จากรายงานข้อมูลของสหพันธ์การค้าปลีกแห่งชาติสหรัฐ กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลฮาโลวีนเป็นเทศกาลที่มีการใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาเยอะที่สุดและมีการใช้จ่ายมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปีนี้มีการคาดการณ์ว่า ยอดขายฮาโลวีนจะสูงถึง 11.6 พันล้านดอลลาร์
Spirit Halloween ถือเป็นผู้ค้าปลีกสินค้าตามเทศกาล อาทิ ฮาโลวีน ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา และมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในฤดูกาลนี้ก็มีกําหนดจะเปิดร้านเพิ่มเป็น 1,525 แห่งทั่วอเมริกาเหนือ เพิ่มขึ้นประมาณ 1.3% จาก 1,506 แห่งที่เปิดในปี 2023 ถือเป็นการเปิดร้านจำนวนสูงสุดประวัติการณ์
ทำให้ Uber ตัดสินใจร่วมมือกับ Spirit Halloween ในการกอบโกยรายได้และยอดขายในช่วงเทศกาลดังกล่าว โดย Uber ได้เพิ่มร้าน Spirit Halloween ทั้งหมดลงในแอป ซึ่งลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าเกี่ยวกับเทศกาลฮาโลวีน ผ่าน Uber Eats, Postmates และแอป Uber ได้ และผลิตภัณฑ์ของ Spirit Halloween จะถูกนําเสนอในราคาเดียวกับที่ผู้บริโภคสามารถหาได้ในร้านค้าต่างๆ และซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป
นอกจากนั้น Uber ร่วมมือกับผู้ค้าปลีกรายอื่นๆ ในกลุ่มธุรกิจสินค้า-เครื่องแต่งกายเฉพาะเทศกาล เช่น Party City เพื่อเข้าถึงฐานผู้บริโภคที่กว้างขึ้น นอกเหนือจากธุรกิจเดลิเวอรี่อาหาร เป็นต้น
ที่มา : CNBC
]]>ธุรกิจร้านอาหารได้รับปลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ช่วง COVID-19 ทำให้หลายแห่งต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรับกับความไม่แน่นอน ความเสี่ยงทั้งหลาย บางรายต้องกลับมาเน้นเดลิเวอรี่มากขึ้น เปิดโมเดลใหม่ เพื่อลดการพึ่งพิงศูนย์การค้า สามารถเปิดทำการได้แม้เจอล็อกดาวน์
อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจก็คือ การทำ Virtual Brand หรือการปั้นร้านอาหารแบรนด์ใหม่ โดยที่ไม่ต้องมีหน้าร้าน ไม่มีสาขา เน้นขายแต่เดลิเวอรี่อย่างเดียว ไม่มีการขายลูกค้าที่นั่งทานในร้าน แต่ก่อนการจะเปิดแบรนด์ใหม่สักแบรนด์ ต้องหาทั้งทำเลทอง พื้นที่ที่เหมาะสม งบลงทุน พร้อมกับการตลาดในการโปรโมต
ในปัจจุบันเน้นสื่อสารแค่ช่องทางออนไลน์ จัดโปรโมชันร่วมกับฟู้ด เดลิเวอรี่ต่างๆ สามารถลดงบลงทุนไปได้เยอะ อีกทั้งลดความเสี่ยงในการลงทุนทำร้านใหม่อีกด้วย
CRG ได้ปั้น Virtual Brand ทั้งหมด 4 แบรนด์ ได้แก่ บุกชน ข้าวมันไก่, โจว ข้าวต้มแห้ง, คลั่งกะเพรา และคาโคมิ เป็นแบรนด์ลูกของโอโตยะ โดยมีทั้งโมเดลที่พัฒนาร่วมกับ Grab และ พัฒนาขึ้นมาเอง
ฉัตรชัย อุณหโภคา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายกลยุทธองค์กร บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) เล่าว่า
“การทำ Virtual Brand คอนเซ็ปต์คือ ไม่มีหน้าร้าน ขายเฉพาะเดลิเวอรี่โดยเฉพาะ เรามีแนวคิดเกิดจาก CRG มีจุดขาย มีครัวกว่าพันจุด มีคลาวด์ คิทเช่น หรือครัวกลางอีก 11 แห่ง มีระบบอินฟราสตรักเจอร์ภายในร้านรองรับ จึงพัฒนาร้านที่สามารถใช้ครัวของในเครือได้”
ก่อนหน้านี้ CRG ได้พัฒนาร้านอาหารโมเดลใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นครัวกลาง การผนึกกำลังกันของแบรนด์ในเครือ การปรับไซส์เล็กลงเพื่อเข้าไปกับพื้นที่ใหม่ๆ ปั๊มน้ำมัน
รวมไปถึงโมเดลร้านแบบใหม่ Shop in Shop การรวมแบรนด์ในเครือมาอยู่ในร้านเดียว โดยเฉพาะแบรนด์ “มิสเตอร์ โดนัท” ที่มีการปรับตัวหลายด้าน เช่น ผนึกเครื่องดื่มอาริกาโตะ การเปิดร้าน Stand Alone ขยายสาขาเจาะสถานีบริการน้ำมัน รวมไปถึงร้านรูปแบบใหม่ ได้แก่ คอนเทนเนอร์ สโตร์ (Container store)
ปัจจุบัน CRG มีร้านอาหารในเครือรวมทั้งหมด 17 แบรนด์ ได้แก่ มิสเตอร์ โดนัท, เคเอฟซี, อานตี้ แอนส์, เปปเปอร์ ลันช์, ชาบูตง ราเมน, โคล สโตน ครีมเมอรี่, ไทยเทอเรส, โยชิโนยะ, โอโตยะ, เทนยะ, คัตสึยะ, อร่อยดี, เกาลูน, สลัดแฟคทอรี่, บราวน์ , อาริกาโตะ และส้มตำนัว มีสาขาให้บริการจำนวน 1,380 สาขา ทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ ธ.ค. 2564)
