Logistics – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 26 Dec 2023 08:53:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘Maersk’ เตรียมกลับมาใช้เส้นทาง ‘ทะเลแดง’ อีกครั้ง หลังสหรัฐฯ และพันธมิตรประกาศคุ้มกันเรือสินค้า https://positioningmag.com/1457247 Tue, 26 Dec 2023 07:34:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457247 บริษัทเดินเรือรายใหญ่อย่าง ‘เมอส์ก’ เตรียมกลับมาใช้เส้นทางทะเลแดงอีกครั้ง หลังสหรัฐฯ และพันธมิตรประกาศคุ้มกันเรือสินค้าภายใต้ปฏิบัติการ Prosperity Guardian หลังจากบริษัทเดินเรือหลายแห่งต้องเลี่ยงไปใช้เส้นทางจากการโจมตีของกลุ่มติดอาวุธฮูตี

สหรัฐอเมริกาและพันธมิตร ได้ประกาศปฏิบัติการ Prosperity Guardian เพื่อปกป้องเส้นทางเดินเรือในทะเลแดง หลังจากกลุ่มติดอาวุธฮูตี (Houthi) ได้โจมตีเรือสินค้าบริเวณช่องแคบบับเอลมันเดบ (Bab el-Mandeb) ซึ่งอยู่ระหว่างประเทศเยเมนกับจิบูติ

สำหรับปฏิบัติการ Prosperity Guardian สหรัฐอเมริกาและพันธมิตร เช่น สหราชอาณาจักร บาห์เรน แคนาดา นอร์เวย์ อิตาลี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สเปน ฯลฯ จะวางกำลังคุ้มกันบริษัทเดินเรือที่ขนส่งสินค้าระหว่างทะเลแดงจนถึงคลองสุเอซเพื่อความปลอดภัย

เมอส์ก (Maersk) ได้กล่าวในแถลงการณ์ของบริษัทว่าข่าวดังกล่าวถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับอุตสาหกรรมเดินเรือ และจะมีการกลับมาเดินเรือผ่านเส้นทางดังกล่าวภายในอีกไม่กี่วันหลังจากนี้

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Maersk บริษัทเดินเรือยักษ์ใหญ่ได้ประกาศหยุดการเดินเรือในพื้นที่ทะเลแดง เนื่องจากเรือสินค้าโดนโจมตีโดยกลุ่ม Houthi ซึ่งทางกลุ่มต้องการตอบโต้ต่อกรณีที่อิสราเอลโจมตีฉนวนกาซา และทางกลุ่มยังได้ออกมาเตือนว่าจะโจมตีเรือที่เดินทางผ่านเส้นทางดังกล่าว

ไม่เพียงเท่านี้ กลุ่ม Houthi ยังได้ออกมาเตือนว่าจะโจมตีเรือที่เดินทางผ่านเส้นทางดังกล่าว รวมถึงโจมตีเรือสินค้าที่มีเจ้าของเป็นบริษัทอิสราเอล หรือธงอิสราเอล ทำให้ Maersk และบริษัทเดินเรือรายอื่นอย่าง CMA CGM และ MSC ตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทางการเดินเรืออ้อมทวีปแอฟริกาแทน เพื่อความปลอดภัยของลูกเรือ ขณะที่บริษัทน้ำมันรายใหญ่อย่าง BP ตัดสินใจหยุดการขนส่งน้ำมันผ่านเส้นทางดังกล่าว

ผลกระทบจากการโจมตียังทำให้บริษัทหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น IKEA ได้กล่าวว่าการส่งสินค้าให้กับลูกค้าอาจประสบปัญหาล่าช้า

ทะเลแดงถือเป็นจุดเชื่อมโยงหลักระหว่างเอเชียและยุโรปผ่านทางคลองสุเอซ นั้นคิดเป็นสัดส่วนของการค้าโลกถึง 10-15% ทำให้การปกป้องบริษัทเดินเรือจากการโจมตีของกลุ่ม Houthi มีความสำคัญอย่างยิ่ง

ที่มา – Global News, CNN

]]>
1457247
ยักษ์ใหญ่บริษัทขนส่งในสหรัฐฯ หลังจากนี้ไม่ใช่ UPS หรือ FedEx อีกต่อไป แต่เป็น Amazon ที่แซงหน้า 2 เจ้านี้ไปแล้ว https://positioningmag.com/1454255 Mon, 04 Dec 2023 06:33:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1454255 Amazon ยักษ์ใหญ่ E-commerce ในสหรัฐอเมริกา เตรียมขึ้นเป็นผู้เล่นยักษ์ใหญ่ด้านการขนส่งพัสดุ หลังจากตัวเลขปริมาณการส่งพัสดุสินค้าในแดนมะกันแซงหน้าบริษัทขนส่งในสหรัฐฯ รายใหญ่อย่าง UPS หรือ FedEx ไปแล้ว และบริษัทยังเตรียมนำโมเดลดังกล่าวขยายออกนอกประเทศด้วย

ข้อมูลล่าสุดในปี 2022 ที่ผ่านมา Amazon ได้จัดส่งพัสดุไปแล้วในสหรัฐอเมริกามากถึง 5,200 ล้านชิ้น ทำให้ล่าสุดบริษัทมีปริมาณมีปริมาณพัสดุในสหรัฐอเมริกาแซงหน้าผู้เล่นรายสำคัญอย่าง FedEx หรือแม้แต่ UPS ไปแล้ว ซึ่ง 2 ผู้เล่นรายดังกล่าวนั้นปริมาณขนส่งพัสดุในแดนมะกันแทบไม่เติบโตด้วยซ้ำ

ปัจจุบัน Amazon มีปริมาณพัสดุในสหรัฐอเมริกาแซงหน้า FedEx ยักษ์ใหญ่ขนส่งแดนมะกันไปเมื่อปี 2020 ที่ 3,300 ล้านชิ้น ก่อนที่จะแซงหน้า UPS ยักษ์ใหญ่ขนส่งอีกรายไปในปีนี้ เนื่องจากบริษัทคาดการณ์ว่าปริมาณขนส่งพัสดุจะไม่เกินสถิติที่บริษัททำได้ที่ 5,300 ล้านชิ้น คาดว่าในปี 2023 นี้ Amazon จะมีปริมาณพัสดุขนส่งผ่านบริษัทมากถึง 5,900 ล้านชิ้น

คำถามคือ ทำไมปริมาณพัสดุของ Amazon นั้นกลับเพิ่มขึ้น คำตอบหนึ่งคือ เครือข่ายขนส่งพัสดุของ Amazon ยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นทันตาเห็นจากนโยบายของบริษัทในปี 2018 ที่ไฟเขียวให้ผู้สนใจสามารถซื้อแฟรนไชส์และนำไปตั้งสาขาส่งพัสดุตามเมืองเล็กๆ ทั่วสหรัฐอเมริกาได้ด้วยเม็ดเงินแค่ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น

ถ้าหากผู้เล่นรายใดมีเครือข่ายขนส่งที่ทรงประสิทธิภาพแล้ว ลูกค้าเองก็อยากใช้งานของบริษัทขนส่งนั้นเพิ่มมากขึ้น แต่สำหรับ Amazon เองแล้วนั้นมีเครือข่าย E-commerce ของตัวเอง ยิ่งเป็นปัจจัยบวกทำให้ลูกค้าทั้งผู้เล่นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่มาขายสินค้าในแพลตฟอร์มมากขึ้น

