เนื้อสัตว์จากพืช – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 03 Nov 2023 07:01:57 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยังไม่ฟื้น! บริษัทเนื้อจากพืช “Beyond Meat” เลย์ออฟพนักงาน 19% หลังดีมานด์สินค้าหดตัว https://positioningmag.com/1450503 Thu, 02 Nov 2023 15:59:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450503 “Beyond Meat” เลย์ออฟพนักงานที่ไม่ใช่ฝ่ายผลิตออก 19% หลังรายได้ยังไม่ฟื้นตามคาด ดีมานด์ “เนื้อจากพืช” ไม่ดีขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐฯ

บริษัท “Beyond Meat” ประกาศเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2023 ว่า บริษัทมีการเลย์ออฟพนักงานออกอีก 65 คน หรือคิดเป็น 19% ของพนักงานบริษัทในส่วนที่ไม่ใช่ฝ่ายผลิต

บริษัทยังกำลังพิจารณาไลน์โปรดักส์ การปรับราคา และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตในโรงงานจีนอีกด้วย ข่าวนี้ทำให้ราคาหุ้นของ Beyond Meat ปรับขึ้น 9% ทันที

“เราคาดหวังว่ารายได้จะกลับมาโตได้ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2023 แต่ก็ไม่เป็นไปตามที่คาด” Ethan Brown ซีอีโอและประธานบริษัท Beyond Meat ระบุ

บริษัทรายงานรายได้ไตรมาส 3 ปีนี้ออกมาที่ 75 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันปีก่อน 8.5%

Beyond Meat ยังคาดว่ารายได้ตลอดปีนี้จะอยู่ระหว่าง 330-340 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหมายความว่าจะต่ำลง 19-21% จากรายได้ปีก่อน

การเลย์ออฟครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของบริษัท เพราะเมื่อปี 2022 บริษัทมีการเลย์ออฟไปแล้วหลายรอบ รวมแล้วปีก่อนมีการปลดพนักงานสะสม 240 คน โดยกล่าวถึงสาเหตุการเลย์ออฟว่ามาจากอัตราเงินเฟ้อและการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น

บริษัทระบุว่าปีนี้ยอดขายในสหรัฐฯ ยังคงตกต่ำ และการอัดโปรโมชันก็ไม่ได้ผลกลับมาเท่าที่ควร ช่วงที่ผ่านมาบริษัทยังพยายามที่จะกู้ยอดขายในสหรัฐฯ ด้วยการออกโฆษณาเพื่อแก้ไขความเข้าใจของผู้บริโภคอเมริกันที่มองว่า สินค้า “เนื้อจากพืช” พวกนี้ไม่ดีต่อสุขภาพและมีการแปรรูปมาอย่างหนัก

Beyond Meat ได้รับการยอมรับมากกว่าในทวีปยุโรป โดยเนื้อจากพืชของพวกเขาถูกนำไปใช้ในเมนูเบอร์เกอร์และนักเก็ตไก่ของ McDonald’s ยุโรป ส่วนเมนูเนื้อจากพืชของบริษัทที่ร่วมกับ McDonald’s ในสหรัฐฯ กลับไม่ได้รับผลตอบรับที่ดีนัก และไม่ได้กลายเป็นเมนูถาวรเหมือนในยุโรป

source

]]>
1450503
ยักษ์ใหญ่บุกไทย! “Cargill” เปิดตัวนักเก็ตจากพืช “PlantEver” ขายออนไลน์ https://positioningmag.com/1353160 Thu, 23 Sep 2021 09:20:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353160 ตลาดเนื้อทำจากพืช (Plant-based Meat) ในไทยยิ่งเดือดขึ้นอีก เมื่อยักษ์เกษตรโลก Cargill เปิดตัวนักเก็ตทำจากพืชแบรนด์ “PlantEver” ลุยขายบนออนไลน์

นักเก็ตจากพืช PlantEver สูตรเทมปุระ จะจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ คือ Facebook และ Instagram “Cargill Protein Lover” รวมถึงมาร์เก็ตเพลซ Lazada และ Shopee

ข้อมูลจาก Cargill ไม่ได้ระบุว่านักเก็ตนี้ทำจากวัตถุดิบใดบ้าง แต่เมื่อปีก่อน Cargill มีความร่วมมือกับ KFC ผลิตนักเก็ตเลียนแบบเนื้อไก่ ซึ่งผลิตจากถั่วลันเตา ถั่วเหลือง และข้าวสาลี

นักเก็ตจากพืชของ Cargill จะมุ่งเป้าหมายกลุ่ม “Flexitarian” หรือผู้ที่ทานมังสวิรัติเป็นบางวัน ซึ่งกำลังมาแรงในไทย

วัชรพล ประสพเกียรติโภคา กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจคาร์กิลล์โปรตีน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า คนส่วนใหญ่มักคิดว่าผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพนั้นมักจะไม่อร่อย แต่เราเชื่อว่าเรื่องของรสชาติต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง ดังนั้นเราจึงใส่ใจรสชาติพอๆ กับคุณค่าทางโภชนาการ กลุ่มผู้บริโภคคนไทยสามารถช่วยกันเปลี่ยนโลกใหม่ อร่อยด้วยมื้อเบาๆ เพียงแค่รับประทานผลิตภัณฑ์ของ PlantEver™

นักเก็ตจากพืช PlantEver

บริษัท Cargill โหมตลาด Plant-based Meat อย่างหนักมาตั้งแต่ปีก่อน โดยมีความร่วมมือทั้งกับ KFC และกับร้านสะดวกซื้อ Lawson ก่อนหน้านั้นบริษัทเทงบลงทุน 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.32 แสนล้านบาท) มาตลอด 5 ปี เพื่อวิจัยผลิตภัณฑ์เนื้อทำจากพืช

ศูนย์วิจัย Krungthai Compass เคยประเมินไว้ว่า ตลาดสินค้า Plant-based Meat จะเติบโตปีละ 10-35% ไปจนถึงปี 2567 ซึ่งจะทำให้มูลค่าตลาดขึ้นไปแตะ 45,000 ล้านบาท