ในปี 2565 มีการลงทุนขยายสาขาอีกมากกว่า 200 สาขา หรือจุดขาย โดยโฟกัสทำเลในห้างค้าปลีก ศูนย์การค้า และทำเลนอกห้าง ร้าน Stand Alone ในปั๊มน้ำมัน คาดการณ์รายได้ปี 2565 ไว้กว่า 12,100 ล้านบาท เติบโตเกือบ 30% จากปี 2564 มีรายได้ 9,370 ล้านบาท
]]>แนวโน้ม ‘ธุรกิจร้านอาหาร’ ในปี 2565 ยังเป็นปีที่ต้องระมัดระวัง เนื่องจากตลาดยังมีปัจจัยเสี่ยงของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน และสายพันธุ์อื่นที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังไม่กลับมาฟื้นตัวดี
เเต่ก็ยังคงมี ‘ปัจจัยบวก’ จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและเพิ่มกำลังซื้อของผู้บริโภค อย่าง “มาตรการคนละครึ่งเฟส 4” ที่คาดว่าจะเริ่มในเดือนมีนาคม – เมษายนนี้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2565 ธุรกิจร้านอาหารน่าจะกลับมาเติบโตประมาณ 5.0% – 9.9% (ส่วนหนึ่งเป็นผลของราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นและเงินเฟ้อ) คิดเป็นมูลค่า 3.78-3.96 แสนล้านบาท จากที่ปี 2564 หดตัวถึง 11% อย่างไรก็ตาม จะยังคงเป็นการขยายตัวเฉพาะกลุ่มหรือประเภทร้านอาหาร
ร้านอาหารที่ให้บริการเต็มรูปแบบ (Full Service Restaurants) น่าจะเห็นการเติบโตที่เร่งตัวขึ้นจากฐานที่ต่ำในปีก่อน โดยกลุ่มร้านอาหารที่จะทยอยกลับมาฟื้นตัวก่อน จะเป็นกลุ่มร้านอาหารที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าและร้านอาหารที่มีชื่อเสียงรวมถึงในพื้นที่ท่องเที่ยวจังหวัดที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวชาวไทยในฤดูท่องเที่ยว เช่น อยุธยา บางแสน พัทยา หัวหิน นครปฐม ฯลฯ
ส่วนร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในบริเวณอาคารสำนักงานน่าจะฟื้นตัวจำกัด เนื่องสถานที่ทำงานหลายแห่งยังคงการทำงานแบบ Hybrid Working และ Work from home ทำให้ร้านอาหารกลุ่มนี้จึงยังคงต้องพึ่งช่องทางการจัดส่งอาหารไปยังที่พักเพื่อสร้างรายได้
ประเมินว่าจะมีมูลค่ายอดขายอยู่ที่ประมาณ 1.31 – 1.42 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นการขยายตัว 10.0% – 19.5% โดยเป็นการฟื้นตัวจากฐานที่หดตัวรุนแรงในปีก่อน
ร้านอาหารที่ให้บริการจำกัด (Limited Service Restaurants) การขยายตัวจะมาจากการขยายสาขาในกลุ่มอาหารจานด่วน และร้านอาหารขนาดเล็กที่คาดว่าจะเปิดตัวมากขึ้นกว่าปี 2564 อาทิ กลุ่มร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้านรวมถึงร้านอาหารรูปแบบใหม่ๆ ที่มีความคล่องตัวสูง โดยมีพื้นที่เป้าหมายเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยและปั๊มน้ำมันทั้งในกรุงเทพฯ รอบนอก ปริมณฑลและหัวเมืองหลัก
“ในปี 2565 คาดว่าผู้ประกอบการร้านอาหารในกลุ่มนี้น่าจะทำตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายมากขึ้น โดยเฉพาะการร่วมมือกับผู้ให้บริการแอปพลิเคชันจัดส่งอาหาร ซึ่งโดยปกติแล้วช่องทางการจัดส่งอาหารไปยังที่พักจะเป็นช่องทางรายได้ที่สำคัญของร้านอาหารประเภทนี้”
คาดว่าจะมีมูลค่ายอดขายอยู่ที่ประมาณ 6.4 -6.8 หมื่นล้านบาท หรือขยายตัว 4.6% – 11.8%
อย่างไรก็ดี ร้านอาหารกลุ่มนี้ยังมีความท้าทายในด้านการบริหารจัดการ ‘ช่วงเวลาเร่งด่วน’ ที่มีคำสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมากในหลายช่องทาง เนื่องจากทรัพยากรแรงงานและพื้นที่ที่มีจำกัด ทำให้อาจเกิดภาวะคอขวดในกระบวนการต่างๆ ภายในร้านขึ้นได้
ร้านอาหารข้างทาง (Street Food) ที่มีหน้าร้าน ยังขยายตัวได้ต่อเนื่องและกลุ่มร้านอาหารข้างทางยังได้รับปัจจัยหนุนจากโครงการคนละครึ่งของภาครัฐ มีเมนูพื้นฐานที่เข้าถึงได้ง่าย และราคาไม่สูง
“ร้านอาหารในกลุ่มนี้ มีความหนาแน่นของผู้เล่นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง และมีการหมุนเวียนเข้าออกของผู้เล่นสูง ประกอบกับผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาขยายฐานการตลาดในเซ็กเมนต์นี้อย่างต่อเนื่อง”
โดยคาดว่าตลาด Street Food จะมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1.84 -1.86 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 2.0% – 3.0%
