Regulator – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 18 Jun 2024 12:01:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รัฐบาลสหรัฐฯ ฟ้อง Adobe ในข้อหาเอาเปรียบผู้บริโภค บีบให้สมัครสมาชิกบริการรายปี ถ้ายกเลิกโดนชาร์จค่าธรรมเนียมแสนแพง https://positioningmag.com/1478546 Tue, 18 Jun 2024 10:08:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478546 คณะกรรมาธิการการค้าของรัฐบาลกลางสหรัฐ ได้ยื่นฟ้อง Adobe บริษัทซอฟต์แวร์ด้านการออกแบบชื่อดัง จากเรื่องการปกปิดในเรื่องการคิดค่าธรรมเนียม และมีการซ่อนรายละเอียดไว้ โดยถ้าหากลูกค้ายกเลิกการสมัครเป็นสมาชิกจะถูกหักค่าธรรมเนียมที่แสนแพง ทำให้ผู้บริโภคต้องทนใช้งานบริการเป็นระยะเวลา 1 ปี อย่างไรก็ดีบริษัทได้เตรียมตัวสู้คดีดังกล่าว

คณะกรรมาธิการการค้าของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FTC) ได้ยื่นฟ้อง Adobe บริษัทซอฟต์แวร์ด้านการออกแบบชื่อดัง จากเรื่องการปกปิดในเรื่องการคิดค่าธรรมเนียม และมีการซ่อนรายละเอียดไว้ ถ้าหากลูกค้าต้องการยกเลิกบริการล่วงหน้าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก โดยบริษัทนั้นเตรียมตัวที่จะต่อสู้ในคดีดังกล่าวถึงที่สุด

ในเอกสารของ FTC ที่เผยแพร่กับสื่อได้ชี้ว่า Adobe ล้มเหลวในการเปิดเผยข้อกำหนดแก่ลูกค้า มีการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมถ้าหากมีการยกเลิกสมาชิกก่อนกำหนด ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวผู้ใช้งานไม่ได้สังเกตเห็นได้ง่าย รวมถึงกระบวนการในการยกเลิกสมาชิกที่ถือว่ายุ่งยากรวมถึงบริษัทยังปฏิเสธที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนื่องจากจะส่งผลเสียต่องบการเงินของบริษัท

สำหรับค่าใช้จ่ายในการยกเลิกสมาชิกที่ FTC กล่าวถึงคือ Adobe จะมีการหักค่าใช้จ่าย 50% ของค่าสมาชิกในแต่ละเดือนที่เหลือ

Samuel Levine ผู้อำนวยการของ FTC ได้กล่าวว่า ชาวอเมริกันรู้สึกเบื่อหน่ายกับการที่บริษัทต่างๆ ซ่อนเงื่อนไขต่างๆ ระหว่างการสมัครสมาชิก แล้วพยายามกีดขวางไม่ให้ผู้ใช้งานยกเลิกสมาชิก และ Adobe ได้พยายามให้ลูกค้าเป็นสมาชิกตลอดทั้งปีด้วยค่าธรรมเนียมยกเลิกก่อนกำหนด และยังไม่ให้ลูกค้าสามารถยกเลิกการเป็นสมาชิกอย่างง่ายดาย

แนวทางในการฟ้องร้อง Adobe นั้น FTC ได้ใช้แนวทางเดียวกับการฟ้องร้องเช่นเดียวกับกรณีของ Amazon ที่ให้สมาชิกสมัครใช้งาน Amazon Prime แต่สร้างเงื่อนไขทำให้การยกเลิกสมาชิกเป็นไปอย่างยากลำบาก

ในช่วงที่ผ่านมาหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐ หรือ FTC ได้พยายามเข้ามาควบคุมดูแลบริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐฯ ซึ่งกรณีล่าสุดที่บริษัทเทคโนโลยีได้ถูกสอบสวนคือกรณีการผูกขาดเทคโนโลยี AI

ขณะเดียวกัน Adobe เองก็ถือว่าถูกหน่วยงานกำกับดูแลเข้ามาสอดส่องอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีการซื้อบริษัทซอฟต์แวร์อย่าง Figma มูลค่า 20,000 ล้านเหรียญ ก่อนที่จะมีการยกเลิกดีลดังกล่าว เนื่องจากหน่วยงานกำกับดูแลมองว่าบริษัทมีโอกาสที่จะผูกขาดมากขึ้น

อย่างไรก็ดี Dana Rao ที่ปรึกษาทั่วไปของ Adobe ได้โต้แย้งข้อเรียกร้องดังกล่าวและกล่าวว่าจะสู้คดีดังกล่าวจนถึงที่สุด โดยกล่าวว่า บริษัทมีความโปร่งใสกับข้อกำหนดและเงื่อนไขของข้อตกลงการสมัครสมาชิกของเรา และมีกระบวนการยกเลิกสมาชิกที่เรียบง่าย”

