หนี้ครัวเรือน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 04 Jan 2024 07:35:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ปริมาณการยื่น ‘ล้มละลาย’ ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 18% ทะลุ 4.45 แสนราย เนื่องจากดอกเบี้ยขึ้นและหนี้ครัวเรือนสูง https://positioningmag.com/1457665 Thu, 04 Jan 2024 07:31:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457665 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และมาตรฐานการให้กู้ยืมที่ยิ่งเข้มงวดขึ้นไปอีก ส่งผลให้อัตราการ ยื่นล้มละลาย ในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น ทั้งในเชิงพาณิชย์และส่วนบุคคล

ตามข้อมูลจาก Epiq AACER ผู้ให้บริการข้อมูลการล้มละลายพบว่า ในปี 2023 ที่ผ่านมา การยื่นฟ้อง ล้มละลาย ในสหรัฐฯ มีจำนวนถึง 445,186 รายการ เพิ่มขึ้น 18% จากในปี 2022 มีจำนวนทั้งหมด 378,390 รายการ โดยการยื่นเรื่องการปรับโครงสร้างองค์กรเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น 72% เป็น 6,569 จาก 3,819 ในปีก่อนหน้า ส่วนการยื่นล้มละลายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 18% เป็น 419,55 จาก 356,911 ในปี 2022

อย่างไรก็ตาม แม้ในเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปี จำนวนการยื่นฟ้องล้มละลายจะลดลงเหลือ 34,447 รายการ จาก 37,860 รายการในเดือนพฤศจิกายน แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีที่ผ่านมา ถือว่าเพิ่มขึ้น 16% และมีการประเมินว่า จำนวนคดีล้มละลายจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2024 นี้ แต่คงจะไม่สูงเท่ากับปี 2019 ที่มีการยื่นล้มละลายสูงสุดที่ 757,816 คดี

“เราคาดว่าจำนวนผู้ยื่นฟ้องล้มละลายทั้งส่วนบุคคลและเชิงพาณิชย์จะยังคงดำเนินต่อไปในปี 2024 เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ COVID-19 หมดลง, ต้นทุนด้านเงินทุนที่สูงขึ้น, อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น, อัตราการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้น และหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกับประวัติการณ์” Michael Hunter รองประธานของ Epiq AACER กล่าว

ทั้งนี้ หนี้ครัวเรือนของสหรัฐฯ ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 17.3 ล้านล้านดอลลาร์ ณ สิ้นไตรมาสสาม ตามข้อมูลจากธนาคารกลางสหรัฐแห่งนิวยอร์ก ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นอัตราการผิดนัดชำระหนี้ก็สูงขึ้นเช่นกัน แต่ก็ยังต่ำกว่าอัตราก่อนเกิดการระบาดใหญ่

ภาวะทางการเงินสำหรับภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนมีความเข้มงวดมากขึ้นอย่างมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจังเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ตัวอย่างเช่น อัตราสินเชื่อจำนองในช่วงครึ่งหลังของปีที่แล้วพุ่งขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ต้นศตวรรษ

Source

]]>
1457665
อัปเดต : คนไทยว่างงาน 8.7 แสนคน หนี้ครัวเรือนพุ่ง 14.27 ล้านล้าน ระวังหนี้เสียบัตรเครดิต https://positioningmag.com/1363146 Mon, 22 Nov 2021 07:38:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363146
อัปเดตตัวเลขผู้ว่างงาน Q3/64 มีมากกว่า 8.7 แสนคน สูงสุดนับตั้งแต่เกิดโควิด-19 เด็กจบใหม่หางานยาก หนี้ครัวเรือนไทยยังพุ่งต่อเนื่อง เเม้สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP จะปรับลดลงเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ต้องเฝ้าระวังหนี้เสียจากบัตรเครดิต-สินเชื่อบุคคลที่เพิ่มขึ้น

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผย ภาวะสังคมไทยไตรมาส 3/64 พบว่า การว่างงาน เพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่มีการระบาดของโควิด โดยมีผู้ว่างงาน 8.7 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานที่ 2.25%

ผู้ที่มีการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีอัตราการว่างงานสูงสุด 3.63% รองลงมาเป็น ปวส. 3.16% ซึ่ง ผู้ว่างงานส่วนใหญ่จบในสาขาทั่วไป (บริหารธุรกิจ การตลาด) จึงมีแนวโน้มประสบปัญหาการว่างงานยาวนานขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้อย่างจำกัด และคนกลุ่มนี้ที่มีทักษะไม่ต่างกัน จึงหางานได้ยากขึ้น

เด็กจบใหม่ หางานยาก

โดยแรงงานที่มีอายุ 15-19 ปี มีอัตราการว่างงานสูงสุด 9.74% รองลงมาเป็นอายุ 20-24 ปี ที่ 8.35% สะท้อนว่าโควิดส่งผลกระทบต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการที่เคยชะลอการเลิกจ้างบางส่วนไม่สามารถรับภาระต่อได้และจำเป็นต้องเลิกจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น

“เด็กจบใหม่ยังไม่มีตำแหน่งรองรับ เนื่องจากผู้ประกอบการยังได้รับผลกระทบและรอดูสถานการณ์ จึงชะลอการขยายตำแหน่งงาน” 

ทั้งนี้ การว่างงานของแรงงานในระบบ มีสัดส่วนผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานต่อผู้ประกันตนอยู่ที่ 2.47% ลดลงจากช่วงไตรมาสก่อนหน้าและปีก่อน เนื่องจากช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2564 รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการและผู้ประกันตนในพื้นที่ควบคุมสูงสุด ประกอบกับสถานประกอบการมีการหยุดกิจการชั่วคราวด้วยเหตุสุดวิสัยแทนการเลิกจ้าง ซึ่งมีจำนวนผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย 2.1 แสนคน ในเดือนกันยายน 2564 เพิ่มขึ้นจาก 0.9 แสนคน ณ สิ้นไตรมาสก่อน

ภาพรวมการจ้างงาน ผู้มีงานทำ มีจำนวนทั้งสิ้น 37.7 ล้านคน ลดลง 0.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการจ้างงานภาคเกษตรกรรมยังคงขยายตัวได้ ซึ่งมีการจ้างงาน 12.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.0% เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มฤดูการเพาะปลูกข้าว

การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมลดลง 1.3% โดยสาขาที่มีการจ้างงานลดลงมาก ได้แก่ สาขาก่อสร้าง สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร ที่ลดลงถึง 7.3% และ 9.3% ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลของมาตรการควบคุมการเปิดปิดสถานประกอบการ ทั้งการปิดแคมป์คนงาน และจำกัดการขายอาหาร

สำหรับสาขาที่ขยายตัวได้ ประกอบด้วย สาขาการผลิต ขายส่ง/ขายปลีก และสาขาขนส่ง/เก็บสินค้า ขยายตัวได้ 2.1% 0.2 และ 4.6% ตามลำดับ สาขาการผลิตที่มีการจ้างงานขยายตัวได้ดี อาทิ การผลิตอาหารและเครื่องดื่ม การผลิตรถยนต์ การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ทางการแพทย์

สำหรับ ชั่วโมงการทำงานหลักโดยเฉลี่ยของภาคเอกชนอยู่ที่ 43.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีชั่วโมงการทำงานอยู่ที่ 44.0 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมีผู้ว่างงานชั่วคราวสูงถึงเกือบ 9 แสนคน (ผู้มีงานทำที่ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์แห่งการสำรวจ หรือทำงาน 0 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อาทิ ลาหยุด ลาป่วย ถูกพักงาน หรือสถานประกอบการหยุดกิจการชั่วคราว) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวนเพียง 4.7 แสนคน เท่านั้น

Photo : Shutterstock

สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป ได้แก่

1.การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อการจ้างงานในภาคการท่องเที่ยว และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การเปิดประเทศยังต้องมีมาตรการเพิ่มเติม คือ การควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดที่ต้องเข้มงวดขึ้น

“การหามาตรการช่วยเหลือธุรกิจท่องเที่ยวขนาดเล็ก การอำนวยความสะดวกในการจ้างงานให้กับภาคท่องเที่ยวซึ่งอาจมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน และการดำเนินมาตรการอื่นควบคู่เพื่อฟื้นฟู่เศรษฐกิจและการจ้างงาน โดยเฉพาะจากโครงการ พ.ร.ก.กู้เงินฯ ฉบับใหม่ ซึ่งต้องเน้นให้เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น”

2.ผลกระทบของอุทกภัยต่อแรงงานภาคเกษตรและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร โดยรัฐบาลได้มีมาตรการเยียวยาเบื้องต้นจากความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ทั้งนี้ อาจต้องมีมาตรการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อนำไปใช้ในการซ่อมแซมบ้านเรือนและเป็นทุนในการทำการเกษตรอีกทางหนึ่ง

3.ภาระค่าครองชีพที่อาจปรับเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะผู้ว่างงานชั่วคราวที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 7.8 แสนคน ทำให้แรงงานกลุ่มนี้มีปัญหาในการดำรงชีพ

4.การจัดการปัญหาการสูญเสียทักษะจากการว่างงานเป็นเวลานานและการยกระดับทักษะให้กับแรงงาน โดยในระยะถัดไป ภาครัฐอาจส่งเสริมให้แรงงานโดยเฉพาะกลุ่มผู้ว่างงานเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะให้เพิ่มขึ้น

5. การส่งเสริมให้แรงงานที่ประกอบอาชีพอิสระที่ลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ของสำนักงานประกันสังคม เพื่อรับการช่วยเหลือเยียวยาให้เป็นผู้ประกันตนอย่างต่อเนื่อง

หนี้ครัวเรือนพุ่งไม่หยุด ระวังหนี้บัตรเครดิต

ด้าน ‘หนี้สินครัวเรือน’ ไตรมาส 2 ปี 2564 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.27 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 จากร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 89.3 ต่อ GDP ลดลงจากร้อยละ 90.6 ในไตรมาสที่ผ่านมา จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวเร็วกว่าหนี้สินครัวเรือน

อย่างไรก็ตาม สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด ด้านคุณภาพสินเชื่อยังต้องเฝ้าระวังหนี้บัตรเครดิตที่มีหนี้เสียเพิ่มขึ้น

แม้ว่าสัดส่วน NPLs ของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.92 ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่สัดส่วน NPLs ของสินเชื่อบัตรเครดิตต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน จากร้อยละ 3.04 ในไตรมาสก่อนมาเป็นร้อยละ 3.51 รวมถึงลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เสียจากบัตรเครดิต 1 ใน 3 เป็นผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี

หนี้สินครัวเรือน ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุจาก

  • ภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่สามารถขยายตัวได้ในระดับปกติ แม้ว่าทั้งปี 2564 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว แต่เป็นการขยายตัวจากฐานต่ำ สะท้อนว่ารายได้ครัวเรือนยังคงไม่ฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะกระทบต่อสภาพคล่องและความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน
  • ผลกระทบของอุทกภัย ทำให้ครัวเรือนต้องก่อหนี้เพื่อนำมาซ่อมแซมบ้านเรือนและเครื่องใช้ที่ได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการก่อหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค

ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในระยะถัดไป ได้แก่

1. หนี้เสียโดยเฉพาะบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งหากลูกหนี้ผิดนัดชำระจะต้องเสียดอกเบี้ยปรับในอัตราที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหนี้ประเภทอื่น

2. การส่งเสริมให้ลูกหนี้เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ จากปัจจุบันที่หนี้เสียของครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงแม้ว่าจะมีการดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเกิดจากการไม่รับรู้ถึงมาตรการช่วยเหลือ จึงควรเร่งประชาสัมพันธ์ให้ลูกหนี้เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้เพื่อลดภาระและเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกหนี้

3. การก่อหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้น จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนในรอบครึ่งปี 2564 พบว่า มีมูลค่าหนี้นอกระบบรวม 8.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีเพียง 5.6 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 1.5 เท่าจากปี 2562

 

อ่านรายงานฉบับเต็ม : ภาวะสังคมไทยไตรมาส 3/2564

]]>
1363146
ไทยเสี่ยงภาวะ ‘Debt Overhang’ ครัวเรือนสูญเสียรายได้ ดิ้นหา ‘เงินกู้-เงินด่วน’ มาใช้จ่ายประจำวัน https://positioningmag.com/1341610 Fri, 09 Jul 2021 12:41:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341610 จากเเนวโน้มหนี้ครัวเรือน’ เพิ่มต่อเนื่อง ทำนิวไฮเเตะ 90.5% ไทยเสี่ยงเผชิญภาวะ ‘Debt Overhang’ เมื่อคนตกงาน-สูญเสียรายได้ ดิ้นรนหา ‘เงินกู้-เงินด่วน’ มาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน บางส่วนหันไปพึ่งพาหนี้นอกระบบมากขึ้น สวนทางเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวได้ช้า 

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกบทวิเคราะห์ล่าสุดถึง หนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 1 ปี 2021 แตะระดับ 90.5% ต่อ GDP สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และสูงสุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากหนี้ครัวเรือนที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเศรษฐกิจโดยเฉพาะรายได้ภาคครัวเรือนที่เผชิญกับผลกระทบโรคระบาด ยัง ฟื้นตัวช้า

เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ครัวเรือนไทยยังมีความต้องการสินเชื่อสูง เพื่อนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันทดแทนสภาพคล่องที่ลดลงในภาวะวิกฤต บางส่วนอาจต้องพึ่งพา ‘หนี้นอกระบบ’ ซึ่งเสี่ยงจะทำให้ปัญหาหนี้มีมากขึ้นในอนาคต

“ไทยมีแนวโน้มประสบภาวะ Debt Overhang หรือ การมีหนี้สูงในภาคครัวเรือน จนเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า”

หนี้ครัวเรือนพุ่ง เกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง ? 

สำหรับหนี้ครัวเรือนไทย ณ ไตรมาส 1 ปี 2564 เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 14.1 ล้านล้านบาท หรือขยายตัวที่ 4.6% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน (YOY) ซึ่งเป็นการขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า และยังนับเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส ตามการเติบโตแบบเร่งตัวของการให้กู้ยืมจาก 2 ผู้ให้กู้หลัก ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่รับฝากเงิน (SFI) ที่เติบโตที่ 4.9% และ 5.5% ตามลำดับ โดยเฉพาะอัตราการเติบโตจาก SFI ที่อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี

ขณะที่การปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคครัวเรือนจาก สหกรณ์ออมทรัพย์ หรือบริษัทบัตรเครดิต-ลิสซิ่ง-และสินเชื่อส่วนบุคคล มีการเติบโตแบบชะลอตัวลง ส่วนหนี้ครัวเรือนที่กู้ยืมจากโรงรับจำนำยังคงหดตัวต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า

EIC วิเคราะห์ว่า การขยายตัวของหนี้ครัวเรือนไทย เป็นผลมาจาก 3 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่

ปัจจัยที่หนึ่ง เมื่อเกิดวิกฤตโควิด ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสถาบันการเงินต่างๆ ได้มีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกหนี้รายย่อย ทั้งในรูปแบบของการพักชำระหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งช่วยลดภาระการชำระหนี้ในระยะสั้น และช่วยป้องกันการเกิดหนี้เสียในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม การชำระหนี้ที่ถูกพักหรือเลื่อนออกไปมีส่วนทำให้ระดับหนี้ครัวเรือนในภาพรวมปรับลดลงช้ากว่าปกติ

ปัจจัยที่สอง วิกฤตโควิดส่งผลทำให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนขาดรายได้ นำไปสู่การลดลงของสภาพคล่องของคนจำนวนมาก จึงเกิดการกู้ยืมเพื่อนำมาใช้จ่ายทดแทนสภาพคล่องที่หายไปของภาคครัวเรือน ดังจะเห็นได้จากการเติบโตของสินเชื่อส่วนบุคคล (Personal Loan) ในระบบธนาคารพาณิชย์ ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2020 และมีอัตราการเติบโตในไตรมาสแรกของปีนี้ที่ 5.9% เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 4.8% แม้มาตรฐานการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินจะมีแนวโน้มระมัดระวังมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ

“แนวโน้มความต้องการสินเชื่อเร่งตัวขึ้นมาก เมื่อเทียบกับการเติบโตที่เกิดขึ้นของสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ ประกอบกับมาตรฐานการให้สินเชื่อที่มีแนวโน้มระมัดระวังมากขึ้น สะท้อนว่าครัวเรือนบางส่วนที่ต้องการสินเชื่ออาจไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้ ทำให้มีแนวโน้มต้องพึ่งพาหนี้นอกระบบ ซึ่งจะต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่ามาก เสี่ยงก่อให้เกิดปัญหาวังวนของกับดักหนี้ได้ในอนาคต” 

ปัจจัยที่สาม ครัวเรือนบางส่วนที่มีกำลังซื้อยังมีการใช้จ่ายซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงที่ผู้ประกอบการมีการลดราคา ออกโปรโมชันจูงใจเป็นจำนวนมาก เพื่อลดอุปทานคงค้าง ประกอบกับมาตรการ LTV มีการผ่อนคลายลง เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจ ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนในส่วนนี้เติบโตได้ดีในช่วงวิกฤต สะท้อนจากสินเชื่อผู้บริโภคในระบบธนาคารพาณิชย์ในหมวดที่อยู่อาศัยที่เติบโตได้ค่อนข้างดีที่ 5.9% ณ สิ้นปี 2020 และยังเติบโตได้ดีต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปีนี้ที่ 6.8%

หนี้ครัวเรือนไทย ‘สูงสุด’ ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยในเวลานี้อยู่ในระดับสูงสุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน โดยข้อมูลจาก Bank of International Settlement (BIS) พบว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทย ณ สิ้นปี 2020 เพิ่มขึ้นจากปี 2019 ถึง 12.0% ต่อ GDP ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นที่สูงเป็นอันดับ 7 จากทั้งหมด 43 ประเทศ

โดยเป็นผลมาจาก GDP ที่ลดลงมากกว่าและฟื้นตัวช้ากว่า ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยยังคงสูงสุดเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างของการพึ่งพาสินเชื่อในการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนไทยในช่วงที่ผ่านมา

EIC มองว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยในช่วงที่เหลือของปี 2021 มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยคาดว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ณ สิ้นปี 2021 จะอยู่ในช่วง 88-90% ซึ่งชะลอลงเล็กน้อยจากในไตรมาสที่ 1 ตามการทยอยฟื้นตัวของ GDP

อย่างไรก็ตาม ยังมีความเป็นไปได้ที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนภายในปี 2021 อาจปรับเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้อีก หากผลของการแพร่ระบาดของโควิดมีความรุนแรงและต่อเนื่อง จนทำให้ GDP ลดต่ำลงกว่าที่คาด ขณะที่หนี้ยังสามารถขยายตัวได้ด้วยอัตราการเติบโตใกล้เคียงกับปัจจุบัน

Debt Overhang อยู่ไม่ไกล 

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง จะส่งผลให้ภาคครัวเรือนไทยมีความเสี่ยงต่อการเผชิญกับภาวะ Debt Overhang คือ ภาวะของการมีหนี้สูงจนเป็นปัญหาต่อการใช้จ่ายและการก่อหนี้ใหม่ในอนาคต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนในด้านต่างๆ ของภาคครัวเรือน เช่น การลงทุนเพื่อซื้อสินทรัพย์หรือการลงทุนในด้านการศึกษา เเละภาวะ Debt Overhang จะยังเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นหนี้เสียที่จะกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินได้อีกด้วย

โดยจากการศึกษาของ BIS พบว่า หากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูงกว่าระดับ 80% จะส่งผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป

“สถานการณ์หนี้ของภาคครัวเรือนไทยที่เกิดขึ้นจริงอาจแย่กว่าที่สัดส่วนหนี้ต่อ GDP บ่งชี้จากการที่รายได้ภาคครัวเรือนโตช้ากว่า GDP โดยเฉลี่ย และในช่วงโควิดแนวโน้มดังกล่าวนี้ก็น่าจะยังมีต่อเนื่อง จากผลกระทบต่อภาคครัวเรือนที่รุนแรง สะท้อนจากการตกงานและสูญเสียรายได้ของคนทำงานจำนวนมากเป็นประวัติการณ์” 

โดยรายได้ของแรงงานที่ได้รับค่าจ้างในไตรมาสที่ 1 ปี 2021 ลดลงถึง -8.8% ขณะที่ Nominal GDP ลดลงเพียง -2.1% ในช่วงเดียวกัน

แม้ในปีนี้เศรษฐกิจไทยยังสามารถได้รับแรงหนุนจากการส่งออกที่ขยายตัวดี แต่ภาคการส่งออก โดยเฉพาะการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม มีการใช้แรงงานไม่มากนักเมื่อเทียบกับการจ้างงานในภาคบริการ อีกทั้งรายได้จากการส่งออกยังกระจุกตัวอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่จำนวนไม่มาก

ด้วยเหตุนี้การให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐแก่ภาคครัวเรือน ทั้งในรูปแบบของมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจและการเพิ่มศักยภาพในการหารายได้โดยการปรับและเพิ่มทักษะแรงงาน ยังเป็นสิ่งจำเป็นในภาวะที่เศรษฐกิจภาคครัวเรือนยังคงมีความเปราะบางสูง

 

