แผนธุรกิจ 2565 – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 21 Mar 2022 09:04:05 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “สิงห์ เอสเตท” ตั้งเป้าปั้นรายได้ปี’65 กลับมาโต 70% หวังธุรกิจ “โรงแรม” ฟื้นเต็มที่ครึ่งปีหลัง https://positioningmag.com/1378329 Mon, 21 Mar 2022 08:45:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378329
  • หลังผ่านมรสุมมา 2 ปี “สิงห์ เอสเตท” คาดรายได้กลับมาโตมากกว่า 70% ในปี 2565 โดยจะขึ้นไปแตะ 13,400 ล้านบาท จากการฟื้นตัวของภาค “ท่องเที่ยว” และธุรกิจ “โรงแรม”
  • ธุรกิจที่พักอาศัยเตรียมขึ้นโครงการ “บ้านเดี่ยว” แห่งใหม่ย่านพัฒนาการ ราคาเริ่มต้น 50-80 ล้านบาท
  • พร้อมเปิดเป้าหมายบริษัท ในรอบ 5 ปี ต้องการเติบโตเฉลี่ยปีละ 25% จากธุรกิจทั้ง 4 ส่วนหลักที่วางรากฐานไว้ คือ โรงแรม, ที่พักอาศัย, ออฟฟิศ และนิคม-สาธารณูปโภค โดยจะมีการจับมือพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ให้มากขึ้น และเตรียมงบลงทุนไว้ 50,000 ล้านบาท
  • เครื่องยนต์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในมือตระกูลภิรมย์ภักดี ผ่านมรสุม COVID-19 มาสองปีต่อเนื่อง เนื่องจากพอร์ตหลักเป็นธุรกิจโรงแรม ทำให้ขาดทุนสุทธิปี 2563-2564 อยู่ที่ -2,613 ล้านบาท และ -137 ล้านบาทตามลำดับ

    มาถึงปีนี้ โอกาสทางธุรกิจน่าจะกลับมาสดใสขึ้น เมื่อการระบาดของ COVID-19 เริ่มผ่อนคลาย และการเดินทางท่องเที่ยวกระเตื้องขึ้น “ฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวย้อนถึงผลการดำเนินงานปี 2564 ก่อนว่า บริษัทสามารถทำรายได้รวม 7,739 ล้านบาท เติบโต 18% YoY ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าพอใจท่ามกลางวิกฤต COVID-19

    สันติบุรี เดอะ เรสซิเดนซ์

    ช่วงปีที่ผ่านมา สิงห์ เอสเตทมีความคืบหน้าการดำเนินงานใน 4 กลุ่มธุรกิจ ดังนี้

    • ธุรกิจที่พักอาศัย สันติบุรี เดอะ เรสซิเดนซ์ บ้านเดี่ยวระดับซูเปอร์ลักชัวรี สามารถปิดการขายทั้งโครงการจำนวน 25 ยูนิต โดยโครงการนี้จะทยอยรับรู้รายได้ต่อเนื่องจนถึงปี 2566
    • ธุรกิจโรงแรม ในประเทศอังกฤษกับมัลดีฟส์ตลาดกลับมาฟื้นตัวเต็มที่แล้ว ในมัลดีลฟ์สามารถทำรายได้ได้สูงกว่าช่วงก่อนเกิด COVID-19 ส่วนในอังกฤษ สามารถทำรายได้ดีกว่าช่วงก่อนเกิด Brexit
    • ธุรกิจอาคารสำนักงาน มีอัตราการเช่าเฉลี่ย 95% รวมทุกอาคาร สำหรับออฟฟิศ “สิงห์ คอมเพล็กซ์” ครบรอบ 3 ปีหลังเปิดอาคารไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2564 โดยบริษัทยังสามารถทำสัญญาเช่าต่อเนื่องได้ สะท้อนให้เห็นดีมานด์ของตลาดที่ยังมีอยู่
    • ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน บริษัทมีการลงทุนในธุรกิจนี้เป็นครั้งแรกที่นิคมอุตสาหกรรม เอส อ่างทอง เฟสแรก 992 ไร่

     

    ปี 2565 ขอกลับมาโตมากกว่า 70% จาก “โรงแรม” ที่กำลังฟื้นตัว

    ด้านเป้าหมายธุรกิจปี 2565 ฐิติมาคาดว่าสถานการณ์จะเป็นไปในเชิงบวก โดยบริษัทมีเป้ารายได้ 13,400 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนรายได้โดยประมาณ ดังนี้

    63% จากธุรกิจโรงแรม
    23% จากธุรกิจที่พักอาศัย
    10% จากธุรกิจอาคารสำนักงาน
    4% จากธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม

    สิงห์ เอสเตท
    โรงแรม SAii Lagoon Maldives

    รายละเอียดแต่ละธุรกิจ “โรงแรม” ปีนี้วางเป้าโตถึง 88% คาดหวังรายได้ 8,500 ล้านบาท โดยโรงแรมในอังกฤษและมัลดีฟส์จะยังเป็นแรงส่งหลักให้กับเครือ ขณะที่โรงแรมในไทย มอริเชียส และฟิจิ เชื่อว่าจะกลับมาฟื้นตัวเต็มที่ครึ่งปีหลัง หลังจากมีการเปิดประเทศอย่างเต็มที่

    สิงห์ เอสเตท
    รายได้ธุรกิจโรงแรมของสิงห์ เอสเตท หล่นลงไปช่วงสถานการณ์ COVID-19 ปีนี้ต้องการกลับมาโตเกือบเท่าตัว

    ด้านธุรกิจ “ที่พักอาศัย” บริษัทจะเติมพอร์ตบ้านเดี่ยวระดับลักชัวรีด้วยโครงการใหม่ย่านพัฒนาการ ราคาเริ่ม 50-80 ล้านบาทต่อหลัง มูลค่ารวม 2,900 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีพอร์ตคอนโดมิเนียมพร้อมอยู่ ดิ เอส แอท สิงห์ คอมเพล็กซ์ และ ดิ เอส อโศก ที่คาดว่าจะทำรายได้เพิ่ม 900 ล้านบาทในปีนี้

    สำหรับ “อาคารสำนักงาน” มีอาคารที่กำลังจะแล้วเสร็จพร้อมปล่อยเช่าคือ “เอส โอเอซิส” พื้นที่เช่า 55,000 ตร.ม. ซึ่งจะเปิดบริการเดือนพฤษภาคมนี้ โดยเป็นอาคารเกรดเอ ในย่านลาดพร้าว-จตุจักร

    ปิดท้ายที่ “นิคมอุตสาหกรรม-สาธารณูปโภค” นิคมเอส อ่างทอง พร้อมจะเปิดขายพื้นที่เช่าในโครงการแล้ว โดยคาดหวังยอดจำหน่ายปีแรก 15% ของเฟส หรือประมาณ 150 ไร่

    นิคมอุตสาหกรรม เอส อ่างทอง

     

    เป้าหมายโตเฉลี่ยปีละ 25% มองหาพันธมิตร JV เพื่อโตไว

    ฐิติมากล่าวต่อถึงเป้าหมายในอนาคต สิงห์ เอสเตท วางเป้าโตเฉลี่ยปีละ 25% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยเตรียมงบลงทุนไว้ 50,000 ล้านบาท

    จากเดิมบริษัทเคยเน้นการลงทุนในโรงแรมเป็นหลัก แต่ในรอบ 5 ปี งบการลงทุนราว 60% จะเน้นการขายพอร์ตที่พักอาศัยเป็นหลักแทน

    โดยบริษัทจะมีการจับมือกับพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ต่อยอดธุรกิจ 4 กลุ่มหลักที่บริษัทมี เช่น กลุ่มเวลเนส บ้านพักผู้สูงอายุ เป็นธุรกิจที่บริษัทสนใจอยู่ แต่ต้องการเฟ้นหาพันธมิตรที่สามารถร่วมดำเนินธุรกิจด้านองค์ความรู้ได้ มากกว่าแค่พันธมิตรทางการเงิน