ในปี 2565 ทิศทางธุรกิจร้านอาหาร ต้องคำนึงเรื่อง ‘ต้นทุนธุรกิจที่คาดว่าจะทรงตัวสูงต่อเนื่องทั้งปี ขณะที่การปรับเพิ่มราคาขายยังทำได้จำกัด’ สร้างแรงกดดันต่อกำไรสุทธิของผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนวัตถุดิบอาหารและต้นทุนพลังงาน ส่งผลให้ผู้ประกอบการบางรายจำเป็นต้องปรับราคาอาหารเพิ่มขึ้น การปรับตัวของผู้ประกอบการมาใช้โมเดลร้านอาหารขนาดเล็กเพื่อลดต้นทุนและความเสี่ยง รวมถึงนำเทคโนโลยีเข้ามาผสานเป็นหัวใจสำคัญในห่วงโซ่ธุรกิจร้านอาหาร
“ผู้ประกอบการธุรกิจรายใหญ่ทั้งในและนอกอุตสาหกรรมขยายการลงทุนในธุรกิจร้านอาหารมากยิ่งขึ้น ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอกและปริมณฑล รวมถึงในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ทื่มีการกระจุกตัวของที่อยู่อาศัย ขณะเดียวกัน ความเสี่ยงของโควิดที่ยังมี ส่งผลให้ผู้ประกอบการร้านอาหารจำเป็นต้องรักษาสมดุลของช่องทางการขายและเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ ไปยังสินค้าอื่นๆ มากยิ่งขึ้น”
โดยแม้ภาพรวมทิศทางธุรกิจร้านอาหารในปี 2565 จะกลับมาฟื้นตัว หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องในช่วง 2 ปีก่อนหน้า แต่ผู้ประกอบการร้านอาหารยังคงต้องดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวัง เพื่อลดผลกระทบจากทั้งปัจจัยท้าทายในธุรกิจ
]]>ยุคนี้ต้องแข่งกันที่ความสะดวก! “พร้อมศักดิ์ จรัญญากรณ์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท แมกซ์ โซลูชัน เซอร์วิส จำกัด ในเครือพีทีจี เปิดเผยถึงโซลูชันใหม่ของเครือที่จะช่วยบริการลูกค้า ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป มีการชำระเงินโดยไม่ใช้เงินสดมากขึ้น และใช้งานโซเชียลมีเดียโดยเฉพาะแอปพลิเคชันไลน์สูงขึ้น
ทำให้บริษัทมีโซลูชัน “ทักสั่งได้” ผ่าน LINE Official ของพีที เริ่มแล้วตั้งแต่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา แบ่งเป็น 3 ฟังก์ชัน คือ
1.สั่งจองหรือซื้อน้ำมันล่วงหน้า จากนั้นรับ PIN เพื่อแสดงกับพนักงานที่สถานีบริการน้ำมัน สามารถชำระเงินล่วงหน้าได้เพื่อความรวดเร็ว ปัจจุบันทดลองบริการ 16 สาขาในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลที่มีทราฟฟิกสูง เช่น สาขาศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก, สาขาถนนวิภาวดี
2.สั่งกาแฟพันธุ์ไทยล่วงหน้า ตอบสนองลูกค้ากลุ่ม Grab & Go ที่ไม่ต้องการรอคิวในร้านนาน โดยเฉพาะช่วง rush hour ยามเช้า เปิดบริการแล้ว 192 สาขา จากทั้งหมด 291 สาขาของกาแฟพันธุ์ไทย
3.สั่งซื้อสินค้าใน Max Mart จัดส่งแบบเดลิเวอรี่ จัดส่งฟรีในระยะ 5 กม.จากสาขา ไม่มีขั้นต่ำ บริการ 24 ชั่วโมง (หรือตามภาครัฐกำหนดหากพื้นที่นั้นๆ ยังมีเคอร์ฟิว) ส่งได้ทุกประเภทรวมถึงน้ำดื่มแพ็ก
บริการส่งเดลิเวอรี่เปิดแล้ว 62 สาขาในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลและหัวเมืองต่างจังหวัด มีเป้าหมายขยายเพิ่มเป็น 150 สาขาในเฟสต่อไป ทั้งนี้ ปัจจุบัน Max Mart มีประมาณ 300 สาขาทั่วไทย
“ลูกค้าที่ไม่สะดวกขับรถหรือยกของหนัก บริการนี้จะช่วยได้มาก หรือแม้กระทั่งร้านโชห่วยในชุมชน เราก็พบว่ามีความต้องการ เพราะช่วยให้เจ้าของร้านสะดวกขึ้น ไม่ต้องออกไปซื้อสินค้าเอง” พร้อมศักดิ์กล่าว
บริการนี้พีทีจีไม่ต้องลงทุนด้านยานพาหนะเพิ่ม เพราะแต่ละสาขาจะมีทั้งรถขนส่งขนาดใหญ่และรถมอเตอร์ไซค์ไว้พร้อม เป็นการใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว
ปัจจุบันพีทีมีปั๊มน้ำมัน 2,103 สาขาทั่วประเทศ มากที่สุดในไทย ด้านยอดขายเป็นเบอร์ 2 รองจาก ปตท. ส่วนสมาชิกบัตร PT Max Card มีทั้งหมด 16.1 ล้านราย เป็นระบบ CRM เบอร์ 2 รองจาก The1 และคาดว่าสิ้นปีนี้จะมีสมาชิกแตะ 17 ล้านราย
ก่อนหน้านี้ เครือพีทีจีมีการ spin-off บริษัทลูกออกมาสองแห่ง ได้แก่ บริษัท แมกซ์ โซลูชัน เซอร์วิส จำกัด เพื่อดูแลธุรกิจให้บริการเหล่านี้โดยเฉพาะ และอีกบริษัทคือ บริษัท แมกซ์การ์ด จำกัด ซึ่งจะทำธุรกิจบริการการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) พร้อมศักดิ์ระบุว่า ขณะนี้แมกซ์การ์ดได้รับใบอนุญาตการทำธุรกิจเรียบร้อยแล้ว แต่จะเป็นบริการด้านใดจะเปิดตัวอีกครั้งช่วงต้นปี 2565