]]>
1341610
‘หนี้ครัวเรือน’ พุ่งไม่หยุด 14.13 ล้านล้าน แตะ 90.5% โควิดลากยาว รายได้หาย ซ้ำคนไทยจมกองหนี้ https://positioningmag.com/1340409 Fri, 02 Jul 2021 08:06:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340409 หนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 1/2564 แตะ 90.5% ต่อจีดีพี ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.13 ล้านล้านบาท สูงสุดในรอบ 18 ปี โควิดลากยาวซ้ำเติมคนไทยติดบ่วง ‘วังวนหนี้สิน’ รายได้ไม่พอรายจ่าย ดิ้นรนหางานเสริม 

โดยสถานการณ์หนี้สินของประชาชน ยังคงมีอัตราการเติบโต ‘เร็วกว่า’ เศรษฐกิจไทยในภาพรวม…

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดในไตรมาส 1/2564 ระบุว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทย ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.13 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90.5% ต่อจีดีพี นับว่าสูงสุดในรอบ 18 ปี ตามสถิติที่มีการเก็บรวบรวมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสูงขึ้นต่อเนื่องจากระดับ 89.4% ต่อจีดีพี ในไตรมาสที่ 4/2563

วิกฤตโควิด-19 ที่ลากยาวเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี จะเพิ่มความเสี่ยงต่อเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ พร้อมๆ ตอกย้ำวังวนปัญหาหนี้สินของภาคครัวเรือน โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีรายได้ไม่สม่ำเสมอ หรือมีรายได้ลดลงจนมีผลกระทบต่อความสามารถในการชำระคืนหนี้

สำหรับแนวโน้มในปี 2564 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ปรับทบทวน ตัวเลขประมาณการหนี้ครัวเรือนไทยขึ้นมาอยู่ที่กรอบ 90-92% ต่อจีดีพี (กรอบเดิมคาดที่ 89-91% ต่อจีดีพี)

Photo : Shutterstock

เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า หนี้ครัวเรือนในไตรมาส 1/2564 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นประมาณ 88,138 ล้านบาท 

สาเหตุหลักๆ เป็นผลมาจากการเร่งขึ้นของหนี้รายย่อย’ 3 กลุ่ม ได้แก่ หนี้บ้าน หนี้ประกอบอาชีพ และหนี้เพื่อใช้จ่ายชีวิตประจำวัน

1) หนี้บ้าน (ยอดคงค้างหนี้บ้านเพิ่ม 55,300 ล้านบาทจากไตรมาสก่อน) สอดคล้องกับแคมเปญกระตุ้นยอดขายของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบราคาประมาณ1-3 ล้านบาท และ 3-5 ล้านบาท ซึ่งผู้กู้หรือครัวเรือนยังคงเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ รายได้ปานกลางค่อนไปทางสูง (ไม่ถูกกระทบมากนักจากสถานการณ์โควิด) ซึ่งทำให้ยังคงมีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ได้

2) หนี้เพื่อประกอบอาชีพ (ยอดคงค้างหนี้ประกอบอาชีพเพิ่ม 40,100 ล้านบาทจากไตรมาสก่อน) ก่อหนี้เพิ่มเพื่อหนุนสภาพคล่อง และใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการประคับประคองกิจการในช่วงที่โควิด-19 ยืดเยื้อซึ่งมีผลกระทบต่อเนื่องต่อรายได้และยอดขาย

3) หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคทั่วไป (ยอดคงค้างหนี้อุปโภคบริโภคทั่วไป เพิ่ม 33,500 ล้านบาทจากไตรมาสก่อน) ซึ่งเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีปัญหารายได้ฝืดเคือง รายได้ไม่สมดุลกับภาระค่าใช้จ่าย จนทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่ายในชีวิตประวัน

โควิดระลอกสาม : กลุ่มเปราะบางเพิ่มขึ้น กังวลเรื่องใช้หนี้

จากการเปรียบเทียบผลสำรวจภาวะหนี้สินและการออมของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า สถานการณ์รายได้และหนี้สินของประชาชนรายย่อย ‘ถดถอย’ ลงมากจากผลของโควิด-19 ระลอกที่สาม

ในผลสำรวจเดือนมิ.. 2564 ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้ไม่ปกติมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 59.6% สูงกว่าสัดส่วน 56.2% ในผลสำรวจเดือนมี.. 2564 (ก่อนโควิดรอบสาม)

โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามในรอบเดือนมิ.. 2564 มีจำนวนบัญชีสินเชื่อและสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ หรือ DSR” เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 46.9% เทียบกับ DSR ที่ 42.8% ตอกย้ำปัญหาหนี้สินของประชาชนที่มีสัญญาณน่ากังวลมากขึ้นในระดับครัวเรือน

สำหรับมุมมองต่อสถานการณ์หนี้สินของตัวเองนั้นลูกหนี้เป็นห่วงปัญหาหนี้สินของตัวเองมากขึ้น

ผู้ตอบแบบสอบถาม 79.5% ประเมินว่า ปัญหาหนี้ของตัวเองยังไม่น่าจะดีขึ้น ในช่วงครึ่งหลังของปี2564 โดยสัดส่วนของผู้ที่มองว่าปัญหาหนี้จะแย่ลงเพิ่มขึ้นมาที่ 26.6% เทียบกับสัดส่วนเพียง 7.8% ในรอบมี..

โควิดระลอกที่สาม มีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของครัวเรือนหลายส่วนให้อ่อนแอและเปราะบางมากขึ้น และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้ที่มีภาระหนี้สมัครเข้ามาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินมากขึ้น

ขณะที่ภาพสะท้อนจากมุมของประชาชนครัวเรือน บ่งชี้ว่า สินเชื่อที่ต้องการรับความช่วยเหลือส่วนใหญ่ เป็นสินเชื่อบัตรเครดิต+สินเชื่อส่วนบุคคล (45.3%) สินเชื่อเช่าซื้อ (25.3%) และสินเชื่อบ้าน (14.3%) ตามลำดับ

รายได้ไม่พอ ต้องดิ้นหางานเสริม

ด้านแนวโน้มในปี 2564 จากสถานการณ์โควิด 19 ที่ลากยาวเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2564 มีผลกระทบทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน

ประชาชนครัวเรือน มีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับสถานะรายได้จากการทำงานของตัวเอง ส่วนหนึ่งสะท้อนจากการค้นหาช่องทางเพื่อหารายได้เสริม ใน Google Trends ที่กลับมาปรับเพิ่มขึ้นในช่วงที่โควิดระบาดรอบสาม ซึ่งเป็นภาพที่คล้ายกับการระบาดของโควิดในรอบแรก

สำหรับข้อมูลลูกหนี้รายย่อยที่เข้ารับความช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์นั้น ขยับขึ้นมาที่ 1.69 ล้านบัญชีในเดือนเม.. 2564 (จาก 1.68 ล้านบัญชีในเดือนมี..) คิดเป็นยอดภาระหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 12.4% ของลูกหนี้รายย่อย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ผลกระทบที่หนักและชัดเจนมากขึ้นของโควิดรอบสาม อาจทำให้จำนวนบัญชีลูกหนี้รายย่อยเข้ามาตรการช่วยเหลือฯ มีโอกาสขยับขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเดือนมิ.. ถึงต้นไตรมาส 3/2564 นี้

คาดว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนในปี 2564 น่าจะเติบโตในระดับที่สูงกว่า หรือใกล้เคียงกับอัตรา 4.1%  ในปี 2563 ตอกย้ำภาพหนี้สินครัวเรือนที่โตกว่าทิศทางเศรษฐกิจต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับทบทวนสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2564 ขึ้นมาอยู่ในกรอบประมาณ 90-92% ต่อจีดีพี (กรอบคาดการณ์เดิมที่ 89-91% ต่อจีดีพี)

ปัญหาหนี้ครัวเรือนโตสวนทิศทางเศรษฐกิจ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับหลายๆ ประเทศ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับประเทศไทย

เเต่แม้ว่าจะไม่มีปัญหาโควิด-19 หนี้ครัวเรือน ก็เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างลำดับต้น ๆ ของไทย ที่รอให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแนวทางแก้ไข

สำหรับในปีนี้ น่าจะเห็นการเดินหน้ามาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยหล่อเลี้ยงสภาพคล่อง ปรับโครงสร้างหนี้เพื่อประคองไม่ให้ลูกหนี้กลายเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) และ/หรือทบทวนเพดานดอกเบี้ยผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อย (เพื่อช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้ในช่วงที่โควิด 19 ยังไม่สิ้นสุด) ตลอดจนการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

รวมไปถึง การวางแนวทางในระยะยาวเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและหนี้สินของภาคครัวเรือนอย่างจริงจังเมื่อวิกฤตโควิด-19 สิ้นสุดลง โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพในการหารายได้ และดูแลให้การก่อหนี้ของภาคประชาชน สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของตนเองมากขึ้น

 

 

]]>
1340409
ว่างงานพุ่งไม่หยุด เด็กจบใหม่ 5 แสนคนเคว้ง ‘ไม่มีงานทำ’ หนี้ครัวเรือนสูง จำใจกู้นอกระบบ https://positioningmag.com/1333573 Mon, 24 May 2021 07:50:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333573 โควิด-19 สั่นคลอนเศรษฐกิจไทย ไตรมาสเเรกของปี 2564 ว่างงานพุ่ง 7.6 เเสนราย นักศึกษาจบใหม่เกือบแสนคน ‘สุดเคว้ง’ ตำแหน่งงานไม่เพียงพอ เสี่ยงตกงานยาว ด้านหนี้ครัวเรือนสูงไม่หยุด ทะลุ 14 ล้านล้านบาท ประชาชนต้องควักเงินออมมาใช้ ก่อหนี้บัตรเครดิตเสี่ยงกู้นอกระบบเพิ่ม

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ในช่วง 3 เดือนเเรกของปีนี้ คนไทยว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 7.6 แสนคน คิดเป็น 1.96% เป็นผลกระทบต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายระลอก นับตั้งแต่เดือน ม..เป็นต้นมา

โดยอัตราการว่างงานของแรงงานในระบบ พบว่า ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานของผู้ประกันตนมาตรา 33 มีจำนวน 3.46 แสนคน คิดเป็นสัดส่วน 3.1% สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่การระบาดยังไม่รุนแรงแต่ปรับตัวลดลงจากครึ่งปีหลัง

เเบ่งเป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ประมาณ 8 หมื่นคน ในเดือน มี.. ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง และลูกจ้างของสถานประกอบการที่ขอใช้มาตรา 75 ตาม พ...คุ้มครองแรงงานฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 82,346 คน ลดลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน

Photo : Shutterstock

ส่วนชั่วโมงการทำงานรวมอยู่ที่ 40.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดลง 1.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 การทำงานต่ำระดับเพิ่มขึ้นถึง 129.1% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4

