หุ้น IPO – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 28 Nov 2023 09:26:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Shein ยื่นไฟลิ่งขอ IPO ในสหรัฐอเมริกาแล้ว คาดมูลค่าบริษัทอาจสูงถึง 2.3 ล้านล้านบาท https://positioningmag.com/1453720 Tue, 28 Nov 2023 09:11:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453720 Shein แบรนด์เสื้อผ้า Fast Fashion จากประเทศจีนได้แจ้งว่าบริษัทได้ยื่นไฟลิ่งเพื่อขอเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาแบบลับ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยคาดว่ามูลค่าบริษัทล่าสุดจะสูงถึง 2.3 ล้านล้านบาท

Shein แบรนด์เสื้อผ้าจากจีนได้ประกาศว่าได้ยื่นไฟลิ่งเพื่อที่จะขอเข้าระดมทุน (IPO) ในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากสื่อในประเทศจีนอย่าง Shanghai Securities Journal รวมถึงสื่อต่างประเทศอย่าง Reuters และ CNBC รายงานข่าวดังกล่าว

ทาง CNBC ได้อ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ว่า ถ้าหากไฟลิ่งของ Shein ได้รับไฟเขียวจาก ก.ล.ต. ของสหรัฐอเมริกาเป็นที่เรียบร้อย หลังจากนี้จะมีการระดมทุนต่อ โดยคาดว่าระยะเวลาจะอยู่ภายในปี 2024 และบริษัทได้ที่ปรึกษาทางการเงินหลายแห่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา Shein มีแผนที่จะ IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ มาแล้ว แต่ได้เลื่อนออกไปเนื่องจากสภาวะตลาด

สำหรับ Shein นั้นก่อตั้งโดย Chris Xu ในปี 2012 ปัจจุบันธุรกิจฟาสต์แฟชั่นจากประเทศจีนรายนี้คาดว่ามีมูลค่าสูงมากถึง 66,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 2.3 ล้านล้านบาท โดยธุรกิจนั้นเน้นขายเสื้อผ้า Fast Fashion เน้นราคาถูก ซึ่งสามารถเจาะตลาดในหลายประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกาได้

ในเดือนเมษายนปี 2022 ที่ผ่านมา บริษัทได้รับเงินลงทุนก้อนใหญ่มากถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และทำให้มูลค่าของบริษัทพุ่งทะยานไปถึง 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนที่มูลค่าบริษัทจะลดลงตามสภาวะตลาดและเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่สดใสมากนัก

ขณะที่ผลการดำเนินงานในปี 2022 ที่ผ่านมานั้นบริษัทมีรายได้ 22,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมากกว่ารายได้ของแบรนด์ Fast Fashion ในยุโรปอย่าง H&M รวมถึง Inditex ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของแบรนด์ดังอย่าง Zara รวมกันด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ดีแบรนด์จากจีนรายดังกล่าวยังมีข้อกล่าวหาที่ว่าละเมิดลิขสิทธิ์แบรนด์อื่นๆ หรือแม้แต่แต่การใช้ฝ้ายจากแรงงานชาวอุยกูร์ซึ่งท้ายที่สุดบริษัทได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวทั้งหมด

การเข้ามาระดมทุนในสหรัฐอเมริกานั้นถือว่าท้าทายไม่น้อย เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาปริมาณการ IPO ในตลาดสหรัฐฯ ลดลง และยังรวมถึงผลตอบแทนของหุ้นที่เข้าตลาดนั้นสร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุน ขณะเดียวกันก็ยังวัดใจว่าหน่วยงานกำกับดูแลทั้งในจีนหรือสหรัฐฯ​ จะไฟเขียวให้บริษัทจีนรายนี้เข้าระดมทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ หรือไม่ เนื่องจากความขัดแย้งของทั้ง 2 ประเทศ

ที่มา – Reuters, CNBC

]]>
1453720
“เบทาโกร” เปิดขายหุ้น IPO เคาะราคา 40 บาท ระดมทุน 2 หมื่นล้าน หุ้นอาหารที่ใหญ่ที่สุดของไทย https://positioningmag.com/1403364 Wed, 05 Oct 2022 09:25:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1403364 “เบทาโกร” (BTG) เตรียมเปิดจองซื้อหุ้น IPO วันที่ 10-17 ตุลาคมนี้ จำนวน 500 ล้านหุ้น เคาะราคาที่ 40 บาทต่อหุ้น มูลค่าการระดมทุน 20,000 ล้านบาท ขึ้นแท่นหุ้น IPO หมวดอุตสาหกรรมอาหารที่ใหญ่ที่สุดของไทย วัตถุประสงค์ระดมทุนเพื่อขยายฟาร์มและโรงงานใหม่

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) หรือ “BTG” เตรียมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 500 ล้านหุ้น (รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) พร้อมกำหนดราคาเสนอขายที่ 40.00 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่าการเสนอขายรวมไม่เกิน 20,000 ล้านบาท (รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน)

หากมีการจองซื้อเต็มจำนวน จะนับเป็น IPO ของหุ้นในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่มีมูลค่าเสนอขายสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดทุนไทย และเป็นหุ้น IPO ครั้งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปีนี้

โดยขณะนี้มีนักลงทุนสถาบันจำนวนรวม 25 ราย ลงนามในสัญญาลงทุนในหุ้น BTG เพื่อเป็น Cornerstone Investors คิดเป็นประมาณ 77.1% ของจำนวนหุ้นที่เสนอขายให้แก่นักลงทุนสถาบันในเบื้องต้น (ไม่รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน)

สำหรับนักลงทุนที่เป็นลูกค้าของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์สามารถจองซื้อหุ้นได้ในระหว่างวันที่ 10 – 12 และ 17 ตุลาคม 2565 และคาดว่าหุ้น BTG จะสามารถเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันแรก วันที่ 2 พฤศจิกายนนี้

จุดประสงค์ของการระดมทุนของเบทาโกรนั้น จะนำไปเป็นทุนในการขยายฟาร์มและโรงงานแห่งใหม่ ไม่ว่าจะด้วยการเข้าซื้อกิจการหรือก่อสร้างใหม่ คาดว่าจะมีการใช้เงินลงทุนในส่วนนี้ประมาณ 5,000 ล้านบาทต่อปี ไปจนถึงปี 2569 ส่วนจุดประสงค์การใช้เงินระดมทุนอื่นๆ จะนำไปชำระหนี้สินของบริษัทและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน

 

มีครบต้นน้ำถึงปลายน้ำ

“วสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงพื้นฐานธุรกิจของ BTG ว่า บริษัทก่อตั้งมายาวนาน 55 ปี ปัจจุบันทำธุรกิจเกษตรและอาหารตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำ โดยมีการจำหน่ายทั้งในไทยและส่งออกไปต่างประเทศรวม 20 ประเทศ เช่น อังกฤษ สหภาพยุโรป จีน แคนาดา ฯลฯ

ธุรกิจของเบทาโกรแบ่งได้เป็น 4 ส่วนสำคัญ คือ

1.ธุรกิจกลุ่มอาหารและโปรตีน ได้แก่ เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ ปลา ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป และผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือก (สัดส่วน 68% ของรายได้รวม)

2.ธุรกิจเกษตร ได้แก่ อาหารสัตว์ เวชภัณฑ์สัตว์ อุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ และบริการแล็บ (สัดส่วน 25% ของรายได้รวม)

3.ธุรกิจต่างประเทศ หมายถึง การเข้าลงทุนตลอดซัพพลายเชนในต่างประเทศ ปัจจุบันมีการลงทุนแล้วในลาว กัมพูชา และเมียนมา (สัดส่วน 5% ของรายได้รวม)

4.ธุรกิจสัตว์เลี้ยง ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง ขนมขบเคี้ยวสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์ดูแลสัตว์เลี้ยง (สัดส่วน 2% ของรายได้รวม)

ช่วงครึ่งปีแรก 2565 บริษัททำรายได้รวม 53,285 ล้านบาท เติบโต 24.9% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน และทำกำไรสุทธิ 3,893 ล้านบาท เติบโต 233.1% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ รายได้ของเบทาโกรย้อนหลัง 3 ปี (2562-64) มีการเติบโตเฉลี่ยปีละ 7.3%

 

ทิศทาง “เบทาโกร” สร้างแบรนด์ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น

“เราเข้าใจความผันผวนของอุตสาหกรรมนี้เพราะเราอยู่มา 55 ปี สิ่งที่เราจะเอาชนะความผันผวนได้ คือ เรามีการสร้างแบรนด์เพื่อทำให้ความผันผวนของราคาลดลง เราเน้นการขายเนื้อสัตว์ที่แปรรูปแล้วมากกว่าการขายสัตว์เป็น” วสิษฐกล่าว เมื่อถูกถามถึงการถูกมองว่าเบทาโกรจะเป็นหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีความผันผวนสูงหรือไม่

การปั้นแบรนด์เองของเบทาโกรเกิดขึ้นมากว่า 15 ปี และทำให้บริษัทมีความแข็งแรงในตลาดมากกว่าเดิมที่ยังไม่มีแบรนด์ โดยเบทาโกรมีแบรนด์สินค้าทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเกษตร ธุรกิจอาหารและโปรตีน และธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง และมีการจัดแบรนด์ครอบคลุมเซกเมนต์ตั้งแต่ระดับพรีเมียม ระดับมาตรฐาน และระดับคุ้มค่า

IPO เบทาโกร

ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจอาหารและโปรตีน จะมีแบรนด์ S-Pure และ ITOHAM อยู่ในกลุ่มพรีเมียม ส่วนแบรนด์ Betagro จะอยู่ในตลาดมาตรฐาน ขณะที่แบรนด์ เช่น บี-วัน จะเป็นตลาดคุ้มค่า

นอกจากการปั้นแบรนด์ให้แข็งแกร่งทั้งในไทยและต่างประเทศแล้ว วสิษฐยังกล่าวถึงธุรกิจที่จะเป็น New S-Curve ในอนาคต ได้แก่ การเปิดแบรนด์อาหารโปรตีนทางเลือก “Meatly” และการร่วมทุนกับ Kerry สร้างธุรกิจจัดส่งสินค้าที่ต้องแช่เย็น “Kerry Cool” ซึ่งถือเป็นการเติมแวลูเชนของบริษัท