    ]]>
    1378329
    แผน 4 ปี “เอสซี แอสเสท” รายได้พุ่ง 1 แสนล้าน! ปักหลักสมรภูมิเดิม เสริมด้วยน่านน้ำธุรกิจใหม่ https://positioningmag.com/1373505 Thu, 10 Feb 2022 07:50:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373505
  • “เอสซี แอสเสท” ขยับแผนการเติบโตเร็วขึ้น วางกลยุทธ์ 4 ปี (2565-2568) รายได้สะสม 1 แสนล้านบาท มาจาก ‘สมรภูมิเดิม’ คือการพัฒนาที่อยู่อาศัย และ ‘น่านน้ำใหม่’ จากธุรกิจโรงแรม อพาร์ตเมนต์ รู้ใจแอปพลิเคชัน ฯลฯ
  • โชว์วิสัยทัศน์นวัตกรรม เตรียมออก ‘SC Morning Coin’ ในลักษณะ Utility Token ไตรมาส 4 ปีนี้
  • สำหรับแผนปี 2565 เตรียมเปิดตัวมากที่สุด 27 โครงการ 40,000 ล้านบาท พร้อมแบรนด์ใหม่ 2 แบรนด์ บ้านเดี่ยวสุดหรู 50 ล้านบาททำเลเลียบด่วนรามอินทรา และคอนโดฯ เพื่อคนเจนวายทำเลวงเวียนใหญ่
  • หลังเกิดการระบาดของ COVID-19 “เอสซี แอสเสท” เคยประเมินว่าผลกระทบจะยาวนานจนถึงปี 2565 แต่หลังจากสถานการณ์ยังมีโอกาส และบริษัทสามารถรอดผ่านวิกฤตมาได้ ทำให้แผนการกลับมาเติบโตของบริษัทถูกขยับขึ้นมาเร็วขึ้น 1 ปี

    “ณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จากัด (มหาชน) เปิดแผน “Thriving for Good” ของบริษัทในระยะ 4 ปี (2565-2568) แบ่งเป็น 3 กลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน ดังนี้

    1. เติบโต บนสมรภูมิเดิมและน่านน้ำใหม่

    เอสซีฯ วางเป้าหมายเติบโตต่อเนื่อง 4 ปี รายได้สะสมรวมกัน 1 แสนล้านบาท เริ่มปี 2565 ปีแรกจะมีรายได้ 20,000 ล้านบาท และปี 2568 รายได้จะขึ้นไปแตะ 30,000 ล้านบาท

    รายได้ดังกล่าวจะมาจาก 2 ฝั่งคือ ‘engine 1’ โครงการที่อยู่อาศัยทั้งแนวราบและแนวสูงประมาณ 80% และ ‘engine 2’ ซึ่งเป็นธุรกิจโอกาสใหม่ ประมาณ 20%

    สำหรับโอกาสใหม่ (engine 2) จะเป็นธุรกิจจากเทรนด์ใหม่ของโลกคือ Work from Anywhere และ Home is Everything ที่บริษัทมีการลงทุนแล้วคือ โรงแรม “ย่าน” (YAHN) จะเปิดช่วงปลายปีนี้, แอปพลิเคชันรู้ใจ, การลงทุนอพาร์ตเมนต์ในสหรัฐฯ และจะมีธุรกิจใหม่เปิดตัวในช่วงกลางปีนี้

    engine 2 โอกาสใหม่ของเอสซีฯ
    2. เชื่อมต่อ ทุกสิ่งถึงกัน สร้างคุณค่าที่มากกว่า

    กลยุทธ์นี้เกี่ยวข้องกับด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี และการเชื่อมโยงระบบนิเวศของอสังหาฯ เช่น

    • รู้ใจ OS เป็นซอฟต์แวร์เพื่อใช้สั่งการโฮมออโตเมชันซึ่งเอสซีฯ เริ่มติดตั้งตั้งแต่ปี 2564 และปี 2565 จะเพิ่มฟีเจอร์ให้สามารถสั่งการด้วยเสียงได้
    • ระบบ Active Airflow ผลงานจากการทำงานร่วมกับ SCG ทำให้ถ้าหากในบ้านมี 5 มากเกินไป ระบบจะดูดกรองอากาศอัตโนมัติ
    • แอปฯ รู้ใจ จะเชื่อมต่อกับสินค้าและบริการหลากหลายมากขึ้น
    • EV Charger เข้ามาติดตั้งในโครงการแน่นอน
    • SC Morning Coin เป็น Utility Token ให้ลูกค้าและคู่ค้าของเอสซีฯ ได้ใช้ ทำให้ระบบนิเวศเชื่อมต่อกันได้ง่ายขึ้น

    “คอยน์ของเราจะเป็น Utility Token คือไม่ได้นำไปซื้อของโดยตรง แต่เหมือนเป็นพอยท์แลกของ เมื่อเป็นโทเคนเดียวกันจะทำให้แลกได้ง่ายขึ้น การที่เราทำสิ่งนี้เราไม่ได้ได้เปรียบในธุรกิจมากขึ้น แต่ถ้าเราไม่ทำเราจะเสียเปรียบ” ณัฐพงศ์อธิบายถึงแนวคิด

    ส่วนประเด็นการที่ภาครัฐจะพิจารณาควบคุมการใช้คอยน์ซื้อสินค้า แม่ทัพเอสซีฯ ไม่ได้กังวลถึงผลกระทบมากนัก “ผมเชื่อว่าการที่หน่วยงานกำกับควบคุมเข้ามา ก็เพราะว่ากำลังจะเกิดการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย เราไม่ได้กังวลกับการกำกับควบคุมเพราะสิ่งใหม่เข้ามามันก็ต้องเกิดขึ้น และเราพร้อมจะปรับตาม”

    3. ยั่งยืน สร้างคุณค่าสู่ผู้คนและสิ่งแวดล้อม

    การสร้างความยั่งยืน เอสซีฯ มองเป็น 3 มุมคือ “แบรนด์” จะต้องคงความน่าเชื่อถือ คุณภาพสูง แม้ว่าจะขยายการลงทุนสูง “องค์กร” ต้องการเป็นค่ายอสังหาฯ ที่น่าทำงานด้วยเป็นอันดับ 1 โดยสร้างสังคมดี สมดุลดี อนาคตดี “ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” เป็นการขยายความรับผิดชอบสู่สังคมโดยรวม มีเป้าหมายแรกคือ SCEROmission (เอสซีโร่มิชชั่น) ตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกลง 25% ในปี 2568

    “เราจะยั่งยืนบนวิถีโลกใหม่ได้ เราต้องเข้าใจก่อนว่าทุกสิ่งเชื่อมต่อกัน เราเรียนรู้เรื่องนี้ได้ดีจาก COVID-19 เพราะผู้ป่วย 1 คนวันนี้กลายเป็นผู้ป่วย 400 ล้านคนทั่วโลก และทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจจนไปสู่การเมือง เพราะฉะนั้น การเติบโตในโลกยุคใหม่ถ้ามองแต่กำไร เราจะไม่ยั่งยืนและเป็นเรื่องล้าสมัยแล้ว องค์กรที่จะโตในโลกยุคใหม่ต้องมองทั้ง Profit People และ Planet” ณัฐพงศ์กล่าว

     