ทั้งนี้ หลัง spin-off ธุรกิจเพื่อความคล่องตัวและความปลอดภัยในการรักษาดาต้าลูกค้า บริษัทได้แยกออฟฟิศจากเครือพีทีจีมาอยู่ที่ชั้น 35 ตึกซีดับเบิ้ลยู ทาวเวอร์ รัชดาภิเษก ออกแบบสำนักงานใหม่ตอบรับเทรนด์คนทำงานยุคใหม่ มีที่นั่งแบบ hot-desk เลย์เอาต์เปิดโล่งไม่มีการกั้นคอก และเวลาเข้าออกงานยืดหยุ่นที่เลือกเองได้ สามารถทำงานจากบ้านได้ ต้อนรับไลฟ์สไตล์แบบดิจิทัลของคนทำงาน
]]>กลยุทธ์ใหม่นี้ เกิดขึ้นท่ามกลางความ ‘ตกต่ำ’ ของตลาดร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่น จากการสำรวจของ Nikkei Asia พบว่าในช่วงวิกฤตโควิด ยอดขายของทั้งอุตสาหกรรมลดลงราว 6.1% มาอยู่ที่ประมาณ 11.8 ล้านล้านเยน ในปี 2020 นับเป็นการ ‘ลดลงครั้งแรก’ ตั้งแต่ปี 1981
สวนทางกับการเติบโตของตลาด ‘อีคอมเมิร์ซ’ ในญี่ปุ่น ที่เติบโตขึ้นถึง 22% มาอยู่ที่ประมาณ 12.2 ล้านล้านเยน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ‘stay-at-home consumption’ การบริโภคที่อยู่บ้านที่เพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นยอดขายโดยรวมของฝั่งอีคอมเมิร์ซ ให้แซงหน้าร้านสะดวกซื้อได้เป็นครั้งแรก ในช่วงปีที่ผ่านมา
Seven & i บริษัทเเม่ของ 7-Eleven ในญี่ปุ่น คาดว่า บริการเดลิเวอรี่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของบริษัทได้ โดยปัจจุบันได้เริ่มเปิดให้บริการจัดส่งจากร้านค้าไปเเล้ว ประมาณ 550 แห่งในพื้นที่เมืองโตเกียว ฮอกไกโด และฮิโรชิมะ ก่อนที่จะขยายไปสู่ 20,000 สาขาทั่วประเทศ ภายในปีงบประมาณ 2026
“ร้านค้าไม่ได้เป็นเพียงสถานที่สำหรับซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่สำหรับจัดเก็บสินค้าคงคลังด้วย” Ryuichi Isaka ประธานของ Seven & i กล่าวกับ Nikkei Asia
พร้อมระบุข้อได้เปรียบอีกว่า “บริการ (เดลิเวอรี่) นี้ สามารถขยายได้ในเวลาอันสั้น โดยไม่ต้องลงทุนมากนัก”
ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของ 7-Eleven ญี่ปุ่น ที่มีอาหารและสินค้าประจำวันต่างๆ กว่า 3,000 รายการ ซึ่งการซื้อทุกครั้งเเนะนำว่าควรมีมูลค่ามากกว่า 1,000 เยน (ราว 300บาท) โดยมีค่าธรรมเนียมจัดส่งเพิ่มเติม 330 เยน (ราว 99 บาท) ซึ่งบริการนี้จะเปิดทำการจนถึงเวลา 23.00 น. ในทุกวัน
“คาดว่าแต่ละร้านจะมีรัศมีการจัดส่งประมาณ 500 เมตร แต่อาจขยายได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเเต่ละพื้นที่”
สำหรับการจัดส่งนั้น Seven & i ได้ร่วมมือกับบริษัทโลจิสติกส์ในท้องถิ่นประมาณ 10 แห่ง พร้อมพัฒนาแพลตฟอร์มด้วยการใช้เทคโนโลยี AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านเส้นทางและการประสานงานระหว่างคนขับ
ปัจจุบัน เเม้บริการนี้ยังไม่ฮอตฮิตมากนัก แต่ละสาขามีการจัดส่งไม่กี่ครั้งต่อวัน เเต่ทางบริษัทหวังว่า จะเพิ่มการใช้งานเป็น 15 ครั้งต่อวันหรือมากกว่านั้น ผ่านการขยายบริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และใช้กลยุทธ์ตลาดต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้ให้กว้างขวางมากขึ้น
ด้านคู่เเข่งธุรกิจร้านสะดวกซื้ออีกเจ้าอย่าง Lawson ก็ได้เริ่มให้บริการผ่านเดลิเวอรี่เช่นกัน เเละขยายได้เร็วกว่า 7-Eleven โดยขณะนี้ มีร้านที่พร้อมส่งเดลิเวอรี่กว่า 2,000 แห่ง ใน 32 จังหวัด ผ่านการจับมือกับ ‘Uber Eats’ โดย Lawson วางแผนจะเพิ่มจำนวนร้านค้าเป็น 3,000 แห่งภายในปีงบประมาณ 2022
ทั้งนี้ ยอดการใช้จ่ายเเบบเดลิเวอรี่ของลูกค้า 7-Eleven ในสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 14.50 ดอลลาร์ (ราว 478 บาท) ต่อบิล เพิ่มขึ้นถึง 1.7 เท่า จากของยอดขายหน้าร้าน เนื่องจากคนอยู่บ้านกันมากขึ้นในช่วงโรคระบาด
ที่มา : Nikkei Asia
]]>กระทรวงการคลัง เผยความคืบหน้าการเชื่อมต่อระบบ ‘เดลิเวอรี่’ (Delivery) การส่งอาหาร ส่งสินค้าและบริการต่างๆ เข้ากับโครงการภาครัฐอย่าง ‘คนละครึ่ง เฟส 3’ ว่า ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาระบบ
“คาดว่าจะเริ่มใช้ได้ในเดือน ต.ค. นี้ ซึ่งเป็นช่วงที่จะทำการเติมเงินคนละครึ่งรอบที่ 2 อีก 1,500 บาท เข้าไปในแอปพลิเคชันเป๋าตัง”
โดยเบื้องต้นมีผู้ประกอบการเดลิเวอรี่ ที่คาดว่าจะเข้าร่วม เช่น ไลน์แมน ฟู้ดแพนด้า โรบินฮู้ด แกร็บฟู้ด และช้อปปี้ฟู้ด ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังเตรียมที่จะเชื่อมเเพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ สำหรับผู้ให้บริการส่งสินค้า ประเภทอาหารที่จดทะเบียนนิติบุคคลเข้าร่วมโครงการ ‘ยิ่งใช้ยิ่งได้’ ด้วย
