ไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 16 May 2023 09:07:57 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘เอเชียตะวันออกเฉียงใต้’ ทำสถิติ ‘ร้อน’ สุดเป็นประวัติการณ์ คาดในช่วง 10 ปีข้างหน้าอาจแตะ 51 องศาเซลเซียส https://positioningmag.com/1430633 Tue, 16 May 2023 07:43:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1430633 ชาวไทยอย่างเราอยากชินแต่ก็คงไม่ชินสักทีกับสภาพอากาศที่ร้อนระอุขึ้นทุกวัน ๆ ได้แต่หวังว่าที่กรมอุตุฯ คาดว่าจะมีฝนจะตกจริงอย่างที่ว่า แน่นอนว่าไม่ใช่ไทยที่ร้อนขึ้น แต่เป็นทั้งภูมิภาค และนี่ยังไม่ใช่จุดสูงสุด แต่ยังร้อนขึ้นได้อีกในช่วง 10 ปีจากนี้ โดยภูมิภาคเอเชียอาจร้อนได้สูงสุด 51 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว

ปัจจุบัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด ซึ่งทำให้เกิดคลื่นความร้อนบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น และทำให้มลพิษทางอากาศในภูมิภาคเลวร้ายลง การรวมกันของความร้อนสูงและระดับหมอกควันสูงในภูมิภาคทำให้ความเสี่ยงของการเจ็บป่วยจากความร้อนเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับปัญหาระบบทางเดินหายใจและหัวใจและหลอดเลือด

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกทำให้ทั้งคลื่นความร้อนและมลพิษทางอากาศทวีความรุนแรงขึ้นในภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประสบกับอุณหภูมิที่ร้อนระอุในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยบางพื้นที่ทำสถิติสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์

อย่างเมือง เตืองเดือง ใน เวียดนาม อุณหภูมิพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 44.2 องศาเซลเซียส ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ตามมาด้วย หลวงพระบาง ในประเทศ ลาว มีอุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 43.5 องศาเซลเซียส ในช่วงวันเสาร์ที่ผ่านมา 

ส่วน กรุงเทพฯ เมืองหลวงของ ไทย ก็เจอกับอุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 41 องศาเซลเซียส ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเช่นกัน ด้านอุณหภูมิใน สิงคโปร์ เองแม้จะไม่สูงเท่าประเทศก่อนหน้า โดยอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส แต่ก็เท่ากับสถิติสูงสุดตลอดกาลที่บันทึกไว้เมื่อ 40 ปีก่อน

สำหรับอุณหภูมิที่ร้อนระอุในปีนี้สามารถเชื่อมโยงกับปัญหาหลายอย่าง รวมถึงปริมาณน้ำฝนที่ลดลงในช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา และปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งเป็นรูปแบบสภาพอากาศที่โดยทั่วไปจะนำสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งมาสู่ภูมิภาค 

เดือนที่ร้อนที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยทั่วไปคือตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอุณหภูมิมักจะสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส โดยทั่วไปแล้วฤดูแล้งของภูมิภาคจะสิ้นสุดลงเมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูมรสุม ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิเย็นลงและมีฝนตกชุก

อย่างไรก็ตาม การศึกษาในปี 2565 จากวารสาร Communications Earth & Environment เตือนว่า ระดับความร้อนที่เป็นอันตรายนั้นคาดว่าจะเกิดขึ้นบ่อยขึ้น 3 ถึง 10 เท่าภายในสิ้นศตวรรษนี้ โดยภูมิภาคเขตร้อนรวมถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียอาจเผชิญกับ ความร้อนที่อันตรายอย่างยิ่ง ที่ 51 องศาเซลเซียส หรือเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตามการศึกษา และเอเชียเผชิญกับอันตรายทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง และไต้ฝุ่น นอกเหนือไปจากความร้อนและความชื้นที่เพิ่มสูงขึ้น

ทั้งนี้ ในปี 2565 ถือเป็นปีที่ทั่วโลกเผชิญกับอากาศที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ เนื่องจากความร้อนของมหาสมุทรเพิ่มขึ้นและน้ำแข็งที่ปกคลุมทะเลในแอนตาร์กติกาละลายจนใกล้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ตามข้อมูลของรัฐบาลสหรัฐฯ