    แผนปี 2565 ลงทุนหนัก เปิดสองแบรนด์ใหม่

    ด้านแผนระยะสั้นในปี 2565 ของ เอสซี แอสเสท มีแผนการลงทุนและเป้าหมาย ดังนี้

    • เปิดตัว 27 โครงการ มูลค่ารวม 40,000 ล้านบาท (แบ่งเป็น โครงการแนวราบ 25 โครงการ มูลค่ารวม 33,500 ล้านบาท และโครงการแนวสูง 2 โครงการ มูลค่ารวม 6,500 ล้านบาท)
    • เป้ายอดขาย 22,000 ล้านบาท
    • เป้ารายได้ 22,000 ล้านบาท
    • เป้าลงทุนซื้อที่ดินและอสังหาฯ ในสหรัฐอเมริกา 11,500 ล้านบาท
    เอสซี แอสเสท
    แผนธุรกิจเอสซีฯ ปี 2565

    สัดส่วนรายได้ปีนี้แบ่งเป็น 66% มาจากแนวราบ 30% มาจากแนวสูง และ 4% มาจากธุรกิจโอกาสใหม่ และสัดส่วนการเปิดตัว 70% จะเป็นบ้านเดี่ยวราคามากกว่า 10 ล้านบาท เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ยังมีกำลังซื้อสูง

    เอสซีฯ ยังมีไฮไลต์ “แบรนด์ใหม่” 2 แบรนด์ คือ

    • “บ้านเดี่ยวราคามากกว่า 50 ล้านบาท” ซึ่งเป็นเซ็กเมนต์ใหม่ที่บริษัทยังไม่เคยลงทุน แต่เห็นโอกาสความต้องการขณะที่ซัพพลายมีน้อย จะเปิดในทำเลเลียบด่วนรามอินทรา
    • “คอนโดฯ เพื่อคนเจนวาย” มีการออกแบบใหม่ให้เหมาะกับโลกปัจจุบัน เปิดในทำเล 130 เมตรจาก BTS สถานีวงเวียนใหญ่ ราคาของแบรนด์นี้จะอยู่ในช่วง 1-2 แสนบาทต่อตร.ม. แต่อาจปรับลงมาต่ำกว่า 1 แสนบาทต่อตร.ม.ได้ถ้าอยู่ในทำเลที่เหมาะสม
    ภาพเบื้องต้น คอนโดฯ แบรนด์ใหม่

    ส่วนคอนโดฯ อีกโครงการหนึ่งคือ “สโคป ทองหล่อ” ติดถ.สุขุมวิทและ BTS สถานีทองหล่อ มีเพียง 20 ยูนิต ราคาเริ่ม 140 ล้านบาทต่อยูนิต เป็นคอนโดฯ ระดับซูเปอร์ลักชัวรีที่จะมาตอบโจทย์กลุ่มไฮเอนด์แต่ยังต้องการไลฟ์สไตล์แบบคอนโดมิเนียม

    “เราเห็นสัญญาณเชิงบวกจากทั้งภายในภายนอก ภายในเราเห็นความพร้อมของเรา หนี้เรายังไม่สูง สภาพคล่องพร้อม เรามีวงเงินสดและวงเงินพร้อมเบิก 10,000 ล้านบาท ส่วนภายนอกองค์กร เราเห็นดีมานด์แนวราบเติบโตน่าตื่นเต้น ตลาดบ้านปีที่แล้วโตถึง 29% ซึ่งผมว่าทุกคนเพิ่งจะรู้จากวิกฤตนี้ว่า “บ้าน” เป็นที่ต้องการเพราะสเปซ” ณัฐพงศ์กล่าว “ผมเชื่อว่าเราผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และปีนี้จะคึกคักขึ้น”

    ]]>
    1373505
    “แอสเซทไวส์” บุกเปิด 7 โครงการปี 2565 หาโอกาสแตกไลน์ธุรกิจ “สุขภาพ-บิวตี้” https://positioningmag.com/1373056 Mon, 07 Feb 2022 08:31:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373056 ยังคงเดินต่อได้อย่างมั่นคงสำหรับ “แอสเซทไวส์” ปี 2565 เตรียมบุกต่อ 7 โครงการ 12,400 ล้านบาท เปิดโต๊ะเจรจาทั้ง JV, เทกโอเวอร์ และคอลแลปกับแบรนด์ต่างๆ รวมถึงหาโอกาสใหม่ในธุรกิจที่ไม่ใช่อสังหาฯ สนใจเจาะตลาดสุขภาพ-บิวตี้ มองเป็นเทรนด์ที่คนไทยจะให้ความสนใจระยะยาว

    ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยถือว่าผ่านพายุมาแล้วและกำลังจะเข้าสู่น่านน้ำโอกาสใหม่ คือนิยามสถานการณ์ปี 2565 ของ “กรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) โดยจะเปิดตัวมากขึ้นในปีนี้

    ย้อนไปปี 2564 แอสเซทไวส์ มีการเปิดตัวทั้งหมด 5 โครงการ มูลค่ารวม 7,500 ล้านบาท และมียอดพรีเซล 8,800 ล้านบาท

    ปี 2565 นี้บริษัทจะเปิดตัว 7 โครงการ มูลค่ารวม 12,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 65% จากปีก่อน และตั้งเป้ายอดพรีเซลที่ 10,000 ล้านบาท เป้ารับรู้รายได้ 6,000 ล้านบาท ถือว่าเป็นปีที่เปิดตัวมากที่สุดตั้งแต่ตั้งบริษัท

     

    เน้นคอนโดฯ ราคาไม่เกิน 2 ล้าน กับพอร์ตบ้านหรู

    สำหรับการเปิดตัวโครงการปีนี้ แบ่งเป็น คอนโดมิเนียม 5 โครงการ และโครงการแนวราบ 2 โครงการ หากแบ่งตามมูลค่าจะเป็นคอนโดฯ 60% และแนวราบ 40% ถือว่าสัดส่วนแนวราบเพิ่มขึ้นมามากเพราะปีก่อนแอสเซทไวส์เปิดแนวราบเพียง 1% เท่านั้น

    รายละเอียดโครงการที่จะเปิดตัว ได้แก่

    1.แอทโมซ คาแนล รังสิต – คอนโดฯ ใกล้สถานีรังสิต (รถไฟฟ้าสายสีแดง) ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต และม.รังสิต มูลค่าโครงการ 1,650 ล้านบาท ราคาเริ่ม 1.39 ล้านบาท

    2.แอทโมซ โอเอซิส อ่อนนุช – คอนโดฯ ทำเล 450 เมตรจากสถานีศรีนุช (รถไฟฟ้าสายสีเหลือง) มูลค่าโครงการ 2,200 ล้านบาท ราคาเริ่ม 1.49 ล้านบาท

    3.แอทโมซ โฟลว์ มีนบุรี – คอนโดฯ ใจกลางตลาดมีนบุรี 300 เมตรจากสถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ มูลค่าโครงการ 1,350 ล้านบาท ราคาเริ่ม 1.xx ล้านบาท

    4.แอทโมซ พอร์เทรต ศรีสมาน – คอนโดฯ ตรงข้ามโรบินสัน ศรีสมาน ใกล้รถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายเมืองทองธานี มูลค่าโครงการ 1,150 ล้านบาท ราคาเริ่ม 1.xx ล้านบาท

    5.เคฟ ซีด เกษตร – แคมปัสคอนโดฯ ติดรถไฟฟ้าสายสีเขียว ม.เกษตรศาสตร์ มูลค่าโครงการ 1,200 ล้านบาท ราคาเริ่มต้น 1.xx ล้านบาท

    6.เอสต้า รังสิต คลอง 2 – บ้านเดี่ยวย่านรังสิต คลอง 2 โครงการขนาดเล็กเพียง 153 ยูนิต มูลค่าโครงการ 680 ล้านบาท ราคาเริ่มต้น 3.xx ล้านบาท

    7.ดิ ออเนอร์ โยธินพัฒนา – บ้านเดี่ยวหรู 3 ชั้นระดับซูเปอร์ลักชัวรี ทำเลถ.โยธินพัฒนา มูลค่าโครงการ 4,170 ล้านบาท ราคาเริ่มต้น 29 ล้านบาท

