การเงิน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 26 Nov 2021 02:28:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ถอดรหัส ‘ผู้บริโภค’ ช่วงวิกฤต รายได้ลด มีปัญหาหนี้ หวังปีหน้าฟื้นตัว เเต่ยัง ‘รัดเข็มขัด’ https://positioningmag.com/1363998 Thu, 25 Nov 2021 10:03:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363998 สรุปประเด็นน่าสนใจจาก EIC Consumer Survey 2564 ถอดรหัสผู้บริโภคยุคโควิด-19 การเงินวิกฤต การใช้ชีวิตไม่เหมือนเดิม กลุ่มรายได้น้อยรับผลกระทบหนักสุด คนส่วนใหญ่หวังปีหน้ารายได้เริ่มกลับมา เเต่ยัง ‘รัดเข็มขัด’ ระมัดระวังใช้จ่าย แม้สถานการณ์โควิดจะคลี่คลายก็ตาม เเนะผู้ประกอบการหาโอกาสจากแนวโน้มการใช้จ่ายในหมวดที่จะเร่งตัวจาก pent-up demand ของผู้มีกำลังซื้อ-รายได้สูง เทรนด์ออนไลน์อยู่ยาว 

โดย EIC ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคไทยจำนวน 3,205 คน ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม ถึง 27 กันยายน 2564 เกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมในช่วงโควิด-19 และแนวโน้มหลังวิกฤตคลี่คลาย

ผู้บริโภค รายได้ไม่พอรายจ่าย เเบกภาระหนี้ 

วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้บริโภคไทยจำนวนมาก นำไปสู่ 3 ปัญหาทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญในช่วงปีที่ผ่านมา ได้แก่ ปัญหารายได้ไม่พอใช้จ่าย ปัญหาภาระการชำระหนี้ ปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน โดยปัญหาจะมีความรุนแรงเป็นพิเศษในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลทำให้ผู้บริโภคเกือบครึ่ง หรือ 48% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
มีรายได้ลดลง เมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19

โดยมีสัดส่วนถึง 30% ของผู้บริโภคที่มีรายได้ที่ลดลงมากกว่า 10% ขึ้นไปเมื่อเทียบกับระดับรายได้ก่อนโควิด-19 ขณะที่มีผู้บริโภคเพียง 24% เท่านั้น ที่มีรายได้เพิ่มขึ้นในช่วงเดียวกัน

Photo : Shutterstock

คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนทำงานเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนที่มีระดับรายได้ค่อนข้างสูง ด้วยสถานการณ์ด้านรายได้ที่ซบเซา ส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจทั้งในด้านการใช้จ่าย การจัดการภาระหนี้ และปัญหาสภาพคล่อง

โดยผลสำรวจพบว่ามีถึง 63% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ที่กำลังเผชิญปัญหารายได้ ไม่พอรายจ่ายไม่มากก็น้อย

นอกจากนี้ เกินครึ่ง (56%) ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีหนี้กำลังเผชิญปัญหาในการชำระหนี้ และ 52% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดยังมีสภาพคล่องทางการเงินไม่เกิน 6 เดือน

ทั้งนี้ EIC พบว่า มีคนจำนวนถึง 31% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดที่กำลังเผชิญ 3 ปัญหาดังกล่าวพร้อมกัน

คนรายได้น้อย รับผลกระทบหนักสุด

เมื่อพิจารณาแยกตามระดับรายได้ EIC พบว่า กลุ่มผู้บริโภครายได้น้อย หรือคนที่มีรายได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน มีสัดส่วนคนที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจมากที่สุดในทุกประเด็นปัญหาที่กล่าวมา โดยสัดส่วนของจำนวนคนที่มีปัญหาจะลดน้อยลงในกลุ่มระดับรายได้ที่สูงขึ้น

“สะท้อนให้เห็นว่า วิกฤตโควิด-19 เป็นวิกฤตที่กระทบผู้มีรายได้น้อยรุนแรงกว่า ตอกย้ำปัญหาความเหลื่อมล้ำอันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทย”

โดยกลุ่มคนรายได้น้อย มีสัดส่วนของคนที่ระบุว่ารายได้ลดลงในช่วงปีที่ผ่านมาสูงถึง 63% จากจำนวนคนรายได้น้อยทั้งหมด ซึ่งถือว่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่มีรายได้สูงกว่า

ในทำนองเดียวกัน ทั้งสัดส่วนการมีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายของคนรายได้น้อย (87%) สัดส่วนคนมีปัญหาภาระหนี้ (78%) และสัดส่วนคนมีปัญหาสภาพคล่อง (71%) หรือสัดส่วนของคนที่เผชิญทั้ง 3 ปัญหา (49%) ก็ล้วนแล้วแต่สะท้อนถึงผลกระทบที่มีต่อคนรายได้น้อยส่วนใหญ่และระดับปัญหาที่มากกว่าคนรายได้สูงกว่าทั้งสิ้น

หวัง ‘ปีหน้า’ รายได้เริ่มกลับมา

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ มองว่ารายได้จะฟื้นตัวกลับมาเท่ากับที่เคยได้ในช่วงก่อนโควิด ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป แต่ยังค่อนข้างมีความระมัดระวังกับแผนการใช้จ่ายในระยะข้างหน้า

“อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายสำหรับบริการในประเทศบางประเภทมีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากแรงส่งของอุปสงค์คงค้าง (pent-up demand) โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้มีรายได้สูง”

เมื่อมองไปข้างหน้า ผู้บริโภคครึ่งหนึ่ง คาดว่ารายได้ของตนเองจะฟื้นกลับมาเท่ากับช่วงก่อนโควิด-19 ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป

โดยมีผู้บริโภคถึง 16% ที่เชื่อว่ารายได้ตนเองไม่มีทางกลับมาเท่ากับก่อนโควิด-19 ซึ่งคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นคนรายได้น้อย และเป็นคนทำงานในภาคการท่องเที่ยว และค้าส่ง-ค้าปลีก สะท้อนถึงผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจดังกล่าวที่รุนแรงมากและมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ยาก

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ยัง ‘รัดเข็มขัด’ เเม้สถานการณ์จะดีขึ้น 

การคาดการณ์ว่ารายได้จะฟื้นตัวช้า มีส่วนกดดันแผนการใช้จ่ายในระยะข้างหน้า โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ราว 72% ระบุว่าจะยังคงไม่เพิ่มการใช้จ่ายแม้สถานการณ์โควิด จะคลี่คลายก็ตาม ราว 43% ของผู้บริโภคระบุว่าจะลดค่าใช้จ่ายลงจากปัจจุบันอีกด้วย โดยคนกลุ่มที่เลือกจะรัดเข็มขัดเพิ่มเติมนี้ ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีมุมมองว่ารายได้ตนเองจะยังไม่เพิ่มขึ้นในเร็ววัน

อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายบางหมวดมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีจากอุปสงค์คงค้าง (pent-up demand) ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีแนวโน้มกลับไปใช้จ่ายในหมวดที่เกี่ยวกับกิจกรรมนอกบ้าน หลังสถานการณ์คลี่คลาย เช่น การท่องเที่ยวภายในประเทศ และบริการด้านสุขภาพและความงาม เป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มรายได้สูง (รายได้มากกว่า 1 แสนบาทต่อเดือน) ที่มีสัดส่วนคนที่จะกลับไปใช้จ่ายในหมวดดังกล่าวภายในระยะเวลา 6 เดือนข้างหน้าสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ

คาดว่ามาจากความต้องการที่คงค้างมาจากช่วงปิดเมือง และยังเป็นช่วงเวลาของฤดูกาลท่องเที่ยว ประกอบกับยังมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐเป็นอีกแรงสนับสนุนด้วย

อย่างไรก็ดี สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ บ้าน รถยนต์ มีผู้บริโภคเพียงส่วนน้อย (5-6%) ที่มีแผนจะใช้จ่ายในช่วง 6 เดือนข้างหน้า สะท้อนถึงผลจากทั้งรายได้และความเชื่อมั่นที่ซบเซา เช่นเดียวกันกับแผนในการท่องเที่ยวต่างประเทศที่ยังมีไม่มากนักในหมู่ผู้บริโภคไทย ตามภาวะรายได้ รวมถึงข้อจำกัดและความเชื่อมั่นในการเดินทางระหว่างประเทศ

พฤติกรรม New Normal เทรนด์ออนไลน์อยู่ยาว 

ในช่วง COVID-19 ผู้บริโภคไทยมีการเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งด้านการใช้เทคโนโลยี และการใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรม 2 กลุ่มนี้มีแนวโน้มกลายเป็น New Normal

ในช่วงปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากผลกระทบของวิกฤต COVID-19 ทั้งในด้านการใช้เทคโนโลยีและการใช้เวลาที่บ้าน โดย ผู้บริโภค 41% ระบุว่ามีการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์เพิ่มขึ้นหรือซื้อเป็นครั้งแรกเมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19