อนาคตที่เบทาโกรกำลังศึกษาเพิ่มเติมของธุรกิจใหม่ คือการหาทางเข้าสู่ตลาดอาหารที่สามารถเก็บได้เป็นระยะเวลานานโดยไม่ต้องแช่เย็น มีอายุยาวนาน ซึ่งจะทำให้ส่งออกต่างประเทศได้ง่ายขึ้นด้วย (ปัจจุบันอาหารของเบทาโกรเป็นอาหารแช่เย็นและแช่แข็ง)

ส่วนทิศทางในระยะยาว ปัจจุบันตลาดโลกมองถึงอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ว่าเป็นตัวการการปล่อยคาร์บอน ซึ่งเบทาโกรไม่ได้นิ่งนอนใจ มีการศึกษาและออกผลิตภัณฑ์ Plant-based แล้วดังกล่าว อย่างไรก็ตาม วสิษฐเชื่อว่า โปรตีนทางเลือกจะไม่ได้มา ‘ดิสรัปต์’ กลุ่มโปรตีนดั้งเดิมได้ทั้งหมด เชื่อว่าอนาคตอาหารก็จะยังต้องรับประทานหมู ไก่ ไข่ ปลากันเป็นหลักเช่นเดิม

]]>
1403364
มองตลาด IPO ในอาเซียนยัง ‘ร้อนเเรง’ จับตาครึ่งปีหลัง ‘หุ้นไทย’ มีแนวโน้มทำสถิติสูงสุด https://positioningmag.com/1337449 Thu, 17 Jun 2021 05:13:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337449 นักวิเคราะห์จาก Dealogic ประเมินตลาด IPO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงร้อนเเรงจับตาครึ่งปีหลัง หุ้นไทยโดดเด่นมีแนวโน้มทำสถิติสูงสุดในปีนี้

Ken Fong หัวหน้าฝ่ายวิจัยตลาดทุนหุ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Dealogic ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNBC ว่า ในปีนี้จำนวนการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก (IPO) ในตลาดหุ้นไทย มีแนวโน้มจะทำสถิติสูงสุด เมื่อเทียบกับตลาดอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประเทศไทยกำลังไปได้สวย และยังคงมีแนวโน้มที่ดีต่อจากปีที่แล้ว

จากข้อมูลของ Dealogic ระบุว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2021 มูลค่าดีล IPO ในตลาดหุ้นไทย อยู่ที่ 2.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เเละยังไม่มีทีท่าว่าจะอ่อนแรงลง ทำให้คาดการณ์ว่า IPO ในตลาดหุ้นไทยจะทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ได้ในปีนี้

ตามปกติเเล้ว ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีรายชื่อบริษัทที่เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ราว 30 รายต่อปี ส่วนใหญ่จะเลือกเข้าจดทะเบียนและซื้อขายในช่วงครึ่งปีหลัง

ประมาณ 70-80% ของการทำ IPO มักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 4 และ ไตรมาส 3 ของทุกปี” 

โดยหุ้น IPO ในประเทศไทย นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน มีการเข้าจดทะเบียนแล้ว 14 ราย คิดเป็นครึ่งหนึ่งของข้อมูลเชิงสถิติรายปี ซึ่งมีเม็ดเงินจากการทำ IPO สูงกว่าค่าเฉลี่ยของแต่ละปีที่ 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐไปเรียบร้อยแล้ว

Fong มองว่า เเม้ผลกระทบจากวิกฤตโรคระบาด จะส่งผลต่อตลาดหุ้นหลายแห่ง แต่ไม่ได้สร้างความเสียหายต่อตลาด IPO มากนัก

สำหรับตลาด IPO ของประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็เป็นที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะตลาดฟิลิปปินส์ที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง เมื่อบริษัท ‘Monde Nissin’ ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ของประเทศนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาด ขณะที่ตลาดหุ้น IPO ในมาเลเซียและสิงคโปร์ อยู่ในภาวะค่อนข้างเงียบเหงา

Fong กล่าวเสริมถึงประเด็นที่น่าสนใจอย่าง ‘Very high one-day pop’ หรือหุ้น IPO ที่เป็นที่นิยมแค่วันเดียว คือเเม้ตลาดหุ้นในอาเซียนจะมีทิศทางที่ดี เเต่มักจะได้รับความสนใจเเค่วันที่เข้าซื้อขายวันเเรก

ยกตัวอย่างหุ้น IPO ในไทย เช่น หุ้นของบมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก หรือ OR ที่เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย ไปเมื่อเดือนก..ที่ผ่านมา โดยมีราคาซื้อขายวันแรกเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 62.5% และหุ้นของ บมจ.เงินติดล้อ หรือ TIDLOR ที่ราคาซื้อขายก็เพิ่มขึ้นประมาณ 25% จากราคา IPO ในวันเปิดตัว

โดยทั้ง 2 บริษัทดังกล่าว ติด 1 ใน 3 ของบริษัทจดทะเบียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมูลค่าเกิน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เขายืนยันว่า ช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ ตลาดหุ้น IPO ในอาเซียนจะยังร้อนแรงต่อเนื่อง เเละการเสนอขายหุ้นขนาดใหญ่เหล่านี้ ก็มีส่วนช่วยกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ ก้าวเข้ามาสู่ตลาด IPO ได้มากขึ้นเช่นกัน

 

ที่มา : CNBC , SET 

 

]]>
1337449
OR เข้าเทรด ‘วันแรก’ ราคาเปิดตลาด 26.50 บาทต่อหุ้น เหนือจอง 47.22% ปิดตลาดพุ่ง 29.25 บาท https://positioningmag.com/1318980 Thu, 11 Feb 2021 03:34:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318980 วันนี้ (11 ก.พ.2564) บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ‘วันแรก’ จากราคาที่เสนอขายให้ประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ที่ 18 บาทต่อหุ้น ซึ่งการจัดสรรหุ้น IPO ให้ผู้ลงทุนทั่วไปจองซื้อเข้ามามีสูงถึง 5.3 แสนรายการ และได้รับการจัดสรรต่อรายสูงสุดไม่เกินคนละ 4,500 หุ้นนั้น

ราคาซื้อขายเปิดตลาดครั้งเเรกเเรก พบว่า ราคาเปิดตลาดที่ 26.50 บาทต่อหุ้น สูงกว่าราคาจอง 8.50 บาท หรือเพิ่มขึ้น 47.22% และมีราคาปิดตลาดที่ 29.25 บาท สูงกว่าราคาจอง 11.25 บาท หรือเพิ่มขึ้น 62.50% สวนทางหุ้นไทยวันนี้ ปิดตลาดบ่ายร่วง 8.59 จุด

โดยราคาสูงสุดของวันที่อยู่ที่ 29.50 บาท ราคาต่ำสุด 22.10 บาท ราคาเฉลี่ย 26.04 บาท ปริมาณซื้อขาย 1,818,768,462 หุ้น มีมูลค่าซื้อขาย 47,360,571.72 บาท ผลักดันให้ OR มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) อยู่ที่ 339,592.50 ล้านบาท ติดอันดับ 11 บริษัทมูลค่าสูงสุดในประเทศไทย

ก่อนหน้านี้ บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่าราคาที่เหมาะสมจะอยู่ที่ราว 24 บาท ส่วน บล.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ คาดว่าราคาจะอยู่ระหว่าง 19.30-23.10 บาท

OR ประกอบธุรกิจน้ำมัน กลุ่มธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ (Non-Oil) รวมถึงกลุ่มธุรกิจต่างประเทศ มีปั๊มน้ำมันเเบรนด์ดังอย่าง PTT Station เเละร้านกาแฟ Café Amazon , Texas Chicken เเละอีกมากมาย

OR ขายหุ้น IPO ให้กับประชาชนทั่วไปครั้งแรก จำนวน 2,610 ล้านหุ้น รวมกรีนชูอีก 390 ล้านหุ้น เป็น 3,000 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 18 บาท โดยจัดสรรให้รายย่อย 1,036.94 ล้านหุ้น นักลงทุนสถาบันที่จองซื้อในประเทศไทย 1,213.05 ล้านหุ้น นักลงทุนสถาบันที่จองซื้อในต่างประเทศอีก 450 ล้านหุ้น และผู้ถือหุ้นเดิม ปตท. อีก 300 ล้านหุ้น

ด้านแผนการดำเนินงานของ OR บริษัทตั้งงบลงทุน 5 ปีข้างหน้า (2564-2568) ไว้ที่ 74,600 ล้านบาท เพื่อขยายการลงทุนใน 3 ธุรกิจหลัก แบ่งเป็นลงทุนในธุรกิจน้ำมัน 34.6% ธุรกิจค้าปลีกและบริการอื่นๆ (Non-Oil) 28.6% ธุรกิจต่างประเทศ 21.8% และธุรกิจอื่นๆ รวมถึงจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าอีก 15% เพื่อเป็นการเปิดโอกาสในธุรกิจใหม่

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : 7 ข้อ ทำความเข้าใจ ‘หุ้น OR’ ไขข้อสงสัย ‘ไม่มีพอร์ตหุ้น’ ก็ลงทุนได้

 

]]>
1318980
อ่าน 7 ข้อ ทำความเข้าใจ ‘หุ้น OR’ ไขข้อสงสัย ‘ไม่มีพอร์ตหุ้น’ ก็ลงทุนได้ https://positioningmag.com/1315923 Fri, 22 Jan 2021 12:51:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315923 ข่าวใหญ่ในวงการหุ้นไทยที่ได้รับความสนใจ คึกคักมาตั้งเเต่ต้นปี 2021 หลังบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ ‘OR’ (โออาร์) เตรียมเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ในช่วงราคา 16-18 บาทต่อหุ้น

โดย OR นับเป็นหุ้น IPO ขนาดใหญ่ เป็นกิจการในเครือยักษ์พลังงานอย่าง ปตท. ที่คนไทยรู้จักกันดีผ่านการใช้บริการสถานีบริการน้ำมันที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ รวมถึงธุรกิจร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ ร้านนกาเเฟที่มีเเบรนด์ติดตลาดอย่าง ‘Café Amazon’