]]>
1430633
‘โอมิครอน-เงินเฟ้อ’ ปัจจัยเสี่ยงฉุดการฟื้นตัว เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง https://positioningmag.com/1366051 Wed, 08 Dec 2021 13:32:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1366051
‘โอมิครอน’ สร้างความไม่แน่นอนต่อการฟื้นตัว เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เงินเฟ้ออาจเร่งขึ้นแตะ 3% ในช่วงต้นปีหน้าชั่วคราว คาด กนง.คงดอกเบี้ยต่ำจนถึงสิ้นปี 65 ด้านเฟดอาจเร่งปรับลด QE ให้เสร็จก่อนกลางปีหน้า เพื่อปูทางปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง

วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เผยบทวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทย ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ว่า มีแนวโน้มฟื้นตัว ปัจจัยหนุนจากสถานการณ์การระบาดในประเทศที่บรรเทาลง การฉีดวัคซีนมีมากขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุม ประกอบกับผลเชิงบวกจากการเปิดประเทศ

โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนพฤศจิกายน รวมทั้งสิ้น 133,061 คน เร่งขึ้นจากเดือนตุลาคม ที่ 20,272 คน เเละความต่อเนื่องของมาตรการรัฐก็ยังช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวในประเทศช่วงปลายปี

อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงขึ้น หลังจากมีการแพร่ระบาดของไวรัสกลายพันธุ์ ‘โอมิครอน’ เกิดขึ้นในประเทศทางแอฟริกา และเริ่มตรวจพบในหลายประเทศมากขึ้น รวมถึงไทย

ขณะที่ปัจจุบันยังต้องติดตามรายละเอียดที่ชัดเจน ถึงความรุนแรงของสายพันธุ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพราะอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสร้างแรงกดดันต่อการฟื้นตัวในระยะข้างหน้าได้

(Photo: Shutterstock)

เงินเฟ้อไทย อาจเเตะ 3% ต้นปีหน้า 

ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน ประเมินว่า กนง.จะคงดอกเบี้ยอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2565 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 2.71% YoY จาก 2.38% เดือนตุลาคม

สาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ (+37.2%) ตามสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหาร โดยเฉพาะผักสด (+12.7%) ซึ่งยังคงได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจากช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการปรับขึ้นของราคาเครื่องประกอบอาหาร (+6.2%) เนื่องจากความต้องการและต้นทุนขนส่งที่ปรับเพิ่ม

ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 0.29% เพิ่มขึ้นจาก 0.21% เดือนตุลาคม สำหรับในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 1.15% และ 0.23% ตามลำดับ

“แม้อัตราเงินเฟ้อของไทยจะเร่งขึ้นในช่วงปลายปีนี้ และมีแนวโน้มอาจแตะระดับสูงใกล้ 3% ในช่วงไตรมาส 1/2565 เนื่องจากผลของฐานที่ต่ำและการส่งผ่านของต้นทุน แต่คาดว่าจะชะลอลงและกลับมาแตะระดับใกล้ขอบล่างของกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายของทางการที่ 1% ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565”

สอดคล้องกับทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มชะลอลง ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงเอื้อให้ กนง.ยังคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความเปราะบางและเติบโตในอัตราที่ต่ำกว่าระดับศักยภาพ

โอมิครอน ปัจจัยเสี่ยง ฉุดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก 

สำหรับเศรษฐกิจโลก วิจัยกรุงศรีระบุว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจโลกเดือนพฤศจิกายนปรับตัวดีขึ้น แต่ไวรัสโอมิครอนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในระยะต่อไป

ในเดือนพฤศจิกายนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการของโลกแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 ที่ 54.8 โดยดัชนีของกลุ่มประเทศแกนหลัก เช่น ยูโรโซน ญี่ปุ่น ปรับดีขึ้นสู่ระดับ 55.8 และ 53.3 ตามลำดับ สะท้อนการขยายตัวต่อเนื่อง (ค่าดัชนี > 50) ของกิจกรรมในภาคการผลิตและภาคบริการ

โดยองค์ประกอบของดัชนี PMI ของโลกปรับตัวดีขึ้นทั้งด้านผลผลิต ยอดสั่งซื้อใหม่ ยอดสั่งซื้อเพื่อการส่งออก และการจ้างงาน อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบทางด้านราคาบ่งชี้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้อยังเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยด้านต้นทุนการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาข้อจำกัดด้านอุปทานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมันที่พุ่งขึ้น

ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับรายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่ประเมินว่าภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงอาจยาวนานกว่าที่คาดและถือเป็นความเสี่ยงสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลให้ธนาคารกลางของประเทศแกนหลักปรับนโยบายการเงินเร็วและแรงกว่าคาดการณ์เดิม จนสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ OECD ปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตของ GDP โลกในปีนี้ลงเล็กน้อยสู่ 5.6% จากเดิมคาด 5.7%

