Binance – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 15 Feb 2024 12:36:36 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Gulf Binance ตั้งเป้าขึ้นเบอร์ 1 ผู้เล่นตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลภายใน 2 ปี ชูจุดเด่นแพลตฟอร์มอยู่ภายใต้การกำกับดูแล https://positioningmag.com/1462845 Thu, 15 Feb 2024 10:14:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1462845 บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด (Gulf Binance) เจ้าของแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล Binance TH ตั้งเป้าขึ้นเบอร์ 1 ผู้เล่นตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลภายใน 2 ปี ชูจุดเด่นแพลตฟอร์มอยู่ภายใต้การกำกับดูแล ขณะที่ด้านการตลาดเน้นการตลาดโดยใช้ Key Opinion Leader หรือการแนะนำปากต่อปากเป็นหลัก

Gulf Binance เจ้าของแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล Binance TH ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดยชูจุดเด่นค่าธรรมเนียมซื้อขายที่สูสีกับคู่แข่งในตลาด แพลตฟอร์มอยู่ภายใต้การกำกับดูแล และยังรวมถึงแพลตฟอร์มมีเหรียญซื้อขายมากกว่า 115 เหรียญ

สาเหตุที่ทำให้บริษัทเจาะตลาดประเทศไทย เนื่องจากเห็นกระแสตอบรับสินทรัพย์ดิจิทัลของประเทศไทยที่มีความโดดเด่นเมื่อเทียบกับทั่วโลก โดยตัวเลขผู้ถือครองสินทรัพย์ดิจิทัลที่มากถึง 21.9% มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 2 เท่า

ข้อมูลของ Chainalysis ยังได้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่อันดับที่ 10 ของโลก ในด้านการยอมรับให้เกิดการใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล และประเทศไทยยังมีการเติบโตของผู้พัฒนาที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลมากถึง 43% สูงสุดในอาเซียน

นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด กล่าวถึงตลาดในประเทศไทยมีการยอมรับถึงสินทรัพย์ดิจิทัล การเข้ามาของ Gulf Binance จะช่วยสนับสนุนในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน การสนับสนุนเทคโนโลยีบล็อกเชน และเศรษฐกิจดิจิทัล

กลยุทธ์หลักที่ Gulf Binance ได้นำมาเจาะตลาดในประเทศไทย

  1. การให้ความสำคัญกับผู้ใช้
  2. การพัฒนาประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่อง
  3. การสร้างชุมชนผู้ใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัลที่เข้มแข็ง
  4. การให้การศึกษาในเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัล
  5. การปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแล

ค่าธรรมซื้อขายของ Binance TH มีค่าธรรมเนียม 0.1% สำหรับการซื้อขายระหว่างคู่ USDT และ 0.25% สำหรับการซื้อขายระหว่างคู่เงินบาท (THB) กับสินทรัพย์ดิจิทัล

โดย Binance TH มีฟีเจอร์สำคัญที่เน้นเจาะกลุ่มผู้ใช้งาน เช่น การแจ้งเตือนราคา (Price Alert) การแจ้งเตือนความเคลื่อนไหวสินทรัพย์ในพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio Tracking) และมาตรการป้องกันที่จำกัดการถอนสินทรัพย์ (Whitelist Function) ในขณะเดียวกันก็จะมีเทคโนโลยีตรวจสอบเพื่อป้องกันการฟอกเงิน โดยใช้ข้อมูลจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐอย่าง ปปง. หรือบริษัทเอกชน

ในส่วนกลยุทธ์ด้านการตลาด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด ได้กล่าวว่าจะเน้นใช้ Key Opinion Leader (KOL) ที่ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงการบอกปากต่อปาก แต่จะไม่เน้นการโปรโมตโฆษณาเหมือนกับคู่แข่งรายอื่น

Gulf Binance ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท ไบแนนซ์ แคปปิตอล แมเนจเมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทภายในเครือของไบแนนซ์ (Binance) และ บริษัท กัลฟ์ อินโนวา จำกัด

ปัจจุบันแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล Binance TH มีผู้ใช้งานลงทะเบียนอยู่ที่ 50,000 ราย หลังจากเปิดใช้งานแพลตฟอร์มมาเป็นระยะเวลา 1 เดือน และตั้งเป้าขึ้นเบอร์ 1 ผู้เล่นตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลภายใน 2 ปี

]]>
1462845
ตลาดคริปโตร่วงยกแผง! หลัง ‘Binance’ ยกเลิกแผนซื้อกิจการ ‘FTX’ https://positioningmag.com/1407617 Thu, 10 Nov 2022 02:59:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1407617 ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงที่ตลาดคริปโตฯ มีความผันผวนอย่างมาก เนื่องจาก Binance ซึ่งเป็นตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโตฯ ระดับโลกที่ใหญ่ที่สุด ได้ประกาศว่าจะซื้อกิจการของ FTX คู่แข่งทางธุรกิจที่กำลังประสบวิกฤตใกล้ล่มสลาย

ล่าสุด Binance ได้ประกาศว่าได้ ยกเลิกแผนการซื้อ FTX ของ Sam Bankman-Fried เพื่อหวังว่าจะเข้าไปช่วยเพิ่มสภาพคล่อง แต่หลังจากการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะและรายงานล่าสุดเกี่ยวกับปัญหา ซึ่งพบว่ามันเกินกว่าที่จะเข้าไปช่วยแก้ไขได้

จากการล้มดีลดังกล่าว ส่งผลให้ราคาเหรียญร่วงยกแผง โดยจากข้อมูลของ CoinMarketCap ระบุว่า มูลค่าตลาดของคริปโตลดลงมากกว่า 15% ภายในเวลา 24 ชั่วโมง สู่ระดับ 8.6 แสนล้านดอลลาร์ จากระดับ 1.05 ล้านล้านดอลลาร์ก่อนหน้านี้ โดยเหรียญดัง ๆ อย่าง Bitcoin ลดลง 12% เหลือเพียง 16,000 ดอลลาร์ ซึ่งแตะระดับต่ำสุดที่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2020 ในขณะเดียวกัน Ether ร่วงลง 14% สู่ 1,128.87 ดอลลาร์

Changpeng Zhao หรือ CZ ซีอีโอของ Binance ประกาศผ่าน Twitter ว่า แพลตฟอร์มของเขากำลังขายโทเคน FTX ทั้งหมดในบัญชีของตน เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ซ้ำรอยกับการล่มสลายของ Terra ส่งผลให้ราคาเหรียญ FTX ดิ่งลงทันทีกว่า 10% รวมถึงการแห่ถอนเงินออกจากเว็บเทรด FTX จากนั้น มูลค่าของเหรียญ FTT ร่วงลงอีก 63% ในวันพุธ (9 พ.ย.) ที่ผ่านมา หลังจากที่มูลค่าร่วงลงมากกว่า 75% เมื่อวันก่อน

จนในที่สุด Binance ได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงที่ไม่มีผลผูกพันสำหรับการเข้าซื้อกิจการของ FTX แต่สุดท้าย ดีลดังกล่าวก็ไม่เกิดขึ้น

Source

]]>
1407617
Binance ระงับบริการบางส่วนกับ ‘ชาวรัสเซีย’ ที่ถือครองคริปโต มูลค่ามากกว่า 1 หมื่นยูโร https://positioningmag.com/1382327 Thu, 21 Apr 2022 12:52:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382327 ‘Binance’ เเพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกาศระงับการให้บริการบางส่วนกับชาวรัสเซียที่ถือครองคริปโตฯ มูลค่าเกิน 10,000 ยูโรขึ้นไป ตามมาตรการคว่ำบาตรล่าสุดของสหภาพยุโรป (EU)

Binance เเจ้งว่า ผู้ใช้ชาวรัสเซียเเละบริษัทที่จัดตั้งในรัสเซีย ที่ถือครองคริปโตเคอร์เรนซี มูลค่ารวมมากกว่า 10,000 ยูโร (ราว 3.6 เเสนบาท) จะถูกห้ามไม่ให้ทำการฝากเงินใหม่หรือทำการซื้อขายใดๆ ทั้งฟังก์ชั่น spot , futures , Earn , staking เเละกระเป๋าเงิน Custody wallets

อย่างไรก็ตาม ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจะสามารถถอนเงินได้เเละจะมีเวลา 90 วันในการปิดสถานะ

โดยข้อจำกัดดังกล่าว จะไม่มีผลกระทบต่อบัญชีของพลเมืองรัสเซีย ที่อาศัยอยู่นอกประเทศที่ได้รับการยืนยันหลักฐานที่อยู่เเล้ว ตลอดจนถึงบัญชีของชาวรัสเซียรายย่อ หรือบริษัทที่จัดตั้งขึ้นในรัสเซีย ที่มีการถือครองสินทรัพย์คริปโตฯ บนเเพลตฟอร์ม Binance ‘น้อยกว่า 10,000 ยูโร

ในเดือนนี้ EU ได้ออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียเป็นครั้งที่ 5 โดยพุ่งเป้าไปที่กระเป๋าเงินคริปโตฯ ธนาคาร สกุลเงินและทรัสต์ เพื่ออุดช่องโหว่ที่อาจเปิดโอกาสให้ชาวรัสเซียเคลื่อนย้ายทรัพย์สินออกนอกประเทศ

เมื่อเดือนที่ผ่านมา Binance ระบุว่า ผู้ที่ถือบัตรเครดิตของธนาคารรัสเซียที่ถูกคว่ำบาตร จะไม่สามารถใช้งานบัตรบนแพลตฟอร์มได้ และยืนยันว่าบริษัทได้ระงับการให้บริการกับผู้ที่มีรายชื่ออยู่ในลิสต์คว่ำบาตรด้วย