ความน่าสนใจในการเปิดจองซื้อ หุ้น PTTOR’ ในครั้งนี้ คือการเปิดให้คนทั่วไปเข้าซื้อได้ในจำนวน 300 หุ้นต่อคน จัดสรรด้วยวิธี Small Lot First เปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับการกระจายหุ้นอย่างทั่วถึง ได้ทั้งคนที่มีพอร์ตหุ้นอยู่เเล้ว เเละแม้ ไม่มีพอร์ตหุ้นก็ซื้อได้

เเต่ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาธุรกิจนั้นๆ ให้รอบคอบ วันนี้ Positioning รวบรวมขอสรุปพื้นฐานธุรกิจ ความท้าทาย กลยุทธ์การเติบโต เเผนลงทุนในอีก 5 ข้างหน้า เเละรายละเอียดในการจองซื้อหุ้นของ ‘OR’ ไว้ดังนี้

ส่องธุรกิจ OR

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR แยกออกมาจากบริษัทเเม่อย่าง ปตทมาตั้งเเต่ปี 2561 ประกอบธุรกิจตามเเนวคิด ‘Retailing Beyond Fuel’ ผสมผสานระหว่างธุรกิจน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ (Non-Oil) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ประกอบด้วย การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ตลาดค้าปลีกและตลาดพาณิชย์ธุรกิจร้านกาแฟ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อและการบริหารจัดการพื้นที่เช่า ฯลฯ

มีแบรนด์สถานีบริการน้ำมัน ติดตลาดอย่าง “PTT Station” ที่มีสาขา 1,968 แห่งในประเทศไทย และ 329 แห่งในต่างประเทศ ครองเบอร์หนึ่งมาร์เก็ตเเชร์ผู้ค้าน้ำมันในไทยที่ 38.9%

  • แบรนด์ร้านกาแฟ Café Amazon ที่มีจำนวน 3,168 ร้านในประเทศไทย และ 272 ร้านในต่างประเทศ
  • ศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto จำนวน 56 แห่งในประเทศไทย และ 4 แห่งในต่างประเทศ
  • ร้านสะดวกซื้อภายใต้แบรนด์ 7-Eleven ในสถานีบริการ และแบรนด์ Jiffy จำนวนรวมกัน 1,960 ร้านในประเทศไทย และ 86 ร้านในต่างประเทศ อย่างฟิลิปปินส์กัมพูชา และเมียนมา ฯลฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563)
Photo : Shutterstock

รายได้และกำไรของ OR

ปี 2560 รายได้ 543,275 ล้านบาท กำไร 9,768 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 592,072 ล้านบาท กำไร 7,851 ล้านบาท

ปี 2562 รายได้ 577,134 ล้านบาท กำไร 10,895 ล้านบาท

ปี 2563 (..-..) รายได้ 319,308 ล้านบาท กำไร 5,868.5 ล้านบาท

หากมองอัตรากำไรสุทธิปี 2560-2562 จะอยู่ที่ 2.3% 1.6% และ 1.9% ตามลำดับ ส่วนงวด 9 เดือนแรกของปีนี้มีอัตรากำไรสุทธิ 1.8%

ด้านสัดส่วนรายได้ เเบ่งเป็น ธุรกิจน้ำมัน 91.38% ธุรกิจค้าปลีกและบริการอื่นๆ 3.66% สัดส่วน EBITDA เเบ่งเป็น ธุรกิจน้ำมัน 68.67% ธุรกิจค้าปลีกและบริการอื่นๆ 25.04%

กางเเผนลงทุน 5 ปี 

หลังการระดมทุน IPO บริษัทมีแผนการลงทุนใน 5 ปีข้างหน้า (2564-2568) ตั้งงบไว้ราว 74,600 ล้านบาท ทั้งการขยายปั้มน้ำมัน เพิ่มสาขา Café Amazon ตั้งโรงงานเบเกอรีโรงงานผงผสมเครื่องดื่มศูนย์กระจายสินค้า ลุยธุรกิจ EV รองรับเทรนด์รถยนตืไฟฟ้า พร้อมร่วมทุนเเละเข้าซื้อกิจการธุรกิจใหม่ๆ

สำหรับแผนใช้เงินลงทุนทั้งหมด 74,600 ล้านบาท เเบ่งเป็น สัดส่วน 34.6% หรือราว 25,811.6 ล้านบาท จะลงทุนในกลุ่มธุรกิจน้ำมัน เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างเเละต่อยอดธุรกิจอื่นให้เติบโตไปด้วย รวมถึงเป็นการรักษาความเป็น ‘เบอร์หนึ่ง’ ในตลาดการเเข่งขันไทย

ธุรกิจน้ำมัน วางเป้าในปี 2568 สถานีบริการน้ำมัน PTT เป็น 3,100 แห่ง จากปัจจุบัน 1,968 แห่ง โดยใช้กลยุทธ์ ‘ลงทุนต่ำ’ ด้วยการให้ดีลเลอร์ที่ต้องการขยายสถานีบริการ เป็นผู้ลงทุนหลักสัดส่วน 80% และ OR ลงทุน 20% ภายใต้การกำกับดูแลตามมาตรฐานของบริษัท

ptt station ปั๊มปตท.

ต่อมาจะลงทุน สัดส่วน 28.6% หรือราว 21,335.6 ล้านบาท ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและบริการ Non-Oil เพราะเป็นธุรกิจที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าการจำหน่ายน้ำมัน

ธุรกิจ Non-Oil วางเป้าปี 2568 ขยายสาขาร้านกาแฟ Café Amazon เพิ่มเป็น 5,800 สาขา จากปัจจุบันมี 3,168 สาขา รวมทั้งขยายฐานรายได้และขีดความสามารถการทำกำไรจากธุรกิจ Non oil ด้วยการเพิ่มความหลากหลายของบริการอาหารและเครื่องดื่มในปั๊ม โดยเฉพาะการซื้อแบรนด์ใหม่มาเพิ่มพร้อมกับขยายร้านเดิมที่มีอยู่

รวมถึงสร้างโรงงานเบเกอรี่ โรงงานผงผสมเครื่องดื่ม และศูนย์กระจายสินค้าอัตโนมัติ และขยายร้านไก่ทอด Texas Chicken ให้ได้อีก 20 สาขาต่อปี

ด้าน ลงทุนในต่างประเทศ เเบ่งเป็น สัดส่วน 21.8% หรือราว 16,262.8 ล้านบาท จะเน้นขยายลงทุนกลุ่มอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์กัมพูชาสปป.ลาว โดยการเพิ่มสถานีบริการน้ำมันอีก 350 แห่ง และร้าน Café Amazon อีก 310 แห่ง พร้อมรุกตลาด LPG ควบคู่ไปกับการสร้างคลังปิโตรเลียม ขยายธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น PTT Lubricants

หลังจากเปลี่ยนรูปแบบลงทุนมาเป็นแฟรนไชส์ทำให้ Café Amazon ยายสาขาได้เร็ว โดยในเวียดนามร่วมทุนกับกลุ่มเซ็นทรัล ขยายสาขาทำเลหลัก ปัจจุบันมีขยายธุรกิจไปต่างประเทศ 10 ประเทศแล้ว หากนับ Café Amazon ในแง่จำนวนสาขาจะอยู่ที่อันดับ 6 ของโลก และแง่รายได้เป็นอันดับ 12 ของโลก 

ร้านกาเเฟ Café Amazon ในลาว

แผนในประเทศเมียนมา ปัจจุบัน OR อยู่ระหว่างลงทุนก่อสร้างคลังเก็บน้ำมันและคลัง LPG ทั้งใช้เพื่อสนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแบบ B2B ในเมียนมา ควบคู่ไปกับการขยาย PTT Station และคาเฟ่ Café Amazon

สำหรับเเผนการลงทุนใน จีน’ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ จะมีการขยายสาขา Café Amazon และธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น PTT Lubricants อย่างต่อเนื่อง ส่วนในประเทศโอมาน ปัจจุบัน OR ให้สิทธิ์ในการเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์กับบริษัทน้ำมันแห่งชาติของโอมาน เพื่อขยาย PTT Station ทั้งในและนอกสถานีบริการ

ขณะที่ เงินลงทุนอีก 15% หรือราว 11,190 ล้านบาท จะลงทุน ‘ธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 3 ธุรกิจหลักดังกล่าว เพื่อมองหาโอกาสใหม่ และต่อยอดธุรกิจเดิมในรูปแบบของพันธมิตร จากการทำดีลร่วมทุน (JV) หรือซื้อเข้ากิจการ (M&A)

จัดงบลงทุน รับเทรนด์ ‘รถยนต์ไฟฟ้า’

หากเจาะลึกลงไปในงบการลงทุน 15% ของส่วน ‘ธุรกิจอื่นๆ’ พบว่าจะมีการนำไปลงทุนพัฒนา Mobility Ecosystem ทำธุรกิจเกี่ยวกับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งขณะนี้ทดลองให้บริการชาร์จไฟฟ้ากับรถยนต์ EV แล้วที่ PTT Station จำนวน 25 แห่ง และมีแผนเพิ่มจุดให้บริการชาร์จไฟฟ้าใน PTT Station ให้ครอบคลุมเส้นทางหลักทั่วประเทศ

เมื่อถามว่า เทรนด์รถยนต์ EV อาจเป็นความเสี่ยงต่อ OR หรือไม่ ทีมผู้บริหารตอบว่า มองว่าเป็นโอกาสของธุรกิจมากกว่า บริษัทต้องเตรียมตัวให้พร้อมเเละพัฒนาไปข้างหน้า เราจะเข้าไปตามความต้องการของผู้บริโภค นำมาศึกษาความเป็นไปได้เพื่อต่อยอดต่อไป

ปัจจุบันอัตราการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยยัง น้อยมากจดทะเบียนคิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 2% ของจำนวนรถจดทะเบียนใหม่

โดย OR จะมีแอปพลิเคชั่นเพื่ออำนวยความสะดวกและเก็บข้อมูล ออกแบบ EV Ecosystem เพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ไม่เพียงการชาร์จไฟฟ้าเท่านั้น แต่จะครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การผลิตแบตเตอรี่ผลิตรถยนต์ การจำหน่ายรถยนต์ การผลิตเครื่องชาร์จ การจำหน่ายเครื่องชาร์จ การให้บริการชาร์จไฟฟ้าฯลฯ

ทั้งนี้ เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา OR ได้ลงทุนบริษัทโลจิสติกส์อย่าง แฟลช เอ็กซ์เพรส’  Flash Express) และได้ร่วมทุนกับพีเบอร์รี่ไทย(Peaberry) ขยายธุรกิจกาแฟให้ครอบคลุมถึงต้นน้ำ และกลางน้ำ โดยเฉพาะเครื่องชงอุปกรณ์ การบำรุงรักษาอุปกรณ์ เพื่อบริหารต้นทุน

คุยต่อสัญญา เซเว่นอีเลฟเว่น’ 

ปัจจุบันสัญญาการให้สิทธิแบรนด์ร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) ของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในปั๊มน้ำมัน PTT Station ใกล้หมดสัญญาใน 2 ปีข้างหน้า จากอายุสัญญาทั้งหมด 10 ปี 

ผู้บริหาร OR กล่าวถึงกรณีนี้ว่า กำลังพิจารณาการต่อสัญญากับซีพีออลล์ เเละมีการพูดคุยกันบ้างเเล้ว โดยมองว่าทั้ง 2 ฝ่าย เป็นคู่พันธมิตรธุรกิจที่ดีต่อกัน สร้างผลประโยชน์ร่วมกัน ร้านสะดวกซื้อก็มีรายได้สูงขึ้น ขณะที่ปั๊มน้ำมันก็มีผู้คนเเวะมามีผู้ใช้บริการมากขึ้นด้วย 

จองซื้อหุ้น PTTOR ต้องทำอย่างไร?