ขณะที่มีเพียง 17% ของผู้บริโภคเท่านั้นที่เพิ่มการใช้จ่ายโดยทั่วไปในช่วงเดียวกัน สะท้อนถึงการเพิ่มสัดส่วนการใช้ช่องทางออนไลน์ในการซื้อสินค้ามากขึ้นในช่วงที่การจับจ่ายใช้สอยในช่องทางออฟไลน์มีข้อจำกัด

นอกจากนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (57%) ยังมีการใช้เวลาทำกิจกรรมที่บ้าน เช่น การปลูกต้นไม้ ทำอาหาร เพิ่มขึ้น หรือทำเป็นครั้งแรกด้วยเช่นกัน จากการที่วิกฤต COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานมาเป็นการทำงานที่บ้านและมีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลต่อเนื่องทำให้การปรับปรุงและตกแต่งบ้าน และการซื้อของออนไลน์ในหมวดสินค้าเกี่ยวกับบ้านเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

สำหรับแนวโน้มหลังโควิดคลี่คลายนั้น พฤติกรรมที่ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนในช่วงที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ต่อเนื่อง หรือกลายเป็น New Normal แม้จะลดน้อยลงบ้างจากที่เคยทำในช่วง COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์ที่กว่า 86% ของผู้บริโภคระบุว่าจะยังทำต่อไปแม้สถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย ซึ่งอาจเป็นเพราะความสะดวกจากการใช้บริการ

(Photo by Carl Court/Getty Images)

พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีแนวโน้มจะกลายเป็น New Normal ได้แก่ การใช้เวลาทำกิจกรรมที่บ้านที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (91%) ระบุว่าจะยังคงทำต่อไป เช่นเดียวกันกับการปรับปรุง-ตกแต่งบ้าน (67%) และการใช้บริการ food delivery (67%) ซึ่งคาดว่าพฤติกรรมกลุ่มนี้ได้รับแรงสนับสนุนจากเทรนด์การทำงานที่บ้านที่หลายองค์กรมีแนวโน้มปรับใช้แบบระยะยาว ทำให้การใช้เวลาที่บ้านของผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นตามมา

อย่างไรก็ตาม กลุ่มพฤติกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มลดลงบ้างเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย เพราะอาจถูกทดแทนด้วยทางเลือกนอกบ้าน โดยเฉลี่ยประมาณ 25-30% ของผู้บริโภคระบุว่าจะยังคงพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์และการใช้เวลาที่บ้าน แต่จะลดน้อยลงจากที่เคยทำในช่วง COVID-19 ทั้งนี้ สาเหตุอาจมาจากการมีทางเลือกมากขึ้นเมื่อบริการที่ทดแทนกันได้แบบออฟไลน์ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร กลับมาเปิดให้บริการได้มากขึ้น

สรุป : 

ข้อค้นพบจากผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคของ EIC ได้บ่งชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ต่อผู้บริโภคไทยที่ค่อนข้างรุนแรงและจะยังมีผลต่อเนื่องไปในระยะข้างหน้า ผ่านความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของรายได้ที่ยังซบเซา กดดันแนวโน้มการใช้จ่ายภาพรวมในอนาคต โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย

“ผู้ประกอบการที่เจาะกลุ่มผู้บริโภคยังสามารถหาโอกาสได้จากแนวโน้มการใช้จ่ายในหมวดที่จะเร่งตัวจาก pent-up demand ของผู้มีกำลังซื้อ รวมถึงโอกาสจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านการซื้อของออนไลน์และการใช้เวลาอยู่บ้านซึ่งมีแนวโน้มกลายเป็น New Normal ที่ดำเนินต่อไปแม้สถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง”

 

]]>
1363998
‘เเบงก์ชาติ’ เตรียมขยายใช้สกุลเงินดิจิทัล ‘CBDC’ ในภาคประชาชน https://positioningmag.com/1322476 Mon, 08 Mar 2021 11:54:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322476 เเบงก์ชาติพอใจผลทดสอบระบบต้นเเบบการชำระเงินด้วย CBDC สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางในภาคธุรกิจไทย พบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ดี เตรียมต่อยอดปี 2564-65 ขยายใช้ในภาคประชาชน

วชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงผลการพัฒนา ‘ระบบต้นแบบ’ การชำระเงินในภาคธุรกิจ โดยใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency: CBDC) จากความร่วมมือระหว่าง ธปท.เอสซีจีและบริษัทดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด โดยมีบริษัท ConsenSys เป็นผู้สนับสนุนด้านเทคโนโลยี

โดยผลการพัฒนาและทดสอบสรุปได้ว่า เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) การชำระเงินให้แก่ภาคธุรกิจได้เป็นอย่างดี

สำหรับโครงการ CBDC ที่ทดสอบการใช้กับภาคธุรกิจนั้น ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นของการชำระเงินในการรองรับการสร้างนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ ให้กับภาคธุรกิจ

ทั้งนี้ การพัฒนาระบบต้นแบบดังกล่าว ได้ใช้เทคโนโลยีประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology: DLT) เชื่อมต่อกับระบบบริหารการจัดซื้อ การวางบิล และการชำระเงินระหว่างเอสซีจีกับคู่ธุรกิจ (Suppliers)

อ่านเพิ่มเติม : CBDC ต่างกับคริปโตเคอร์เรนซีอื่นอย่างไร ? 

โดยผลการทดสอบพบว่าผู้ใช้สามารถกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ใน CBDC (Programmable Money) ให้สอดรับกับกิจกรรมทางธุรกิจได้ดี เช่น การกำหนดเงื่อนไขให้มีการชำระเงินตามข้อมูลที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ (Invoices) ในธุรกิจ Supply Chain Financing และการกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการเท่านั้น เพื่อลดปัญหาการบริหารเงินสด เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ระบบต้นแบบที่พัฒนาโดยใช้ DLT ยังมีข้อจำกัดบางประการ เช่น ความสามารถในการรองรับปริมาณธุรกรรมจำนวนมาก และการปกปิดความเป็นส่วนตัวของธุรกรรมทางการเงิน ที่ยังคงต้องหาแนวทางจัดการทั้งในเชิงเทคโนโลยี หรือการออกแบบระบบต่อไป (รายละเอียดผลทดสอบของโครงการฯ สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่)

“การพัฒนาระบบต้นแบบนี้ นับเป็นครั้งแรกของ ธปท. ที่ขยายขอบเขต CBDC ไปสู่ผู้ใช้งานในภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการเตรียมความพร้อม เพื่อให้เท่าทันพัฒนาการของสกุลเงินดิจิทัล ทั้งในและต่างประเทศที่อาจเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเงินในอนาคต” 

ขยายใช้ Retail CBDC ในภาคประชาชน

สำหรับในปี 2564 – 2565 ธปท.จะเน้นการศึกษาและพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลสำหรับภาคประชาชน (Retail CBDC) ซึ่งการพัฒนา CBDC ให้สามารถใช้ได้ในวงกว้าง จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัย และประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านต่างๆ ทั้งด้านการดำเนินนโยบายทางการเงิน เสถียรภาพระบบการเงิน และบทบาทของสถาบันการเงินและธนาคารกลาง

“จะเปิดให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบ CBDC ซึ่งจะส่งเสริมให้การทำธุรกรรมทางการเงินสามารถรองรับการพัฒนานวัตกรรมท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล”

ทั้งนี้ ธปท. จะเผยแพร่รายละเอียดผลการศึกษาการออก Retail CBDC ในระยะต่อไป

 

]]>
1322476
‘จีน’ ลุยปฏิรูปเศรษฐกิจ ตั้งเป้า GDP ปีนี้ เติบโต ‘มากกว่า 6%’ สร้างงานใหม่ให้ได้ 11 ล้านตำแหน่ง https://positioningmag.com/1322054 Fri, 05 Mar 2021 06:20:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322054 รัฐบาลจีน ประกาศเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจ กลับมาพุ่งให้ได้มากกว่า 6%’ พร้อมสร้างงานใหม่ 11 ล้านตำแหน่ง ท่ามกลางความท้าทายของโลกหลัง COVID-19

นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงกล่าวต่อที่ประชุมสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) ว่า เเม้ในปี 2021 จีนจะต้องเผชิญความท้าทายเเละความเสี่ยงจากหลายปัจจัย เเต่รัฐบาลยืนยันจะเดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจขนานใหญ่ เพื่อพัฒนาประเทศให้เติบโตในระยะยาว

โดยตั้งเป้าอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ให้กลับมาอยู่ในระดับมากกว่า 6%’ ในปีนี้

เมื่อปีที่แล้ว ตัวเลข GDP ของจีนขยายตัวที่ 2.3% นับเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียวในโลก ที่ยังเติบโตเป็นบวกได้ ขณะที่ประเทศเเถบยุโรปเเละสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากกว่า เพราะมีการเเพร่ระบาดซ้ำอีกหลายระลอก

การมาของ COVID-19 สะเทือนตลาดเเรงงานในรอบหลายทศวรรษ รัฐบาลจีน จึงประกาศจะเร่งสร้างงานตามเมืองต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 11 ล้านตำเเหน่ง เพิ่มขึ้น 2 ล้านตำแหน่ง เมื่อเทียบกับเป้าหมายของปีที่แล้ว