    แอทโมซ คาแนล รังสิต

    เห็นได้ว่าปีนี้แอสเซทไวส์ตีตลาด 2 กลุ่ม คือกลุ่มคอนโดฯ ตึกเตี้ยราคาเข้าถึงได้ เริ่มต้นไม่เกิน 2 ล้านบาท และโครงการใหญ่แบรนด์บ้านหรู ดิ ออเนอร์ ที่กลับมาในตลาดอีกครั้ง

    ด้านทำเลจะเกาะพื้นที่ถนัดของตนเองที่เคยเปิดโครงการมาแล้ว เช่น รังสิต เลียบด่วนรามอินทรา มีนบุรี และเป็นพื้นที่รถไฟฟ้าสายใหม่ไม่ว่าที่กำลังก่อสร้างหรือที่เพิ่งสร้างเสร็จ

    แอสเซทไวส์
    มิงเกิล มอลล์ ม.กรุงเทพ รังสิต จะมีการเปิดสาขา 3 ที่มีนบุรี เร็วๆ นี้

    นอกจากนี้ กรมเชษฐ์ระบุว่าบริษัทจะลงทุน “คอมมูนิตี้มอลล์” แห่งใหม่คือ “มิงเกิล มีนบุรี” คอนเซ็ปต์เดียวกับมิงเกิลย่านม.ธรรมศาสตร์ รังสิต และม.กรุงเทพ รังสิต คือเป็นมิกซ์ยูสคู่ไปกับแหล่งคอนโดมิเนียม สำหรับพื้นที่มีนบุรี บริษัทมีที่ดินใหญ่ 34 ไร่ซึ่งจะขึ้นโครงการแรก แอทโมซ โฟลว์ มีนบุรี ใช้เนื้อที่ดิน 6 ไร่ จากนั้นจะมีเฟสต่อๆ ไปตามมา ทำให้เหมาะพัฒนาคอมมูนิตี้มอลล์ ใช้งบลงทุน 400-500 ล้านบาท (รวมมูลค่าที่ดิน)

    คาดว่ารายได้จากพื้นที่เช่ารีเทลจะขึ้นไปแตะ 30-50 ล้านบาทและคิดเป็นสัดส่วน 5% ของรายได้รวมบริษัทได้ภายใน 3 ปี

     

    กลยุทธ์เปิดโต๊ะ เจรจา JV, เทกโอเวอร์, คอลแลปแบรนด์

    ด้านกลยุทธ์ของแอสเซทไวส์ไม่ได้มีการลงทุนด้วยตนเองเท่านั้น แต่ยังพร้อมเปิดโต๊ะเจรจาในหลายแง่มุมเพื่อผลักดันธุรกิจให้โตเร็วยิ่งขึ้น ได้แก่

    • จอยต์เวนเจอร์ – พร้อมเปิดรับดีลเจรจา JV รายโครงการกับบริษัทอื่นๆ เช่นเดียวกับที่บริษัทเพิ่งปิดดีล JV กับ ทาคาระ เลเบ็น ได้ในโครงการแอทโมซ บางนา โดยขณะนี้มีผู้สนใจอีก 3-4 รายทั้งสัญชาติไทย ญี่ปุ่น และเกาหลี
    • เทกโอเวอร์ – แอสเซทไวส์รับเจรจาซื้อโครงการเพื่อนำมาบริหารการขายต่อ ดังที่เพิ่งปิดการซื้อโครงการ แม็กซี่ ไพรม์ รัชดา-สุทธิสาร มาได้ โดยมองว่าเป็นดีลที่วินวินทั้งสองฝ่าย เพราะผู้ขายสามารถปิดการขายทั้งโครงการได้เร็วเพราะเป็นการเหมาตึก ส่วนแอทเซทไวส์มีโปรเจกต์ใหม่ขายทำกำไรได้ทันที ไม่ต้องรอหลายปีกว่าจะสร้างเสร็จ
    • คอลแลปแบรนด์ – ประโยชน์ในการแลกฐานลูกค้า และการสร้างสิทธิประโยชน์ให้กับลูกค้าของแอสเซทไวส์ ที่มีความร่วมมือแล้ว เช่น Popcoin ดิจิทัลคอยน์ในเครือ RS, Doctor A to Z เทคโนโลยีสุขภาพออนไลน์ที่เหมาะกับคนเมือง, BHS ศูนย์ฟื้นฟูสภาพร่างกาย เหมาะกับสังคมผู้สูงอายุ
    แอสเซทไวส์
    แม็กซี่ ไพรม์ รัชดา-สุทธิสาร

     

    แตกไลน์ธุรกิจ “สุขภาพ-บิวตี้”

    กรมเชษฐ์ยังแย้มถึงแผนการแตกไลน์ไปทำธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่อสังหาฯ (non-real estate) เพื่อเป็นการจัดสมดุลพอร์ต และหาโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ

    โดยแอสเซทไวส์มีความสนใจธุรกิจด้านสุขภาพและความงาม ดังที่เห็นว่ามีการคอลแลปกับแบรนด์ในธุรกิจด้านนี้แล้ว บริษัทกำลังหาโอกาสที่จะลงทุนต่อไป โดยอาจจะเป็นได้ทั้งการลงทุนเองทั้งหมด หรือการจอยต์เวนเจอร์ หรือเข้าไปถือหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวข้อง

    สาเหตุที่เลือกสุขภาพและความงามเพราะมองว่าเป็นเทรนด์ที่จะยั่งยืนในสังคมไทย ไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย และในแง่ความงามกลายเป็นของคู่กันกับคนไทยที่ต้องการให้ตัวเองดูดีเสมอ

    ปิดท้ายวิเคราะห์สถานการณ์ปีนี้ ความกังวลของกรมเชษฐ์ดูจะอยู่ที่ปัจจัยกระทบเศรษฐกิจ/กำลังซื้อเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ที่อาจกลับมาดุเดือด และการระบาดของไวรัสโรค COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นอีกก็ได้

    ]]>
    1373056
    “อินเด็กซ์ฯ” ฮึดสู้พายุไวรัสปี’65 วางเป้าฟื้น 60% ใช้กลยุทธ์ปั้น “อีเวนต์” เอง ลดพึ่งพิงงานลูกค้า https://positioningmag.com/1370150 Wed, 12 Jan 2022 09:42:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370150
  • อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ สรุปผล ปี 2564 ทำรายได้ 580 ล้านบาท เติบโต 33% แม้ภาพรวมธุรกิจ “อีเวนต์” จะดิ่งลงต่อเนื่องจากปี 2563
  • เชื่อปี 2565 ตลาดอีเวนต์ฟื้นตัว วางเป้าหมายปีนี้รายได้เติบโต 60% กลับมายืนที่กว่า 900 ล้านบาท โดยจะเป็นปีเก็บเกี่ยวจากการลงทุนงานแบบ ‘Own Project’ หลังพัฒนาโครงการซิกเนเจอร์ของตนเองตั้งแต่ปีก่อน พร้อมเพิ่มงานใหม่ๆ ร่วมกับพาร์ตเนอร์
  • “เกรียงไกร กาญจนะโภคิน” มองการจัดการรัฐบาลและ ศบค. ควรผ่อนคลายมาตรการมากกว่านี้เพื่อให้ธุรกิจไปต่อได้ และสื่อสารให้ประชาชนไม่ตื่นกลัวจนเกินไป
  • “เกรียงไกร กาญจนะโภคิน” ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในบริษัทด้านครีเอทีฟ อีเวนต์รายใหญ่ของไทย เปิดเผยสถานการณ์ล่าสุดของบริษัทและธุรกิจ “อีเวนต์” ไทย