OR ประกาศเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 2,610 ล้านหุ้น สัดส่วนไม่เกิน 22.5% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายได้แล้ว ในจำนวนนี้ จัดสรรให้นักลงทุนสถาบัน 65-70% (สถาบันต่างชาติ 17% และนักลงทุนสถาบันในไทย 83%) รายย่อยราว 30-35% 

  • จำนวน 1,860 ล้านหุ้น เสนอขายผู้ลงทุนที่จองซื้อในประเทศ (รวมรายย่อย 595.7 ล้านหุ้น )
  • จำนวน 450 ล้านหุ้น เสนอผู้ลงทุนสถาบันที่จองซื้อในต่างประเทศ
  • จำนวน 300 ล้านหุ้น เสนอขายให้แก่ประชาชน เฉพาะกลุ่มซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมของ ปตทเท่านั้น

วันปิดการเสนอขายหุ้นทั้งหมด หากมีผู้จองซื้อหุ้นเป็นจำนวนมากกว่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย อาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (กรีนชูให้แก่ผู้ลงทุนจำนวน 390 ล้านหุ้น

โดยกำหนดช่วงราคาหุ้น IPO ที่ 16-18 บาทต่อหุ้น โดยการจองซื้อหุ้นดังกล่าว จะต้องจ่ายเงินที่ราคาหุ้นละ 18 บาทก่อน หากประกาศราคาเสนอขายจริงในวันที่ 3 .. 2564 เวลา 9.00 เเล้วราคาต่ำกว่า 18 บาทจะคืนเงินส่วนต่างค่าจองซื้อหุ้นให้

ระบบเซ็ตเทรดจะประกาศผลการจัดสรรหุ้น IPO ประมาณวันที่ 6 ก.พ. 2564 ผ่านเว็บไซต์ settrade.com หากกรณีท่านไม่ได้รับการจัดสรรหุ้นในครั้งนี้ ระบบจะทำการคืนเงินให้อย่างช้าที่สุดภายในวันที่ 17 .. 2564 (กรณีรับเงินเข้าบัญชี) และวันที่ 22 .. 2564 (กรณีรับเป็นเช็ค)

จองซื้อขั้นต่ำจำนวน 300 หุ้น และจะต้องเพิ่มเป็นจำนวนขั้นต่ำครั้งละ 100 หุ้น โดยไม่จำกัดจำนวนจองซื้อสูงสุด เท่ากับว่าผู้ที่ต้องการจองซื้อจะต้องมีเงินขั้นต่ำ 5,400 บาท สำหรับหุ้นขั้นต่ำ 300 หุ้น ในราคา 18 บาทต่อหุ้น

โดยจะเปิดให้จองได้ในระยะ 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 .. 2564 ถึง วันที่ 2 .. 2564 (เวลา 12.00 .) ต้องจ่ายค่าจองหุ้นที่ราคา 18 บาทก่อน ผ่าน 3 ธนาคาร ทุกสาขาทั่วประเทศ คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย เเละกรุงไทย โดยวันเสาร์อาทิตย์ จองซื้อได้ที่สาขาในห้าง

กรณีจองที่ธนาคารตัวแทนจำหน่าย จะต้องกรอกเอกสาร ดังนี้ 

  1. ใบจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน
  2. แบบสอบถามเพื่อหาข้อบ่งชี้การเป็นบุคคลสหรัฐฯ (กรณีฝากหุ้นในบัญชีของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ สมาชิกเลขที่ 600)
  3. แบบประเมินความเหมาะสมในการลงทุน (Suitability Test) (กรณีไม่เคยทำมาก่อน)
  4. บัตรประชาชนตัวจริงหรือสำเนา (ขึ้นอยู่กับธนาคาร)
  5. สมุดบัญชีเงินฝากหรือสำเนา (ขึ้นอยู่กับธนาคารใช้เพื่อรับคืนเงินค่าจองซื้อ
  6. ควรทราบเลขที่บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ และเลขที่สมาชิกของโบรกเกอร์ที่ใช้บริการ 

กรณีจองซื้อผ่านออนไลน์จะสามารถจองได้ตลอด 24 ชั่วโมง (ตั้งแต่เวลา 9.00 ของวันที่ 24 .. 2564 ถึง 12.00 . (เที่ยงวันของวันที่ 2 .. 2564)

  • กสิกรไทย ผ่านเว็บไซต์ K-My Invest และจ่ายผ่านแอปฯ KPLUS
  • กรุงเทพ ผ่านเว็บไซต์ และแอปฯ Bualuang Mobile Banking
  • กรุงไทย ผ่านเว็บไซต์ โดยเปิดใช้ KTB Netbank และแอปฯ KrungThai Next

ไม่มี พอร์ตหุ้นก็ซื้อได้

ประชาชนที่ “ไม่มีพอร์ตหุ้น” ก็สามารถจองซื้อหุ้นได้กับธนาคาร ผ่านการฝากหุ้นสามัญเพิ่มทุนตามจำนวนที่ได้รับการจัดสรรไว้ในชื่อ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทยจำกัดหรือ “TSD” และนำหุ้นเข้าฝากไว้กับ TSD นำเข้าบัญชีของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์สมาชิกเลขที่ 600

อย่างไรก็ตาม การมีพอร์ตหุ้นอยู่แล้วจะช่วยในเรื่อง ‘ความสะดวก’ ด้านการลงทุนแก่ผู้จองซื้อ เพราะสามารถขายหุ้นออกจากพอร์ตได้ตามความต้องการ

ทั้งนี้ ภายหลังเข้าตลาด ปตท. ยังถือหุ้น 77.5% (ภายใต้สมมติฐานว่าจะไม่มีการใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นส่วนเกินทั้งจำนวน) และ 75% (ภายใต้สมมติฐานว่าจะมีการใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นส่วนเกินทั้งจำนวน

จากการเสนอขายหุ้น IPO บริษัทกำหนดกรอบราคาเสนอขาย 16-18 บาทต่อหุ้น มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) 23.9-26.9 เท่า ขณะที่ค่าเฉลี่ยของบริษัทที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกันทั้งในและต่างประเทศอยู่ที่ 31.7 เท่า

ผู้ถือหุ้น จะได้รับผลตอบแทนอะไรบ้าง

  • ได้เป็นหนึ่งในเจ้าของกิจการตามสัดส่วนการถือหุ้น
  • ได้รับเงินปันผล โดย OR มีนโยบายปันผลไม่น้อยกว่า 30% ของกำไรสุทธิหลังหักสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กฎหมายและบริษัทกำหนด
  • ได้รับกำไรจากส่วนต่างราคา หากสามารถขายหุ้นได้ราคาสูงกว่าราคาซื้อ เเต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นเกินราคาจองซื้อหรือไม่

ล่าสุด ณ วันที่ 11 ก.พ.2564 บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ‘วันแรก’ จากราคาที่เสนอขายให้ประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ที่ 18 บาทต่อหุ้น ซึ่งการจัดสรรหุ้น IPO ให้ผู้ลงทุนทั่วไปจองซื้อเข้ามามีสูงถึง 5.3 แสนรายการ และได้รับการจัดสรรต่อรายสูงสุดไม่เกินคนละ 4,500 หุ้นนั้น

ราคาซื้อขายเปิดตลาดครั้งเเรก เวลา 10.00 น. พบว่า มีราคาเปิดที่ 26.5 บาท ต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 47% จากราคา IPO ที่หุ้นละ 18 บาท จากนั้นราคาปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 27 บาท ก่อนมีแรงขายทำกำไรออกมาอยู่ที่ต่ำสุดราว 23 บาท

ก่อนหน้านี้ บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่าราคาที่เหมาะสมจะอยู่ที่ราว 24 บาท ส่วนบล.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ คาดว่าราคาจะอยู่ระหว่าง 19.30-23.10 บาท

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

]]>
1315923
อ่าน 5 ข้อ ทำความเข้าใจธุรกิจ “เคอรี่ เอ็กซ์เพรส” ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้น KEX https://positioningmag.com/1310803 Thu, 17 Dec 2020 09:28:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1310803 ตัวท็อปวงการขนส่งพัสดุเมืองไทยอย่างเคอรี่ เอ็กซ์เพรส” (KEX) เตรียมระดมทุนสูงสุด 8.4 พันล้านในตลาดหลักทรัพย์ฯ  24 ..นี้ เคาะราคาขาย IPO จำนวน 300 ล้านหุ้นที่ราคา 28.00 บาทต่อหุ้น ถือว่าเป็นหุ้นที่น่าจับตามองส่งท้ายปีนี้ ท่ามกลางการเเข่งขันในสงครามโลจิสติกส์อันดุเดือด หลังธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตพุ่งพรวดจากวิกฤต COVID-19