ส่วนในปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 4.5% นอกจากนี้ OECD ยังระบุถึงความเสี่ยงจากไวรัสกลายพันธุ์ที่อาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

ล่าสุด องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนกว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งเตือนว่าไวรัสกลายพันธุ์ดังกล่าวสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วและคาดว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุเตรียมปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกจากปัญหาไวรัสสายพันธุ์ใหม่

วิจัยกรุงศรีประเมินว่า ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนถือเป็นปัจจัยที่สร้างความไม่แน่นอนต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยการใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดอาจส่งผลกระทบต่อการเดินทาง การขนส่ง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ ซึ่งอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและอาจซ้ำเติมภาวะชะงักงันด้านอุปทาน

“ส่วนความกังวลด้านเงินเฟ้อแม้อาจเผชิญแรงกดดันจากข้อจำกัดด้านอุปทานและปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แต่ราคาพลังงานที่ปรับลดลงอาจช่วยบรรเทาแรงกดดันต่อเงินเฟ้อในระยะต่อไป”

(Photo by Epics/Getty Images)

เฟดเร่งปรับลด QE

เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่ง คาดเฟดอาจเร่งปรับลด QE ให้เสร็จก่อนกลางปีหน้าเพื่อปูทางปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง ในเดือนพฤศจิกายนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ปรับตัวดีขึ้นทั้งภาคการผลิตที่เพิ่มสู่ระดับ 61.1 สูงกว่าตลาดคาด และนอกภาคการผลิตซึ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มจัดทำข้อมูลในปี 2540 ที่ 69.1

ด้านการจ้างงานภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 5.34 แสนตำแหน่ง สูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ขณะที่อัตราการว่างงานแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ 4.2% ส่วนจำนวนผู้ยื่นขอรับสิทธิสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 พฤศจิกายน ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 18 เดือนที่ 1.95 ล้านคนตลาดแรงงานของสหรัฐฯ มีแนวโน้มทยอยปรับตัวดีขึ้น ล่าสุด อัตราการว่างงานแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่การแพร่ระบาด

ขณะที่ ประธานเฟด ส่งสัญญาณเร่งการปรับลดแรงกระตุ้นทางการเงิน โดยกล่าวต่อสภาคองเกรสว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่งมากขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ทั้งยังประเมินว่าความเสี่ยงจากปัญหาไวรัสกลายพันธุ์โอมิครอนอาจเพิ่มแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อจากปัญหาการชะงักงันด้านอุปทานและการขาดแคลนแรงงานจากความวิตกกังวลต่อการระบาด จากปัจจัยดังกล่าวเฟดจึงเห็นควรว่าจะหารือเรื่องการยุติโครงการเข้าซื้อพันธบัตรให้เร็วขึ้นกว่าเดิมในการประชุมวันที่ 14-15 ธันวาคมนี้

“วิจัยกรุงศรีประเมินว่า เฟดจะประกาศเร่งปรับลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการ QE ให้เสร็จสิ้นก่อนกลางปีหน้าเพื่อปูทางให้สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้อย่างน้อย 25 bps ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565”

]]>
1366051
เมย์แบงก์ ประเมินเศรษฐกิจชาติอาเซียน ส่งสัญญาณฟื้นตัว ไทยยังติดผลกระทบ ‘ท่องเที่ยว’ https://positioningmag.com/1345719 Sun, 08 Aug 2021 08:41:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345719 เมย์แบงก์ กิมเอ็งประเมินภาพรวมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นในอาเซียน ฝั่ง ‘สิงคโปร์ฟื้นตัวเร็วสุด จากเเรงหนุนอุตสาหกรรม กระจายวัคซีนได้ดี ฟิลิปปินส์-มาเลเชียเวียดนามอินโดนีเซีย ส่งสัญญาณมีความหวัง ไทยยังติดผลกระทบ ‘ท่องเที่ยว’ ฉีดวัคซีนไม่ได้ตามเป้า การบริโภคยังฟื้นตัวได้ช้าในทุกประเทศอาเซียน

ทีมวิจัยสรุปสาระสำคัญของงานสัมมนา Invest ASEAN 2021 ในหัวข้อ ASEAN Macro Outlook & ASEAN Strategy โดยมีประเด็นน่าสนใจ ดังนี้

สิงคโปร์  :