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์ Plant-based เข้าทำตลาดแล้วไม่ต่ำกว่า 10 แบรนด์ ทั้งบริษัทไทยเทศหรือบริษัทเล็กใหญ่ต่างต้องการส่วนแบ่งในธุรกิจที่กำลังเติบโต โดยกุญแจสำคัญที่จะเป็นผู้ชนะในตลาดนี้ยังคงเป็นเรื่อง “รสชาติ” ที่ต้องอร่อยและคล้ายกับเนื้อสัตว์จริงมากที่สุด

#Cargill #เนื้อจากพืช #มังสวิรัติ #Positioningmag

]]>
1353160
Plant-based ฮิตจัด! “เนสท์เล่” เปิดแบรนด์ Harvest Gourmet ส่งวัตถุดิบเข้าร้านอาหาร https://positioningmag.com/1320525 Tue, 23 Feb 2021 09:20:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320525 “เนสท์เล่” ลุยตลาด Plant-based แล้ว! ใช้แบรนด์ “Harvest Gourmet” จำหน่ายวัตถุดิบอาหารแบบ B2B เข้าร้านโดยตรง แย้มมีพันธมิตรเชนร้านอาหารรายใหญ่หลักร้อยสาขา ประเมินมูลค่าตลาด 900 ล้านบาท โอกาสโตปีละ 20% พบคนไทย 1 ใน 4 เป็นกลุ่ม “Flexitarian” ลดทานเนื้อสัตว์อย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์

“เครือวัลย์ วรุณไพจิตร” ผู้อำนวยการบริหารหน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหาร และ เนส์เล่ โพรเฟสชันนัล ประจำภูมิภาคอินโดไชน่า แถลงข่าวเปิดตัวแบรนด์ใหม่ในเครือ “Harvest Gourmet” (ฮาร์เวสต์ กูร์เมต์) แบรนด์ผลิตภัณฑ์เนื้อทำจากพืชหรือ Plant-based ในรูปแบบวัตถุดิบสำหรับนำไปประกอบอาหาร จะเริ่มจำหน่ายในไทยเดือนมีนาคม 2564

Plant-based ของ Harvest Gourmet เป็นผลิตภัณฑ์จากโปรตีนถั่วเหลือง แต่งสีด้วยบีทรูทและแครอทสกัดเข้มข้น เสริมความมันด้วยน้ำมันมะพร้าว และไม่ใส่ผงชูรส มีเนื้อทั้งหมด 5 ชนิดให้เลือก ได้แก่ เนื้อเบอร์เกอร์ เนื้อบดละเอียด ไก่ย่างรมควัน ไก่ชุบเกล็ดขนมปัง และ มีทบอล โดยเชื่อว่าทั้งหมดจะเป็นวัตถุดิบหลักที่มีความหลากหลายพอให้ร้านอาหารนำไปสร้างสรรค์เมนูได้

วัตถุดิบอาหาร 5 แบบแรกที่วางตลาดของ Harvest Gourmet นำไปทำอาหารได้หลายอย่าง

แหล่งผลิต Harvest Gourmet ของไทย นำเข้าจากโรงงานที่มาเลเซีย ซึ่งเป็นโรงงานที่ผลิตสำหรับขายในทวีปเอเชีย ทำให้ผลิตภัณฑ์จะแต่งรสให้เหมาะกับลิ้นคนเอเชียมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่มาจากตะวันตก ปัจจุบันแบรนด์นี้มีขายแล้วในจีนกับออสเตรเลีย และกำลังจะมีขายในไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ส่วนแบรนด์ Plant-based อื่นๆ ของเนสท์เล่มีจำหน่ายในยุโรปกับสหรัฐอเมริกาอยู่ก่อนแล้ว

 

แย้มพันธมิตรรายใหญ่ใช้ Harvest Gourmet

เครือวัลย์ระบุว่า กลยุทธ์ในประเทศไทยจะจำหน่ายแบบ B2B กับพันธมิตรร้านอาหารก่อน ยังไม่มีจำหน่ายให้ผู้บริโภครายย่อยในซูเปอร์มาร์เก็ต ส่วนจะขยับไปวางขายให้รายย่อยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกระแสในตลาดต่อจากนี้มีความต้องการหาซื้อเพื่อนำไปประกอบอาหารเองที่บ้านมากน้อยแค่ไหน

พันธมิตรร้านอาหารดังกล่าว เนสท์เล่ยังไม่ระบุจำนวนรายหรือเผยชื่อ แต่แย้มว่ามีพันธมิตรที่เป็นเชนร้านอาหารขนาดใหญ่มีสาขาหลักร้อยสาขาในเมืองไทย เตรียมจะเปิดตัวเมนูเนื้อทำจากพืชเร็วๆ นี้

ตัวอย่างเมนู “สะเต๊ะหมู” จากเนื้อบดละเอียด สื่อสารว่า Plant-based สามารถนำมาทำอาหารสไตล์เอเชียนได้

ความคาดหวังในแง่รายได้นั้น เครือวัลย์ยังไม่ระบุ เนื่องจากปีแรกๆ จะเป็นการสร้างความตระหนักรู้ให้คนไทยคุ้นเคยและไว้ใจเนื้อประเภท Plant-based ก่อน เพราะขณะนี้คนไทยส่วนใหญ่ยังมองว่าเนื้อจำพวกนี้รสชาติไม่อร่อย ทำให้ Harvest Gourmet จะเน้นชูจุดขายเรื่องความอร่อยเป็นหลักในการทำตลาด หากติดตลาดแล้วในระยะยาวจะกลายเป็นพอร์ตสินค้าใหม่ของเนสท์เล่ได้

 

ตลาด Plant-based โตปีละ 20%

ด้านพฤติกรรมผู้บริโภค เครือวัลย์กล่าวว่าคนไทยราว 1 ใน 4 ของประชากรเป็นกลุ่มที่เรียกว่า ‘Flexitarian’ หมายถึงคนที่ไม่ได้ทานมังสวิรัติประจำ แต่กำลังลดการบริโภคเนื้อสัตว์เป็นบางมื้อ เช่น คนที่ตั้งใจไม่ทานเนื้อสัตว์ในวันจันทร์เพราะเป็นวันเกิดของตนเอง โดยคนกลุ่มนี้ 65% ลดทานเนื้อสัตว์เพราะรักสุขภาพ อีก 20% ทำเพื่อควบคุมรูปร่าง

