Saturday, November 23, 2024
Home Tags Import-Export

Tag: Import-Export

กรมส่งเสริมการส่งออกเผย TAPA 2010 สุดคึกคัก

กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยความคืบหน้าในการจัดงานแสดงสินค้ายานยนต์ ชิ้นส่วน อะไหล่ยานยนต์และอุปกรณ์ตกแต่ง 2553 (The 4th Thailand Auto Parts & Accessories 2010) หรือ TAPA 2010 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 เม.ย - 2 พ.ค. 53...

เกษตร-ส่งออก-ท่องเที่ยว การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ … หนุนจีดีพีปี 2553 โต 3-4%

จากตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนธันวาคม 2552 ที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตในภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว ที่สร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4/2552 ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งน่าจะเป็นพื้นฐานที่มั่นคงขึ้นสำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลกอาจขยายตัวสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงได้มีการทบทวนกรอบประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2553 โดยปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการในครั้งก่อน แต่ยังมีความกังวลต่อความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเมือง รวมทั้งความคืบหน้าในการแก้ปัญหาโครงการลงทุนในมาบตาพุด ซึ่งกำลังบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน และอาจกลายเป็นปัจจัยที่จะกระทบต่อความน่าดึงดูดด้านการลงทุนของไทยในระยะข้างหน้า คาดจีดีพีไตรมาส 4/2552...

ส่งออกปี 53 อาจขยายตัว 9.0-12.0% … นำโดยสินค้าโภคภัณฑ์ อาหาร และ Hi-Tech

การส่งออกของไทยในเดือนสุดท้ายของปี 2552 ขยายตัวด้วยอัตราที่สูงเกินคาดที่ร้อยละ 26.1 เป็นบวกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 แต่จากที่การส่งออกได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ทำให้มีการหดตัวสูงตลอดช่วง 10 เดือนแรกของปี จึงส่งผลให้การส่งออกโดยรวมตลอดทั้งปี 2552 ที่ผ่านมา ลดลงถึงร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับปี 2551 ซึ่งนับเป็นการหดตัวที่รุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ แม้กระนั้น หากเปรียบเทียบกับประเทศผู้ส่งออกรายอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย การส่งออกของไทยยังนับว่ามีสถานะที่ดีกว่าหลายประเทศ แต่เมื่อพิจารณาถึงผลโดยรวมที่มีต่อเศรษฐกิจนั้น ไทยค่อนข้างได้รับผลกระทบจากความถดถอยของการส่งออกรุนแรงมากเป็นอันดับต้นๆ...

ส่งออกไตรมาส 4 อาจพลิกกลับเป็นบวกกว่า 7.5% … แต่ต้องระวังเงินบาทแข็งค่า

การส่งออกของไทยในเดือนกันยายนปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก โดยหดตัวในอัตราที่ชะลอลงมาเป็นตัวเลขหลักเดียว การฟื้นตัวอย่างชัดเจนของการส่งออกในเดือนดังกล่าวนี้ ค่อนข้างสอดคล้องกับทิศทางของหลายประเทศในเอเชีย ซึ่งเป็นไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และถ้าหากปัจจัยหนุนการส่งออกยังคงรักษาแรงขับเคลื่อนไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ก็อาจเห็นการส่งออกกลับมาเป็นบวกได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม ซึ่งจะถือว่าเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นที่เพิ่มมากขึ้นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จะยิ่งตอกย้ำโอกาสที่ค่าเงินดอลลาร์ฯ จะอ่อนค่าลงต่อไปอีก ขณะที่การเกินดุลการค้าที่สูงขึ้นของไทยเอง ก็จะเป็นปัจจัยหนุนให้ค่าเงินบาทมีโอกาสที่จะแข็งค่าขึ้นได้ต่อเนื่อง ผู้ประกอบการส่งออกของไทยจึงจำเป็นต้องเตรียมรับมือกับแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทในระยะข้างหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มการส่งออกของไทย โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้ การส่งออกของไทยในเดือนกันยายน 2552 หดตัวลงร้อยละ 8.5...

ส่งออกไปจีนเดือนกันยายน … ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2

การส่งออกของไทยในเดือนกันยายนปรับตัวดีขึ้นโดยอัตราหดตัวชะลอลงเหลือเลขหลักเดียวที่ร้อยละ 8.5 ตามสัญญาณบวกของเศรษฐกิจโลก โดยการส่งออกไปตลาดหลักล้วนหดตัวชะลอลงไม่ว่าจะเป็นตลาดอาเซียนลดลงร้อยละ 16.7 จากเดือนเดียวกันของปี 2551 (YoY) เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 17.5 ในเดือนสิงหาคม (YoY) ญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 19.3 (จากติดลบร้อยละ 30.4 ในเดือนก่อนหน้า) สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.9 (จากติดลบร้อยละ 23.1 ในเดือนก่อนหน้า) และสหภาพยุโรปลดลงร้อยละ...