    โดยปี 2564 ที่ผ่านมามองว่าเป็นปีที่ “หนักที่สุด” ตั้งแต่เกิดโรคระบาด เนื่องจากมีการล็อกดาวน์ยาวนานในช่วงการระบาดรอบที่ 3 ทำให้มูลค่าตลาดอีเวนต์ไทยลดลงไปเหลือประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาทเท่านั้น เทียบกับช่วงก่อนการระบาดที่เคยมีมูลค่าสูงถึงปีละ 14,000-15,000 ล้านบาท

    อย่างไรก็ตาม อินเด็กซ์ฯ มีการปรับตัวตามกลยุทธ์ใหม่ ทำให้สามารถฟื้นตัวได้ โดยปิดรายได้ไปที่ 580 ล้านบาท เติบโต 33% เทียบกับปี 2563 ซึ่งดีกว่าสถานการณ์ตลาด

    อีเวนต์ของ House of illumination เซ็นทรัลเวิลด์ จัดร่วมกับวง POLYCAT ช่วยดึงดูดคนเข้าชม

    กลยุทธ์การเติบโตมาจากการปรับตัวไปจัดอีเวนต์ที่เป็น ‘Own Project’ มากขึ้น โดยเป็นโครงการที่สร้างสรรค์และลงทุนเองทั้งหมด และเก็บรายได้จากการเข้าชม ทำให้พอร์ตสมดุลและมั่นคงมากขึ้น ไม่ต้องพึ่งพิงงานจ้างจากลูกค้าเป็นหลัก สามารถตัดสินใจการเดินหน้าจัดต่อ เลื่อนการจัดงาน หรือยกเลิกงานเองได้ตามที่เห็นเหมาะสม

    โครงการที่อินเด็กซ์ฯ จัดเองจนเป็น ‘ซิกเนเจอร์’ กลายเป็นแบรนด์งานที่จะไปต่อได้ทุกปี เมื่อปีก่อนมีการจัดทั้งหมด 6 งาน ขณะนี้มีผู้เข้าชมสะสมรวมทุกงานมากกว่า 100,000 คน ได้แก่

    • Village of illumination @Singha Park Chiang Rai เทศกาลประดับไฟฤดูหนาว
    • House of illumination งานศิลปะดิจิทัล จัดที่เซ็นทรัลแกลลอรี เซ็นทรัลเวิลด์
    • เมืองโบราณไลท์เฟส เทศกาลประดับไฟฤดูร้อนยามค่ำคืน
    • Forest of illumination at Kirimaya เขาใหญ่ เทศกาลประดับไฟและการแสดงแสง สี เสียง
    • เทศกาลโคมไฟและอาหารนานาชาติ ณ เมืองโบราณ สมุทรปราการ
    • Tha Maharaj illumination เทศกาลประดับไฟที่ท่ามหาราช
    เทศกาลโคมไฟและอาหารนานาชาติ ณ เมืองโบราณ สมุทรปราการ (Photo: FB@เมืองโบราณ สมุทรปราการ)

    เห็นได้ว่าซิกเนเจอร์ของอินเด็กซ์ฯ คือการจัดงานประดับไฟและศิลปะดิจิทัลจนติดตลาด โดยเล็งเห็นว่าผู้มาร่วมงานเกิดเทรนด์ FOMO-FOTO: Fear of Missing Out และต้องการถ่ายรูป ทำคอนเทนต์ตลอดเวลา ทำให้ประสบการณ์ในงานจะต้องได้รูปถ่ายสวยงาม มีคอนเทนต์สวยๆ ให้เล่า และเทรนด์เหล่านี้จะมีการขยายต่อในปีนี้

     

    ปี 2565 บุกด้วย Own Project ต่อเนื่อง

    เกรียงไกรกล่าวต่อถึงแผนปีนี้ว่า จะยังคงใช้กลยุทธ์ปั้น Own Project ต่อเนื่อง โดยมองว่า ปีที่แล้วเป็นการลงทุนและสร้างฐานแฟนคลับ ส่วนปีนี้จะได้เก็บเกี่ยวเต็มเม็ดเต็มหน่วย

    ทำให้วางแผนงานไว้แล้ว 20 โครงการตลอดปี ทั้งงานที่จัดอีกครั้งต่อเนื่องจากปีก่อน เช่น Kingdom of Lights งานแสงสีเสียงที่เมืองโบราณในค่ำคืนฤดูร้อน, งานเทศกาลโคมไฟและอาหารนานาชาติเมืองโบราณ ซึ่งจะจัดในช่วงฤดูหนาว

    งานวิ่ง Sub 1 กำลังจะเริ่มครั้งแรกเดือนมีนาคมนี้

    และจะมีงานที่จัดขึ้นใหม่ร่วมกับพาร์ตเนอร์ เช่น งานประกาศรางวัล Young Self-made Millionaire Awards จัดร่วมกับรายการอายุน้อยร้อยล้าน, งานแข่งขันวิ่ง V RUNNER แข่งวิ่ง 10 กม. ภายใน 1 ชั่วโมง ซึ่งจะมี 3 ครั้ง ที่เมืองโบราณ และอีก 2 ครั้งอยู่ในภาคเหนือและภาคกลาง, งาน Wind Toy Fest อีเวนต์กับสนูปปี้และผองเพื่อน ที่จะจัดแบบในร่มกับศูนย์การค้าเครือเซ็นทรัลพัฒนา 6 แห่ง เป็นต้น

    งานใหม่ Wind Toy Fest จัดร่วมกับ CPN

    นอกจากนี้ อินเด็กซ์ฯ จะกลับมาจัดงานเทรดแฟร์ทั้งในไทยและต่างประเทศ เช่น Bangkok Beauty Show 2022 ที่ไบเทค, Cambodia Architect & Décor, Cambodia Health and Beauty Expo, Cambodia Food Plus Expo ประเทศกัมพูชา

    ทั้งหมดนี้คาดหวังว่าจะมีผู้ร่วมงานรวมไม่ต่ำกว่า 200,000 คน และทำให้รายได้ส่วน Own Project ปีนี้เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วน 30% ของรายได้รวมบริษัท เทียบกับเมื่อปี 2562 (ก่อนโรคระบาด) มีสัดส่วนเพียง 6.2% และคาดว่า ปี 2565 นี้ บริษัทจะมีรายได้เติบโต 60% อยู่ที่ประมาณ 925 ล้านบาท

    เทียบรายได้ อินเด็กซ์ฯ ปี 2562-2564 และคาดการณ์ผลประกอบการปี 2565

    เกรียงไกรมองว่า การพัฒนา Own Project เองทำให้พอร์ตของบริษัทมั่นคงขึ้น เพราะท่ามกลางความไม่แน่นอนของโรค ทำให้งานกลุ่ม Marketing Service รับจัดอีเวนต์ให้ลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นอีเวนต์การตลาด มักจะมีการยกเลิกหรือเลื่อนไปทันทีที่เกิดกระแสการระบาดใหม่ แต่งานที่บริษัทพัฒนาเอง สามารถตัดสินใจเองได้ว่ามีความคุ้มค่าและความปลอดภัยพอที่จะลงทุนและเดินหน้าต่อหรือไม่

     

    วอนรัฐบาลหยุดสร้างความกังวล

    สำหรับสถานการณ์โดยรวมปี 2565 เชื่อว่าธุรกิจอีเวนต์น่าจะกลับมามีมูลค่า 4,000-5,000 ล้านบาท หากไวรัสโอมิครอนไม่สร้างผลร้ายแรงมากนัก โดยถือเป็นการกลับตัวดีขึ้นจากปีที่แล้ว แต่ยังไม่กลับมาแบบเต็มที่