จะเป็นประเทศที่ฟื้นตัวได้เร็วที่สุดหากเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เนื่องจากเศรษฐกิจสิงคโปร์ ได้รับแรงหนุนจากกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต ตามแนวโน้มการกระจายวัคซีนที่ทำได้เร็ว โดยจีดีพีไตรมาส 2/64 ขยายตัว +14.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งตัวจาก +1.3% ในไตรมาส 1/64

รวมไปถึง โอกาสการปรับเพิ่มประมาณการกำไรตลาดเเละการเริ่มกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบ ‘Tightening’ มากขึ้น น่าจะส่งผลให้หุ้น Value มีความน่าสนใจมากกว่าหุ้น Growth

อินโดนีเซีย 

ได้รับแรงหนุนจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และความหวังการเร่งฉีดวัคซีน ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของอินโดนีเซียน่าจะเข้าสู่จุดฟื้นตัว จากมาตรการเชิงผ่อนคลายทั้งด้านการเงิน (ล่าสุดปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในช่วงไตรมาส 1/64) และการผ่อนปรนเงื่อนไขการปล่อยกู้ การช่วยเหลือลูกหนี้ นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จากทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังทรงตัวในระดับสูงได้ต่อเนื่อง 

เวียดนาม :

ส่วนใหญ่ตลาดหุ้นเวียดนาม จะผันผวนสูงตามสถานการณ์โควิด-19 หลังผ่านพ้นช่วงการปรับฐานรอบใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา ก็ยังคงให้น้ำหนักกับโรคระบาดต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มาตรการด้านการเงินและการคลัง โดยเฉพาะการปรับลดภาษีบริษัท (Corporate Tax) ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยบรรเทาผลกระทบเชิงลบต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจ 

Photo : Shutterstock

มาเลเซีย : 

การกระตุ้นด้านการคลังรอบใหม่ ยังเผชิญกับปัญหาโควิด-19 ในประเทศ และล่าสุดยังอยู่ในช่วงของการอัดฉีดเงินเยียวยาด้านการคลังจากภาครัฐ เงินช่วยเหลือโดยตรงรวมประมาณ 83 พันล้านริงกิต (MYR83bn) หรือคิดเป็น 5.9% ของจีดีพี

ฟิลิปปินส์ : 

เริ่มมีความคาดหวังเล็กๆ ท่ามกลางปัญหาโควิด-19 ที่ยังรุนแรงเเละเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบปัญหาสายพันธุ์เดลตาจนต้องมีการใช้มาตรการล็อกดาวน์ควบคุมการแพร่ระบาด

อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นเริ่มมีความหวัง หลังจากที่การกระจายวัคซีนทำได้เร็วขึ้นกว่าในช่วงที่ผ่านมา และน่าจะได้แรงหนุนจากการลงทุนภาครัฐ ในช่วงหลังการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น

ไทย : 

ภาคการท่องเที่ยวของไทย ได้รับผลกระทบเชิงลบรุนแรงต่อเนื่อง แนวโน้มเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย ซึ่งพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก ก็ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่จำนวนผู้ติดเชื้อเร่งตัวขึ้นในช่วงไตรมาส 2/64 ที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญ

ส่งผลให้ตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา Underperform และมีความกังวลต่อแผนการเปิดประเทศของรัฐบาลว่าอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

จากมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจและตลาดการเงินในแต่ละประเทศในอาเซียน จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าให้น้ำหนักกับปัจจัยเดียวกัน นั่นคือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ อย่างไรก็ตาม ก็ปัจจัยเฉพาะตัวของแต่ละประเทศ ที่ล้วนแต่เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดทิศทางและอัตราการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อย่าง

1) โครงสร้างเศรษฐกิจ

2) นโยบายด้านการเงินและการคลังของภาครัฐ

3) ความรวดเร็วในการควบคุมการแพร่ระบาดเเละการกระจายวัคซีน

หากพิจารณาภาพรวมของไทยเทียบกับประเทศในอาเซียน พบว่าแนวโน้มการฟื้นตัวถือว่าทำได้ไม่เร็วนัก จากโครงสร้างที่เศรษฐกิจพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก (แม้ส่งออกไทยจะโดดเด่น แต่เกือบทุกประเทศในอาเซียนดีเหมือนกันหมด ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวเด่น) อีกทั้งการกระจายวัคซีนหากพิจารณาถึงปัจจุบันยังคงช้ากว่าเป้าหมายของทางภาครัฐ