ที่มาBBC, The Verge

]]>
1478546
สหรัฐฯ เตรียมตรวจสอบ OpenAI และ Microsoft รวมถึง Nvidia ในเรื่องการผูกขาดเทคโนโลยี AI https://positioningmag.com/1477270 Mon, 10 Jun 2024 05:58:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1477270 กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐ (DOJ) และ คณะกรรมาธิการการค้าของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FTC) ได้บรรลุข้อตกลงเตรียมที่จะเปิดฉากสอบสวนบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น OpenAI และ Microsoft รวมถึง Nvidia ซึ่งบริษัทเหล่านี้อาจมีพฤติกรรมผูกขาดตลาดเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

แหล่งข่าวของสื่อต่างประเทศหลายแห่ง เช่น AP และ CNBC รวมถึง New York Times รายงานข่าวตรงกันว่า หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาทั้ง กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ และ คณะกรรมาธิการการค้าของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ เตรียมเข้าสอบสวนบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น OpenAI และ Microsoft รวมถึง Nvidia หลังจากที่บรรลุข้อตกลงดังกล่าว

ทั้ง 2 หน่วยงานของสหรัฐอเมริกาได้ตกลงที่จะสืบสวนพฤติกรรมบริษัทเหล่านี้ โดยทาง DOJ จะมีการสอบสวน Nvidia ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตชิปเร่งประมวลผล AI ซึ่งครองส่วนแบ่งทางการตลาดในตอนนี้มากถึง 80% ขณะที่ FTC จะสอบสวน Microsoft และ OpenAI

นอกจากนี้ FTC เตรียมที่จะสอบสวน Microsoft ในดีลการลงทุน Infection AI มูลค่า 650 ล้านเหรียญสหรัฐนั้นถือว่าเป็นการหลีกเลี่ยงในเรื่องการควบรวมกิจการหรือไม่

การเข้ามาของเทคโนโลยี AI ได้ทำให้บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งมีมูลค่าบริษัทเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Microsoft ที่มีการลงทุนใน OpenAI เจ้าของบริการอย่าง ChatGPT หรือแม้แต่ Nvidia ที่ล่าสุดบริษัทมีมูลค่าบริษัทแตะ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จากผลประกอบการและธุรกิจบริษัทกำลังเติบโต

สำหรับความร่วมมือของ 2 หน่วยงานดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ในปี 2019 นั้นมีความร่วมมือเพื่อที่จะตรวจสอบบริษัทเทคโนโลยีสหรัฐฯ มาแล้ว โดย FTC ได้ตรวจสอบ Meta และ Amazon และทาง DOJ ได้ตรวจสอบ Apple และ Alphabet บริษัทแม่ของ Google

ในช่วงที่ผ่านมา หน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐอเมริกา ได้แสดงความกังวลบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ได้เปรียบกว่าบริษัทอื่นๆ ในการเข้าถึงข้อมูลที่ใช้ในการฝึกอบรมโมเดล AI ไปจนถึงความร่วมมือระหว่างบริษัทต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงกระบวนการตรวจสอบการควบรวมกิจการจากหน่วยงานกำกับดูแลเหล่านี้

ที่มา – CNBC, Euronews, New York Times

]]>
1477270
อินโดนีเซียอยู่ระหว่างสอบสวน Shopee และ Lazada อาจมีพฤติกรรมผูกขาด เน้นใช้บริการขนส่งของตัวเองเป็นหลัก https://positioningmag.com/1475286 Tue, 28 May 2024 02:11:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1475286 หน่วยงานกำกับดูแลด้านการแข่งขันของอินโดนีเซียอยู่ระหว่างสอบสวน Shopee และ Lazada อาจมีพฤติกรรมว่าอาจมีพฤติกรรมละเมิดกฎต่อต้านการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีในการใช้บริษัทขนส่งของตัวเองนั้นอาจทำให้ผู้บริโภคนั้นไม่สามารถเลือกบริษัทขนส่งได้อย่างอิสระ

หน่วยงานกำกับดูแลด้านการแข่งขันของอินโดนีเซีย (KKPU) กำลังอยู่ในขั้นตอนการสอบสวน 2 ผู้เล่น E-commerce รายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Shopee รวมถึง Lazada ว่าอาจมีพฤติกรรมละเมิดกฎต่อต้านการแข่งขัน ซึ่งถ้าหากมีผู้เล่นรายใดรายหนึ่งทำผิดจริง อาจต้องจ่ายค่าปรับจำนวนมาก

ความเคลื่อนไหวล่าสุดนั้นมีการสอบสวนในฝั่งของ Shopee ในวันนี้ (อังคารที่ 28 พฤษภาคม) ว่าอาจมีการละเมิดกฎต่อต้านการแข่งขัน ขณะที่ฝั่งของ Lazada นั้นหน่วยงานพบว่ามีเหตุต้องสงสัยว่าอาจมีพฤติกรรมละเมิดกฎต่อต้านการแข่งขัน