จากภาพรวมที่ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นแต่ชั่วโมงการทำงานลดลง สะท้อนการจ้างงานและการทำงานที่ไม่เต็มเวลา ทำให้แรงงานมีรายได้ลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน

โดยกำลังแรงงานมีจำนวนทั้งสิ้น 38.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.5% จากการเข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้อยู่นอกกำลังแรงงานอย่างต่อเนื่อง

เเละมียอดผู้มีงานทำในไทยทั้งสิ้น 37.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 0.4% จากการขยายตัวของการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมที่ดูดซับแรงงานบางส่วนที่ถูกเลิกจ้างจากภาคเศรษฐกิจอื่นมาตั้งแต่ปี 2563 ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรมีการปรับตัวสูงขึ้น รวม 11.07 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่นอกภาคเกษตรกรรม การจ้างงานปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ 0.6% โดยสาขาการผลิตอุตสาหกรรมมีการจ้างงานลดลง 2.2%

ปริมาณนักท่องเที่ยวที่ลดลงเเละมาตรการควบคุมโควิด-19 ทำให้ภาคบริการ จ้างงานลดลง 0.7% สาขาการขายส่ง/ขายปลีกลดลง 1.0% และสาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า ลดลง 0.4% และสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลง 0.2%

เเต่บางอุตสาหกรรมที่ยังสามารถขยายตัวได้ เช่น ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก อุปกรณ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ และการผลิตเครื่องอุปกรณ์การขนส่งอื่น ๆ

เด็กจบใหม่ เสี่ยงไร้งานยาว 

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. ระบุว่า ผลกระทบของโควิด-19 ระลอกใหม่ต่อเศรษฐกิจและการจ้างงาน ในปี 2564 ที่ต้องติดตามเเละเเก้ไขอย่างเร่งด่วน ได้เเก่

1) แรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) อาจตกงานมากขึ้นหรือถูกลดชั่วโมงการทำงาน

โดยธุรกิจ MSMEs ได้รับผลกระทบตั้งแต่ปี 2563 ทำให้ GDP ของ MSMEs ปรับตัวลดลงสูงถึง 9.1% หากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจเหล่านี้อาจไม่สามารถประคองตัวต่อไปได้ รวมถึงการเลิกจ้างแรงงาน และโอกาสการกลับมาฟื้นตัวอาจใช้เวลานานมากขึ้น 

2) แรงงานในภาคท่องเที่ยวอาจถูกเลิกจ้างมากขึ้น และต้องหาอาชีพใหม่

ปัญหานี้จะส่งผลกระทบต่อแรงงานในภาคการท่องเที่ยวที่มีอยู่กว่า 7 ล้านคน โดยหากแรงงานถูกเลิกจ้างจะไม่สามารถกลับเข้ามาทำงานในสาขาเดิมได้ในระยะเวลาอันใกล้ และอาจต้องเปลี่ยนอาชีพ ซึ่งรัฐบาลจะพิจารณาว่าจะสามารถช่วยเหลือได้อย่างไร

3) ตำแหน่งงานอาจไม่เพียงพอจะ รองรับนักศึกษาจบใหม่

กระทบกับการหางานของ นักศึกษาจบใหม่ในปี 2564 ประมาณ 4.9 แสนคน ขณะที่โครงการจ้างงานกลุ่มผู้จบการศึกษาใหม่และแรงงานคืนถิ่นภายใต้ พ...เงินกู้ฯ ในปี 2563 ซึ่งมีระยะเวลาการจ้างงานประมาณ 12 เดือนกำลังจะสิ้นสุดลง อาจส่งผลกระทบต่อแรงงานภายใต้โครงการประมาณ 1.4 แสนตำแหน่ง

4) เเรงงานรายได้ลดต่อเนื่อง เสี่ยงตกงานยาว

ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแรงงาน เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า ชั่วโมงการทำงานที่ลดลง 6 ไตรมาสติดต่อกันและการว่างงานเพิ่มขึ้นสะท้อนว่าแรงงานมีรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง

ผู้ว่างงานจากผลกระทบของ COVID-19 มีแนวโน้มเป็นผู้ว่างงานระยะยาวมากขึ้น

นอกจากนี้ยังต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ที่จะมีผลต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรไทยด้วย

Photo : Shutterstock

หนี้ครัวเรือนทะลุ 14 ล้านล้าน คนจำใจก่อหนี้บัตรเครดิตกู้นอกระบบเพิ่ม

หนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 4 ของปี 2563 มีมูลค่า 14.02 ล้านล้านบาท ขยาย 3.9% จาก 4% ในไตรมาสก่อน หรือคิดเป็นสัดส่วน 89.3% ต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว

เเม้ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนปรับตัวดีขึ้น แต่ยังต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน (สินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ) ยังอยู่ในระดับสูง

โดยในไตรมาส 4 ปี 2563 สัดส่วน NPLs ของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.84% ลดลงจาก 2.91% ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากการดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงที่ผ่านมาของสถาบันการเงิน

เเต่จากปัญหาตลาดแรงงานที่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงขึ้น จะทำให้รายได้ของแรงงานลดลง และทำให้ครัวเรือนประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องมากขึ้น

คาดว่าแนวโน้มการก่อหนี้ของครัวเรือนในปี 2564 สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพี จะยังคงอยู่ในระดับสูง จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวกลับไปในระดับก่อนโควิด-19”

ครัวเรือนจะระมัดระวังการใช้จ่าย โดยเฉพาะการชะลอการซื้อสินค้าในกลุ่มสินค้าคงทน ทำให้ความต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัยและรถยนต์ชะลอตัวลง

ด้านความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปัญหาการขาดสภาพคล่องรวมทั้งมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับประชาชนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐจึงจำเป็นต้องมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ ยังต้องเฝ้าระวังการก่อหนี้นอกระบบโดยเฉพาะกับครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้ และสามารถรักษาระดับการบริโภคไว้ในระดับเดิม

สิ่งที่น่าสนใจอีกประการคือ ตอนนี้ประชาชนเริ่มนำเงินออมออกมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น จึงต้องมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ เช่น เวลาชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย มาไว้รองรับในระยะถัดไป

 

 

]]>
1333573
หนี้เพิ่มเร็วกว่ารายได้ ซ้ำคนไทยไร้เงินออม ‘หนี้ครัวเรือน’ ทะลุ 14 ล้านล้าน คาดปีนี้เเตะ 91% ต่อจีดีพี https://positioningmag.com/1326143 Thu, 01 Apr 2021 13:28:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326143 หนี้ครัวเรือน ณ สิ้นปี 2563 ทะลุ 14 ล้านล้านบาท ทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 18 ปี คิดเป็นกว่า 89.3% ต่อจีดีพี KBANK คาดปีนี้พุ่งต่อ เเตะ 89-91% คนไทยมีเงินออมน้อย อยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน ห่วงกังวลหาใช้หนี้คืนไม่ทัน

จากผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤต COVID-19 ทำให้กระแสรายได้ และสถานะทางการเงินของครัวเรือนบางกลุ่มย่ำแย่ลง ตอกย้ำวังวนปัญหาหนี้เพิ่มเร็วกว่ารายได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดในไตรมาส 4/2563 ระบุว่า หนี้ครัวเรือนของไทยปิดสิ้นปี 2563 ที่ผ่านมา ด้วยภาพของระดับหนี้ครัวเรือนที่ทะลุ 14 ล้านล้านบาท นับเป็นจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 18 ปี ตามสถิติที่มีการเก็บรวบรวมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

หนี้เพิ่ม’ 3 ปีติด สวนทางเศรษฐกิจหดตัว

โดยหนี้ครัวเรือนดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วน 89.3% เมื่อเทียบกับ GDP ในปี 2563 เร่งตัวขึ้นเป็นปีที่ 3 เทียบกับ 78.4% ต่อจีดีพี และ 79.8% ต่อจีดีพีในปี 2561 และปี 2562 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม หากมองในมิติอัตราการเติบโตของหนี้ พบว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนปี 2563 เพิ่มขึ้นเพียง 3.9% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี

สะท้อนว่าทั้งผู้กู้และผู้ปล่อยกู้ ต่างก็เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักลงจากผลกระทบของโรคระบาด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตั้งข้อสังเกตว่า สินเชื่อภาคครัวเรือนที่ยังเติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจได้นั้น ชี้ให้เห็นถึงสถานะของผู้กู้และวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมที่แตกต่างกันระหว่างผู้กู้สองกลุ่ม 

กลุ่มแรก เป็นการกู้ยืมของครัวเรือนเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย และรถยนต์ ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อปานกลางค่อนไปทางสูง และรายได้ไม่ได้ถูกกระทบมากจาก COVID-19

กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องก่อหนี้หรือกู้ยืมเพิ่มขึ้นเพื่อใช้เสริมสภาพคล่อง หรือเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบธุรกิจ ซึ่งผู้กู้หรือครัวเรือนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน และสถานะทางการเงินอ่อนแอลงตามทิศทางเศรษฐกิจ

ความสามารถในการชำระคืนหนี้ของลูกหนี้หลายกลุ่ม ถดถอยลง โดยเฉพาะผู้กู้รายย่อยที่ประกอบธุรกิจ และผู้กู้รายย่อยที่มีปัญหาด้านรายได้

Photo : Shutterstock

สำหรับภาระหนี้หรือ Debt Service Ratio (DSR) ของผู้กู้รายย่อยที่ประกอบธุรกิจอยู่ที่ 44.1% ของรายได้ต่อเดือนในช่วงต้นปี 2564 

ส่วน DSR ของผู้กู้รายย่อยที่มีปัญหาด้านรายได้อยู่ที่ 43.8% ซึ่งภาระหนี้ของผู้กู้ทั้งสองกลุ่มดังกล่าวอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ย DSR ภาพรวมของผู้ตอบแบบสอบถามในผลสำรวจรอบนี้ซึ่งอยู่ที่ 42.8% ของรายได้ต่อเดือน

ขณะที่หนี้ครัวเรือนในส่วนอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นเพื่อการอุปโภคบริโภคหรือใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ก็มีทิศทางขยับขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ซบเซาของเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลทำให้ครัวเรือนหลายส่วนต้องรัดเข็มขัด และบริหารกระแสรายรับรายจ่ายของครัวเรือนให้มีความสมดุล

สถานะทางการเงินของประชาชนค่อนข้างตึงตัวมากขึ้น และสถานการณ์รายได้ของประชาชนหลายกลุ่ม เริ่มจะไม่สัมพันธ์กับหนี้สินที่ต้องแบกรับภาระ

 

