Tag: Import-Export
ส่งออกไปจีนเดือน พ.ค. เติบโตเร่งขึ้นเป็น 39% ตามการขยายตัวของภาคส่งออกจีน…แต่แนวโน้มอาจชะลอลงในครึ่งปีหลัง
การส่งออกไปจีนในเดือนพฤษภาคมมีมูลค่า 1,738 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เติบโตเร่งขึ้นเป็นร้อยละ 39 (YoY) จากที่ขยายตัวร้อยละ 27 ในเดือนเมษายน (YoY) และกลับมาเติบโตเป็นบวกที่ร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM) หลังจากที่หดตัวร้อยละ 14 ในเดือนเมษายน (MoM) เนื่องจากได้แรงขับเคลื่อนจากภาคส่งออกของจีนในเดือนพฤษภาคมที่เติบโตสูงขึ้นเป็นร้อยละ 48.5 (YoY) จากร้อยละ 30 ในเดือนเมษายน...
ฟุตบอลโลก 2010 : สร้างโอกาสส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงไทยไปแอฟริกาใต้
ฟุตบอลโลก 2010 จัดขึ้น ณ ประเทศแอฟริกาใต้ ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 11 กรกฎาคม 2553 คาดว่าจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่ประเทศแอฟริกาใต้ประมาณ 300,000-400,000 คน และมีเงินสะพัดในระหว่างช่วงการแข่งขันประมาณ 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งที่กล่าวมานั้นยังไม่รวมถึงผลดีที่แอฟริกาใต้จะได้รับในระยะยาว ทั้งต่อภาคธุรกิจ บริการ และการท่องเที่ยว หลังจากจบการแข่งขันไปแล้ว เนื่องจากการจัดงานครั้งนี้ถือเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ให้ชาวต่างชาติได้รู้จักประเทศแอฟริกาใต้มากขึ้น...
World Cup 2010…โอกาสขยายสินค้าส่งออกไทยไปแอฟริกาใต้
World Cup 2010 ที่กำลังจะเปิดฉากขึ้นที่ประเทศแอฟริกาใต้ในช่วงวันที่ 11 มิถุนายน – 11 กรกฎาคม รัฐบาลแอฟริกาใต้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาร่วมงานแข่งขันครั้งนี้ราว 450,000 คน สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศตลอดช่วงการแข่งขันในแอฟริกาใต้กว่า 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดเงินดังกล่าวจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจแอฟริกาใต้ในไตรมาส 3/2553 ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.5 และเป็นแรงหนุนให้เศรษฐกิจตลอดปี 2553 มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1.0 เป็นร้อยละ...
อินเดีย : ตลาดส่งออกที่น่าสนใจ … เร่งใช้ประโยชน์ FTA เจาะตลาดสินค้า
อินเดียถือเป็นตลาดส่งออกขนาดใหญ่ที่น่าสนใจสำหรับผู้ส่งออกไทยในปีนี้ เพราะเศรษฐกิจอินเดียได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2552 น้อยกว่าประเทศอื่นในเอเชีย จึงสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มจะขยายตัวสูงเช่นเดียวกับเศรษฐกิจจีน ด้วยเหตุนี้ การส่งออกสินค้าของไทยไปอินเดียจึงน่าจะสามารถฟื้นกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้อีกครั้ง หลังจากหดตัวร้อยละ 3.6 (YoY) ในปี 2552 นอกจากนี้การลดภาษีสินค้าของอินเดียภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับอินเดีย 2 ฉบับคือ FTA ไทย-อินเดีย และ FTA อาเซียน-อินเดีย ทำให้สินค้าไทยมีต้นทุนต่ำลง ขณะที่ประเทศคู่แข่งซึ่งไม่มี...
ส่งออกไปจีนเดือนเมษายนเติบโตชะลอลงเหลือ 28% … มูลค่าส่งออกต่ำที่สุดในรอบ 5 เดือน
มูลค่าส่งออกของไทยไปจีนในเดือนเมษายนเติบโตร้อยละ 28 จากช่วงเดียวกันปี 2552 (YoY) มีทิศทางชะลอลงต่อเนื่องจากที่ขยายตัวร้อยละ 48.8 ในเดือนมีนาคม ร้อยละ 75 ในเดือนกุมภาพันธ์ และร้อยละ 94 ในเดือนมกราคม สาเหตุสำคัญเนื่องจากฐานเปรียบเทียบปี 2552 ที่ต่ำในช่วงต้นปีและค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ตามแรงขับเคลื่อนสำคัญจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการจีนตั้งแต่ช่วงปลายปี 2551 และเศรษฐกิจโลกที่ค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า การส่งออกไปจีนเดือนเมษายนหดตัวร้อยละ...
