เทคโนโลยีจีน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 04 Dec 2021 08:58:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยอมถอยอีกหนึ่ง! Didi แอปฯ เรียกรถ “จีน” เตรียม “ถอนหุ้น” จากตลาดนิวยอร์กตามคำสั่งรัฐ https://positioningmag.com/1365442 Sat, 04 Dec 2021 05:59:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365442 Didi ประกาศเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. ที่ผ่านมาว่า บริษัทเตรียม “ถอนหุ้น” ออกจากตลาดหุ้นนิวยอร์กในทันที และจะย้ายไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง ตามคำสั่งรัฐบาลจีน

“หลังจากการศึกษาอย่างระมัดระวัง บริษัทตัดสินใจเริ่มกระบวนการถอนหุ้นออกจากตลาดหุ้นนิวยอร์กทันที และเริ่มกระบวนการเตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง” บริษัทแถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาผ่านบัญชีทางการบน Weibo

ส่วนแถลงการณ์ภาษาอังกฤษ บริษัทระบุว่า คณะกรรมการบริษัทได้ให้ไฟเขียวให้บริษัททำการถอนหุ้นจากตลาดนิวยอร์กได้ โดยคณะกรรมการจะจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติในประเด็นนี้ต่อไป

การตัดสินใจของ Didi เกิดขึ้นหลังการเปิด IPO ในตลาดนิวยอร์กเพียง 5 เดือน โดยช่วงที่เปิด IPO หุ้นของ Didi ถือว่าเป็นหุ้นระดับบล็อกบลัสเตอร์ของตลาด สามารถระดมทุนไปถึง 4,400 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.49 แสนล้านบาท)

แต่หลังจากนั้น การตัดสินใจเปิด IPO กลายเป็นหายนะของบริษัท เพราะรัฐบาลจีนขู่ลงดาบ Didi หากไม่ยอมถอนหุ้นออกจากตลาดหุ้นนิวยอร์ก โดยจะแบนแอปพลิเคชัน Didi ออกจาก App Store ต่างๆ ที่มีให้บริการในประเทศจีน เพราะถือว่าแอปฯ ละเมิดกฎหมายด้านความปลอดภัยไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของประเทศ

(Photo by GettyImages) ืทว

เหตุการณ์นี้ทำให้ราคาหุ้นของ Didi ร่วงลงเรื่อยๆ จากราคาเปิด IPO ที่ 14 เหรียญต่อหุ้น ปัจจุบันราคาตกลงไปราวครึ่งหนึ่ง และทำให้มาร์เก็ตแคปของบริษัทสูญเสียไปเกือบ 30,000 ล้านเหรียญ (ประมาณ 1.12 ล้านล้านบาท)

การลงดาบตีกรอบบริษัทเทคโนโลยีจีนรายใหญ่เกิดขึ้นทั่วทั้งวงการ โดยการลงดาบ Didi นับเป็นการ ‘เชือดไก่ให้ลิงดู’ ของรัฐบาลจีน เป็นบทลงโทษสำหรับบริษัทจีนที่จะแหกคอกไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศ

รัฐบาลจีนมองว่าการที่บิ๊กเทคคัมปะนีจีนไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศนั้น เป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงของชาติ ยกตัวอย่างในตลาดหุ้นนิวยอร์ก บริษัทที่เข้าไปจดทะเบียนจะต้องถูกตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบสัญชาติอเมริกัน ทำให้จีนไม่พอใจ

ทั้งนี้ ข่าวการถอนหุ้นของ Didi นับว่าเป็น ‘ทอล์กออฟเดอะทาวน์’ ของเมืองจีนเช่นกัน โดยเรื่องนี้ขึ้นเป็นเทรนด์บนโซเชียลมีเดีย Weibo เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา และโพสต์ที่เกี่ยวกับการถอนหุ้นของบริษัทมียอดชมสูงมากกว่า 120 ล้านครั้ง

