได้เพียงบางส่วน ภาคธุรกิจถูกกระทบจากรายได้ที่ลดลงมากและความไม่แน่นอนในระดับสูง กระทบต่อความเชื่อมั่นและการลงทุนภาคเอกชนในปี 2020 ซึ่งมีแนวโน้มหดตัวสูง
  • ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดและฟื้นตัวช้า คือ ภาคธุรกิจร้านอาหารและโรงแรม ธุรกิจอสังหาฯ และยานยนต์

“การปิดเมืองส่งผลให้การบริโภคในภาพรวมลดลงมาก โดยเฉพาะหมวดสินค้าคงทนและสิ่งที่ไม่จำเป็น แต่มีบางสินค้าที่ได้รับประโยชน์ ได้แก่ สินค้าเภสัชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนการบริโภคที่เปลี่ยนไปในช่วงล็อกดาวน์ทำให้สินค้าประเภทดูแลสุขภาพ และเกี่ยวกับการใช้ชีวิตและทำงานอยู่บ้าน ได้รับประโยชน์มากขึ้น”

คนรุ่นใหม่เริ่มเที่ยว โรงเเรมราคาประหยัดจะฟื้นก่อน 

EIC คาดการณ์จำนวนทริปค้างคืนภายในประเทศในปี 2020 ที่ 76 ล้านทริป หดตัวลง 42% แต่คาดว่าจะฟื้นตัวหลังภาครัฐอนุญาตให้เดินทางข้ามจังหวัด โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่อายุต่ำกว่า 30 ปี และโรงแรมระดับกลางจะฟื้นตัวก่อน ผู้คนจะเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาเที่ยวระยะใกล้ ขับรถไปถึงได้ใน 3 ชั่วโมงเเละโรงเเรมราคาประหยัดจะได้รับความนิยม

“แม้มาตรการล็อกดาวน์จะเริ่มผ่อนคลายลง แต่การใช้จ่ายของผู้บริโภคจะมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ ผู้บริโภคยังมีแนวโน้มที่จะลดการใช้จ่ายลงโดยเฉพาะสินค้าที่ไม่จำเป็นและสินค้าคงทน รวมทั้งจะออมมากขึ้น
(precautionary saving) ในช่วงที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง”

งานหายาก ค่าจ้างไม่ขึ้น 

ตลาดแรงงานของไทยมีความอ่อนแอตั้งแต่ช่วงก่อนวิกฤต COVID-19 โดยจำนวนผู้มีงานทำลดลงต่อเนื่อง จำนวนชั่วโมงทำงานงานเฉลี่ยก็ลดลงต่อเนื่องเช่นกัน เเละอัตราการเพิ่มของค่าจ้างลดต่ำลงในระยะหลัง โดยอัตราการว่างงานในกลุ่มประกันสังคมเดือน เม.ย. อยู่ที่ 1.81% สูงสุดในรอบกว่า 10 ปี นับตั้งแต่เดือน ก.ค. 2009

“ค่าจ้างเฉลี่ยยังอยู่ราว 14,000 บาทต่อเดือนมาหลายปี โดยในช่วง 3 ปีย้อนหลังค่าจ้างเติบโตเฉลี่ยเพียง 1.3% ต่อปี (เทียบกับช่วงปี 2012-14 ที่โตเฉลี่ยปีละ 10%) สะท้อน productivity ที่เติบโตช้าลง รวมถึงตลาดแรงงานที่มีความตึงตัวน้อยลง”

แรงงานจำนวนมากมีความเสี่ยงตกงานและสูญเสียรายได้ โดยเฉพาะลูกจ้างชั่วคราวคนทำงานอิสระในภาคการท่องเที่ยวกว่า 6.5 ล้านคน โดยธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร บันเทิง ค้าส่งค้าปลีกมีความเสี่ยงสูงที่สุด ประกอบกับภาคธุรกิจก็มีความอ่อนแอตั้งแต่ช่วงก่อนวิกฤต สะท้อนจากการเปิดกิจการที่น้อยลงและการปิดกิจการที่มากขึ้น

ข้อมูลการประกาศหางานจาก Jobsdb.com บ่งชี้ว่าการประกาศรับสมัครงานปรับลดลงอย่างมากนับตั้งแต่มีมาตรการปิดเมือง แม้เริ่มมีการฟื้นตัวบ้างในหลายสาขาธุรกิจหลังคลายล็อกดาวน์ อย่างธุรกิจ consumer retail ที่เริ่มกลับมาจ้างงานบางส่วน โดยประกาศรับสมัครงานรวมลดลงราว 25.4%