ขณะที่ขนาดตลาด เนสท์เล่อ้างอิงข้อมูล Euromonitor ว่าตลาด Plant-based ในไทยมีมูลค่า 900 ล้านบาทเมื่อปี 2563 ตัวเลขอาจจะยังน้อยเพราะเป็นตลาดใหม่ แต่อัตราเติบโตปีละ 20%

“เครือวัลย์ วรุณไพจิตร” ผู้อำนวยการบริหารหน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหาร และ เนส์เล่ โพรเฟสชันนัล ประจำภูมิภาคอินโดไชน่า

เนสท์เล่เชื่อว่าจะผลักดันตลาดให้เติบโตขึ้นได้สูงกว่านั้น เพราะปัจจัยที่ทำให้คนไทยยังไม่ทาน Plant-based มากนักไม่ใช่แค่เรื่องความอร่อย แต่ยังมีเรื่องตัวเลือกในตลาดมีน้อย หาทานยาก เมื่อใดที่มีตัวเลือกรับประทานมากขึ้น จะทำให้ตลาดโตได้ง่ายขึ้น โดยปัจจุบันร้านอาหารหลายแห่งเริ่มสนใจสร้างเมนู Plant-based เพราะเริ่มมีดีมานด์ และช่วยเรื่องภาพลักษณ์ร้านรักสุขภาพ รักสิ่งแวดล้อม และทันสมัย

ความฮิตของ Plant-based ในเอเชียนั้นเป็นหนึ่งในเทรนด์ที่น่าจับตา โดย วันเดอร์แมน ธอมสัน ระบุให้ประเด็นนี้เป็น 1 ใน 100 เทรนด์ของปี 2021 จากการสำรวจวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นรวม 9 ประเทศทวีปเอเชียเมื่อปี 2019 พบว่า 56% ของผู้ถูกสำรวจตั้งใจที่จะทานเนื้อสัตว์ให้น้อยลง (อ่านเพิ่มเติม : The Future 100 เปิดเทรนด์อนาคตปี 2021 อะไรที่ ‘กำลังมา’ จนแบรนด์ต้องจับให้ทัน)

ในตลาดไทยนั้นมีผู้เล่นลงสนามแล้วหลายราย เริ่มมีจำหน่ายราวปี 2561 แยกเป็น 3 กลุ่มหลักได้ ดังนี้
– กลุ่มร้านอาหาร เช่น Sizzler, ฌานา, สตาร์บัคส์
– กลุ่มผู้ผลิตวัตถุดิบใช้ประกอบอาหาร เช่น Meat Avatar, More Meat, NRF, ไทยยูเนี่ยน, เนสท์เล่
– กลุ่มผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เช่น ซีพีแรม

หลังจากนี้คนไทยน่าจะได้ลองชิมเมนูเนื้อทำจากพืชกันมากขึ้นเรื่อยๆ และผู้บริโภคจะเป็นผู้ตัดสินว่าเทรนด์นี้จะอยู่หรือจะไป รวมถึงใครจะได้เป็นเจ้าตลาดตัวจริง!

]]>
1320525
‘ซีพีเเรม’ ลงสนาม Plant-Based ส่ง ‘ข้าวกล่อง’ พร้อมทานเข้าสะดวกซื้อ ราคาเริ่ม 39 บาท https://positioningmag.com/1319986 Thu, 18 Feb 2021 11:10:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319986 ยุคนี้ใครๆ ก็ต้องจับเทรนด์อาหารเเห่งอนาคต ล่าสุดเจ้าใหญ่อย่างซีพีเเรมเปิดตัวเเบรนด์ใหม่ ‘VG for Love’ อาหารเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช ’Plant Based Diet’ เเบบพร้อมทาน ประเดิม 10 เมนูเเรก ตั้งเป้าปั๊มยอดขายเเตะ 1,000 ล้านภายในปี 2566 เชื่อตลาดไทยเปิดใจรับ หวัง 3-5 ปี มีสัดส่วนทำรายได้ให้บริษัทถึง 20% ย้ำเเผนอาหารผสม ‘กัญชง-กัญชา’ ตอนนี้ยังอยู่ในการศึกษาความเป็นไปได้

สินค้าแบรนด์เนื้อมังสวิรัติเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จากกระเเส ‘รักษ์โลกเเละรักสุขภาพ’ ของผู้บริโภคยุคใหม่ ที่เปลี่ยนพฤติกรรมหันมาบริโภคอาหารที่ทำมาจากพืช มากกว่าการบริโภคเนื้อสัตว์จริงๆ เพราะเห็นว่ากระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ มีการปล่อยคาร์บอนที่เป็นภัยต่อการเปลี่ยนเเปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

ยักษ์ใหญ่ลงเล่นตลาด ‘Plant-Based’ ไทย 

วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด ในเครือบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สังคมไทยและทั่วโลกมีแนวโน้มการบริโภคอาหารที่ตอบโจทย์สุขภาพ พร้อมกับร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เป็น ‘โอกาสตลาด’ ของบริษัทที่จะพัฒนาสินค้าใหม่ออกมาให้ตรงความต้องการของผู้บริโภค ซึ่ง Plant Based ก็เป็นอาหารทางเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เเละบริษัทก็มีความพร้อมทั้งด้านโรงงาน วัตถุดิบ จึงสามารถขยายการลงทุนได้ง่าย

วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด

สำหรับเเบรนด์ ‘VG for Love’ มีที่มาของชื่อจาก ทั้ง 4 ความรัก คือ รักสุขภาพ รักชีวิตสัตว์  รักสิ่งแวดล้อม และรักโลก วางจำหน่ายเป็นที่เรียบร้อยเเล้วในแม็คโคร , ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven (ตอนนี้ขายทางออนไลน์ก่อน ช่วงปลายเดือนหน้าถึงจะวางในสาขา) , ร้านค้าชั้นนำในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งจะขยายจุดจำหน่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศเร็ว นี้ (รวมถึงโลตัสด้วย)

สินค้าของ ‘VG for Love’ เเบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ หมายเลข 1 อาหารเจ , หมายเลข 2 อาหารวีแกน , หมายเลข 3 อาหารมังสวิรัติกับนม, หมายเลข 4 อาหารมังสวิรัติกับไข่ และ หมายเลข 5 อาหารมังสวิรัติกับนม และ ไข่ 

กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หลักๆ คือคนทุกเพศทุกวัยที่บริโภคพืชเป็นหลัก เเละกลุ่มที่บริโภคพืชเป็นบางมื้อ เช่นเลือกทาน Plant Based ราว 2-3 มื้อต่อสัปดาห์

เมนู ’Plant Based Diet’ ของซีพีเเรมที่วางขายในเเม็คโคร

สำหรับเมนูเปิดตัว จะปล่อย ’10 เมนู’ ออกมาทดลองตลาดเเละจะมีเมนูอื่นๆ เพิ่มเข้ามาตลอดปี โดยผู้บริหารซีพีเเรม บอกถึงเหตุผลการเปิดตัวด้วย 10 เมนูว่า “คิดเหมือนเราเปิดร้านข้าวเเกง ที่ต้องมีอาหารหลากหลาย ให้ลูกค้ามีทางเลือก จากนั้นเราจะดูว่าเมนูเเบบไหนขายดี ก็จะนำมาต่อยอดต่อไป”  

ส่วนเหตุผลในการเลือกเปิดตัวท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจนั้น เพราะเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมเเล้ว อีกทั้งยังเป็นการช่วยเเบ่งเบาภาระผู้บริโภค เเละการเลือกเปิดตัวในเดือน ‘กุมภาพันธ์’ ก็เพราะเป็นเดือนเเห่งความรักที่สอดคล้องกับชื่อเเบรนด์ ‘VG for Love’ ด้วย 

สำหรับ 10 เมนูเเรก จะเน้นเป็นอาหารที่คนไทยชื่นชอบเเละทานได้ในชีวิตประจำวัน เหมือนเมนูอาหารตามสั่งทั่วไป  ได้เเก่

  • ข้าวกะเพราหมูพีบี
  • ข้าวกะเพราหมูพีบีไข่ดาว
  • ข้าวคะน้าหมูกรอบพีบี
  • ข้าวผัดกะเพราขี้เมาเห็ดออรินจิพีบี
  • ข้าวผัดเเกงเขียวหวานไก่พีบี
  • ข้าวผัดเห็ดออรินจิพีบี
  • ข้าวลาบหมูพีบี
  • บะหมี่เเห้งปลาเส้นทอดพีบี
  • สปาเก็ตตี้ขี้เมาเห็นออรินจิพีบี
  • สปาเก็ตตี้พอร์คบอลพีบี

การที่ ‘ซีพีแรม’ วางขายข้าวกล่อง ’Plant Based Diet’ เเบบพร้อมทานในร้านสะดวกซื้อเจ้าเเรกในไทย ด้วยราคา 39-45 บาท ถือว่าเป็น ‘ข้อได้เปรียบทางราคา’ ที่จะช่วยให้ขยายฐานลูกค้าในตลาดเเมสได้ง่ายขึ้น เพราะปกติเเล้วอาหาร Plant Based มักจะมีราคาสูงเเละหาทานได้ยากกว่า

เมื่อถามว่า บริษัทมีเเผนจะออกผลิตภัณฑ์ที่ผสม ‘กัญชง-กัญชา’ ตามที่ผู้ผลิตอาหารเจ้าใหญ่ในไทยหลายรายประกาศลงเล่นตลาดนี้หรือไม่ ได้คำตอบว่า ตอนนี้ยังอยู่ในการศึกษาความเป็นไปได้ ศึกษาข้อกฎหมายต่างๆ อยู่ 

ผู้บริหารซีพีเเรมประกาศว่า เป้าหมายยอดขายในปี 2564 ตั้งเป้าไว้ที่ 120 ล้านบาท จากนั้นปี 2565 จะเติบโตหลายเท่าเป็น 500 ล้านบาท เเละในปี 2566 เชื่อว่ายอดขายเมนู ’Plant Based Diet’ จะเเตะถึง 1,000 ล้านบาทได้ 

เเม้ดูเหมือนว่าตัวเลขเป้ายอดขายจะดูสูงมากเมื่อเทียบกับการเปิดตลาดใหม่ เเต่ ‘ซีพีเเรม’ ยืนยันว่า คนไทยจะเปิดใจรับอย่างเเน่นอน เเละหวังว่าภายใน 3-5 ปีนี้ ’Plant Based Diet’ จะมีสัดส่วนที่ทำรายได้ถึง 20% ของพอร์ตสินค้าทั้งหมด (ยกตัวอย่างเช่น หากบริษัทมีรายได้รวมราว 2 หมื่นล้านบาท ก็จะเป็นสินค้า Plant Based ถึง 4,000 ล้านบาท เป็นต้น)

สำหรับตลาด Plant-Based Food ในประเทศไทย เริ่มมีเชนร้านอาหารนำเนื้อทำจากพืชมาปรุงเป็นเมนูหลัก เช่น Sizzler ในเครือไมเนอร์ หรือร้านฌานาในเครือฟู้ดแพชชั่น รวมถึงมีนำเข้าจากต่างประเทศมาวางจำหน่ายตามซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งด้วย

จากข้อมูลของ NRF ผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของไทย ระบุว่า ตลาดเนื้อที่ทำจากพืชปัจจุบันมีมูลค่ารวมทั่วโลก 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีแนวโน้มเติบโตขึ้นไปเป็น 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใน 5 ปี เนื่องจากผู้บริโภคเห็นข้อดีของวัตถุดิบอาหารรูปแบบนี้มากขึ้น

การลงสนามในตลาด Plant-Base Food ของบริษัทยักษ์ใหญ่ใน “เครือซีพี” ครั้งนี้ จึงน่าจับตาไม่น้อย 

ในปี 2563 ซีพีเเรมทำรายได้ 19,373 ล้านบาท เเบ่งเป็นการจำหน่ายใน 7-Eleven ถึง 95% , ไม่ใช่ 7-Eleven ราว 3% เเละส่งออก 2% มีการพัฒนาสินค้าใหม่มากกว่า 338 รายการ

ในปี 2564 บริษัทตั้งเป้าไว้ว่า จะทำรายได้ 21,310 ล้านบาท เเบ่งเป็นการจำหน่ายใน 7-Eleven ถึง 94% , ไม่ใช่ 7-Eleven ราว 4% เเละส่งออก 2% เเละมีเป้าหมายการขยายตลาดเพิ่มขึ้น 10%