Positioning ขอสรุปพื้นฐานธุรกิจ เเผนเเละกลยุทธ์การเติบโต รายละเอียดไทม์ไลน์ของหุ้น IPO เเละภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซ จากการแถลงของทีมผู้บริหาร เคอรี่ เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย เบื้องต้นไว้ดังนี้

ส่องธุรกิจ Kerry Express

เคอรี่ เอ็กซ์เพรส” (Kerry Express) ข้ามน้ำข้ามทะเลจากฮ่องกง มาบุกธุรกิจในไทยตั้งแต่ปี 2549 เริ่มให้บริการจัดส่งพัสดุภาคเอกชนรายเเรกในประเทศไทย ให้บริการจัดส่งพัสดุแบบครบวงจร เจาะกลุ่มลูกค้าทุกประเภท

ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเมื่อ 2561 หลังบริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ VGI ธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้านยักษ์ใหญ่ในเครือบีทีเอส กรุ๊ป ทุ่มเงินเกือบ 6 พันล้านบาท เข้าซื้อหุ้น “เคอรี่ เอ็กซ์เพรส” ในสัดส่วน 23% ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 (ปัจจุบันเหลือ 19%)

เรามาย้อนการเติบโตของธุรกิจ “ส่งพัสดุ” ของเคอรี่ ดังนี้

ปี 2554 จัดส่งพัสดุ 8,000 ชิ้นต่อวัน ในวันที่ความต้องการการบริการจัดส่งพัสดุสูง (peak day)

ปี 2556 เปิดร้านรับส่งพัสดุแห่งแรก เพื่อให้บริการด้านการจัดส่งพัสดุผ่านเคาน์เตอร์ของร้าน ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณถนนอโศก กรุงเทพมหานคร

ปี 2558 เริ่มให้บริการจัดส่งพัสดุภายในวันเดียวกัน (Bangkok Sameday : BSD) และได้เปิดตัวศูนย์บริการ
โลจิสติกส์บางนา ซึ่งเป็นศูนย์คัดแยกพัสดุแห่งแรกของบริษัท

ปี 2559 เร่ิมให้บริการการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ร้านรับส่งพัสดุและจุดรับ-ส่งพัสดุ

ปี 2560 จัดส่งพัสดุรวมทั้งหมดได้ 71 ล้านชิ้น เริ่มใช้ระบบ EasyShip แพลตฟอร์มออนไลน์ช่วยลูกค้าที่ใช้บริการการจัดส่งพัสดุแบบ C2C

ปี 2561 จัดส่งพัสดุรวมทั้งหมดได้ 173 ล้านชิ้น โดยจัดส่งพัสดุในประเทศไทย กว่า 1 ล้านชิ้นต่อวันที่มีความต้องการการบริการจัดส่งพัสดุสูงสุด

ปี 2562 ส่งพัสดุรวมทั้งหมดได้ 274 ล้านชิ้น เร่ิมให้บริการการจัดส่งพัสดุ แบบรับถึงบ้าน (D2D) และขยายเครือข่ายไปตามต่างจังหวัด มีพนักงานในสังกัดราว 2 หมื่นคน

ปี 2563 (ช่วง 9 เดือนเเรก) จัดส่งพัสดุรวมทั้งหมด 223.9 ล้านชิ้น ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ผู้บริโภคปรับพฤติกรรมมาซื้อของออนไลน์ สามารถจัดส่งพัสดุจำนวนทั้งสิ้นกว่า 1.2 ล้านชิ้นต่อวันทำการ

ปัจจุบัน Kerry Express มีเครือข่ายให้บริการครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด จุดให้บริการ 15,000 แห่ง พร้อมศูนย์กระจายพัสดุกว่า 1,200 แห่ง จำนวนรถรับส่งพัสดุ 25,000 คัน มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (2557-2562) ราว 134.9%

นอกจากนี้ ยังเป็นบริษัทภาคเอกชนที่ให้บริการเก็บเงินปลายทาง รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเฉลี่ย 6,500 ล้านบาทต่อเดือน มีอัตราพัสดุตีกลับราว 1.5% โดยรายได้ของบริษัท 9 เดือนแรกของปีนี้ มีรายได้กว่า 14,689 ล้านบาท กำไร 1,030 ล้านบาท

ขณะที่รายได้ และกำไรย้อนหลัง 3 ปีมีดังนี้

ปี 2560 รายได้ 6,626.41 ล้านบาท กำไรสุทธิ  730.26 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 13,565.35 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,185.10 ล้านบาท

ปี 2562 รายได้ 19,781.93 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,328.55 ล้านบาท

ด้านสัดส่วนลูกค้าของเคอรี่กว่า 53% เป็นลูกค้าในกลุ่ม C2C หรือแบบบุคคลส่งถึงบุคคล เเละอีก 44% เป็นลูกค้ากลุ่ม B2C หรือแบบธุรกิจส่งถึงบุคคล และ 1.7% เป็นกลุ่มลูกค้าแบบ B2B หรือธุรกิจส่งถึงธุรกิจ

เมื่อเจาะลึกลงไปในสัดส่วนรายได้ จะเห็นว่าในปี 2563 (9 เดือนเเรก) เคอรี่มีรายได้ส่วนใหญ่ 53.9% จากกลุ่ม C2C รองลงมาคือ 44.3% จากกลุ่ม B2C เเละ 1.7% จากกลุ่ม B2B ส่วนที่เหลือ 0.1% มาจากรายได้โฆษณา

อเล็กซ์ อึ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บอกว่า เคอรี่ชอบทำอะไรเป็น “เจ้าเเรก” อย่างการเป็นผู้บุกเบิกการจัดส่งแบบ Next Day ในไทย เป็นเจ้าแรกที่ให้บริการรับชำระเงินปลายทาง และตอนนี้กำลังเป็น “เจ้าแรก” ของบริษัทส่งพัสดุด่วนของไทยที่จะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

“การเติบโตของกลุ่ม C2C ลูกค้าส่งถึงลูกค้านั้นมีความสำคัญมากกับธุรกิจของเรา ทิศทางที่มุ่งต่อไปคือการขยายพื้นที่ให้บริการมากขึ้น เจาะพื้นที่ใหม่ ลูกค้าใหม่ เเละธุรกิจใหม่ๆ”

โตตาม “อีคอมเมิร์ซ” 

ตามที่ทราบกันว่า การเติบโตของธุรกิจขนส่งนั้นยึดโยงกับธุรกิจ “อีคอมเมิร์ซ” และ “โซเชียลมีเดีย” โดยยอดค้าปลีกออนไลน์ในไทยนั้น มีการเติบโตเฉลี่ย 22.2% (ปี 2557-2562) เเละคาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตขึ้น 26.7%

ในปี 2563 ตลาดอีคอมเมิร์ซมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 2,285 ล้านบาท และคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 5,406 ล้านบาทในปี 2567

ส่วนการพัฒนาของระบบ “โมบายเเบงกิ้ง” ก็ช่วยเร่งการเติบโตของรายได้ในตลาดอีคอมเมิร์ซ โดยมีมูลค่าธุรกรรมเติบโตเฉลี่ย 53.1% (ปี 2557-2562) เเละคาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตขึ้น 22.1%

ทาง “เคอรี่” ตั้งเป้าว่าบริษัทจะขยายไปพร้อมๆ กับอุตสาหกรรมซื้อของออนไลน์ที่เฟื่องฟู โดยหวังจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยราว 20% ภายในอีก 5 ปี รั้งตำเเหน่งเบอร์ 1 ขนส่งเอกชนเมืองไทย 

กลยุทธ์สู้เเข่งดุ : เข้าหาลูกค้าตาม “ซอกซอย” 

KEX คาดว่าหลัง IPO ในตลาดหุ้น จะระดมทุนได้ราว 8,400 ล้านบาท โดยจะนำเงินไปใช้ขยายธุรกิจ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ชำระคืนเงินกู้ และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ

ผู้บริหารเคอรี่ เน้นย้ำว่า จะยังคงใช้เเนวคิด “Kerry Express Everywhere” เพื่อเเข่งขันในตลาด ซึ่งจะมีการปรับตัวเข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคให้มากขึ้น เพิ่มช่องทางการชำระเงิน ลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างการพัฒนาระบบจัดเก็บเเละกู้คืนข้อมูลในกรณีฉุกเฉิน การวิเคราะห์ข้อมูล เเละหาพันธมิตรใหม่ๆ

รวมไปถึงการพิจารณา “ควบรวมกิจการ” ในธุรกิจที่น่าสนใจเเละนำมาต่อยอดเพิ่มมูลค่าได้ ซึ่งตอนนี้ “เล็งไว้” หลายเจ้า เเต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ในขณะนี้ 

วราวุธ นาถประดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ บอกว่า สิ่งที่ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ การขยายธุรกิจ ขยายจุดส่งพัสดุให้เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด จากตอนนี้ที่มีจุดให้บริการตาม “ถนนสายหลัก” ต่อไปจะเข้าไปหาลูกค้าตาม “ซอกซอย” ให้ได้

ทั้งนี้ จุดให้บริการ 15,000 แห่งนั้น ปัจจุบันเป็นสาขาที่เคอรี่ดำเนินการเองราว 2,000 เเห่ง เป็นการจับมือกับพันธมิตรอีก 3,000 เเห่ง เเละที่เหลืออีกกว่า 1 หมื่นเเห่งเป็นสาขาของ SME รายย่อย

เมื่อถามถึงการเเข่งขันด้าน “ราคา” ที่หลายคนมองว่าเคอรี่อาจจะมีค่าบริการที่สูงกว่าเจ้าอื่นในตลาดนั้น วราวุธ ตอบว่า บริษัทมีการดูเเลเรื่องนี้โดยตลอด เช่นการจัดเรตราคาตามหมวดหมู่ของสินค้า โดยอยากให้ผู้บริโภคเห็นถึง “คุณภาพ” ในการจัดส่งว่ามีความชัวร์เเละคุ้มค่า ในราคาที่ไม่เเพงไปกว่ากันมากนัก 

ทั้งนี้ คู่เเข่งรายสำคัญที่เพิ่งเข้ามาตีตลาดใหม่อย่าง “แฟลช เอ็กซ์เพรส” ก็เพิ่งได้รับการระดมทุน Series D มูลค่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้เกิดการลงทุน “เเย่งลูกค้า” กันขึ้นในเร็วๆ นี้อย่างเเน่นอน