“Binance จะต้องเป็นผู้นำของอุตสาหกรรมที่ดำเนินการตามมาตรการคว่ำบาตรเหล่านี้ต่อไป เราเชื่อว่า Crypto Exchange รายใหญ่แห่งอื่น ๆ จะต้องปฏิบัติตามกฎเดียวกันในไม่ช้า

ที่มา : Reuters , Binance , Bloomberg 

]]>
1382327
‘Binance’ ได้รับอนุมัติทำธุรกิจ ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ ในกรุงอาบูดาบี เร่งรุกตลาดตะวันออกกลาง https://positioningmag.com/1381329 Mon, 11 Apr 2022 12:12:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381329 ‘Binance’ แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลรายใหญ่ที่สุดในโลก ได้รับอนุมัติตามหลักการให้ดำเนินธุรกิจในกรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นับเป็นก้าวสำคัญของการขยายตลาดเทรดคริปโตฯในตะวันออกกลาง

โดยก่อนหน้านี้ Binance ได้รับการอนุมัติด้านกฎระเบียบมาเเล้วจากบาห์เรนและดูไบมาเเล้ว

ซึ่งการอนุมัติตามหลักการจาก Abu Dhabi Global Market (ADGM) ครั้งนี้ จะทำให้ Binance สามารถดำเนินการเป็นนายหน้าตัวแทนจำหน่ายในสินทรัพย์ดิจิทัลต่างๆ ได้ เเละคาดว่าต่อไปจะสามารถดำเนินการในฐานะบริษัทที่ได้รับอนุญาตอย่างเต็มที่

ADGM ยังแสดงเจตจำนงที่จะให้การอนุมัติด้านกฎระเบียบที่คล้ายคลึงกันกับบริษัทท้องถิ่นและบริษัทด้านคริปโตเคอร์เรนซี่ระดับโลกอื่นๆ เพื่อทำให้อาบูดาบีเป็นศูนย์กลางสินทรัพย์เสมือนและเศรษฐกิจดิจิทัลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

โดย Dhaher bin Dhaher ซีอีโอของ ADGM เเสดงความยินดีกับการออกใบอนุญาติดังกล่าว เเละสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือ Binance ในการที่จะพยายามจัดตั้งสาขาของบริษัทในกรุงอาบูดาบีด้วย

ที่ผ่านมา Binance มีการดำเนินงานโดยอิสระจากกฎระเบียบในท้องถิ่น เเต่อย่างไรก็ตาม เพื่อตอบสนองต่อแรงกดดันจากหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลก บริษัทจึงเริ่มเปลี่ยนแนวทางมาประนีประนอมมากขึ้น

นอกจาก Binance แล้ว แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลชื่อดังอีกเจ้าอย่าง FTX ก็เพิ่งได้รับใบอนุญาตในการดำเนินงานในดูไบ เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ กำลังสนใจที่จะเข้ามาทำธุรกิจในตะวันออกกลางมากขึ้น หลังภูมิภาคนี้เริ่มลดมาตรการควบคุมลงเเละเปิดประตูรับกระเเสคริปโตเคอร์เรนซี

 

ที่มา : CNBC , cointelegraph 

]]>
1381329
Bitkub เทียบ Binance ค่าต๋งแพง-ค่าถอนโหด กับดักแมงเม่า https://positioningmag.com/1380226 Mon, 04 Apr 2022 08:02:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1380226 ข่าวเชิงวิเคราะห์บิทคับ ยูนิคอร์นสายพันธุ์อันตราย!?” ตอนที่ 5 โดย iBit

เทียบแพลตฟอร์มบิทคับกับไบแนนซ์ พบเก็บค่าธรรมเนียมแพงกว่าเท่าตัว ค่าถอนโขกส่วนต่างระยับ 17 บาทต่อรายการ ไม่เปิดฟีเจอร์ป้องลูกค้าตัดขาดทุน ผวาระบบล่มซ้ำแฮกเกอร์เจาะ โอ่เชื่อมต่ออนาคตแต่วันนี้ยังเชื่อมต่อระบบดั้งเดิม แถมขายให้แบงก์ นวัตกรรมไม่ใหม่ จับตาพร้อม “Exit” 100% บทสรุปสุดท้ายยูนิคอร์นไทย = Marketing Company 

กรณีกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCBX มีความต้องการจะซื้อหุ้น บิทคับ ออนไลน์ ผู้ให้บริการศูนย์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล จำนวน 51% คิดเป็นมูลค่ากว่า 17,850 ล้านบาท โดยนับตั้งแต่เดือนพ.. 2564 ที่ประกาศข่าวออกมา ผ่านมาถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 5 เดือนแล้วดีลนี้แม้แต่การยื่นขออนุญาตอย่างเป็นทางการจากธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยังไม่เกิดขึ้น!

ความล่าช้าของดีลนี้ วิเคราะห์กันว่า มีความเป็นไปได้ทั้ง SCBX และ กลุ่ม บิทคับ อาจจะกำลังต่อรองกันอย่างหนัก ภายหลัง SCBX ได้เข้าตรวจสอบวิเคราะห์สถานะทางธุรกิจ หรือ ดีลดิลิเจนท์ พบเห็นอะไรที่ไม่ตรงปกหรือไม่? เช่น ปัญหาบัญชีสมาชิกที่ยังไม่รู้ว่า ในจำนวน 3 ล้านบัญชีมี ผู้ลงทุนตัวจริงที่พิสูจน์ตัวตนได้เท่าไหร่ ที่พิสูจน์ไม่ได้ เป็นนอมินีหรือบัญชีม้า ปะปนอยู่มากน้อยแค่ไหน ปริมาณการซื้อขาย รายได้ ที่อาจจะไม่ได้เป็นไปอย่างที่บิทคับ โฆษณาชี้ชวน (ตามที่เคยวิเคราะห์ไว้ในตอนที่ผ่านมา) เป็นต้น

ขณะที่ เกณฑ์การควบคุมดูแล จาก “ Regulator” ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และ ตลาดหลักทรัพย์ (...) ที่เห็นความเสี่ยงจากการเข้าตรวจสอบบิทคับ และ ที่เกิดจากการทำตลาดอย่างบ้าคลั่งของบิทคับก็ดี จนต้องออกประกาศ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไข หรือ ข้อห้ามไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิตัลดำเนินการในหลายอย่างที่เป็นความเสี่ยงแก่ ผู้ลงทุน องค์กรธุรกิจ และ ระบบเศรษฐกิจ มาอย่างต่อเนื่องตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา และ ยังจะนำออกมาบังคับใช้อีกหลายมาตรการภายในกลางปีนี้

ยิ่งกรณีของ “KUB” เหรียญที่บิทคับออกมาแล้วซื้อขายในตลาดของตัวเอง ต่อมาเกิดอภินิหารที่อธิบายโดยปัจจัยพื้นฐานไม่ได้ว่า ทำไมราคาของเหรียญจึงพุ่งทะลุฟ้า จากราคา 30 บาทขึ้นไปถึง 500 กว่าบาท หรือ บวกขึ้นไปเกือบๆ 1,800% ก่อนจะถูกเทขายราคาไหลรูดลงมา ซึ่งอธิบายได้อย่างเดียวว่า นี่คือการสร้างราคาหรือปั่นเหรียญเล่นเก็งกำไรในตลาดทำให้ เจ้ามือรวย คนที่ซวย ก็คือ รายย่อย หรือ แมงเม่าทิ่บินเข้ากองไฟ โดยที่ผ่านมา ก... ได้เข้าตรวจสอบแล้วซึ่งอีกไม่นานคงจะมีคำตอบให้สังคมอย่างแน่นอน

อ่านเพิ่มเติม ...เล็งสอบ ปั่น “KUB-JFIN-SIX” หลังพบความผิดปกติราคาผันผวนรุนแรง

ว่ากันว่า ปรากฏการณ์ปั่น “KUB” เย้ยฟ่าท้าดิน หากเทียบกับ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ถ้าออกหุ้นเอง เทรดเอง ลักษณะนี้ย่อมมีการใช้ข้อมูลภายใน การสร้างราคา เพื่อประโยชน์ของตัวตลาดเองอย่างไม่ต้องนำสืบ ตลาดนั้นๆ ก็จะไม่ต่างกับบ่อนพนันและ ย่อมเกิดคำถามกับ SCBX ที่จะให้ บล.หลักทรัพย์ของตัวเองเข้าไปถือหุ้นในบ่อนพนันเช่นนี้หรือ?

เงินลงทุน 17,850 ล้านบาท โดยเหตุผลต้องการเชื่อมต่อกับโลกการเงินดิจิทัล หรือ โลกอนาคต เป็นวิชั่นที่ไม่อาจจะปฏิเสธเทรนด์ของโลกการเงิน แต่สิ่งที่เป็นไปและจะได้มาคือตลาดซื้อขายคริปโตที่ภาพกลายเป็นแหล่งพนันไปแล้ว เชื่อได้ว่า SCBX เองก็ต้องคิดหนัก

อ่านเพิ่มเติม KUB-JFIN กอดคอกันร่วง หลังนักเทรดแห่เทขายทำกำไร

ไบแนนซ์ ตัวเปลี่ยนเกม

นอกจากนี้ อีกปัจจัยที่ SCBX จะต้องคิดหนักแน่ๆ คือ การเข้าสู่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลไทยของ Cryptocurrency Exchange เบอร์หนึ่งโลก อย่าง Binance แม้บิทคับจะเคลมว่า ตัวเองเป็นเจ้าตลาดของศูนย์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในไทย แต่สำหรับนักลงทุนคริปโตฯ ไทยรู้จัก ไบแนนซ์มาก่อนบิทคับตั้งนานแล้ว และเปิดบัญชีกับ ไบแนนซ์ ไม่น้อย ซึ่งเป็นไปได้สูงว่า จำนวนบัญชีและปริมาณการซื้อขายในปัจจุบันของคนไทยอาจจะมากกว่า บิทคับ เสียด้วยซ้ำ