“เรามองว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก จากผลกระทบของ COVID-19 จะยังคงมีต่อเนื่อง แต่จะคลี่คลายลงบ้างตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3 เป็นต้นไป” 

โดยโครงการเมนูอิ่มคุ้ม” จะยังคงเป็นกลยุทธ์หลักของซีพีแรมเเละจะเพิ่มขึ้นอีก 50% นอกจากนี้ยังมีเเผนจะสร้าง ‘โรงงานเบเกอรี่แห่งใหม่’ ที่จังหวัดชลบุรี ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท มีกำลังผลิต 1.2 ล้านชิ้นต่อวัน ซึ่งโรงงานใหม่แห่งนี้ จะสร้างแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการได้กลางปี 2565 นับเป็นโรงงาน
เบเกอรี่แห่งที่
6 หรือโรงงานแห่งที่ 16 ของซีพีแรม โดยมองว่าตลาดเบเกอรี่ในไทยยังมีช่องว่างโอกาสให้เติบโตได้อีกมาก 

 

]]>
1319986
สิงคโปร์ อนุญาตให้วางขาย “เนื้อสัตว์ที่เพาะจากห้องแล็บ” ชาติเเรกในโลก https://positioningmag.com/1308729 Wed, 02 Dec 2020 12:03:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308729 สิงคโปร์เป็นชาติเเรกในโลก ที่อนุมัติให้มีการวางจำหน่าย “เนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงในห้องเเล็บ” 

เทรนด์อาหารทางเลือกกำลังได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วโลก ด้วยความใส่ใจทั้งสุขภาพสวัสดิภาพสัตว์ และผล
กระทบด้านสิ่งแวดล้อม 

ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา บรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก ขยับมูฟใหม่เข้าสู่ตลาด Plant-Based (เนื้อที่ทำจากพืช) กันอย่างต่อเนื่อง ตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เเละก็มาถึงคิวของเนื้อสัตว์สังเคราะห์ ที่ขึ้นชื่อว่าสะอาด และไม่มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเนื้อสัตว์สังเคราะห์ที่เพาะเลี้ยงจากเซลล์กล้ามเนื้อสัตว์ในห้องทดลองนั้น ยังถือว่าอยู่ในระยะเริ่มต้นเเละตอนนี้ยังมีต้นทุนการผลิตสูง เเต่อนาคตราคาจะต้องถูกลงอย่างเเน่นอน

Eat Just สตาร์ทอัพผู้ผลิตเนื้อไก่เพาะเลี้ยงในห้องแล็บ (lab-grown chicken meat) ระบุในเเถลงการณ์ว่า การอนุมัติให้จำหน่ายเนื้อคุณภาพสูงที่สร้างมาจากเซลล์ของสัตว์ และปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์ ถือเป็นก้าวแรกสำหรับการวางขายเชิงพาณิชย์ที่สิงคโปร์

Eat Just จะเริ่มนำเนื้อไก่มาทำเป็นนักเก็ต เพื่อขายในตลาด โดยก่อนหน้านี้เคยตั้งราคาเอาไว้ที่ชุดละ 50 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1,500 บาท)

เเต่ Josh Tetrick ซีอีโอเเละผู้ร่วมก่อตั้ง Eat Just บอกว่า ราคาขายดังกล่าวจะลดลงจนมีราคาเท่ากับเนื้อไก่พรีเมียม เมื่อได้ประเดิมขายครั้งเเรกกับร้านอาหารในสิงคโปร์ในเร็วๆ นี้ ซึ่งถือว่าเป็นการลดราคาเพื่อแนะนำให้ผู้บริโภครู้จักผลิตภัณฑ์มากขึ้น

นอกจากนี้ บริษัทยังตั้งเป้าว่าจะทำกำไรจากการดำเนินงานให้ได้ก่อนสิ้นปี 2021 และหวังว่าจะนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ หลังจากนั้น

ปัจจุบันสิงคโปร์ เป็นที่มีประชากรราว 5.7 ล้านคน เเต่ผลิตอาหารได้เพียง 10% เท่านั้น จึงต้องหานวัตกรรมทางอาหารใหม่ๆ มาเพื่อรองรับการเติบโต โดยรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนทำฟาร์มไฮเทคและหาวิธีการใหม่ในการผลิตอาหาร

ตอนนี้ในตลาดเนื้อสัตว์สังเคราะห์มีผู้ผลิตรายใหญ่ราว 20 รายทั่วโลก กำลังทดลองผลิตเนื้อปลา เนื้อวัว และเนื้อไก่จากห้องแล็บ เเละมีโอกาสจะเเย่งส่วนแบ่งในตลาดเนื้อสัตว์ทางเลือก (Alternative Meat) ที่ธนาคาร Barclays ประเมินไว้ว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 140,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2029

 

ที่มา : Reuters , CNBC 

]]>
1308729
Plant-Based เทรนด์อาหารแห่งอนาคต Unilever ขยับรุกตลาดจริงจัง ตั้งเป้าทำเงิน 3.6 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1306712 Thu, 19 Nov 2020 09:19:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306712 บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก ขยับมูฟใหม่เข้าสู่ตลาด Plant-Based กันอย่างต่อเนื่อง ตามเทรนด์อาหารโลกที่กำลังเปลี่ยนไป

ล่าสุด Unilever (ยูนิลิเวอร์) ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคเจ้าใหญ่ ตั้งเป้าปั้มยอดขายในส่วนของผลิตภัณฑ์อาหารเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช หรือ Plant-Based เพิ่มเป็น 1 พันล้านยูโร (ราว 3.6 หมื่นล้านบาท) ภายใน 5-7 ปีนี้

เป้าหมายดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าบริษัทคาดว่าตลาด Plant-Based จะเติบโตสูงมากในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อเทียบกับเป้าหมายของยอดขายปัจจุบันที่ 200 ล้านยูโร (ราว 7.2 พันล้านบาท) ตามที่บริษัทตั้งไว้ในปีนี้

กลุ่มสินค้าแบรนด์เนื้อมังสวิรัติ กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จากกระเเสรักษ์โลกของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปลี่ยนพฤติกรรมหันมาบริโภคอาหารที่ทำมาจากพืช มากกว่าการบริโภคเนื้อสัตว์จริงๆ เพราะเห็นว่ากระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ มีการปล่อยคาร์บอนที่เป็นภัยต่อการเปลี่ยนเเปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