Photo : Shutterstock

เคาะราคา 28 บาทต่อหุ้น 

KEX เคาะราคาขายหุ้น IPO จำนวน 300 ล้านหุ้น ที่ราคา 28.00 บาทต่อหุ้น จากช่วงราคา 24-28 บาทต่อหุ้น มีอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ (P/E) ที่ 33 เท่า ใกล้เคียงกับธุรกิจขนส่งพัสดุในระดับภูมิภาคที่มีค่า P/E ที่ 20-30 เท่า

พร้อมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันแรก 24 ธ.ค. 2563 เปิดให้จองซื้อตั้งแต่ 8-18 ธ.ค. นี้ โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ เเละบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เเละเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม

ในราคาที่ 28 บาทต่อหุ้นนั้น ถือเป็นราคาสูงสุดของช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้น หลังนักลงทุนสถาบันแสดงความต้องการจองซื้อท่วมท้น มากกว่า 23 เท่า จากจำนวนหุ้นที่จัดสรรไว้ โดยมีกองทุนให้ความสนใจมากกว่า 100 กองทุน

การดำเนินการเสนอขายหุ้น IPO ไม่เกิน 300 ล้านหุ้นครั้งนี้ คิดเป็น 17.24% ของหุ้นทั้งหมด เเบ่งให้รายย่อยจำนวน 100 ล้านหุ้น (ครึ่งหนึ่งเป็นรายย่อยผู้มีอุปการคุณ) เเละที่เหลืออีก 200 ล้านหุ้น เป็นกลุ่มนักลงทุนสถาบัน โดยมุ่งเน้นไปยังกองทุนที่มีกลยุทธ์การ “ลงทุนระยะยาว” เป็นหลัก

ลุ้นเข้า SET50 กลางปีหน้า 

วีณา เลิศนิมิตร กรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของ KEX มองว่า หลังการระดมทุนของเคอรี่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันที่ 24 ธ.ค. นั้น มีโอกาสที่บริษัทจะเข้าไปคำนวณในดัชนี SET 50 ได้ในช่วงกลางปี 2564 เพราะมองว่าเป็นหุ้นที่มีการเติบโตสูง ตามเทรนด์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งมีนักลงทุนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก อาจทำให้มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดแตะระดับแสนล้านบาทได้ ทั้งนี้ หากประเมินตามราคา IPO ที่ 28 บาทนั้น เคอรี่จะมีมาร์เก็ตแคปราว 4.87 หมื่นล้านบาท

การก้าวเข้าสู่ปีที่ 15 ของ เคอรี่ เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย หลังระดมทุน 8.6 พันล้านนั้น ต้องจับตาความเคลื่อนไหวกันต่อไป โดยเฉพาะผู้บริโภคอย่างเราๆ ที่เป็นหนึ่งในลูกค้าผู้ที่จะได้ประโยชน์จากสงครามธุรกิจนี้ 

 

 

]]>
1310803
ระดมทุนเพื่อขยายตัว! Big Hit ค่ายต้นสังกัด BTS บอยแบนด์เกาหลี พร้อมเข้า “ตลาดหุ้น” https://positioningmag.com/1292608 Fri, 14 Aug 2020 09:24:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1292608 Big Hit Entertainment คืบหน้าไปอีกขั้นในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ หลังตลาดหุ้นรับรองในเบื้องต้นให้บริษัทเปิด IPO ได้ โดย Big Hit คือค่ายต้นสังกัดที่สร้างตำนานวงบอยแบนด์เกาหลี BTS หรือ บังทันโซยอนดัน วงเคป็อปวงแรกที่เจาะตลาดสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จอย่างเต็มภาคภูมิ

หลังจาก Big Hit Entertainment หรือ BHE ยื่นไฟลิ่งรอบแรกกับตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้ไปเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2563 ต่อมาในวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม สำนักงานกำกับดูแลตลาดหุ้นเกาหลีได้ตอบกลับเบื้องต้นแล้วว่า Big Hit มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะเปิด IPO เสนอขายหุ้นต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก

โดยหลังจากนี้บริษัทจะต้องลงรายละเอียดหุ้นที่จะเสนอขายกับคณะกรรมการบริการทางการเงินภายใน 6 เดือน ปัจจุบันยังไม่มีรายละเอียดใดๆ ออกมาว่าจะเสนอขายจำนวนกี่หุ้นในราคาเท่าใด แต่บริษัทได้แต่งตั้ง JP Morgan, NH Investment & Securities และ Korea Investment & Securities ให้เป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์แล้ว

สำหรับข้อมูลเบื้องต้นจากการยื่นไฟลิ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม Big Hit ระบุว่าในปี 2562 บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงาน 85.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเติบโต 24% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และมีรายได้รวม 508 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตถึง 95% จากปีก่อนหน้า ด้านยอดขายอัลบัมทำได้รวมทั้งหมด 6 ล้านแผ่น

 

View this post on Instagram

 

#BTS #방탄소년단 #MAP_OF_THE_SOUL_7 Concept Photo version 1

A post shared by BTS official (@bts.bighitofficial) on

การระดมทุนของ BHE ในครั้งนี้เป็นไปเพื่อเสริมแกร่งการปรับโครงสร้างบริษัทไปสู่โมเดลธุรกิจแบบ “แตกไลน์หลายค่ายย่อย” ภายใต้เครือเดียวกัน เพื่อทำให้รายได้บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว “BTS ประสบความสำเร็จอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในฐานะศิลปินเกาหลีขณะที่ทั้งวง Tomorrow X Together และ Gfriend ก็กำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัทยังมีเด็กฝึกในค่ายอีกจำนวนมากที่อยู่ในไปป์ไลน์แล้ว” BHE กล่าวในแถลงการณ์เตรียมเข้าจดทะเบียน

โมเดลการมีหลายค่ายย่อยในเครือเริ่มขึ้นแล้วจากที่ Big Hit เข้าซื้อกิจการค่ายอย่าง Source Music และ Pledis โดยค่ายหลังนี้คือต้นสังกัดของวง Nu’Est และ Seventeen นอกจากนี้บริษัทยังเทกโอเวอร์บริษัทเกม Superb Corp. เข้ามาไว้ใต้อาณาจักรด้วย

บังชีฮยอก ผู้ก่อตั้ง BHE (photo : bighitcorp.com)

เพื่อเตรียมตัวเปิด IPO ตลาดหุ้น บริษัทยังปรับโครงสร้างผู้บริหารใหม่อีกครั้ง โดย “บังชีฮยอก” ได้รับแต่งตั้งกลับมาเป็นประธานกรรมการและซีอีโอ “เลนโซ ยุน” เป็นซีอีโอโกลบอล (ดูแลธุรกิจสากล) และ “ปาร์คจีวอน” เป็นซีอีโอประจำสำนักงานใหญ่

ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจกันว่าผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของ BHE ก็คือ “บังชีฮยอก” ผู้ก่อตั้งบริษัท และรองลงมาคือ “บังจุนฮยอก” ลูกพี่ลูกน้องของชีฮยอก เศรษฐีเกาหลีใต้เจ้าของบริษัทเกม Netmarble

นับว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวที่น่าจับตาของ Big Hit Entertainment ค่ายศิลปินนักร้องเกาหลีใต้ค่ายเล็กๆ แต่เติบโตเร็วเพราะ BTS ดังเป็นพลุแตก นำความสำเร็จมาให้ทั้งค่ายต้นสังกัดและประเทศเกาหลีใต้ที่พยายามผลักดันการส่งออกวัฒนธรรมมาเนิ่นนาน

Source

]]>
1292608
Warner Music เดินหน้า “ไอพีโอ” หลัง “สตรีมมิ่ง” เป็นขุมทองใหม่แห่งวงการดนตรี https://positioningmag.com/1281016 Thu, 28 May 2020 09:42:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281016 ค่ายเพลง Warner Music Group ต้นสังกัดศิลปินดังอย่าง Ed Sheeran เดินหน้าเปิดไอพีโอ ระดมทุนจากตลาดหุ้น โหนกระแสสตรีมมิ่งมาแรง ตีมูลค่าบริษัทสูงถึง 1.33 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม COVID-19 คือปัจจัยลบ ทำให้ปีนี้รายได้อาจหดตัวลงหลังคอนเสิร์ตถูกยกเลิกทั่วโลก

ค่ายเพลง Warner Music Group บริษัทต้นสังกัดของศิลปินระดับโลก เช่น Ed Sheeran, Cardi B, Led Zeppelin ฯลฯ ประกาศเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2020 ว่า บริษัทจะเดินหน้าเข้าไอพีโอในตลาดหุ้น NASDAQ โดยประเมินมูลค่าบริษัทไว้สูงถึง 1.33 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2011 บริษัทนี้ถูกเข้าซื้อกิจการโดย Access Industries บรรษัทขนาดใหญ่ภายใต้การนำของ Len Blavatnik มหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ซึ่งในขณะนั้น อุตสาหกรรมดนตรีอยู่ในห้วงวิกฤตทั่วโลกจากการรุกรานของโลกอินเทอร์เน็ต

 

View this post on Instagram

 

A post shared by Cardi B (@iamcardib) on

สำหรับแผนไอพีโอของ Warner Music Group จะเปิดขายหุ้นทั้งหมด 70 ล้านหุ้น คิดเป็น 13.7% ของจำนวนหุ้นสามัญ ในราคาระหว่าง 23-26 เหรียญต่อหุ้น สะท้อนการประเมินมูลค่าบริษัทไว้ที่ 1.17-1.33 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

หุ้นที่จะจำหน่ายเป็นสัดส่วนหุ้นของ Access Industries ทั้งหมด และบริษัทดังกล่าวจะเป็นผู้รับรายได้จากการขายหุ้น รวมถึงยังคงอำนาจการออกเสียงในฐานะเจ้าของ 99% ของ Warner Music Group (บริษัทมีการถือหุ้นทางอ้อมด้วย)

 