เรื่องนี้ส่งผลสะเทือนถึงผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง Softbank ที่เข้าไปถือหุ้น Didi ผ่าน Vision Fund ด้วย เมื่อวันศุกร์นั้นราคาหุ้นของ Softbank ที่ตลาดหุ้นโตเกียวตกลง 0.7% และถ้านับตั้งแต่การเปิดข่าวถอนหุ้นของ Didi โดยสำนักข่าว Bloomberg เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า หุ้น Softbank ราคาตกไปแล้ว 5%

 

อาจต้องถอนหุ้นกันทั้งหมด

ไม่ใช่แค่ Didi ที่ถูกจัดการ บริษัทเทคจีนรายใหญ่ที่ไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยอมไปจดทะเบียนแบบ dual-listing ในตลาดหุ้นฮ่องกงแล้ว เช่น Alibaba, JD.com และ Baidu

อารอน คอสเตลโล หัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียที่ Cambridge Associates ให้ความเห็นกับ CNBC ว่า บริษัทวิเคราะห์ว่าเทคคัมปะนีจีนที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะทยอยย้ายไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกงหรือจีนแผ่นดินใหญ่เกือบทั้งหมด

“นี่เป็นส่วนหนึ่งในแผนของรัฐบาลจีน เพราะพวกเขาไม่สบายใจอีกต่อไปกับการใช้อำนาจกฎหมายกำกับเทคคัมปะนีจีน เพราะการใช้กฎเกณฑ์ของสหรัฐฯ มากำหนดพวกเขา และเพราะประเด็นด้านความปลอดภัยของดาต้าด้วย” คอสเตลโลกล่าว

บริษัทจีนที่ไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีมากกว่า 200 บริษัท และหลายบริษัททำธุรกิจด้านเทคโนโลยี นอกจากชื่อที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีบริษัทเช่น บริษัทเกม NetEase, บริษัทอีคอมเมิร์ซ Pinduoduo, บริษัทลูกด้านสตรีมมิ่งดนตรี Tencent Music, บริษัทสตรีมมิ่งวิดีโอ iQiyi ฯลฯ

ที่มา: CNN, CNBC

]]>
1365442
ไฟเขียว Baidu เทสต์ “รถยนต์ไร้คนขับ” ในปักกิ่ง โดยไม่ต้องมีมนุษย์ควบคุมในห้องโดยสาร https://positioningmag.com/1309605 Tue, 08 Dec 2020 11:45:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309605 โครงการ Apollo “รถยนต์ไร้คนขับ” ของบริษัท Baidu ยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีจีน ได้ไฟเขียวจากทางการให้ทดลองใช้รถ 5 คันใจกลางเมืองปักกิ่ง โดยไม่ต้องมีคนขับที่เป็นมนุษย์ในห้องโดยสาร แต่ให้ควบคุมระยะไกล เป็นอีกหนึ่งความคืบหน้าในศึกรถยนต์ไร้คนขับที่ทั่วโลกกำลังแข่งขันกันพัฒนา

รถยนต์ไร้คนขับ หรือ เอดี (AD: Autonomous Driving Vehicles) จากโครงการ Apollo ของ Baidu ได้รับใบอนุญาตจากทางการจีนทั้งหมด 5 ใบ เพื่อให้เริ่มเทสต์รถเอดี 5 คันในบริเวณจำกัดของกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงประเทศจีน โดยไม่ต้องมีมนุษย์ควบคุมในห้องโดยสาร

ใบอนุญาตที่ให้กับ Apollo นี้เกิดขึ้นหลังจากเทศบาลเมืองปักกิ่งปลดล็อกกฎหมายเมื่อเดือนก่อน ให้การทดสอบรถยนต์ไร้คนขับสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องมีมนุษย์ควบคุมในห้องโดยสาร แต่ให้ใช้การควบคุมระยะไกลเพื่อความปลอดภัยแทน

