Tag: Insight
Living with Flood
มาดูกันบ้างว่าในช่วงน้ำท่วมยาวนานและรุนแรงนี้ มีสินค้าและบริการใดที่นำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค และช่วยทำให้การดำรงชีวิตในสภาวะไม่ปกตินี้ให้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น บางอย่างเพิ่งเกิดขึ้นตามกระแส บางอย่างมีจำหน่ายอย่างเป็นกิจจะลักษณะอยู่แล้ว ทั้งยังมีข้อมูลต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศที่มีคุณค่าต่อการใช้ชีวิตท่ามกลางสายน้ำ ในแง่ธุรกิจนี่จึงเป็นโอกาสในวิกฤตที่จะทำให้แบรนด์ของตัวเองโดดเด่นขึ้นมาและเป็นที่จดจำของผู้บริโภคได้ King of Kings ในหลวงกับหลักการบริหารจัดการน้ำ พระราชอัจฉริยภาพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในการบริหารจัดการน้ำมีอยู่มากมายหลายโครงการและทรงงานด้านน้ำอย่างจริงจัง ต่อเนื่องมาตลอดนับตั้งแต่ทรงครองราชสมบัติ โดยเฉพาะโครงการแก้มลิง ทฤษฎีแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นของพสกนิกรชาวไทยทุกคน AIS Flood Relief อัพเดตผ่านมือถือ นอกจากจะรีแบรนด์ในช่วงน้ำท่วมแล้ว ยังออกบริการข้อมูลน้ำท่วมบนโทรศัพท์มือถือผ่านทางเมนู...
ไม่ได้ขายฟอร์นิเจอร์ แต่ขาย Ikea
การเข้ามาของอินเตอร์แบรนด์อย่าง Ikea นอกจากสร้างการแข่งขันที่คึกคักของธุรกิจศูนย์เฟอร์นิเจอร์แล้วยังนำพามาด้วยรูปแบบและกลยุทธ์การแนะนำแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในวงกว้างด้วย หากมองว่าการเปิดตัวของอิเกียคือการเปิดศูนย์เฟอร์นิเจอร์ของแต่งบ้านขนาดใหญ่ที่เคยเปิดมาก็สามารถมองได้ แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งคือ How-to ของการเปิดตัวให้เป็นที่สนใจ ได้รับการคาดหวัง พร้อมกับความตื่นตัวที่จะเข้ามามีประสบการณ์ในแบรนด์ด้วย อิเกียอาจจะเป็นเหมือนกับศูนย์เฟอร์นิเจอร์ของแต่งบ้านทั่วไป แต่การสร้างเรื่องราว การสร้างอารมณ์ร่วม รวมไปถึงการสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคเข้ามามาร้านให้ต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นแค่ช่วงเปิดตัวแล้วก็หายหน้ากัน อิเกียต้องการลูกค้าที่อยู่ด้วยกันตลอดไป และพร้อมจะตามไปในสาขาอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย หากเริ่มนับ 1 ได้อย่างถูกต้อง การนับเลขต่อไปก็ไม่ใช่เรื่องยาก ขอเริ่มจาก 5%...
Thailand Brand Crisis
หลังวิกฤตน้ำท่วม สิ่งที่ยังเหลืออยู่นอกจากกซากปรักหักพังที่ต้องซ่อมสร้างขึ้นใหม่แล้ว อีกอย่างหนึ่งที่เสียหายไม่น้อยคือ “แบรนด์ของประเทศไทย” ที่ “สรณ์ จงศรีจันทร์” Chief Business Advisor & Chief Brand Strategist กลุ่มบริษัท ยังก์ แอนด์ รูบิแคม แบรนด์ จำกัด บอกว่า ต้องกู้กลับคืนมาให้ได้ ไม่เช่นนั้นวิกฤตเศรษฐกิจจะซ้ำเติมประเทศไทย นอกเหนือจากนี้ยังมีมุมมองเรื่องธุรกิจที่จะอยู่หรือไป...
D-max – Colorado เมื่อฝาแฝดแยกทางกันเดิน
เป็นรถฝาแฝดผูกติดกันมานานหลายปี จนวันหนึ่งก็ต้องแยกทางกันเดิน ทำตลาดกันคนละแบบ อีซูซุ D-max เลือกเปิดตัวรถรุ่นใหม่ในวันที่ 30 กันยายน พร้อมกันทั่วโลก ตามคอนเซ็ปต์ของดีแมคซ์ และรถรุ่นใหม่นี้ใช้สโลแกนว่า D-Max รุ่นใหม่หมด จนมีคนตั้งคำถามว่า รถรุ่นใหม่หมด!! แล้วอีซูซุจะเหลือรถอะไรให้ขาย อีซูซุขนผู้บริหาร คนออกแบบจากบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นมาร่วมงาน พร้อมกับเชิญตัวแทนจำหน่าย คู่ค้า...
Top Corporate Brands 2011
เจริญโภคภัณฑ์, สยามซีเมนต์, ไทยพาณิชย์, ซาบีน่า, เอไอเอส, ปตท.สผ., ซีพีออล, ปตท.เคมีคัล ติดอันดับแรกของแบรนด์องค์กรที่มีมูลค่าสูงสุด ประจำปี 2554 เป็นผลสำรวจแบรนด์องค์กรที่ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รศ.ดร.กุณฑลี รื่นรมย์ และอาจารย์ศุภกร ภัทรธนกุล พร้อมทั้งคณะวิจัย ได้ทำการวิจัย "การประเมินค่าและจัดอันดับแบรนด์องค์กรในประเทศไทย" ต่อเนื่องเป็นปีที่...