การมาของไบแนนซ์ จะเป็นตัวเปรียบเทียบ และเปลี่ยนเกมตลาดคริปโตฯ เมืองไทยอย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยมาตรฐานแพลตฟอร์มที่เป็นสากลระดับโลก และพิสูจน์ตัวเองด้านระบบการซื้อขาย และความปลอดภัย ระดับของเทคโนโลยีที่พัฒนาอยู่ตลอด จะเป็นจุดที่นักลงทุน จะสัมผัสเปรียบเทียบกันได้ เรียกว่า ไบแนนซ์อยู่เหนือบิทคับทุกประตู

สิ่งสำคัญที่สุดของ Cryptocurrency Exchange หรือ แม้แต่ตลาดหุ้น ก็คือ การซื้อขายที่เป็นธรรม ไบแนนซ์ ที่ขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งโลกย่อมต้องได้รับความเชื่อถือจากนักลงทุน แต่สำหรับ บิทคับ นั้นยังเต็มไปด้วยคำถาม

ขณะที่บิทคับเริ่มต้นมา 3 ปีเศษ มีรายงานจากการเข้าตรวจสอบของ ก...บ่งชี้พบข้อบกพร่อง การทำธุรกิจไม่รัดกุมเพียงพอ ระบบขาดประสิทธิภาพ อยู่เป็นระยะ ตั้งแต่การเปิดบัญชี การพิสูจน์ตัวตนจองลูกค้า Market Marker การซื้อขาย การปล่อยให้มีการสร้างราคาของ KUB ไปจนถึง รวมไปถึงการปล่อยให้คนนอกเข้ามามีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการในตลาดซึ่งเป็นข้อที่หนักหนาสาหัสกับธรรมาภิบาลที่จำเป็นต้องมีสำหรับ Exchange

วันที่ ไบแนนซ์ ซึ่งจับมือกับ กัลฟ์ ยักษ์ใหญ่ธุรกิจพลังงาน เปิดศูนย์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในไทยเมื่อไหร่ ภาพการเปรียบเทียบระหว่าง Exchange สองรายนี้จะยิ่งชัดขึ้น

เทียบ ไบแนนซ์ VS บิทคับ กระดูกคนละเบอร์

ลองมาเปรียบเทียบ ไบแนนซ์ กับ บิทคับ กันดู จากการสัมผัสของลูกค้าที่เปิดทั้งสองบัญชีใช้บริการซื้อขายคริปโตฯ โดยส่วนใหญ่ เห็นว่า โดยพื้นฐาน เปิดบัญชีกับไบแนนซ์สะดวกและรวดเร็วกว่า แม้จะปลอดภัยสูงกว่าบิทคับแต่ก็ถ้าผ่านการพิสูจน์ตัวตนได้ใช้เวลาไม่ถึง 30 นาที กับบิทคับต้องใช้เวลานาน 15-30 วัน การใช้งานล็อกอินไบแนนซ์เข้าง่าย แต่บิทคับขั้นตอนยุ่งยาก

ขณะที่จำนวนเหรียญในกระดานเทรดไบแนนซ์มีมากกว่าบิทคับหลายเท่าตัว ซึ่งมาพร้อมกับสภาพคล่องที่แตกต่างกันด้วยปริมาณการซื้อขายหมุนเวียนที่มากกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ต่อวัน ขณะที่บิทคับเทรดเฉลี่ยวันละไม่ถึง 1 ล้านดอลลาร์สภาพคล่องถือว่าน้อยกว่ามากไม่นับรวมเรื่องของการการโอนเหรียญคริปโต ฯ ระหว่างกระดานเทรดหรือระหว่างแพลตฟอร์ม ไบแนนซ์มีความหลากหลายและทางเลือกมากกว่า

ค่าธรรมเนียมบิทคับแพงค่าถอนโหด

ค่าธรรมเนียมในการเทรด ไบแนนซ์ คิด 0.1% หรือ ซื้อขายไปกลับ อยู่ที่ 0.2% หากใช้เหรียญ BNB หรือ เหรียญไบแนนซ์ เป็นส่วนลดค่าธรรมเนียมได้ 25% ขณะที่ บิทคับ จะคิดค่าธรรมเนียมในการเทรด 0.25% ไปกลับซื้อขาย เก็บค่าต๋ง 0.50% ถือว่าแพงกว่า ไบแนนซ์เกือบเท่าตัว และ เมื่อมีการถอนบิทคับก็จะคิดค่าธรรมเนียม 20 บาทต่อรายการกับนักลงทุน ซึ่งว่ากันว่า เป็นค่าธรรมเนียมที่มหาโหดที่คนในวงการการเงินมองว่า บิทคับเอากำไรเกินควร ทั้ง ๆ ที่ แบงก์คิดค่าธรรมเนียมค่าบริการกับบิทคับเพียง 3 บาทต่อรายการ แต่บิทคับเอามาเรียกเก็บจากลูกค้าเพิ่มถึง 17 บาท

ฟีเจอร์แตกต่าง บิทคับไม่มี Stop Limit

ในด้านฟังก์ชันหรือฟีเจอร์เครื่องมือทางเลือกในการลงทุน ไบแนนซ์ มีมากกว่า ใช้งานง่ายกว่า บิทคับ ไม่ว่าจะเป็น การเทรดเหรียญแบบ Spot, Futures และ Options ตลอดจนการเทรดแบบใช้มาร์จิน ซื้อขายกันเองแบบ P2P รวมไปถึงการปล่อยกู้รับผลตอบแทน หรือ เก็บเหรียญเพื่อรับดอกเบี้ย

ที่สำคัญ ระบบการซื้อหรือขายของบิทคับ เล่นหรือลงทุนได้แบบ Spot อย่างเดียวซึ่งอาจจะเป็นสวรรค์ของนักลงทุนทำกำไรในช่วงตลาดขาขึ้น แต่สำหรับขาลงนั้น ต้องบอกว่า นรกมาเยือนผู้ลงทุนมือใหม่มีโอกาสที่จะขึ้นไปพำนักบนดอยแขวนตัวเองอยู่ไปราคาสูงไม่สามารถบริหารจัดการพอร์ตของตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ได้

ยิ่งหากดูรายละเอียดของการทำคำสั่งซื้อขายเปรียบเทียบกันของสองแพลตฟอร์ม บิทคับ มักถูกลูกค้านักเล่นบ่นกรณีไม่สามารถกดซื้อหรือขายในราคาตลาดได้แบบเรียลไทม์บ่อยครั้ง จนสูญเสียโอกาสได้ราคาที่อยากจะซื้อหรือขาย

bitkub

ขณะที่ ฟีเจอร์ “Stop Limit order” หรือ เครื่องมือ “Cut Loss” ที่จะช่วยปกป้องผู้ลงทุนจากความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง สามารถกำหนดราคาเอาไว้ล่วงหน้าเมื่อถึงระดับที่ไม่สามารถแบกรับการขาดทุนระบบก็จะเตือนให้ขาย หรือ ขายให้ทันที หากไม่ได้ติดตามหรือมอนิเตอร์การลงทุนของตัวเองแบบ 24 ชั่วโมง หรือ เฝ้ากระดานเทรดได้ทั้งวันทั้งคืน ไบแนนซ์นั้นมีฟีเจอร์นี้เอาไว้ช่วยนักลงทุน แต่สำหรับบิทคับให้ใช้เฉพาะ บิตคอยน์ และ อีเทอร์เรียม ในวงการนักลงทุนคริปโตฯ ถือว่า เป็นข้อเสียอย่างร้ายแรงในสายตาของนักเทรด

ดังที่เกิดโศกนาฎกรรม กับการกอดคอดิ่งเหวของ 3 เหรียญ KUB JFIN และ SIX ที่ถูกเทขายเหมือนตั้งใจจากเจ้ามือทำปลั๊กหลุดอย่างเป็นปริศนา ในช่วงกลางคืนของวันที่ 30 .. 2564 มีผลกระทบกับรายย่อยชนิดที่ไม่สามารถตัดขาดทุนได้ทัน เหตุการณ์นั้นต้องบันทึกเอาไว้ในบัญชีหนังหมาของ ก...ว่า มีพิรุธในการสร้างราคาปั่นและทุบเหรียญของใคร และ ใครที่ได้ประโยชน์จากรูโหว่ของระบบของ บิทคับ

ผวาระบบล่มหลอนโดนแฮกเกอร์ทดสอบ

จุดที่นักลงทุนหรือลูกค้ายังคาใจบิทคับที่ปฎิเสธไม่ได้ว่า เป็นความเสี่ยงที่ไม่มีใครกล้าการันตีจะไม่เกิดขึ้นอีก โดยเฉพาะปัญหาระบบล่มของเครือข่ายบิทคับที่เคยเกิดขึ้น ทำให้การซื้อขายหยุดชะงักเมื่อวันที่ 2 วันที่ 3 และวันที่ 16 มกราคม 2564

รวมไปถึงระบบสำคัญ เช่น ระบบการฝากถอนเงินและสินทรัพย์ดิจิทัล ระบบการแสดงข้อมูลทรัพย์สินลูกค้า ระบบการให้บริการติดต่อลูกค้า ทั้งหลายเหล่านี้เป็นปัญหาที่ก...ได้สั่งการให้บิทคับแก้ไขและเยียวยาผู้เสียหายมาโดยตลอด เพราะมีลูกค้าร้องเรียนจำนวนมาก เมื่อเทียบกับไบแนนซ์แล้วสิ่งต่างๆ เหล่านี้แทบจะไม่ค่อยเกิดขึ้น

bitkub

อีกประการที่พูดกันในวงในเทคโนโลยีก็คือ ระบบการป้องกันความปลอดภัยจากการโจมตีของแฮกเกอร์ซึ่งถือว่าสำคัญมากของตลาดซื้อขายคริปโตฯ โดยแม้ว่า แฮกเกอร์ จะเลือก Exchange ที่เป็นเจ้าใหญ่ มีชื่อเสียงของโลก แต่ไม่มีใครกล้ารับประกันได้ว่าจะไม่เกิดขึ้นกับบิทคับ ซึ่งก็เป็นเครื่องหมายคำถามตัวโตๆ ว่า บิทคับ พร้อมหรือไม่สำหรับการทดสอบอันตรายจากแฮกเกอร์