Photo : Shutterstock

เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศในอาเซียนอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว ด้วยแรงขับเคลื่อนของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ และพึ่งพาภาคการผลิตของประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งเศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วกว่าประเทศกำลังพัฒนา (Emerging)

ในขณะที่การบริโภคในประเทศ และการท่องเที่ยว ยังเป็นส่วนที่ฟื้นตัวได้ช้าในทุกๆ ประเทศอาเซียนจากผลกระทบของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่

โดยมุมมองต่อนโยบายการเงินสหรัฐฯ ต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของสหรัฐฯ กลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งจะเริ่มต้นจากการทำ QE Tapering หรือการปรับลดเม็ดเงินที่ใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการ QE ของสหรัฐฯ น่าจะส่งผลเชิงลบต่อตลาดการเงินอาเซียนไม่มากนัก (คงมุมมองเดิม) เนื่องจากทุกประเทศอยู่ในจุดที่ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดหุ้นอาเซียนไม่ได้อยู่ในช่วงภาวะกระทิง (Bull Market) ดังเช่นช่วงที่มีการทำ QE Tapering ครั้งที่ผ่านมา

]]>
1345719
“ฟิลิปปินส์” ห้ามผู้เดินทางจาก “ไทย-มาเลเซีย” เข้าประเทศชั่วคราว ผวาเดลตาระบาด https://positioningmag.com/1343975 Fri, 23 Jul 2021 14:20:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343975 ฟิลิปปินส์งดรับชาวต่างชาติที่เดินทางจาก “ไทย” และ “มาเลเซีย” เข้าประเทศเป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 25 – 31 ก.ค. เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์เดลตา

แฮร์รี โรก โฆษกประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ แถลงวันที่ 23 ก.ค. ว่า มาตรการจำกัดการเดินทางดังกล่าว “มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อ COVID-19 ตัวกลายพันธุ์ต่างๆ แพร่กระจายในชุมชนของฟิลิปปินส์มากไปกว่านี้”

ก่อนหน้านี้ ฟิลิปปินส์ได้ประกาศงดรับผู้เดินทางจาก 8 ประเทศ ซึ่งรวมถึงอินเดีย และอินโดนีเซีย เพื่อป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อสายพันธุ์เดลตา

ประธานาธิบดี โรดริโก ดูเตอร์เต ยังได้บังคับใช้มาตรการควบคุมโรคขั้นสูงในเขตเมโทรมะนิลาซึ่งประกอบด้วย 16 เมืองที่มีประชากรรวมกันมากกว่า 13 ล้านคน และอีก 4 จังหวัดใกล้เคียง ไปจนถึงสิ้นเดือน ก.ค. นี้

มาตรการที่ฟิลิปปินส์จะนำมาใช้มีตั้งแต่การปิดสนามกีฬา, สถานที่จัดการประชุม, แหล่งท่องเที่ยวในร่ม และสถานที่ออกกำลังกาย, ลดเวลาเปิดให้บริการของร้านอาหารทุกประเภท และห้ามเยาวชนที่อายุระหว่าง 5-17 ปี ออกจากที่พักอาศัย

ฟิลิปปินส์พบผู้ป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาแล้วทั้งสิ้น 47 คน อยู่ระหว่างการรักษา 8 คน และเสียชีวิต 3 คน

เวลานี้ฟิลิปปินส์มียอดผู้ติดเชื้อสะสมรวม 1.53 ล้านคน และผู้เสียชีวิตเกือบ 27,000 คน ซึ่งถือว่ามากเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคอาเซียนรองจากอินโดนีเซีย

Source

]]>
1343975
จีนคงคำสั่งห้าม จัด “กรุ๊ปทัวร์” ไปเที่ยวต่างประเทศ ป้องกัน COVID-19 กลับมาอีกในช่วงฤดูหนาว https://positioningmag.com/1302802 Thu, 22 Oct 2020 06:32:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302802 รัฐบาลจีน ยังคงมีคำสั่งห้ามกรุ๊ปทัวร์จีนเดินทางไปยังต่างประเทศ และยังห้ามบริษัทท่องเที่ยวจากต่างเเดนขายทัวร์มาเที่ยวจีนในระยะนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจาก COVID-19 ที่อาจกลับมาระบาดอีกครั้งในช่วงฤดูหนาว

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า เว็บไซต์กระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมจีน ได้ประกาศ ณ วันที่ 21 .. ว่าทางการยังไม่อนุญาตให้จัดทัวร์ไปเที่ยวต่างประเทศ และยังห้ามไม่ให้ทัวร์ของชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวจีน เพื่อลดความเสี่ยงที่ไวรัสโคโรนาจะกลับมาในช่วงฤดูหนาว