การเชื่อมระบบดังกล่าว นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ร่วมโครงการ ‘คนละครึ่ง – ยิ่งใช้ยิ่งได้’ มีการจับจ่ายใช้สอยที่คล่องตัวมากขึ้น สอดคล้องกับมาตรการป้องกันโควิด-19 แล้ว ยังช่วยทำให้ยอดการใช้จ่ายในโครงการเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงต้นเดือนก.ค. ที่ผ่านมา กระทรวงการคลัง ยังไม่อนุญาตให้จ่ายคนละครึ่งผ่านบริการแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ โดยให้เหตุผลว่า เป็นการใช้จ่ายผ่านคนกลาง ซึ่งเงื่อนไขการใช้จ่ายจะต้องเป็นแบบ face to face หรือจ่ายเงินระหว่างประชาชนกับร้านค้าหรือผู้ให้บริการแบบพบหน้าเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ต่อมามีการพัฒนาระบบให้เชื่อมต่อกันได้ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้ ช่วงเดือนต.ค. นี้ (ตามที่มีการอัปเดตข้างต้น)
สำหรับไทม์ไลน์การโอนเงิน โครงการคนละครึ่ง เฟส 3 แบ่งออกเป็น 2 รอบ ดังนี้
รอบที่ 1 : 1 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2564 รับโอนเงิน 1,500 บาท
รอบที่ 2 : 1 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2564 รับโอนเงิน 1,500 บาท
เป็นสิทธิรัฐช่วยจ่าย 50% ไม่เกินวันละ 150 บาท หรือ สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาท ตลอดระยะเวลาโครงการ โดย ณ วันที่ 23 ส.ค. 2564 ยังมีสิทธิคงเหลืออยู่ 992,608 สิทธิ
(ลงทะเบียนได้ที่ >>>www.คนละครึ่ง.com )
ให้สิทธิ E-Voucher สูงสุด 7,000 บาทต่อคน โดยใช้จ่ายสูงสุด 60,000 บาทต่อคน (ยอดใช้จ่ายที่นำมาคำนวณสิทธิ E-Voucher วันที่ 1 ก.ค. – 21 ก.ค. 64 สามารถใช้จ่ายสูงสุด 5,000 บาท/คน/วัน วันที่ 22 ก.ค. – 30 พ.ย. 64 สามารถใช้จ่ายสูงสุด 10,000 บาท/คน/วัน) โดย ณ วันที่ 23 ส.ค. 2564 ขณะนี้ยังมีสิทธิคงเหลืออยู่ 930,927 สิทธิ
(ลงทะเบียนได้ที่ >>>www.ยิ่งใช้ยิ่งได้.com)
]]>บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เปิดตัวบริการใหม่ Central Kitchen เป็นโมเดลที่จุดซุ้มรวมร้านอาหารดังๆ ตั้งจุดขายหน้าซูเปอร์มาร์เก็ตตามสาขาต่างๆ ทั้งหมด 21 สาขา ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ชลบุรี ระยอง โคราช และหาดใหญ่
วิธีการสั่งอาหาร มีทั้งช่องทางแชทผ่าน Line OA หรือโทรตรงที่สาขาใกล้บ้าน อยู่บ้านก็สั่งได้
ดร. ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า
“เซ็นทรัลพัฒนา ไม่หยุดนิ่งพั
Central Kitchen รวบรวมร้านดังตั้งแต่ Street food อร่อยทานง่ายจานเดียวจบ ชา
เปิดให้บริการที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล 21 สาขา
จากมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดขึ้น เพื่อสกัดการเเพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อวานนี้ (20 ก.ค.64) รัฐบาลได้มีข้อกำหนด ‘เพิ่มเติม’ ควบคุมการปิดและเปิดให้บริการในสถานที่ต่างๆ ทั้งห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าเเละคอมมูนิตี้มอล ทั้ง 13 จังหวัด ‘พื้นที่สีแดงเข้ม’ เป็นเวลา 14 วันตามประกาศ หรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
โดยอนุญาตให้ห้างฯ เปิดให้บริการได้เพียงแค่ 3 กิจการเท่านั้น คือ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านยา/เวชภัณฑ์ และสถานที่ฉีดวัคซีน
ดังนั้น ธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 3 กิจการดังกล่าว จะต้อง ‘ปิดให้บริการ’ ชั่วคราว รวมไปถึง “ร้านอาหารในห้างฯ” ที่ก่อนหน้านี้ยังเปิดให้บริการได้เเต่ต้องขายเเบบซื้อกลับบ้านและฟู้ดเดลิเวอรี่ “เเต่จากมาตรการล่าสุดนั้น ร้านอาหารในห้างฯ จะไม่สามารถขายได้เลยแม้แต่ช่องทางเดลิเวอรี่”
หลังปรับตัวรับวิกฤตโควิดมาหลายรอบ บรรดาร้านอาหารต้อง ‘ดิ้นรน’ อีกครั้งเพื่อให้ธุรกิจยังดำเนินต่อไปได้เเละต้องระบายวัตถุดิบที่มีอยู่
เเบรนด์ต่างๆ จึงตัดสินใจเเก้เกมนี้ ด้วยการประกาศ ’หาพื้นที่เช่า’ ที่มีทำเลอยู่นอกห้างสรรพสินค้า หลากหลายโซนในกรุงเทพฯ เพื่อทำเป็น ‘ครัวเเห่งใหม่’ เนื่องจากตอนนี้ หากเป็นร้านอาหารที่ตั้งอยู่ ‘นอกห้าง’ ยังสามารถเปิดขายเดลิเวอรี่ได้ถึงเวลา 20.00 น.