อีกหนึ่งความกังวลของเศรษฐกิจไทยคือ ครัวเรือนส่วนใหญ่กว่า 59.8% มีความเปราะบางทางการเงินสูง ส่วนมากมีสินทรัพย์ไม่พอรายจ่าย 3 เดือน และโดยเฉพาะครัวเรือนลูกจ้างรายได้น้อยจะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น

คาดกนง.คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.5% ถึงสิ้นปี

ด้านภาวะการเงินไทยในปีนี้ EIC ประเมินว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.5% จนถึงสิ้นปีนี้ โดยมองว่าในช่วงครึ่งปีหลัง กิจกรรมทางเศรษฐกิจน่าจะเริ่มฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 จากแรงสนับสนุนของมาตรการขนาดใหญ่ที่ออกมาก่อนหน้า และการทยอยเปิดเมือง รวมถึงระยะหลังภาวะการเงินเริ่มผ่อนคลายลงบ้างแล้วในบางมิติ

อย่างไรก็ตาม ในกรณีความเสี่ยงด้านต่ำต่อเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้น EIC คาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พร้อมผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม เช่น ลด FIDF Fee ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ปรับเกณฑ์มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพิ่มปริมาณการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย เป็นต้น

ส่วนค่าเงินบาทในปีนี้ คาดว่าจะเฉลี่ยที่ 31.5-32.5 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากเงินดอลลาร์ที่คาดว่าจะยังแข็งค่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่จะฟื้นตัวช้า การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ปรับลดลงมาก โดย EIC คาดว่าเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ไหลออกมาในช่วงก่อนหน้าจะชะลอลง ทำให้ค่าเงินบาทจะไม่อ่อนค่ามากนักในช่วงปลายปี

“เงินทุนเคลื่อนย้ายที่ไหลออกจากตลาดการเงินไทยค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การไหลออกของเงินทุนในปริมาณมากในระยะต่อไปมีโอกาสน้อยลง”

Photo : Shutterstock

มองจีดีพีโลก -4% ต่ำสุดในรอบ 90 ปี หนี้เสียเพิ่ม 

ด้านภาพรวมเศรษฐกิจโลก EIC ปรับลดประมาณการณ์จากเดิมติดลบ 3% เป็นติดลบ 4% ต่ำสุดในรอบ 90 ปี และจะเป็นการฟื้นตัวแบบตัว U เนื่องจากการบริโภคมีแนวโน้มซบเซา อัตราว่างงานอยู่ในระดับสูงทั่วโลก และความเชื่อมั่นลดลงอย่างรวดเร็วจากความไม่แน่นอนของรายได้ ทำให้การบริโภคและการลงทุนไม่สามารถฟื้นตัวได้เร็ว โดยความเสี่ยงที่ยังต้องติดตามต่อไป ได้เเก่

  • โอกาสในการกลับมาระบาดอย่างรุนแรงของ COVID-19 ซึ่งอาจทำให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศทั่วโลกต้องหยุดชะงักอีกครั้ง
  • สงครามการค้าโลกที่อาจรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะจากความขัดแย้งด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และยุโรป
  • ความเสี่ยงด้านเครดิตที่อาจเพิ่มขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับธุรกิจที่มีภาระหนี้ต่อรายได้สูงขึ้นมาก อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน นำไปสู่ความผันผวนของตลาดการเงินโลกได้
  • ความเสี่ยงในประเทศด้านความเปราะบางทางการเงินของทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจของไทยที่อาจทำให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อเสถียรภาพภาคการเงิน รวมถึงความสามารถในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยโดยรวมในระยะต่อไป

“ต้องจับตามองสินเชื่อที่ได้รับการผ่อนผันการชำระหนี้ ซึ่งหากผลของมาตรการหมดไปอาจทำให้หนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็น NPL เพิ่มขึ้นได้ ฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจเปราะบางมากขึ้น สะท้อนจากการปรับลดอันดับความเน่าเชื่อถือที่เพิ่มขึ้นในช่วงปีนี้”