คนไทยไร้เงินออม กังวลใช้หนี้ไม่ทัน

เมื่อสอบถามถึงความสามารถในการผ่อนชำระคืนหนี้ในอนาคตนั้น ประชาชนส่วนใหญ่กว่า 3 ใน 4 ของผลสำรวจ แสดงความกังวล เนื่องจากยังคงมีประเด็นรายได้ที่ไม่แน่นอน (45.3% ของผู้ตอบ) และค่าครองชีพและภาระหนี้เพิ่มขึ้นเร็วกว่ารายได้ (41.4%) รวมถึงการที่ภาระผ่อนหลังมาตรการเยอะและนานขึ้น (12.7%)

ตอกย้ำว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง น่าจะยังเป็นข้อจำกัดสำคัญในการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในระยะที่เหลือของปี

ส่วนระดับการออมของภาคครัวเรือนลดต่ำลง หากเปรียบเทียบมุมการออมภาคครัวเรือนต่อรายได้จากผลสำรวจฯ ปี 2564 กับการออมภาคครัวเรือนในปี 2562 โดยเฉลี่ยแล้ว สัดส่วนเงินออมต่อรายได้ของครัวเรือนลดลงประมาณ 3.6% จากที่มีสัดส่วนเงินออมประมาณ 16.1% ของรายได้ต่อเดือนในปี 2562 ลดลงมาอยู่ที่ 12.5% ของรายได้ต่อเดือนในปี 2564

และเมื่อเจาะลงไปในกลุ่มผู้กู้รายย่อยที่ประกอบธุรกิจและกลุ่มที่มีปัญหาด้านรายได้ จะพบว่า สถานการณ์เงินออมเฉลี่ยของ 2 กลุ่มนี้แย่กว่าภาพรวมค่อนข้างชัด โดยมีเงินออมเพียง 11.7% และ 10.8% ของรายได้ต่อเดือนตามลำดับ

นอกจากนี้ หากพิจารณาเฉพาะประชาชนที่มีเงินออมในผลสำรวจฯ ในปี 2564 จะพบว่า มีประชาชนเพียง 38.9% จากประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดเป็นผู้ที่มีเงินออม แต่ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีเงินออมไม่สูงมาก

หากพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีเงินออมในผลสำรวจฯ พบว่า มีเพียง 46.2% เท่านั้นที่มีเงินออมสะสมเพียงพอสามารถรองรับค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 3 เดือน (ในกรณีที่ขาดรายได้ หรือตกงาน)

สถานการณ์เงินออมจากผลสำรวจฯ รอบนี้ แย่ลงกว่าผลสำรวจเมื่อปี 2562 อย่างชัดเจน โดยผลสำรวจฯ เมื่อปี 2562 สัดส่วนผู้มีเงินออมสะสมที่สามารถรองรับค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 3 เดือน สูงถึง 75% ของผู้มีเงินออมทั้งหมด

คาดปีนี้หนี้ครัวเรือนพุ่งต่อ เเตะ 89-91%

สำหรับแนวโน้มในปี 2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤตโควิด-19 น่าจะทำให้เงินกู้ยืมของภาคครัวเรือนปี 2564 มีโอกาสเติบโตขึ้นสูงกว่าปี 2563 ที่เติบโตเพียง 3.9%

ภาพดังกล่าวอาจส่งผลต่อเนื่องให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ขยับสูงขึ้นมาอยู่ในกรอบประมาณ 89.0-91.0% ต่อ GDP ในปี 2564 เทียบกับระดับ 89.3% ต่อ GDP ในปี 2563 

ทางการไทยคงหันกลับมาดูแลปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างจริงจัง เมื่อหลังวิกฤตโรคระบาดสิ้นสุดลง โดยอาจกลับมาสานต่อมาตรการดูแลให้การก่อหนี้ของครัวเรือนสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ (Affordability)”

]]>
1326143
ความหวัง ‘ท่องเที่ยวไทย’ เร่งฉีดวัคซีนให้ทัน ‘ไฮซีซั่น’ รับต่างชาติ 2 ล้านคน ระวัง ‘หนี้ครัวเรือน’ พุ่ง https://positioningmag.com/1322313 Mon, 08 Mar 2021 08:28:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322313 วัคซีนมาช้ามาเร็ว คือตัวเเปรสำคัญของเศรษฐกิจไทย KBank คงเป้า GDP ปีนี้ไว้ที่ 2.6% แต่ปรับกรอบประมาณการ ‘แคบลง’ เหลือ 0.8-3.0% จากเดิม 0.0-4.5% มองท่องเที่ยวยังฟื้นตัวจำกัด หวังไตรมาสสุดท้าย เร่งกระจายวัคซีนทันเปิดรับนักท่องเที่ยว 2 ล้านคน เอกชนมีโอกาสนำเข้าเอง จับตาคนรายได้ลด ‘หนี้ครัวเรือนหนี้เสียพุ่ง

เร่งฉีดวัคซีนภาคท่องเที่ยว รับ ‘ไฮซีซั่น’ 

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ยังต้องใช้เวลา และช้ากว่าเศรษฐกิจโลกเเละประเทศเพื่อนบ้าน เพราะมีการพึ่งพิงรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติสูง ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าของการกระจายวัคซีน และการเปิดรับนักท่องเที่ยวของไทยเป็นสำคัญ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทิศทางเศรษฐกิจโลกโดยรวม มีทิศทางเป็นบวกมากขึ้น จากการกระจายวัคซีน ซึ่งในเง่ของธุรกิจการท่องเที่ยวเเล้ว จะต้องให้ความสำคัญกับนโยบายของการเดินทางระหว่างประเทศของ 2 ฝั่ง ทั้งการเปิดประเทศรับชาวต่างชาติเเบบไม่ต้องกักตัว (หรือลดวันกักตัว) เเละการใช้วัคซีนพาสปอร์ต

ปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดเส้นทางการฟื้นตัวของตลาดต่างชาติเที่ยวไทยในปี 2564 โดยเฉพาะไตรมาสสุดท้าย ซึ่งเป็นไฮซีซั่น’ (High-season) ของการท่องเที่ยว

เกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ประเมินว่า ว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่นิยมมาเที่ยวไทยจาก 10 ตลาดสำคัญ เช่น จีน ยุโรปตะวันตก สหรัฐฯ รัสเซีย เอเชียและอาเซียนบางประเทศ อาจทำได้ราว 1.9 ล้านคน (ในช่วงปลายปีไฮซีซั่น) ซึ่งเมื่อรวมกับช่วง 9 เดือนแรกของปี จึงเห็นว่าตัวเลข 2 ล้านคนในปี 2564 ยังมีความเป็นไปได้

เเต่ยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าวัคซีนพาสปอร์ตสามารถดำเนินการได้ หรือการเดินทางระหว่างประเทศมีข้อจำกัดน้อยลง

เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ เป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับคนที่ทำงานในภาคท่องเที่ยวไทย ที่จะต้องได้รับวัคซีนก่อน

โดยหากประเมินจากการจ้างงานในธุรกิจโรงแรมในพื้นที่ 20 จังหวัดที่พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติเเล้ว พบว่ามีความต้องการวัคซีนอย่างน้อย 2.2 แสนโดส ก่อนเดือนตุลาคม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวให้ทันช่วงไฮซีซั่น

ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่ 2 ล้านคนยังถือว่าน้อยมาก ดังนั้นธุรกิจท่องเที่ยวยังต้องพึ่งพาไทยเที่ยวไทยไปก่อน เเละกรณีที่ไม่สามารถกระจายวัคซีนได้ตามเวลาที่คาดไว้ได้ ผู้ประกอบการเเละประชาชนก็ยังอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ต้องระมัดระวังเรื่องกระเเสเงินสด พยายามหาช่องทางสร้างรายได้อื่นๆ ทั้งบริการร้านอาหารเเละปล่อยเช่า” 

ส่วนโอกาสที่ภาคเอกชนมีโอกาสจะนำเข้าวัคซีนเองนั้นมองว่า มีความเป็นไปได้ในภาวะหลังจากนี้ โดยภาคเอกชนต้องรวมตัวกัน เพื่อยื่นขออนุญาตกับทางภาครัฐให้ดำเนินการต่อไป

อ่านเพิ่มเติม : KBank ห่วงไทย ‘ฟื้นตัวช้าสุด’ ตามหลังเพื่อนบ้านในอาเซียน โรงแรม 40% เสี่ยงหายจากตลาด

คาด GDP ไทยโต 2.6% ส่งออกดี 

ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ระบุว่า KBank ยังคงประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2564 ไว้ที่ 2.6% ในกรณีพื้นฐาน แต่ปรับกรอบประมาณการจากเดิมที่ 0.0-4.5% มาที่ 0.8%-3.0%

โดยรอบประมาณการใหม่ สะท้อนความเสี่ยงขาลงต่อเศรษฐกิจที่ลดลง คาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วและส่งผลบวกต่อภาพการส่งออกไทยมากขึ้น

ประเด็นเศรษฐกิจสำคัญที่น่าติดตามในปี 2564 เเบ่งเป็นหลักๆ 3 เรื่องได้เเก่

1.การกระจายวัคซีนในประเทศเเละการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

  • ระยะท่ี 1 จํานวน 2 ล้านโดส : ช่วงเดือน ก.. – เม..2564 ใน 10 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
  • ระยะที่ 2 จํานวน 61 ล้านโดส : ช่วงเดือนมิ.. และให้แล้วเสร็จภายใน ปี 2564 เฉลี่ย 10 ล้านโดสต่อเดือน

2.ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเเละเงินเฟ้อ

แนวโน้มราคาน้ํามันดิบในตลาดโลกสูงกว่าที่ประเมิน จากปัจจัยชั่วคราวแหล่งผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ได้รับความเสียหายจากพายุ การปรับลดกำลังการผลิตของ OPEC ในขณะที่การฟื้นตัวที่ดีกว่าท่ี่คาดของเศรษฐกิจโลกจะเป็นตัวหนุนราคาน้ำมันในช่วงท่ี่เหลือของปี

ราคาพลังงานท่ี่สูงขึ้น ส่งผลให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นกว่าที่ประเมิน ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจไทยท่ีมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าเศรษฐกิจโลก

3.มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ (เพิ่มเติม)

เม็ดเงินสําหรับใช้กระตุ้นเศรษฐกิจเหลือราว 3.7 เเสนล้านบาท คาดว่ารัฐจะมีมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจออกมาต่อเนื่องเพื่อประคองการใช้จ่ายในประเทศ จนกว่าจะเริ่มทยอยเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ 

ระวังรายได้ลด ทำ ‘หนี้ครัวเรือน-หนี้เสีย’ พุ่ง 

ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ กล่าวถึงประเด็นเฉพาะหน้าที่ต้องให้ความสำคัญอย่างหนี้ครัวเรือนที่จะยังค้างอยู่ในระดับสูง คนไทยรายได้ลดลงเเละว่างงานจำนวนมาก ทำให้ต้องเเบกรับหนี้สินเเละมีความเสี่ยงเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น