เริ่มจาก Zen Group เชนร้านอาหารรายใหญ่ ที่มีเเบรนด์ในมืออย่าง ZEN, On The Table และ AKA ระบุว่า
“ท่านใดมีร้านอาหารนอกห้าง ที่มีครัวและอุปกรณ์ครัว โดยไม่ได้เปิดร้าน สนใจอยากให้เช่า โซนดังต่อไปนี้ ลาดพร้าว อนุสาวรีย์ ทองหล่อ สาทร สีลม เพลินจิต พระราม 3 สาธุประดิษฐ์ รามอินทรา (แฟชั่นไอซ์แลนด์) เจริญนคร บางกะปิ สยาม พร้อมพงษ์ รัตนาธิเบศร์ งามวงศ์วาน ปิ่นเกล้า บางแค บางนา พระราม 9 สามารถติดต่อที่ [email protected] หรือโทร 084-675-7553”
ตามมาด้วย อัจฉรา บุรารักษ์ ผู้ก่อตั้ง iberry group เจ้าของร้านอาหารอย่าง กับข้าวกับปลา ทองสมิทธ์ เจริญแกง ฟ้าปลาทาน เบิร์นบุษบา โรงสีโภชนา เเละ รส’นิยม โพสต์ข้อความหาพื้นที่เช่าเเห่งใหม่ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า
“สืบเนื่องมาจาก การถูกสั่งปิดร้านอาหารในห้างทั้งหมด เพื่อนคนไหนมีร้านอาหารนอกห้าง โซนดังต่อไปนี้ มีอุปกรณ์ครัวแต่ไม่ได้เปิดร้าน สนใจอยากให้เช่าระยะสั้นบ้างไหมคะ ทองหล่อ เอกมัย ลาดพร้าว เรียบด่วนเอกมัย–รามอินทรา ราชพฤกษ์ บางจาก รบกวน ติดต่อ line add @iberrygroup นะคะ ขอบพระคุณค่ะ”
ด้าน ดุษิตา สถิรเศรษฐ รองประธานกรรมการ Sukishi Inter Group ร้านอาหารเกาหลีและญี่ปุ่นชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ตามหาพื้นที่เช่าทำครัวอาหารนอกห้างเช่นกัน โดยมองหาโซนใกล้ๆ ย่านพระราม 2 พระราม 3 ปิ่นเกล้า เซ็นทรัลพลาซ่า เวสต์เกต แฟชั่น ไอส์แลนด์ พระราม 9 บางกะปิ รังสิต รวมทั้ง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี หาดใหญ่ ติดต่อ inbox ไปโดยตรงได้ที่ https://www.facebook.com/dusita.satiraseth
Shinkanzen sushi ร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีสาขาหลายเเห่งในห้างฯ ออกประกาศว่า ทางร้านยังมีพนักงานอีกหลายคนที่ต้องดูเเล เพื่อให้พนักงานยังมีงานและรายได้ จึงขอประกาศตามหาพื้นที่เช่า (ระยะสั้น) ทำครัวชั่วคราวสำหรับขายเดลิเวอรี่ ไม่ว่าจะเป็น ตึกเเถว ร้านอาหารเก่า cloud kitchen หรือเป็นครัวโรงเเรมที่หยุดดำเนินการในช่วงนี้ โดยพื้นที่ที่ต้องการคือ
ส่งรายละเอียด มาที่ line@: @shinkanzensushi หรือ inbox มาที่เพจ Shinkanzen sushi
Potato Corner เเบรนด์เฟรนช์ฟรายส์ปรุงรส ก็ประกาศว่า ต้องการหาพื้นที่เช่าด่วน ในช่วง 14 วันนี้ (20 ก.ค. – 2 ส.ค.) โดยไม่จำเป็นต้องมีครัว หรือเป็นร้านอาหาร เพียงแค่มีขนาดพื้นที่มากกว่า 15 ตร.ม. ขึ้นไป ในโซนต่างๆ อย่าง ลาดพร้าว เอกมัย ศรีนครินทร์ บางนา บางใหญ่ ท่าพระ ห้วยขวาง บางกะปิ พระราม 3 เลียบทางด่วนรามอินทรา รังสิต ดอนเมือง รังสิต ปทุมธานี พระราม 2 บางแค คันนายาว ตลิ่งชัน แจ้งวัฒนะ งามวงศ์วาน สำโรง รัตนาธิเบศร์ สุขสวัสดิ์ ทุ่งครุ
คุณสมบัติของพื้นที่ ที่จำเป็นต้องมี
คุณสมบัติที่อาจจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
-อยู่ชั้น 1 และติดถนนใหญ่
-มีระบบระบายอากาศ
-มีตู้แช่สินค้า (หากมีรบกวนระบุจำนวนและขนาด)
-มีระบบ Internet
ส่งข้อมูลได้ที่อีเมล [email protected] และ [email protected] หรือ แชทตรงมาที่ @PotatoCornerTH >> https://lin.ee/b3zbp9R
ติดต่อเข้ามายัง inbox ของทางเพจ Boon Tong Kee – Thailand หรือโทร.083-096-0530 (ฝ่ายสรรหาสถานที่) โดยหากพื้นที่มีอุปกรณ์ครัว หรืองานระบบสำหรับร้านอาหารแล้ว จะพิจารณาเป็นพิเศษ
เรือนเพชรสุกี้ระบุว่า ขณะนี้ทางร้านมีความจำเป็นต้องหาสถานที่นอกศูนย์การค้า เพื่อเปิดให้บริการแบบเพิ่มเติม
เพราะมีพนักงานที่ต้องดูแล มีค่าใช้จ่ายที่ยังเดินไม่หยุด และมีวัตถุดิบที่ถ้าไม่คิดแก้ปัญหาจะเน่าเสียทั้งหมด
โดยมองหาอาคารพาณิชย์ที่ต้องการปล่อยให้เช่าชั่วคราว หรือระยะยาว ที่สามารถใช้ประกอบอาหารได้
หรือพื้นที่ร้านอาหารที่ปิดตัวลงชั่วคราวและสามารถปล่อยให้ทางร้านเช่าเปิดบริการได้ หรือเปิดครัวร้านอาหารอยู่แล้วต้องการลดต้นทุนโดยการหาผู้เช่าร่วม หรือแบ่งพื้นที่ให้เช่าร่วม ในโซนบางนา อ่อนนุช อุดมสุข นนทบุรี เเจ้งวัฒนะ จรัญสนิทวงศ์ พระราม 3 หรือพื้นที่อื่นๆ