Hanneke Faber ประธานฝ่ายอาหารของ Unilever ซึ่งเป็นส่วนที่สร้างยอดขายให้บริษัทได้ถึง 1.93 หมื่นล้านยูโร (6.9 แสนล้านบาท) ในปี 2019 ระบุว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว สินค้า Plant-Based ยังมีส่วนเเบ่งการตลาด ราว 5% เเต่ต่อไปจะสามารถขยายตัวเเละครองตลาดได้ถึง 50%”

โดยต่อไป Unilever จะให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ Plant-Based ในกลุ่มไอศกรีมที่ปราศจากนมและมายองเนสไปจนถึงอาหารทดแทนเนื้อสัตว์จากถั่วเหลืองและสาหร่าย ฯลฯ

นักวิเคราะห์ มองว่า การที่บรรดาเจ้าใหญ่ในวงการกระโดดลงมาเล่นสนาม Plant-Based กันคึกคัก จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชมีราคาถูกลงตามด้วยกำลังการผลิตและการจัดจำหน่ายที่เพิ่มมากขึ้น เเละจะทำให้อุตสาหกรรมนี้มีการขยายตัวครั้งใหญ่

อย่างการที่ Nestlé คู่แข่งรายสำคัญ หันมาทุ่มลงทุนในการพัฒนาสินค้าทางเลือกให้ผู้บริโภคสามารถทานอาหารที่มีรสชาติและผิวสัมผัสเหมือนเนื้อสัตว์จริง แต่ไม่มีกระบวนการปศุสัตว์ที่สร้างผลกระทบต่อโลก ก็เป็นการกระตุ้นการเเข่งขันในตลาดนี้ได้ดีทีเดียว 

ตอนนี้ผู้ผลิต Plant-Based ส่วนใหญ่จะเป็นพันธมิตรกับเชนฟาสต์ฟู้ดรายใหญ่เเละมุ่งเข้าตีตลาดซูเปอร์มาร์เก็ต เช่น Impossible Foods จับมือกับ Burger King ส่วน Beyond Meat กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์กับ McDonald’s ในสหรัฐฯ สำหรับแพลตฟอร์ม McPlant ขณะที่ Nestlé ส่งวัตถุดิบเมนูเบอร์เกอร์จากพืชให้ McDonald’s ในเยอรมนี

สำหรับตลาด Plant-based Food ในประเทศไทย ก็เริ่มมีเชนร้านอาหารนำเนื้อทำจากพืชมาปรุงเป็นเมนูหลัก เช่น Sizzler ในเครือไมเนอร์ หรือร้านฌานาในเครือฟู้ดแพชชั่น รวมถึงมีนำเข้าจากต่างประเทศมาวางจำหน่ายตามซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งด้วย

จากข้อมูลของ NRF ผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของไทย ระบุว่า ตลาดเนื้อที่ทำจากพืชปัจจุบันมีมูลค่ารวมทั่วโลก 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีแนวโน้มเติบโตขึ้นไปเป็น 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใน 5 ปี เนื่องจากผู้บริโภคเห็นข้อดีของวัตถุดิบอาหารรูปแบบนี้มากขึ้น

ไม่ใช่เเค่ NRF รายเดียวที่กำลังเล็งตลาดนี้ เพราะบริษัทยักษ์ด้านอาหารของไทยอย่าง “เครือซีพี” และ “ไทยยูเนี่ยน” ก็กำลังมองความเป็นไปได้ในตลาด Plant-base Food เช่นกัน

อ่านต่อ : NRF ขอเป็น Foxconn แห่งตลาด Plant-based Food กางแผนขยายโรงงานทั่วโลก

 

ที่มา : Financial Times , The Guardian

]]>
1306712
เมื่อ Sizzler หาเหตุให้คนเข้าร้าน ปั้นเทศกาลเจ ยอม “ลดราคา” ดึงคนทาน Plant-based มากขึ้น https://positioningmag.com/1299499 Sat, 03 Oct 2020 06:30:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299499 ร้านอาหารยุคนี้ต้องปรับตัวเร็ว เเม้จะเป็นเเบรนด์มีชื่อติดลมบนเเล้วก็ตาม ยิ่งเมื่อผ่านพ้นช่วงวิกฤต COVID-19 มาเเล้ว โจทย์ใหญ่จึงไม่ใช่เเค่การพยุงธุรกิจให้อยู่รอด เเต่ต้องงัดสารพัดวิธี “หาเหตุให้คนมาเข้าร้านให้ได้

ช่วงปีที่ผ่านมา นับเป็นปีทองแห่งการปรับตัวครั้งใหญ่ของ Sizzler ร้านสเต๊กในเครือไมเนอร์ที่ทำภารกิจขอสลัดภาพจากสเต๊กเฮาส์เป็นเฮลท์ตี้เฮาส์เพื่อจับกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น รวมไปถึงการขยับเข้าหาลูกค้าทุกทำเล อย่างการผุดโมเดลใหม่ Sizzler to go ที่จำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นขนาดเล็กที่สุดที่เคยทำมา ตอบโจทย์พฤติกรรม Grab & Go ของคนเมือง 

เเต่เมื่อเปิด Sizzler to go ได้เพียง 1 เดือนกว่าๆ ก็ต้องเจอมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้เเบรนด์ต้องกลับมาคิดกลยุทธ์กันใหม่ โดยช่วงกลางปีจะเน้นไปที่การปรับตาม feedback ของลูกค้าเป็นหลัก ทั้งเรื่องการจัดการสลัดบาร์ตักเอง การดูเเลความสะอาดเเละปลอดภัย

พอมาช่วงปลายปี เราจึงจะเห็นการงัดโปรโมชันต่างๆ การปั้นเเคมเปญดึงให้ลูกค้าเข้าร้าน จับกระเเสเทศกาลเจ เทรนด์เมนู Plant-based เพื่อ “ปั้มรายได้” ส่วนที่ขาดหายไปในปีนี้ 

ปั้นเทศกาลเจ ลุย “อาหารทางเลือก” 

ล่าสุดเเคมเปญ ดึงลูกค้าเข้าร้านของ Sizzler คือการดัน “เทศกาลเจที่ Sizzler : Vegetarian Festival” ซึ่งถือเป็นบิ๊กมูฟใหญ่ในเดือนตุลาคม