รายงานของ DealStreetAsia ได้ชี้ว่า Shopee มีพฤติกรรมที่เอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจขนส่งสินค้าของตัวเองอย่าง SPX ซึ่งถือเป็นการกีดกันไม่ให้บริษัทขนส่งรายอื่นเข้ามาทำธุรกิจ เพิ่มปริมาณการจัดส่งสินค้าให้กับบริษัทตัวเอง และยังเป็นการจำกัดทางเลือกของผู้บริโภค

M. Fanshurullah Asa ประธานของหน่วยงานกำกับดูแลด้านการแข่งขันของอินโดนีเซีย ได้กล่าวว่า Shopee และ Lazada มีพฤติกรรมคล้ายคลึงกันในเรื่องดังกล่าว แต่เขาไม่ได้กล่าวในรายละเอียดใดๆ เพิ่มเติม

ประเทศอินโดนีเซียนั้นตลาดในการขนส่งสินค้าถือว่าเป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีการแข่งขันสูง และมีผู้เล่นหลายรายทั้งผู้เล่นภายในประเทศอย่าง เช่น GoTo หรือแม้แต่ผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Grab หรือแม้แต่ J&T Express

นอกจากนี้อินโดนีเซียเองยังเป็นประเทศที่หน่วยงานกำกับดูแลคุ้มครองผู้ประกอบการภายในประเทศ ในช่วงที่ผ่านมามีบริษัทเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น TikTok หรือแม้แต่ Meta นั้นถูกการกำกับดูแลในเรื่องดังกล่าวมาแล้ว

ถ้าหาก 2 ผู้เล่นรายใหญ่ของ E-commerce รายดังกล่าวถูกตัดสินคดีว่ามีความผิดจริง โทษปรับที่บริษัทจะโดนคือปรับกำไร 50% หรือรายได้จากยอดขาย 10% ในช่วงเวลาที่เกิดการกระทำผิด

ที่มา – Reuters, Inquirer

]]>
1475286
รายงานจาก BIS ชี้ “การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลทำให้เกิดช่องโหว่ด้านการเงินเพิ่มขึ้น” จำเป็นต้องมีกฎระเบียบออกมาบรรเทาปัญหา https://positioningmag.com/1474228 Sun, 19 May 2024 13:49:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1474228 ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ซึ่งปัจจุบันเปรียบได้กับหน่วยงานกำกับดูแลที่สถาบันการเงินหลายแห่งต้องรับฟังและปฎิบัติตาม ได้ออกรายงานโดยมองว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลทำให้เกิดช่องโหว่ด้านการเงินเพิ่มขึ้น ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวจะต้องมีกฎระเบียบออกมาบรรเทาปัญหา

BIS ได้ออกรายงานล่าสุดเกี่ยวกับความเสี่ยงการเงิน โดยชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและการเข้ามาในโลกการเงินของบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ทำให้เกิดช่องโหว่ใหม่และขยายความเสี่ยงที่มีอยู่ในระบบธนาคารซึ่งอาจจำเป็นต้องมีกฎใหม่เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว

รายงานของ BIS ชี้ว่า การเติบโตของการใช้ระบบคลาวด์ การเพิ่มขึ้นของ AI ไปจนถึงการแพร่กระจายของระบบธนาคารแบบเปิด ไปจนถึงเหล่า FinTech ได้แบ่งปันข้อมูลลูกค้ากับธนาคารต่างๆ หรือแม้แต่บริการด้านการเงินสำคัญๆ ที่สถาบันการเงินได้ใช้บริการหรือความช่วยเหลือจากบริษัทเทคโนโลยีภายนอกนั้นก่อให้เกิดความเสี่ยงใหม่ๆ

เทคโนโลยีข้างต้นนั้นถูกใช้โดยธนาคารหลายแห่ง ในรายงานของ BIS ยังได้ยกตัวอย่างความสนใจในการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีธนาคารส่วนใหญ่ก็ดูเหมือนจะใช้เทคโนโลยีดังกล่าวด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะการบริการที่ต้องพบปะกับลูกค้าและเรื่องของการสร้างรายได้

แต่ในรายงานเองก็ชี้ว่าจำนวนธนาคารที่ใช้บริการระบบคลาวด์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ไม่เพียงเท่านี้ความเสี่ยงของธุรกิจธนาคารในรายงานของ BIS ยังชี้ถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกับพันธมิตรรายใหม่ๆ นั้นทำให้เกิดช่องทางการเชื่อมต่อใหม่ๆ ไปจนถึงการเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจของธนาคาร ก็ส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงใหม่ๆ เช่นกัน

เราจะเห็นว่าบริการของธนาคารหลายแห่งในช่วงที่ผ่านมามีทั้งการจับมือกับบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ เพื่อที่จะขยายระบบเพื่อรองรับลูกค้า ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาบริการลูกค้าท่ามกลางการแข่งขันอันดุเดิอดของธุรกิจดังกล่าว ซึ่งเหล่าสถาบันการเงินเองต่างมองว่าเมื่อมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาแล้วจะสามารถช่วยลดต้นทุนทางธุรกรรมลงได้ ส่งผลต่อกำไรของสถาบันการเงินในอนาคต