จีนเป็นประเทศแรกที่ระงับการจัดกรุ๊ปท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ ตั้งเเต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา หลังพบการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่น เเต่ก็เริ่มอนุญาตให้มีการจัดทัวร์ท่องเที่ยวภายในประเทศเเล้ว ตั้งแต่เดือน ก.. เป็นต้นมา หลังจากที่ยอดผู้ติดเชื้อใหม่ในจีนลดลงอย่างมาก เเละภาคเศรษฐกิจการใช้จ่ายเริ่มฟื้นตัว

ทั้งนี้ การที่รัฐบาลจีนควบคุมพลเมืองไม่ให้เดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ ส่งผลกระทบไปถึงภาคการท่องเที่ยวของหลายประเทศ โดยเฉพาะไทย ที่พึ่งพานักท่องเที่ยวจีนอย่างมาก ตลอดหลายปีที่ผ่านมา

ขณะที่ไทยเริ่มเปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวผ่านวีซ่าประเภทพิเศษ หรือ Special Tourist Visa (STV) วีซ่าระยะยาว 90 วันที่ภาครัฐจะออกให้เป็นกรณีพิเศษแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวอีกครั้ง หลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยมีนักท่องเที่ยวกลุ่มแรกเดินทางมาจากเมืองกว่างโจว ประเทศจีน ถึงสนามบินสุวรรณภูมิในวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา จำนวน 120 คน และกำลังจะมีกลุ่มที่ 2 ที่จะเดินทางมาถึงในวันที่ 26 ตุลาคม จากเมืองกว่างโจวเช่นกัน โดยเป็นชาวจีนที่มาท่องเที่ยวเอง ไม่ได้ผ่านการจัดกรุ๊ปทัวร์ ซึ่งจะต้องกักตัวตามมาตรการก่อนเป็นเวลา 14 วัน

 

ที่มา : Reuters

 

]]>
1302802
อังกฤษ เตรียมยกเลิก “กักตัว” ผู้ที่เดินทางมาจาก 75 ประเทศ รวมไทยด้วย https://positioningmag.com/1286372 Thu, 02 Jul 2020 14:12:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286372 รัฐบาลอังกฤษ เตรียมยกเลิกมาตรการกักตัว 14 วันสำหรับผู้ที่เดินทางมาจาก 75 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย

สำนักข่าว Telegraph รายงานว่า อังกฤษเตรียมจะยกเลิกระเบียบการกักตัว ตามมาตรการสกัดการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อผู้ที่เดินทางมาจาก 75 ประเทศ เพื่อให้ผู้ที่เดินทางเหล่านั้น สามารถเข้ามาพักผ่อนในวันหยุดได้

สำหรับประเทศที่อยู่ในรายชื่อดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น ไทย สหภาพยุโรปเกือบทุกประเทศ ตุรกี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เเละดินแดนของอังกฤษ เช่น เบอร์มิวดาและยิบรอลตาร์

โดยรัฐบาลอังกฤษ เตรียมจะประกาศเรื่องการเดินทางในเร็วๆ นี้ ซึ่งจะมีการหารือเพิ่มเติมภายในสัปดาห์นี้ เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวให้กลับมาได้โดยเร็วที่สุด

รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน กำลังเร่งหาวิธีเปิดการเดินทางระหว่างประเทศ หลังช่วงต้นเดือนมิ..ที่ผ่านมา ได้กำหนดให้ผู้ที่เดินทางเข้าอังกฤษ ทั้งพลเมืองที่เป็นชาวสหราชอาณาจักร ผู้มีถิ่นพำนักถาวร นักท่องเที่ยวเเละนักธุรกิจต่างชาติ ต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงและชัดเจนกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ไม่ว่าจะเดินทางด้วยทางบก ทางเรือหรือทางอากาศ ว่าจะกักตัวเองอยู่ที่ใดตลอดช่วงเวลา 14 วัน

จนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อังกฤษจึงได้ยกเลิกการกักตัวเป็นเวลา 14 วัน ให้แก่ผู้ที่เดินทางไปจากบางประเทศเช่น ฝรั่งเศส กรีซ และสเปน

Simon Clarke รัฐมนตรีว่าการรัฐบาลท้องถิ่นและชุมชน เผยว่า รัฐบาลต้องการให้ภาคการท่องเที่ยวกลับมาอีกครั้ง เเละกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการเพื่อประกาศอนุญาตให้ประชาชนเดินทางได้ เเละคาดว่าจะมีข่าวดีในอนาคตอันใกล้นี้”