อินเดียงดส่งออกข้าวขาว : อานิสงส์ตลาดข้าวช่วงไตรมาสสุดท้ายปี52 และต้นปี53

โดยเฉพาะการส่งออกข้าวนึ่ง เนื่องจากไม่ต้องเผชิญการแข่งขันกับอินเดีย ประเด็นที่น่าสนใจ คือ กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯยังคาดการณ์ว่าในปี 2553 ไทยจะสามารถส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้นเป็น 10.0 ล้านตัน เนื่องจากยังคาดว่าอินเดียน่าจะยังไม่กลับเข้ามาเป็นคู่แข่งในการส่งออกข้าวขาว ในขณะที่ปริมาณการผลิตข้าวของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากราคาที่อยู่ในเกณฑ์สูงยังจูงใจให้ชาวนาขยายพื้นที่ปลูกข้าว แต่คาดการณ์ว่าปริมาณการบริโภคข้าวในประเทศมีแนวโน้มลดลงเหลือ 9.6 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับปี 2552 การส่งออกข้าวช่วงที่เหลือของปี 52 และปี 53...

ตลาดส่งออกไก่แปรรูปปี52 : แนวโน้มดีขึ้นกว่าที่คาดไว้ช่วงต้นปี…อานิสงส์ตลาดญี่ปุ่น

การส่งออกไก่แปรรูปของไทยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2552 อยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้เลี้ยงไก่ขยายปริมาณการเลี้ยงไก่เนื้อ และผู้ประกอบการส่งออกไก่แปรรูปก็ปรับประมาณการส่งออกไก่แปรรูปในปี 2552 จากที่คาดการณ์ไว้ในตอนต้นปีว่าการส่งออกจะหดตัว โดยพลิกกลับมาเป็นใกล้เคียงกับในปี 2552 หรืออาจจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยได้อานิสงส์จากการขยายการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น แม้ว่าตลาดอื่นๆ โดยเฉพาะสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดที่มีความสำคัญเป็นอันดับสอง เกาหลีใต้และแคนาดา ซึ่งเป็นตลาดความหวังใหม่ของไทย จะมีแนวโน้มหดตัวก็ตาม คาดการณ์ว่าการส่งออกไก่แปรรูปในช่วงที่เหลือของปี 2552 มีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลาดส่งออกไก่แปรรูป...ปรับเพิ่มขึ้นดีเกินคาด...

อาเซียน : ตลาดส่งออกสิ่งทอที่สำคัญของไทย

ประเทศอาเซียนแม้ว่าจะเป็นคู่แข่งทางด้านการส่งออกสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะ เวียดนาม กัมพูชา ลาว และอินโดนีเซียซึ่งมีข้อได้เปรียบทางด้านต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ ประกอบกับ การได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) จากประเทศผู้นำเข้าสำคัญของโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา และ กลุ่มสหภาพยุโรป จึงเป็นปัจจัยที่นับเป็นข้อได้เปรียบสำคัญของประเทศเหล่านี้ แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกัน อาเซียนก็เป็นตลาดส่งออกสิ่งทอประเภทต้นน้ำและกลางน้ำอันประกอบไปด้วยผ้าผืน เส้นด้าย และเส้นใยประดิษฐ์ ที่สำคัญของไทยด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจาก ประเทศเหล่านี้มีพัฒนาการทางด้านมูลค่าการส่งออกเสื้อผ้า...

ส่งออกไปจีนเดือนกรกฎาคม 2552 … ติดลบสูงขึ้น

การส่งออกของไทยในเดือนกรกฎาคมหดตัวร้อยละ 25.7 (yoy) ถือว่าใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 25.9 (yoy) โดยการส่งออกของไทยไปยังตลาดสำคัญส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2551 ไม่ว่าจะเป็นตลาดอาเซียน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ที่อัตราหดตัวชะลอลงเหลือร้อยละ 30.6 ร้อยละ 20.8 ร้อยละ 24.6 และร้อยละ 24.0 ตามลำดับ เนื่องจากอานิสงส์ของเศรษฐกิจของกลุ่มแกนนำหลักของโลกที่เริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจนมากขึ้น ขณะที่การส่งออกของไทยไปตลาดจีนกลับมาติดลบสูงขึ้นเป็นร้อยละ 21.6...

การส่งออกพ้นจุดต่ำสุด … ครึ่งปีหลังมีโอกาสติดลบเป็นตัวเลขหลักเดียว

จากการรายงานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของไทยล่าสุดโดยกระทรวงพาณิชย์ในวันที่ 19 สิงหาคม 2552 แม้ว่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า การส่งออกโดยรวมในเดือนกรกฎาคม 2552 ยังหดตัวในอัตราที่สูงใกล้ๆ กับเดือนมิถุนายน แต่มูลค่าการส่งออกที่ปรับฤดูกาลขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางปรับตัวดีขึ้นก็น่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้การส่งออกของไทยดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่องในช่วงเดือนต่อๆ ไป จึงน่าจะสามารถกล่าวได้ว่า การส่งออกในเดือนกรกฎาคมนี้ได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดแล้ว โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีมุมมองต่อสถานการณ์และแนวโน้มการส่งออกของไทยในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปี 2552 ดังนี้ การส่งออกของไทยในเดือนกรกฎาคม 2552 หดตัวลงร้อยละ...