Tag: Agriculture
อุตสาหกรรม ทุ่ม 72 ล้าน กระตุ้น SMEs เกษตรไทย
นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานในพิธีเปิดตัวและลงนามบันทึกความร่วมมือ “โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่วนภูมิภาค” ระหว่าง กระทรวงอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการส่วนภูมิภาค อัดฉีดงบ 72 ล้านบาท สนับสนุนอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ณ ห้องแมจิก 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ
ข้าวอินทรีย์ : ศักยภาพการตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
จากปัจจุบันผู้บริโภคตื่นตัวและห่วงใยต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การผลิตสินค้าเกษตรโดยพึ่งพาสารเคมีเริ่มถูกปฏิเสธและถูกกีดกันมากขึ้น ทำให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้รับความสนใจและจะทวีความสำคัญยิ่งๆขึ้นในอนาคต ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลกก็ได้มีการริเริ่มและทำการเกษตรอินทรีย์ ซึ่งพืชสำคัญแรกๆที่มีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออก ก็คือข้าวอินทรีย์ ข้าวอินทรีย์เป็นการผลิตข้าวที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกชนิด หรือสารสังเคราะห์ต่างๆ รวมไปถึงปุ๋ยเคมี และยาปราบศัตรูพืช ในทุกขั้นตอนการผลิตเน้นการใช้สารอินทรีย์จากธรรมชาติเท่านั้น ซึ่งข้อจำกัดในการขยายตัวของการผลิตคือ ความเข้มงวดในการตรวจสอบรับรองว่าเป็นข้าวอินทรีย์อย่างแท้จริง ซึ่งไทยได้กำหนดมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ในปี 2543 และจัดตั้งสำนักงานมาตรฐานอินทรีย์เพื่อเป็นองค์กรในการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานพืชอินทรีย์ สำหรับตลาดข้าวอินทรีย์เกือบทั้งหมดอยู่ในต่างประเทศโดยเฉพาะสหภาพยุโรป ทั้งนี้เนื่องจากราคาที่อยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับข้าวทั่วไป ทำให้ยอดจำหน่ายข้าวอินทรีย์ในประเทศขยายตัวไม่สูงนัก อย่างไรก็ตามตลาดข้าวอินทรีย์ยังเป็นตลาดที่น่าสนใจ...
โรงงานน้ำตาลมิตรภูเวียงได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 3 ปีซ้อน
นายเทวกุล ปัทมะสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงงานน้ำตาลมิตรภูเวียง (ซ้าย) ในเครือกลุ่มน้ำตาลมิตรผล เข้ารับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2550 จากพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 ซึ่งโรงงานน้ำตาลมิตรภูเวียง ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นจากกระทรวงอุตสาหกรรมปีนี้เป็นปีที่...
งานกล้วยไม้โลกครั้งที่ 19 กลับมาจัดที่สหรัฐฯ อีกครั้งในรอบ 25 ปี
ไมอามี่--(บิสิเนส ไวร์)--15 พ.ค. 2550 งานกล้วยไม้โลกซึ่งจัดขึ้นที่ไมอามี่ รัฐฟลอริด้า ในระหว่างวันที่ 23-27 มกราคม 2551 จะดึงดูดผู้จำหน่ายกล้วยไม้และผู้ร่วมงานจากทั่วโลก ...
ข้าวนึ่งไทย : ตลาดส่งออก…มูลค่าเกือบ 2 หมื่นล้านบาท/ปี
ข้าวนึ่ง (parboiled rice) เป็นสินค้าส่งออกที่มีอนาคตไกลน่าจับตามอง โดยเฉพาะข้าวนึ่งคุณภาพดี ถึงแม้จะไม่มีการบริโภคข้าวนึ่งภายในประเทศ แต่ข้าวนึ่งก็เป็นสินค้าออกของไทยมานานแล้ว โดยเฉลี่ยในแต่ละปีไทยส่งข้าวนึ่งออกประมาณ 700,000-1,000,000 เมตริกตัน มูลค่าประมาณ 18,000-22,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกข้าวทั้งหมดของไทย ข้าวนึ่งคุณภาพดีของไทยยังมีโอกาสพัฒนาได้อีกมาก เพราะต้นทุนข้าวเปลือกไทยราคาถูกกว่าสหรัฐฯและสหภาพยุโรปซึ่งเป็นทั้งคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญ ดังนั้นข้าวนึ่งจึงนับเป็นผลิตภัณฑ์ที่ควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ ทั้งเพื่อการส่งออกและการบริโภคในประเทศ โดยไทยต้องเร่งเพิ่มศักยภาพการแข่งขันเนื่องจากต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากประเทศคู่แข่งดั้งเดิมอย่างอินเดีย และปากีสถาน...