ที่ผ่านมา แฮกเกอร์ เจาะเข้าระบบของเครือข่ายบล็อกเชนของเจ้าใหญ่ๆ หลายราย โดยรายล่าสุดเมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมาบล็อกเชน โรนิน เน็ตเวิร์กก็เพิ่งถูกแฮกเกอร์โอนเงินออกจากระบบ คิดเป็นมูลค่ากว่า 20,455ล้านบาท มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในโลกของคริปโตเคอเรนซี่เมื่อเทียบกับความเสียหายครั้งก่อนหน้าหลายครั้ง

บิทคับ = มาร์เก็ตติ้งคอมปะนี

จากทั้งหมด บทสรุปของบิทคับ จากสตาร์ทอัปอัปเกรดขึ้นมาเป็นยูนิคอร์นภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยการขี่กระแสขาขึ้นของบิตคอยน์พร้อมกับความพยายามในการสร้าง “ลัทธิ หรือ การสร้างบุคคลิกให้กับธุรกิจและตัวของ ท๊อปจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ให้เป็นดั่งเจ้าลัทธิ” ที่ปลุกเร้าเจ้าของธุรกิจ และ คนดัง ด้วยการทุ่มงบประมาณการตลาดให้เชื่อไปในแนวทางเดียวกันกับบิทคับ

บิทคับ คือ ผู้ที่จะมาเปลี่ยนแปลงโลกการเงิน และ เชื่อมต่ออนาคต ด้วยนวัตกรรมใหม่ พร้อมกับการปูพรมกวาดต้อนนักลงทุนหน้าใหม่ไร้ประสบการณ์ นักเรียนมัธยม เด็กมหาวิทยาลัย ที่ยังไม่มีรายได้เป็นของตัวเองด้วยแคมเปญเช่น 10 บาทก็ลงทุนได้ เมื่อเทียบกับ ไบแนนซ์ หรือ แม้แต่ ศูนย์การซื้อขายคริปโตฯ ของไทยด้วยกันเองก็จะไม่บ้าคลั่งเช่นนี้ เห็นข้อแตกต่างอย่างชัดเจน ว่าบิทคับนั้นเอาการตลาดนำหน้าเพื่อรายได้ เพื่อผลกำไรทางธุรกิจ มากกว่าผลลัพธ์การพัฒนาตลาดคริปโตฯ

จิรายุส มักพูดเสมอถึง การเปลี่ยนแปลงโลกการเงินดิจิทัลที่จะเข้ามาดีสทรับ หรือทำธุรกิจให้ชะงักงันได้หากไม่เข้าร่วมขบวนคล้ายๆเขียนเสือให้วัวกลัวส่วนของบิทคับรอจับปลาตอนน้ำขุ่น เมื่อธุรกิจตอบรับเข้าร่วมลัทธิ บนความไม่รู้เรื่องของคริปโตฯ และเทคโนโลยีก็ต้องจ่ายค่าบริการและ ราคาที่ต้องจ่าย” เพราะวาดหวังจะออกเหรียญของตัวเอง ทำกำไรเหมือน KUB ของบิทคับที่ทำตัวอย่างให้ดูแล้ว

ในความเป็นจริง เมื่อแบงก์ชาติออกกฎคุมเข้ม เช่น ห้ามนำเหรียญมาชำระสินค้าหรือบริการ นี่ก็ไปไม่เป็นหลายราย หรือ กระทั่งล่าสุด ...ออกหลักเกณฑ์กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจัดทำและส่งรายงานข้อมูลการซื้อขาย การแลกเปลี่ยน และการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าเพื่อประโยชน์ในการสอบทานทรัพย์สินของลูกค้า

นั่นหมายความว่า ก...ไม่ไว้ใจ บริษัทที่ดูแลคริปโตฯ ของลูกค้าอาจจะไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดส่งผลให้นักลงทุนมีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งความเสี่ยงนี้ย่อมกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจและเงื่อนไขทางการเงินของบริษัทต่างๆ อาจจะมีการเล่นแร่แปรธาตุไว้นอกงบการเงิน ไปปล่อยกู้กันเอง หลีกภาษี หรือ แม้แต่ ฟอกเงิน

ดังที่เป็นกระแสกังวลกันทั่วโลกของหมู่ Regulator ว่า สินทรัพย์ดิจิทัล ถูกใช้เพื่อการมุ่งหวังทำกำไร สร้างความมั่งคั่ง ให้คนบางกลุ่มมากกว่า มุ่งพัฒนาเพื่อโลกการเงินในอนาคต โดยการทำทุกวิถีทางที่จะหาองค์กรธุรกิจมาเป็นลูกค้ายกกระแสเปลี่ยนแปลงมากล่าวอ้าง

เพราะฉะนั้นเวลาที่ จิรายุส เสนอผ่านสื่อจะโน้มน้าวให้เจ้าของธุริกิจ หรือ ชนชั้นนำของสังคม กลุ่มอีลิท ดารา เซเลบ ผ่านการตั้งหลักสูตร หรือ โปรแกรม เช่น The chosen one เปลี่ยนองค์กร เปลี่ยนชีวิตให้หนีจากกับดักรายได้ปานกลางที่ทำกันแค่ สร้างผลผลิต และ บริการ โดยบอกว่า เมืองไทยบริษัทใหญ่ ๆ ในตลาดหลักทรัพย์เมื่อ 30 ปีที่แล้วเป็นยังไง ทุกวันนี้ก็ยังเหมือนเดิม สูญเสียโอกาสมหาศาลใน ไปยึดติดกับการทำธุรกิจแบบเดิมๆ ซึ่งก็พอจะอยู่รอดในยุคนั้นเท่านั้น

วันนี้ทุกคนต้องสามารถสร้างธุรกิจในเลเยอร์ที่ 3 – 4- 5 ขึ้นมาได้ เหมือนกับ บิทคับ ที่ยกระดับจากสตาร์ทอัปมาเป็น ยูนิคอร์น และ กำลังจะก้าวต่อไปในอีกระดับที่สูงกว่า เพื่อรองรับการเติบโตสู่โลกใหม่ และ ทุกคนก็ควรสนับสนุนให้บิทคับไปถึง level 4 คือ super app อยู่เหนือตลาด ถึงตรงนั้น ก็ต้องถามว่า คนไทย ประเทศไทยได้อะไรจากบิทคับ?

ด้วยนโยบายการขับเคลื่อนธุรกิจดังกล่าวของบิทคับ จึงไม่แปลกที่คนในวงการเทคโนโลยี จะมองว่า บิทคับ เป็นเพียง Marketing Company ที่หากให้วิเคราะห์กันจริงๆ เทคโนโลยี หรือ นวัตกรรม ของบิทคับที่ว่า เป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะมาเปลี่ยนโลก เชื่อมต่ออนาคต ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มีผู้พัฒนาเอาไว้อยู่แล้ว

ตรงกันข้าม วันนี้ระบบสำคัญของบิทคับก็ยังพึ่งพาเชื่อมต่อกับ การเงินแบบดั้งเดิมอยู่มาก เรียกว่า นำของที่มีผู้คิดค้นไว้เอาป้ายสติกเกอร์ใหม่ของตัวเองมาแปะทับเท่านั้นเอง

ที่หัวเราะไม่ออกร่ำไห้มิได้ คือ การบอกว่า โลกการเงินแบบเก่าซึ่งหมายถึงระบบการเงินที่พึ่งพาแบงก์ จะถูกดิสรัปต์ด้วยเทคโนโลยีเงินดิจิทัล ทำการตลาดให้คนเชื่อมั่นเข้าสู่ธุรกิจเงินดิจิทัล แต่บิทคับกลับเสนอขายหุ้นบิทคับให้กับกลุ่มธนาคาร และ เชื่อว่า บรรดาผู้ก่อตั้ง รวมทั้ง จิรายุส เองก็ยังต้องฝากเงินในระบบธนาคารแบบดั้งเดิมเพื่อความปลอดภัยของตนเอง

ถึงวันนี้ คนในวงการเทคโนโลยีหลายคนรู้สึกผิดหวัง และเสียดาย ที่ให้โอกาสบิทคับมาเชื่อมต่อระบบ โดยไม่เพียงไม่ให้เครดิต ยังนำระบบนั้นๆ ไปทำการตลาดเสนอลูกค้าโกยกำไร

แน่นอนว่า จิรายุส ก็รู้ซึ่งถึงข้อนี้ดี ระหว่างการพัฒนาสินทรัพย์ไปสู่โลกอนาคตจริงๆ บนความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการที่ดำเนินการเพื่อปกป้องทรัพย์สินดิจิทัลไม่ใช่เรื่องง่าย รวมถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอนด้านเทคโนโลยี กฎหมายและกฎระเบียบของ แบงก์ชาติ และ ก...โดยเฉพาะการทำธุรกิจ “Exchange” นั้นอยู่บนความไม่แน่นอนไปด้วย ไม่เช่นนั้นคงไม่พยายามจะ “Exit” ออกจากธุรกิจที่ตั้งมากับมือ แว่วว่า ใน 49% ที่เหลือในบิทคับออนไลน์ ทางบิทคับโฮลดิ้งส์ก็กำลังวางแผนที่จะเสนอขายให้กับผู้สนใจอยากจะกระโจนเข้ามาเป็นเจ้าของตลาดซื้อขายคริปโตฯ 

หากมองตามวิถีของสตาร์ทอัพเมื่อถึงจุดพีคแล้วต้องรีบ Exit ให้หมดเพื่อ “Win” ในธุรกิจก็มีความเป็นไปได้สูงที่กลุ่มบิทคับจะทำ

