Sunday, September 22, 2024
Home Tags Aviation

Tag: Aviation

มรสุมการบินไทย

“การบินไทย” เจ็บสาหัส ร่อนลงแรงอย่างเห็นได้ชัดในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 จนพนักงานอย่างน้อย 500 คน ต้องถูกจ้างออก เพราะผลขาดทุนเกือบ 1 หมื่นล้านบาท แม้ในคำชี้แจงผลประกอบการต่อนักลงทุนจะระบุถึงสาเหตุหลักเพราะราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 73% และเป็นช่วงโลว์ซีซั่น ที่คนเดินทางลดลง แต่ก็ถือเป็นผลประกอบการที่ลดลงอย่างน่าใจหาย แม้จะส่งสัญญาณมาตั้งแต่ไตรมาสแรกที่ทำกำไรได้เพียง 2,000 ล้านบาทแล้วเท่านั้นก็ตาม ขณะที่คู่แข่งตลอดกาลของการบินไทยอย่างสิงคโปร์แอร์ไลน์สไม่เจ็บหนัก และยังทำกำไรได้ถึงกว่า...

“สินบน” เครื่องบิน แผลเรื้อรัง “การบินไทย”

ต้นทุนหมื่นล้านต่อปี ที่การบินไทยต้องจ่ายให้กับการมีเครื่องบินถึง 10 แบบ 3 ยี่ห้อเครื่องยนต์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฝึกนักบินและลูกเรือ ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องบินที่มีอยู่มากมาย เพราะนี่คือผลพวงจากปัญหาคอรัปชั่น ที่เป็นแผลเรื้อรังที่อาจทำให้การบินไทยต้องเจ๊งได้ง่ายๆ ...

“ฮั้ว” ข้ามชาติถูกปรับหมื่นล้าน

คดีที่กำลังสร้างความหวั่นระทึกให้กับคนการบินไทยขณะนี้ ต้องยกให้คดีที่ถูกผู้ใช้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ 35 ราย ฟ้องอียู และศาลแพ่งอเมริกา ให้จ่ายค่าปรับ เพราะไปร่วมกับ 35 สายการบิน “ฮั้ว” ข้ามชาติกับค่าธรรมเนียมน้ำมัน และค่าธรรมเนียมเสี่ยงภัย งานนี้หากการบินไทยแพ้ มีหวัง “เจ๊ง” 2 เด้ง เพราะทั้งขาดทุน เงินสดในกระเป๋าเริ่มลดลงแล้ว ยังต้องจ่ายอีกเป็นหมื่นล้านบาท ในรายงานประจำปี 2550 ของการบินไทย...

“กรุงเทพ-นิวยอร์ก” ผลาญหมื่นล้าน

บินไป“กรุงเทพ-นิวยอร์ก” สำหรับเส้นทางบินตรงแบบนอนสต็อปไม่เกิน 17 ชั่วโมง ควรเป็น “จุดขาย” สร้างรายได้ให้ “การบินไทย” ตรงกันข้ามกลับเป็นจุดเริ่มต้นของ “สินบนเครื่องบิน” ทำให้การบินไทยถึงขั้น “โคม่า” ในปัจจุบัน 3 ปีอาจเป็นความทรงจำที่ดีของกัปตันและลูกเรือหลายคนที่ให้บริการผู้โดยสารในเที่ยวบินตรง TG 972 กรุงเทพ-นิวยอร์ก แต่หลังจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา TG...

“คุณคะ” ภาพลวงตา กลลวงแบรนด์

“คุณคะ” เป็นแคมเปญโฆษณา Corporate Image ล่าสุดของการบินที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปีที่ผ่านมา และได้รับการกล่าวขานถึงอย่างกว้างขวางทั้งแง่บวกและแง่ลบ เป็นหนึ่งในความพยายามของการบินไทยที่เกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยน “อายตนะ” (ดูล้อมกรอบ อายนตะ...เปลี่ยนเพื่ออะไร?) ประเด็นที่น่าสนใจ คือ การบินไทยได้สร้าง “พันธสัญญา” การหยิบยกเอาสโลแกน “การบินไทย รักคุณเท่าฟ้า” ที่มีมาหลายปีดีดักมากะเทาะให้เห็นเป็นรูปธรรมว่าที่รักเท่าฟ้ารักอย่างไร (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ @vertising ฉบับกุมภาพันธ์...

บิ๊กทีจีตั๋วฟรี รวยเงินเดือน โบนัส

ทำงาน ”การบินไทย” ทั้งหรูหรา ฟู่ฟ่า แถมยังได้ ”บินฟรี” โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในระดับ ”บิ๊ก” ตั้งแต่รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (Executive Vice President) กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือดีดี จนไปถึงคณะกรรมการหรือบอร์ดบริษัท รวมไปถึงอดีตบอร์ด ที่แม้จะพ้นจากตำแหน่งไปนานแล้ว แต่ก็อยู่ในระดับ ”ผู้มีอุปการคุณ” ที่การบินไทยต้องให้ตั๋วราคาพิเศษ สำหรับที่การบินไทยแล้ว “ยิ่งบิ๊กยิ่งฟรีมาก” เมื่อเทียบกับพนักงานทั่วไปของการบินไทย ที่ได้สิทธิบินเพียงในประเทศและต่างประเทศปีละครั้งเท่านั้น...