ประเมินว่า หนี้ครัวเรือนไทยจะเพิ่มขึ้นเข้าหาประมาณ 89.5% ต่อ GDP ณ สิ้นปี 2564 ด้วยกรอบ 89.0-91.0% (เทียบกับ 89.2% ณ ส้ินปี 2563)

ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอีก 1-2 ปีข้างหน้า โดยคาดว่า NPL ปีนี้อยู่ที่ 3.3% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสิ้นปี 2563 ซึ่งอยู่ที่ 3.12%

จากผลสํารวจของ KResearch พบว่า สถานะทางการเงินระดับบุคคลถดถอยมากขึ้นในช่วงหลัง COVID-19 โดย 10.8% ของกลุ่มตัวอย่างมีภาวะการเงินเสี่ยงต่อวิกฤต มีรายได้ลด เเต่ค่าใช้จ่ายไม่ลด มีสัดส่วนภาระหน้ีต่อรายได้มากกว่า 50%”

โดยผู้ตอบเเบบสอบถาม กว่า 38.7% ต้องการความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องและเงินช่วยเหลือ อาทิ คนละครึ่ง เราชนะ ฯลฯ ส่วน 26.2% ต้องการมีรายได้ และการมีงานทำ เเละ 23.9% ต้องการต่ออายุมาตรการช่วยเหลือ ของสถาบันการเงินเพิ่มเติม เเละอีก 11.2% ต้องให้คำแนะนำและความรู้ในการแก้หนี้

ภาครัฐ

  • จัดกลุ่มหนี้และมาตรการดูแลเพิ่มเติมในระหว่างที่ภาวะเศรษฐกิจและรายได้ ยังไม่ฟื้นตัวปกติ
  • การปรับดอกเบี้ยที่ค่อยเป็นค่อยไป
  • การออมภาคบังคับและการให้ความรู้และสร้างวินัยทางการเงิน

ภาคธุรกิจ

  • ความสามารถในการบริโภคสินค้าของลูกค้าเดิมลดลง
  • พฤติกรรมการใช้จ่ายเปลี่ยนไป อาทิ ยอดใช้ต่อครั้งเล็กลง การใช้โปรแกรมผ่อนชาระ เป็นภาวะ New Normal
  • ความจำเป็นในการหาตลาดใหม่และกลุ่มลูกค้าใหม่มีมากขึ้น

สถาบันการเงิน

  • จับตาคุณภาพหนี้ โดย NPLs จะยังเป็นประเด็นติดตามอีก 1-2 ปีข้างหน้า
  • การปล่อยสินเชื่อ โดยประเมินจากความสามารถในการจ่ายชำระหนี้
  • การให้ความรู้และสร้างวินัยทางการเงินกับลูกค้า

 

อ่านเพิ่มเติม : โควิดรอบใหม่ ซัดเศรษฐกิจไทย สูญอย่างน้อย 1.6 เเสนล้าน ท่องเที่ยวซึมยาว สะเทือนจ้างงานหลายล้านคน

 

 

 

 

]]>
1322313
จับตา ‘หนี้ครัวเรือน’ ปี 2564 จ่อทะลุ 91% ต่อจีดี​พี​ คนไทยติดวังวน ‘เเบกหนี้เพิ่ม’ เเต่รายได้ลด https://positioningmag.com/1312956 Tue, 05 Jan 2021 07:07:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312956 ปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงไม่หยุด จะส่งผลอันใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจเเละสังคมในช่วงต่อไป เมื่อหนี้สินเพิ่มพูนเเต่รายได้กลับลดลง ทำให้คนไทยต้องติดอยู่ในวังวนเเบกหนี้ไม่มีวันจบสิ้น

โดยหนี้ครัวเรือนของไทยยังคงอยู่ในระดับสูงและมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทางสัญญาณอ่อนแอของภาวะเศรษฐกิจในช่วงวิกฤต

จากข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน (หนี้ครัวเรือน) ในไตรมาส 3 ปี 2563 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า หนี้ครัวเรือนไทยทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปีครั้งใหม่ที่ 86.6% ต่อจีดีพี (จากระดับ 83.8% ต่อจีดีพีในไตรมาส 2/2563) โดยเฉพาะสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์และบัตรเครดิต

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2564 หนี้ครัวเรือนไทยอาจพุ่งไป 91% ต่อจีดีพี หรืออาจสูงกว่านั้น หากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่หนักกว่าที่ประเมินไว้ เเละฟื้นตัวได้ล่าช้ากว่าเดิม ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปี 2564 จะเติบโตน้อยกว่ากรณีพื้นฐานที่ 2.6%

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีสัญญาณการเร่งตัวขึ้นของการก่อหนี้ก้อนใหม่ในภาคครัวเรือนในไตรมาสที่ 3/2563 โดยเฉพาะหนี้เพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งสินเชื่อบ้านปล่อยใหม่ ยังคงขยับขึ้นอีกประมาณ 1.60 แสนล้านบาท คิดเป็น 88% ของการเพิ่มขึ้นของยอดคงค้างหนี้ครัวเรือน ซึ่งในไตรมาส 3/2563 หนี้ครัวเรือนมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นราว 1.82 แสนล้านบาท มาอยู่ที่ระดับ 13.77 ล้านล้านบาท

ส่วนสัญญาณการก่อหนี้ในส่วนอื่นๆ ทั้งหนี้ก้อนใหญ่ อย่างหนี้เพื่อการประกอบอาชีพและหนี้เช่าซื้อรถยนต์ และหนี้เพื่ออุปโภคบริโภค เช่น บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ก็กลับมาเร่งสูงขึ้นในไตรมาสที่ 3/2563 อีกครั้ง จากที่มีทิศทางชะลอลงในไตรมาส 2/2563 ซึ่งมีการระบาดของ COVID-19 รอบแรก

คนรายได้น้อยไม่ถึง 5 พัน/เดือน เเบกหนี้สูง 84% ต่อรายได้

ผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ทรุดตัวรุนแรงจาก COVID-19 และหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอีกในปี 2563 ได้เพิ่มความเปราะบางทางการเงินให้กับครัวเรือนหลายกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีสถานะทางการเงินที่ค่อนข้างตึงตัวอยู่แล้วก่อนจะเกิดโรคระบาด

เมื่อเจาะลึกลงไปจะพบว่า ภาระหนี้ต่อรายได้ (DSR) โดยเฉลี่ยของครัวเรือนไทยทั้งประเทศอยู่ที่ 27% เเต่ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย หรือมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือนกลับมี DSR อยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยหลายเท่า

โดยเฉพาะครัวเรือนในกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน มีภาระหนี้ต่อรายได้ สูงถึง 84% ขณะที่ครัวเรือนในกลุ่มที่มีรายได้ระหว่าง 5,000-10,000 บาทต่อเดือน มีภาระหนี้ต่อรายได้  40%

สะท้อนให้เห็นว่า ความเปราะบางทางการเงินในภาคครัวเรือนของไทย ปรากฏชัดเจนมากขึ้นตามสัญญาณอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

โดยภาพรวมครัวเรือนทั้งประเทศมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนลดลงในอัตราที่มากกว่าการลดลงของค่าใช้จ่ายต่อเดือน สวนทางกับภาระหนี้ที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ระดับการออมของครัวเรือนไทยอยู่ในสถานการณ์ที่อ่อนแอลง มาตั้งแต่ก่อนวิกฤต COVID-19

โควิดรอบใหม่ต้องมีมาตรการช่วยลูกหนี้

ความเสี่ยงการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อจังหวะการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในปี 2564 และน่าจะมีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของกลุ่มลูกหนี้รายย่อยที่เคยได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน ทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่รวมๆ แล้วมีอยู่ประมาณ 10.68 ล้านบัญชี คิดเป็นภาระหนี้ประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท (ข้อมูลจาก ธปท. ณ เดือน ต.. 2563)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ข้อมูลเบื้องต้นก่อน COVID-19 ระลอกใหม่จะสะท้อนว่าลูกหนี้รายย่อยส่วนใหญ่ของธนาคารพาณิชย์น่าจะสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติหลังหมดมาตรการฯ และลูกหนี้บางส่วนได้รับการช่วยเหลือโดยการปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว

แต่ต้องติดตามสถานการณ์ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปี 2564 อย่างใกล้ชิด เพราะจะมีนัยโดยตรงต่อกระแสรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน

ภาพรวมของหนี้ครัวเรือนที่ทรงตัวสูงต่อเนื่อง เป็นหนึ่งในเครื่องชี้ที่ตอกย้ำปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย และความเปราะบางของฐานะทางการเงินในภาคครัวเรือนที่เป็นโจทย์รอการแก้ไข ต่อเนื่องจากการควบคุมการระบาดของ COVID-19 และการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ 

โดยโจทย์เฉพาะหน้าที่สำคัญกว่า คือ การเตรียมมาตรการช่วยเหลือทางการเงินให้กับลูกหนี้ทั้งธุรกิจและครัวเรือน ให้ผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้ไปให้ได้

 

]]>
1312956
คนไทยหนี้ท่วม! เปิด “หนี้ครัวเรือน” ไตรมาส 2 ทะลุ 83.8% สูงสุดรอบ 18 ปี ห่วงคนตกงานพุ่ง https://positioningmag.com/1299501 Thu, 01 Oct 2020 06:33:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299501 หนี้ครัวเรือนไทยพุ่งต่อเนื่อง สวนเศรษฐกิจซบเซา Q2/63 กระฉูด 83.8% ต่อ GDP แตะระดับสูงสุดรอบ 18 ปี ห่วงคนตกงานพุ่ง ประชาชนขาดรายได้ ฉุดคุณภาพหนี้

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยข้อมูลสถิติ เกี่ยวกับเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน หรือ “หนี้ครัวเรือน” ในไตรมาส 2/2563 พบว่า ปรับตัวมาอยู่ที่ 83.8% ต่อ GDP สูงขึ้นต่อเนื่องจากในไตรมาส 1/2563 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 80.1% ต่อ GDP 

โดยยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น 92,182 ล้านบาท ในไตรมาส 2/2563 มาอยู่ที่ 13,587,996 ล้านบาท นำโดยหนี้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ ที่มีจำนวน 3.84 ล้านล้านบาท และ 5.79 ล้านล้านบาท ตามลำดับ

การที่ระดับหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นสวนทางเศรษฐกิจไทยที่หดตัว เป็นภาพตอกย้ำวังวนของภาระหนี้สูง ซึ่งมาพร้อมกับฐานะทางการเงินของประชาชนและครัวเรือนที่อ่อนแอลงในวงกว้าง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านรายได้และเสี่ยงตกงาน 