ส่งออกเดือนเม.ย. ชะลอตัวลง … แนวโน้มยังต้องระวังความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก และผลข้างเคียงจากการเมือง
การส่งออกในเดือนเมษายน 2553 โดยเฉพาะการส่งออกที่ไม่รวมทองคำ มีอัตราการขยายตัวชะลอตัวลงค่อนข้างมาก จากที่ขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 40 ในเดือนก่อนหน้า และเมื่อเปรียบเทียบในเชิงมูลค่า (ที่ปรับผลของฤดูกาลแล้ว) นับว่าเป็นระดับที่ลดลงจากเดือนมีนาคม ซึ่งสัญญาณการชะลอตัวดังกล่าว เป็นสิ่งที่ต้องติดตามว่าจะเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว หรือว่าเป็นจุดเริ่มของการชะลอตัวในระยะต่อไป เนื่องจากมีความกังวลเพิ่มมากขึ้นต่อความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกจากวิกฤตหนี้สินของกรีซที่อาจลุกลามไปสู่ประเทศเสี่ยงอื่นๆ ในภูมิภาคยุโรป ขณะเดียวกัน ปัญหาทางการเมืองในประเทศก็อาจเป็นปัจจัยที่ต้องให้ความระมัดระวัง แม้ว่าไม่มีผลกระทบโดยตรงต่ออุปสงค์ของการส่งออกของไทย แต่อาจมีผลข้างเคียงจากเหตุการณ์ไม่คาดคิด ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมการส่งออกได้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ถึงแนวโน้มปัจจัยต่างๆ ที่จะมีผลต่อการส่งออกในระยะข้างหน้า...
ส่งออกไทยไปยุโรปปี 2553 อาจได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจยุโรป
แม้ว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และกลุ่มยูโรได้อนุมัติเงินช่วยเหลือกรีซมูลค่ารวม 110 พันล้านยูโร เพื่อใช้แก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะที่มีมูลค่ารวม 3 แสนล้านยูโร (โดยเป็นเงินจาก IMF มูลค่า 30 พันล้านยูโร และที่เหลือจากกลุ่มยูโรอีก 80 พันล้านยูโร) ซึ่งส่วนหนึ่งของเงินช่วยเหลือจะใช้ในการชำระหนี้ที่จะครบกำหนดชำระในวันที่ 19 พฤษภาคม นี้ ได้คลายความกังวลต่อปัญหาหนี้ของกรีซในระยะสั้นไปได้ นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู)...
คาดส่งออกครึ่งปีแรกโต 30% … ความหวังนำพาเศรษฐกิจฝ่าวิกฤตการเมือง
การส่งออกของไทยในไตรมาสที่ 1/2553 เติบโตสูงอย่างมาก และคาดว่าแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในตลาดโลกยังมีแรงส่งต่อเนื่องให้การส่งออกในไตรมาสที่ 2/2553 ขยายตัวได้ในอัตราที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่มีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภายในประเทศ ขณะที่แรงขับเคลื่อนจากการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยภาครัฐอาจไม่สูงดังคาดหากรัฐบาลยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันทางการเมืองอย่างหนัก ดังนั้น ภาคการส่งออกจึงกลายเป็นความหวังสุดท้ายที่จะประคับประคองเศรษฐกิจไทยในปี 2553 นี้ ให้ฟื้นตัวต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง และจากความหวังที่ภาคส่วนต่างๆ ฝากไว้ที่การส่งออกนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงวิเคราะห์ถึงแนวโน้มปัจจัยต่างๆ ที่จะมีผลต่อการส่งออกในระยะข้างหน้า รวมทั้งมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐและธุรกิจควรดำเนินการเพื่อสนับสนุนภาคการส่งออก ดังมีประเด็นสำคัญ ดังนี้ การส่งออกของไทยในเดือนมีนาคม 2553...
ส่งออกของไทยไปสหรัฐฯในเดือนกุมภาพันธ์ยังคงขยายต่อเนื่อง 19.3%
การส่งออกของไทยไปสหรัฐฯในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยเติบโตร้อยละ 19.3(YoY) สูงขึ้นจากร้อยละ 15.9 ในเดือนมกราคม(YoY)เป็นการขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2551 คาดว่าการส่งออกของไทยไปยังสหรัฐฯในช่วงครึ่งแรกของปีจะขยายตัวสูงเนื่องจากฐานเปรียบเทียบในปีก่อนอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯที่ขยายตัวจะช่วยสนับสนุนการส่งออกทั้งหมดของไทยให้เติบโตดีขึ้นเนื่องจากสหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.9 ของการส่งออกทั้งหมดของไทยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2553 แม้ว่าสัดส่วนนี้ได้ปรับลดลงจากร้อยละ 12.6 ในปี 2550 ที่เป็นช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในรอบนี้ ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า การส่งออกของไทยไปสหรัฐฯขยายตัวค่อนข้างดีในช่วง 2...
ส่งออก 2 เดือนแรกโตเกินคาด … คาด AFTA/FTA หนุนส่งออกทั้งปีโต 17-24%
การส่งออกของไทยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2553 มีการขยายตัวสูงอย่างมาก แม้ว่าส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานที่ต่ำในปีก่อน แต่ก็สังเกตเห็นได้ว่าการส่งออกในระยะข้างหน้ายังมีปัจจัยที่เกื้อหนุนให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แม้ต้องเผชิญภาวะที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นค่อนข้างรวดเร็วในระยะนี้ และสถานการณ์ทางการเมืองที่ตึงเครียด โดยปัจจัยบวกที่สำคัญ ได้แก่ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก และการขยายการส่งออกภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA ซึ่งมีผลให้สินค้าหลายรายการขยายตัวสูงอย่างก้าวกระโดดในช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์สถานการณ์การส่งออกล่าสุด และปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อแนวโน้มการส่งออกของไทยในระยะเดือนถัดๆ ไป โดยมีประเด็นสำคัญ...