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด ณ วันที่ 3 ก.ค. กระทรวงคมนาคม ได้ประกาศให้ผู้ที่เดินทางเข้ามายังอังกฤษ จาก 59 ประเทศและดินแดนที่มีความเสี่ยงต่ำจากการระบาดของ COVID-19 จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องกักตัวเองเป็นเวลา 14 วัน ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคมนี้ เป็นต้นไป โดยมีรายชื่อของประเทศและดินแดนเหล่านี้ เช่น ออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยียม โครเอเชีย เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮ่องกง อิตาลี ญี่ปุ่น มาเก๊า เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ ไต้หวัน ตุรกี และเวียดนาม ฯลฯ ทั้งนี้ไม่มีรายชื่อของประเทศไทยอยู่ใน 59 ประเทศและดินแดนเหล่านี้ 

 

ที่มา : Reuters, BBC

 

]]>
1286372
ไทยติดโผ “14 ประเทศปลอดภัย” อนุญาตให้พลเมืองเดินทางเข้า EU ได้ https://positioningmag.com/1285807 Tue, 30 Jun 2020 07:35:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285807 สหภาพยุโรป (EU) เสนอรายชื่อ “14 ประเทศปลอดภัยที่พลเมืองจะได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศสมาชิกในยุโรปได้ ตั้งแต่เดือน ก.. เป็นต้นไป โดยไทยมีชื่ออยู่ในบัญชีดังกล่าวด้วย ท่ามกลางมาตรการควบคุมการระบาดของ COVID-19 อย่างเข้มงวด

สำนักข่าว BBC รายงานว่า 14 ประเทศปลอดภัย ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีของสหภาพยุโรป ณ เวลานี้ ได้แก่ แอลจีเรีย, ออสเตรเลีย, แคนาดา, จอร์เจีย, ญี่ปุ่น, มอนเตเนโกร, โมร็อกโก, นิวซีแลนด์, รวันดา, เซอร์เบีย, เกาหลีใต้, ไทย, ตูนิเซีย และอุรุกวัย 

การเสนอชื่อครั้งนี้ยังไม่มีสหรัฐฯ และบราซิล ซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตและผู้ป่วยสะสมจากโรคโควิด-19 อยู่ใน 2 อันดับแรกของโลก ขณะที่จีนยังต้องรอดูการเจรจา โดยแหล่งข่าวซึ่งเป็นนักการทูต เปิดเผยว่าทาง EU อาจจะให้จีนเข้ามาอยู่ในบัญชีดังกล่าวได้ หากรัฐบาลจีนอนุญาตให้นักเดินทางจาก EU สามารถเดินทางเข้าไปในจีนได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม รายชื่อนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ และไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายของ EU ซึ่งรัฐบาลแต่ละประเทศจะปฏิบัติตามหรือไม่ก็ได้ โดย EU จะมีการรับรองรายชื่อ รวมถึงกำหนดกฎเกณฑ์ว่าประเทศใดเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัยอย่างเป็นทางการ ในวันนี้ (30 มิ..) ตามเวลาท้องถิ่น

ประเทศสมาชิก EU ยังคงมีความเห็นที่แตกต่างกัน เกี่ยวกับประเด็นการเปิดพรมแดนให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่น สเปน ยังต้องเข้มงวดกับมาตรการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อ COVID-19 สูงเเละได้รับผลกระทบอย่างหนัก ขณะที่ประเทศที่มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยวอย่างกรีซ ได้เริ่มเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวเเล้ว

ด้านฝรั่งเศส เตรียมทยอยเปิดพรมแดน รับนักเดินทางต่างชาตินอกกลุ่มเชงเก้น เริ่ม 1 .. นี้เช่นกัน แต่จะขึ้นอยู่กับข้อตกลงเเละสถานการณ์ด้านสาธารณสุขในแต่ละประเทศ และต้องเป็นไปตามความตกลงที่ได้เห็นพ้องกันในยุโรปในขณะนั้น

 

 

]]>
1285807
“เทสโก้ โลตัส” ลงทุนแผนเดิม พนักงานทำงานปกติ “ดีลขายกิจการ” รอบริษัทแม่ตัดสินใจ https://positioningmag.com/1262955 Mon, 03 Feb 2020 08:21:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1262955 “เทสโก้ โลตัส” ในไทย ยืนยันลงทุนตามเเผนเดิม เดินหน้าขยายสาขาเอ็กซ์เพรส พนักงานปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ ระหว่างเจรจา “บิ๊กดีลขายกิจการ” ขึ้นอยู่กับบริษัทแม่ในอังกฤษจะตัดสินใจ