ธุรกิจดนตรีกลับมาผงาด

การขายหุ้น Warner Music Group เพื่อทำกำไรการลงทุนของบริษัทแม่ ฉายภาพการฟื้นคืนชีพของธุรกิจดนตรีหลังจากอุตสาหกรรมนี้ค่อยๆ ทรุดตัวลงตั้งแต่ปี 2001 เมื่อแผ่นซีดีเข้ามาดิสรัปต์ ตามด้วยการมาของอินเทอร์เน็ต ทำให้ยอดขายเทปและแผ่นเพลงแบบออฟไลน์ลดลงต่อเนื่อง

แต่วงการดนตรีฟื้นตัวเมื่อบริการ “สตรีมมิ่ง” ดนตรีได้รับความนิยม ทำให้นักลงทุนกลับมาอีกครั้ง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อปีที่แล้ว Tencent Holdings จากจีนเข้าลงทุนสัดส่วนหุ้น 10% ใน Universal Music Group ในราคาที่สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทตีมูลค่า Universal Music Group ไว้สูงกว่า 3.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

ขณะที่ สมาพันธ์อุตสาหกรรมการบันทึกเสียงสากล (IFPI) ประเมินว่าวงการนี้ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ เพราะเมื่อปี 2019 อุตสาหกรรมดนตรีทั่วโลกทำรายได้รวมกันกว่า 2.02 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเมื่อปี 2014 ที่วงการเพลงทำรายได้ไป 1.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และโตขึ้นจากปี 2019 ที่ 6.3%

สตรีมมิ่ง : ขุมทองใหม่ฟื้นคืนชีพให้กับค่ายเพลง

ปัจจุบัน 80% ของบริษัทเพลงอเมริกันเห็นว่าบริการสตรีมมิ่งเป็นแหล่งรายได้หลัก เทียบกับเมื่อทศวรรษที่แล้ว แทบไม่มีค่ายเพลงไหนนับธุรกิจสตรีมมิ่งเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้ของตัวเองเลย (ในประเทศไทย GMM Music รายงานว่ารายได้จากดิจิทัลคิดเป็น 28% ของรายได้รวมเมื่อปีก่อน) แพลตฟอร์มนี้กลายเป็น ‘ขุมทองใหม่’ ให้กับบริษัทบันทึกเสียงและผู้จัดจำหน่ายจากการเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง อย่างไรก็ตาม มีข้อท้วงติงจากศิลปินจำนวนมากที่มองว่าส่วนแบ่งค่าลิขสิทธิ์จากบริษัทสตรีมมิ่งตกมาถึงตนเพียงหยิบมือ

Warner Music Group ก็เช่นกัน เมื่อรอบปีบัญชีที่แล้ว (สิ้นสุดกันยายน 2019) บริษัทนี้ทำรายได้จากบริการสตรีมมิ่งไป 4.5 พันล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจากรอบปีบัญชีปี 2015 ที่มีรายได้สตรีมมิ่ง 3 พันล้านเหรียญ

อย่างไรก็ตาม โรคระบาด COVID-19 กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงของวงการดนตรี ทำให้ Warner Music Group เลื่อนการเปิดไอพีโอมาจากเดิมที่จะเข้าเทรดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และความเสี่ยงนี้ได้ถูกระบุลงไปในรายงานการเปิดขายหุ้น

Goldman Sachs รายงานเมื่อเดือนเมษายนด้วยว่า โรคระบาดจะฉุดรายได้ของค่ายเพลงทั่วโลกลง 25% ปีนี้ เนื่องจากไม่สามารถจัดการแสดงสดได้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ารายได้จะฟื้นตัวกลับมาในปีหน้า

Source

]]>
1281016
อ่าน 8 ข้อทำความเข้าใจธุรกิจ “เซ็นทรัล รีเทล” ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้น CRC https://positioningmag.com/1261069 Fri, 17 Jan 2020 12:12:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261069 วันนี้ บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) เคาะราคาเปิดขายหุ้น IPO ออกมาแล้วที่ 40-43 บาทต่อหุ้น โดยจะเสนอขายจำนวนไม่เกิน 1,860.1 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าเสนอขายรวมประมาณ 7.4-8.0 หมื่นล้านบาทซึ่งเป็นหุ้น IPO ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย

ชื่อ “เซ็นทรัล” นั้นไม่มีใครไม่รู้จักเนื่องจากเป็นผู้เล่นใหญ่ของตลาดค้าปลีกบ้านเรา และสำหรับกลุ่มธุรกิจของ “เซ็นทรัล รีเทล” ยังสยายปีกการลงทุนไปในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม อิตาลี ด้วย แต่การเสนอขายครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางกระแสดิสรัปชันในตลาดรีเทล ทำให้ผู้ลงทุนควรชั่งน้ำหนักความน่าลงทุน

Positioning ขอสรุปพื้นฐานธุรกิจ แผนการเติบโต และหุ้น IPO จากการแถลงของ “ญนน์ โภคทรัพย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น เป็นเบื้องต้นไว้ที่นี่

 

1.CRC รวมเฉพาะส่วน “รีเทล” แตกต่างจาก CPN

ในเครือเซ็นทรัลนั้นมีธุรกิจหลากหลายมากๆ การนำเซ็นทรัล รีเทลเข้าตลาดในครั้งนี้เป็นการรวมเฉพาะธุรกิจ “ค้าปลีก” ของบริษัท เช่น ห้างที่เป็นดีพาร์ตเมนต์สโตร์อย่างเซ็นทรัลชิดลมและโรบินสัน พื้นที่ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ที่อยู่ในเซ็นทรัล พลาซ่า สาขาต่างๆ รวมไปถึงแบรนด์ร้านค้าอย่าง Power Buy, Supersports, ไทวัสดุ, Tops, Family Mart, บิ๊กซี/Go! ในเวียดนาม ฯลฯ

ดังนั้น จะไม่รวมธุรกิจที่รูปแบบเป็นการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งธุรกิจส่วนนี้อยู่ในมือ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ผู้ลงทุนพัฒนาตัวอาคารและปล่อยเช่าให้กับร้านค้าย่อยต่างๆ รวมไปถึงการลงทุนออฟฟิศบิลดิ้งและที่อยู่อาศัย

 

2.ธุรกิจชูโรง: อาหาร วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า

สรุป CRC จะดึงธุรกิจใดมาเสนอขายนักลงทุนบ้าง? ดูได้จากภาพรวมแบรนด์ด้านบนทั้งหมด 18 แบรนด์

แบรนด์เหล่านี้กระจายเปิดธุรกิจอยู่ใน 3 ประเทศ คือ ไทย เวียดนาม และอิตาลี จำนวนรวมกว่า 2 พันสาขา และหากแยกเป็นกลุ่มๆ ตามประเภทธุรกิจจะประกอบด้วย

1.กลุ่มอาหาร (Food) เช่น Tops, Family Mart, บิ๊กซี/Go! ในเวียดนาม มีสัดส่วนในรายได้รวม 42%
2.กลุ่มแฟชั่น (Fashion) ได้แก่ ห้างเซ็นทรัล, โรบินสัน, Supersports, CMG (นำเข้าสินค้าแฟชั่น), ห้างลา รีนาเชนเต้ ในอิตาลี มีสัดส่วนในรายได้รวม 32%
3.กลุ่มสินค้าเฉพาะ (Hardline) เช่น ไทวัสดุ, Power Buy, Nguyen Kim (ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เวียดนาม) มีสัดส่วนในรายได้รวม 25%

แต่ถ้าหากดูการเติบโตของแต่ละกลุ่ม ที่เติบโตได้ดีในระยะหลังคือกลุ่มอาหาร และกลุ่มสินค้าเฉพาะที่มาแรงมาก เติบโตแบบดับเบิ้ลดิจิตช่วง 9 เดือนแรกปี 2562 ส่วนกลุ่มแฟชั่นนั้นโตต่ำเพียง 1-2%

 

3.แบรนด์ห้าง/ร้านค้าใน CRC โดยมากเป็นผู้นำตลาดขณะนี้

แต่ละแบรนด์ของเซ็นทรัล รีเทลมีส่วนแบ่งการตลาดแตกต่างกัน (ดูภาพด้านบน) แต่จะมีแบรนด์ที่มีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 อยู่ เช่น ห้างเซ็นทรัลในหมวดห้างดีพาร์ตเมนต์สโตร์ของประเทศไทย (โดยมีโรบินสันเป็นอันดับ 2) ห้างลา รีนาเชนเต้ ในตลาดห้างระดับลักชัวรีของอิตาลี Supersports ในหมวดร้านขายเครื่องกีฬาไทย Power Buy ในหมวดร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าไทย Tops ในหมวดซูเปอร์มาร์เก็ตไทย บิ๊กซี/Go! ในหมวดไฮเปอร์มาร์เก็ตประเทศเวียดนาม

 

4.ปี’62 รายได้โต 4.1% กำไรโต 3.8% แปรผันตามเศรษฐกิจ

สรุปรวมรายได้เซ็นทรัล รีเทล ปี 2561 อยู่ที่ 2.07 แสนล้านบาท มีการเติบโตช่วงปี 2559-61 เฉลี่ย 8.3% ต่อปี กำไรสุทธิ ปี 2561 อยู่ที่ 8.6 พันล้านบาท เติบโตช่วงปี 2559-61 เฉลี่ย 9.7% ต่อปี

อย่างไรก็ตาม ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 CRC มีรายได้รวม 1.6 แสนล้านบาท เติบโต 4.1% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน และกำไรสุทธิอยู่ที่ 6.07 พันล้านบาท เติบโต 3.8% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จะเห็นได้ว่าอัตราการเติบโตลดลงไป

ปัจจุบันสัดส่วนรายได้หากแบ่งตามประเทศ ส่วนใหญ่ยังมาจากไทยเกือบ 75% รองลงมาเป็นเวียดนามประมาณ 18% ส่วนที่เหลือราว 7% เป็นรายได้จากอิตาลี

ญนน์กล่าวภาพกว้างไว้ว่า ธุรกิจของเซ็นทรัล รีเทลนั้นมักจะเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ โดยทั่วไปจะเติบโต 1.5-2 เท่าของอัตราการเติบโตจีดีพีประเทศ

 