]]>
1282219
Renault ระส่ำ เตรียมเลิกจ้างเกือบ 15,000 ตำเเหน่งทั่วโลก ลดกำลังผลิตรถยนต์ https://positioningmag.com/1281255 Fri, 29 May 2020 12:34:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281255 Renault ปรับองค์กรครั้งใหญ่ เตรียมปลดพนักงานทั่วโลกกว่า 14,600 คน โดย 1 ใน 3 เป็นการเลิกจ้างในฝรั่งเศส เพื่อรักษาสถานภาพของบริษัทในช่วงที่ยอดขายรถยนต์ตกต่ำ ซึ่งเป็นไปตามเเผนการลดค่าใช้จ่าย 2,000 ล้านยูโรให้ได้ภายใน 3 ปีข้างหน้า

โดย Renault เตรียมจะลดกำลังการผลิตรถยนต์จากปีละ 4 ล้านคันในปี 2019 ให้เหลือ 3.3 ล้านคันภายในปี 2024

ตลาดยานยนต์ทั่วโลกซบเซาต่อเนื่องมาหลายปี เเละการที่ต้องเผชิญกับวิกฤตการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก ประกอบกับปัญหาภายในองค์กรของ Renault เริ่มระส่ำหลัง Carlos Ghosn อดีตซีอีโอที่เป็นผู้บริหารคนสำคัญถูกตั้งข้อหาประพฤติมิชอบทางการเงินในญี่ปุ่นเเละกำลังอยู่ระหว่างการหลบหนี

โดยก่อนหน้าที่ Carlos Ghosn จะมีปัญหาคดีความ Renault เคยตั้งเป้าที่จะขายรถยนต์ให้ได้มากกว่า 5 ล้านคันภายในปี 2022

ทางบริษัทระบุว่า เพื่อให้เเผนการปรับองค์กรดำเนินไปได้ ท่ามกลางวิกฤต COVID-19 โรงงานบางแห่งจากทั้งหมด 6 เเห่งในฝรั่งเศส อาจต้องยุติการผลิตรถยนต์ ทำให้พนักงานส่วนหนึ่งต้องพ้นจากตำเเหน่ง โดยตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงหารือกับสหภาพเเรงงาน ซึ่งจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เบื้องต้นประเมินไว้ที่ 4,600 ตำเเหน่งในฝรั่งเศส

พร้อมกันนั้นจะมีเเผนการปรับลดพนักงานในต่างประเทศ อีกราว 10,000 ตำแหน่ง ซึ่งจะมีการระงับการขยายการผลิตในโมร็อกโกเเละโรมาเนีย รวมถึงจะนำเเผนกิจการในรัสเซียมาทบทวนใหม่ด้วย

Photo : Shutterstock

Renault เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่มีส่วนเเบ่งในตลาดรถยนต์โลกประมาณ 4% มีพนักงานทั่วโลกราว 1.8 เเสนคน เป็นพนักงานในฝรั่งเศสราว 4.8 หมื่นคน มีผู้ถือหุ้น 15.01% คือรัฐบาลฝรั่งเศสเเละพันธมิตรอย่าง Nissan Motor ที่ถือหุ้นอยู่ 15%

ความเคลื่อนไหวของ Renault ครั้งนี้เกิดขึ้นหลัง Nissan Motor ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จากญี่ปุ่นหุ้นส่วนสำคัญ เพิ่งประกาศขาดทุน 6.7 เเสนล้านเยน (ราว 1.9 เเสนล้านบาท) ซึ่งถือเป็นการขาดทุนรายปีครั้งเเรกในรอบ 11 ปี นับตั้งเเต่ช่วงวิกฤตการเงินโลก โดยเตรียมจะปิดโรงงานในเมืองบาร์เซโลนาของสเปน เเละย้ายสายการผลิตจากอินโดนีเซียมาไทย

นอกจากนี้ Nissan จะมีการปรับโครงสร้างองค์กร รวมถึงการลดจำนวนโรงงานและธุรกิจที่ไม่ทำกำไรให้น้อยลง ลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ทำให้ต้องปรับกำลังการผลิตรถยนต์ เหลือ 5.4 ล้านคันต่อปี ลดลงราว 20% ลดจำนวนรุ่นจาก 69 รุ่นเหลือเพียง 55 รุ่น เป็นต้น

โดย Renault กำลังเจรจาเงื่อนไขขอเงินกู้ช่วยเหลือมูลค่า 5,000 ล้านยูโร (ราว 1.76 เเสนล้านบาทจากรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงพิจารณา 

เมื่อวันที่ 27 ..ที่ผ่านมา Emmanuel Macron ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ประกาศเเผนทุ่มเงินกว่า 8,000 ล้านยูโร (ราว 2.8 เเสนล้านบาท) เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ หวังขึ้นเป็นผู้นำผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของยุโรป

อ่านเพิ่มเติม : เปิดเเผนฝรั่งเศสอัดงบฟื้นอุตฯยานยนต์ หวังพลิกวิกฤตสู่เบอร์ 1 รถยนต์ไฟฟ้าเเห่งยุโรป

Renault , Citroen เเละ Peugeot มียอดขายรถยนต์เเละรายรับลดลงถึง 80% ซึ่งเป็นผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ 2 เดือนเพื่อสกัดการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ในฝรั่งเศส เเละภายในสิ้นเดือนมิ..จะมีรถยนต์ราว 5 เเสนคันที่ยังขายไม่ออก

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมรถยนต์ในฝรั่งเศส มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องกว่า 4,000 แห่ง มีพนักงานโดยตรงกว่า 4 เเสนคน เเละมีการจ้างงานรวมทั้งวงการกว่า 9 เเสนคน

 

ที่มา : financial times , Reuters , nytimes

]]> 1281255 ยอดขายรถใหม่ใน UK ลดฮวบ 97% เหลือเเค่ 4 พันคัน ต่ำสุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 https://positioningmag.com/1277006 Wed, 06 May 2020 10:03:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277006 ยอดขายรถยนต์ทั่วโลกที่ตกต่ำต่อเนื่องมาหลายปี ต้องทรุดหนักลงไปอีกเมื่อเจอพิษ COVID-19 โรงงานเเละตัวเเทนจำหน่ายรถยนต์หลายเเห่งทั่วสหราชอาณาจักร (UK) ต้องหยุดกิจการ ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายช่วงมาตรการล็อกดาวน์ ฉุดยอดขายรถคันใหม่ในเดือนเม.ย. ลดฮวบกว่า 97% เหลือเเค่ 4 พันกว่าคัน ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

สมาคมผู้ค้าและผู้ผลิตยานยนต์ของสหราชอาณาจักร (SMMT) เปิดเผยว่า ยอดจดทะเบียนรถยนต์คันใหม่ทุกประเภทในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา อยู่ที่ 4,321 คัน ลดลงกว่า 97% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ราว 1.61 แสนคัน เช่นเดียวกับยอดจำหน่ายรถยนต์ที่ลดลงทั่วยุโรป อย่างอิตาลีลดลง 97.5% เเละฝรั่งเศสลดลง 88.8%

ถือว่าเป็นยอดขายที่ต่ำที่สุดในยุคปัจจุบัน นับตั้งแต่เดือน ก.พ. ปี 1946 ไม่กี่เดือนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมียอดขายรถคันใหม่ในสหราชอาณาจักร อยู่ที่ 4,044 คัน เนื่องจากตอนนั้นรัฐบาลต้องออกนโยบายจำกัดการซื้อ เพราะอยู่ในช่วงการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังผ่านสงคราม

ตั้งเเต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ยอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ของสหราชอาณาจักรลดลงกว่า 43% บรรดาผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อย่าง BMW, Honda , Nissan และ Toyota ได้สั่งระงับการผลิตรถยนต์ในอังกฤษชั่วคราว ส่งผลกระทบคิดเป็นมูลค่ากว่า 8 พันล้านปอนด์ (ราว 3.2 แสนล้านบาท)

ส่วนรถยนต์ที่ขายดีที่สุดในเดือน เม.ย. เป็นของ Tesla รุ่น Model 3 ที่ทำยอดขายได้ 658 คัน เเซงเเบรนด์เดิมที่ครองตลาดในอังกฤษอย่าง Ford, Volkswagen เเละ Vauxhal

จากปัจจัยลบต่างๆ ทำให้ SMMT ต้องปรับลดคาดการณ์ยอดขายรถทั้งปีนี้ให้เหลือเเค่ 1.68 ล้านคัน ซึ่งจะเป็นตัวเลขต่ำที่สุดในรอบเกือบ 30 ปี จากตัวเลขเดิมที่เคยคาดไว้ช่วงเดือน ม.ค.ที่ 2.25 ล้านคัน โดยเรียกร้องให้มีการปลดล็อกภาคการผลิตและเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ขณะที่สถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ในอังกฤษยังน่าเป็นห่วง โดยล่าสุดมียอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ราว 2.9 หมื่นคน มียอดติดเชื้อสะสมอยู่ที่ราว 1.94 เเสนคน

เจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์เเห่งหนึ่งในอังกฤษ บอกกับ BBC ว่า บางโรงงานจะเริ่มกลับมาทำงานอีกครั้งในช่วงสัปดาห์นี้ เเต่การจะกลับมาเดินเครื่องผลิตเเบบเต็มรูปเเบบนั้นคงต้องรอกันอีกนาน

วิกฤต COVID-19 เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ยากลำบากของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก ที่ต้องดิ้นรนกับยอดขายที่ลดลงต่อเนื่อง ความต้องการรถยนต์ดีเซลที่ลดลง ขณะเดียวกันก็ต้องดิ้นรนปรับตัวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดปล่อยมลพิษด้วย

ที่มา : Reuters , BBC, marketwatch

 

]]>
1277006
COVID-19 กระทบผู้บริโภคไทย “เบียร์-ยานยนต์” หนักสุด แม้โรคหยุดระบาดยังไม่กล้าเดินห้างฯ https://positioningmag.com/1273606 Wed, 15 Apr 2020 16:39:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273606
  • วันเดอร์แมน ธอมสัน ร่วมกับ แดทเทล สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคไทยช่วงวันที่ 24-26 มีนาคม 2563 พบคนไทย 86% กังวลกับภาวะเศรษฐกิจ 
  • กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคยังมีความต้องการซื้อค่อนข้างปกติ แต่มีกลุ่มที่ผู้บริโภคต้องการซื้อสูงขึ้นคือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และ ยาสามัญประจำบ้าน ส่วนกลุ่มที่ต้องการซื้อลดลงมากคือ เบียร์ เครื่องสำอาง และอาหารเสริม
  • ด้านกลุ่มสินค้าลงทุนสูง ต้องใช้เวลาตัดสินใจ เช่น ยานยนต์ อสังหาฯ เครื่องใช้ไฟฟ้า กระทบหนัก ผู้บริโภคส่วนใหญ่หยุดซื้อหรือชะลอตัดสินใจไปก่อน ยกเว้นกลุ่มการลงทุนและประกันชีวิตที่ยังมีความต้องการสม่ำเสมอ
  • ถามถึงอนาคตหลังควบคุมการระบาดได้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังลังเลที่จะไปศูนย์การค้าและสถานบริการต่างๆ
  • วันเดอร์แมน ธอมสัน และ แดทเทล เก็บผลสำรวจจากคนไทย 1,243 คน ระหว่างวันที่ 24-26 มีนาคม 2563 สอบถามพฤติกรรมการซื้อสินค้าในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 และแนวโน้มการซื้อสินค้าถ้าหากการระบาดถูกควบคุมได้แล้ว เพื่อเป็นแนวทางให้แบรนด์ปรับกลยุทธ์การตลาดกันต่อไป 

    ทั้งนี้ ลักษณะของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ 81% เป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน 85% เป็นผู้มีอายุระหว่าง 21-50 ปี และ 54% เป็นการเก็บผลสำรวจในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ส่วนที่เหลือสำรวจในเชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา 

     

    คนไทยกังวลเรื่องเศรษฐกิจสูงมาก 

    มาดูเรื่องความมั่นใจของผู้บริโภคก่อน การสำรวจครั้งนี้พบว่าคนไทยเป็นผู้บริโภคที่มีความกังวลสูงที่สุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกที่สำรวจ 5 ประเทศ คือ ไทย จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ออสเตรเลีย

    โดยคนไทย 46% กังวลว่าเศรษฐกิจจะถดถอยอย่างยาวนาน 40% คาดว่าเศรษฐกิจจะเป็นขาลงแต่จะกลับมาดีขึ้นช้าๆ และมีเพียง 14% ที่มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นทันทีที่โรคระบาดหมดไป ดังนั้น ความมั่นใจที่ลดลงของผู้บริโภคจะสะท้อนออกมาในพฤติกรรมการใช้จ่าย 

     

    สินค้า FMCG กระทบไม่มาก ยกเว้นเบียร์-เครื่องสำอาง-อาหารเสริม 

    เมื่อแยกตามประเภทสินค้าที่ซื้อ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (low-involvement) โดยรวมมีผลกระทบไม่มากนัก แต่หากแยกผลสำรวจตามกลุ่มผู้ซื้อจะพบว่า กลุ่มผู้มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อเดือนจะระมัดระวังการใช้จ่ายมากกว่า ขณะที่ผู้มีรายได้เกิน 30,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ยังคงซื้อสินค้าตามปกติ