พร้อมกำหนดเพดานการขาดดุลงบประมาณให้อยู่ที่ 3.2% ของ GDP น้อยกว่าเป้าหมายของปีที่แล้ว ซึ่งกำหนดไว้ที่ 3.6% ส่วนอัตราเงินเฟ้อ ตั้งเป้าไว้ที่ประมาณ 3% เทียบกับเป้าหมายที่ 3.5% เมื่อปีที่แล้ว

โดยรัฐบาลจีนยืนยันว่าจะไม่มีการออกพันธบัตร ในปีนี้ หลังมีการใช้นโยบายดังกล่าวเป็นครั้งเเรกในปีที่ผ่านมา เพื่อฟื้นฟูศรษฐกิจของประเทศ ด้วยวงเงินมากกว่า 3 ล้านล้านหยวน

ก่อนหน้านี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มองว่า เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จากมาตรการของรัฐที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวด และการดำเนินนโยบายอย่างฉับไว เพื่อจำกัดผลกระทบของวิกฤตไวรัสที่เกิดขึ้น 

เเต่การเติบโตยังไม่สมดุล เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากภาคประชาชนเป็นหลัก เเต่ขณะนี้ยังขาดการบริโภคของภาคเอกชน” IMF ระบุ โดยประเมินว่าเศรษฐกิจจีน ในปี 2021 จะโตที่ 7.9%

 

 

ที่มา : Reuters , CNBC 

]]>
1322054
ไปไกลกว่าค้าปลีก ‘Walmart’ ลุยปั้นสตาร์ทอัพ ‘ฟินเทค’ ให้บริการทางการเงินกับผู้บริโภค https://positioningmag.com/1313802 Tue, 12 Jan 2021 06:55:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313802 ในยุคที่เศรษฐกิจไม่เเน่นอนเเละพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนเเปลงตลอดเวลาการพึ่งพาธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพออีกต่อไป 

Walmart ห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่เเห่งอเมริกา ที่มีสาขามากกว่า 4,700 เเห่ง เป็นอีกเจ้าที่มีการขยายการลงทุนธุรกิจไปในน่านน้ำอื่น ทั้งเเบรนด์เเฟชั่น คลินิกสุขภาพต้นทุนต่ำและธุรกิจประกันภัย 

ล่าสุด Walmart จับมือกับ Ribbit Capital บริษัทลงทุนที่อยู่เบื้องหลังแพลตฟอร์มซื้อขายหุ้นชื่อดังอย่าง Robinhood เตรียมปลุกปั้นสตาร์ทอัพฟินเทค’ (FinTech) บริษัทเทคโนโลยีทางการเงินของตัวเองขึ้นมา

โดยจะเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ด้านการค้าปลีกของ Walmart เข้ากับความเชี่ยวชาญด้านฟินเทคของ Ribbit Capital เพื่อส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการปรับให้เหมาะสมกับลูกค้าและพนักงานของ Walmart

อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้ ยังไม่ได้เปิดเผยว่าบริษัทใหม่เเห่งนี้จะมีชื่อว่าอะไรหรือจะให้บริการเมื่อใด โดยบอกแต่เพียงว่า “จะมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นเอกลักษณ์และราคาไม่แพง”

หลังประกาศข่าวนี้ ราคาหุ้นของ Walmart เพิ่มขึ้น 1.5% ทำให้มูลค่าบริษัทของ Walmart ขยับมาอยู่ที่ 416,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

John Furner ซีอีโอของ Walmart ระบุว่า หลายปีที่ผ่านมาลูกค้าหลายล้านคนได้ให้ความไว้วางใจใน Walmart ที่ไม่เพียงจะช่วยประหยัดเงินเมื่อซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ยังช่วยจัดการความต้องการทางการเงินของพวกเขาด้วย

(Photo by Al Bello/Getty Images)

Walmart หันมาสนใจธุรกิจให้บริการทางการเงิน โดยการเริ่มทดลองตลาดด้วยการออก Walmart MoneyCard บัตรเดบิตแบบเติมเงินเพื่อซื้อสินค้าภายในร้าน ชูจุดเด่นหลักๆ อย่างการไม่มีค่าธรรมเนียมเบิกเกินบัญชีหรือรายเดือน และไม่มีข้อกำหนดยอดเงินขั้นต่ำ

นอกจากนี้ ยังมีการเสนอแผนชำระเงินทางเลือกเพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโถคที่มีงบจำกัด เช่น Layaway และ Affirm ซึ่งเป็นบริษัทฟินเทคที่อนุญาตให้ลูกค้าซื้อสินค้าออนไลน์ เเละสามารถผ่อนชำระทีหลังได้ 

Bloomberg มองว่า เป้าหมายในธุรกิจฟินเทคของ Walmart คือการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเช่นเดียวกับที่ Alibaba อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ในเอเชีย เป็นทั้งผู้ค้าปลีกออนไลน์และผู้ให้บริการทางการเงินในแพลตฟอร์มเดียวกัน

การขยายไปรุกตลาดฟินเทคอย่างจริงจังของ Walmart ครั้งนี้ จึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในสงครามค้าปลีกยุคใหม่ที่จะเอามาต่อกรกับ Amazon ค้าปลีกออนไลน์ที่เฟื่องฟูขึ้นอย่างมากในวิกฤต COVID-19

 

 

ที่มา : Bloomberg , CNBC , Businesswire

]]>
1313802
“ลงทุนแมน – MisterBan” ครองแชมป์ Influencer สายการเงิน การลงทุนประจำเดือนส.ค. https://positioningmag.com/1297886 Fri, 18 Sep 2020 17:38:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297886 Socializta เปิดข้อมูล Top 5 Influencer จากทุกแพลตฟอร์มยอดนิยม โดยนำเสนอหมวดที่น่าสนใจแตกต่างกันออกไปในแต่ละเดือน ในเดือนสิงหาคมเป็น Influencer สายการเงิน การลงทุน พบว่า “ลงทุนแมน” ครองแชมป์เอ็นเกจเมนต์สูงสุดบน Facebook

ในทุกๆ เดือน Positioning จะร่วมกับ Socializta เพื่อเผยแพร่ข้อมูลท็อป 5 จากทุกแพลตฟอร์มยอดนิยม โดยนำเสนอหมวดที่น่าสนใจแตกต่างกันออกไปในแต่ละเดือน และสำหรับเดือนสิงหาคม 2563 นี้ ได้นำเสนอ Top 5 Creators ในหมวดไฟแนนซ์ การเงิน การลงทุน จากทั้ง Youtube, Facebook และ Instagram

Facebook

อันดับ 1 ได้แก่ ลงทุนแมน ด้วยการทำ 1,091,935 เอนเกจเมนต์

Instagram

อันดับ 1 ได้แก่ ลงทุนแมน เช่นกัน มีเอนเกจเมนต์รวมกว่า 336,639

Youtube

อันดับ 1 ได้แก่ MisterBan ที่ทำยอดวิวสูงถึง 338,125 วิว

ในส่วนของเพจที่มีเอนเกจเมนต์เรตสูงสุดบน Facebook ได้แก่ สอนลูกออมเงินและลงทุน ที่ 1.3% บน Instagram ได้แก่ The Money Coach ที่ 5.4% บน Youtube ได้แก่ Startyourway Official ที่ 5.2%

Startyourway Official (เอนเกจเมนต์เรตสูงสุดบน Youtube)

“ผมพยายามทำคอนเทนต์ที่ย่อยง่าย อ่านง่าย ทำในสิ่งที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับแฟนเพจ มีอะไรดี หรือทิปส์ไหนที่น่าสนใจก็จะเอามาแนะนำ เวลาร่วมงานกับสปอนเซอร์ ก็ต้องทำความเข้าใจถึงสิ่งที่อยากให้เราสื่อ ปรับจูนให้เข้าใจร่วมกัน และนำเสนอในรูปแบบที่ได้ทั้งเราและเขา บอกคีย์แมสเสจให้ครบถ้วน แต่ที่สำคัญคือคนที่ติดตามเราต้องได้รับอะไรดีๆ จากตรงนั้นด้วย ซึ่งจะเป็นตัวมัดใจให้คนติดตามและอยากแสดงความคิดเห็น หรือกดไลก์ กดแชร์ไปกับเราครับ”

Money Hero (Top 5 ยอดวิวสูงสุดใน Youtube)

“เป้าหมายเราคือสร้างนักลงทุนรายย่อยที่มีคุณภาพในการลงทุนมากขึ้น ดังนั้นคอนเทนต์ที่ผลิตขึ้นมาก็เพื่อติดอาวุธให้กับนักลงทุนรายย่อยอย่างแท้จริง ทั้งทฤษฎี และ case study หุ้นต่างๆ และที่สำคัญ คอนเทนต์เราต้องใหม่ update และเร็วที่สุด เพื่อให้ทันกับการลงทุนที่รวดเร็วในปัจจุบัน”