Photo : Shutterstock

ข้อมูลล่าสุด Amazon มีพนักงานที่เป็นแฟรนไชส์ขนส่งที่ขับรถส่งสินค้ามากถึง 200,000 คน ส่งผลทำให้เครือข่ายขนส่งของบริษัทมีเพิ่มมากขึ้นทันตาเห็นทันที

Brian Olsavsky ซึ่งเป็น CFO ของบริษัทกล่าวว่า การขยายโปรแกรมแฟรนไชส์ของบริษัททำให้ระยะเวลาการส่งสินค้าของบริษัทลดลง ทำให้สินค้าถึงมือผู้บริโภคได้ไวขึ้น และยังเพิ่มกำไรให้กับบริษัทด้วย

ช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น Amazon เองยังเคยเป็นลูกค้ารายใหญ่ของ FedEx และ UPS มาแล้ว ก่อนที่บริษัทจะขยายเครือข่ายขนส่งเป็นของตัวเอง เนื่องจากปริมาณสินค้านั้นคุ้มค่ากับการลงทุนของบริษัทแล้ว

แม้ว่าในปีนี้คาดว่าปริมาณพัสดุในภาพรวมของสหรัฐอเมริกาจะลดน้อยลงจากเรื่องการจับจ่ายของผู้บริโภค ซึ่งเป็นผลจากสภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตช้าลง จากผลของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดีสำหรับปริมาณพัสดุในสหรัฐอเมริกานั้น Amazon ยังตามหลัง USPS อยู่ (ซึ่งเทียบบริการได้กับไปรษณีย์ไทย) ซึ่ง UPS และ FedEx ได้ใช้บริการ USPS ในการส่งพัสดุ ถ้าหากเครือข่ายของบริษัทไม่มีในปลายทาง แตกต่างกับ Amazon ที่มีเครือข่ายของบริษัทอยู่ทั่วสหรัฐอเมริกาแล้ว

นอกจากนี้ถ้าหากโมเดลโปรแกรมแฟรนไชส์ของ Amazon ในสหรัฐอเมริกาได้ผลดีมากแล้ว บริษัทเตรียมนำโมเดลธุรกิจดังกล่าวมาใช้ในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย ที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของบริษัทอีกแห่ง

ที่มา – Fox Business, Daily Mail, Logistics Insider

]]>
1454255
บริษัทแม่ J&T Express เตรียมเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกงในเดือนนี้ ระดมทุนมากถึง 18,000 ล้านบาท https://positioningmag.com/1448214 Tue, 17 Oct 2023 05:45:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1448214 บริษัทขนส่งรายใหญ่อย่าง J&T Global Express ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ J&T Express เตรียมเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกงในเดือนนี้ โดยระดมทุนมากถึง 500 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยราวๆ 18,000 ล้านบาท เม็ดเงินดังกล่าวบริษัทเตรียมนำไปขยายธุรกิจ รวมถึงระบบคัดแยกสินค้า

J&T Global Express ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริการขนส่ง J&T Express ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ล่าสุดประกาศระดมทุนมากถึง 500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 18,000 ล้านบาท หลังจากที่บริษัทได้รับไฟเขียวจากตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงหลังยื่นไฟลิ่งในช่วงที่ผ่านมา

ถ้าหากคำนวณราคาต่อหุ้นที่บริษัทได้นำเสนอขายที่ 12 ดอลลาร์ฮ่องกง กับจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท 326.6 ล้านหุ้น คาดว่าบริษัทจะมีมูลค่ากิจการมากถึง 105,750 ล้านฮ่องกงดอลลาร์ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 493,000 ล้านบาท

เม็ดเงินที่ได้จากการระดมทุน J&T Global Express จะนำไปขยายเครือข่ายลอจิสติกส์ ขยายคลังสินค้า ลงทุนในระบบคัดแยกสินค้าในประเทศที่บริษัทดำเนินธุรกิจอยู่ นอกจากนี้ยังรวมถึงขยายธุรกิจไปยังประเทศอื่นๆ หรือแม้แต่ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนด้วย

สำหรับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทนั้นประกอบไปด้วย Tencent และ SF Express บริษัทขนส่งอีกราย รวมถึง Sequoia จะลงทุนมูลค่ารวมกัน 236.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ผู้ลงทุนรายอื่น เช่น Hillhouse และกองทุนความมั่งคั่งของสิงคโปร์อย่าง Temasek ก็ได้ลงทุนในบริษัทลอจิสติกส์รายนี้เช่นกัน

ก่อนหน้านี้บริษัทตั้งเป้าที่จะ IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา และคาดว่าจะระดมทุนได้มากถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ดีบริษัทได้พับแผนดังกล่าว และเบนเป้ามา IPO ในตลาดหุ้นฮ่องกงแทน ขณะเดียวกันเม็ดเงินที่ระดมทุนนั้นลดลงถึง 50% เนื่องจากสภาวะตลาดในตอนนี้

ขนาดเม็ดเงินระดมทุนของ J&T Global Express จะทำให้บริษัทขนส่งรายดังกล่าวเตรียมขึ้นแท่นเป็น IPO ใหญ่อันดับ 2 ของตลาดหุ้นฮ่องกงในปีนี้ด้วย หลังจากตลาดหุ้นฮ่องกงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาแทบไม่ค่อยมีบริษัทขนาดใหญ่เข้ามาระดมทุนมากนัก

J&T Global Express ก่อตั้งธุรกิจขึ้นในประเทศอินโดนีเซียช่วงปี 2015 โดย Tony Chen Mingyong ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Oppo ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนสัญชาติจีน

ในรายงานของบริษัทที่ได้อ้างอิงข้อมูลของ Frost & Sullivan ในปี 2022 ที่ผ่านมา J&T Global Express มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากถึง 22.5% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าหากวัดปริมาณพัสดุที่ส่ง มากกว่าคู่แข่งอันดับ 2 มากถึง 3 เท่า

ปัจจุบัน J&T Global Express มีเครือข่ายครอบคลุม 13 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย กัมพูชา สิงคโปร์ จีน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เม็กซิโก บราซิล และอียิปต์ โดยสำหรับในประเทศไทยนั้นลูกค้าหลักของบริษัทลอจิสติกส์รายนี้คือลูกค้าจากแพลตฟอร์ม E-commerce

ผลประกอบการ 6 เดือนแรกของบริษัทนั้นทำรายได้ราวๆ 146,893 ล้านบาท เติบโต 18.5% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา โดยวันแรกของการซื้อขายหุ้น J&T Global Express คือวันที่ 27 ตุลาคมนี้

ที่มา – South China Morning Post, The Jakarta Post

]]>
1448214
ไปรษณีย์ไทย เผยกลยุทธ์ เปลี่ยนภาพจำของลูกค้าให้ดีกว่าเดิม เพิ่มคุณภาพการส่งสินค้า เข้าถึงบริการง่าย https://positioningmag.com/1443670 Thu, 07 Sep 2023 05:37:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443670 ไปรษณีย์ไทย ครบรอบ 140 ปี ได้เปิดเผยกลยุทธ์ที่จะเจาะกลุ่มลูกค้าเพิ่มมากขึ้น โดยเน้นไปยังเรื่องมุมมองของผู้บริโภค ผ่านคุณภาพการให่้บริการ รวมถึงบริการที่เข้าถึงง่าย และทำมากกว่าที่ผู้บริโภคคาดหวังเพื่อที่จะเปลี่ยนมุมมอง