รายงานของ BIS ได้ชี้ว่าหากมีเรื่องจำเป็นในเรื่องดังกล่าว ควรจะต้องมีมาตรฐานหรือคำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยงและช่องโหว่ในเรื่องดังกล่าวเช่นกัน

]]>
1474228
หน่วยงานกำกับการบินในสหรัฐฯ สอบ Boeing กรณีผลิตเครื่องบินรุ่น 787 อาจมีการปลอมแปลงผลการทดสอบ https://positioningmag.com/1472226 Tue, 07 May 2024 04:43:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1472226 องค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา ประกาศเข้าตรวจสอบโบอิ้ง (Boeing) ในกรณีการผลิตเครื่องบินรุ่น 787 ซึ่งเป็นเครื่องบินรุ่นใหม่ของบริษัท อาจมีการการปลอมแปลงผลการทดสอบ ขณะเดียวกันบริษัทยังกล่าวว่าสายการผลิตเครื่องบินดังกล่าวอาจผลิตได้ช้าลง

องค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) ได้ประกาศเข้าตรวจสอบ Boeing ในกรณีการผลิตเครื่องบินรุ่น 787 ซึ่งเป็นเครื่องบินรุ่นใหม่ของบริษัท อาจมีการการปลอมแปลงผลการทดสอบ หลังจากในช่วงที่ผ่านมาผู้ผลิตเครื่องบินรายนี้กำลังประสบปัญหาเรื่องของความเชื่อมั่น

FAA ได้กล่าวในแถลงการณ์ว่ากำลังตรวจสอบว่า Boeing ได้ทำการตรวจสอบเครื่องบินเสร็จสิ้นหรือไม่ เพื่อยืนยันว่าการยึดเกาะและการต่ออุปกรณ์ต่างๆ ในตำแหน่งที่ปีกเชื่อมต่อกับลำตัวของเครื่องบินรุ่น 787 Dreamliner บางลำนั้นดีเพียงพอ

กรณีดังกล่าวตามมาหลังจากผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกาได้กล่าวกล่าวว่าพนักงานบางคนได้ประพฤติมิชอบ โดยอ้างว่าการทดสอบบางอย่างเสร็จสิ้นแล้ว และทีมวิศวกรของบริษัทได้ประเมินเรื่องดังกล่าว และได้แจ้งกับ FAA ทันที

โดย Boeing ได้เตรียมตรวจสอบเครื่องบินรุ่น 787 ที่กำลังอยู่ในสายการผลิตของบริษัท และยังเตรียมที่จะมีแผนตรวจสอบเครื่องบินที่ผลิตแล้วเสร็จและใช้งานโดยสายการบินต่างๆ ด้วย แต่ตัวแทนของบริษัทได้กล่าวว่าการปลอมแปลงผลการทดสอบอาจไม่สัมพันธ์กับเรื่องความปลอดภัยแต่อย่างใด

ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา วิศวกรของ Boeing ได้เข้าให้การในการไต่สวนของสภาคองเกรส กรณีการตรวจสอบด้านความปลอดภัยในส่วนการผลิตเครื่องบินในรุ่นต่างๆ ซึ่งรวมถึงเครื่องบินในรุ่น 787 นี้ด้วย โดยมีการกล่าวถึงวัฒนธรรมในองค์กรที่พยายามปกปิดสิ่งเหล่านี้

สำหรับกรณีของ Boeing นั้นไม่ใช่ครั้งแรกที่หน่วยงานกำกับดูแลได้เข้ามาตรวจสอบการผลิตของบริษัท แต่กรณีของเครื่องบินรุ่น 737 MAX ของบริษัท ก็มีคำสั่งให้ผู้ผลิตเครื่องบินรายนี้งดเพิ่มกำลังการผลิต เนื่องจากปัญหาการควบ คุมคุณภาพการผลิต คล้ายกับกรณีของเครื่องบินรุ่น 787

นอกจากนี้ Boeing เองยังกล่าวว่า การผลิตเครื่องบินในรุ่น 787 อาจมีการผลิตและส่งมอบเครื่องบินให้กับสายการบินต่างๆ ช้าลง เนื่องจากบริษัทขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตที่สำคัญ 

ที่มา – NPR

]]>
1472226
Qantas ยอมจ่ายค่าปรับและเงินชดเชยให้ลูกค้า 87,000 ราย หลังเปิดขายตั๋วเที่ยวบินทิพย์ https://positioningmag.com/1472192 Mon, 06 May 2024 06:54:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1472192 แควนตัส (Qantas) สายการบินรายใหญ่ของออสเตรเลีย ได้ยอมที่จะจ่ายค่าปรับรวมถึงเงินชดเชยเยียวยาลูกค้ารวมกันถึง 120 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หลังจากที่สายการบินได้เปิดขายตั๋วเที่ยวบินที่ไม่มีจริง หรือเที่ยวบินที่ถูกยกเลิกไปแล้วในช่วงปี 2021-2022 สร้างผลกระทบต่อผู้บริโภคมากถึง 87,000 ราย