ปกติเเล้วทุกๆ ปี ลูกค้าที่มาทานเจที่ร้าน จะงดทานเนื้อสัตว์และหันไปทานผักที่สลัดบาร์กัน มาปีนี้ Sizzler เพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าด้วยการเปิดตัว 2 เมนู สเต๊ก Plant-based หรือเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช 100% ได้แก่ สเต๊ก ออมนิมีต กับสปาเกตตีซอสทรัฟเฟิล ราคา 329 บาท และบียอร์น เบอร์เกอร์ ซอสบาร์บีคิว ราคา 399 บาท เริ่มขายใน 30 สาขาที่ร่วมรายการ ตั้งเเต่ 5 ต.ค. เป็นต้นไป

โดยจากข้อมูลพบว่าคนไทย ทานเนื้อสัตว์น้อยลงกว่า 8% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2556-2560) เเละความนิยมเมนู Plant-based ก็กำลังเป็นเทรนด์ทั่วโลก นี่จึงเป็นโอกาสของ Sizzler ที่จะขยายไปสู่ตลาดอาหารเจทางเลือกใหม่ เจาะกลุ่มลูกค้าที่เริ่มทดลองทานเจ ผู้ที่ทานเจ รวมถึงคนทั่วไปที่อยากหันมาดูเเลสุขภาพมากขึ้น

ขณะเดียวกัน การปั้น “เทศกาลเจที่ Sizzler” ครั้งนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์เพื่อเติมรายได้ให้กับ Sizzler ด้วยเพราะปกติแล้วในช่วงเทศกาลกินเจ ยอดขายในร้านจะลดลง 10-15% ซึ่งส่วนใหญ่รายได้กว่า 80% มาจากการขายสเต๊ก ดังนั้น Sizzler ตั้งเป้าว่าการมีเมนูเจ Plant-based จะช่วยให้ร้านมียอดขายเพิ่มขึ้น 20-30%

ยอม “ลดราคา” ดึงคนทาน Plant-based ปูทางระยะยาว 

ในปีที่ผ่านมา Sizzler ปรับกลยุทธ์ใหม่ เดินเกมเรื่อง Health Direction หรือการเพิ่มเมนูเพื่อสุขภาพมากขึ้น เห็นได้จากมีการเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ เมนูใหม่ๆ เพื่อสุขภาพมากขึ้น ทั้ง Plant-based และน้ำผลไม้สกัดเย็น ส่วนปีนี้ก็ยังคงสานต่อ เพราะมองว่าเป็นเมนูเเห่งอนาคตจริงๆ

“ต้องยอมรับว่ากระเเส Plant-based มาเเรงมาก หากดูจากผลสำรวจ ดูจากเทรนด์ต่างๆ ทั่วโลก คาดว่าจะกลายเป็นเมนูฮิตในอนาคตข้างหน้า การที่ประเทศไทยยังไม่มีเชนร้านอาหารใหญ่ๆ บุกตลาดนี้อย่างจริงจังเลย ยังจำกัดอยู่ในร้านสเเตนด์อโลนเเละธุรกิจสตาร์ทอัพ นี่จึงถือเป็นโอกาสทองของ Sizzler” กรีฑากร ศิริอัฐ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด ผู้ให้บริการร้านอาหารเเบรนด์ Sizzler กล่าวกับ Positioning

Sizzler เริ่มขายเมนู Plant-based มาได้ราว 1 ปีแล้ว โดยปัจจุบันมีจำหน่ายใน 30 สาขา เฉพาะในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ จากทั้งหมด 54 สาขา

โดยฐานลูกค้านั้น หลังจากที่ทดลองตลาดมาได้สักพัก เพิ่มชื่อเมนู Plant-based จำนวน 2 รายการลงไปในป้ายเมนูให้ลูกค้าได้สั่งซื้อ พบว่า ตลาดไทยมีลูกค้ากลุ่มนี้อยู่จริงๆ แม้ตอนนี้จะไม่ได้มีจำนวนที่เยอะมาก เเต่มีลูกค้ามาเพิ่มเรื่อยๆ ไม่หายไป มีเเต่เพิ่มขึ้น Sizzler จึงมองว่าเป็นทิศทางที่ควรให้การสนับสนุนต่อไป

ทั้งนี้ จากข้อมูลของ NRF ระบุว่า ตลาดเนื้อทำจากพืช ปัจจุบันมีมูลค่ารวมทั่วโลก 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีแนวโน้มเติบโตขึ้นไปเป็น 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใน 5 ปี เนื่องจากผู้บริโภคเห็นข้อดีของวัตถุดิบอาหารรูปแบบนี้มากขึ้น

สำหรับกลุ่มลูกค้าที่เเบรนด์ Sizzler ต้องการจะขยายเจาะตลาดเมนู Plant-based ได้เเก่

  • กลุ่มคนที่ทานวีแกนเเละ Plant-Based อยู่เเล้ว ถ้ามาทานที่ร้านก็สามารถสั่งเมนูสเต๊กได้ ไม่จำกัดว่าจะต้องไปทานเเต่สลัดบาร์อีกต่อไป
  • กลุ่มคนที่ทานเมนูปกติ-ทั่วไป ที่อยากลองทานเมนู Plant-based หรือคนที่อยากดูเเลสุขภาพ ไปพร้อมๆ กับการรักษ์โลก ต้องการทานวีเเกนประมาณสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

เเม้เมนู Plant-based จะเป็นโอกาสตลาดใหม่ เเต่ก็ยังมีความท้าทายอยู่มาก เพราะมี “ราคาสูง” เมื่อเทียบกับเนื้อนำเข้าประมาณ 2.5 เท่า ทำให้ราคาของเมนูที่วางขายไม่สามารถตั้งไว้ในระดับเดียวกันกับเนื้อสัตว์ปกติได้

ดังนั้น เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าหันมาลองเมนู Plant-based กันมากขึ้น Sizzler จึงตัดสินใจ “ปรับลดราคาของเมนู Plant-based” ลง เช่นจาก 439-479 บาท มาเป็นราว 329-399 บาท เพื่อปูทางสร้างความคุ้นเคยในระยะยาว ค่อยๆ เพิ่มลูกค้าจากหลักสิบ ขยายเป็นร้อยเป็นพันคนให้ได้