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้กล่าวถึงการฉลองครบรอบ 140 ปี ว่าจากในอดีตไปรษณีย์ไทยเปรียบเหมือนกับคนส่งสาร แต่ปัจจุบันกลายเป็นส่งสินค้า เขามองว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไว และก้าวกระโดดมาก ทำให้พฤติกรรมคนเปลี่ยนไป เช่น จากการส่งข้อความแบบ Physical เปลี่ยนเป็นข้อความแบบดิจิทัล

สิ่งที่เกิดขึ้นต้องทำให้ไปรษณีย์ไทยก็ต้องปรับเปลี่ยนเช่นกัน เขาได้ยกตัวอย่างแม้แต่การแพร่ระบาดของโควิดก็เปลี่ยนพฤติกรรม ขณะเดียวกันคู่แข่งอย่างบริษัทเทคโนโลยีก็หันมาทำธุรกิจ Logistics เช่นกัน ส่งผลทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคา

สำหรับกลยุทธ์ของไปรษณีย์ไทยล่าสุดคือ 1-4-0 โดย 1 คือ การเป็นที่หนึ่งเรื่องคุณภาพ 4 คือ เส้นทางขนส่งทางรถยนต์ ทางรถไฟ ทางอากาศ และทางดิจิทัล รวมถึง 0 คือ การลดข้อร้องเรียนให้เป็นศูนย์ หรือแก้ปัญหาให้ผู้ใช้บริการอย่างรวดเร็วที่สุด และ Net Zero เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ – กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ภาพจากบริษัท)

ขณะเดียวกันสิ่งที่จะได้เห็นบริการจากไปรษณีย์ไทยหลังจากนี้ เช่น 

  • บริการ Prompt Post ที่จะเปลี่ยนเอกสารทุกรูปแบบสู่เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การแปลงระบบจ่าหน้าหรือที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลผ่านระบบ Digital Post ID การให้บริการในรูปแบบ Postman as a service
  • บริการและโซลูชันผ่าน Post Family ที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถใช้บริการของไปรษณีย์ไทยขนส่งสินค้าที่หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นสินค้าขนาดใหญ่ สินค้าที่ใช้ความยุ่งยากในการส่ง สินค้าที่ส่งยาก หรือแม้แต่ส่งสินค้าที่ควบคุมความเย็นก็ทำได้ และจะมีสิทธิพิเศษต่างๆ เพิ่มเติมให้กับลูกค้ากลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ปัจจุบัน ลูกค้าที่ใช้บริการของ Post Family เป็นประจำมีมากถึง 600,000 รายในครึ่งปีแรก และดนันท์ตั้งเป้าที่จะมีลูกค้าขาประจำที่ใช้บริการดังกล่าวมากถึง 1 ล้านรายหลังจากนี้

กรรมการผู้จัดการใหญ่ฯ ไปรษณีย์ไทย ยังกล่าวถึงการปรับปรุงเรื่องของการคัดแยกสินค้าที่ใช้ระบบอัตโนมัติเข้ามาเพิ่มขึ้น เขาชี้ว่าการที่สินค้าส่วนใหญ่เสียหายเพราะว่าพัสดุผ่านมือคนจำนวนมาก ฉะนั้นการลงทุนในระบบคัดแยกสินค้านั้นช่วยเพิ่มคุณภาพในการขนส่งด้วย

ทางด้านผลประกอบการในครึ่งปีแรกของปี 2023 นั้น ไปรษณีย์ไทยมีรายได้รวม 10,833.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 12.67% และมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 157.72 ล้านบาท

บริการ Digital Post ID คาดว่าจะได้เห็นในหลังจากนี้ (ภาพจากไปรษณีย์ไทย)

ถ้าแยกสัดส่วนรายได้ของไปรษณีย์ไทยในครึ่งปีแรก กลุ่มบริการขนส่งและโลจิสติกส์ครองสัดส่วนมากถึง 44.11% กลุ่มบริการไปรษณียภัณฑ์ 36.04% กลุ่มบริการระหว่างประเทศ 13.60% กลุ่มบริการค้าปลีก 2.35% กลุ่มบริการการเงินและบริการอื่นๆ 2.84% และรายได้อื่นๆ 1.06% ตามลำดับ

ดนันท์ชี้ว่า ไปรษณีย์ไทยเปลี่ยนแปลงไปมาก ตอนนี้มีขอบข่ายของการให้บริการมากกว่านั้น และองค์กรมีการปรับโครงสร้างภายในหลายอย่าง จากผลการขาดทุนในปี 2021 และปี 2022 ซึ่งมีผลขาดทุน 1,730 ล้านบาท และขาดทุน 3,018 ล้านบาท ตามลำดับ

เขาชี้ว่าการปรับปรุงระบบหลังบ้านของไปรษณีย์ไทย 2 ปีที่ผ่านมา ยังส่งผลให้ Gross Profit Margin ดีขึ้นกว่าเดิม และยังลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ลงมาได้ด้วย

ขณะที่กลยุทธ์การตลาดครบรอบ 140 ปี ไปรษณีย์ไทยได้ใช้กลยุทธ์เรื่องของความสัมพันธ์ที่มีมายาวนาน นอกจากนี้ผู้บริหารของไปรษณีย์ไทยยังกล่าวว่าบริษัทได้โฟกัสมากคือการนำระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) เพื่อทำความรู้จักลูกค้ามากขึ้น และมองว่าบริษัทมีข้อมูลมหาศาลจากเครือข่ายของบุรุษไปรษณีย์

iPost บริการจุดส่งไปรษณีย์ (ภาพจากไปรษณีย์ไทย)

นอกจากนี้ ดนันท์ ยังกล่าวว่าไปรษณีย์ไทยจะต้องเปลี่ยนมุมมอง (Perception) ของผู้บริโภคว่าเข้าถึงง่าย แตกต่างกับราชการ แต่ต้องทำตัวเหมือนเอกชน และทำให้มากกว่าที่ผู้บริโภคคาดหวังในเรื่องของบริการ รวมถึงต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรด้วย

ท่ามกลางการแข่งขันดุเดือดของตลาดขนส่งพัสดุ กรรมการผู้จัดการใหญ่ฯ ไปรษณีย์ไทย มองว่าถึงระยะเวลาหนึ่งจะมีผู้เล่นควบรวมกิจการกัน เนื่องจากจำนวนผู้เล่นจะต้องเหมาะสมกับขนาดของตลาด ขณะที่เรื่องสงครามราคา เขามองถึงเรื่องคุณภาพการให้บริการมากกว่า เพราะในที่สุดถ้าหากสงครามราคาเกิดขึ้นมาก ผู้บริโภคอาจได้รับผลกระทบ จากในช่วงที่ผ่านมา ผู้เล่นบางรายมีข่าวที่ผู้บริโภคต้องไปหาพัสดุของตัวเองที่ศูนย์คัดแยก เป็นต้น

ดนันท์ ยังกล่าวทิ้งท้ายว่าอุตสาหกรรมขนส่งพัสดุยังต้องการให้มีหน่วยงานกำกับดูแลเข้ามาดูแลการแข่งขัน เนื่องจากกังวลถึงการทุ่มตลาดจากผู้เล่นต่างประเทศ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการบริการ และยังทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบ และเขายังมองว่าไปรษณีย์ไทยเป็นโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ

]]>
1443670
ภัยแล้งส่งผลต่อคลองปานามา ปริมาณน้ำลดลง เรือขนสินค้าแล่นเข้าออกคลองลำบาก https://positioningmag.com/1441990 Wed, 23 Aug 2023 05:14:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441990 ภัยแล้งและผลกระทบจากภาวะ El Nino ล่าสุดได้สร้างผลกระทบไม่ใช่แค่ความเป็นอยู่เท่านั้น แต่ภาคการขนส่งเองก็ได้รับผลกระทบแล้วเช่นกัน เหตุการณ์ล่าสุดคือคลองปานามา ปริมาณน้ำลดลง ส่งผลทำให้เรือขนสินค้าแล่นเข้าออกคลองลำบาก แม้ว่าปัญหาจะเริ่มคลี่คลายเล็กน้อยบ้างแล้วก็ตาม