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่น่าสนใจอย่างร้าน Ramenga ราเมงอะ ラーメン เมื่อต้องปิดร้านชั่วคราว 7 สาขาในห้างฯ ต้องหาทางระบายสต๊อกวัตถุดิบที่เตรียมไว้เพื่อทำราเมงถึง 1,600 ชาม
โดยทางร้านจะนำไปบริจาคให้องค์กรต่างๆ เพื่อดูแลจิตอาสาและผู้เดือดร้อน ซึ่งหากองค์กรไหน หรือที่ไหนต้องการ ราเมงไปสนับสนุน สามารถแจ้งมาทาง inbox เพจ เฟซบุ๊ก หรือ Line Ramenga https://lin.ee/fTeAHcM โดยเริ่มต้นด้วยการเเจกที่ศูนย์เอราวัณ ที่จัดหาเตียงให้ผู้ป่วยโควิด 200 ชาม
ด้าน Kouen Group ก็ออกประกาศชวนผู้ที่มีความสนใจอยากเพิ่มรายได้จากธุรกิจอาหาร โดยไม่จำเป็นต้องทำอาหารเป็น ซึ่งทางร้านจะมีทีมงานช่วยเทรนให้ทุกขั้นตอน แค่มีบ้านในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดย ณ ตอนนี้ กำลังอยู่ระหว่างการวางเเผนรายละเอียดต่างๆ สามารถติดต่อมาได้ตามอีเมล [email protected] , [email protected]
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของร้านอาหารจำนวนมากที่ต้อง ‘หาทางรอด’ ต่างๆ เพื่อให้ผ่านพ้นช่วงมาตรการล็อกดาวน์เเละวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ไปให้ได้
Swap & Go (สวอพ แอนด์ โก) เป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม โครงสร้างพื้นฐาน และเครือข่าย Battery Swapping หรือการสลับแบตเตอรี่แก่ผู้ใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาด โดยจะนำร่องในกลุ่มธุรกิจบริการรับ-ส่งอาหารหรือสิ่งของ (Delivery Service)
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การใช้รถมอเตอร์ไซค์กลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจ Delivery Service และแนวโน้มการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยก็เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง พร้อมเทรนด์การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม
เหล่านี้ เป็นที่มาของแนวคิดการออกแบบธุรกิจ เพื่อเป็นต้นแบบนวัตกรรมด้านพลังงานให้กับประเทศ อย่าง ‘Swap & Go’ บริษัทในเครือ ปตท. ที่ให้บริการสลับแบตเตอรี่สำหรับผู้ใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า แบบไม่ต้องรอชาร์จ
สำหรับปีนี้ ‘Swap & Go’ จะเปิดให้บริการสถานีสลับแบตเตอรี่ จำนวน 22 แห่งทั่วกรุงเทพฯ แบ่งเป็นภายในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station จำนวน 19 แห่ง และพื้นที่ภายนอก PTT Station อีก 3 แห่ง เบื้องต้นจะเน้นเจาะลูกค้าในกลุ่ม Delivery Service และมีแผนขยายการให้บริการในกลุ่มลูกค้าอื่น ๆ ในระยะถัดไป
ทั้งนี้ ปัจจุบัน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ได้วางเครือข่ายสถานีชาร์จ EV Station ในพื้นที่สถานีบริการน้ำมัน PTT Station แล้วกว่า 30 แห่งทั่วประเทศ และมีแผนจะขยายเป็น 100 แห่งครอบคลุมทุกภาคทั่วประเทศ ภายในปี 2564 พร้อมตั้งเป้าเพิ่มเป็น 300 แห่งในปี 2565 เพื่อรองรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล ตอบสนองความต้องการในการเดินทางทุกรูปแบบ
ที่ผ่านมา Swap & Go ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมของผู้ขับขี่ให้บริการ Delivery หรือ ‘ไรเดอร์’ พบว่า พวกเขาต้องการใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่สามารถรองรับการให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อทำรายได้สูงสุด
โดยปัญหาหลักๆ ที่ทำให้ยังไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าได้ คือแบตเตอรี่ที่ต้องใช้เวลานานในการรอชาร์จ ซึ่งไม่สอดคล้องกับการใช้งานจริง
จากความคิดเห็นดังกล่าว Swap & Go จึงพัฒนารูปแบบธุรกิจการให้บริการสลับแบตเตอรี่ ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นออกแบบกระบวนการใช้งานให้ ‘ง่าย สะดวก และทันสมัย’
สำหรับขั้นตอนการใช้งาน สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Swap & Go เเละเชื่อมต่อกับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่รองรับ เพื่อตรวจสอบปริมาณแบตเตอรี่ ค้นหาตำแหน่งสถานีสลับแบตเตอรี่ จองแบตเตอรี่ใหม่ล่วงหน้า และมีระบบนำทางไปยังสถานี