ขั้นตอน และวิธีทำรีพอร์ต

คำจำกัดความ

เอนเกจเมนต์ – บน Facebook วัดจากยอดไลก์ คอมเมนต์ รีแอคชั่นและแชร์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาที่เก็บข้อมูล สำหรับ Instagram วัดจากไลก์และคอมเมนต์ ในส่วนของ Youtube วัดจากไลก์และคอมเมนต์เช่นกัน

เอนเกจเมนต์เรต – บน Facebook และ Instagram คำนวณจากเอนเกจเมนต์ที่เกิดขึ้นในแต่ละโพสต์หารด้วยจำนวนผู้ติดตาม สำหรับ Youtube คำนวณจากเอนเกจเมนต์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวิดีโอหารด้วยยอดวิวของวิดีโอ

ยอดวิว – จำนวนวิวจริงที่แสดงให้เห็นในแต่ละวิดีโอ

ขั้นตอน

เริ่มต้นจากการจัดอันดับ 300 โปรไฟล์ในดาต้าเบสของสายไฟแนนซ์ การเงิน การลงทุน โดยวัดจากยอดวิวและเอนเกจเมนต์สูงสุดที่โพสต์หรืออัพโหลดในช่วงวันที่ 1 -31 สิงหาคม 2563 และคัดเอาท็อป 5 ที่ทำเพอร์ฟอร์แมนซ์สูงสุดของแต่ละแพลตฟอร์มมาจัดทำรีพอร์ตชิ้นนี้

]]>
1297886
ตามคาด! กนง.คงดอกเบี้ยที่ 0.50% เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว รอ “ไม่ต่ำกว่า 2 ปี” กว่าจะกลับสู่ปกติ https://positioningmag.com/1291221 Wed, 05 Aug 2020 09:18:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291221 กนง. ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี โดยให้มีผลทันที มองเศรษฐกิจไทยทยอยฟื้นตัว หลังผ่อนคลายล็อกดาวน์ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มฟื้นตัว แต่ยังต้องระวังความเสี่ยงจากโอกาสเกิดการระบาดระลอกสอง ยันพร้อมใช้นโยบายทางการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมถ้าจำเป็น

วันนี้ (5 ส.ค. 63) ทิตนันทิ มัลลิกะมาส เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ระบุว่า คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี

โดยมองว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัว เเต่จะใช้เวลา “ไม่ต่ำกว่า 2 ปี” ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมจะกลับสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาด อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวจะมีความแตกต่างกันมากระหว่างภาคเศรษฐกิจ

การบริการ นักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินไว้ ขณะที่นักท่องเที่ยวในประเทศฟื้นตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งจากมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ ส่วนด้านการส่งออกสินค้า เริ่มฟื้นตัวแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ

อุปสงค์ในประเทศ หดตัวทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน การจ้างงานและรายได้ของครัวเรือนได้รับผลกระทบรุนแรงจากเศรษฐกิจที่หดตัวและจะใช้เวลาฟื้นตัวนาน

กนง.จึงเห็นว่ามาตรการภาครัฐในระยะข้างหน้าจำเป็นต้องสนับสนุนการจ้างงาน ส่งเสริมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งมาตรการด้านการคลังที่ตรงจุดและทันการณ์ นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่อง มาตรการด้านการเงินและสินเชื่อที่ช่วยเสริมสภาพคล่อง รวมถึงนโยบายด้านอุปทานเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การปรับรูปแบบการทำธุรกิจ และการพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับบริบทใหม่หลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลงด้วย

Photo : Shutterstock

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปรับสูงขึ้นบ้างตามราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น แต่ยังมีแนวโน้มติดลบในปี 2563 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปี 2564 ตามราคาน้ำมันดิบที่จะทยอยปรับสูงขึ้นและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย

ภาวะการเงิน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทรงตัวในระดับต่ำ ขณะที่ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนและพันธบัตรรัฐบาลยังคงอยู่ในระดับสูง

สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวจากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อทดแทนการออกตราสารหนี้ ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ SMEs และสินเชื่ออุปโภคบริโภคชะลอลง แม้ว่าส่วนหนึ่งจะได้รับอานิสงส์จากมาตรการเลื่อนการชำระหนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าสภาพคล่องโดยรวมในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งต้องเร่งดำเนินการให้กระจายตัวไปสู่ภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบมากขึ้น

อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทผันผวนสูงขึ้นจากการประชุมครั้งก่อน ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าตามการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ

“หากเงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้นเร็ว อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ จึงเห็นควรให้ติดตามสถานการณ์ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด รวมทั้งประเมินความจำเป็นของการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม” 

ระบบการเงินมีเสถียรภาพ แม้ว่าจะเปราะบางมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ธนาคารพาณิชย์มีระดับเงินกองทุนและเงินสำรองที่เข้มแข็ง แต่ในระยะข้างหน้าต้องเตรียมพร้อมรับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ยังไม่แน่นอน และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจและครัวเรือนที่ลดลง

กนง.เห็นว่าควรผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจให้สอดคล้องกับกระแสรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ในบริบทใหม่หลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลง รวมถึงเร่งรัดการให้สินเชื่อผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) การค้ำประกันสินเชื่อโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) การสนับสนุนสินเชื่อโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เป็นต้น

คณะกรรมการฯ จะติดตามพัฒนาการของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ เสถียรภาพระบบการเงิน และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งจากเศรษฐกิจต่างประเทศ ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 รวมถึงประสิทธิผลของมาตรการการคลังและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อ เพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไป โดยพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจำเป็น

 

 

ที่มา : ธนาคารเเห่งประเทศไทย 

]]>
1291221
เปิดเกม KBank vs SCB เเข่งธุรกิจอาหาร เมื่อแบงก์จะไปอยู่ทุกที่ เเละเป็น “มากกว่า” ธนาคาร https://positioningmag.com/1286885 Wed, 08 Jul 2020 08:44:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286885 สมัยก่อนเมื่อพูดถึงธนาคาร หรือเเบงก์เรามักจะนึกถึงเเค่การทำธุรกรรมทางการเงิน สินเชื่อเเละประกัน เเต่ในยุคดิจิทัล ธนาคารได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา เป็นอีกหนึ่งเเอปพลิเคชันจำเป็นที่ต้องมีไว้ติดมือถือ

ธนาคารในไทย เป็นธุรกิจที่ถูกดิสรัปต์อย่างรุนเเรง เเต่ก็ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วเเละมีประสิทธิภาพ พัฒนาไปสู่ดิจิทัล
เเบงกิ้งอย่างเต็มรูปแบบ มีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาสม่ำเสมอ มากไปกว่านั้น ยังเป็นเหมือนผู้นำที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีใหม่ของเมืองไทยเลยก็ว่าได้ ด้วยความพร้อมจากการเป็นทุนใหญ่มีทรัพยากรมากทั้งบุคลากรเเละข้อมูลผู้ใช้

ในช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็นการฟาดฟันกันระหว่าง 2 ธนาคารใหญ่เเบงก์เขียวเเละเเบงก์ม่วงอย่างกสิกรไทย (KBank) เเละไทยพาณิชย์ (SCB) ที่เเข่งขันเอาใจลูกค้าเเละตอบสนองความต้องการใหม่ๆ พยายามที่จะเป็นมากกว่าเเบงก์ทำอะไรหลายอย่างที่ไม่เคยทำ ด้วยเป้าหมายว่าต่อไปแบงก์จะอยู่ทุกที่ ยกเว้นที่แบงก์นั่นเอง

KBank เเละ SCB เป็นคู่เเข่งสมน้ำสมเนื้อมาก ด้วยฐานผู้ใช้ K Plus ที่ 13 ล้านราย (ตั้งเป้าสิ้นปีนี้ 15 ล้านราย)  ส่วน SCB Easy มีผู้ใช้ 11 ล้านราย (ตั้งเป้าสิ้นปีนี้ 13 ล้านราย)

ด้านรายได้รวม (อ้างอิงจากงบการเงิน 9 เดือน ปี 2562) KBank อยู่ที่ 139,376 ล้านบาท SCB อยู่ที่ 131,890 ล้านบาท

ทั้ง 2 ธนาคารได้ตั้งบริษัทลูกที่จะมาปั้นสตาร์ทอัพในเมืองไทยโดยเฉพาะ อย่าง KASIKORN Business- Technology Group หรือ KBTG ที่ได้ กระทิง เรืองโรจน์ พูนผล มานำทัพเป็นหัวเรือใหญ่ ฟาก SCB ส่ง
SCB 10X 
มาลงสนามนำทัพโดย ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์ 

  • KBank เป็นผู้ให้บริการ Grab Pay ในแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ Grab ทาง SCB ก็เป็นผู้ให้บริการ Get Pay ผ่านเเอปฯ คู่เเข่งอย่าง Get เช่นกัน
  • KBank มีระบบ Face Pay สแกนใบหน้าเพื่อชำระเงิน ทาง SCB ก็มี Palm Vein การชำระเงินด้วยฝ่ามือ เช่นกัน
  • KBank เปิดตัวขุนทองเป็นแชทบอทเหรัญญิกช่วยคิดการแชร์ค่าอาหารบน LINE ทาง SCB ก็มีปาร์ตี้หาร (PartyHaan)” เช่นกัน