ผลจากภาวะ El Nino รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ทำให้ปริมาณน้ำในคลองปานามาลดลง ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาปริมาณฝนกลับตกลดลง ส่งผลต่อการเดินเรือในคลองดังกล่าวอย่างมากในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา

คลองปานามาถือเป็น 1 ใน 2 คลองสำคัญในการส่งสินค้าสำคัญของโลก ทำให้การขนส่งสินค้าจากเอเชียไปยังทวีปอเมริกามีความสะดวกมากขึ้น โดยรองรับปริมาณเรือขนสินค้าไปยังทวีปอื่นๆ ถึง 40% ของปริมาณเรือขนสินค้าทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา

ข้อมูลจาก Refinitiv ชี้ว่าในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เรือสามารถผ่านคลองดังกล่าวได้มากถึง 50 ลำ แต่ล่าสุดเหลือแค่ 40 ลำเท่านั้น โดยล่าสุดยังมีเรือต่อคิวเข้าคลองดังกล่าวอีกประมาณ 200 ลำ แม้ว่าหน่วยงานบริหารจัดการคลองปานามากำลังเร่งระบายเรือให้เข้าคลองและออกจากคลองให้ไว้ที่สุดแล้วก็ตาม

ความล่าช้าดังกล่าวสร้างความกังวลถึงการส่งสินค้าระหว่างทวีป ที่อาจส่งผลต่อความล่าช้าด้าน Supply Chain ที่อาจสร้างผลกระทบต่อภาคการผลิตได้ และทำให้ค่าเดินเรือนั้นมีราคาแพงมากขึ้นเนื่องจากเรือที่ต้องการขนส่งสินค้าให้ทันเวลาอาจเดินเรืออ้อมแทน เพราะไม่สามารถรอคิวในการเข้าคลองนี้ได้

นอกจากนี้ปัญหาความติดขัดของคลองดังกล่าวทำให้ผู้นำละแวกละตินอเมริกาเริ่มบ่นถึงปัญหาดังกล่าวแล้วเช่นกัน ประธานาธิบดีของโคลอมเบียได้กล่าวถึงปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดจากภัยแล้ง ขณะเดียวกันประธานาธิบดีเม็กซิโกได้กล่าวว่าปัญหาในคลองปานามา อาจทำให้เม็กซิโกอาจขุดคลองคล้ายกับคลองปานามาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวด้วย

ปัญหาดังกล่าว Ostergaard Nielsen หัวหน้าฝ่ายการเดินเรือส่วนทวีปอเมริกาของ Maersk ได้กล่าวว่าบริษัทได้ปรับตัวกับปัญหานี้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการโหลดตู้คอนเทนเนอร์ลงเรือให้มีจำนวนลดลง เพื่อที่จะทำให้เรือไม่กินความลึกของร่องน้ำของคลองปานามาจนเกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เรือติดขัดในคลองได้

ปัจจุบันความลึกของคลองปานามาอยู่ที่ราวๆ 15 เมตร โดยหน่วยงานบริหารจัดการคลองปานามากำหนดว่าเรือที่จะแล่นผ่านคลองนี้จะต้องกินน้ำลึกไม่เกิน 13.4 เมตร

แม้ว่าสถานการณ์ในเรื่องดังกล่าวจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น แต่ ณ เวลานี้เราไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ว่าปัญหาสภาวะแวดล้อมได้ส่งผลต่อผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว

ที่มา – CNBC, Business Insider, Reuters

]]>
1441990
J&T Express ไม่กังวลเรื่องสงครามราคา ชี้โฟกัสเรื่องคุณภาพ ส่งตรงเวลา พัสดุตีกลับลดลง https://positioningmag.com/1425327 Wed, 29 Mar 2023 16:14:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425327 หนึ่งในบริษัทขนส่งอย่าง J&T Express ได้ประกาศกลยุทธ์ธุรกิจในปี 2023 นี้ โดยโฟกัสหลักของบริษัทนั่นก็คือเรื่องของคุณภาพการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการส่งพัสดุให้ตรงเวลา มีปริมาณพัสดุตีกลับน้อยลง หรือแม้แต่บริการดูแลลูกค้า

ลิลลี่ เฉิน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย (J&T Express) ได้กล่าวว่า ตั้งแต่มีการเปิดบริการในประเทศไทยตั้งแต่ 4 ปีที่ผ่านมา บริษัทมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีเส้นทางการขนส่งพัสดุครบ 77 จังหวัด ครอบคลุม 928 อำเภอรวมถึงพื้นที่ห่างไกล นอกจากนี้บริษัทมีศูนย์คัดแยกและกระจายสินค้ามีพื้นที่กว่า 100,000 ตารางเมตร

เธอได้กล่าวว่า บริษัทมีเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นผู้นำในตลาดขนส่งพัสดุด่วนของประเทศไทย โดยการพัฒนาคุณภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเป้าหมายสำคัญในปีนี้คือนำจ่ายให้สำเร็จและตรงเวลา ลดการตีกลับ ซึ่งทำให้ต้นทุนเพิ่มมากขึ้น

สำหรับเรื่องสงครามราคาของธุรกิจ Logistics นั้น เธอมองว่าไม่ได้กังวลกับเรื่องดังกล่าวมากเท่าไหร่นัก เธอได้กล่าวถึงเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งสินค้ามากกว่า และกล่าวเสริมว่ากลยุทธ์ดังกล่าวไม่ใช่กลยุทธ์ที่ยั่งยืน แต่ประสิทธิภาพอย่างการส่งสินค้าให้ตรงต่อเวลาสำคัญที่สุด ปัจจัยดังกล่าวนั้นทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการ

นอกจากนี้ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดรายนี้ยังกล่าวว่าบริษัทยังโฟกัสไปยังธุรกิจขนส่งด่วนก่อนที่จะขยายไปยังการขนส่งรูปแบบอื่นๆ ในภายหลัง

ขณะที่ปัญหาสำคัญคือต้นทุนของธุรกิจ Logistics อย่างน้ำมันนั้น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของ J&T Express ได้กล่าวว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวคือการเพิ่มประสิทธิภาพโดยการพัฒนาพนักงานให้มีความชำนาญ รวมถึงการคัดแยกสินค้าให้มีความผิดพลาดน้อยลง ซึ่งเรื่องดังกล่าวนั้นสามารถลดต้นทุนได้

นอกจากนี้ในปี 2023 นี้บริษัทยังมีงบลงทุนในอุปกรณ์คัดแยกสินค้าที่ทันสมัยเข้ามาในประเทศไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจหลังจากนี้ด้วย

ปัจจุบัน J&T Express มีเครือข่ายครอบคลุม 13 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย กัมพูชา สิงคโปร์ จีน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เม็กซิโก บราซิล และอียิปต์ ซึ่งลิลลี่ได้กล่าวว่าการเติบโตของธุรกิจในประเทศไทยถือว่าเติบโตมากกว่าหลายประเทศในอาเซียนด้วยซ้ำ