    ขณะที่ถ้าหากแยกตามหมวดสินค้า พบว่า หมวดสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนใหญ่ยังมีปริมาณการซื้อตามปกติ โดย “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” เป็นสินค้าที่ได้อานิสงส์เชิงบวก กลุ่มผู้บริโภค 52% ตอบว่าสนใจซื้อมากขึ้นในช่วงนี้ ขณะที่ “เบียร์” 23% ของผู้บริโภคหยุดซื้อโดยสิ้นเชิง และ 1% มีการซื้อน้อยลง ส่วนสินค้าอื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์นม, เบเกอรี่, ขนม, น้ำผลไม้, น้ำอัดลม ส่วนใหญ่ยังมีการซื้อตามปกติ แต่มีผู้บริโภค 5-12% ที่จะหยุดซื้อโดยสิ้นเชิง และ 16-25% ที่จะซื้อน้อยลง 

    หมวดสุขภาพและความงาม กลุ่มที่ได้อานิสงส์เชิงบวกคือ “ยาสามัญประจำบ้าน” ที่มีความสนใจซื้อเพิ่ม 32% ขณะที่กลุ่ม “เครื่องสำอาง” ผู้บริโภค 12% จะหยุดซื้อสิ้นเชิง และ 16% จะซื้อน้อยลง ส่วน “อาหารเสริม/วิตามิน” ก็เช่นกัน คือผู้บริโภค 10% จะหยุดซื้อสิ้นเชิง และ 11% จะซื้อน้อยลง ส่วนกลุ่มสกินแคร์, บำรุงผม, ยาสีฟัน ยังมีการซื้อตามปกติ 

    หมวดของใช้ในบ้าน เป็นกลุ่มที่มีผลกระทบน้อยที่สุด ทั้งทิชชู, ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด/ซักผ้า, ผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง ยังมีการซื้อตามปกติและบางส่วนมีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นด้วย 

     

    ผู้บริโภคชะลอการซื้อสินค้าลงทุนสูง “ยานยนต์” อ่วมสุด 

    สำหรับ กลุ่มสินค้าลงทุนสูงซึ่งต้องใช้เวลาตัดสินใจ (high-involvement) หากแบ่งตามกลุ่มรายได้ของผู้ซื้อพบว่า ก่อนหน้าการระบาดของ COVID-19 กลุ่มผู้มีรายได้มากกว่า 40,000 บาทต่อเดือนจะมีความต้องการซื้อสินค้าเหล่านี้สูงกว่ากลุ่มผู้มีรายได้ไม่เกิน 40,000 บาทต่อเดือน แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ระบาด กลุ่มผู้มีรายได้เกิน 40,000 บาทต่อเดือนจะมีความอ่อนไหวและตัดสินใจหยุดซื้อหรือชะลอการซื้อสูงกว่า

    โดยกลุ่มสินค้าลงทุนสูงที่ผู้มีรายได้เกิน 40,000 บาทต่อเดือนมีความต้องการซื้อลดลง ได้แก่ 

    • ยานยนต์ ความต้องการซื้อลดจาก 50% > 25% 
    • เครื่องใช้ไฟฟ้า ความต้องการซื้อลดจาก 63% > 44% 
    • อสังหาริมทรัพย์ ความต้องการซื้อลดจาก 38% > 19% 
    • สมาร์ทโฟน/แกดเจ็ต ความต้องการซื้อลดจาก 38% > 25% 
    • ท่องเที่ยว ความต้องการซื้อลดจาก 31% > 19% 

    มีเพียงกลุ่ม การลงทุนและประกันชีวิต ที่ 50% ของผู้บริโภคยังต้องการซื้อเช่นเดิม 

    แบบสอบถามยังถามต่อว่า หลังจากควบคุมสถานการณ์ COVID-19 ได้แล้ว ผู้บริโภคจะกลับมาตัดสินใจซื้อสินค้าลงทุนสูงเหล่านี้เมื่อไหร่ ปรากฏว่าผู้บริโภคกว่าครึ่งหนึ่งจะยังชะลอการตัดสินใจซื้ออย่างไม่มีกำหนดในทุกกลุ่มสินค้า ยกเว้น “ยานยนต์” ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่จะกลับมาตัดสินใจซื้อภายใน 6-12 เดือน สะท้อนให้เห็นว่ารถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ แม้จะได้รับผลกระทบสูงสุดในช่วงนี้ แต่หลังจากสถานการณ์ดีขึ้นจะเป็นกลุ่มสินค้าแรกๆ ที่กลับมาคึกคัก 