นอกจากลดราคาเเล้ว ในบางโอกาสจะมีการนำเนื้อ Plant-based ไปลองใส่ในเมนูสลัดบาร์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ลองชิมอย่างกว้างขวางขึ้นด้วย

อัปเดต Sizzler to go 

ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เมื่อลุยโมเดล Sizzler to go ไปได้ประมาณเดือนกว่า ก็ต้องเจอวิกฤต COVID-19 ซึ่งทำให้ธุรกิจต้องสะดุด หลังคลายล็อกดาวน์เเละผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ เเผนของ Sizzler to go มีการอัปเดตอย่างไรบ้าง

กรีฑากร กล่าวว่า เเม้จะได้รับผลกระทบบ้าง เเต่ Sizzler to go ก็ยังสามารถขยายสาขาได้ 5 เเห่ง ซึ่งเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ปีนี้ เเต่ในปีหน้ายังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเปิดอีกกี่สาขา เพราะต้องดูสถานการณ์เป็นหลัก โดยที่ผ่านมาก็ได้รับผลตอบรับดีมาก เข้าถึงเป้าหมายคือ “คนเดินทาง” เเละตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการความง่าย รวดเร็วเเละต้องการอาหารเพื่อสุขภาพ ตามที่คาดไว้

ทั้งนี้ ปัจจุบัน Sizzler to go มีอยู่ 5 สาขาในกรุงเทพฯ เช่น BTS อโศก , MRT สถานีพระราม 9 , BTS ช่องนนทรี , Office At Central World เเละแฟชั่นไอส์แลนด์ (ทดลองวางหน้าห้างฯ เเทนจุดขนส่ง) มีกิมมิกการจัดร้านให้เห็นเมนูชัดๆ เเละใช้สีสันดึงดูดให้คนเดินไปมาเร็วๆ เห็นเเล้วจำได้

Sizzler to Go ร้านแบบ kiosk ขายอาหาร take away

“ช่วงล็อกดาวน์ถือว่าเป็นโอกาสในวิกฤตก็ว่าได้ เพราะมีร้านค้าต่างๆ ต้องยกเลิกสัญญาเช่าที่ ทำให้เราได้ทำเลใหม่ที่ไม่คิดว่าจะได้เร็วขนาดนี้ เช่นที่ BTS ช่องนนทรี เเต่ก่อนเคยคุยไว้ว่าต้องจองคิวถึง 3 ปี เเต่พอช่วง COVID-19 ก็ว่างให้เข้าไปเช่าได้” 

ผู้บริหาร Sizzler มองว่า โมเดลขยายสาขา “ไซส์เล็ก” เป็นการเดินเกมรุกเข้าหาผู้บริโภคที่ได้ผลดี ใช้งบประมาณน้อยกว่าการขยายสาขาใหญ่ที่มีความเสี่ยงมากกว่า อีกทั้งยังตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ Grab-and-Go ของผู้คนในปัจจุบันด้วย

ร้านอาหารต้อง “ปรับให้ไว-หาเหตุให้คนเข้าร้าน” 

ปัจจุบันลูกค้าของ Sizzler กลับมากว่า 90% เเล้ว เมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19 ถึงเเม้จะเป็นเเบรนด์ที่ฮิตในหมู่คนไทย แต่การที่ “นักท่องเที่ยวต่างชาติ” หายไป ก็ส่งผลกระทบอยู่บ้าง ใน 5 สาขา ได้แก่ 3 สาขาในพัทยา เชียงใหม่ และภูเก็ต โดยตอนนี้ Sizzler กลับมาให้บริการทั้งหมด 54 สาขาเเล้ว เริ่มเห็นกำลังซื้อในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวกลับมาเเล้ว

“บทเรียนที่เราได้คือ ธุรกิจร้านอาหารต้องปรับตัวให้ไว มองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก หาทางหาเหตุให้คนมาร้านเราให้ได้ จะอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ คิดเมนูเเละโปรโมชันใหม่ จับกระเเสเทรนด์ผู้บริโภคให้ได้ เเละต้องเตรียมความพร้อมรับสิ่งที่ไม่คาดคิด เพราะช่วงนี้เเค่ข่าวสถานการณ์อ่อนไหว ก็ทำให้คนลดการออกมากินข้าวนอกบ้านเเล้ว เช่นมีข่าวที่ระยอง เเต่ก็กระทบร้านในกรุงเทพฯ”

นงชนก สถานานนท์ ผู้ช่วยรองประธานบริหารกลุ่มการตลาด บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด เล่าอีกว่า การปรับให้เร็วของ Sizzler นั้นรวมไปถึงการออก “เมนูโปรโมชัน” ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งในกลยุทธ์ดึงลูกค้าเข้าร้าน โดยหลังจากวิกฤต COVID-19 ทางร้านได้มีการปรับความถี่จากเดิมที่จะออกเมนูลดราคา รอบละ 12 สัปดาห์ เหลือเพียง 6-8 สัปดาห์

ด้านการเพิ่มช่องทางเดลิเวอรี่ ซึ่งดูจะเป็นงานหินของ Sizzler เพราะฐานลูกค้าส่วนใหญ่ ชื่นชอบบรรยากาศนั่งกินในร้าน เเต่หลังจากที่จำเป็นต้องขยับมารุกออนไลน์มากขึ้น ตอนนี้ยอดขายทางเดลิเวอรี่ก็กระเตื้องขึ้นมาบ้างเเล้ว ในสัดส่วน 10% มียอดสั่งซื้อเฉลี่ยราว 400-500 บาทต่อบิล ส่วนการกินในร้านอยู่ที่เฉลี่ย 800 บาทต่อบิล โดยในปีที่ผ่านมา Sizzler มีฐานลูกค้าอยู่ราว 8-9 ล้านคน

“คาดว่าปีหน้าอาจจะมีการเปิดอีก 4-5 สาขา เเต่จะทำได้ตามเเผนหรือไม่นั้น ก็ต้องรอดูสถานการณ์ทั้งหมดก่อน เเละดูการเจรจาพื้นที่ด้วย ซึ่งตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่าจะเปิดช่วงใด โดยมองทิศทางธุรกิจปีหน้าจะดีขึ้นตามลำดับ ช่วงครึ่งปีหลังก็ถือว่าโอเคมากเเล้ว ปีหน้าคงดีกว่านี้”

]]>
1299499