    อย่างไรก็ตาม เกรียงไกรมองด้วยว่าการรับมือกับไวรัสโอมิครอนนั้นรัฐบาลและ ศบค. ควรจะปรับมาตรการและสื่อสารให้เป็นปัจจุบันมากกว่านี้ เนื่องจากประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มไปแล้วเกิน 70% ของประชากร และเริ่มทยอยเข้ารับบูสเตอร์โดสกันแล้ว ทำให้ความเสี่ยงลดลงมากจากก่อนหน้าที่จะมีวัคซีน เห็นได้จากยอดผู้เสียชีวิตที่ยังต่ำแม้ผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้น

    “เกรียงไกร กาญจนะโภคิน” ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน)

    “ศบค.ควรจะผ่อนคลายกฎระเบียบ เพราะกฎเดิมตั้งมาตั้งแต่ก่อนมีวัคซีนแล้ว เช่น การจัดอีเวนต์ให้มีผู้ร่วมงานไม่เกิน 500 คน โดยไม่ได้พิจารณาถึงขนาดสถานที่และลักษณะว่าเป็นแบบกลางแจ้งหรือในร่ม หรือระเบียบการเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ควรจะผ่อนผันให้ไม่ต้องมีการกักตัวทั้งหมด เพียงแค่นักท่องเที่ยวมีหลักฐานฉีดวัคซีนครบโดสและมีผล RT-PCR มาจากประเทศต้นทางแล้ว” เกรียงไกรกล่าว

    “อีกเรื่องหนึ่งคือ ศบค. รวมถึงสื่อควรจะเลือกสื่อสารให้ประชาชนไม่หวาดกลัวไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนมากเกินไป เพราะมีผู้เสียชีวิตต่ำ และประเทศไทยฉีดวัคซีนได้อัตราสูงแล้ว มีวัคซีนบูสเตอร์เพียงพอกับประชาชน อยากให้ ศบค. เน้นย้ำส่วนนี้มากกว่าย้ำเรื่องจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันซึ่งทำให้ประชาชนตื่นกลัว”

    ]]>
    1370150
    “อสมท” กางโรดแมป 4 ปีสู่เป้า “หุ้นยั่งยืน” เค้นรายได้จากสินทรัพย์-ปั้นคอนเทนต์ดิจิทัล https://positioningmag.com/1364771 Wed, 01 Dec 2021 06:13:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364771 ยุคนายใหญ่คนใหม่ของ “อสมท” วางโรดแมปสู่ปี 2568 เป้าหมายเป็น “หุ้นยั่งยืน” ทำรายได้มั่นคง ยั่งยืน และเติบโต ยังยึดจุดเด่นคอนเทนต์ “ข่าว” ชูโรง เสริมด้วยคอนเทนต์บันเทิง พัฒนาทีมภายในพร้อมหาพาร์ตเนอร์เชิงกลยุทธ์จากภายนอก ต่อยอดสินทรัพย์ที่มีทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ให้สร้างรายได้สูงสุด ปั้นธุรกิจคอนเทนต์ดิจิทัล “The Trusted” และธุรกิจใหม่ สัดส่วนเพิ่มจาก 6% เป็น 22% ใน 3 ปี

    2564 นับเป็นปีที่ “อสมท” เริ่มหายใจได้อีกครั้ง หลังขาดทุนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 โดยผลการดำเนินการสามไตรมาสแรกของปีนี้ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) มีกำไรแล้ว 100 ล้านบาท และน่าจะจบปีด้วยผลกำไรเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี

    อย่างไรก็ตาม ไส้ในของการทำกำไรปีนี้ไม่ได้เกิดจากบรรทัดบนที่เพิ่มขึ้น แต่มาจากการตัดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่สูงเกินหน้าเพื่อนร่วมอุตสาหกรรม โดยบริษัทมีการเปิดโครงการ “ร่วมใจจาก” มาตั้งแต่ปีก่อน จนพนักงานองค์กรลดลงจากเกือบ 1,400 คนเหลือ 970 คน ณ ขณะนี้

    หลังผ่านปีของการตัดต้นทุน เมื่อ 3 เดือนก่อนบริษัทได้นายใหญ่คนใหม่มานั่งตำแหน่ง คือ “รศ.เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และลงมือวางโรดแมปและกลยุทธ์อย่างรวดเร็ว

    “รศ.เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

    “เข้ามาถึงผมเหมือนมาทำวิจัยโฟกัสกรุ๊ปอยู่ประมาณ 2 เดือน จึงพบว่าจุดแข็งของเราคือ ‘ข่าว’ จริงๆ” รศ.เกษมศานต์กล่าว “จุดแข็งของ อสมท คือ ‘สำนักข่าวไทย’ ซึ่งคนมองว่าเราค่อนข้างเป็นกลาง ดังนั้นเราควรจะทำตรงนี้ให้ชัดว่าเราเชื่อถือได้ อ้างอิงได้”

    นั่นทำให้ปี 2565 ซึ่งจะเป็นปีครบรอบ 70 ปี อสมท จะมีธีมการดำเนินงานเป็น “The Year of Trusted News and Smart Entertainment” ปูทางไปสู่เป้าหมายปี 2568

     

    อสมท 2568 เป้าหมายขึ้นแท่น “หุ้นยั่งยืน”

    รศ.เกษมศานต์ประกาศวิสัยทัศน์ปี 2568 ของบริษัทว่า ต้องการให้บริษัทขึ้นแท่นเป็น “หุ้นยั่งยืน” นั่นหมายถึงต้องทำกำไรต่อเนื่อง 3 ปี เมื่อถอดสมการย้อนกลับแล้ว ทำให้ อสมท ต้องหาเครื่องยนต์ทำรายได้เพิ่มขึ้น

    หลังจากปี 2564 เป็นปีแห่งการ ‘Survival’ เอาตัวรอดได้สำเร็จแล้ว ลดต้นทุนจนคาดว่าปีหน้าจะไม่มีโครงการเลย์ออฟพนักงานอีก

    ปี 2565 จะเป็นปีแห่งการสร้างความมั่นคง ต้อง ‘Stable’ และปี 2566-67 จะต้องเป็นปีที่รายได้เดินต่อแบบยั่งยืนและเติบโต ‘Sustainable & Growth’

     

    ยกเครื่องเดิม เติมเครื่องยนต์ใหม่

    จากโรดแมปดังกล่าว กลยุทธ์จะทำอย่างไร? รศ.เกษมศานต์ และทีม อสมท “สุนทรียา วงศ์ศิริกุล” ซีเอฟโอ และ “ผาติยุทธ ใจสว่าง” ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักโทรทัศน์ ร่วมกางกลยุทธ์สำคัญๆ ที่จะใช้เพื่อยกเครื่องภายในและเติมเครื่องยนต์ใหม่ในการทำรายได้ ดังนี้