     

    หลังการระบาดยังลังเลที่จะเดินห้างฯ 

    มาถึงกลุ่มรีเทลและบริการต่างๆ กลุ่มที่กระทบน้อยที่สุดในขณะนี้คือ ซูเปอร์มาร์เก็ต/ร้านสะดวกซื้อ และ สถานีบริการน้ำมัน ซึ่งมีผู้บริโภคใช้บริการลดลงไม่มาก เพราะผู้บริโภคยังไมได้ทิ้งช่องทางออฟไลน์ไปเสียทีเดียว

    ส่วนความสนใจกลับไปใช้จ่ายในพื้นที่รีเทลและสถานบริการเหล่านี้หลังผ่านพ้นวิกฤต COVID-19 ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังลังเลที่จะกลับไปใช้บริการ โดยสัดส่วนผู้บริโภคที่ตอบว่าตนจะกลับไปใช้บริการเหมือนปกติหรือมากกว่าปกติมีดังนี้ 

    • 60% ซูเปอร์มาร์เก็ต/ร้านสะดวกซื้อ 
    • 58% ปั๊มน้ำมัน 
    • 41% ดรักสโตร์/ร้านเครื่องสำอาง 
    • 40% ศูนย์การค้า 
    • 30% ร้านอาหาร 
    • 29% สุขภาพและความงาม เช่น ยิม สปา คลินิกความงาม 
    • 27% ความบันเทิง เช่น โรงหนัง ผับบาร์ 

    สะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภคขณะนี้ยังไม่มั่นใจในการไปใช้จ่ายในพื้นที่รีเทลหรือสถานบริการ แม้ว่าวิกฤตโรคระบาดจะผ่อนคลายลง โดยเฉพาะร้านอาหาร ยิม สปา โรงหนัง ผับบาร์ ยกเว้นกลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ตและปั๊มน้ำมันที่ยังเป็นปกติ 

     

    แนะนักการตลาดอย่าทิ้งแบรนด์และลูกค้า 

    แม้ว่าสินค้าบางชนิดจะ “ขายยาก” ในช่วงนี้ และกลุ่มรีเทลและบริการหลายอย่างยังอยู่ในระหว่างปิดทำการ แต่ “ภูวดล ธาราศิลป์” ผู้อำนวยการฝ่ายดิจิทัลและ CRM จากวันเดอร์แมน ธอมสัน แนะนำว่า ผู้ประกอบการไม่ควรหยุดการทำตลาดโดยสิ้นเชิง เพราะผลการสำรวจในครั้งนี้พบว่าผู้บริโภคกว่าครึ่งมักจะมีแบรนด์ในใจก่อนเลือกซื้อสินค้า และในกลุ่มที่มีแบรนด์ในใจอยู่แล้ว เมื่อถึงเวลาซื้อสินค้าจริงกว่าครึ่งหนึ่งก็มักจะเลือกแบรนด์ที่อยู่ในใจนั่นเอง 

    ดังนั้น แม้ว่าขณะนี้จะยังขายไม่ได้หรือยอดขายลดลง แต่ต้องเลี้ยงความสัมพันธ์กับลูกค้าต่อไปเพื่อเป็น Top-of-mind อยู่เสมอ 

    “อย่าตื่นตระหนกจนเกินไป อย่าหยุดการสื่อสารทุกอย่างโดยสิ้นเชิง เพียงแต่ควรจะปรับสารที่สื่อออกไปให้เหมาะสมกับสถานการณ์” ภูวดลกล่าว 

    ส่วนคำแนะนำอื่นๆ จากวันเดอร์แมน ธอมสันที่น่าสนใจ จากการสำรวจครั้งนี้ เราขอคัดเลือกมาดังนี้ 

    1.กลุ่มสินค้าที่ยังขายได้ในช่วงนี้ เช่น กลุ่ม FMCG ควรทำระบบการขายอีคอมเมิร์ซในระดับ calltoaction ที่สามารถสร้างยอดขายได้จริง พร้อมจัดโปรโมชัน เช่น ส่งฟรี เพื่อดึงลูกค้า 

    2.กลุ่มสินค้าลงทุนสูง ควรมีโปรโมชันที่ช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ซื้อ เช่น ช่วยผ่อนชำระในช่วงแรก ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจง่ายขึ้นเมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ 