คลิกสู่โลกของอุตสาหกรรมน้ำตาลไทย กับเว็บไซด์ใหม่แกะกล่อง
บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด ตัวแทน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเว็บไซด์ใหม่แกะกล่องwww.thaisugarmillers.com เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้ และบริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอุตสาหกรรมน้ำตาลไทยสำหรับภาครัฐ ภาคเอกชน สื่อมวลชน เกษตรกร นิสิตนักศึกษาประชาชนผู้สนใจทั่วไป เพียงคลิกไปที่ www.thaisugarmillers.com ก็สามารถเข้าสู่เว็บไซด์ที่ทันสมัยที่สุดของวงการน้ำตาลไทยได้ทันที นายอำนวย ปะติเส ผู้อำนวยการบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์...
ข้าวโพดหวาน : ผลกระทบจากภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดในสหภาพยุโรป
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานส่งออกซึ่งเป็นสินค้าผักดาวรุ่งกำลังเผชิญปัญหาใหญ่เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2549 คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปประกาศเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดขั้นต้นสำหรับข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องของไทย ในอัตราอยู่ระหว่างร้อยละ 4.3-13.2 (อัตราไม่เท่ากันแต่ละบริษัท) แม้ว่าจะเป็นการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดขั้นต้นเท่านั้น แต่ก็ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องของไทย เนื่องจากทางผู้นำเข้าในสหภาพยุโรปถูกเรียกเก็บเงินค้ำประกันการนำเข้าแล้ว และการส่งออกข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องไปยังสหภาพยุโรปเริ่มมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากผู้นำเข้าไม่มั่นใจสถานภาพของไทย ซึ่งการประกาศอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดขั้นสุดท้ายในเดือนพฤษภาคม 2550 จะเป็นการตัดสินอนาคตของข้าวโพดหวานกระป๋องของไทยในตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งถ้าสหภาพยุโรปยังคงยืนยันการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องของไทยไปยังสหภาพยุโรปในระยะ 5 ปีต่อไป(2550-2554) และส่งผลต่อเนื่องต่ออุตสาหกรรมข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องในไทย กล่าวคือโรงงานข้าวโพดหวานจะต้องลดกำลังการผลิต เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวานกว่า 200,000 ครอบครัวจะได้รับผลกระทบต่อเนื่อง...
การเลี้ยงปลาน้ำจืดในกระชัง : ผลตอบแทนสูง…แต่พึงระวังปัจจัยเสี่ยง
ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2550 เป็นต้นมาข่าวความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้เลี้ยงปลาในกระชังตามริมแม่น้ำเจ้าพระยานับว่าเป็นข่าวใหญ่ที่ได้รับความสนใจและติดตามอย่างกว้างขวาง ส่วนความเสียหายของภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำสายสำคัญลดลงก็สร้างความเสียหายให้กับบรรดาเกษตรกรที่เลี้ยงปลาน้ำจืดในกระชังด้วยเช่นกัน ประเด็นที่น่าสนใจนอกจากการหาสาเหตุของน้ำที่เน่าเสียแล้วก็คือ ธุรกิจการเลี้ยงปลาน้ำจืดในกระชังในปัจจุบันนั้นมีเกษตรกรสนใจเข้ามาลงทุนเป็นอย่างมาก โดยจะเห็นได้จากจำนวนกระชังที่เกษตรกรแต่ละรายลงทุน และปริมาณปลาน้ำจืดที่เลี้ยงของเกษตรกรแต่ละราย นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าปัญหาน้ำเน่า-เสียและภัยแล้งนั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของธุรกิจการเลี้ยงปลาในกระชัง ในขณะที่ความต้องการบริโภคปลาน้ำจืดทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออกก็เพิ่มขึ้นอย่างมากด้วยเช่นกัน อันเป็นผลมาจากกระแสความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเนื้อปลานั้นจัดเป็นอาหารประเภทโปรตีนที่ย่อยง่าย ทำให้ในปัจจุบันคนหันมาบริโภคปลากันมากขึ้น รวมทั้งยังมีการคาดการณ์กันว่าในอนาคตความต้องการเนื้อปลาจะยังคงขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดในกระชัง...แนวโน้มเติบโตสูง เกษตรกรสนใจเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดกันเป็นจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งการเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพและการเพาะเลี้ยงเพื่อรับประทานกันในครัวเรือน เนื่องจากปริมาณปลาน้ำจืดตามธรรมชาตินั้นไม่เพียงพอกับความต้องการ เกษตรกรหันมาสนใจทำการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด เพราะในเวลานี้ตลาดที่จะรองรับปลาน้ำจืดนับวันมีเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ...