Qantas สายการบินรายใหญ่ของออสเตรเลีย ได้ยอมที่จะจ่ายค่าปรับรวมถึงเงินชดเชยเยียวยาลูกค้ารวมกันถึง 120 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หลังจากที่สายการบินได้เปิดขายตั๋วเที่ยวบินที่ไม่มีจริง หลังจากที่เป็นคดีความมาตั้งแต่ปี 2022

Gina Cass-Gottlieb ประธานคณะกรรมการการแข่งขันและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลียกล่าวในแถลงการณ์ว่า พฤติกรรมของ Qantas ถือเป็นเรื่องร้ายแรงและไม่อาจยอมรับได้ เนื่องจากผู้บริโภคจำนวนมากวางแผนวันหยุด หรือเดินทางด้านธุรกิจ และการเดินทางดังกล่าวต้องยกเลิกลงหลังจากจองเที่ยวบินดังกล่าวเป็นเที่ยวบินที่ไม่มีจริง

เม็ดเงินที่ Qantas จะต้องจ่ายรวมกันนั้นสูงถึง 120 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 2,922 ล้านบาท ประกอบไปด้วยค่าปรับ 100 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ค่าชดเชยที่ต้องจ่ายให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าวอีก 20 ล้านเหรียญออสเตรเลีย

ผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจะได้รับเงินชดเชยสำหรับเที่ยวบินในประเทศ 225 เหรียญออสเตรเลีย และ 445 เหรียญออสเตรเลียสำหรับเที่ยวบินต่างประเทศ

Vanessa Hudson ซึ่งเป็น CEO ของสายการบินได้กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า การจ่ายค่าปรับและเงินชดเชยนั้นเป็นสิ่งที่สายการบินให้ความสำคัญเนื่องจากต้องการฟื้นฟูความเชื่อมั่นกลับมาอีกครั้งในฐานะสายการบินประจำประเทศออสเตรเลีย

สำหรับเที่ยวบินที่ไม่มีจริงของ Qantas ได้มีการวางขายตั๋วบนเว็บไซต์ของสายการบินในช่วงปี 2021 และ 2022 ซึ่งเป็นปีหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด ซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบมากถึง 87,000 ราย

กรณีที่เกิดขึ้นยังทำให้กลุ่มเฝ้าระวังผู้บริโภคของออสเตรเลียรวมตัวกันฟ้องร้อง Qantas จากเหตุการณ์ดังกล่าว

หลังเหตุการณ์การฟ้องร้องของกลุ่มเฝ้าระวังผู้บริโภคของออสเตรเลียยังทำให้ CEO ในช่วงเวลาดังกล่าวอย่าง Alan Joyce ยังต้องประกาศลาออกจากตำแหน่งล่วงหน้า 2 เดือน และยังทำให้สายการบินรายใหญ่ได้ปรับปรุงการบริหารภายในชุดใหญ่ เช่น การตั้ง CEO คนใหม่เพื่อฟื้นฟูภาพลักษณ์ขององค์กร เป็นต้น

ในปี 2023 ที่ผ่านมาสายการบินของออสเตรเลียรายนี้มีกำไรมากถึง 1,744 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 42,473 ล้านบาท แต่สายการบินรายนี้มีข้อวิจารณ์จากผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็น การขึ้นราคาค่าตั๋วเครื่องบิน บริการลูกค้าที่ย่ำแย่ หรือแม้แต่กรณีการปลดพนักงาน 1,700 รายอย่างผิดกฎหมาย

ที่มา – BBC, Al Jazeera, ABC

]]>
1472192
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ฟ้อง Apple ข้อหาผูกขาดตลาดมือถือ คุกคามตลาดเสรี ใช้เล่ห์เหลี่ยมกีดกันคู่แข่ง https://positioningmag.com/1466881 Thu, 21 Mar 2024 17:53:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466881 แอปเปิล (Apple) ได้ถูกกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ รวมถึงอัยการของ 16 รัฐ ได้ฟ้องในข้อหาผูกขาดตลาดโทรศัพท์มือถือ และยังใช้เล่ห์เหลี่ยมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไม่ให้ลูกค้าย้ายไปใช้ผลิตภัณฑ์คู่แข่ง ไปจนถึงการไม่ให้เข้าถึงอุปกรณ์เสริมต่างๆ ขณะที่ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิต iPhone นั้นกล่าวว่าพร้อมที่จะต่อสู้เรื่องดังกล่าว

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ รวมถึงอัยการของรัฐต่างๆ รวมกัน 16 รัฐ ได้ยื่นฟ้อง Apple ในข้อหาผูกขาดตลาดโทรศัพท์มือถือ และใช้เล่ห์เหลี่ยมต่างๆ เพื่อที่จะกีดกันคู่แข่งไม่ให้เข้าถึงบริการต่างๆ ของบริษัท หรือแม้แต่ข้อหาทำให้ผู้บริโภคหรือแม้แต่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น