กรณีของ Apollo จะมีการทดสอบโดยใช้คนขับที่เป็นมนุษย์ 5 คนควบคุมรถเอดี 1 คนต่อ 1 คัน ผ่านเครือข่ายสัญญาณ 5G และจะต้องซื้อประกันให้รถยนต์คันละ 5 ล้านหยวนหากขับบนถนนปกติ และ 10 ล้านหยวนหากจะนำรถขึ้นทางด่วน

กรุงปักกิ่งนั้นเป็นหนึ่งในเมืองชั้นนำของจีนที่วางเครือข่ายสัญญาณ 5G ยุคใหม่ สามารถรองรับการส่งสัญญาณได้มากกว่าและลดการหน่วงของการส่งผ่านข้อมูล (latency) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนารถเอดี

โรโบแท็กซี่ของ Baidu

การแข่งขันพัฒนา “รถยนต์ไร้คนขับ” เป็นศึกการพัฒนาระดับโลก ทั้งจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นต่างกำลังพัฒนากันอย่างเต็มความสามารถ และเป็นโครงการพัฒนาที่ท้าทายมาก เพราะในสถานการณ์จริงนั้น รถเอดีจะต้องเจอความซับซ้อนของการจราจรที่แสนวุ่นวาย

สำหรับ Apollo นั้นเคยมีการทดสอบในฐานะ “โรโบแท็กซี่” หรือ แท็กซี่ไร้คนขับ มาแล้วในเขตชานเมืองปักกิ่ง 3 จุด เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา และก่อนหน้านั้นเคยบริการอยู่ในเมืองฉางซา มณฑลหูหนาน และเมืองชางโจว มณฑลเหอเป่ย ด้วยการลงทุนพัฒนาที่สูงทั้งค่าเทคโนโลยี Lidar ติดตั้งเซ็นเซอร์ และระบบคอมพิวเตอร์ในรถ เพราะฉะนั้นการนำมาบริการเป็นแท็กซี่ขณะนี้จึงยังไม่มีกำไร

อย่างไรก็ตาม หลี่ เจิ้นหยู หัวหน้าทีม Apollo เคยให้ข่าวก่อนหน้านี้ว่า บริษัทต้องการจะพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะยาว และจะส่งต่อเทคโนโลยีเหล่านี้ให้กับพันธมิตรในอุตสาหกรรมรถยนต์ดั้งเดิมต่อไป

Source

]]>
1309605
จับตา “สิงคโปร์” เป็นฮับใหม่ของยักษ์เทคฯ จีน…เบนเข็มหาโซนปลอดภัย หนีปมขัดแย้งสหรัฐฯ https://positioningmag.com/1297970 Sun, 20 Sep 2020 13:01:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297970 บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน กำลังเบนเข็มเพิ่มลงทุนธุรกิจไปหาโซนปลอดภัยอย่างสิงคโปร์หลังความขัดเเย้งระหว่างจีนเเละสหรัฐฯ ทีวีความตึงเครียดขึ้นต่อเนื่อง

จากรายงานของ BBC เผยว่า สองยักษ์ใหญ่อย่าง Tencent และ Alibaba กำลังวางเเผนที่จะขยายธุรกิจในสิงคโปร์ ขณะที่ ByteDance บริษัทเเม่ของ TikTok ที่กำลังมีปัญหากับรัฐบาลสหรัฐฯ อยู่ ณ ขณะนี้ ก็มีเเผนลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐในสิงคโปร์เร็วๆ นี้ด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลวอชิงตันกับรัฐบาลปักกิ่ง กำลังตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะบรรดาบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ที่กำลังตกเป็นเป้าหมาย เเละดูเหมือนสิงคโปร์จะกลายเป็นประเทศปลอดภัยในความขัดเเย้งนี้เพราะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งสหรัฐฯ และจีนมาโดยตลอด