ล่าสุดการฉีกเเนวธนาคาร มาลงทุนในศึก “ฟู้ดเดลิเวอรี่ด้วยการเปิดตัว Robinhood ของ SCB ก็สั่นสะเทือนวงการไม่น้อย เมื่อกำลังถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง ด้วยประเด็นจี้จุด Pain Point อย่างการไม่คิด GP ไม่คิดค่าสมัคร โอนเงินไวใน 1 ชั่วโมง ท้าทายคู่เเข่งระดับโลกอย่าง Grab, LINE Man, GET เเละ Food Panda โดยพร้อมจะเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบ ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้

ส่วน KBank ตามมาติดๆ เเละได้ใจผู้ประกอบการไปเต็มๆ เปิดตัว “Eatable” (อีทเทเบิล) แพลตฟอร์มตัวช่วยจัดการร้านอาหารไม่ต้องโหลดแอป ไม่มีค่าธรรมเนียม สามารถจัดการระบบหลังบ้านแบบเรียลไทม์ผ่านทางออนไลน์ ส่วนลูกค้าสามารถเลือกอาหาร สั่ง และจ่ายแบบไร้การสัมผัส ที่กำลังจะเปิดตัวเเบบเต็มรูปแบบในเดือนตุลาคมนี้ พร้อมพัฒนาต่อยอดให้นักท่องเที่ยวจีนสั่งอาหารในไทยได้ปลายปีนี้

การได้เห็นแบงก์แข่งขัน เปิดตัวเทคโนโลยีออกมารัว เเบบนี้ เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคเเละสร้างเเรงกระเพื่อมให้วงการธนาคารไม่น้อย

SCB vs KBank ทุ่มลงทุนธุรกิจ “อาหาร” 

ถ้าการเข้ามาในตลาดนี้ของ SCB ทำให้เจ้าอื่นๆ ตื่นตัวเเละทุ่มโปรโมชั่นเพื่อเเข่งขันกันมากขึ้น ก็ถือว่าเป็นผลประโยชน์ของผู้บริโภค

Robinhood เกิดขึ้นจากไอเดียของ อาทิตย์ นันทวิทยา ซีอีโอของ SCB ตอนที่เขาต้องกักตัวในช่วงการระบาดของ COVID-19 ต้องทำงานจากที่บ้าน ทำให้ต้องสั่งอาหารออนไลน์บ่อยครั้ง และมองเห็นโอกาสว่าธนาคารมีทรัพยากรเพียงพอที่จะทำได้ จึงต่อยอดด้วยการระดมทีมกว่า 80 คนพัฒนาแอปฯ นี้ขึ้น ภายในเวลาไม่ถึง 3 เดือนก่อนเปิดตัว

เเนวคิดหลักของ Robinhood เป็นไปตามเเบบฉบับของสตาร์ทอัพ คือมุ่งเเก้ Pain Point ในวงการฟู้ดเดลิเวอรี่ ทั้งประเด็นการเก็บค่าธรรมเนียม หรือ GP ที่สูงถึง 30-35% ที่ทำให้บางร้านอาหารเเทบไม่มีกำไร หรือผู้บริโภคที่ต้องเเบกรับค่าอาหารที่ “เเพงขึ้น” จากปกติ ดังนั้น Robinhood จึงคว้าโอกาสชูจุดขายว่า ไม่เก็บค่า GP รวมถึงปัญหา “เงินหมุน” ของทั้งร้านค้าเเละคนขับ จึงเป็นที่มาของการที่จะเคลียร์เงินเข้าบัญชีให้ได้ใน 1 ชั่วโมง

ทาง SCB ยืนยันว่าเป็นหนึ่งใน CSR ของบริษัทที่ จะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม GP ทั้งในช่วงนี้และต่อไป เเละถ้าหากในอนาคตมีคนใช้จำนวนมาก แนวทางการหารายได้จะเป็นไปในทาง “เสนอสินเชื่อ” ให้ผู้ประกอบการมากกว่าที่จะหันมาหักค่า GP

เเอปพลิเคชัน Robinhood กำลังจะเปิดตัวอย่างเต็มรูปเเบบในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้

ถ้าจะพูดกันว่าเป็นการเผาเงินเล่น ก็คงเป็นการเผาเงินที่คุ้มค่ามากเราลงทุนปีละร้อยล้าน จะมองว่าเยอะก็เยอะ จะว่าน้อยก็น้อย เเต่เมื่อเทียบกับกำไรของธนาคารที่ได้ปีละ 4 หมื่นล้านเเล้ว ถือว่าน้อยมาก งบในส่วน CSR ของบริษัทเยอะกว่านี้อีก

คำกล่าวของ “ธนา เธียรอัจฉริยะ” ผู้บริหาร SCB ที่จะมาเป็นหัวเรือใหญ่ของ Robinhood ผ่านการดำเนินงานภายใต้ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (บริษัทลูกของ scb 10x) โดยเขาจะนั่งเป็นประธานกรรมการบริหาร พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านเพย์เมนต์อย่าง “สีหนาท ล่ำซำ” ที่จะมานำทัพบุกเบิกบริษัท ในตำเเหน่งกรรมการผู้จัดการ ซึ่งกำลังจะปั้นทีมใหม่ให้ได้ราว 40-50 คน ใช้งบลงทุนราว 100 ล้านบาทต่อปี

อ่านเพิ่มเติมเจาะลึกทุกมุมของ Robinhood ไขข้อสงสัยปมค่าส่ง โมเดลธุรกิจเเละเเผนสู้ศึกฟู้ดเดลิเวอรี่

ข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ในประเด็นการปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารเข้าสู่มาตรฐานใหม่ คาดว่า ธุรกิจร้านอาหารในปีนี้จะมีมูลค่าราว 3.8 แสนล้านบาท หดตัวเกือบ 10% จากปีที่ผ่านมา เนื่องจากลูกค้ามีความระมัดระวังตัวในการออกไปทานอาหารนอกบ้าน จากปัญหาการระบาดของ COVID-19 ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคบางส่วนได้เปลี่ยนแปลงไป ใช้บริการเดลิเวอรี่ในการสั่งอาหารมาทานที่บ้านหรือที่ทำงานแทนมากขึ้น ร้านอาหารยุคใหม่จะต้องผสมผสานการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าทั้งที่ทานที่ร้านและเดลิเวอรี่ไปพร้อม ๆ กัน

อย่างไรก็ตาม แม้จะผ่านช่วงแพร่ระบาดหนักมาแล้ว แต่ร้านอาหารก็ยังฟื้นตัวช้ากว่าปีที่ผ่านมาถึง 70% ถือเป็นภาคธุรกิจที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นอย่างมาก สิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ท้าทายของเหล่าร้านอาหาร ที่ต้องมีการ
ทรานส์ฟอร์เมชั่นไปสู่การเป็นร้านอาหารยุค New Normal แบบครบวงจรที่ตอบรับลูกค้าทั้งการทานที่ร้านและเดลิเวอรี่

นี่จึงเป็นที่มาของ “Eatable” (อีทเทเบิล) แพลตฟอร์มให้ใช้ “ฟรี” ที่จะมาเป็นตัวช่วยจัดการร้านอาหาร พัฒนาโดย KBTG บริษัทลูกของธนาคารกสิกรไทย

“Eatable” แพลตฟอร์มฟรีช่วยร้านอาหาร กำลังเปิดให้บริการเต็มรูปเเบบในเดือนตุลาคมนี้

เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน KBTG ยืนว่า Eatable เป็นแพลตฟอร์มฟรี ช่วยจัดการร้านอาหารที่มีทั้งส่วนบริการในร้าน รับออเดอร์ เรียกพนักงานหรือรับชำระเงิน เเละมีบริการจัดส่งเดลิเวอรี่ โดยจะเน้นไปที่ประสบการณ์การทานอาหารที่ร้านไม่ได้เน้นไปที่ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่โดยตรง ซึ่งมีการเเข่งขันอย่างดุเดือดในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม : KBank มาเเล้ว! เปิดตัว “Eatable” แพลตฟอร์มฟรีช่วยร้านอาหาร ระบบสั่งทานที่ร้าน-ส่งเดลิเวอรี่

ไม่หวังกำไร…เเล้วต่อยอดรายได้อย่างไร ? 