นั่นหมายความว่า เป้าหมายใหม่ของบิทคับ หรือ Bitkub The next chapter อยู่ที่  Bitkub Chain Bitkub Next กับโปรแกรม The chosen one ที่เป็นกลุ่ม elite insider เหรียญสุดอันตราย ท่ามกลางความพินาศฉิบหายของแมงเม่า ใน Bitkub exchange ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของ SCBX ที่ไปวัดดวงเอาในวันข้างหน้า

ประการสำคัญบทสรุปสุดท้าย  ซีรีส์บิทคับ ตีแผ่เรื่องของธุรกิจคริปโตฯ ในอีกด้านจะเป็นอย่างไรที่มุ่งแต่ฉกฉวยหากำไร สร้างความร่ำรวยให้คนบางกลุ่ม มาถึงตรงนี้ 5 ตอน SCBX จะมีคำตอบอย่างไรให้กับบรรดาผู้ถือหุ้นโดยเฉพาะสำนักงานทรัพย์สินฯ ผู้ถือหุ้นใหญ่ กับการจะทะเล่อทะล่าละเลงเงินลงทุน 17,850 ล้านให้กับ Bitkub Exchange หรือกลุ่มของ จิรายุส นั้นคุ้มค่ากับความเสี่ยงหรือไม่อย่างไร นี่ก็ต้องติดตามกันต่อไป

Source

อ่านต่อ

]]>
1380226
ดีล SCBX ฮุบ Bitkub เริ่มเสี่ยง… ได้ไม่คุ้มเสีย? https://positioningmag.com/1376593 Tue, 08 Mar 2022 04:27:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376593 นับถอยหลัง Bitkub ขึ้นยานแม่ SCBX เสียงท้วงติงเริ่มปะทุ ได้คุ้มเสียหรือไม่ จะฝ่าด่านแบงก์ชาติอย่างไร เหตุมูลค่าดีลสูงจัด ใช่ Fair Value หรือไม่ ท่ามกลางความเสี่ยงของตลาดซิ่ง ปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนเร็ว คู่แข่งใหม่-เก่า Binance จ่อเขย่าขวัญ ขณะที่ตัวเลขรายได้กับวอลุ่มซื้อขายดูค้านสายตา โดยเฉพาะจ้าง Market Maker เทรดฟรีไม่มีพูดถึง และบททดสอบการโดนแฮกที่บิทคับยังต้องพิสูจน์ ปลอดภัยจริงหรือ? ขณะที่วิถีสตาร์ทอัป “ท๊อป-จิรายุส” Exit พร้อมเงินก้อนโต 1.78 หมื่นล้าน

ช่วงนี้กลุ่มไทยพาณิชย์อยู่ระหว่างปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และโครงสร้างการถือหุ้น ตามยุทธศาสตร์องค์กรที่ต้องการสร้างการเติบโตและมูลค่าในระยะยาวตามบริบทของโลกการเงินที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพิ่งประกาศเริ่มกระบวนการแลกหุ้นระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) สู่บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) (SCBX) เพื่อเดินเครื่องนำยานแม่ SCBX เข้าตลาดหลักทรัพย์แทนที่ SCB

ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนของ SCBX ที่มุ่งมั่นจะไม่ใช่แค่ทำธุรกรรมธนาคารแบบดั้งเดิมเริ่มมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และหนึ่งในการปรับโครงสร้างธุรกิจการเงินที่ประกาศเมื่อวันที่ 2 พ.ย. สร้างความสั่นสะเทือนวงการ กล่าวกันว่าเป็น “ซูเปอร์ดีล” หรือ “เซอร์ไพรส์ดีล” คือ การจะซื้อหุ้น 51% จากบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด หรือ Bitkub สตาร์ทอัปเจ้าของตลาดซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซี ที่เติบโตพรวดพราดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่าการลงทุนสูงกว่า 17,850 ล้านบาท

Photo : Shutterstock

ความเคลื่อนไหวในครั้งนั้นมีการวิเคราะห์กันว่าทั้ง SCBX และบิทคับ จะ WIN-WIN ด้วยกันทั้งคู่ ซึ่งราคาหุ้นของ SCB และ Kubcoin เหรียญของบิทคับเองราคาพุ่งไปกว่า 200% จากการแห่แหนเก็งกำไรแบบเย้ยฟ้าท้าดิน ท่ามกลางความประหลาดใจระคนสงสัยว่า พื้นฐานที่แท้จริงอยู่ตรงไหน มิหนำซ้ำเวลานั้นว่าไปแล้ว ดีลยังไม่จบไปเอาความมั่นใจมาจากไหนกัน? งานนั้นใครลาก ใครปั่น และใครได้ ใครเสีย? ล้วนแล้วแต่เป็นพฤติกรรมที่ชวนให้น่าตรวจสอบ (โปรดติดตามอ่านรายละเอียดได้ในตอนต่อไป)

เนื่องเพราะดีลนี้ตามขั้นตอนทำธุรกรรมการซื้อขายหุ้นจะอยู่ภายใต้การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยมีเงื่อนไขว่า ผลการสอบทานธุรกิจ (Due Diligence) ของ Bitkub ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญต้องออกมาเป็นที่น่าพอใจ หรือเรียกว่า “ตรงปก” และคู่สัญญาได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในสํญญาซื้อขายหุ้นครบถ้วน

ยังไม่ทันปัง ฤาจะพังเสียก่อน?

มีรายงานว่า กลุ่มไทยพาณิชย์ ได้ดำเนินการสอบทานธุรกิจ (Due Diligence) และยื่นคำขอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยในการลงทุนใน Bitkub เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาแล้ว แต่ยังไม่มีใครยืนยันรายละเอียดว่า หลังจากทำดีลดิลิเจนท์แล้วมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ หรือมูลค่าการซื้อขายระหว่างกันหรือไม่ ซึ่งหมายความว่า ขณะนี้ซูเปอร์ดีลระหว่าง SCBX กับ Bitkub อยู่ในการพิจารณาของแบงก์ชาติ

ผลการพิจารณาของแบงก์ชาติจะออกหัวหรือก้อยยังต้องติดตามกัน แต่จากสัญญาณที่แบงก์ชาติในฐานะผู้กำกับดูแลตลาดเงินดูเหมือนจะมีความเข้มข้นในการปกป้องความเสี่ยง เน้นมาตรการปลอดภัยไว้ก่อน หลายฝ่ายเชื่อว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะฝ่าด่านธปท.

ยิ่งในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ผลกระทบจากภัยพิบัติโควิดระบาด มาจนถึงวิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลมีความผัวผวนอย่างหนัก ตลาดคริปโตเคอร์เรนซีอยู่ในภาวะดิ่งเหวที่มองไม่เห็นก้นเหว ซึ่งหวั่นวิตกกันว่า ตลาดเทรดคริปโตฯ ที่ได้ชื่อว่า “ตลาดซิ่ง” ขึ้น-ลง ไม่มีเพดาน ไม่ต่างกับรถไฟเหาะตีลังกา จะเข้าสู่วงจร ‘ภาวะหมี’ แตกต่างจาก ‘ภาวะกระทิง’ ช่วงเฟื่องฟูปี 2564 ที่ SCBX จะเข้าซื้อ Bitkub เหมือนที่เคยเกิดขึ้นช่วง 3-4 ปีก่อนนี้ทำให้มูลค่าหดหายไปมหาศาล

กล่าวได้ว่า ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อคริปโตฯ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังจากที่ SCB ประกาศจะซื้อหุ้นบิทคับดังกล่าว มิพักต้องสงสัยว่า เวลานี้มูลค่าของตลาดคริปโตฯ ของบิทคับจะหายไปแค่ไหน ขณะที่นักลงทุนขยาดที่จะลงทุนเพิ่ม ติดอยู่บนดอยสูง เกิดความเสียหายโดยที่การฟื้นตัวยังมองไม่เห็น ย่อมส่งผลต่อ รายได้จากค่าต๋งในการเทรดและกำไรของบิทคับโดยตรง

ประกอบกับความเข้มงวดของแบงก์ชาติที่ผ่านมา ตีกรอบไว้ชัดเจนเป็นกฎเหล็กไว้ว่า ถึงแม้ธนาคารพาณิชย์จะปรับโครงสร้างธุรกิจการเงินอย่างไร แบงก์ต่างๆ ยังมีหน้าที่รับเงินฝากจากประชาชน เพราะฉะนั้นการดำเนินการใดๆ ที่จะนำความเสี่ยงมาสู่แบงก์ ธปท.จะไม่ยอมให้เกิดขึ้น พูดง่ายๆ ว่า กรณีของบิทคับก็ไม่มีข้อยกเว้น ต้องไม่นำความเสี่ยงใดๆมาสู่แบงก์ไม่ว่าจะในมิติใดก็ตาม

ปกติแล้ววงจรของตลาดคริปโตฯ ผันผวนขึ้นสูงสุดเป็นพันๆ เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ลงได้เป็นพันๆ เปอร์เซ็นต์เช่นกัน เป็นวงจรที่สลับไปมาอยู่เสมอ ตอนนี้ภาวะยิ่งผันผวนหนัก นั่นทำให้บิทคับ ถูกมองว่าอยู่ในโซนมีความเสี่ยงสูง ดีลที่ไทยพาณิชย์คาดหวังไว้สูงจะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต นำยานแม่ตะบึงไปในจักรวาล ถึงเวลานี้เริ่มมีคำถามถึง “ความเสี่ยง” ที่จะได้มากกว่าความคุ้มค่าหรือไม่? หรืออีกนัหนึ่ง ว่า ความปังยังไม่เกิด หรือ ความพังจะมาก่อน?

คำถามคือ แล้วผู้คุมกฎอย่างแบงก์ชาติ-ก.ล.ต.จะยอมหรือ?

