เมืองรอง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 14 Dec 2023 11:50:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไปไหนดี? อโกด้าเปิดรายชื่อ 5 “เมืองรอง” มาแรงที่มีคนค้นหาเพิ่มขึ้นมากที่สุดปี 2566 https://positioningmag.com/1455582 Thu, 14 Dec 2023 04:56:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455582 “อโกด้า” เปิดรายชื่อ “เมืองรอง” 5 จังหวัดที่มีคนค้นหาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในปี 2566 ได้แก่ นครนายก (+50%), อุบลราชธานี (+29%), สุพรรณบุรี (+24%), เพชรบูรณ์ (+23%) และ ตรัง (+20%)

เห็นได้ว่า “เมืองรอง” ทั้ง 5 จังหวัดกระจายตัวอยู่หลายภาคทั้งภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคใต้ มีความหลากหลายด้านแหล่งท่องเที่ยวที่แตกต่างกันไป ไปดูกันว่าแต่ละจังหวัดมีเสน่ห์ดึงดูดอะไรบ้างที่ทำให้นักท่องเที่ยวอยากไปเยือน

1.นครนายก
เมืองรอง
เขาหล่น จ.นครนายก

สถานที่/กิจกรรมแนะนำ

  • เขาหล่น – มีสะพานไม้เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ จุดปีนหน้าผา ควรไปในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคมเพื่อชมทุ่งหญ้าสีทองในยามพระอาทิตย์ตก
  • อ่างเก็บน้ำห้วยปรือ – ชมทัศนียภาพภูเขาเขียวขจี สายปั่นมาปั่นจักรยานรอบอ่างเก็บน้ำได้
  • วัดเขาทุเรียน (วัดสีชมพู) – วัดมีเอกลักษณ์จากการทาสีชมพูทั่วทั้งวัด เหมาะไปชมความงาม
2.อุบลราชธานี
หาดหงส์ จ.อุบลราชธานี

สถานที่/กิจกรรมแนะนำ

  • สกายวอล์กเขื่อนสิรินธร – จุดชมวิวใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว เป็นสะพานกระจกยาว 400 เมตร มองเห็นป่าไม้และฟาร์มโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ
  • หาดหงส์ – เนินทรายกลางแม่น้ำโขง มองเห็นโบก หาดทราย สันดอนทราย อย่างสวยงาม
  • วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว – ชมจิตรกรรมพื้นเรืองแสง และภาพต้นกัลปพฤกษ์วิจิตรงดงามด้านหลังอุโบสถ
  • สวนสัตว์อุบลราชธานี – สวนสัตว์แบบ Jungle Park ผสานส่วนแสดงสัตว์เข้ากับป่าไม้อย่างสมจริง เหมาะกับกลุ่มเด็กๆ

 

3.สุพรรณบุรี
เมืองรอง
ตลาดสามชุก จ.สุพรรณบุรี

สถานที่/กิจกรรมแนะนำ

  • ตลาดเก่าสามชุก – รับชมวิถีชีวิตของคนค้าขายริมแม่น้ำท่าจีนที่มีมายาวนานกว่าร้อยปี
  • อ่างเก็บน้ำหุบเขาวง – พักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติ ผ่อนคลายความเหนื่อยล้าด้วยอากาศบริสุทธิ์

 

4.เพชรบูรณ์
สะพานห้วยตอง จ.เพชรบูรณ์

สถานที่/กิจกรรมแนะนำ

  • สะพานพ่อขุนผาเมือง (สะพานห้วยตอง) – ฐานสะพานสูงกว่า 50 เมตร และตัดโค้งผ่านหุบเขา ทำให้ได้ภาพความงามแปลกตา
  • น้ำตกศรีดิษฐ์ – น้ำตกที่สูงกว่า 30 เมตรและมีน้ำไหลตลอดทั้งปี พร้อมระบบนิเวศที่สมบูรณ์โดยรอบ
  • Amazing Dinosaur เขาค้อ – สร้างความตื่นตาให้นักสำรวจตัวน้อยด้วยการผจญภัยไปกับฝูงไดโนเสาร์ ป่าดึกดำบรรพ์ และเขาวงกต
  • อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ – แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งล่าสุด ชมสถาปัตยกรรมอันโดดเด่น

 

5.ตรัง
เมืองรอง
ตัวเมืองตรัง

สถานที่/กิจกรรมแนะนำ

  • เกาะกระดาน – ชายหาดที่ดีที่สุดในโลกปี 2023 จัดอันดับโดย World Beach Guide
  • ตัวเมืองตรัง – เมืองเก่าสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีสที่คนท้องถิ่นยังคงอาศัยอยู่
  • ชิมอาหารเด็ด – หมูย่างเมืองตรัง และ เคาหยก คือสุดยอดอาหารท้องถิ่นที่นับเป็นเมนูประจำจังหวัด

 

อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

]]>
1455582
เรื่องกินเรื่องใหญ่! “ททท. X Booking.com” จัดแผนที่ร้านเด็ด “เมืองรอง” 8 จังหวัด เจาะกลุ่มสายกิน https://positioningmag.com/1443843 Fri, 08 Sep 2023 08:07:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443843 เพราะเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ ทำให้คนเราลงทุนเดินทางเพื่อไปเสาะหาของอร่อยๆ ทานกัน ล่าสุด “ททท.” จึงจับมือ Booking.com” จัดทำ “Thai Foodie Map” แผนที่โปรโมต “ร้านอาหาร” อร่อยเด็ดใน “เมืองรอง” 8 จังหวัด หวังเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวสายกิน มีของอร่อยเป็นแรงบันดาลใจในการเดินทาง ช่วยสร้างรายได้ให้คนท้องถิ่นในจังหวัดเมืองรอง