การลงทุนใน Robinhood ของ SCB จะเน้นต่อยอดไปที่สินเชื่อเเละสร้างความหลากหลาย

บริษัทใหญ่ของโลกที่ให้บริการทั้ง E-Marketplace , Ride Hailing เเละเดลิเวอรี่ สุดท้ายก็จะวนมาสู่บริการทางการเงิน เป็นคำถามว่าแล้ว SCB ที่เป็นธนาคารให้บริการทางการเงินอยู่แล้ว โดนดิสรัปต์มาโดยตลอด แล้วทำไมธนาคารจะก้าวข้ามไปทำบริการอื่นๆ ไม่ได้

สีหนาท ล่ำซำ เอ็มดีของ Robinhood กล่าวถึงการลงทุนในธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ของธนาคาร และบอกว่าข้อได้เปรียบของการเป็นธนาคารในตลาดนี้ คือฐานลูกค้าเเละความเสถียรของระบบเพย์เมนต์ รวมถึงข้อเสนอเรื่องสินเชื่อที่ผู้ประกอบการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

การลงทุนใน Eatable ของ KBank เน้นสร้าง Ecosystem เพื่อดึงลูกค้าให้อยู่ด้วยนานๆเเละต่อยอดไปบริการอื่น

เเม้ผู้บริหาร KBTG จะไม่เปิดเผยถึงงบประมาณในการลงทุน แต่บอกว่าเยอะทั้งในส่วนปฏิบัติการและการประสานงาน แต่ก็ถือว่าคุ้มเพราะ ถ้าลูกค้าแฮปปี้ เขาก็จะอยู่กับเรานาน” เเละต่อยอดไปให้บริการเเละผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของธนาคารได้ 

เบื้องต้นไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะมีร้านค้าใช้ Eatable จำนวนเท่าใด แต่หวังว่าจะดึงดูดให้ร้านอาหารมาเข้าร่วมให้มากที่สุด เพราะถือเป็นการลดต้นทุนด้านเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการรายย่อยและร้านอาหารที่มีทุนน้อย ให้สามารถเปลี่ยนแปลง และปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลได้ในระยะยาว ซึ่งจะเป็นการพลิกโฉมวงการร้านอาหารไทยเลยทีเดียว

อีกด้านหนึ่ง การพัฒนาไคไท่เตี่ยนไช่” (Kai Tai Dian Cai) บริการสั่งอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวจีนผ่านแอปวีแชท (WeChat) ก็เป็นการต่อยอดการลงทุนฟินเทคในจีนของกสิกรไทย โดยก่อนหน้านี้ KBTG ได้เปิดตัว 2 บริษัท KX และ Kai Tai Tech ในเซินเจิ้น เพื่อดึงศักยภาพการทำงานรูปแบบสตาร์ทอัพ เเละสร้างการเติบโตให้ธนาคารไทย

สร้าง Engagement ใกล้ชิดกว่าเเบงก์เดิม ๆ 

เห็นได้ชัดว่าทั้ง SCB เเละ KBank ประกาศว่าจะเน้นการให้บริการด้านธุรกิจอาหาร โดยไม่หวังรายได้ “โดยตรง” กลับคืนมา เพราะจุดประสงค์ไม่ใช่การหารายได้ เเต่การสร้าง Engagement กับลูกค้าเเบบที่ไม่เคยมีธนาคารไหนทำมาก่อนซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนองค์กรครั้งใหญ่

โมเดลธุรกิจที่นอกเหนือจากการเสนอสินเชื่อเเละการเก็บข้อมูลเเล้ว อีกหนึ่งผลพลอยได้ คือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างร้านอาหารกับพนักงานสาขา

โดย SCB วางนโยบายใหม่ว่า พนักงานธนาคารจะต้องออกไปเจอร้านค้าที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร ไปพูดคุย ทำความรู้จักเเละให้คำเเนะนำได้ เป็นการ Re-Skill และปรับการทำงานของสาขา SCB ใหม่ จึงเกิดเป็นการเทรนนิ่งพนักงานกว่า 800 คนทั่วประเทศขึ้น

จึงมาถึงยุคที่พนักงานธนาคารต้องปรับตัว ให้ถ่ายรูปสวย เพื่อเป็นผู้ช่วยให้กับร้านอาหาร เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มากกว่าการฝากถอนซึ่งความสนิทสนมเหล่านี้ ทำให้มีโอกาสสูงที่จะต่อยอดไปสู่บริการอื่นๆ ของธนาคารได้ง่ายขึ้น

Photo : Shutterstock

ส่วน SCB เมื่อเข้าไปเป็นระบบหลังบ้านของร้านอาหารเเล้ว ก็ถือเป็นความใกล้ชิดเเบบสุดๆ เลยก็ว่าได้ เป็นการสร้างความเชื่อใจในระยะยาว เมื่อธุรกิจต้องการความช่วยเหลือด้านการเงิน ต้องการขยายสาขาหรือพัฒนาศักยภาพธุรกิจก็ต้องคิดถึงธนาคารที่ใกล้ตัวที่สุดอยู่เเล้ว

นอกจากนี้ ด้วยประโยชน์ของข้อมูล (Data) ซึ่งได้กลายมาเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาธุรกิจยุคดิจิทัล เพื่อนำมาวางทิศทางกลยุทธ์การตลาด เเละคาดการณ์ว่าลูกค้าจะมีความต้องการอะไรทั้งในตอนนี้เเละอนาคตธนาคารจึงสามารถออกบริการใหม่ๆ มาตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้ตรงจุด นำไปสู่รายได้ทางอ้อม ที่คุ้มยิ่งกว่าต่างจากสมัยก่อนที่ธนาคารมักจะเสนอบริการแบบเดิมๆ ที่ไม่อาจรู้ได้ว่าลูกค้าอยากได้หรือไม่

ในช่วงนี้ธนาคารต่างๆ กำลังพัฒนาระบบวิเคราะห์สถานะทางการเงิน เพื่อรุกหนักด้านสินเชื่อออนไลน์ ให้สามารถยื่นกู้ผ่านแอปฯ ได้ทันทีก็เป็นอีกตัวอย่างที่อธิบายการต่อยอดธุรกิจนี้ได้ดี

นอกจากการเเข่งขันในประเทศเเล้ว ธนาคารใหญ่ในไทยกำลังหาบ่อเงินเเห่งใหม่ ด้วยการเข้าไปเจาะประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนที่เป็นตลาดเติบโตใหม่ เป็นโอกาสทองที่จะเข้าไปปูทางสร้างดิจิทัลเเบงกิ้งให้เข้าถึงประชากรจำนวนมาก ในยามที่คู่เเข่งยังไม่เยอะ

อ่านเพิ่มเติม : ธนาคารไทย ตามหา “ขุมทรัพย์ใหม่” เเย่งลงทุนอาเซียน ส่ง “ดิจิทัลเเบงกิ้ง” เข้าถึงท้องถิ่น

KBank เเละ SCB เลือกเจาะเพื่อนบ้านที่คุ้นเคยกันดีอย่างเมียนมาโดยธนาคารกสิกรไทย ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการโดยธนาคารกลางของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในการเข้าร่วมลงทุนในสัดส่วน 35% ของ ธนาคารเอยาวดี ฟาร์มเมอร์ ดีเวลลอปเม้นท์แบงก์ หรือ เอแบงก์ (A bank) ส่วน SCB ได้รับอนุมัติจัดตั้งธนาคารลูกอย่างเป็นทางการ โดยตั้งเป้า 5 ปี ยอดสินเชื่อแตะ 7 พันล้านบาท เจาะลูกค้าทุกกลุ่มทั้งรายใหญ่ SMEs เเละรายย่อย

การงัดกลยุธ์เด็ดๆ มาประชันกันในศึกดิจิทัลเเบงกิ้งของเหล่าธนาคารยักษ์ใหญ่ในไทย เป็นประเด็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เมื่อเเบงก์กำลังจะไปอยู่ทุกที่ เเละเป็นมากกว่าผู้ให้บริการทางการเงิน ส่วนใครจะก้าวไปไกลเเละเร็วกว่านั้น ล้วนเป็นตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีของไทยทั้งสิ้น เเละหนึ่งในผู้ได้รับประโยชน์ก็คือ เราๆ ชาวผู้บริโภคนั่นเอง…

 

]]>
1286885
รู้จัก Kept เเอปฯ “ออมเงิน” แก้ปัญหา Gen Y-Z เก็บเงินไม่อยู่ ตั้งเป้าดึงเงินฝากเพิ่ม 4-5 พันล้าน https://positioningmag.com/1285987 Wed, 01 Jul 2020 09:36:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285987 การเพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้คนหันมาออมเงินมากขึ้น เพราะความไม่เเน่นอนของชีวิตเเละหน้าที่การงาน ขณะเดียวกันเหล่านักลงทุนรายย่อย ก็หลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเเละหันมาฝากเงินมากขึ้นเช่นกัน

จากข้อมูลของธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า การออมของคนไทย มีจำนวนบัญชีเงินฝากรวม 102 ล้านบัญชี มียอดเงินฝากรวม 15 ล้านล้านบาท โดยพบว่ากว่า 86.6% มียอดเงินฝากเฉลี่ยต่ำกว่า 5,000 บาทต่อบัญชีเท่านั้น

ขณะที่บริษัทข้อมูลเครดิตเเห่งชาติ (NCB) ระบุว่า หนี้ครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และคนไทยเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยคนไทยอายุ 30 ปี ถึง 50% มีหนี้ และยิ่งไปกว่านั้นคือ 1 ใน 5 ของคนในช่วงอายุ 29-30 ปี มีหนี้เสีย