SCBX ได้คุ้มเสีย? ที่แน่ๆ Bitkub นับเงินเพลิน

เดิมความปังของ SCBX ที่ว่ามาจากการคาดการณ์ว่าความเป็นเจ้าของในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด จะเปลี่ยนมือมาเป็น SCBS ภายในไตรมาสแรกปีนี้ และหลายฝ่ายเชื่อว่านี่คือการตอบโจทย์ในแผนกระโดดขึ้นยานแม่ SCBX ของ SCB เพราะเดิมการเป็นเพียงแค่ธนาคาร ทำให้จะลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมจึงเป็นเรื่องที่ยาก จึงจำเป็นต้องใช้บริษัทลูกเข้าทำ แม้ตัวเองจะเป็นผู้ลงทุน

เงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นที่มาในการตั้ง Holding Company เพื่อตั้งบริษัทลูกขึ้นมาหลายบริษัท เพื่อมองหาโอกาสใหม่ๆ ในการขยายกิจการท่ามกลางธุรกิจธนาคารที่เผชิญการเปลี่ยนแปลง ขณะที่ในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หากธนาคารเข้าลงทุนโดยตรงจะเจออุปสรรค โดยเฉพาะเรื่องการสำรองเงินเผื่อฉุกเฉินที่ธนาคารต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แต่ SCB มองเห็นว่าสินทรัพย์ดิจิทัลถือเป็น New Growth ที่น่าสนใจลงทุน เพราะจะช่วยให้ SCBX สามารถสร้างคุณค่าใหม่ที่สามารถเติบโตในระยะยาวไปกับโลกใหม่ได้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ยานแม่ ในการยกระดับสู่กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีการเงิน สามารถตอบสนองความต้องการใหม่ของผู้บริโภค และสามารถเข้าสู่สนามการแข่งขันแบบใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยเร็วในอีก 3-5 ปีข้างหน้า

Photo : Shutterstock

ทั้งที่ Bitkub นั้นคือ Decentralized Finance (Defi) หรือการกระจายศูนย์ทางการเงิน ซึ่งระบบเดิมจะมีธนาคารเป็นผู้ดูแล แต่ Defi นั้นจะเป็นการทำธุรกรรมที่ไม่ผ่านธนาคาร ซึ่งเหมือนสิ่งที่ย้อนแย้งกัน

ประการสำคัญ ด้วยปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนับแต่เข้าสู่ปีเสือ 2565 หากตลาดเทรดคริปโตฯ ดำดิ่งเช่นนี้ ซึ่งคาดกันว่า ไซเคิลจะอยู่ที่ประมาณ 3-4 ปีกว่า ผลประกอบการที่คาดหวังไว้ในการลงทุน Bitkub ย่อมไม่เป็นไปตามที่คาดอย่างแน่นอน นั่นจะผลักดันให้กลุ่มไทยพาณิชย์กลายเป็นเสือลำบาก มูลค่าการลงทุน 1.78 หมื่นล้านจะต้องมีคำถามว่าคุ้มหรือไม่เมื่อต้องแบกรับ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับ Bitkub โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้

เมื่อเทียบกับกำไรของบิทคับที่แปรผันตามตลาดเทรดคริปโตฯ ก่อนนี้ มีกำไรเกือบๆ 2 พันล้านบาทต่อปี ถือว่ามี Valuation ที่เหมาะสม จากนี้ไปยังจะเหมาะสมอยู่อีกหรือไม่ กับโอกาสการที่จะเติบโตเพิ่มขึ้นมีหรือไม่? นี่เป็นคำถามที่นักวิเคราะห์เริ่มมองกัน

SCBX ประเมินไว้ว่า หลังเข้าบริหารกิจการบิทคับ ข้อดีของ Bitkub คือ การเป็นกระดานเทรดสัญชาติไทยที่มีผู้เปิดบัญชีอยู่กว่า 3 ล้านบัญชี สามารถแลกเปลี่ยนจากเงินบาทเป็นเหรียญดิจิทัลได้เลย ขณะเดียวกัน ด้วยเหตุที่ Bitkub สามารถผูกบัญชีธนาคารไว้กับบัญชีผู้ใช้ ดังนั้นการที่ SCB เข้ามาถือหุ้น 51% ย่อมได้รับประโยชน์ในเรื่องนี้ เพราะปัจจุบันการจะถอนเงินจาก Bitkub เข้าบัญชีธนาคารต้องเสียค่าธรรมเนียม และ SCB สามารถดึงลูกค้าเข้ามาเปิดบัญชีกับตัวเองได้เพิ่มเพียงแค่ลดค่าธรรมเนียมให้น้อยกว่าเจ้าอื่นๆ

นอกจากนี้ ดีลครั้งนี้จะทำให้ SCB ได้เทคโนโลยีของ Bitkub เข้ามาโดยไม่จำเป็นต้องเริ่มลงทุนจากศูนย์ หรือเริ่มตั้งแต่ตั้งไข่ ขณะเดียวกัน Bitkub จะได้รับเงินทุนจำนวนมากเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบจาก SCB

แต่ด้วยดีลนี้เป็นดีลขนาดใหญ่ และหากเป็นดีลขนาดใหญ่โดยทั่วไปจะต้องมีการพิจารณาจากบอร์ด และการทำข้อตกลงร่วมกัน จากนั้นจะใช้ระยะเวลาในการคิดคำนวณหามูลค่าลงทุนที่เป็น Fiar Value ด้วยกันทั้งสองฝ่าย เมื่อได้ราคามายังจำเป็นต้องมีการเจรจาต่อรองกันอีกรอบ

จากข้อมูลทั้งหมดที่นำเสนอข้างต้น จึงกลายเป็นคำถามว่า “สรุปแล้วดีลนี้มัน win-win หรือได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่ายจริงหรือไม่?”

Photo : Shutterstock

หันมาดูฝากของ Bitkub บ้าง สำหรับ Bitkub ถือเป็น 1 ใน 7 กระดานเทรดเหรียญดิจิทัลของไทย ซึ่งได้ไลเซนส์จากคณะกรรมการกำกับและดูแลหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ก่อตั้งโดย “ท๊อป” จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาหลังจากก่อตั้งบริษัท ท๊อปกลายเป็นเน็ตไอดอลของนักเทรดคริปโตฯ มือใหม่ Bitkub เป็นที่รู้จักในหมู่คนรุ่นใหม่ บรรดาสตาร์ทอัป นักเรียนนักศึกษา ไปจนรายย่อยที่ต้องการเข้าสู่ตลาดเทรดคริปโตฯ เก็งกำไร

Bitkub นั้นขี่กระแสบิตคอยน์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ประกอบกับการปูพรมทำการตลาดแบบออฟไลน์-ออนไลน์ ให้ทุกคนได้เห็นและคุ้นชื่อ คิดถึง บิตคอยน์ คิดถึงบิทคับ ชวนเชื่อว่า นี่เป็นโลกใหม่ แพลตฟอร์มที่จะเชื่อมทุกคนไปสู่โลกอนาคต

ว่ากันว่า ก่อนที่ท๊อปจะปิดดีลกับไทยพาณิชย์ เขาเร่เสนอขายหุ้นให้บรรดาเศรษฐีทั่วฟ้าเมืองไทย แต่ไม่ได้รับความสนใจ ซึ่งน่าคิดว่า ทำไม? เพราะอะไร? เศรษฐีนายทุนทั้งหลายจึงปฏิเสธที่จะลงทุน? ต่อมานักวิเคราะห์เชื่อกันว่า สาเหตุที่หลายคนปฏิเสธ บิทคับอาจจะเห็นว่า มูลค่าที่ท๊อปเสนอมานั้นสูงเกินจริง ขณะที่คริปโตฯ เป็นเรื่องของความเสี่ยงที่ไม่แตกต่างจาก “บ่อนพนัน” โอกาสที่จะให้ผลประโยชน์คุ้มค่าในการลงทุนนั้นประเมินยาก

วันนี้ โดยหากไม่นำไปเปรียบเทียบกับ Binance ซึ่งเป็นกระดานเทรดระดับโลกที่คนไทยนิยมเปิดบัญชี Bitkub ใช้เวลาเพียง 3 ปีสามารถเป็นกระดานเทรดที่มีคนใช้มากที่สุดในไทย ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 3 ล้านบัญชี ทำให้ครองส่วนแบ่งการตลาดในไทยประมาณ 90% และมีมูลค่าการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในช่วง 9 เดือนแรกในปี 2564 มากกว่า 1.03 ล้านล้านบาท

เมื่อข่าวว่าท็อปจบดีลกับไทยพาณิชย์ได้เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2564 จึงทำให้หลายคนประหลาดใจ แน่นอนว่า ฝ่าย SCBX ก็ไม่ได้จีบแค่ท๊อปคนเดียว แต่สิ่งที่เป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ในกลุ่มแฟนคลับของบิทคับ คือ ทำไมเขาจึงยอมเสียการบริหารบริษัทที่ตัวเองก่อตั้งมากับมือโดยยอมขายให้ไทยพาณิชย์มากถึง 51% เหลือสถานะแค่ผู้ถือหุ้นจนแฟนคลับบางกลุ่มรับไม่ได้ถอนตัว ปิดบัญชีไปเลยก็มี

ก่อนหน้านี้ เคยมีการซื้อขายหุ้นในธุรกิจตลาดเทรดคริปโตฯ และโบรกเกอร์คริปโตฯ รายอื่นๆ ให้ผู้เล่นรายใหญ่เกิดขึ้นบ้าง เช่น การเข้าถือหุ้นใน Zipmex ของธนาคารกรุงศรีฯ แต่ก็ไม่ใช่สัดส่วนที่สูงถึง 51% เหมือนกรณี SCBX กับบิทคับ