Tencent เทคฯ ยักษ์ใหญ่ของ หม่า ฮั่วเถิง” มหาเศรษฐีที่รวยที่สุดของจีน ซึ่งเป็นผู้ให้บริการแอปแชทยอดนิยมอย่าง Wechat ประกาศตั้งสำนักงานประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งใหม่ในสิงคโปร์ เมื่อ 15 ..ที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่า การขยายธุรกิจในสิงคโปร์จะช่วยส่งเสริมกลยุทธ์ของธุรกิจที่กำลังเติบโตในอาเซียนและพื้นที่อื่น ๆ

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลสหรัฐฯ สั่งห้ามการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน WeChat และ TikTok โดยจะมีผลตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 20 .. ด้วยข้ออ้างที่ว่าแอปฯ สัญชาติจีนดังกล่าวเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ 

ล่าสุด Tencent ได้เปลี่ยนชื่อ WeChat เป็น WeCom เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้ก่อนที่จะถูกแบนที่ผู้ใช้งานเฉลี่ย 19 ล้านคนต่อวันในอเมริกา ดังนั้น ผลกระทบจากการถูกแบนจึงมีมากกว่า TikTok เพราะอาจทำให้ผู้ใช้ได้รับผลกระทบจากระบบการโอนเงิน จ่ายเงิน ที่อาจล่าช้าหรือติดขัดตั้งแต่คืนวันอาทิตย์ที่ 20 ..เป็นต้นไป

ด้าน Alibaba บิ๊กเทคโนโลยีจีนอีกราย มีเเผนจะขยายลงทุนในสิงคโปร์ ซึ่งจะมีการทุ่มเงินเพื่อเพิ่มลงทุนใน Lazada เเละ Grab ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการเจรจา ขณะที่ ByteDance บริษัทเเม่ของ TikTok ก็มีเเผนจะลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐในสิงคโปร์เร็ว ๆ นี้ อีกทั้งบริษัทยังได้ยื่นขออนุญาตจัดตั้ง “ธนาคารดิจิทัล” จากธนาคารกลางสิงคโปร์ โดยร่วมมือกับฟินเทคอย่าง Ant Financial ของ Alibaba เเละ Sea ของ Tencent ด้วย 

“ความตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐฯ มีความเสี่ยงที่จะเกิดการแยกระบบเทคโนโลยีของโลกออกจากกัน ดังนั้นเหล่าบริษัทเทคทั้งหลายจึงต้องหาทางดำเนินธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศจีน” Tommy Wu จาก Oxford Economics ให้ความเห็นกับ BBC 

ที่ผ่านมา สิงคโปร์เป็นประเทศเนื้อหอมที่บรรดาธุรกิจเทคโนโลยีต่างชาติให้ความเชื่อมั่น ทั้งในเเง่ในแง่ของระบบการเงินและกฎหมายที่ก้าวหน้า เเละตอนนี้ สิงคโปร์ยังเป็นพื้นที่มั่นคงในสายตาบริษัทจีนต่างๆ ทั้งในแง่ความเป็นกลางระหว่างจีนกับสหรัฐฯ การเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมของภูมิภาค หลีกหนีจากความวุ่นวายทางการเมืองในฮ่องกงได้ 

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสิงคโปร์บอบช้ำจากพิษ COVID-19 มากกว่าที่ประเมินไว้ เช่นเดียวกับหลายประเทศทั่วโลก บ่งชี้สัญญาณการฟื้นตัวที่ต้องใช้เวลานาน โดยตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 2 หดตัวถึง 42.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2020 พร้อมหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจทั้งปีนี้ เป็นติดลบ 5-7% จากเดิมที่เคยคาดไว้ที่ 4-7% 

Photo : Shutterstock

Nick Redfearn จากบริษัทปรึกษาธุรกิจ Rouse ให้ความเห็นว่า ปกติเเล้ว สำนักงานใหญ่ที่มาเปิดประจำภูมิภาคจะดำเนินธุรกิจแทนบริษัทแม่ ทำหน้าที่เป็นผู้ลงทุนต่อในประเทศอื่น ๆ ทั้งในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ซึ่งช่วยให้บรรดาบริษัทจีนหลีกเลี่ยงการเปิดเผยตัวว่าเป็นทุนจีนโดยตรงได้