ดีลใหญ่เเห่งวงการค้าปลีกเมืองไทยที่หลายคนจับตามอง กับการเข้าซื้อกิจการ “เทสโก้ โลตัส” ในประเทศไทยและมาเลเซีย

ตอนนี้มีเพียง “บิ๊กซี” ธุรกิจค้าปลีกของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ซึ่งเป็นคู่เเข่งกับเทสโก้ โลตัส เท่านั้นที่ออกมายอมรับเป็นเจ้าเเรกว่าได้ยื่นเจตจำนงขอซื้อต่อ “เทสโก้” บริษัทเเม่ในอังกฤษเป็นที่เรียบร้อยเเล้ว

อ่านเพิ่มเติม : ตระกูล “สิริวัฒนภักดี” เจ้าของ “บิ๊กซี” ยื่นประมูลชิงซื้อ “เทสโก้ โลตัส” เเล้ว

ศึกการชิงซื้อกิจการ “เทสโก้ โลตัส” จะเป็นการเเข่งขันกันระหว่าง 3 ตระกูลมหาเศรษฐีติดอันดับรวยที่สุดของเมืองไทยทั้ง “เจียรวนนท์” กลุ่ม CP , “สิริวัฒนภักดี” กลุ่ม TCC , BJC และ “จิราธิวัฒน์” จากกลุ่มเซ็นทรัล

ขณะเดียวกัน มีความเสี่ยงจากหน่วยงานกำกับดูแลว่า ไม่ว่ากลุ่มบริษัทใดจะได้ครอบครองกิจการของเทสโก้ในประเทศไทย ก็อาจเข้าข่ายการผูกขาดได้

อย่างไรก็ตาม ดีลนี้ก็ยังไม่มีสัญญาณใดๆ จากบริษัทแม่ และเทสโก้ โลตัสในไทยว่าจะเป็นเช่นไรต่อไป ล่าสุดฝั่งผู้บริหารจาก “เทสโก้ โลตัส” ประเทศไทย เปิดใจเกี่ยวกับบิ๊กดีลนี้ครั้งเเรก…

“สลิลลา สีหพันธุ์” ประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท เทสโก้ โลตัส เปิดเผยกับ Positioning ว่ามีผู้สนใจซื้อกิจการติดต่อไปยังบริษัทเเม่ที่อังกฤษจริง ทำให้มีการทบทวนกลยุทธ์ เเต่ไม่มีข้อมูลเเน่ชัดว่าจะเป็นไปในทิศทางใด เเละตอนนี้ก็ไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับการตัดสินใจจากบริษัทเเม่

“พนักงานยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ เเละยังมีการเดินหน้าตามแผนธุรกิจเดิมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขยายสาขาร้านขนาดเล็กในรูปแบบเอ็กซ์เพรสที่จะมีมากขึ้น”

“เมื่อก่อนเรายังไม่ได้คิดเรื่องนี้ แต่เมื่อมีผู้เเสดงความสนใจเข้ามา จึงมีการพิจารณาใหม่ แต่ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งก็อาจจะขายหรือไม่ขายก็เป็นไปได้”

อ่านเพิ่มเติม : วิเคราะห์ซูเปอร์ดีล ใครมีโอกาสฮุบ “เทสโก้ โลตัส” มากที่สุด

ขณะที่สถานการณ์ค้าปลีกในปี 2020 ผู้บริหารเทสโก้ โลตัส มองว่า มีความท้าทายเเละคาดการณ์ได้ยาก เพราะมีหลายปัจจัยที่ไม่เหมือนเดิม ซึ่งมีผลต่อการดำเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตามทางบริษัทยึดหลักคุณภาพของสินค้า
เเละราคาที่ดี รวมถึงจะมีเเคมเปญการตลาดออกมาต่อเนื่อง

สำหรับผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนานั้น สลิลลา บอกว่ามีผลกระทบกับเทสโก้ โลตัสน้อยมากเพราะกลุ่มลูกค้าหลักเป็นคนไทยเเละคนที่อยู่อาศัยในเมืองไทย รวมถึงสินค้าส่วนใหญ่เป็นส่วนอุปโภคบริโภค ซึ่งนักท่องเที่ยวไม่ได้จับจ่ายใช้สอยในส่วนนี้มากนัก

]]>
1262955