ศึกสะท้านทรวง
หลังจากถูกคู่แข่ง “ซาบีน่า” ท้าทายตลาดด้วย “ดูม ดูม ซีรี่ส์” ชุดชั้นในเอาใจสาวคัพเล็ก ด้วยประโยคเด็ดในหนังโฆษณา “คับที่อยู่ได้ คัพเออยู่ยาก” จนทำให้ “ซาบีน่า” กลายเป็นแบรนด์ที่ถูกจับตา ทางด้าน “วาโก้” แบรนด์เบอร์ 1 ออกมาตอบโต้กลับด้วยแคมเปญ “บีเลิฟ” เอาใจสาวทรงโตระดับ “คัพซี” ขึ้นไป นับเป็นเกมรับของผู้นำตลาดชุดชั้นในมูลค่า 5,000...
สองผู้บริหารหนุ่ม เบื้องหลังศึกสะท้านทรวง
ทั้ง ธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้ช่วยผู้อำนวยการ บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ บุญชัย ปัณฑุรอัมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซาบีน่า จำกัด มหาชน เขาเป็นสองผู้บริหารหนุ่ม จากสองบริษัทคู่แข่ง ที่ต้องดูแลธุรกิจผลิตชุดชั้นในให้กับสาวๆ ต่างกันตรง ธรรมรัตน์ ต้องปกป้องส่วนแบ่งตลาดให้กับวาโก้ เจ้าตลาดเดิมที่อยู่ในตลาดมาแล้ว 40...
ปั้น “แถว” สร้างแบรนด์ เขาทำกันอย่างไร
การเข้าแถว เป็นสิ่งที่สะท้อนความเป็นระเบียบของสังคมโดยเฉพาะในสังคมที่เจริญแล้ว หรือไม่ก็แสดงให้เห็นว่าแบรนด์ที่คนยอมต่อแถวนั้นมีแฟนระดับสาวกที่ยอมทนได้ทุกอย่าง เหมือนตัวอย่างการต่อแถวซื้อ Louis Vuitton ที่ชองป์เซลิเซ่ การต่อแถวซื้อตั๋วฟุตบอลแมทช์เด็ดของทีมดังในพรีเมียร์ลีก เหล่านี้ล้วนเป็นภาพปกติของการเข้าแถว วันใดที่แบรนด์เหล่านี้ไม่มีแถวนี่สิ อาจจะกลายเป็นเรื่องแปลก แต่สำหรับเมืองไทย การเข้าแถวที่เคยเป็นเรื่องแปลก ทำไมอยู่ ๆ จึงกลายมาเป็นปรากฏการณ์สร้างแบรนด์ แถมฮิตจนกลายเป็นกระแส Me too กันเลยทีเดียว การเข้าคิวสำหรับ Luxury Brand อาจจะเป็นข้อยกเว้น ถ้าจะคิดว่าเป็นการสร้างแบรนด์...
อยากให้ลูกค้าต่อคิวต้อง…
Brand Awareness เป็นเป้าหมายที่แต่ละแบรนด์คาดหวังสำหรับการสร้างกระแสต่อแถวในเมืองไทย ขณะที่บางแบรนด์เลือกใช้การเข้าแถวเพียงหวังเกาะกระแสสร้างแบรนด์ แต่ใจจริงต้องการใช้เป็นช่องทางทำความรู้จักกับลูกค้า หรือใช้เป็นแคมเปญตอบแทนลูกค้าที่รักกันมานาน แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลไหน การจะดึงกลุ่มคนไทย ที่ไม่ได้มีพฤติกรรมชอบเข้าแถว ออกมาต่อแถวได้นั้น จะต้อง... แถวที่เกิดขึ้นต้องมาพร้อมกับ Cutting Edge Marketing เพื่อความภูมิใจต่อกลุ่มผู้ยอมเสียเวลาและอดทนมาเข้าแถวให้สมประโยชน์ด้านจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นแรงปรารถนาส่วนตัว หรือการเป็นที่รับรู้และรู้จักของสังคมในฐานะคนกลุ่มแรกที่ได้รับโอกาสพิเศษของกิจกรรมนั้น ๆ สินค้าหรือบริการที่ไปต่อคิวต้องให้สิทธิประโยชน์บางประการที่พิเศษและแตกต่างไปจากการซื้อในช่วงเวลาปกติอย่างเห็นได้ชัด หรือเป็นลักษณะของ Reward and...
ส่องแถวแบรนด์ทั่วโลก
ผลิตภัณฑ์ของ Apple เป็นแบรนด์แรกๆ ในโลกที่เปลี่ยน Product Launch ธรรมดาๆ ให้กลายเป็นอีเว้นท์ ง่ายกว่ามากที่จะเปิดให้ Pre-order ทางออนไลน์ แต่ Apple เลือกที่จะใช้กลยุทธ์เข้าคิว โดยเฉพาะ iPhone4 และ iPad2 เพราะดังกว่าและเป็นข่าวในสื่อได้มากกว่า ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงพลังของแบรนด์ และตอนนี้คนเริ่มมองไปยังสีสันใหม่ๆของการเข้าคิวสำหรับ iPhone5 และ iPad3...