อย่างไรก็ตาม ความเห็นอีกมุมจาก Rui Ma นักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจีน มองว่า ความเคลื่อนไหวของบริษัทเทคฯ จีนที่สนใจลงทุนสิงคโปร์มากขึ้น ก็ไม่ต่างจากการเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในสิงคโปร์ของบริษัทเทคโนโลยีตะวันตก อย่าง Google, Facebook, LinkedIn และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งความขัดแย้งจีนกับสหรัฐฯ เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่ใช่สาเหตุหลักที่ต้องย้ายธุรกิจ เเต่เป็นการที่บริษัทจีนมองเห็นโอกาสระยะยาวในการขยายธุรกิจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

ถ้าบริษัทตะวันตกสามารถก้าวสู่ระดับโลกได้ ทำไมบริษัทจีนจะทำไม่ได้” Rui Ma กล่าว

 

ที่มา : BBC 

 

]]>
1297970
เอาบ้าง! “ไต้หวัน” เปิดศึกบริษัทเทคจีน เตรียมแบนแอปฯ สตรีมมิ่ง iQiyi และ WeTV https://positioningmag.com/1293646 Fri, 21 Aug 2020 04:46:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293646 “ไต้หวัน” วางแผนแบนยักษ์ใหญ่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งจากจีนอย่าง iQiyi (อ้ายฉีอี้) และ WeTV โดยจะสั่งห้ามมิให้องค์กรหรือบุคคลใดทำงานร่วมกับทั้งสองแพลตฟอร์มนี้ กลายเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ปกครองที่เปิดศึกกับบริษัทเทคโนโลยีจีนต่อจากสหรัฐฯ และอินเดีย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไต้หวันเปิดเผยว่า คำสั่งดังกล่าวจะมีประกาศอย่างเป็นทางการวันที่ 3 กันยายนนี้ โดยจะสั่งการห้ามองค์กรและบุคคลใดทำงานร่วมกับบริษัทสตรีมมิ่งจากจีนแผ่นดินใหญ่ ทำให้ทั้งสองบริษัทจะให้บริการบนเกาะไต้หวัน “อย่างผิดกฎหมาย” ไม่ได้ แม้แต่การดำเนินการผ่านตัวแทนผู้จัดจำหน่ายหรือเอเย่นต์ก็ไม่สามารถกระทำได้

iQiyi (อ้ายฉีอี้) นั้นเป็นแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งรายใหญ่ในเครือ Baidu โดยมีลักษณะคล้าย Netflix คือเป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมซีรีส์ ภาพยนตร์ รายการวาไรตี้ ที่ผลิตโดยมืออาชีพมาให้สมาชิกได้รับชม แอปฯ iQiyi ยื่นขออนุญาตเปิดบริษัทย่อยในไต้หวันเมื่อปี 2559 แต่ทางการไต้หวันปฏิเสธการเปิดบริษัทไป

เนื่องจากไต้หวันมี “กฎหมายความสัมพันธ์ทางการปกครองระหว่างพื้นที่สาธารณรัฐไต้หวันกับพื้นที่แผ่นดินใหญ่” ซึ่งกำหนดให้บริษัทจีนสามารถลงทุนจำหน่ายสินค้าและให้บริการในไต้หวันได้เป็นบางหมวดเท่านั้น และบริการสตรีมมิ่งไม่อยู่ในรายการที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย

WeTV เพิ่งเปิดตัวในไต้หวันไม่ถึงปี แต่มียอดดาวน์โหลดแล้วกว่า 1 ล้านครั้ง

อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์ม iQiyi และ WeTV ซึ่งเป็นคู่แข่งประเภทเดียวกันจากเครือ Tencent หลีกเลี่ยงการบังคับใช้กฎหมาย โดยการร่วมเป็นพันธมิตรกับธุกิจสื่อท้องถิ่นและตัวแทนจัดจำหน่ายในไต้หวัน เพื่อโปรโมตและบริการสตรีมมิ่งของตนเอง