นอกจากนี้สัดส่วนลูกค้าจากแพลตฟอร์ม E-commerce หลายรายนั้นคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% ของปริมาณขนส่ง และปริมาณขนส่งในปัจจุบันนั้นเติบโตมากกว่าก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้ว โดยความท้าทายของบริษัทที่ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดรายนี้มองไว้คือทำยังไงให้ประสิทธิภาพของการส่งสินค้านั้นดีกว่านี้ได้อีก

]]>
1425327
Lalamove สนใจ IPO ที่ฮ่องกง ชี้ระดมทุนง่าย มีสภาพแวดล้อมเหมาะแก่การระดมทุน https://positioningmag.com/1404439 Mon, 17 Oct 2022 09:34:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1404439 Paul Loo ประธานฝ่ายปฏิบัติการของ Lalamove ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ South China Morning Post ถึงการนำบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหุ้น หรือ IPO ซึ่งเขาได้เปิดเผยว่าบริษัทได้มองตลาดหุ้นของฮ่องกงไว้เป็นตัวเลือกอันดับ 1 และเขาได้ชี้ว่าตลาดฮ่องกงนั้นสามารถระดมทุนได้ง่าย มีความพร้อมหลายด้าน

เขายังชี้ว่าที่ฮ่องกงมีบริษัทที่เกี่ยวข้องกับด้านกฎหมาย ด้านบัญชี หรือแม้แต่สถาบันการเงิน ซึ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องเหล่านี้มีมากมายในฮ่องกงนั้นสนับสนุนให้บริษัทมีการระดมทุนในตลาดทุนได้ นอกจากนี้รัฐบาลฮ่องกงชุดที่ผ่านมายังสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ทำให้บริษัทอย่าง Lalamove เติบโตได้ไว

ไม่เพียงเท่านี้เขายังชี้ว่าการปฏิรูปของตลาดทุนในฮ่องกงในปี 2018 ยังทำให้บริษัทเทคโนโลยี หรือแม้แต่สตาร์ทอัพเองนั้นสามารถที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นได้ง่ายกว่าเดิม ซึ่งในปีดังกล่าวนั้นมีการปฏิรูปไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้บริษัทมีหุ้นหลายคลาสได้ ซึ่งเหมาะกับบริษัทเทคโนโลยีที่ต้องการเข้าตลาดหุ้น หรือแม้แต่บริษัทด้านเทคโนโลยีการแพทย์หรือชีวภาพสามารถระดมทุนได้

ก่อนหน้านี้ Lalamove เคยยื่นไฟลิ่งในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกามาแล้วในปี 2021 โดยคาดการณ์ว่าจะระดมทุนได้มากถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ดีบริษัทต้องได้พับแผน IPO ที่สหรัฐฯ ออกไปเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนได้เพิ่มมากขึ้น จนทำให้บริษัทตัดสินใจที่จะนำบริษัทเข้าระดมทุนในฮ่องกงแทน

ขณะที่ในปี 2022 นี้นั้น ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาบริษัทนั้นมีแผนที่จะระดมทุนเพิ่มเติม 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้มูลค่าของ Lalamove นั้นจะอยู่ที่ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงเวลาดังกล่าว

ปัจจุบันบริษัทจากฮ่องกงรายนี้มีบริการทั้งในประเทศจีนมากถึง 350 เมืองภายใต้แบรนด์ Houlala และภายใต้แบรนด์ Lalamove ให้บริการมากถึง 30 เมืองทั่วเอเชีย ซึ่งรวมถึงในประเทศไทยที่ล่าสุดบริษัทได้เตรียมที่จะขยายบริการออกต่างจังหวัดด้วย

อย่างไรก็ดีในสัมภาษณ์ดังกล่าวประธานฝ่ายปฏิบัติการของ Lalamove ได้กล่าวว่าบริษัทไม่รีบร้อนที่จะ IPO และนักลงทุนของบริษัทยังเชื่อถึงศักยภาพบริษัทในระยะยาว

]]>
1404439
เทียบฟอร์ม Flash VS Kerry ยูนิคอร์นไฟเเรงกับเเบรนด์หุ้น IPO ในสงครามขนส่ง ‘ตัดราคา’ https://positioningmag.com/1335409 Fri, 04 Jun 2021 14:34:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335409 ธุรกิจขนส่งพัสดุ’ ในไทย เติบโตตามอีคอมเมิร์ซที่พุ่งพรวดในวิกฤตโรคระบาด เเบรนด์เล็กเเบรนด์ใหญ่ งัดสารพัดวิธีครองใจลูกค้า ทั้งทุบราคา ยกระดับบริการ ขยายสาขา เเย่งชิงพนักงาน อัดโฆษณาโหมพรีเซ็นเตอร์

ไม่กี่วันที่ผ่านมา สงครามของธุรกิจนี้ก็ดุเดือดขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อน้องใหม่ค่ายสีเหลืองที่เพิ่งเปิดมาได้เพียง 3 ปีกว่าๆ อย่าง ‘Flash Express’ (แฟลช เอ็กซ์เพรส) เขย่าบัลลังก์เจ้าตลาด ด้วยการปิดระดมทุนได้ 4,700 ล้านบาท ขึ้นเเท่นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายแรกของคนไทย

ดีลนี้เป็นหมัดหนักที่สะเทือนคู่เเข่งค่ายสีส้มอย่าง ‘Kerry Express’ (เคอรี่ เอ็กซ์เพรส) ได้ไม่น้อย หลังโดนตีตื้นจนอยู่ไม่สุขมานาน ไปจนถึงสร้างความกังวลใจให้พี่บิ๊กเบอร์หนึ่งอย่างไปรษณีย์ไทย ที่ต่อไปนี้ต้องดิ้นรนหาอะไรมาสู้บ้างเพื่อไม่ให้โดนเเซงไปได้ในที่สุด

เเบรนด์เก๋าติดตลาด ปะทะ ยูนิคอร์นไฟเเรงเฟร่อ 

Kerry ดำเนินกิจการในประเทศไทยมาตั้งเเต่ปี 2549 เพิ่งระดมทุนหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อช่วงปลายปี 2563 ภายใต้ชื่อ KEX มีมูลค่าบริษัทล่าสุดอยู่ที่ราว 75,000 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 13,565.35 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,185.10 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 19,894.60 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,328.55 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 19,010.05  ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,405.02 ล้านบาท

ส่วน Flash เป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่ยังไม่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาด ก่อตั้งเมื่อปี 2560 เพิ่งระดมทุนซีรีส์ D และ E ได้สำเร็จ เป็นยูนิคอร์นที่มีมูลค่ากิจการเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 31,000 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 47 ล้านบาท ขาดทุน 183 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 2,123 ล้านบาท ขาดทุน 1,666 ล้านบาท
ปี 2563 ยังไม่ได้เปิดเผยข้อมูลบนเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เเต่จากข่าวประชาสัมพันธ์ ระบุว่า บริษัทมียอดส่งรวมทั้งปี 2563 มากกว่า 300 ล้านชิ้น หรือเติบโตขึ้นกว่า 500% ทำให้คาดว่าจะมีรายได้รวมจะเยอะขึ้นหลายเท่าตัว

ดังนั้น Kerry จึงมีมูลค่าบริษัทมากกว่า Flash กว่าสองเท่า เเต่ตอนนี้กำลังประสบภาวะราคาหุ้นขาลง(วันที่ 4 มิ.ย. อยู่ที่ราว 40 บาท) ผลประกอบการยังทำกำไรสุทธิในช่วงโควิด-19 ได้เพิ่มขึ้น เเต่ในส่วนรายได้ลดลง จากการปรับราคาต่อพัสดุเชิงรุกและการเจาะกลุ่มตลาดจัดส่งราคาประหยัด ชี้ให้เห็นสัญญาณการเเข่งขันในตลาดที่คู่เเข่งกำลังไล่เบียดมาติดๆ