ในวงการสตาร์ทอัป ว่ากันว่า จุดหมายปลายทางของธุรกิจเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งหรือจุดพีก ผู้ก่อตั้งที่มองเห็นโอกาสมักจะขายธุรกิจเพื่อทำกำไร หรือ “EXIT” ออกมาพร้อมกับเงินก้อนโตที่ได้จากนักลงทุน หรือผู้เล่นรายใหญ่ที่เข้ามาเทกโอเวอร์กิจการ เพื่อไปหาความท้าทายใหม่ หรือปั้นธุรกิจใหม่ย่อมดีกว่า และเป็นวิถีที่สตาร์ทอัพกระทำกัน เพราะ “จังหวะ” คือ “โอกาส” นั่นเอง

“SCB เวลานั้นต้องการหาการฟื้นตัว หาธุรกิจใหม่เพื่อการเติบโต และอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็วคือ Start Up โดย Start Up ที่เป็นไฟแนนซ์และเติบโตเร็วที่สุดก็ต้องตลาดคริปโตเคอร์เรนซี นั่นจึงทำให้ก่อนที่จะมาจบดีลกับ Bitkub นั้น SCB มีการส่งทีมงานผู้คุยกับ Exchange ที่มีใบไลเซนส์จากคณะกรรมการกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทุกราย เพราะเขาสนใจเข้าลงทุนเพื่อให้มาเป็นธุรกิจหลักในอนาคต แต่หลายบริษัทเขามองต่างว่า นี่คือธุรกิจหลักที่กำลังเติบโตอยู่ในปัจจุบัน และไม่ต้องการให้มีใครเข้ามาควบคุมหรือแบ่งปันอำนาจเลยมีการปฏิเสธไป แต่เผอิญการพูดคุยกัย Bitkub มันประสบความสำเร็จ จึงเกิดดีลนี้ขึ้น” แหล่งข่าวในวงการตลาดคริปโตฯ แสดงความเห็น

“นอกจากนี้ นี่เป็นความฉลาดท๊อป-จิรายุสเจ้าของ Bitkub ที่มองออกว่า ตลาดในช่วงนั้นสำหรับบิทคับน่าจะเป็นจุดสูงสุด (Peak) แล้ว ดังนั้น การที่ได้รับโอกาสเป็นเม็ดเงินที่เหมาะสม จึงไม่แปลกที่ยอมขายหุ้นบางส่วนออกมาเพื่อทำกำไร มันก็เหมือนกับหลายธุรกิจอื่นๆ ที่เคยเป็นข่าวก่อนหน้านี้ เมื่อมีรายใหญ่เข้ามาซื้อกิจการส่วนมากก็จะเป็นช่วงที่อยู่บนจุดสูงสุดของบริษัทนั้นแล้ว ขายไปแล้วได้กำไรได้เงิน อนาคตจะออกไปเปิดใหม่อีกย่อมทำได้” แหล่งข่าวกล่าวและว่า นี่เป็นอีกสิ่งที่จะทำให้ในอนาคตตลาดคริปโตฯ เมืองไทยหวือหวานั่นคือราคาประเมินในดีลดังกล่าวที่สูงมาก นั่นย่อมทำให้ต่อไป หากธนาคารไหนสนใจจะเข้าเทกโอเวอร์ Exchange แบบนี้ต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้ามาลงทุน บนความเสี่ยงที่มีอยู่

นั่นหมายความว่า เมื่อไรก็ตามที่ซูเปอร์ดีลนี้จบสมบูรณ์ SCBX เดินไปบนความเสี่ยงของธุรกิจบิทคับแต่สำหรับกับ “ท๊อป-จิรายุส” มีแต่ได้กับได้ มีคนมาช่วยรับความเสี่ยงไป และ ยัง Exit ออกมาด้วยเม็ดเงิน 1.78 หมื่นล้าน นับกันเพลินๆ มองหาโอกาสใหม่ให้ตัวเองสบายๆ และยังสร้างชื่อเสียงให้ตัวเอง หลัง SCBX ใส่เงินลงทุนมา บิทคับ ที่ก่อตั้งกลายเป็น “ยูนิคอร์น” ติดปีกบินเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในแวดวงสตาร์ทอัปเมืองไทยอีกด้วย

ดังจะเห็นได้จากการที่บริษัทลูกในเครือบิทคับในส่วนที่ท๊อป-จิรายุส ยังดูแลเริ่มขยับร่วมมือกับพันธมิตร เปิดธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นๆ (โปรดติดตามอ่านรายละเอียดได้ในตอนถัดไป)

3.5 หมื่นล้านบาทสูงไปหรือเปล่า?

ทีนี้กลับมาย้อนดูความเสี่ยงของ SCBX กันทีละประเด็น เริ่มกันที่มูลค่าของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ที่ถูกคำนวณว่าสูงถึง 3.5 หมื่นล้านบาท และ SCB ต้องใช้เงินสูงถึง 1.78 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ได้สิทธิในการเข้าถือหุ้น 51% นั้น จนปัจจุบันนี้ก็มีหลายเสียงที่มองว่า มูลค่าดังกล่าวนั้นสูงมาก สูงจนอาจเรียกได้ว่าสูงจนเกินไป แม้จะมีรายได้ 9 เดือนแรกปี 2564 ที่ระดับ 3.27 พันล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1.53 พันล้านบาท นั่นเพราะทุกธุรกิจย่อมมีความเสี่ยง ไม่พ้นแม้แต่ตลาดคริปโตเคอร์เรนซี่ เพราะอาจจะไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับปัจจุบัน โดยราคาเหรียญสำคัญอาจจะลดลงไป ซึ่งจะมีผลให้รายได้ของบริษัทลดลงไปด้วย

รายได้กับวอลุ่มที่ชวนสงสัย

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ชวนสงสัย นั่นคือ รายได้กับปริมาณการซื้อขายของ Bitkub เพราะจากข้อมูลที่นำเสนอมาด้วยวอลุ่มซื้อขายรวม 9 เดือน 1.03 ล้านล้านบาท กับค่าธรรมเนียม 0.25% นั้นไม่สามารถออกดอกผลมาเป็นรายได้ถึงระดับ 3.27 พันล้านบาทได้ และน่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.5 พันล้านบาท

“เขาอาจจะมีรายได้จากค่าฟีในการถอนเงินเข้ามาเสริม แต่เชื่อว่ามันไม่ได้เยอะขนาดนั้น เพราะหากต้องการให้ได้รายได้ระดับนั้นมันต้องใช้ Trading Volume ประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท คือมากขึ้นอีก 2 แสนล้านบาท อันนี้มันทำให้น่าสงสัย”

Closeup – Woman is checking Bitcoin price chart on digital exchange on smartphone, cryptocurrency future price action prediction.

Market Maker นัยแฝงของค่าฟี

แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า การจะออกเหรียญแต่ละเหรียญนั้นมันมีต้นทุนหลายด้าน นั่นรวมถึงการมี Market Maker หรือบุคคลที่ถูกเชิญเข้ามาช่วยดูแลสภาพคล่อง เพื่อให้ตลาดเทรดนั้นมีความเคลื่อนไหว เพราะว่าไปแล้ว ตลาดเทรดในไทยยังเป็นกลุ่มเฉพาะนักลงทุนในตลาดไม่ได้มากเหมือนตลาดหุ้นที่มีมานาน จำเป็นต้องอาศัยกลุ่มคนมาสร้างสภาพคล่อง ซึ่งบางเหรียญ Market Maker อาจมีมากกว่า 3-5 ราย ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับ Trading Volume ที่ข้อมูลของบิทคับเปิดเผยมา ปริมาณการซื้อขายแท้จริงจึงไม่น่าจะถึง เพราะส่วนนี้รวมต้องไม่ลืมนับ Maket Maker เข้าไปด้วย

“มากที่สุดอาจเหลือแค่ 1 ใน 3 จากข้อมูลที่นำเสนอออกมา และเราต้องไม่ลืมว่า Maket Maker พวกนี้เข้าเทรดฟรี โดยไม่มีการคิดค่าฟี หรือค่าธรรมเนียม นั่นยิ่งทำให้ตัวเลขรายได้ไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น”

กัลฟ์กับไบแนนซ์เขย่าขวัญ SCBX – บิทคับ

ประเด็นถัดมาถือว่าเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงทางธุรกิจนั่นคือ โอกาสที่จะเกิด “คู่แข่งขัน” นั้นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการเข้ามาโดยตรงจากต่างประเทศ หรือการผนึกกำลังเป็นพันธมิตรร่วมกับธนาคารอื่นๆ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีแนวคิดเดียวกันกับ SCB เกิดขึ้น นั่นย่อมหมายถึงสงครามในการแย่งชิงจำนวนบัญชีลูกค้าในอนาคตที่มีความเป็นไปได้มาก แม้ Bitkub จะออกตัวนำเจ้าอื่นๆ ไปก่อนก็ตาม แต่หากเกิดสงครามแย่งชิงลูกค้าทำให้ต้องเกิดการตลาดลดราคาค่าบริการ ซึ่งจะนำไปสู่การไม่คุ้มค่ากับการลงทุนตามมา

กรณีของบริษัทกัลฟ์ เอ็นเนอร์จีดีเวลลอปเม้นท์ ส่งกัลฟ์ อินโนวา ลงนามบันทึกความร่วมมือกับกลุ่มไบแนนซ์ (Binance) ซึ่งดำเนินธุรกิจ ตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลรายใหญ่เบอร์ต้นๆ ของโลกที่มีปริมาณการซื้อขายมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ที่นักเทรดคริปโตฯ เมืองไทยรู้จักกันดีจะเข้ามาเปิดแนวรุกเปิดตลาดในไทย กำลังได้รับการจับตาว่า จะเข้ามาเปลี่ยนเกมตลาดคริปโตฯ ที่บิทคับครองส่วนแบ่งตลาดอยู่อย่างแน่นอน

งานนี้นักวิเคราะห์มองกันว่า บิทคับ ที่เคยดำเนินธุรกิจแบบไร้คู่แข่งจะเจอศึกหนัก และเรื่องนี้ถือเป็นความเสี่ยงของ SCBX ที่แม้จะคาดไว้แล้ว แต่ก็ไม่คิดว่าจะมาเร็วขนาดนี้

1.78 หมื่นล้านบาทคืนทุนเมื่อใด?