สำนักข่าว Taipei Times รายงานเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า iQiyi อาจจะมีสมาชิกถึง 6 ล้านคนบนเกาะไต้หวัน และมีสำนักข่าวท้องถิ่นรายงานเมื่อเดือนธันวาคมปีก่อนว่า แพลตฟอร์มนี้มียอดวิวทะลุ 1,700 ล้านวิวไปแล้ว เนื่องจากซีรีส์สุดฮิต The Legend of Haolan ออกฉาย ส่วนแอปฯ WeTV มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 1 ล้านครั้งในไต้หวัน หลังจากเปิดบริการมาไม่ถึง 1 ปี

“โคลาส โยทากะ” โฆษกหญิงรัฐบาลไต้หวัน กล่าวไว้เมื่อเดือนเมษายนว่า การอนุญาตให้แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งจีนให้บริการได้บนช่องว่างทางกฎหมาย ด้วยการไปจับมือกับบริษัทท้องถิ่น เป็นการ “ทำผิดต่อหลักประชาธิปไตย” และไต้หวันซึ่งเป็นเขตปกครองตนเองจะร่างกฎหมายใหม่มาอุดช่องว่างนี้ จากนั้นจึงนำมาสู่การออกกฎหมายห้ามทำงานร่วมกับบริษัทสตรีมมิ่งจากจีน

Tencent ยังไม่มีการให้ข้อมูลใดๆ ส่วน iQiyi กล่าวว่าให้ยึดคำแถลงจาก OTT Entertainment ซึ่งเป็นพันธมิตรธุรกิจท้องถิ่นในไต้หวัน ทาง OTT กล่าวว่า “บริษัทจะยึดมั่นในการปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของสมาชิกผู้ใช้งานอย่างเต็มที่”

TikTok กลายเป็นสมรภูมิการต่อสู้ด้านเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ

สถานการณ์ธุรกิจเทคโนโลยีจีนช่วงนี้กำลังถูกโจมตีอย่างหนัก ด้วยข้อกังวลว่าแอปฯ จีนเหล่านี้ไม่มีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้และจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ทำให้สหรัฐอเมริกาและอินเดียเริ่มแบนแอปฯ จีนไปจำนวนมาก เช่น TikTok, WeChat สำหรับ TikTok นั้นถูกสหรัฐฯ สั่งการให้ถอนตัวออกจากตลาดภายใน 90 วัน ส่วนอินเดียมีการแบนแอปฯ จีนไปแล้วถึง 59 ราย หลังเกิดการปะทะของกองทัพจีนกับอินเดียบริเวณชายแดนจนมีผู้เสียชีวิต

“การตรวจสอบแอปฯ จีนในระดับสากลจากข้อกังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลและความมั่นคงของชาติ ประเด็นนี้จะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการขยายธุรกิจของบริษัทอินเทอร์เน็ตจีน” เวย์-เซิร์น หลิง นักวิเคราะห์จาก Bloomberg Intelligence กล่าว “การแบนแอปฯ เพื่อตอบโต้เอาคืนในเชิงภูมิรัฐศาสตร์เป็นวิธีที่นำมาใช้ได้ง่าย และยังสร้างผลเสียติดตามมาน้อยกว่าหากเทียบกับวิธีการอื่น เช่น ตั้งกำแพงภาษี”

Source

]]>
1293646
ทรัมป์ สั่งแบน “TikTok – WeChat” สะเทือนเงินหยวน ทำหุ้น Tencent ลดฮวบ 3.46 หมื่นล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1291597 Fri, 07 Aug 2020 11:17:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291597 มูลค่าหุ้นของบริษัทเทคยักษ์ใหญ่เเดนมังกรอย่าง Tencent ลดฮวบทันทีกว่า 3.46 หมื่นล้านเหรียญ (ราว 1 ล้านล้านบาท) พร้อมกับค่าเงินหยวนที่อ่อนค่าลงที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เเห่งสหรัฐฯ ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหาร ห้ามการทำธุรกรรมใดๆ กับแอปพลิเคชัน WeChat ในดินเเดนอเมริกา มีผลใน 45 วัน