Photo : Shutterstock

หนี้ครัวเรือน มีเเนวโน้มพุ่งเเตะ 88-90% ในสิ้นปีนี้ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ต่อกรณีนี้ว่า ทิศทางหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นภาพ 2 ด้านที่แตกต่างกัน เพราะในขณะที่ประชาชนและครัวเรือนบางกลุ่มก่อหนี้เพิ่มขึ้น เช่น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย แต่ก็ยังมีประชาชนและครัวเรือนอีกหลายกลุ่มที่ต้องรับมือกับปัญหาขาดสภาพคล่องและต้องการมาตรการช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน

โดยหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2/2563 สะท้อนสถานการณ์ของกลุ่มลูกหนี้รายย่อย 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มแรก คือ กลุ่มครัวเรือนที่ยังพอมีกำลังซื้อ (รายได้ไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน และยังมีความสามารถในการชำระหนี้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน) มีการก่อหนี้ก้อนใหญ่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัย สะท้อนจากสินเชื่อบ้านปล่อยใหม่ที่เพิ่มขึ้นราว 1.42 แสนล้านบาทในไตรมาสที่ 2/2563 (สูงกว่ายอดปล่อยใหม่ในไตรมาสแรกที่ 1.38 แสนล้านบาท) ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ผลักดันแคมเปญออกมาเพื่อจูงใจการตัดสินใจของลูกค้า

กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มครัวเรือนที่เผชิญปัญหาการขาดสภาพคล่องจากผลกระทบของปัญหาเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งสะท้อนผ่านข้อมูลลูกหนี้รายย่อยที่รับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน โดยเฉพาะมาตรการระยะแรกที่มีการพักชำระหนี้และลดภาระผ่อนต่อเดือน ซึ่งจำนวนบัญชีลูกหนี้รายย่อยที่เข้าโครงการระยะแรกมีถึง 11.5 ล้านบัญชี (33% ของบัญชีลูกหนี้รายย่อยทั้งหมด) คิดเป็นภาระหนี้ประมาณ 3.8 ล้านล้านบาท (28% ของยอดคงค้างหนี้ครัวเรือน) นอกจากนี้ ปัญหาการขาดสภาพคล่องยังทำให้ครัวเรือนบางส่วนจำเป็นต้องก่อหนี้เพิ่มขึ้น เพื่อการดำรงชีพและสำหรับรองรับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันด้วยเช่นกัน

“ปัญหาหนี้ครัวเรือนจะยังเป็นหนึ่งในมาตรวัดที่สะท้อนความเปราะบางเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย โดยหนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มขยับขึ้นมาอยู่ที่กรอบ 88-90% ต่อ GDP ภายในสิ้นปี 2563 จากระดับ 83.8% ต่อจีดีพีในไตรมาส 2/2563” 

คนตกงาน-ขาดรายได้ ฉุดคุณภาพหนี้

จากสถานการณ์เศรษฐกิจไทย ที่มีแนวโน้มหดตัวลงในครึ่งปีหลัง ขณะที่สินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะในกลุ่มสินเชื่อบ้านและสินเชื่อรถยนต์ ที่คาดว่าจะยังเติบโตในกลุ่มครัวเรือนที่มีกำลังซื้อและมีความสามารถในการชำระคืนหนี้ อาจทำให้ระดับหนี้ครัวเรือนยังเติบโตต่อเนื่อง แม้จะเป็นอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เติบโต 5.1% ในปี 2562

“ผลกระทบจากเศรษฐกิจทำให้ความสามารถในการชำระคืนหนี้ของครัวเรือนหลายกลุ่มด้อยลง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง” 

อย่างไรก็ดี มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย (ทั้งมาตรการเฟสสอง และมาตรการรวมหนี้) รวมถึงมาตรการเฉพาะของสถาบันการเงินแต่ละแห่งที่จะดำเนินการเพิ่มเติม และการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ อาจช่วยบรรเทาภาระให้แก่ครัวเรือนในหลายๆ ส่วน ในช่วงที่ยังต้องรอเวลาให้เศรษฐกิจทยอยฟื้นกลับสู่ภาวะปกติ

นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำลง (ทั้งอัตราดอกเบี้ยรายย่อยชั้นดี หรือ MRR ตลอดจนการลดเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ) ยังช่วยให้ภาระทางการเงินของลูกหนี้เบาตัวลงด้วยเช่นกัน แต่ในท้ายที่สุดแล้ว ประเด็นการมีงานทำและรายได้ของครัวเรือนจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดคุณภาพของหนี้ครัวเรือน โดยเฉพาะความสามารถในการชำระหนี้

 

]]>
1299501
มองเศรษฐกิจรอบด้าน เปิดวิเคราะห์ SCB EIC ครัวเรือนไทยรายได้-ใช้จ่ายลดในรอบ 10 ปี หนี้สูง https://positioningmag.com/1261075 Fri, 17 Jan 2020 11:32:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261075 EIC ปรับลด GDP ไทยปีนี้เหลือ 2.7% คาดส่งออกฟื้นเพียงแค่ 0.2% เงินบาทยังเเข็งค่าต่อ มองเจรจาสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ เฟส 2 มีแนวโน้มลงเอยค่อนข้างยาก การลงทุนภาคเอกชนในไทยยังชะลอตามกำลังซื้อ ภาครัฐจะประคับประคองเศรษฐกิจมากขึ้น คาดประมูล 5G กระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนภาคครัวเรือนไทย รายได้-การใช้จ่ายลดลงครั้งเเรกในรอบ 10 ปี หนี้สูง การเงินเปราะบาง

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (Economic Intelligence Center : EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2020 ว่าจะเติบโตที่ 2.7% จากเดิมที่ 2.8% ฟื้นตัวเล็กน้อยจากปี 2019 ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวที่ 2.5% ตามภาคส่งออกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากภาวะการค้าโลกที่น่าจะปรับดีขึ้นบ้าง
เเต่ปัจจัยค่าเงินบาทที่แข็งค่ายังเป็นปัจจัยที่กดดันผู้ส่งออกเเละการท่องเที่ยวไทยอยู่

“เงินบาทที่แข็งค่าสะสมกว่า 24% เมื่อเทียบกับคู่ค้าคู่แข่งในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ยังมีแนวโน้มทรงตัวในระดับแข็งค่าต่อเนื่องจะยังเป็นปัจจัยกดดันต่อรายได้ผู้ส่งออกในรูปเงินบาท และความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าส่งออกไทย

รวมถึงรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติผ่านการใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวที่ชะลอตัวลง แม้จำนวนนักท่องเที่ยวจะยังขยายตัวได้แต่ก็เติบโตในอัตราที่ชะลอลงเช่นกัน

“คาดว่าปีนี้จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยราว 41.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 3.7% เติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงจากปีก่อนที่ขยายตัวได้ 4.3%”

ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ มองว่า การส่งออกไทยในปีนี้ จะเป็นบวกได้เล็กน้อยที่ 0.2% (ปีก่อนติดลบที่ -3.3%) เพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว เเละสหรัฐฯ และจีนสามารถมีข้อตกลงร่วมกันได้ในเฟสแรก ทำให้คลายความกังวลเรื่องสงครามการค้าลงไปได้ แต่การส่งออกที่แม้จะฟื้นตัว เเต่ก็ยังมีข้อจำกัดจากเงินบาทที่ยังแข็งค่าในปีนี้

มองเศรษฐกิจโลก

ประเด็นสงครามการค้า มองว่าการบรรลุข้อตกลงทางการค้าระยะแรกระหว่างสหรัฐฯ และจีน เฟส 1 ที่จะนำไปสู่การยกเลิกและลดภาษีสินค้านำเข้าบางส่วนที่ขึ้นไปก่อนหน้า รวมถึงแนวนโยบายการเงินและการคลังของหลายประเทศทั่วโลกที่มีทิศทางผ่อนคลายเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่แม้จะบรรลุข้อตกลงระยะแรกได้ แต่ต้องติดตมการปฎิบัติตามข้อตกลง รวมทั้งยังมีข้อขัดแย้งพื้นฐานในหลายมิติที่มีแนวโน้มยืดเยื้อและเสี่ยงที่จะกลับมาปะทุได้อีก

EIC คาดว่าภายในปี 2020 ข้อตกลงจะบรรลุได้เพียงเฟส เพราะการเจรจา เฟส 2 มีแนวโน้มลงเอยค่อนข้างยาก เนื่องจากทั้งสองฝ่ายมีจุดยืนในประเด็นโครงสร้าง เศรษฐกิจเชิงลึกของจีนที่ต่างกัน เช่น 1) นโยบายอุตสาหกรรมเป้าหมาย 2) นโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ และ 3) เงื่อนไขการยกเลิกภาษีในช่วงก่อนหน้า

โดยรวมเศรษฐกิจโลกจะส่งสัญญาณดีขึ้นจากกการส่งออกและดัชนี PMI ภาคการผลิตที่เริ่มพ้นจุดต่ำสุดในหลายประเทศ จากอานิสงส์ของการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้า

ขณะที่ผลสำรวจความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกในอีก 12 เดือนข้างหน้าของ McKinsey ที่สอบถามผู้บริหารทั่วโลก 1,881 ราย เห็นว่าความเสี่ยงที่น่าจับตามองที่สุดคือ

อันดับ 1 ความตึงเครียดทางการค้า 65%
อันดับ 2 ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ 54%
อันดับ 3 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้า 35%
อันดับ 4 การประท้วง 20%
อันดับ 5 การเปลี่ยนผ่านผู้นำทางการเมือง 17%

ด้านเศรษฐกิจจีน ในปีนี้คาดว่าโตต่ำกว่า 6% ซึ่งโตต่ำสุดตั้งแต่ปี 1990 จากปัจจัยนโยบายในประเทศเเละสงครามการค้า ขณะที่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Markets : EM) อย่างลาตินอเมริกา แอฟริกา จะเติบโตได้ดี

ในภาพรวม สัดส่วนการค้าโลกที่เผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้าใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่สหรัฐฯ ยังมีการใช้มาตรการทางการค้าสำหรับคู่ค้าอื่นๆ รวมถึงไทยด้วย ทั้งนี้ สินค้าไทยที่โดนตัดสิทธิ GSP คิดเป็น 0.5% ของการส่งออกรวมของไทย โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สุขภัณฑ์ เม็ดพลาสติก อาหาร และเครื่องประดับ

ความตึงเครียดสหรัฐฯ-อิหร่าน หากรุนเเรงเเละขยายวงกว้างมากขึ้นอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ผ่านช่องราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น การผันผวนในตลาดเงิน และความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่จะปรับแย่ลง

“ในปี 2020 EIC คาดว่าน้ำมันเฉลี่ยจะทรงตัวใกล้เคียงกับปีก่อน จากภาวะตลาดที่ค่อนข้างสมดุล แต่มีความเสี่ยงสูงจากประเด็นข้อขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน”