ส่วน Flash กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น’ รายได้พุ่งสูงเเต่ยังขาดทุน ตามเเบบฉบับของสตาร์ทอัพที่ต้องเผาเงินเพื่อเอาฐานลูกค้า โดยมีจุดเเข็งคือการเป็น ‘ดาวรุ่งเนื้อหอม’ ที่มีผู้สนับสนุนเป็นบริษัทระดับท็อปของไทย ต่างมุ่งหวังผลักดัน ยูนิคอร์นตัวนี้ให้มีอนาคตไกล

ชิงเเต้มต่อ ‘เเบ็กอัพใหญ่’ 

คมสันต์ แซ่ลีซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Flash Express ยืนยันว่า ธุรกิจของเขาเป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งและดำเนินงานโดยคนไทยไม่ใช่กลุ่มทุนต่างชาติเเม้ช่วงเเรกๆ จะมีกลุ่มทุนจากจีนเข้ามาร่วมลงทุนด้วย เเต่ในการระดมทุนซีรีส์ D และ E เป็นนักลงทุนจากไทยมากขึ้น

เมื่อพูดถึงเเบ็กอัพของ Flash ก็ต้องบอกว่าเป็นบริษัททุนหนาที่มีเงินลงทุนในมือหลายหมื่นล้าน มุ่งหา New Business เพื่อขยายเครือข่ายธุรกิจเดิม หลีกหนีการถูกดิสรัปต์ในยุคใหม่

เริ่มจาก SCB 10X บริษัทลูกของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ปลุกปั้นขึ้นมาเพื่อพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีเเละลงทุนในธุรกิจใหม่ มีเป้าหมายลงทุนในสตาร์ทอัพทั่วโลก การมีส่วนสร้างยูนิคอร์นในไทยคือหนึ่งในภารกิจหลัก ซึ่งการได้ Flash มาเป็นลูกรัก ก็คงจะได้เห็นการต่อยอดร่วมกันอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะบริการทางการเงิน 

ถัดมาคือบิ๊กพลังงานอย่าง OR บริษัทลูกของ ปตท. ที่เพิ่งขายหุ้น IPO สูงสุดเป็นประวัติการณ์ การจับมือกับ Flash จะช่วยขยายอีโคซีสเต็มได้ดี ทำให้ปั๊มน้ำมันที่มีอยู่ทั่วประเทศมาเป็นศูนย์กระจายสินค้าเเละจุดรับส่งพัสดุภายในร้าน Café Amazon เป็นการเพิ่มทราฟฟิกลูกค้าไปในตัว รวมไปถึงการบริการน้ำมันให้กับรถขนส่งของ Flash ที่มีมากกว่าหมื่นคัน

นอกจากนี้ยังมีกรุงศรีฟินโนเวตในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) อีกเเบงก์ที่มอบทุนก้อนใหญ่ให้สตาร์ทอัพ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง E-commerce Ecosystem ที่สมบูรณ์ในเมืองไทยร่วมกัน เเละ Durbell ธุรกิจกระจายสินค้าในเครือกลุ่ม TCP เจ้าของเครื่องดื่มกระทิงแดง สปอนเซอร์ ฯลฯ ที่มาช่วยเสริมเเกร่งกันในด้านโลจิสติกส์ให้พร้อมขยายต่อไปในอาเซียน

ส่วน Kerry Express มีบริษัท เคแอลเอ็น โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ถือหุ้นใหญ่ ตามมาด้วย บมจ. วีจีไอ (บริษัทที่แยกออกมาจาก BTS) เเละกัลฟ์ โฮลดิ้งส์ โดย Kerry ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจสำคัญที่ทำกำไรให้กับเครือ BTS 

สงคราม ‘ตัดราคา’ เปิดสาขาที่ไหน…ไปด้วย 

Kerry Express บุกเบิกตลาดขนส่งพัสดุโดยเอกชนรายเเรก เป็นช่วงโอกาสธุรกิจที่ไปรษณีย์ไทย ณ ขณะนั้น ยังไม่ทรานส์ฟอร์มองค์กร ประเดิมด้วยการจัดส่งแบบ ‘Next Day’ เเละเป็นเจ้าแรกที่ให้บริการรับชำระเงินปลายทาง 

ผู้บริหาร Kerry เคยให้สัมภาษณ์กับ Positioning ว่าต้องการขยายจุดส่งพัสดุให้เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด จากตอนนี้ที่มีจุดให้บริการตามถนนสายหลักต่อไปจะเข้าไปหาลูกค้าตามซอกซอยให้ได้

ทั้งนี้ จุดให้บริการราว 15,000 ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศนั้น เป็นสาขาที่เคอรี่ดำเนินการเองราว 2,000 เเห่ง เป็นการจับมือกับพันธมิตรอีก 3,000 เเห่ง เเละที่เหลืออีกกว่า 1 หมื่นเเห่งเป็นสาขาของ SME รายย่อย มีจำนวนรถรับส่งพัสดุราว 25,000 คัน มียอดจัดส่งราว 1.9 ล้านชิ้นต่อวันทำการ ส่วนในไตรมาส 1/64 ปริมาณพัสดุเพิ่มสูงขึ้น 13% (หากเทียบกับไตรมาส 1/63)

เมื่อถามถึงการเเข่งขันด้านราคาที่หลายคนมองว่า Kerry อาจจะมีค่าบริการที่สูงกว่าเจ้าอื่นในตลาดนั้น ผู้บริหารตอบว่า บริษัทมีการดูเเลเรื่องนี้โดยตลอด เช่นการจัดเรตราคาตามหมวดหมู่ของสินค้า โดยอยากให้ผู้บริโภคเห็นถึงคุณภาพในการจัดส่งว่ามีความชัวร์เเละคุ้มค่า ในราคาที่ไม่เเพงไปกว่ากันมากนัก 

ท่ามกลางคู่แข่งที่เต็มไปหมด การบริการขยับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ทำให้ Kerry ไม่อาจดำเนินกลยุทธ์เเบบที่เคยทำสมัยบุกเบิกตลาดได้ จึงต้องหาลูกเล่นใหม่ๆ มาทดลองตลาด อย่างการสร้างแบรนด์ให้เป็น Lifestyle & Creative Logistics ขณะที่บริษัทหน้าใหม่ๆ เน้นใช้การ ‘ตัดราคาเป็นตัวนำในการเจาะธุรกิจนี้

Flash Express ก็ใช้กลยุทธ์เรื่องราคา มาจับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ต้องการลดต้นทุนการส่ง ด้วยการเป็นเจ้าเเรกที่ ‘รับพัสดุฟรีถึงที่ตั้งแต่ชิ้นแรก ให้บริการ 365 วันไม่หยุด’ ไม่ว่าลูกค้าจะส่งที่ช็อป หรือเรียกให้ไปรับ ค่าบริการไม่บวกเพิ่ม โดยในปี 2564 บริษัทมีจำนวนพัสดุเฉลี่ยต่อวันประมาณ 2 ล้านชิ้น เติบโตจากเดิมที่มียอดส่งพัสดุเฉลี่ยอยู่ 1.3 ล้านชิ้นต่อวัน

