Tag: Exclusive
เจ บุนนาค Newsline’s Anchor
หนึ่งในพรีเซ็นเตอร์ที่เป็นสัญลักษณ์ของรายการข่าว Newsline ที่ออกอากาศเป็นประจำทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 21.30-22.30 น. ทางช่อง 11 ด้วยบุคลิกยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาชัดถ้อยชัดคำ เป็นผู้ประกาศข่าวที่มีแฟนคลับมากพอๆ กับดาราทีเดียว เจเข้ามาร่วมงานกับช่อง 11 ตั้งแต่ปี 2541 ด้วยการเป็นพิธีกรรายการภาษาอังกฤษ Travel Show โดยในตอนนั้นยังเป็นเพียง Freelance จากนั้นเข้ามาเป็นพิธีกรภาคสนามช่วง Discover Thailand...
ม.ล.ณัฐกรณ์ เทวกุล คุยเศรษฐกิจแบบฟุตฟิตฟอไฟ
นามสกุลค้นหู “เทวกุล” อีกทั้งคำนำหน้านาม ม.ล. และการเป็นลูกชายของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ ม.ล.ปลื้ม-ณัฏฐกร เทวกุล ได้รับการจับตามองเป็นอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ท่วงทำนองการพูดจาภาษาอังกฤษที่ฉะฉานประหนึ่งเจ้าของภาษา การวิเคราะห์ข่าวด้วยท่าทางมั่นใจ ทำให้ชื่อเสียงเริ่มเกาะตัวเขามากกว่าความเป็นลูกชายผู้ว่าฯ ธปท. เท่านั้น ในฐานะผู้ประกาศและวิเคราะห์ข่าวทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เขาจึงให้ความสำคัญกับข่าวสารในแต่วันเป็นอย่างมาก...
นารากร ติยายน…News talk สาวฝีปากเอก
นารากร ติยายน ผู้ประกาศสาวลูกหม้ออีกคนของไอทีวี เรียกได้ว่า เธอเกิด เติบโต และเป็นที่รู้จักพร้อมๆ กับสถานีไอทีวี เส้นทางผู้ประกาศของเธอก็เหมือนกับผู้ประกาศคนอื่นๆ ในไอทีวี ที่ต้องเริ่มจากการเป็นนักข่าวตามโต๊ะต่างๆ โดยเริ่มแรกเธออยู่โต๊ะสังคมทั่วไป ดูแลเรื่องเกี่ยวกับและผู้หญิง จากนั้นจึงได้เป็นผู้อ่านข่าว และผู้ดำเนินรายการ ควบคู่ไปกับการเป็นนักข่าว วันนี้ เธอจะเป็นฟรีแลนซ์รับจ้างเป็นพิธีกร แต่ด้วยประสบการณ์งานข่าวสไตล์ไอทีวี ประกอบบุคลิกกระฉับกระเฉง และการพูดจาฉะฉาน ดังนั้น ทุกครั้งที่สถานีต้องการ “พลรบฝีมือดี”...
จิรายุ ห่วงทรัพย์ พลรบภาคเช้าแห่ง ITV
เส้นทางนักข่าวของจิรายุ ห่วงทรัพย์ อาจดูแปลกและแตกต่างจากหลายคน เพราะเริ่มต้นอาชีพการทำงานจากการเป็น Copywriter บริษัทโฆษณา เจ้าของก๊อบปี้คุ้นเคย “ก็ลมมันเย็น” จนเติบโตถึงที่สุดในวงการ เขาพาชีวิตไปเจอโลกใหม่ ในงานนักข่าวที่หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ แล้วก็โลดแล่นอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์นาน 8 ปี จิรายุ ก่อนจะย้ายตัวเองไปเป็นดีเจที่วิทยุ อสมท. FM 99 และเข้าทำงานที่ไอทีวี ตั้งแต่สถานียังไม่ออกอากาศเสียอีก “ช่วงแรกยังเป็นนักข่าว พอเห็นผู้ประกาศนั่งอ่านข่าว...
“บิ๊กจ๊ะ” สปอร์ต ทอล์ก ออฟ เดอะทาวน์
สังเวียนภาษากีฬา ไม่มีใครไม่รู้จัก “บิ๊กจ๊ะ” สาธิต กรีกุล พิธีกรคุยข่าวกีฬามีหนวด ซึ่งกลายเป็นโลโก้ประจำกายของเขา “ไม่เคยมีใครไว้หนวดอ่านข่าว” สาธิต พยายามบอกเล่าถึงบทบาทการเป็นพิธีกรข่าวมานาถึงสิบสามปีที่มีคนจดจำเขาได้ผ่านจอทีวี แม้ก่อหน้านี้เขาจะเป็นที่รู้จักในแวดวงกีฬาฟุตบอล ในฐานะนักพากย์ฟุตบอลฝีปากเอกก็ตาม บทบาทพิธีกรข่าวของสาธิตทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไป จากที่นั่งรายงานข่าวแบบเป็นทางการ อ่านตามสคริปต์ข่าว มาสู่การคุยข่าว สาธิตบอกว่า เริ่มปรับเปลี่ยนการนำเสนอข่าวแบบคุยข่าวมาประมาณปีกว่าแล้ว ตามนโยบายของช่อง 3 ที่ต้องการสร้างข่าวให้มีสาระแบบสนุกๆ เป็นกันเอง สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดอีก คือ...