    3.แม้ว่ากลุ่มผู้มีรายได้สูงกว่า 40,000 บาทต่อเดือนจะหยุดซื้อสินค้าลงทุนสูงไปมาก แต่ก็เป็นกลุ่มที่มีโอกาสกลับมาซื้อได้เร็วกว่าเมื่อสถานการณ์กลับเป็นปกติ ดังนั้นสินค้ากลุ่มนี้ควรจะมุ่งทำการตลาดกับผู้มีรายได้สูงก่อนหลังจบการระบาด 

    4.กลุ่มรีเทลและร้านค้าที่ตั้งอยู่ในห้างฯ ควรร่วมมือกันจัดแผนโปรโมชันหลังสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าต้องการเข้าศูนย์การค้า 

    5.สำหรับทุกหมวดสินค้าและบริการ พึงคำนึงว่าพฤติกรรมผู้บริโภคบางอย่างอาจจะติดตัวไปแม้จบสถานการณ์ COVID-19 แล้ว ดังนั้นควรจะมีการทำแผน scenario ต่างๆ ภายในเพื่อรับมือไว้ก่อน 

    ]]>
    1273606
    เลื่อนเเล้ว! หนี COVID-19 งานใหญ่วงการรถ Motor Show 2020 จัดอีกทีปลายเดือน เม.ย https://positioningmag.com/1266794 Tue, 03 Mar 2020 11:30:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1266794 อีเวนต์ใหญ่เเห่งปีของวงการยานยนต์ไทย The 41st Bangkok International Motor Show 2020 หรือ Motor Show 2020 ประกาศ “เลื่อนจัดงาน” อย่างเป็นทางการเเล้ว จากผลกระทบการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ (Covid-19)

    ดร.ปราจิน เอี่ยมลำเนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ GPI ประธานจัดงาน Motor Show 2020 เปิดเผยในรายการ มอเตอร์เวิลด์ โดยเเจ้งว่าได้มีการเลื่อนการจัดงานดังกล่าว จากเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 25 มีนาคม – 5 เมษายน 2563 ไปเป็นช่วงปลายเดือนเมษายนแทน เนื่องจากสถานการณ์ของการระบาดของ Covid-19 ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างหนัก ซึ่งยืนยันว่า “จะไม่ยกเลิกงาน” อย่างเเน่นอน

    ล่าสุดได้มีหนังสืออย่างเป็นทางการจากผู้จัดงาน Motor Show 2020 ออกมาแล้ว โดยระบุว่า

    เนื่องจากด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ที่ได้มีการแพร่รระบาดอย่างต่อเนื่องในขณะนี้ ทางบริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้จัดงาน “บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์” ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ และความจำเป็นในการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาด อีกทั้งยังคำนึงถึงความปลอดภัยและสุขภาพของผู้เข้าร่วมงาน และทีมงานเป็นสำคัญ ถึงแม้ว่าทางคณะผู้จัดงานฯ จะมีการเตรียมมาตรการป้องกันที่รัดกุมและเข้มงวดแล้วก็ตาม

    แต่เพื่อให้สอดรับกับนโยบายการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ของรัฐบาล ทางคณะผู้จัดงานฯ จึงได้มีมติให้เลื่อนการจัดงาน “บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 41” ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 25 มีนาคม – 5 เมษายน 2563 ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ออกไปก่อน โดยให้เลื่อนออกไปเป็น วันที่ 20 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2563 แทน

    ก่อนหน้านี้ CNN รายงานว่า การจัดเเสดงเทคโนโลยียานยนต์งานใหญ่ฝั่งยุโรปอย่าง “เจนีวา มอเตอร์โชว์ 2020” ที่กำลังจะจัดขึ้นระหว่าง 5-15 มีนาคมนี้ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ประกาศยกเลิกการจัดงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยงานนี้ปกติมีผู้เข้าร่วมงานกว่าเกือบ 7 แสนคน จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นเเหล่งการเเพร่ระบาดของ Covid-19 เพราะตอนนี้ สวิตเซอร์แลนด์มีผู้ป่วยที่อยู่ในการเฝ้าระวัง 15 รายส่วนในอิตาลี มียอดติดเชื้อไวรัสไปแล้ว 650 ราย และเสียชีวิต 17 ราย เเละฝรั่งเศสติดเชื้อไปแล้วกว่า 130 ราย และเสียชีวิต 2 ราย

    ]]>
    1266794