ตลาดขนส่งพัสดุในปีนี้ยังจะมีการแข่งขันกันใน 3 เรื่องหลัก คือ ราคา คุณภาพ และความคุ้มค่าในการให้บริการ ซึ่งน่าจะเป็น 3 เรื่องหลักที่ผู้เล่นทุกรายในตลาดยังคงต้องโฟกัส รวมไปถึงเรื่องความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการที่สุด

เเละตอนนี้ไม่ใช่เเค่คู่ปรับอย่าง Kerry เเละ Flash เท่านั้น ขนส่งเอกชนยังต้องสู้กับ J&T Express , Nim Express , SCG Express , Ninja Van เเละเจ้าอื่นๆ ที่พร้อมตัดราคากันเพื่อเเย่งลูกค้า ไม่เว้นเเม้เเต่ไปรษณีย์ไทย โดยมีราคาเริ่มต้นที่ราว 18-30 บาท

ส่วนใครขยายสาขาไปที่ไหน ก็พร้อมเฮตามกันไปที่นั่น เราจึงได้เห็นร้านข้างๆ กันที่มีทั้งค่ายสีส้ม สีเหลือง สีเเดง ฯลฯ โดยเริ่มขยายเป็นโมเดลแฟรนไชส์ ธุรกิจ Drop-Off มากขึ้น เพราะบริษัทเจ้าของเเบรนด์ไม่ต้องใช้เงินทุนมากนัก

ขณะเดียวกัน Lazada เเละ Shopee ก็เป็นสองคู่เเข่งที่น่ากลัว เมื่อเจ้าของอีมาร์เก็ตเพลส ลงสนามมาเล่นธุรกิจขนส่งด้วยตัวเอง ดังนั้นก็มีเเนวโน้มที่จะ ‘จัดสรรพัสดุ’ ที่สั่งในเเพลตฟอร์มตัวเองมา ‘ส่งเอง’ ได้ด้วย

สตอรี่ ‘นักสู้’ กลายมาเป็นอีกหนึ่งจุดขาย 

ที่ผ่านมาธุรกิจโลจิสติกส์มักเลือกใช้พรีเซ็นเตอร์มาเพื่อสื่อสารเเบรนด์ เน้นเป็นพระเอกดังที่ผู้คนรู้จักกันดี มีคาเเร็กเตอร์เป็นสายลุย น่าเชื่อถือ อย่าง Kerry Express ที่เลือกเวียร์ศุกลวัฒน์ คณารศ , Flash Express ที่เลือก ติ๊กเจษฎาภรณ์ ผลดี , BEST Express ขนส่งสัญชาติจีนที่เลือก ณเดชน์ คูกิมิยะ หรือ J&T Express ที่เลือกมาริโอ้ เมาเร่อ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์

ตอนนี้มีกิมมิกเล็กๆ เเต่น่าสนใจคือชีวิตของซีอีโอก็มาเป็นจุดขายของเเบรนด์ได้เหมือนกัน อย่างเรื่องราวการสู้ชีวิตของคมสันต์ แซ่ลีนักธุรกิจหนุ่มวัย 29 ปี จากดอยวาวี จังหวัดเชียงราย ผู้ก่อตั้ง Flash Express ด้วยคาเเร็กเตอร์ ‘กล้าคิด กล้าทำ มุ่งมั่น’

การเป็นคนรุ่นใหม่ที่สามารถปั้นธุรกิจ 3 ปีกว่าๆ ให้โตไปถึงระดับเป็นยูนิคอร์น กลายเป็นเเรงบันดาลใจให้ใครหลายคน สร้างการรับรู้เเละภาพจำให้คนรู้จักเเบรนด์มากขึ้น นอกจากนี้ ทักษะการนำเสนอที่ดี ความฉลาดเเละการสู้ไม่ถอย ก็มีส่วนที่ทำให้ผู้ลงทุนเชื่อมั่นและยอมให้เงินลงทุนด้วย

เเต่สงครามธุรกิจขนส่งพัสดุยังต้องสู้กันอีกยาวไกล นี่จึงเป็นเเค่การเเข่งขันยกใหม่ พร้อมเงินทุนก้อนใหม่เท่านั้น…ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็ต้องติดตามกันต่อไป

 

 

 

]]>
1335409
วิกฤตขาดแคลน ‘ตู้คอนเทนเนอร์’ ทำต้นทุนขนส่งพุ่งทะลุ 300% https://positioningmag.com/1316266 Mon, 25 Jan 2021 09:22:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1316266 การระบาดใหญ่และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ไม่สม่ำเสมอทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลน ‘ตู้คอนเทนเนอร์’ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ‘ต้นทุนการขนส่ง’ พุ่งสูงขึ้น และแถมยังทำให้สินค้าที่มาจากจีนนั้นยิ่งมาถึงช้าเพิ่มไปอีก และไม่แค่กับเอเชีย แต่ปัญหานี้กำลังลุกลามไปทั่วโลก

หลายบริษัทที่หมดหวัง เนื่องจากการรอสินค้านานหลายสัปดาห์ และยังจ่ายเงินในอัตราพิเศษเพื่อหาตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งทำให้ค่าขนส่งพุ่งสูงขึ้น โดยปัญหาดังกล่าวนั้นกระทบต่อทุกคนที่ต้องขนส่งสินค้าจากประเทศจีน แต่โดยเฉพาะบริษัทอีคอมเมิร์ซ ซึ่งนั่นทำใหเผู้บริโภคอาจต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น

ในเดือนธันวาคมอัตราค่าขนส่งสินค้าพุ่งสูงขึ้น 264% สำหรับเส้นทางเอเชียไปยุโรปเหนือเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่เส้นทางจากเอเชียไปยังชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกาอัตราจะเพิ่มขึ้น 145% ทุกปี Mirko Woitzik ผู้จัดการโซลูชันข่าวกรองความเสี่ยงของ Resilience36 บริษัทความเสี่ยงด้านซัพพลายเชน ระบุ

Photo : MAERSK

เมื่อเทียบกับราคาที่ต่ำลงในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อัตราค่าขนส่งจากจีนไปยังสหรัฐฯ และยุโรปพุ่งขึ้น 300% จากปกติที่ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐเป็น 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ Mark Yeager ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Redwood Logistics กล่าว

“มีตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 180 ล้านตู้ทั่วโลก แต่มันอยู่ผิดที่ ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ดุลการค้าในจีนได้เปลี่ยนไปแล้วรุนแรงขึ้นอย่างมากและความจริงก็คือ มีตู้คอนเทนเนอร์สามตู้สำหรับทุกตู้สินค้าที่เข้ามา”  Yeager จาก Redwood Logistics กล่าว

อีกสิ่งที่ทำให้เรื่องแย่ลงคือ คำสั่งซื้อตู้คอนเทนเนอร์ใหม่ส่วนใหญ่ถูกยกเลิกในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020 เนื่องจากทั่วโลกส่วนใหญ่เข้าสู่การมาตรการ Lock Down Alan Ng ผู้นำการขนส่งและโลจิสติกส์ของจีนแผ่นดินใหญ่ PWC และฮ่องกงระบุ

“ขนาดและจังหวะของการฟื้นตัวทำให้ทุกคนประหลาดใจ ปริมาณการค้าที่ฟื้นตัวอย่างกะทันหันทำให้สายการเดินเรือหลักเกือบทั้งหมดจำเป็นต้องเพิ่มความจุตู้สินค้าจำนวนมากเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์”

ปัญหาการขาดแคลนยังทวีความรุนแรงขึ้นอีก เนื่องจากปริมาณเที่ยวบินระหว่างประเทศลดลงเพราะการระบาดของ COVID-19 และข้อจำกัดในการเดินทาง และเมื่อการขนส่งสินค้าทางอากาศที่จำกัด สินค้ามูลค่าสูงบางรายการที่ปกติจะจัดส่งทางอากาศเช่น iPhone ต้องใช้ตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเลแทนตามข้อมูลของ Yeager