ความต้องการปุ๋ยอินทรีย์พุ่ง : จากกระแสนิยมสินค้าเกษตรอินทรีย์
แนวโน้มความต้องการปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์เติบโตอย่างรวดเร็วตามการเติบโตของความต้องการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ ท่ามกลางกระแสการหันมาบริโภคสินค้าเกษตรที่มีการผลิตอิงธรรมชาติ หรือสินค้าอาหารที่ปลอดจากสารเคมีเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน สำหรับในประเทศไทยความต้องการปุ๋ยอินทรีย์ยังมีมากกว่าปริมาณที่ผลิตได้ ส่งผลให้ในปัจจุบันไทยต้องมีการนำเข้าปุ๋ยอินทรีย์ ทั้งที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมซึ่งน่าจะมีปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพียงพอ ดังนั้นแนวนโยบายที่ส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในระดับไร่นา และส่งเสริมภาคเอกชนในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในเชิงพาณิชย์ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมให้มีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าแล้ว ยังสามารถช่วยลดปริมาณนำเข้าปุ๋ยอินทรีย์ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตสินค้าเกษตร และเป็นการส่งเสริมนโยบายการขยายการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยอีกด้วย ในอนาคตไทยน่าจะสามารถก้าวขึ้นไปเป็นประเทศผู้นำในการส่งออกปุ๋ยอินทรีย์และสินค้าเกษตรอินทรีย์ในภูมิภาคนี้ได้อีกด้วย ปุ๋ยอินทรีย์เป็นปุ๋ยที่ได้จากอินทรีย์สารซึ่งผลิตขึ้นโดยแยกประเภทวัตถุดิบที่นำมาผลิตดังนี้ -ปุ๋ยคอก แหล่งวัตถุดิบสำคัญคือ มูลสัตว์ ปุ๋ยคอก ที่สำคัญได้แก่ มูลหมู มูลเป็ด มูลไก่ ฯลฯ ปุ๋ยคอกนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย...
ผลิตภัณฑ์ข้าว : ตลาดส่งออก…ที่ยังเติบโตต่อไปได้
ผลิตภัณฑ์จากข้าวนับว่าเป็นสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่น่าจับตามอง แม้ว่าตลาดในประเทศจะขยายตัวไม่มากนัก แต่การส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวนั้นมีแนวโน้มที่น่าสนใจ แม้ว่าในปัจจุบันมูลค่าการส่งออกยังไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรหลัก แต่ผลิตภัณฑ์ข้าวก็เป็นสินค้าเกษตรแปรรูปที่สร้างมูลค่าเพิ่มในรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งยังเป็นสินค้าที่มีโอกาสในการขยายการส่งออกได้อีกมาก ถ้าผู้ผลิตมีการปรับตัวเพื่อใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งการปรับมาตรฐานการผลิตให้เข้าสู่ระบบสากล สภาพการผลิต...ผลิตภัณฑ์ข้าว 10%ของการผลิตข้าวทั้งหมด ผลิตภัณฑ์ข้าวแยกออกได้เป็น แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว เส้นหมี่เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปังกรอบ ขนมปังขิง บิสกิตหวาน แวฟเฟิลและเวเฟอร์ รัสค์ขนมปังปิ้งและผลิตภัณฑ์ปิ้งที่คล้ายกัน แคปซูลเปล่าที่ทำจากแป้งข้าว ใบเมี่ยง และอื่นๆ โดยข้าวที่ผลิตได้ทั้งหมดส่วนใหญ่ใช้บริโภคโดยตรงประมาณร้อยละ...