ต้นตำรับ News talk
ในสหรัฐอเมริกา เรียกรายการสนทนาข่าว ว่า Infotainment หรือบางทีเรียกว่า Soft News เป็นธุรกิจการนำเสนอข่าวในรูปแบบใหม่ที่ดึงดูดคนดูและดึงดูดโฆษณา ด้วยการผสมผสานระหว่างการสื่อข่าวและความบันเทิงไว้ด้วยกัน รูปแบบของรายการ News talk คล้ายกับบ้านเรา คือ เป็นการหยิบยกประเด็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ที่เป็นประเด็นร้อน มาพูดถกเถียงกันเพื่อขยายประเด็น โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องจริงชีวิตจริงของผู้คน (Human Drama/ Human Interest) ซึ่งรวมถึงชีวิตของคนธรรมดาเดินดินไปจนชีวิตคนดังซิลิบริตี้ทั้งหลายด้วย ยิ่งเป็นเรื่องที่สามารถสร้างอารมณ์เข้าถึงให้กับคนดูได้จะยิ่งเป็นที่นิยม...
ทีวีออสเตรเลีย
ออสเตรเลียมีสถานีโทรทัศน์ประเภทฟรีทีวีหลักๆ ห้าช่องด้วยกัน คือ ช่องเก้า (Nine Network), ช่องสิบ (Ten Network), ช่องเจ็ด (Seven Network), ABC และ SBS นอกจากนี้ ยังมีสถานีโทรทัศน์ชุมชน ซึ่งคล้ายๆ วิทยุชุมชน โดยจะของบประมาณสนับสนุนจากท้องถิ่น มีนายทุนคอยสนับสนุนบางส่วน รวมถึงรายได้จากโฆษณา...
ต้มยำกุ้ง ทุ่ม ทับ จับ หัก… ทะลุโลก
...เป็นภาพยนตร์ไทยที่ทุ่มทุนสร้างมากที่สุด ใช้งบมากที่สุด....เป็นหนังไทยมีการขายลิขสิทธิ์สินค้ามากที่สุด...มีกระแสและเป็นข่าวดังลงในสื่อมากที่สุด... และอาจจะมีรายได้มากที่สุดเท่าที่หนังไทยเคยสร้างมา... นี่เป็นเพียงตัวอย่างของปรากฏการณ์ภาพยนตร์ไทยเรื่อง “ต้มยำกุ้ง” ซึ่งกลายเป็นกระแส และประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการหนังไทย ในการก้าวขึ้นสู่ธุรกิจภาพยนตร์ไทยเต็มรูปแบบในตลาดโลก “ไม่เคยมีโมเดลธุรกิจหนังไทยทำแบบนี้มาก่อน” คำกล่าวนี้เห็นจะจริง เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็นการสร้างโมเดลการผลิตแบบใหม่ จากพลังของความสำเร็จของ “องค์บาก” มาสู่ “ต้มยำกุ้ง” เกิดจากการประยุกต์ใช้แนวคิด “value creation” ที่เป็นรูปธรรมของการเปลี่ยนภาพการผลิต...
เส้นทางของ “ต้มยำกุ้ง”
หากลองสังเกต ช่วงเวลาในปี 47-48 นั้น กระแสต้มยำกุ้ง หรือ “หนังเรื่องที่สองของ โทนี่ จา” เกิดขึ้นท่ามกลาง กระแสความร้อนแรงของหนังองค์บากยังอบอวล ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อภาคสองต่อทันที อย่างประเทศญี่ปุ่นซื้อหนังเรื่องนี้ไป ก็แทบจะไม่เห็นอะไรจากตัวหนังก่อนนอกเสียจากโปสเตอร์!!! เมื่อผสมกับการใช้กลยุทธ์ “รักน้อยๆ แต่รักนานๆ” ที่ต้องการสร้างความเป็นดาราของ จา พนม ผ่านภาพยนตร์เท่านั้น ทำให้สื่อมวลชนจำนวนมหาศาลรอคิวสัมภาษณ์ จนถึงทุกวันนี้ “ฟรีพีอาร์”...
Jin Xing ชีวิตจริงที่ยิ่งกว่าหนัง
เมื่อหนังจบลง หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า “จินซิง” ในบทของ “มาดามโรส” เจ้าแม่จอมอำมหิตในหนังต้มยำกุ้ง มีชีวิตที่ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ อย่างน้อยหลายคนก็คงไม่รู้ว่า “เธอ” คนนี้เคยเป็นผู้ชายมาก่อน และไม่ใช่แค่ ผู้ชายธรรมดาๆ แต่บนบ่ายังติดดาวยศนายพันแห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีน! ทุกอย่างเริ่มจากแดนเหลียวหนิง มาไกลจากชายแดนเหนือ...