ในการยื่นฟ้องต่อ Apple มีหลากหลายข้อกล่าวหา ไม่ว่าจะเป็น การกีดกันข้อความสั้นของ Android การเก็บค่าคอมมิชชั่นภายใน App Store 30% การห้ามเข้าถึงระบบ Wallet หรือแม้แต่การกีดกันไม่ให้คู่แข่งสามารถเข้าถึง Apple Watch หรืออุปกรณ์เสริมอื่นๆ ได้ เป็นต้น

พฤติกรรมดังกล่าวของ Apple หลายปีที่ผ่านมา ทำให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ รวมถึงอัยการของรัฐต่างๆ รวมกัน 16 รัฐ สั่งฟ้อง Apple โดยชี้ว่ายักษ์ใหญ่รายดังกล่าวได้ทำให้การแข่งขันนั้นย่ำแย่ลง และยังชี้ว่าคำกล่าวอ้างของคดีนี้นั้นจะทำลายความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้บริโภคนั้นไม่เป็นความจริง

Merrick Garland อัยการสูงสุดของสหรัฐได้ชี้ว่า Apple รักษาอำนาจ (ในการผูกขาด) ไว้ไม่ใช่เพราะความเหนือกว่า (ผู้เล่นรายอื่น) แต่เป็นเพราะพฤติกรรมกีดกัน ซึ่งเป็นเรื่องผิดกฎหมาย นอกจากนี้ยังชี้ว่า การผูกขาดในกรณีของ Apple ได้คุกคามตลาดเสรี ซึ่งเป็นรากฐานของเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา

ข้อมูลของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ยังชี้ว่า ส่วนแบ่งของ Apple ในตลาดสมาร์ทโฟนในสหรัฐฯ นั้นเกิน 70% และส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกของบริษัทเกิน 65% อีกด้วย

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา Apple ได้ถูกสหภาพยุโรปปรับเงินบริษัทมากถึง 1,800 ล้านยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยเกือบๆ 70,000 ล้านบาท (ในช่วงเวลานั้น) จากข้อหาที่ผูกขาด App Store และขัดขวางไม่ให้คู่แข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการ Music Streaming รายอื่นสามารถแจ้งผู้ใช้งานได้ว่าสามารถจ่ายเงินค่าบริการจากนอกแพลตฟอร์มได้

ทางฝั่งของ Apple ได้ให้คำมั่นว่าจะต่อสู้กับคดีนี้อย่างจริงจัง และปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยมองว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวนั้นทำลายเรื่องของนวัตกรรมด้วยซ้ำ

ที่มา – The Verge, CNN, NBC News

]]>
1466881
EU เริ่มไต่สวน TikTok ละเมิดกฎระเบียบปกป้องผู้เยาว์ จัดการคอนเทนต์ผิดกฎหมายหรือไม่ ถ้าผิดมีสิทธิ์โดนปรับเม็ดเงินหลักหมื่นล้านบาท https://positioningmag.com/1463399 Tue, 20 Feb 2024 08:39:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1463399 สหภาพยุโรป เริ่มไต่สวน TikTok ว่าละเมิดกฎระเบียบปกป้องผู้เยาว์ จัดการคอนเทนต์ผิดกฎหมายหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติบริการดิจิทัล ที่มีการบังคับใช้เมื่อไม่นานนี้ ถ้าหากบริษัทผิดจริงอาจมีสิทธิ์โดนปรับเม็ดเงินมากถึงหลักหมื่นล้านบาท

สหภาพยุโรป (EU) ได้เริ่มเปิดการไต่สวน TikTok เครือข่ายสังคมที่เน้นไปยังการแชร์วิดีโอสั้น มีการละเมิดกฎระเบียบปกป้องผู้เยาว์ หรือแม้แต่ความโปร่งใสในการจัดการคอนเทนต์ผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งถ้าหากพบว่ามีการฝ่าฝืนจริง อาจทำให้บริษัทโดนปรับเม็ดเงินมหาศาล

การที่ EU ได้สอบสวน TikTok เนื่องจากอาจมีการละเมิดกฎ พระราชบัญญัติบริการดิจิทัล (Digital Services Act) ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดความโปร่งใส การไม่ปกป้องผู้เยาว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพลตฟอร์มมีการออกแบบให้ผู้เยาว์ติดหน้าจอโทรศัพท์เป็นเวลานาน การจัดการคอนเทนต์ผิดกฎหมาย ไปจนถึงการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

สำหรับ Digital Services Act ของ EU มีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคหลังจากบริการจากบริษัทเทคโนโลยีมีบทบาทมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การรับรองด้านเสรีภาพ การปกป้องผู้เยาว์ การโฆษณาบนแพลตฟอร์ม หรือแม้แต่เรื่องการบิดเบือนข้อมูล