โดยคำสั่งดังกล่าวออกมาในเวลาเดียวกันที่ Microsoft บริษัทใหญ่สัญชาติอเมริกัน กำลังเจรจาเรื่องซื้อกิจการในสหรัฐฯ ของแอปพลิเคชันจีนยอดนิยมอย่าง TikTok ซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์ ก็กำหนดเส้นตายให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นในวันที่ 15 ..นี้เช่นกัน ท่ามกลางความตึงเครียดของศึกเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ เเละจีน

สำหรับ TikTok เป็นแอปพลิเคชันสำหรับแชร์วิดีโอสั้น ๆ ที่ได้รับความนิยมขึ้นอย่างมากในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นของบริษัท ByteDance ของจีน ส่วนแอปพลิเคชันส่งข้อความ Wechat เป็นธุรกิจของ Tencent เครือบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่มีหม่า ฮั่วเถิงมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดของจีนเป็นเจ้าของ

โดยวันนี้ (7 ..) ราคาหุ้นของ Tencent Holdings ร่วงลงหนักอยู่ในช่วงระหว่าง 4-10 % ในการซื้อขายที่ตลาดหุ้นฮ่องกงช่วงเช้า ทำให้มูลค่าหุ้นของบริษัทตามราคาตลาดหายไปทันที 3.46 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตามรายงานของ Bloomberg

นอกจาก Tencent แล้ว หุ้นบริษัทเทคโนโลยีรายอื่นๆ ของจีนก็ถูกกดดันให้ร่วงลงเช่นกัน โดยหุ้น Alibaba และ JD.com ดิ่งลงมากที่สุด 6.7% และ 5% ในช่วงระหว่างวัน

ขณะเดียวกัน คำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดังกล่าว ยังส่งผลต่อค่าเงินหยวนของจีน ให้อ่อนค่าลงมากที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ ซึ่งความไม่แน่นอนเกี่ยวกับขอบเขตของคำสั่งนี้ สร้างความสับสนให้กับนักลงทุน เเละยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ย่ำแย่ลงไปอีก จากประเด็นสงครามการค้าที่ยืดเยื้อเเละมรสุม COVID-19

Photo : Shutterstock

ในคำสั่งพิเศษของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่า การใช้แอปพลิเคชันที่พัฒนาและมีบริษัทในจีนเป็นเจ้าของอย่างแพร่หลายในอเมริกานั้น ถือเป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงของชาติ นโยบายต่างประเทศ และเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

โดยทรัมป์ มองว่าแอปพลิเคชันทั้งสองเป็นภัยคุกคาม และในคำสั่งพิเศษที่เขาเป็นผู้ลงนาม ก็มีการห้ามการทำธุรกรรมใดๆ ที่ไม่เฉพาะเจาะจงกับเจ้าของชาวจีนของแอปพลิเคชันหรือบริษัทย่อยของกิจการเหล่านี้ด้วย

ความเคลื่อนไหวนี้ ไม่ได้กระทบกับเเค่กับบริษัทจีนอย่าง ByteDance เเละ Tencent เท่านั้น เเต่ยังสะเทือนไปถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ ที่มีความสัมพันธ์เเละลงทุนร่วมกันกับทุนจีนด้วย โดยปัจจุบัน Tencent มีหุ้นใน Tesla ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังโด่งดังของ Elon Musk รวมไปถึง Epic Games บริษัทเกมยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ และ Spotify สตรีมมิ่งเพลงยอดนิยม ซึ่งต่อไปจะมีผลต่อความไม่เเน่นอนต่อเเผนการขยายลงทุนในต่างประเทศเเละข้อตกลงการควบรวมกิจการต่างๆ

 

ที่มา : Bloomberg , CNBC

]]>
1291597