พร้อมกันนั้น กลุ่มคนรุ่นใหม่ไทย ยังมีการวางแผนทางการเงินในระดับต่ำ โดยเฉพาะกลุ่ม first jobber ที่มักมีทัศนคติที่ให้ความสำคัญต่อการออมน้อยกว่าคนรุ่นก่อน ดังนั้นวินัยการเก็บเงินของคนรุ่นใหม่ชาว Gen Y เเละ Gen Z จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเเละส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย

ในอีกมุมหนึ่งเมื่อคนไทยมีความระมัดระวังการใช้เงินมากขึ้นในช่วงนี้ ก็เป็นโอกาสของสถานบันการเงินที่จะเข้ามาเพิ่มยอดเงินฝากนั่นเอง

ล่าสุด ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เปิดตัว Kept (เคป) แพลตฟอร์มบริหารเงินที่คำนึงถึง pain point ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการออมเงินอย่างมีระบบ ดึงดูดด้วยดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงกว่าฝากประจำทั่วไป

พงษ์อนันต์ ธณัติไตร ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจลูกค้ารายย่อยและเครือข่ายการขาย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  ตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่ผ่านมา มีการออมผ่านบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารกรุงศรีฯ โตถึง 8% ถือเป็นการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เงินฝากจะมีอัตราเติบโตเพียง 4-5% เท่านั้น

ขณะที่ตัวเลขผู้ใช้งานโมบายแบงกิ้งของทั้งระบบเพิ่มสูงถึง 63 ล้านคน คิดเป็นการเติบโต 28% จำนวนธุรกรรมมากกว่า 523 ล้านรายการ เติบโต 14% สอดคล้องกับ Krungsri Mobile Application (KMA) ที่เติบโตในแง่ฐานลูกค้า 12% และในแง่จำนวนรายการ 21%

เมื่อยอดการออมเเละการใช้โมบายแบงกิ้งพุ่งสูงขึ้นพร้อมๆ กัน จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะเปิดตัวเเอปฯ Kept ในช่วงนี้ ผ่านแนวคิด small change for BIG FUTURE #ปรับนิดชีวิตเปลี่ยน ช่วยให้การออมเงินเป็นเรื่องง่าย สนุกและสำเร็จจริง

Kept : ระบบ 1 กระเป๋า 2 กระปุก

จุดเด่นคือ Kept จะมาเป็นผู้ช่วยการออมเงินด้วยฟีเจอร์อัตโนมัติที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามรูปแบบการใช้ชีวิตของลูกค้าผ่าน 3 บัญชี คือ บัญชี Kept บัญชี Grow และบัญชี Fun ที่ทำงานร่วมกันในระบบ 1 กระเป๋า 2 กระปุกโดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่สูง 1.7%ต่อปี โดยปีแรกรับ 1.6% และปีที่สอง 1.8% (ปีหลังจากนั้นจะเป็นดอกเบี้ยตามภาวะตลาด) โอน-ถอนได้ทุกเวลา ไม่ต้องมีบัญชีธนาคารกรุงศรีก็ใช้งานได้

โดยมีให้ดาวน์โหลดฟรี ทั้งระบบ iOS และ Android เปิดบัญชีผ่านระบบยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (National Digital ID – NDID) ไม่ต้องมาที่สาขา หรือยืนยันตัวตนผ่านช่องทาง Krungsri i-CONFIRM ซึ่งเป็นจุดบริการยืนยันตัวตน ณ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา ทั่วประเทศ

1.กระเป๋า Kept

เป็นกระเป๋าสตางค์แยกเงินไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ลูกค้าสามารถโอนเงินเข้ากระเป๋า Kept และตั้งยอดที่ต้องการใช้เงินในกระเป๋า Kept ไว้ล่วงหน้า ส่วนที่เหลือจะถูกโอนไปเก็บไว้ในกระปุก Grow แบบอัตโนมัติทุกสิ้นวัน ทั้งนี้ หากเงินในกระเป๋า Kept ไม่พอใช้ ระบบก็มีฟีเจอร์โอนกลับอัตโนมัติที่จะหยิบเงินส่วนที่ขาดมาจากกระปุก Grow คืนมายังกระเป๋า Kept  ซึ่งลูกค้าสามารถโอนเงินเข้าออกบัญชี Kept ได้บ่อยเท่าที่ต้องการโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

2.บัญชี/กระปุก Grow

เป็นกระปุกเงินเพื่อเก็บเงินก้อน เก็บเงินก้อนส่วนเกินจากจำนวนที่ได้ตั้งไว้เพื่อใช้จ่ายจากกระเป๋า Kept มาใส่ในกระปุก Grow โดยอัตโนมัติ (ขั้นต่ำ 5,000 บาท) เพื่อรับดอกเบี้ยที่สูง ในปีแรกและสูงขึ้นอีกในปีที่ 2 โดยคิดดอกเบี้ยทุกวัน จ่ายดอกเบี้ยทุกวันที่ 28 ของเดือน ซึ่งในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.6% และ 1.8% ตามลำดับ

3.บัญชี/กระปุก Fun

เป็นกระปุกเงินสำหรับการเก็บเล็กผสมน้อย ที่สามารถทำได้ทุกวัน มาพร้อม 2 ฟีเจอร์เด็ดที่ทำให้การออมเงินเป็นเรื่องสนุก คือแอบเก็บที่ช่วยเก็บเงินให้ทุกครั้งที่โอนออกหรือสแกนจ่ายด้วย QR code ด้วยวิธีแอบเก็บที่เลือกได้เอง และสั่งเก็บ ให้เก็บเงินเมื่อไรและจำนวนเท่าใดก็ได้ ช่วยให้มีเงินออมสม่ำเสมอโดยไม่ต้องเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ และเมื่อต้องการใช้เงินในกระปุกนี้ก็สามารถโอนเข้ากระเป๋า Kept ได้

สำหรับ ฟีเจอร์แอบเก็บ เป็นไอเดียมาจากลูกค้าคนหนึ่งที่ชอบการช้อปปิ้งมาก ทุกครั้งที่กดช้อปปิ้งออนไลน์ เขาจะเเบ่งเงินตัวเองเก็บไว้อีก 300 บาททุกครั้ง เพราะไม่อยากรู้สึกผิด (ที่ช้อปปิ้งบ่อย) ดังนั้นเราจึงนำมาพัฒนาให้มีตัวช่วยเเอบเก็บให้ลูกค้า ซึ่งสามารถตั้งจำนวนเงินได้ เช่น สั่งซื้อของ 50 บาท ตั้งไว้ให้หักอีกครั้งละ 50 บาท รวมเป็นตัดบัญชี 100 บาท (ตัดเข้ากระเป๋าออม 50 บาท) หรือจะตั้งให้ปัดเศษได้ เช่น ซื้อของ 137 บาท ตัดเป็น 140 บาท (ตัดเข้ากระเป๋าออม 3 บาท) เป็นต้น

ทั้งนี้ การฝากเงินใน Kept สามารถขอรายการเดินบัญชี (e-statement) ได้ย้อนหลังได้ไม่เกิน 24 เดือน โดยทำรายการผ่านเเอปฯ Kept เช่นเดียวกับการขอรายการเดินบัญชีเเบบทั่วไป

“เป้าหมายของ Kept จะเน้นเจาะกลุ่ม Young Money เเละ Growing Money ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ Gen Y เเละ Gen Z โดยคาดว่าภายใน 1 ปีจะมียอดดาวน์โหลด 2 เเสนรายเเละดึงดูดยอดเงินฝากได้ราว 4-5 พันล้านบาท เฉลี่ยเงินฝาก 20,000 บาทต่อบัญชี” 

 

]]>
1285987
เปิดลิสต์ 18 กองทุน SSF ซื้อลดหย่อนภาษี 2 แสนบาท ก.ล.ต.ไฟเขียว เสนอขายได้ 1 เม.ย.นี้ https://positioningmag.com/1271003 Tue, 31 Mar 2020 10:53:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271003 ก.ล.ต. อนุมัติจัดตั้ง “กองทุน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน” เเล้ว จำนวน 18 กองทุน จาก บลจ. 14 แห่ง เพื่อให้เสนอขายได้วันที่ 1 เมษายน นี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีภายใต้มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 มีมติให้ประชาชนทั่วไปหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนเพื่อการออม (Super Savings Fund : SSF) ที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ “SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน” นั้น โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

(1) ลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนทั้งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ

(2) หักลดหย่อนภาษีเงินได้พึงประเมินตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยแยกจากวงเงินลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF กรณีปกติ และไม่อยู่ภายใต้เพดานวงเงินหักลดหย่อนรวมในกองทุนเพื่อการเกษียณทั้งหมด

(3) ซื้อระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563

(4) ถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี

ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 ก.ล.ต. ได้อนุมัติการจัดตั้งกองทุน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน ไปแล้วจำนวน 18 กองทุน จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จำนวน 14 แห่ง ซึ่งกองทุน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน พร้อมเสนอขายได้ในวันที่ 1 เมษายน 2563 สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ บลจ. ที่เสนอขายกองทุน ดังนี้