ถ้าหากมีการฝ่าฝืน หรือแม้แต่ทำผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า บทลงโทษจะรุนแรงมากขึ้น โดยค่าปรับนั้นจะคำนวณจากยอดขายของบริษัทถ้าหากเป็นบริษัทใหญ่ ซึ่ง EU ได้บังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

Thierry Breton กรรมาธิการตลาดภายในของสหภาพยุโรป ได้กล่าวว่า การปกป้องผู้เยาว์ถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของ Digital Services Act เพื่อปกป้องคนหนุ่มสาวชาวยุโรป และเขาชี้ว่า TikTok จะต้องทำตามข้อระเบียบอย่างเต็มที่ ซึ่ง EU กำลังสอบสวนในเรื่องดังกล่าว

หาก EU พบว่า TikTok มีการฝ่าฝืนจริงนั้นอาจมีค่าปรับได้มากถึง 6% ของรายได้รวมที่ทำได้ทั่วโลก ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่หลักพันล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าหากคิดจากรายได้ล่าสุดครึ่งปีแรกของปี 2023 หรือคิดเป็นเงินไทยคร่าวๆ ถึงหลักหมื่นล้านบาท

ทางฝั่งของ TikTok ได้กล่าวว่าจะมีการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คนหนุ่มสาวบนแพลตฟอร์มของบริษัทปลอดภัย โดยบริษัทหวังว่าจะได้อธิบายสิ่งดังกล่าวนี้โดยละเอียดต่อคณะกรรมาธิการยุโรป

นอกจากนี้ตัวแทนของ TikTok ยังกล่าวว่าบริษัทเป็นผู้บุกเบิกฟีเจอร์และการตั้งค่าเพื่อปกป้องวัยรุ่นและป้องกันไม่ให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปีใช้งานแพลตฟอร์ม

ก่อนหน้านี้ TikTok ได้ถูกหน่วยงานกำกับดูแลในไอร์แลนด์ปรับเงินเป็นเม็ดเงิน 345 ล้านยูโรมาแล้ว จากประเด็นละเมิดกฎระเบียบปกป้องผู้เยาว์มาแล้ว

ที่มา – The Guardian, Irish Times

]]>
1463399
FTC สอบสวนบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง เรื่องการลงทุนและจับมือเป็นพันธมิตรด้าน AI อาจกระทบการแข่งขันได้ https://positioningmag.com/1460410 Fri, 26 Jan 2024 07:44:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1460410 คณะกรรมาธิการการค้าของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้อาศัยข้อกฎหมายเพื่อเข้าสอบสวนบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งเรื่องการลงทุนและจับมือเป็นพันธมิตรด้าน AI ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวชี้ว่าอาจกระทบการแข่งขัน และส่งผลกระทบกับผู้บริโภคได้

คณะกรรมาธิการการค้าของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ (FTC) ได้สอบสวนบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง จากประเด็นการลงทุนและจับมือเป็นพันธมิตรในเรื่องปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยให้เหตุผลว่าอาจกระทบการแข่งขันได้ หลังจากการเข้ามาของ AI อาจทำให้เกิดความได้เปรียบด้านเทคโนโลยีมากขึ้น

สำหรับบริษัทเทคโนโลยีที่โดน FTC เข้าสอบสวนได้แก่ Amazon, Alphabet, Microsoft, OpenAI รวมถึง Anthropic

การสืบสวนดังกล่าว FTC เข้าสอบสวนบริษัทเทคโนโลยีในตลาดหลายบริษัทเกี่ยวกับการลงทุนและการจับมือเป็นพันธมิตรระหว่างบริษัทเทคโนโลยีด้าน AI กับบริษัทเทคโนโลยีโดยเฉพาะผู้ให้บริการ Cloud รายใหญ่ เพื่อต้องการทราบถึงกาลงทุนนั้นมีความเสี่ยงที่จะบิดเบือนกลไกตลาด หรือการแข่งขันหรือไม่

ในด้านของการจับมือเป็นพันธมิตรด้านเทคโนโลยี ทาง FTC จะสอบสวนว่าการร่วมมือกัน หรือการทำงานร่วมกันนั้นมีระบบการทำงาน หรือการตัดสินใจของแต่ละฝ่าย เพื่อที่จะทราบถึงอิทธิพลของอีกฝ่ายว่ามากน้อยเพียงใด และผลดังกล่าวกระทบกับผู้บริโภคในระยะยาวหรือไม่

FTC ยังได้อ้างข้อกฎหมายที่สามารถขอตรวจสอบบริษัทต่างๆ ได้ และได้กล่าวว่าการเข้ามาของเทคโนโลยี AI ก็ไม่สามารถเป็นข้อยกเว้นได้ ซึ่งคณะกรรมการของ FTC มีมติเอกฉันท์ 3-0 เสียง เพื่อใช้ข้อกฎหมายดังกล่าวเพื่อเข้าตรวจสอบบริษัทเทคโนโลยี