การเงินในไทย : ค่าเงินบาทเเข็งค่า อัตราดอกเบี้ยอยู่ระดับต่ำตลอดปี

ค่าเงินบาท

มีแนวโน้มทรงตัวในระดับแข็งค่าต่อเนื่อง โดยคาดว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ สิ้นปี 2563 จะอยู่ในช่วง 29.50-30.50 บาท/ดอลลาร์ ตามแรงกดดันของดุลบัญชีเดินสะพัดไทยที่ยังจะเกินดุลในระดับสูง

“เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าในปีนี้ ด้วยแรงกดดันต่อเนื่อง อีกทั้งไทยยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูง ประกอบกับเมื่อเวลาเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าเพราะความต้องการดอลลาร์ลดลงนอกจากนี้ยังมีแนวโน้มเงินของทุนไหลเข้าในตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้นด้วย” ยรรยงระบุ

เงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ 0.6% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว

อัตราดอกเบี้ย 

SCBEIC คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะยังใช้นโยบายการเงินในระดับผ่อนคลายต่อเนื่อง เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดย กนง.มีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.25% ตลอดทั้งปี 2563 และอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีก 1 ครั้งหากเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าที่คาด

“เชื่อว่าธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) มองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันน่าจะต่ำเพียงพอแล้ว หากลดดอกเบี้ยลงไปมากกว่านี้ อาจจะกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินต่างๆ แต่ก็ยังมีโอกาสที่ดอกเบี้ยจะลงได้ หากเศรษฐกิจแย่กว่าคาด”

ขณะที่ธนาคารกลางที่สำคัญของโลก อย่างธนาคากลางสหรัฐฯ (FED) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ไว้ แต่ก็พร้อมที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม
หากภาวะเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลงกว่าที่คาดไว้

 

อุปสงค์ในประเทศของภาคเอกชน

มีแนวโน้มขยายตัวได้แต่ในอัตราที่ชะลอลง โดยแม้ว่าภาคส่งออกจะมีโอกาสฟื้นตัว แต่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังมีทิศทางชะลอตัวต่อเนื่องตามหลายปัจจัยกดดัน ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของการจ้างงานโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดต่าต่อเนื่อง รายได้นอกภาคเกษตรที่เริ่มหดตัว

ส่วนรายได้ภาคเกษตรก็มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง รวมถึงหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ล้วนส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของครัวเรือนโดยเฉพาะในหมวดสินค้าคงทนในระยะต่อไป

“กรมอุตุฯ พยากรณ์ปริมาณฝนใน Q1 ลดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต ซึ่งภัยเเล้งปีนี้จะกระทบเกษตรภาคกลางมากที่สุด คาดการณ์ผลผลิตรายสินค้าในปี 2020 ว่าอ้อยจะ -16% เเละข้าวเปลือก -10% ” 

การลงทุนภาคเอกชน

นอกจากจะมีแนวโน้มชะลอลงตามกาลังซื้อในประเทศแล้วอัตราการใช้กาลังการผลิต (CapU) ที่อยู่ในระดับต่ำและระดับสินค้าคงคลัง (inventory) ภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับสูง ก็จะส่งผลต่อการชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชนในระยะข้างหน้า นอกจากนี้ ยอดขายรถยนต์เพื่อการบริโภคและการพาณิชย์ที่มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง
รวมถึงการก่อสร้างภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV ในช่วงก่อนหน้าก็จะเป็นอีกปัจจัยกดดันภาคอุปสงค์ในประเทศในระยะต่อไป

ภาครัฐจะมีบทบาทประคองเศรษฐกิจปี 2020 มากขึ้น

โดยจะมีส่วนในรูปแบบการกระตุ้นเศรษฐกิจและดูแลกลุ่มเปราะบางระยะสั้น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการกำหนดแนวนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน (Enabler) โดยเฉพาะการเปิดประมูลโครงการ 5G ที่จะผลักดันให้เกิดการลงทุนภาคโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ประกอบกับการจัดทางบประมาณที่ล่าช้าจากเมื่อปลายปี 2019 จึงทำให้หลายโครงการมีการเลื่อนเบิกจ่ายมาในปี 2020

“การประมูล 5G ในเดือนหน้าคาดว่าจะทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาประมาณ 93,000 ล้านบาท รวม 4 ปี น่าจะได้ประมาณ 4 แสนล้านบาท ซึ่งจะเป็นเม็ดเงินที่เข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้” 

ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยปีนี้

มี 3 ปัจจัยหลัก ได้เเก่

  • ความไม่แน่นอนของสงครามการค้า ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ และความเปราะบางทางการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจ ด้านสงครามการค้า แม้ล่าสุดจะมีข้อตกลงการค้าระยะแรกระหว่างสหรัฐฯ และจีน แต่นโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอนสูงและอาจกระทบต่อการค้าโลกได้ อาทิ การเจรจากับจีนในระยะต่อไป การตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรป และการพิจารณาของสหรัฐฯ ในการตัดสิทธิ GSP ของหลายประเทศ
  • ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risks) โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและสหรัฐฯ
    การประท้วงที่ยืดเยื้อในฮ่องกง และประเด็น Brexit ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัว
    ของเศรษฐกิจโลก
  • ความเปราะบางทางการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีหนี้ในระดับสูงและการสร้างรายได้ถูกกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี (Technology Disruption) และการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น

ครัวเรือนไทย : รายได้ – การใช้จ่ายลดลงครั้งเเรกในรอบ 10 ปี หนี้สูง การเงินเปราะบาง

ครัวเรือนไทยลดการใช้จ่ายลง ในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 ครัวเรือนไทยใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 21,236 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือนลดลง -0.9% จาก 21,437 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือนในปี 2017 ถือเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 10 ปี สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง

ทั้งนี้การลดลงของการใช้จ่ายยังอาจมีสาเหตุมาจากความกังวลเรื่องความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น รวมถึงภาระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

ครัวเรือนไทยเป็นหนี้มากขึ้น ภาระหนี้ต่อรายได้แตะระดับสูงสุด

ครัวเรือนไทยมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาเฉพาะครัวเรือนที่มีหนี้ (46.3% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด) พบว่า ภาระหนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 353,210 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 มาอยู่ที่ 362,373 บาทต่อครัวเรือนในครึ่งแรกของปี 2019 หรือเพิ่มขึ้น2.6% ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ (หารเฉพาะครัวเรือนที่มีหนี้) เพิ่มขึ้นจาก 96.1% มาเป็น 97.7% จากการที่หนี้ยังเติบโตสูงกว่ารายได้

ทั้งนี้สัดส่วนหนี้ในปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2015 และถือเป็นระดับที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ต่างจากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่มีการลดลง (deleverage) ในช่วงปี 2015 ถึงปี 2017 แล้วจึงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงหลังจากนั้น

สาเหตุหลักเป็นเพราะในช่วงดังกล่าวสัดส่วนรายได้ครัวเรือนต่อ GDP ลดลง ขณะที่สัดส่วนของกำไรภาคธุรกิจ (ซึ่งส่วนมากน่าจะมาจากกำไรของธุรกิจขนาดใหญ่) ต่อ GDP เพิ่มสูงขึ้น

ครัวเรือนไทยก่อหนี้เพิ่มในด้านที่อยู่อาศัย การบริโภค และการเกษตร แต่ลดการก่อหนี้ธุรกิจนอกภาคเกษตรลง เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในด้านการก่อหนี้ในครึ่งแรกปี 2019 เทียบกับปี 2017 พบว่า

การก่อหนี้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ของครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จาก 128,287 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 มาอยู่ที่ 135,312 บาท ต่อครัวเรือนในช่วงเเรกของปี 2019 หรือเพิ่มขึ้น 5.5% ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ที่อยู่อาศัยต่อหนี้ครัวเรือนทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก36.3% มาเป็น 37.3% ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009

หนี้เพื่อการบริโภคเพิ่ม ในส่วนของหนี้เพื่อการบริโภค (รวมหนี้รถยนต์) ซึ่งเป็นหนี้ที่มีสัดส่วนสูงที่สุดของครัวเรือนในปัจจุบันเพิ่มขึ้นจาก 137,678 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 มาอยู่ที่ 139,904 บาทต่อครัวเรือนในครึ่งแรกของปี 2019 คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 1.0% สำหรับหนี้เพื่อการบริโภคนี้ถือเป็นหนี้ที่เติบโตเร็วที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
โดยเติบโตเฉลี่ย 7.0% ต่อปี ขณะที่หนี้ส่วนอื่น ๆ เติบโตเฉลี่ยเพียง 3.7% ต่อปี ทำให้หนี้เพื่อการบริโภค
มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 30.8% ในปี 2009 มาเป็นที่ 38.4% ในปัจจุบัน (2019)

การก่อหนี้เพื่อทำกิจการเกษตร ยังคงเพิ่มขึ้น จาก 49,273 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 มาอยู่ที่
51,574 บาทต่อครัวเรือนคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 4.7% ทั้ง ๆ ที่กำไรจากกิจการการเกษตรลดลงในช่วงเดียวกัน คาดว่าสาเหตุน่าจะมาจากการก่อหนี้เพื่อ ประคับประคองธุรกิจและค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในช่วงที่ต้องเผชิญปัจจัยลบ รวมถึงอาจมีผลส่วนหนึ่งมาจากมาตรการภาครัฐในการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกรต่อเนื่อง

ในทางกลับกัน การก่อหนี้เพื่อทำธุรกิจนอกภาคเกษตรลดลง จาก 30,120 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 ลดลงมาอยู่ที่ 29,478 บาทต่อครัวเรือนในปัจจุบัน คิดเป็นการลดลง -2.1% สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของกำไรกิจการนอกภาคเกษตร

ทั้งนี้ หนี้ในส่วนนี้มีสัดส่วนมีแนวโน้มลดลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยเคยมีสัดส่วนสูงถึง 16.3% ในปี 2009 ลดลงมาเหลือเพียง 8.1% ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมาจากการที่จนวนครัวเรือนที่ทำกิจการ นอกภาคเกษตรลดลงจาก 30.5% ในปี 2009 มาอยู่ที่ 25.2% ในปัจจุบัน อีกทั้งในบรรดาครัวเรือนที่ทำธุรกิจนอกภาคเกษตร สัดส่วนครัวเรือนที่กู้ก็ลดน้อยลงเช่นกันจาก 14.2% ในปี 2009 มาอยู่ที่ 10.0% ในปัจจุบัน

ดาวน์โหลด Outlook ไตรมาส 1/2020 ฉบับเต็ม ได้ที่ : SCB EIC 

]]>
1261075