(Photo : Shutterstock)

วิกฤตตู้คอนเทนเนอร์ส่งผลกระทบต่อทุก บริษัทที่ต้องขนส่งสินค้า แต่นักวิเคราะห์กล่าวว่า สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลอย่างเด่นชัดต่ออีคอมเมิร์ซที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลัก เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่ผลิตในจีน การดำเนินงานของ Ikea ในสิงคโปร์เรียกสิ่งนี้ว่า “วิกฤตการขนส่งทั่วโลก” โดยยักษ์ใหญ่เฟอร์นิเจอร์คาดว่าสินค้าประมาณ 850 รายการจาก 8,500 รายการที่จำหน่ายในสิงคโปร์จะได้รับผลกระทบจากความล่าช้าในการจัดส่ง ซึ่งมันมีผลต่อการวางจำหน่ายและโปรโมชั่นที่วางแผนไว้

“ความต้องการบริการด้านโลจิสติกส์ที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกในเวลานี้ ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าทั่วโลก”

ทั้งนี้ รายงานของ Shanghai International Shipping Research Center ที่เผยแพร่ในไตรมาส 4 ปี 2020 ระบุว่าปัญหาการขาดแคลนมีแนวโน้มที่จะคงอยู่ไปอีก 3 เดือนเป็นอย่างน้อย ในขณะที่มีการสั่งซื้อตู้คอนเทนเนอร์ใหม่จะยังไม่พร้อมใช้งานในทันที อีกทั้ง การสร้างตู้คอนเทนเนอร์ก็อาจเกิดความล่าช้าได้ เพราะการระบาดใหญ่ยังส่งผลกระทบต่อเหล็กและไม้ที่จำเป็นในการสร้างตู้คอนเทนเนอร์

Source

]]>
1316266
PTTOR, กรุงศรี, TCP ลงขัน 3,000 ล้านบาทอัดฉีด ‘Flash Express’ บู๊ศึกโลจิสติกส์ https://positioningmag.com/1301107 Mon, 12 Oct 2020 08:37:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301107 ถือเป็นม้ามืดที่ยิ่งน่าจับตาเข้าไปใหญ่สำหรับ ‘แฟลช เอ็กซ์เพรส’ (FLASH EXPRESS) ผู้เล่นน้องใหม่ในตลาดขนส่งที่ทำตลาดได้ 2 ปี ก็ขึ้นแท่น Top 3 ในตลาด และจากนี้จะยิ่งน่ากลัว เพราะแฟลชพึ่งได้เงินลงทุนใหม่ระดับ Series D ด้วยมูลค่ากว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3,000 ล้านบาท

สำหรับเงินลงทุนดังกล่าวมาจาก 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยที่ร่วมกันลงขัน ได้แก่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ PTTOR บริษัทลูกของ ปตท. ตามด้วยกรุงศรี ฟินโนเวต และสุดท้าย เดอเบล (Durbell) ซึ่งเป็นดิสทริบิวเตอร์ภายใต้เครือ TCP หรือเจ้าของแบรนด์กระทิงแดงนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ไม่มีการเปิดเผยว่าแต่ละรายนั้นลงทุนคนละเท่าไร

ด้าน คมสันต์ ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด ได้ระบุว่า การร่วมทุนครั้งนี้นั้นเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การขยายธุรกิจในกลุ่ม new s-curve ได้แก่ อุตสาหกรรมด้านพลังงานและโลจิสติกส์ ต่อยอดไปยังกลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค และธุรกิจการเงินเพื่อสร้างความแข็งแกร่งในตลาด อีกทั้งยังเป็นโอกาสการสร้างและขยายโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านแพลตฟอร์มทางการเงิน การนำระบบ e-Payment เข้ามาใช้ในระบบขนส่ง ให้เกิดเป็น อี-คอมเมิร์ซ แบบครบวงจรมากยิ่งขึ้น

“จุดประสงค์หลักของการร่วมทุนในครั้งนี้ คือ การนำเอาศักยภาพ และจุดเด่นของแต่ละธุรกิจเข้ามาผสานรวมกันเพื่อพัฒนาโมเดลธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะสามารถรองรับการขยายตัวของธุรกิจ E-commerce รวมถึงการพัฒนาระบบขนส่งในรูปแบบ Ecosystem ที่สามารถเชื่อมโยงกับ supply chain ได้อย่างครบวงจร ตลอดจนพัฒนาระบบขนส่งให้เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในภาคบริการอื่น ๆ ที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น”

คมสันต์ ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด

คมสันต์ กล่าวต่อว่า เงินระดมทุน Series D นั้นเป็นแค่ จุดเริ่มต้น เพราะหลังจากนี้ยังมีกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ในไทยที่เตรียมประกาศความเป็นพันธมิตรร่วม โดยอยู่ในระหว่างขั้นตอนการเจรจา ซึ่งคาดว่าน่าจะมีความชัดเจนภายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2021 ซึ่งจากนี้คงต้องรอดูยาว ๆ ว่าจะเป็นใครและจะได้เงินระดมทุนอีกเท่าไหร่ เพราะแฟลช เอ็กซ์เพรสเคยระบุว่าต้องการขยายตลาดให้ครบทั้ง 10 ประเทศอาเซียน ซึ่งต้องใช้งบลงทุน 30,000 – 40,000 ล้านบาท เพื่อเชื่อมโยงระบบขนส่งเป็นเครือข่ายเดียวกันในอาเซียน รองรับการเติบโตของตลาดอี-คอมเมิร์ซในภูมิภาค โดยภายในปีนี้บริษัทตั้งเป้าที่จะขยายให้ได้ 3 ประเทศ

ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีที่ทำตลาดมาแฟลช เอ็กซ์เพรสได้ลงทุนในไทยแล้วเกือบ 10,000 ล้านบาท โดยมีศูนย์บริการกว่า 10,000 แห่ง รถขนส่งพัสดุกว่า 15,000 คัน และพนักงานกว่า 23,000 คน โดยในช่วงที่เกิดการระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งส่งผลให้ตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตนั้น ก็ได้ส่งผลให้ช่วงครึ่งปีแรกแฟลช เอ็กซ์เพรสมีอัตราเติบโตถึง 3,000% โดยมียอดส่งพัสดุรวมกว่า 100 ล้านชิ้น โดยมียอดส่งพัสดุเฉลี่ยต่อวันมากกว่า 1 ล้านชิ้นและมีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 1,000 ล้านบาท

เรียกได้ว่าตลาด ‘ขนส่ง’ ของไทยนับวันยิ่งดุเดือด โดยเฉพาะฝั่งของเอกชนที่เราจะได้เห็นผู้เล่นผู้เล่นหน้าใหม่ ๆ ต่างตบเท้าเข้ามาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง แถมเเต่ละรายทุนยังหนาปึก อาทิ ‘เบสท์ เอ็กซ์เพรส’ (BEST Express) ที่มี ‘แจ็ค หม่า’ แห่ง ‘อาลีบาบา’ หนุนหลัง ดังนั้นสิ่งที่เกิดคือ สงครามราคา แต่ไม่ว่าสงครามนี้จะจบอย่างไร ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ก็มีเเต่ได้กับได้ ทั้งค่าส่งที่ ถูกลง และระยะเวลาส่งพัสดุที่ เร็วขึ้น

]]>
1301107