Lina Khan ประธานของ FTC ได้กล่าวว่า “ในประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถสร้างตลาดใหม่ๆ และการแข่งขันที่ดีได้” และเธอยังกล่าวเสริมว่า FTC จะใช้ประสบการณ์ในการกำกับดูแลธุรกิจอื่นๆ จะช่วยให้หน่วยงานกำกับดูแลรายนี้สามารถสอบสวนเรื่องดังกล่าวได้

ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ได้เริ่มขยับตัวมากขึ้นจากการเข้ามาของ AI ไม่ว่าจะเป็นกรณี Microsoft ได้ลงทุนกับ OpenAI เจ้าของแพลตฟอร์ม ChatGPT มากถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือแม้แต่ Amazon และ Alphabet ที่ได้ลงทุนใน Anthropic บริษัทด้าน AI อีกรายเป็นเงินรวมกันหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ

การเข้าสอบสวนดังกล่าวบริษัทเทคโนโลยีแต่ละแห่งจะมีเวลา 45 วันในการตอบประเด็นข้อสงสัยของ FTC 

ที่มา – CNBC, The Register, Axios

]]>
1460410
รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมบีบ Apple และ Google เปิดเสรี App Store ให้ผู้เล่นรายอื่นเข้ามาแข่งขันได้ https://positioningmag.com/1457316 Wed, 27 Dec 2023 08:35:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457316 รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมบีบ Apple และ Google เปิดเสรี App Store ให้ผู้เล่นรายอื่นเข้ามาแข่งขันได้ ผ่านข้อกฎหมายที่คาดว่าจะยื่นต่อสภาภายในปี 2024 ที่จะถึงนี้ ทำให้ผู้เล่นรายใหญ่ไม่สามารถที่จะผูกขาดแพลตฟอร์ม รวมถึงผู้เล่นรายใหม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้

Nikkei Asia รายงานข่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่น เตรียมออกกฎหมายบีบให้ Apple และ Google เปิดระบบให้สามารถติดตั้ง App Store รวมถึงระบบจ่ายเงินภายในแอปจากผู้เล่นรายอื่นได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ 2 บริษัทสามารถครองตลาดญี่ปุ่นมากจนเกินไป

สื่อญี่ปุ่นได้รายงานว่าข้อกฎหมายที่มีกำหนดส่งไปยังรัฐสภาในปี 2024 จะจำกัดการเคลื่อนไหวผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอย่าง Apple และ Google เพื่อรักษาผู้ใช้ไว้ในระบบนิเวศของผู้ให้บริการเอง และปิดกั้นคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นในส่วน App Store (ของ Apple) และ Play Store (ของ Google) ระบบชำระเงิน

นอกจากนี้ข้อกฎหมายดังกล่าวยังรวมถึง การค้นหา (ซึ่งจะกระทบกับ Google) ระบบเบราว์เซอร์ รวมถึงระบบปฏิบัติการ ในส่วนของการลงโทษนั้น JFTC จะมีค่าปรับสำหรับการละเมิด คาดว่าบทลงโทษจะอยู่ที่ประมาณ 6% ของรายได้จากที่เป็นส่วนของปัญหา

ในช่วงที่ผ่านมา App Store สร้างรายได้มหาศาลให้กับ Apple เป็นอย่างมาก เช่นในปี 2021 นั้นรายได้มากถึง 64,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และทำให้ผู้พัฒนาหลายรายไม่พอใจ เนื่องจากต้องโดนหักส่วนแบ่งระบบชำระเงินซึ่งอาจมากถึง 30% ส่งผลแก่ผู้พัฒนาได้รับรายได้ลดลง จนทำให้ผู้พัฒนาอย่าง EPIC Games ต้องฟ้องศาลจนกลายเป็นคดีความ

ขณะที่ Google เองเช่นกันที่เป็นเจ้าของ Play Store โดยในปี 2021 มีรายได้ถึง 47,900 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้บริษัทกำลังโดนคณะกรรมาธิการการค้าที่เป็นธรรมของญี่ปุ่นเริ่มสอบสวนว่าบริษัทเทคโนโลยีจากสหรัฐอเมริการายดังกล่าวได้ละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดในบริการค้นหาหรือไม่

การเดินเกมดังกล่าวของญี่ปุ่นตามมาจากมาตรการในสหภาพยุโรปที่ต้องการลดอำนาจการผูกขาดแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Apple และ Google ซึ่งสหภาพยุโรปมองว่ามีอำนาจต่อรองมากเกินไป

ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นมองว่าโมเดลดังกล่าวที่เตรียมนำมาใช้จะช่วยไม่ให้ผู้เล่นรายใหญ่เกิดการครอบงำตลาดขึ้นมา โดยกฎหมายนี้มีจุดมุ่งหมายบังคับให้ App Store และระบบการชำระเงินของผู้เล่นรายอื่นสามารถเข้าสู่แพลตฟอร์มได้ ตราบใดที่ผู้ให้บริการรายใหม่เหล่านี้มีความปลอดภัยและปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้

]]>
1457316