    • Reskill-Upskill คนในองค์กร – หลังผ่านช่วงที่ภายในองค์กรมี ‘ความเนือยและนิ่ง’ มาพักใหญ่ อสมท จะส่งเสริมให้พนักงานเพิ่มทักษะใหม่ให้ทันสมัย เพิ่มความเร็วมากขึ้นในระดับที่ไม่ใช่แค่ ‘speed’ แต่เป็น ‘sprint’ เหมือนการวิ่ง 100 เมตรก่อนเข้าเส้นชัย
    • จับมือพันธมิตรภายนอกในระดับกลยุทธ์ – เจรจาพันธมิตรที่จะมา ‘collab’ ร่วมกันคิดสร้างสรรค์คอนเทนต์ในช่อง โดยต้องการให้เป็นความร่วมมือระยะยาวและคิดร่วมกัน มากกว่าเป็นพาร์ตเนอร์เช่าออกอากาศเท่านั้น ขณะนี้มีการเจรจาแล้ว 2-3 ราย เพื่อจะทำให้องค์กรโตเร็วจากการใช้กลยุทธ์ outside-in
    รายการชัวร์ก่อนแชร์ หนึ่งในรายการชูโรงของ MCOT ที่ผู้บริโภคให้ความเชื่อถือ
    • ต่อยอดสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้เป็นธุรกิจใหม่ – สินทรัพย์ของ อสมท ที่ยังสามารถหาผลประโยชน์ (monetize) ยังมีอีกมาก ตัวอย่างเช่น
      แพลตฟอร์ม The Shot ซึ่งจะรวมภาพถ่ายและวิดีโอนับแสนรายการตลอด 70 ปีของ อสมท มาขายลิขสิทธิ์ใช้งาน (แบบเดียวกับ Shutterstock) ขณะนี้เปิดหน้าเว็บไซต์แล้ว แต่จะเสร็จสมบูรณ์ราวไตรมาส 1/65
      รายการชัวร์ก่อนแชร์ ที่ได้รับความเชื่อถือสูง สามารถต่อยอดเป็นหลักสูตรฝึกสอนการตรวจสอบข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต กลายเป็นกิจการเพื่อสังคมในมุมการศึกษาได้
      NFT (non-fungible token) กำลังตั้งทีมศึกษาความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจนี้ คาดจะเห็นความชัดเจนภายในไตรมาส 1/65
    ย้อนอ่าน >> ธุรกิจทีวีเอาไม่อยู่ อสมท ขอแตกไลน์ ขยายสู่อสังหาฯ นำที่ดิน 70 ไร่ พระราม 9 มูลค่า 7 พันล้าน…
    • ทำรายได้ประจำจากสินทรัพย์จับต้องได้ – ที่ดินในมือ อสมท จำนวนมากทั่วประเทศ มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อสร้างแผนแม่บทในการหารายได้ประจำจากการ “ปล่อยเช่า” โดยมีที่ดินทำเลดีที่คาดว่าจะปล่อยเช่าได้ในปี 2565-66 คือ ที่ดินย่านรัชดา-พระราม 9 ขนาด 50 ไร่, ที่ดินบริเวณบางไผ่ 60 ไร่ และที่ดินบริเวณหนองแขม 40 ไร่
    • ผลิตคอนเทนต์ดิจิทัลโดยเฉพาะ – ที่ผ่านมาบริษัทมีการนำคอนเทนต์จากรายการต่างๆ ในสถานีวิทยุ-โทรทัศน์ตัดต่อขึ้นโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, YouTube ซึ่งสร้างรายได้เติบโตดี แต่ปีหน้าจะได้เห็นสื่อใหม่จากฝีมือสถานี เช่น The Trusted” เป็นการรวมทีมจากทั้งวิทยุ-โทรทัศน์มาผลิตรายการแบบเจาะกลุ่มผู้ชมบนออนไลน์โดยเฉพาะ เผยแพร่บนโซเชียลมีเดียของ The Trusted เริ่มจากรายการแนวข่าวและสาระก่อน
    • เสริมความบันเทิงในตลาดแมส – ในสถานีโทรทัศน์จะมีการเสริมคอนเทนต์บันเทิงให้เหมาะกับตลาดแมส จากเดิมมีจุดแข็งที่รายการการ์ตูน ขณะนี้มีพันธมิตรเป็นสตรีมมิ่ง ได้แก่ Monomax, WeTV, iQiyi ที่จะนำคอนเทนต์ลงฉาย และมีความร่วมมือผลิตซีรีส์ไทยลิขสิทธิ์ร่วมกัน ฉายในช่อง อสมท และนำไปหารายได้ผ่าน OTT ด้วย

     

    คอนเทนต์ดิจิทัล-ธุรกิจใหม่ แรงขับสำคัญ

    จากแผนกลยุทธ์ทั้งหมด สุนทรียา ซีเอฟโอองค์กร รายงานตัวเลขสัดส่วนรายได้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนในอนาคต จากปัจจุบัน อสมท มีแหล่งรายได้แบ่งสัดส่วนดังนี้

    • ธุรกิจโทรทัศน์และธุรกิจข่าว 33%
    • ธุรกิจให้บริการโครงข่ายวิศวกรรม 30%
    • ธุรกิจวิทยุ 27%
    • ธุรกิจดิจิทัลและธุรกิจใหม่ 6%

    ภายในปี 2567 ธุรกิจดิจิทัลและธุรกิจใหม่จะเพิ่มสัดส่วนเป็น 22% โดยมีแรงขับสำคัญจากการให้เช่าที่ดินที่ทำให้รายได้โตเร็ว ประกอบกับธุรกิจดิจิทัลที่จะเติบโต รวมถึงธุรกิจ Shop Mania ที่เป็นทีวีช้อปปิ้ง

    “มีคนถามว่าช่อง 9 เราจะรีแบรนด์ไหม แต่เราพบว่า เราไม่ต้องเปลี่ยนแบรนด์ใหม่ แต่เราต้องทำให้แบรนด์สดชื่นขึ้นใหม่” รศ.เกษมศานต์กล่าว

    ]]>
    1364771
    “อนันดาฯ” ขนแบรนด์ใหม่ลงตลาดปี’65 เกี่ยวก้อยพันธมิตร “ดุสิตธานี”– ผู้จัดงาน “วันเดอร์ฟรุ๊ต” https://positioningmag.com/1362188 Mon, 15 Nov 2021 13:22:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1362188 “อนันดาฯ” ชิงเปิดแผนปี 2565 ก่อนใคร เตรียมแผนโครงการใหม่ 7 โครงการ มูลค่ากว่า 28,200 ล้านบาท ปั้นคอนโดฯ แบรนด์ใหม่ “COCO Parc” ร่วมกับดุสิตธานี และ “Culture” ร่วมกับ “สแครทช์ เฟิร์สท์” ผู้จัดงาน “วันเดอร์ฟรุ๊ต” นอกจากนี้ แย้มว่าอาจจะได้เห็นคอนโดฯ ระดับซูเปอร์ลักชัวรี 2 แห่ง อาคารดีไซน์สุดล้ำวิวสวนลุม และคอนโดฯ แบบสกายพูลวิลล่า เหมือนยกบ้านมาไว้บนอาคาร

    “ชานนท์ เรืองกฤตยา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ เปิดแผนบุกตลาดอสังหาริมทรัพย์ ปี 2565 จะเปิด 7 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 28,200 ล้านบาท โดยมีหลายโครงการที่จะเป็นแบรนด์ใหม่ และร่วมกันพัฒนาคอนเซปต์กับพันธมิตร ดังนี้

    1.อาร์เทล พระราม 9 – โครงการพูลวิลล่ากลางเมือง ราคาเริ่มต้น 30 ล้านบาท จำนวน 99 ยูนิต เจาะตลาดบ้านระดับไฮเอนด์ซึ่งยังมีกำลังซื้อสม่ำเสมอแม้เผชิญวิกฤตโรคระบาด

    2.COCO Parc (โคโค่ พาร์ค) – คอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์ ทำเลติดสถานี MRT คลองเตย ตรงข้ามสวนเบญจกิตติ คอนโดฯ แบรนด์ใหม่นี้มีการพัฒนาร่วมกับพันธมิตรคือ “ดุสิตธานี” ซึ่งจะเข้ามาดูแลด้านการบริการหลังก่อสร้างเสร็จ โดยใช้การบริการแบบเดียวกับโรงแรม 5 ดาว นอกจากนี้ เป็นคอนโดฯ ที่ใช้วิธีสร้างก่อนเริ่มขาย โครงการจะเปิดขายปีหน้า และสร้างเสร็จภายในไตรมาส 4/65 ทำให้ลูกค้าซื้อแล้วไม่ต้องรอนานก่อนโอน