มาถึงคำถามที่ขณะนี้กำลังเป็นประเด็น นั่นคือ โอกาสในการคืนทุนของ SCBX จะต้องรอถึงเมื่อใด นักวิเคราะห์แสดงความเห็นว่า หากคำนวณจากตัวเลขที่ Bitkub นำเสนอในช่วงที่เป็นข่าวคืองวด 9 เดือนแรกปี 2564 มาคำนวณโอกาสในการคืนทุนภายใน 1-2 ปีนั้นยังเป็นไปได้ยากเพราะตลาดคริปโตฯ เมืองไทยแม้จะเติบโตต่อเนื่อง แต่ยังไม่ใหญ่มากพอกับตลาดในต่างประเทศ อีกทั้งการจะทำให้เติบโตได้ต้องมีโปรดักต์ที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดนักลงทุนรายใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาลงทุน

เมื่อประมวลจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นดังที่กล่าวมาการคืนทุนอาจจะใช้เวลานานกว่าเดิม ที่เหลือต้องพยายามอย่างหนักเพื่อรอให้ไซเคิลของคริปโตเคอร์เรนซีหวนกลับมาอยู่ในภาวะกระทิง และผลักดันแผนในการทำ IPO ของบิทคับที่คาดว่าจะระดมทุนได้อีกรอบให้ลุล่วงโดยเร็ว แต่ปัญหาที่จะตามมาก็คือ ปัจจัยเสี่ยงกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของบิทคับ SCBX น่าจะต้องทำใจกับมูลค่าที่ลดลง และประเด็นที่ไม่เคยมีใครมอง นั่นคือ การลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็ว และการให้ความสำคัญในเรื่องระบบหลังบ้านและด้าน SECURITY เพราะ Bitkub เคยมีปัญหารับออเดอร์ไม่ทัน และยังไม่เคยเจอบททดสอบที่สำคัญ เช่น การโดนแฮกข้อมูล (Hack) ในฐานะ Exchange ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นกับ Exchange รายใหญ่มามากแล้ว

“ถ้าโดนแฮกขึ้นก็ไม่รู้จะเกิดอะไรกับ SCB ยิ่งโดนหลังจากดีลนี้จบแล้วยิ่งน่ากังวล เพราะเวลาแฮกกันเขาไม่ได้แฮกกันน้อยๆ มันเป็นเม็ดเงินจำนวนมาก และการที่ Exchange โดนแฮก มันหมายถึงต้องรับผิดชอบในส่วนที่สูญหายไปของลูกค้าด้วย ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ต้องติดตามว่าจะรับมือกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร”

งานนี้ต้องติดตามกันต่อไป เมื่อ SCBX กระโดดขี่หลังยูนิคอร์น Bitkub บทสรุปสุดท้ายจะเป็นอย่างไร

(โปรดติดตามอ่านตอนที่ 2 ย้อนรอยซูเปอร์ดีล หุ้นพุ่ง-Kubcoin ทะลุเมฆ ใครปั่น ใครได้ ใครเสีย ในวันจันทร์ถัดไป)

Source

]]>
1376593
GULF จับมือ Binance ร่วมพัฒนาตั้งศูนย์ซื้อขาย ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ ในไทย​  https://positioningmag.com/1370654 Mon, 17 Jan 2022 13:17:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370654 หลังมีกระเเสข่าวว่า Binance แพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ร่วมมือกับบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF เอกชนรายใหญ่ของไทย เพื่อศึกษาธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ล่าสุดทาง GULF แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า บริษัท กัลฟ์ อินโนวา จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับกลุ่ม Binance เพื่อร่วมกันศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในประเทศไทย

โดยบริษัทเล็งเห็นถึง ‘การเติบโตอย่างก้าวกระโดด’ ของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในประเทศไทย จากการที่เศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องจะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศ และจะมีความสำคัญในชีวิตประจำวันของประชาชนมากขึ้น

“ความร่วมมือกับ Binance ดังกล่าว จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชนของประเทศ จากการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีความพร้อมในการประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ติจิทัลมาตอบสนองความต้องการดังกล่าว”

GULF เป็นบริษัทด้านพลังงาน ที่มีเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาคธุรกิจและภาคการเงิน โดย บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS ที่ GULF ถือหุ้นอยู่ 42.25% ได้ร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) จัดตั้ง ‘บริษัทร่วมทุน’ อย่าง AISCB ที่เปิดมาให้บริการด้านการเงินดิจิทัลโดยเฉพาะ
.
ขณะที่ Binance มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เเละเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีการเติบโตเร็วที่สุดเป็นประวัติการณ์ มีปริมาณการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก

Binance ระบุว่า การทำข้อตกลงกับ GULF ถือเป็น ‘ก้าวแรก’ สำหรับการเปิดโอกาสในไทย อย่างไรก็ตาม Binance ประกาศหยุดให้บริการเป็น ‘ภาษาไทย’ มาตั้งแต่วันที่ 19 พ.ย. 2564 นับเป็นความพยายามที่จะปรับตัวเข้ากับกฎระเบียบของแต่ละประเทศ

โดยในช่วงที่ผ่านมา Binance มุ่งใช้กลยุทธ์ขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ อย่างการได้รับการอนุมัติเบื้องต้นจากธนาคารกลางของบาห์เรน ให้เป็นผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัล และบรรลุข้อตกลงกับ Dubai World Trade Centre Authority เกี่ยวกับกฏหมายสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นต้น

ที่มา :  SET , Bloomberg 

]]>
1370654
‘Binance’ เเพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตฯ ยักษ์ใหญ่ เข้ม ‘ตรวจสอบ’ ลูกค้ามากขึ้น สกัดฟอกเงิน https://positioningmag.com/1348021 Sun, 22 Aug 2021 11:19:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348021 หลังเผชิญความกดดันจากหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลก ‘Binance’ เเพลตฟอร์มซื้อขายสกุลเงินคริปโตฯ รายใหญ่ ประกาศเพิ่มความเข้มงวดในการ ‘ตรวจสอบประวัติ’ ลูกค้ามากขึ้น เพื่อต่อต้านการฟอกเงิน โดยจะมีผลบังคับใช้ทันที

ที่ผ่านมา ‘Binance’ ต้องเจอคำเตือนและการเฝ้าระวังจากหน่วยงานทางการเงินของทั้งสหรัฐฯ อังกฤษ เยอรมนีเเละญี่ปุ่น เนื่องจากข้อกังวลเกี่ยวกับการเเลกเปลี่ยนสกุลเงิน ‘คริปโตเคอร์เรนซี’ ที่เชื่อมโยงกับการฟอกเงิน มีความเสี่ยงต่อผู้บริโภค

Binance เป็นเเพลตฟอร์มซื้อขายสกุลเงินคริปโตฯ รายใหญ่ที่สุดของโลก ที่มีบริษัทเเม่จดทะเบียนที่หมู่เกาะเคย์แมน มีท่าทีจะสานสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ โดยเริ่มลดการเสนอขายผลิตภัณฑ์ รวมถึงโทเคนที่เชื่อมโยงกับหุ้น

Janet Yellen รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ และ Christine Lagarde ประธานธนาคารกลางยุโรป เป็นหนึ่งในผู้บริหารระดับสูง ที่เเสดงความกังวลเกี่ยวกับการฟอกเงินในตลาดคริปโตฯ โดยเฉพาะบนเเพลตฟอร์มของ Binance

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางเนเธอร์แลนด์ ระบุว่า Binance ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายต่อต้านการฟอกเงิน และต่อต้านการเงินของกลุ่มก่อการร้าย

ทาง Binance จึงมีการยกระดับมาตรการตรวจสอบลูกค้าให้เข้มงวดมากขึ้น โดยผู้ใช้บริการจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการได้ ส่วนผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว จะสามารถใช้บริการได้เพียงถอนเงิน ยกเลิกคำสั่งซื้อ และปิดสถานะการลงทุนเท่านั้น โดยตอนนี้ มีเพียงการตรวจสอบ ID ผู้ใช้ซึ่งต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ใบขับขี่ หรือหนังสือเดินทาง

Changpeng Zhao ซีอีโอของ Binance เเถลงว่า บริษัทตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลมากขึ้น เพื่อปรับปรุงมาตรฐานระดับโลก

อย่างไรก็ตาม นักกฎหมายบางคน สงสัยว่าเพิ่มมาตรการตรวจสอบผู้ใช้นี้ จะทำให้หน่วยงานกำกับดูแลยอมผ่อนคลายการเฝ้าระวังลงหรือไม่ โดยให้ความเห็นว่า

มันเป็นคำแถลงทางการตลาดที่ดี แต่จากมุมมองของหน่วยงานกำกับดูแลนั้นยังไม่เพียงพอ

เนื่องจาก Binance ดำเนินการตรวจสอบตามความสมัครใจของผู้ใช้ ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลไม่ทราบว่าพวกเขามีอำนาจควบคุมการตรวจสอบตัวตนหรือไม่ และไม่มีใครสามารถตรวจสอบว่าพวกเขากำลังดำเนินการอย่างถูกต้องหรือไม่

ข้อมูลจาก CryptoCompare ระบุว่า Binance มีปริมาณการซื้อขายในเดือนก..ที่ระดับ 455 ล้านดอลลาร์ ลดลงเกือบ 1 ใน 3 จากเดือนมิ.หลังจากตลาดคริปโตฯ ชะลอตัวลง แต่ก็ยังคงเป็นเเพลตฟอร์มที่มีปริมาณการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล สูงสุดเป็นอันดับ 1 ของโลก

 

ที่มา : Reuters , Economictimes 

]]>
1348021