Monday, December 23, 2024
Home Tags FTA

Tag: FTA

ไทยพร้อมลงนาม FTA ไทย-ชิลี เพิ่มโอกาสสินค้าไทยรุกตลาดละตินอเมริกา

นับจากที่ไทยและชิลีสามารถสรุปผลการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน และที่ประชุมรัฐสภาของไทยได้เห็นชอบความตกลงฯดังกล่าวไปแล้วเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2556 นั้น ในขณะนี้ ไทยกำลังเตรียมความพร้อมเพื่อลงนาม FTA ไทย-ชิลี ในช่วงที่ประธานาธิบดีของชิลีเดินทางเยือนระหว่างวันที่ 3 - 4 ตุลาคม 2556 และคาดว่าจะสามารถมีผลบังคับใช้ได้ภายในปลายปี 2556 นี้ FTA ไทย-ชิลีนับเป็นความตกลงแบบกรอบกว้าง (Comprehensive Agreement) ที่ครอบคลุมการเปิดเสรีการค้าสินค้าและบริการ...

FTAไทย-เปรู…อีกหนึ่งย่างก้าวที่น่าจับตามอง

กรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-เปรูที่เริ่มเจรจาเพื่อเปิดเสรีทางการค้ารอบแรกตั้งแต่มกราคม 2547 นั้น มีการร่วมกันลงนามในพิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 3 ภายใต้พิธีสารระหว่างไทยกับเปรูเพื่อเร่งเปิดเสรีทางการค้าสินค้าและอำนวยความสะดวกทางการค้าปี พ.ศ.2548 ไปเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553 และคาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2554 ความตกลงการค้าเสรีไทย-เปรู...คาดมีผลบังคับใช้ได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2554 ในการหารือทวิภาคีระหว่างประธานาธิบดีเปรูกับนายกรัฐมนตรีไทยในช่วงการประชุมผู้นำเอเปค เมื่อเดือนตุลาคม 2545 ณ ประเทศเม็กซิโก ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันถึงการจัดตั้ง FTA ไทย-เปรู...

ยางพาราและผลิตภัณฑ์ : กรอบ FTA ผลักดันส่งออกพุ่ง…นำเข้าเพิ่ม

ในปี 2553 เป็นปีที่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพาราและผลิตภัณฑ์พลิกฟื้นจากภาวะซบเซาของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2552 โดยเฉพาะการฟื้นตัวของยอดจำหน่ายรถยนต์ในจีน และตามมาด้วยการฟื้นตัวของประเทศต่างๆ ทั้งสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ส่งผลให้ความต้องการยางพาราและผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปัจจัยหนุนประการสำคัญที่ช่วยพยุงอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ของไทย โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังปี 2552 คือ การที่จีนลดภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางตามกรอบข้อตกลง FTA อาเซียนจีนก่อนที่จะถึงกำหนดในปี 2553 ทำให้ในช่วงครึ่งหลังปี 2552 ผู้ส่งออกของไทยมีการปรับตัวโดยการหันไปผลิตยางคอมปาวน์ ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์ยาง แทนการผลิตยางแท่ง ซึ่งถือว่าเป็นยางแปรรูปขั้นต้น...

สินค้าเกษตรและอาหาร : ผลผลิตลด…ส่งออกพุ่ง อานิสงส์ FTA

ในปี 2553 แม้ว่าการผลิตสินค้าเกษตรต้องเผชิญกับปัญหาแมลงศัตรูระบาด และปัญหาฝนทิ้งช่วง ทำให้ปริมาณน้ำไม่เพียงพอสำหรับทำการเกษตร ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตลดลง โดยเฉพาะผลผลิตที่ปลูกในช่วงฤดูแล้งหรือในช่วงไตรมาสสอง อย่างไรก็ตาม มาตรการประกันรายได้เกษตรกรสำหรับสินค้าข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยังคงเป็นปัจจัยหนุนให้เกษตรกรขยายการผลิต ในขณะที่การส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 พุ่งสูงขึ้น จากปัจจัยหนุนคือ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ทำให้กำลังซื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และอานิสงส์จาก FTA กรอบต่างๆ จากปัจจัยหนุนดังกล่าว ทำให้ราคาสินค้าเกษตรสำคัญมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยางพารา...