1. กองทุนเปิดกรุงศรี SET100 – บลจ.กรุงศรี
2. กองทุนเปิด เค ซูเปอร์สตาร์ เพื่อการออมพิเศษ – กสิกรไทย
3. กองทุนเปิด ทิสโก้ หุ้นทุน เพื่อการออม – ทิสโก้
4. กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นไทยเพื่อการออม – บัวหลวง
5. กองทุนเปิดกรุงไทย ก่อการดี เพื่อการออม – กรุงไทย
6. กองทุนเปิดกรุงไทย 70/30 เพื่อการออม – กรุงไทย
7. กองทุนเปิดพรินซิเพิล เว็ท 50 อินเด็กซ์เพื่อการออม – พรินซิเพิล
8. กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไทยเฟล็กซิเบิล เพื่อการออม – เอ็มเอฟซี
9. กองทุนเปิดเอ็มเอฟซีหุ้นไทยเพื่อการออม – เอ็มเอฟซี
10. กองทุนเปิดยูโอบี เพื่อการออม – ยูโอบี
11. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ดัชนี SET เพื่อการออม – ไทยพาณิชย์
12. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ผสม 70/30 เพื่อการออม – ไทยพาณิชย์
13. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นไทยเเอคทีฟ เพื่อการออม – ไทยพาณิชย์
14. กองทุนเปิด เเอล เอช สมาร์ท เพื่อการออม – เเลนด์ เเอนด์ เฮ้าส์
15. กองทุนเปิด เเอสเซทพลัส สมอล เเอนด์ มิด เเคป อิควิตี้ เพื่อการออม – เเอสเซท พลัส
16. กองทุนเปิดภัทร SET50 ESG – ภัทร
17. กองทุนเปิดธนชาต อีสท์สปริง หุ้นทุนปันผลเพื่อการออมพิเศษ – ธนชาต
18. กองทุนเปิด วรรณ สนับสนุนตลาดทุนไทย เพื่อการออม – วรรณ

*ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563

อ่านเพิ่มเติม :
ส่องผลประโยชน์-ผลกระทบ “กองทุน SSF” ที่มาทดแทน LTF

 

 

]]>
1271003
กางเเผน 2563 “กรุงศรี” เจาะลูกค้าด้วยดิจิทัล จ่อหั่นเป้าสินเชื่อ พิษไวรัสฉุด GDP ไม่ถึง 2.5% https://positioningmag.com/1264209 Thu, 13 Feb 2020 10:34:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264209 เปิดแผนปี 2563 ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา กังวลไวรัส COVID-19 กระทบเศรษฐกิจไทย จ่อปรับลด GDP ลงไม่ถึง 2.5% เน้นรักษาพอร์ตสินเชื่อรายย่อย-สินเชื่อธุรกิจ 50% เพื่อลดผลกระทบดอกเบี้ยขาลง ย้ำพยายามคุมหนี้ NPL ไม่เกิน 2.5% วางกลยุทธ์การเงินดิจิทัลเต็มตัว เผยสนใจลงทุนเวียดนาม อินโดฯ

เซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ในปี 2563 ยังเป็นความท้าทายในการทำธุรกิจ โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเเบบชะลอตัว เเละต่ำกว่าศักยภาพ ส่วนเศรษฐกิจโลกมีทิศทางที่ดีขึ้น เเต่การฟื้นตัวยังคงเปราะบาง

“ในปีนี้กรุงศรีฯ ตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อที่ระดับ 5-7% และมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิที่ 3.4-3.6% การเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอยู่ในช่วง -3% ถึง 3% และอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 2.5%”

อย่างไรก็ตาม ธนาคารกำลังทบทวนปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ GDP เพราะก่อนหน้านี้ ธนาคารไม่ได้รวมการคำนวณปัจจัยผลกระทบการระบาดไวรัสโคโรนา COVID -19 ในแผนธุรกิจปี 2563 จากเดิมที่เคยตั้งเป้าการเติบโตสินเชื่ออยู่ที่ 5-7% ภายใต้ GDP 2.5% ซึ่งจะมีการประกาศตัวเลขใหม่เร็วๆ นี้ 

ทั้งนี้ เป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อ 5-7% แบ่งเป็น สินเชื่อรายใหญ่เติบโต 4-6% ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) 5-7% และธุรกิจรายย่อยตั้งเป้าเติบโต 5-7% ซึ่งแบ่งเป็น สินเชื่อรถยนต์ 6-8% สินเชื่อที่อยู่อาศัย 4-6% และสินเชื่อบัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคล 4-6%

สำหรับ “หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้” (NPL) อาคิตะ มองว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเเตะระดับ 2.5% จากปีที่เเล้วอยู่ที่ 1.98% ซึ่งมาจากปัจจัยเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเเละสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เเต่ทางธนาคารเชื่อว่าจะบริหารให้เป็นไปตามกรอบที่วางไว้ได้

ขณะที่ “รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย” (ค่าธรรมเนียมต่างๆ) ที่ทางธนาคารตั้งเป้าไว้ที่ -3 ถึง 3% คาดว่าสามารถรักษาให้อยู่ในกรอบนี้ได้ เเม้ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะออกหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเรื่องค่าธรรมเนียมออกมาก็ตาม โดยกรุงศรีมีเเนวทางดูเเลความสมดุลของ “พอร์ตสินเชื่อ” ระหว่างสินเชื่อรายย่อย 50% และสินเชื่อธุรกิจ 50% ซึ่งทำให้ธนาคารรักษารายได้ดีและมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ที่ 3.4-3.6%

สำหรับแผนเชิงยุทธศาสตร์ของกรุงศรีในปีนี้ จะมี 3 ด้านที่ครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม ได้เเก่

  • ยกระดับประสบการณ์ลูกค้า

ธนาคารจะเน้นเรื่อง Digital Transformation ให้มาอยู่ในผลิตภัณฑ์การเงินต่างๆ เช่นสินเชื่อดิจิทัล ผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับสกุลเงินต่างประเทศ การนำระบบติดตามขั้นตอนการทำงานของพนักงานในการให้บริการของลูกค้า รวมถึงจะมีการเข้าถึงลูกค้าเเบบ Omni Channel มากขึ้น

  • ใช้ประโยชน์จากศักยภาพด้านข้อมูล

จะมีการนำเทคโนโลยี AI เเละ Machine Learning มาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อที่จะเข้าใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น รวมถึงการใช้ ระบบ Automation ต่างๆ เพื่อทำให้ระบบการทำงานรวดเร็วมากขึ้น เเละธนาคารยังจะบริหารความเสี่ยงโดยใช้ AI มาช่วยอีกด้วย

  •  เน้นกลยุทธ์ความร่วมมือกับพันธมิตร

ปีนี้กลยุทธ์ของกรุงศรีจะให้ความสำคัญการพัฒนา Ecosystem เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น มีการ
พัฒนาเเพลตฟอร์ม “พร้อมสตาร์ท” ที่เป็นไลฟ์สไตล์ของคนใช้รถ ของกรุงศรี ออโต้ที่ให้บริการสินเชื่อยานยนต์

นอกจากนี้ ในปี 2563 กรุงศรีตั้งเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 7.5 ล้านกิโลกรัมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในการดำเนินงานในทุกกิจกรรมของธนาคาร รวมทั้งการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำของประเทศ

ส่วนเป้าหมายการขยายธุรกิจไปต่างประเทศนั้น ผู้บริหารกรุงศรี ตอบว่า ตอนนี้มีความร่วมมือกับธนาคารพันธมิตรที่อยู่ในเครือข่าย MUFG ที่เป็นบริษัทเเม่ เเละมีพันธมิตรที่ร่วมลงทุนในประเทศฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว และเมียนมา โดยกำลังมองหาโอกาสลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกำลังสนใจเวียดนาม กับอินโดนีเซีย

“เเผนการขยายไปต่างประเทศ เราดูไว้ทุกแนวทาง ไม่ได้เน้นว่าจะต้องซื้อกิจการแต่อย่างเดียว”

ทั้งนี้ ผลประกอบการของธนาคารกรุงศรี ในปี 2562 มีกำไรสุทธิ 32.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 32% จากปี 2561

ด้านการขยายสาขาเเละการเพิ่มหรือลดพนักงานนั้น อาคิตะ ตอบว่า “ปีนี้จะไม่เพิ่มและไม่ลด ทั้งสาขาเเละพนักงาน” โดยจากข้อมูลของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ล่าสุดมีช่องทางการให้บริการ (Service Outlets) เเบ่งเป็น
• 650 สาขาที่ให้บริการทางการเงินในรูปแบบปกติ
• 40 สาขาที่ให้บริการเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์
• 6,750 ATMs
• 83 เคาน์เตอร์แลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ
• 6 ศูนย์บริการ และห้องรับรอง KRUNGSRI EXCLUSIVE
• 5 ศูนย์บริการ Krungsri The Advisory
• 62 ศูนย์บริการ Krungsri Business Centers
• จำนวนสาขา BANKING AGENTS 142,100+ touch points

 

]]>
1264209