เมื่อไปถึงสถานีแล้ว สามารถสแกน ‘QR code’ ซึ่งรองรับทั้งระบบ iOS และ Android ทำการสลับแบตเดิมที่หมดกับแบตใหม่ ที่พร้อมใช้งานภายในตู้ชาร์จด้วยตัวเอง ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
Swap & Go มีเป้าหมายมุ่งสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยนำร่องการพัฒนาตู้แบตเตอรี่ ระบบการชาร์จไฟ และการเชื่อมต่อเครือข่ายกับผู้ผลิตและให้บริการแบตเตอรี่สวอพชั้นนำจากประเทศจีน
รวมทั้งจัดหารถมอเตอร์ไฟฟ้าที่สามารถสลับแบตเตอรี่ได้ มาให้บริการในระบบด้วย โดยจะเป็นรถจักรยานยนต์ จากแบรนด์ Molinks รุ่น B-Swap ของค่าย Xiaomi และกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานในอนาคต
ตามรายงานจาก สำนักข่าวไทย ระบุว่า ปัจจุบัน Swap & Go มีมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่สามารถสลับแบตเตอรี่ได้ ซึ่งนำเข้าจากประเทศจีน 40 คัน และเตรียมนำเข้าเพิ่มอีก 40 คันภายในปีนี้ ในส่วนของค่าใช้จ่าย ‘เริ่มต้น’ 60 บาทต่อวัน ครอบคลุมค่าเช่ามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าและการสวอพแบตเตอรี่
ก่อนหน้านี้ ‘โรบินฮู้ด’ เเอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ เพิ่งเปิดให้เช่า ‘มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า’ วันละ 120 บาท ประเดิม 200 คันเเรกทั่วกรุงเทพฯ เเละตั้งเป้าสิ้นปีนี้ให้บริการ 1,500 คัน จุดเปลี่ยนเเบตฯ 100 เเห่ง ตามสาขาใกล้ชุมชนของธนาคารไทยพาณิชย์ โดยร่วมมือกับ 2 เเบรนด์ไทย ให้เลือกเช่าตามใจชอบ ได้เเก่ ETRAN และ H SEM
เมื่อเห็นศักยภาพที่จะพัฒนาต่อ Walmart จึงประกาศเข้าลงทุนใน Cruise บริษัทรถยนต์ไร้คนขับในเครือ General Motors (GM) ที่ได้รับเงินทุนจาก Softbank , Honda เเละบิ๊กเทคฯ อย่าง ‘Microsoft’ ร่วมลงขันกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6.2 หมื่นล้านบาท)
เเม้ดีลของ Walmart เเละ Cruise ครั้งนี้จะไม่มีการเปิดเผยตัวเลขเงินลงทุนเเน่ชัด เเต่ก็มีการประเมินว่าน่าจะไม่ต่ำกว่า 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.3 หมื่นล้านบาท) เนื่องจาก Cruise ระบุยอดระดมทุนครั้งใหม่ว่าอยู่ที่ราว 2.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มจากตัวเลขเดิมที่ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
John Furner ซีอีโอของ Walmart กล่าวว่า การลงทุนครั้งนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เเสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทที่จะนำประโยชน์ของรถยนต์ไร้คนขับมาให้บริการลูกค้าในธุรกิจค้าปลีก เเละรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ร่วมงานกับพันธมิตรอย่าง GM, Honda และ Microsoft เพื่อบุกเบิกเทคโนโลยีใหม่นี้
ที่ผ่านมา Walmart เป็นพาร์ตเนอร์กับผู้พัฒนารถยนต์ไร้คนขับหลายบริษัท อย่างเช่น Ford, Nuro เเละ Waymo ของ Google เป็นต้น
โฆษกของ Walmart ย้ำว่า จะยังคงยังคงทำงานร่วมกับบริษัทรถยนต์รายอื่น ๆ ต่อไป แม้ว่าจะลงทุนใน Cruise เเล้วก็ตาม
โดยล่าสุดมูลค่าบริษัทของ Cruise อยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นหนึ่งในตัวท็อปของวงการรถยนต์ไร้คนขับที่กำลังถูกจับตามอง
“รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตนเอง จะทำให้การขนส่งปลอดภัย สะอาดและเข้าถึงได้มากขึ้นสำหรับทุกคน” Dan Ammann ซีอีโอของ Cruise ระบุ
ด้าน Amazon คู่แข่งรายใหญ่ของ Walmart เพิ่งเข้าซื้อ Zoox บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไร้คนขับ เมื่อปีที่แล้วและได้ตั้งบริษัทลูกเพื่อพัฒนาเเบรนด์ตัวเองขึ้นอย่าง Aurora Amazon พร้อมทดสอบใช้หุ่นยนต์ขนาดเล็กเพื่อจัดส่งพัสดุบนทางเท้า
การผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติใน ‘เชิงพาณิชย์’ เป็นเรื่องที่ท้าทายมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ บางบริษัทต้องล้มเลิกไป เเต่ Mary Barra ซีอีโอของ GM กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า บริษัท ‘มั่นใจ’ ว่า Cruise จะเปิดตัวและดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ ‘เร็วกว่าที่หลายคนคิด’
]]>