    โคโค่ พาร์ค ร่วมพัฒนากับดุสิตธานี

    3.Culture (คัลเจอร์) – คอนโดฯ คอนเซปต์ Eco-Living ซึ่งร่วมพัฒนากับ “สแครทช์ เฟิร์สท์” ผู้จัดงาน “วันเดอร์ฟรุ๊ต” เป้าหมายเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยโครงการจะเน้นการใช้วัสดุก่อสร้างที่คำนึงถึงความยั่งยืน ลดมลพิษและเพิ่มการรีไซเคิลระหว่างการก่อสร้าง แบ่งเป็น 2 ทำเล คือ
    Culture ทองหล่อ ทำเล 250 เมตรจากสถานี BTS ทองหล่อ ราคาประมาณ 150,000 บาทต่อตร.ม.
    Culture จุฬา ทำเล 350 เมตรจากสถานี MRT สามย่าน (ยังไม่เปิดเผยราคา)

    4.Ideo (ไอดีโอ) 2 ทำเลใหม่ คือ
    ไอดีโอ สะพานควาย ติดสถานี BTS สะพานควาย ราคา 130,000-150,000 บาทต่อตร.ม.
    ไอดีโอ รามคำแหง-ลำสาลี ทำเล 50 เมตรจากสถานีลำสาลี ราคา 80,000-100,000 บาทต่อตร.ม.

    5.ทาวน์เฮาส์แบรนด์ใหม่ ทำเลติวานนท์-แจ้งวัฒนะ – โครงการนี้ยังไม่เปิดชื่อแบรนด์ แต่จะเป็นทาวน์เฮาส์ดีไซน์อิสระเหมาะกับโลกยุคใหม่ ราคาเริ่มต้นประมาณ 2.5 ล้านบาท

    คอนโดฯ ซูเปอร์ลักชัวรีจากอนันดาฯ ใช้กระจกทรงกลมโค้งยื่นออกไปในอากาศ

    ไม่เพียง 7 โครงการนี้ ชานนท์ยังกล่าวด้วยว่า บริษัทมี 2 โครงการซูเปอร์ลักชัวรี ที่รอการออกแบบเสร็จและจังหวะการเปิดตัวอยู่ โดยโครงการแรกจะเป็น “คอนโดฯ วิวสวนลุมพินีที่มีเพียง 20 ยูนิต” ความน่าสนใจคือดีไซน์กระจกห้องชุดเป็นวงกลมทรงโค้งยื่นออกไปในอากาศ ดูแปลกตาอย่างมาก ส่วนอีกโครงการหนึ่งจะเป็น “คอนโดฯ สกายพูลวิลล่า” จำนวนเพียง 30-40 ยูนิต ตอบสนองลูกค้าไลฟ์สไตล์คนเมืองแต่ต้องการพื้นที่มากและสระว่ายน้ำส่วนตัว

    ปี 2565 อนันดาฯ วางเป้าหมายรายได้ที่ 12,000 ล้านบาท เติบโตจากเป้ารายได้ปีนี้ 20% บริษัทมีแบ็กล็อกรอโอนปีหน้าแล้ว 6,220 ล้านบาท และยังมีโครงการพร้อมอยู่เป็นสต็อกมูลค่ารวมกว่า 28,000 ล้านบาทที่จะลุยขายต่อปีหน้าเพื่อดันรายได้ให้ได้ตามเป้า

     

    ลุย “เซอร์วิส อพาร์ทเมนต์” ธุรกิจเสถียรกว่าโรงแรม

    นอกจากโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อขาย ปีหน้าอนันดาฯ จะมี “รายได้ประจำ” (Recurring Income) เข้ามาจาก “เซอร์วิส อพาร์ทเมนต์” 5 แห่ง ซึ่งใช้แบรนด์ระดับโลกเข้ามาบริหาร และจะพร้อมเปิดดำเนินการทั้งหมดในปี 2565 ดังนี้

    • ซัมเมอร์เซ็ต พระราม 9
    • แอสคอทท์ แอมบาสซี่ สาทร
    • แอสคอทท์ ทองหล่อ บางกอก
    • ไลฟ์ สุขุมวิท 8 บางกอก
    • ซัมเมอร์เซ็ต พัทยา
    แผนที่เซอร์วิส อพาร์ทเมนต์ของอนันดาฯ ที่จะเปิดปี 2565

    ชานนท์ระบุว่า บริษัทสนใจธุรกิจเซอร์วิส อพาร์ทเมนต์เพราะพบว่าเสถียรกว่าโรงแรมในช่วงที่มีโรคระบาด ยังมีอัตราเข้าพักสูงถึง 55% เทียบกับโรงแรมมีเพียง 20% เนื่องจากธุรกิจนี้จับกลุ่ม expat ต่างชาติซึ่งยังต้องอาศัยอยู่ในประเทศต่อเพื่อทำงาน

     

    ตลาดผ่านจุดต่ำสุดแล้ว ต่างชาติกลับมาซื้อ

    สำหรับสถานการณ์อสังหาฯ ปีนี้ “ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บมจ.อนันดาฯ กล่าวว่า เป้ารายได้ 10,000 ล้านบาทของบริษัทในปีนี้ใกล้จะแตะเป้า โดยจะมีการโอนแบ็กล็อกเพิ่มอีก 1,400 ล้านบาท และมีเป้าขายโครงการพร้อมอยู่อีก 1,100 ล้านบาท

    “ตลาดอสังหาฯ bottom out ไปแล้ว จากจุดต่ำสุดคือเมื่อเดือนกรกฎาคมซึ่งอสังหาฯ ถูกปิดไซต์ จนเมื่อเดือนตุลาคม ยอดขายของอนันดาฯ กลับมาโต 30% เทียบเดือนต่อเดือน สะท้อนตลาดที่ดีขึ้น” ประเสริฐกล่าว

    นอกจากนี้ พบว่ากลุ่มผู้ซื้อต่างชาติก็กลับมาแล้วเช่นกัน โดยเมื่อเดือนก่อนปิดการขายลูกค้าต่างชาติได้ 280 ล้านบาท

    อนันดาฯ เป็นบริษัทที่ชูจุดขายพัฒนาโครงการ “คอนโดฯ ติดรถไฟฟ้า” มาตลอด หลังจากเกิดโรคระบาดขึ้นและหลายบริษัทปรับไปทำงานแบบ hybrid work หรือ remote work ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า คอนโดฯ ติดรถไฟฟ้า เดินทางสะดวก จะยังจำเป็นหรือไม่ ต่อประเด็นนี้ แม่ทัพอนันดาฯ ยังวางวิสัยทัศน์ว่าที่อยู่อาศัยที่เดินทางสะดวกจะยังจำเป็น

    “เราทำงานแบบ hybrid model ทำงาน ประชุมผ่านจอกันได้ก็จริง แต่คนเราจะยังอยากเจอตัวกันบ้าง เรายังอยากนัดกันไป hang out ทองหล่อหลังเลิกงานเหมือนเดิม” ชานนท์กล่าว “ตอนนี้ กทม. เปิดเมืองแล้ว รถเริ่มกลับมาติด เพราะถนนใน กทม. ไม่เพียงพอ การเดินทางโดยใช้รถไฟฟ้ายังตอบโจทย์เมืองนี้มากที่สุด เพียงแต่เราต้องปรับดีไซน์คอนโดฯ ใหม่ให้เหมาะกับโลกยุคใหม่”

    สิ่งที่จะได้เห็นในคอนโดฯ อนันดาฯ โครงการใหม่ๆ จะเหมาะกับการเป็นโลกที่ทำงานจากบ้านได้ เช่น ห้องทำงานส่วนกลางที่เก็บเสียงได้เป็นส่วนตัวสำหรับประชุม ห้องสำหรับ ‘Live’ เหมาะกับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หรือยูทูปเบอร์จัดรายการ เป็นต้น

    ]]>
    1362188