โอกาสสินค้าไทยในช่วงครึ่งหลังปี 53 … เร่งใช้ประโยชน์จาก FTA เจาะตลาด CLMV

การส่งออกสินค้าของไทยไปยังกลุ่มสมาชิกใหม่ของอาเซียน (CLMV) อย่างกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม ในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 น่าจะขยายตัวได้ดีขึ้น หลังจากกลุ่ม CLMV ลดภาษีสินค้าจนเหลือไม่เกินร้อยละ 5 ในช่วงต้นปี ตามความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ทำให้การส่งออกสินค้าของไทยไปยังกลุ่ม CLMV ภายใต้กรอบ AFTA เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 (YoY) ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ นอกจากนี้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่ม...

FTA กรอบอาเซียน ช่วยดึงดูด FDI … ไทยเผชิญการแข่งขัน

การลดภาษีสินค้าปกติภายใต้กรอบอาเซียน (AFTA) เหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 สำหรับประเทศอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ส่งผลให้การส่งออกสินค้าภายในกลุ่มอาเซียน 6 ประเทศ สัดส่วนกว่าร้อยละ 95 แทบจะไม่มีอุปสรรคด้านภาษีศุลกากร ขณะเดียวกันการจัดทำความตกลง FTA ที่ลดภาษีสินค้าระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้...

FTA อาเซียน-จีน: โอกาสขยายการค้าของไทยและอาเซียนในมณฑลกว่างซี

งานแสดงสินค้าจีน-อาเซียน (China-Asean Expo) ครั้งที่ 6 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-24 ตุลาคม 2552 ณ นครหนานหนิง มณฑลกว่างซี (เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี) โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานบริหารด้านเศรษฐกิจและการค้าของจีน และประเทศสมาชิกอาเซียนรวม 10 ประเทศได้แก่ ประเทศบรูไน พม่า มาเลเซีย สปป.ลาว สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ กัมพูชา...

FTA ปี 2553 : โอกาสและการปรับตัวของธุรกิจไทย

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป ไทยและประเทศคู่เจรจาจะยกเลิกภาษีนำเข้า (ภาษีร้อยละ 0 ) สินค้านับหลายพันรายการระหว่างกันตามข้อตกลงการเปิดตลาดสินค้าภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีผลบังคับใช้แล้วจำนวน...

FTA อาเซียน-จีน…โอกาสขยายธุรกิจบริการของไทย

การเปิดเสรีด้านการค้าบริการระหว่างอาเซียนและจีนกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาการเปิดตลาดรอบที่สองครอบคลุมการค้าบริการ 12 สาขา โดยคาดว่าน่าจะสามารถสรุปผลการเจรจาได้ก่อนเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนกับจีนในเดือนตุลาคมซึ่งมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ การเปิดเสรีภาคบริการระหว่างอาเซียนกับจีนภายใต้กรอบข้อตกลงการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ASEAN-China Free Trade Area) เป็นปัจจัยสำคัญในการเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะนักลงทุนในประเทศสมาชิกต่างๆ ในอาเซียน รวมถึงประเทศไทยเข้าไปขยายการลงทุนในภาคบริการของจีนได้มากขึ้น ขณะเดียวกันนักลงทุนจีนก็สามารถเข้ามาขยายธุรกิจบริการในอาเซียนและไทยได้มากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ กรอบข้อตกลง FTA อาเซียน-จีนซึ่งได้ลงนามไปเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ครอบคลุมการเปิดเสรีด้านสินค้า ด้านการบริการและการลงทุน รวมถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างๆ...

FTA อาเซียน-อียูชะงัก…ขณะที่การส่งออกไทยหดตัวจากภาวะถดถอยของยุโรป

การเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป (FTA อาเซียน-อียู) ต้องยุติลงชั่วคราว หลังการประชุมคณะกรรมการร่วมจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรปครั้งที่ 7 เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2552 ที่มาเลเซีย ไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับข้อเสนอของสหภาพยุโรปที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการเจรจาจากระดับภูมิภาคต่อภูมิภาคไปเป็นระดับทวิภาคีในกรอบ FTA อาเซียน-อียูระหว่างสหภาพยุโรปกับสมาชิกอาเซียนเดิมคือ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไนรวมถึงเวียดนามเพื่อให้มีผลบังคับใช้ได้โดยเร็วก่อนที่จะขยายขอบเขตออกไปยังสมาชิกที่เหลือ ที่ผ่านมาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและความหลากหลายของพัฒนาการทางกฎหมายทำให้อาเซียนเดิม กับกลุ่มประเทศ CLMV ประกอบด้วยกัมพูชา ลาว...