“จับโกง-น้ำมันแพง” วัดฝีมือ “อภินันทน์ สุมนะเศรณี”

แม้จะไม่อยากพูดถึง ”การเมือง” และ ”การทุจริต” ที่แทรกแซงหยั่งรากลึก จนเป็นปัญหาเรื้อรังในการบินไทยมานาน แต่ ”เรืออากาศโท อภินันทน์ สุมนะเศรณี“ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือดีดี ของการบินไทย ก็บอกได้อย่างเต็มที่ว่ามีผลงานชิ้นโบแดงตลอด 3 ปี ในตำแหน่ง คือ “การปราบทุจริต” แต่ยังมีหลายอย่างที่เขาตั้งใจจะทำโดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร ในท้ายที่สุดก็ค้นพบว่ายังทำได้ไม่ดีดั่งใจ ซึ่งในฐานะดีดีตระหนักดีว่าเวลายิ่งผ่านไปมากเท่าไหร่...

เด็กเส้น-การเมือง ปัญหาหนักอกเจ้าจำปี

แจ่มศรี สุกโชติรัตน์ ถือเป็นลูกหม้อของการบินไทยโดยแท้จริง กว่า 31 ปีที่เธอทำงานภายใต้บริษัทแห่งนี้มาในตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เธอย้อนความทรงจำ ประสบการณ์ที่มีมากว่า 3 ทศวรรษให้ฟังว่า เธอเริ่มทำงานตั้งแต่เดือนเมษายน 2520 และก้าวเข้ามาทำงานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยตั้งแต่ปี 2532 โดยมีแรงผลักดันมาจากกรณี “ไล่แอร์แก่ลงกราวด์” จากนั้นเธอเริ่ม “อิน” กับความอยุติธรรม และมีบทบาทในการพิทักษ์สิทธิ์ของพนักงานและองค์กรเรื่อยมา แม้เธอจะถูกการเมืองเล่นงานอย่างหนักในช่วงปี 2540-2545 ...

“นางฟ้าตกสวรรค์” ปิดฉากชีวิตหรูลูกเรือไทย

“ลูกเรือจ๋า เลิกขนตู้เสื้อผ้าไปทำงานเถอะ” เพื่อต้องการให้ลูกเรือใช้กระเป๋าเดินทางใบเล็กแทนกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ “สึนามิยังมีวันผ่านพ้นไป แต่วิกฤตน้ำมันไม่รู้จะผ่านไปเมื่อไหร่” เหล่านี้เป็นเพียงสารส่วนหนึ่งที่ส่งตรงไปยังลูกเรือของการบินไทย ที่ถูกติดตั้งอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือที่เรียกกันว่า OPC (Operation Center) เพื่อกระตุ้นให้เกิดสำนึกในการลดต้นทุนช่วยองค์กรที่กำลังย่ำแย่ ขณะที่สารจากผู้บริหารผ่านวิดีโอภายในองค์กรหรือ Hand-in-Hand ที่อัพเดตทุก 7 วัน ก็มีเนื้อหาเชิงกระตุ้นเตือนและขอความร่วมมือในการฝ่าวิกฤตมากขึ้น...

“กัปตัน” รักษาระดับ “บินสูง”

มองผ่านจากห้องนักบิน (Cockpit) ท้องฟ้าที่มืดมิด มีเพียงเรดาร์นำทางเพื่อนำเครื่องบินสู่จุดหมายปลายทาง ซึ่งไม่ว่าจะใกล้หรือไกล “กัปตัน” ก็สามารถรู้ระยะทางและเวลาถึงสนามบินข้างหน้าได้อย่างแม่นยำ เพราะวางแผนการบินอย่างดี แต่เส้นทางอาชีพวันนี้ กำลังเปลี่ยนไป ยากที่จะคาดเดาว่าท้องฟ้าที่มืดมิดจะมีเมฆฝน และหลุมอากาศหนักเพียงใด เพราะธุรกิจการบินกำลังเผชิญกับวิกฤตน้ำมันจนต้นทุนสูง กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้งของชีวิตนักบิน “นักบิน” โดยเฉพาะนักบินที่หนึ่งที่เรียกว่า “กัปตัน” คือกลุ่มอาชีพที่น่าอิจฉา เพราะทั้งเท่ ดูดี และมีรายได้สูง และทุกครั้งที่มีการสำรวจถึงอาชีพในฝัน “นักบิน” คืออาชีพแรกๆ...