5.ระดมทุนเปิดเพิ่มปีละ 180 สาขา ล็อกเป้า “เวียดนาม” โอกาสโตสูง

การระดมทุนครั้งนี้บริษัทระบุว่าจะนำไปใช้เพื่อลงทุนเปิดสาขาใหม่และรีโนเวตสาขาเดิม โดย บล.ภัทร ที่ปรึกษาการเสนอขายหุ้น IPO ของเซ็นทรัล รีเทลให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จากการระดมทุนจะทำให้มีเงินสดเข้ามาในบริษัท 2.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งปกติแล้วเซ็นทรัล รีเทลมีการลงทุนปีละประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เท่านั้น และสามารถลงทุนเองได้ โดยมีอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) เพียง 0.7 แต่การระดมทุนจะทำให้บริษัทมีความพร้อมเมื่อ “โอกาส” ปิดดีลที่น่าสนใจมีเข้ามา

ด้าน ญนน์ บอกว่าปีนี้บริษัทมีแผนขยายสาขาห้างฯ และร้านค้าอีก 180 สาขาในไทย และห้างฯ Go! อีก 7 สาขาที่เวียดนาม

บนเวทีแถลงข่าวญนน์ยังให้ความสนใจกับตลาดเวียดนามเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันห้างร้านของ CRC ในเวียดนาม ได้แก่ บิ๊กซี/Go!, Nguyen Kim และ Lanchi Mart (มินิสโตร์) มีทั้งหมด 133 สาขา ซึ่งบริษัทตั้งเป้าจะขยายเป็นเท่าตัว และญนน์ยังระบุว่าโอกาสตลาดของเวียดนามมีสูงมาก มีพื้นที่สำหรับทำรีเทลได้ถึง 800-1,000 สาขาทั่วประเทศ

 

6.ไม่กลัวดิสรัป เตรียม Omnichannel ไว้รองรับแล้ว

กลับมาที่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิมนั่นคือ “อี-คอมเมิร์ซ” เซ็นทรัล รีเทลเสนอแผนธุรกิจว่าบริษัทได้เตรียมทางหนีทีไล่ไว้แล้ว โดยมีทั้งแพลตฟอร์ม Central.co.th ขายสินค้าจากห้างเซ็นทรัล มีแพลตฟอร์มร่วมทุน JDCentral และ Tops ก็มีระบบสั่งซื้อออนไลน์แล้ว

(photo: CRC)

ญนน์ยังไฮไลต์จุดเด่นของการที่ “ห้าง” มาทำ “อี-คอมเมิร์ซ” คือสามารถสร้างระบบการขายแบบ Omnichannel ได้ง่ายเพราะมีตัวห้างเป็นจุดมาเลือกชมและรับสินค้าอยู่แล้ว ยกตัวอย่าง Tops นั้นมีลูกค้าเลือกวิธีรับสินค้าเองที่ซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นจำนวนมาก รวมถึงอ้างอิงเทรนด์ในต่างประเทศ เช่น ห้างดั้งเดิมอย่าง Walmart สามารถปรับตัวจากการใช้ Omnichannel เอาชนะ Amazon ได้ ทำให้ CRC มีความมั่นใจว่าจะไม่ถูกดิสรัปในตลาด

 

7.เคาะราคาหุ้น IPO ที่ 40-43 บาท เตรียมขึ้นเป็น SET50

มาว่ากันที่การเปิดราคาซื้อขายหุ้น IPO ของ CRC เคาะราคามาที่ 40-43 บาทต่อหุ้น และจะเปิดขาย 1,860.1 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าเสนอขายรวมประมาณ 7.4-8.0 หมื่นล้านบาท ซึ่งเซ็นทรัล รีเทลระบุว่า เป็นหุ้น IPO ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมาร์เก็ตแคปจะใหญ่เป็นอันดับ 15 ของตลาด ทำให้จะถูกจัดเข้าไปอยู่ในกลุ่ม SET50 อัตโนมัติ

“ญนน์ โภคทรัพย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เซ็นทรัล รีเทล

สำหรับการซื้อขายหุ้น IPO ของ CRC มีขั้นตอนพิเศษตรงที่จะนำ บมจ.โรบินสัน (ROBINS) เข้ามารวมใน CRC ด้วย ทำให้มีการทำ Tender Offer แลกหุ้น ให้ผู้ถือหุ้น ROBINS เข้ามาถือหุ้นใน CRC ได้ ปัจจุบันเมื่อเคาะราคาหุ้น CRC แล้ว จึงจะมีการเสนอแลกหุ้นของสองบริษัทในอัตราส่วนหุ้นสามัญเพิ่มทุน CRC 1.55-1.66 หุ้น ต่อ 1 หุ้นสามัญเดิมของ ROBINS

ผู้ที่สนใจจองซื้อสามารถจองได้ 4 วัน ระหว่างวันที่ 29-31 ม.ค. 63 และ 3 ก.พ. 63 ส่วนผู้ที่ต้องการแลกหุ้น ROBINS สิ้นสุดการยื่นตอบรับคำเสนอซื้อภายใน 3 ก.พ. 63 แต่หุ้น ROBINS จะเทรดได้ต่อเนื่องจนถึง 1 วันก่อนที่หุ้น CRC จะเข้าสู่ตลาด

หลังจากนั้นวันที่ 5 ก.พ. 63 จะระบุราคา IPO ที่ชัดเจน และคาดว่าภายในสองสัปดาห์ หรือประมาณวันที่ 20 ก.พ. 63 หุ้น CRC จะเข้าเทรดในตลาดวันแรก

 

8. P/E 30-32 เท่า “เอเซีย พลัส” ประเมินราคาเหมาะสม

สรุปว่าควรซื้อหรือไม่ควรซื้อหุ้น CRC เราสอบถามไปที่ “สุวัฒน์ วัฒนพรพรหม” ผู้ช่วยผู้อำนวยการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ประมาณการณ์กำไรสุทธิ 8 พันล้านบาทของเซ็นทรัล รีเทล เมื่อคำนวณออกมาจากราคา 40-43 บาท จะได้ค่า P/E 30-32 เท่า ซึ่งอยู่ในช่วงบนของกลุ่มหุ้นค้าปลีก ถือเป็นราคาที่ “สมเหตุสมผล” ไม่ตั้งราคาสูงเกินไป และมองว่าหากนักลงทุนสนใจซื้อเชื่อว่าราคาเทรดวันแรกไม่น่าจะต่ำกว่าราคาจองซื้อ

ส่วนการประเมินพื้นฐานบริษัทเซ็นทรัล รีเทล สุวัฒน์มองว่ามีพื้นฐานที่ดี โดยเฉพาะธุรกิจประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตในเวียดนาม และกลุ่มร้านค้าสินค้าเฉพาะอย่าง ไทวัสดุ, Power Buy, Supersports รวมถึงโดยรวมของธุรกิจมีความครบรอบด้าน

อย่างไรก็ตาม สุวัฒน์มองปัจจัยลบระยะสั้นว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงนี้ไม่ดีนัก (อ้างอิงข้อมูลจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยประชาชนส่วนใหญ่ 50.3% มองว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับแย่) ทำให้ในรอบ 6 เดือนข้างหน้า รายได้และกำไรของค้าปลีกอาจจะมีความเสี่ยง

หรือถ้ามองระยะยาว มีปัจจัยลบเช่นกัน เพราะสัดส่วนรายได้ 32% ของ CRC อิงอยู่กับสินค้าแฟชั่นซึ่งถูกดิสรัปโดยการค้าออนไลน์ แม้ว่า CRC จะปรับตัวไปสู่ Omnichannel แล้ว แต่ประเมินว่าการแก้เกมครั้งนี้จะช่วยพยุงตัวไว้มากกว่าที่จะทำให้เติบโตได้

 

]]>
1261069
บริษัทน้ำมัน Saudi Aramco ทำสถิติใหม่มูลค่า IPO สูงสุดในโลก เเซง “อาลีบาบา” https://positioningmag.com/1256166 Fri, 06 Dec 2019 14:59:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256166 Photo : Reuters

Saudi Aramco บริษัทผู้ผลิตน้ำมันยักษ์ใหญ่ของรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย สร้างสร้างสถิติใหม่มูลค่า IPO สูงสุดในโลก เเซงหน้าเเชมป์เก่าอย่าง “อาลีบาบา”

โดยบริษัทเปิดขายหุ้นต่อสาธารณชน (IPO) เป็นครั้งแรกในตลาดหลักทรัพย์ Tadawul กรุงริยาดห์เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย ด้วยมูลค่า IPO รวม 25,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เเละราคา 8.53 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น ซึ่งถือว่ามูลค่าสูงที่สุดในโลก ล้มเเชมป์เก่าอย่าง “อาลีบาบา” อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีนที่เคยเสนอขาย IPO ได้รวม 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2014

เเม้ว่ามูลค่าตลาด (Market Capitalization) ของบริษัท Saudi Aramco หลังการเสนอขายหุ้น IPO ให้สาธารณชนครั้งนี้ อยู่สูงถึง 1.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เเต่ก็ยังถือว่าต่ำกว่าที่มกุฎราชกุมาร โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน เคยตั้งเป้าไว้ที่ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ตาม Saudi Aramco ก็ยังคงเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก โดยสูงกว่ามูลค่าตลาดของแอปเปิล ซึ่งอยู่ที่ 1.15 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่ผ่านมาบริษัท Saudi Aramco เป็นเเหล่งเงินทุนของราชวงศ์ซาอุฯ ที่ถือครองหุ้น 100% ตั้งแต่ปี 1980 และกำไรของบริษัทมักจะถูกจัดสรรไปเป็นงบประมาณสำหรับการบริหารงานของรัฐบาลซาอุฯ

เเละการขายหุ้น IPO ของ Saudi Aramco ครั้งนี้เป็นไปตามความมุ่งหมายของมกุฎราชกุมาร โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ที่ต้องการนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและการจ้างงานในประเทศ ซึ่งในปีนี้มีอัตราการว่างงานสูงถึง 10% เเละต้องการลดการพึ่งพาน้ำมันทางเศรษฐกิจ เนื่องจากราคาน้ำมันที่ทรุดตัวลงมาอย่างต่อเนื่องนับแต่ปี 2014

ทั้งนี้ การประชุมขององค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่กรุงเวียนนาระหว่างวันที่ 5-6 ธ.ค. คาดว่าจะมีการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันลง 40% เพื่อช่วยหนุนราคาน้ำมันโลก

 

ที่มา : BBC , Reuters
ภาพ : Reuters

]]>
1256166