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ Booking.com จับมือเป็นพันธมิตรจัดทำแผนที่การท่องเที่ยวตามรอยร้านอาหารดัง หรือ “Thai Foodie Map” ใน “เมืองรอง” 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน เลย บุรีรัมย์ ราชบุรี สมุทรสงคราม นครศรีธรรมราช และตรัง โดยคัดเลือกร้านอาหารเด็ดในแต่ละจังหวัดรวมทั้งหมด 40 ร้าน ที่ได้บรรจุอยู่ในแผนที่ครั้งนี้

(*อ่านรายชื่อร้านอาหารทั้ง 40 ร้านได้ท้ายบทความ)

 

ผลักดันสายกินให้นักท่องเที่ยว “อยู่ต่ออีกมื้อ”

“ฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา” รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุว่า ททท. เลือกผลักดันเรื่องวัฒนธรรมอาหารควบคู่กับการท่องเที่ยวเมืองรอง เพราะต้องการจะเสริม “แม่เหล็ก” อีกตัวหนึ่งเข้าไปให้กับเมืองรอง ทำให้นักท่องเที่ยว “อยู่ต่ออีกมื้อ” จากการนำเสนอร้านอาหารเด็ดในพื้นที่ ซึ่งจะช่วยกระจายรายได้ให้กับท้องถิ่นได้มากขึ้น

ปัจจุบัน รายได้การท่องเที่ยวของไทย 60% ตกอยู่กับเมืองท่องเที่ยวหลัก เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ พัทยา ภูเก็ต ส่วนอีก 40% กระจายอยู่ในเมืองรอง 55 จังหวัด การท่องเที่ยวในเมืองรองจึงต้องอาศัยแรงกระตุ้นอีกมาก

“หากเพียงแค่เราสามารถกระตุ้นให้เขาอยู่ต่อได้อีกครึ่งวัน หรือทานอาหารเพิ่มอีก 1 มื้อ แค่นี้ก็เป็นผลสำเร็จแล้ว เพราะสามารถหมุนเวียนรายได้ให้ท้องถิ่นได้เพิ่มขึ้น” ฉัททันต์กล่าว

เมืองรอง อาหาร
“ฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา” รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ “ฉัตรสุดา เลิศพิริยกมล” Area Manager Partner Services Thailand and Indochina ของ Booking.com

ด้าน “ฉัตรสุดา เลิศพิริยกมล” Area Manager Partner Services Thailand and Indochina ของ Booking.com กล่าวว่า การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) ถือว่ากำลังมาแรงและเติบโตมากในวงการการท่องเที่ยว

โดย Booking.com มีการสำรวจความเห็นนักท่องเที่ยวกว่า 42,000 คนจาก 33 ประเทศทั่วโลก พบว่า นักท่องเที่ยวเฉลี่ย 77% เห็นว่า “อาหาร”เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกจุดหมายปลายทางเพื่อไปท่องเที่ยว และหากเจาะเฉพาะนักท่องเที่ยวไทย มีถึง 89% ที่มองว่าอาหารคือปัจจัยสำคัญในการไปเที่ยว ถือได้ว่า ‘เรื่องกินเรื่องใหญ่’ สำหรับนักท่องเที่ยวไทย

เมืองรอง อาหาร
ร้านเฮือนภูคา จ.น่าน

การเลือกผลักดันการท่องเที่ยวเชิงอาหารนับได้ว่าเหมาะกับประเทศไทยที่มีวัฒนธรรมอาหารเป็น “ซอฟต์ พาวเวอร์” เพราะอาหารไทยขึ้นชื่อว่ามีรสชาติอร่อยระดับโลก

ฉัททันต์เสริมว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายสำหรับแคมเปญนี้ นอกจากคนไทยที่ชื่นชอบเรื่องอาหาร กลุ่มนักท่องเที่ยวในเอเชียเองก็ชอบการทานอาหาร เป็นสายกินที่นิยมตามรอยร้านอาหารดังและมีแนวโน้มจัดทริปเพื่อทานอาหารเหมือนกัน ส่วนนักท่องเที่ยวฝั่งตะวันตกน่าจะเลือกสถานที่ท่องเที่ยวจากแหล่งท่องเที่ยวเป็นหลักก่อน แต่อาหารอร่อยก็เป็นอีกปัจจัยช่วยส่งเสริมให้เลือกไปเที่ยวในพื้นที่นั้นได้เช่นกัน

ร้านครัวตะนาวศรี จ.ราชบุรี

หลังจากนี้ทาง Booking.com และ ททท. จะร่วมกันประชาสัมพันธ์ข้อมูลของ Thai Foodie Map ผ่าน KOL อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังในสายอาหารและสายท่องเที่ยว โดยใช้แคมเปญแฮชแท็กว่า #ExploreThaiTaste หวังสร้างไวรัลให้นักท่องเที่ยวจัดทริปไปตามรอยร้านอาหารดังในเมืองรองทั่วประเทศ

สำหรับการคัดเลือก 8 จังหวัดนี้มาเป็นจังหวัดนำร่องของ Thai Foodie Map ฉัททันต์และฉัตรสุดาระบุว่าเป็นการตัดสินใจร่วมกันของทั้ง ททท. และ Booking.com โดยจะต้องเป็นเมืองรองที่มีศักยภาพพอสมควรในการรองรับจำนวนนักท่องเที่ยว มีที่พักจำนวนมากอยู่แล้ว พร้อมสำหรับการโปรโมต

ส่วนการคัดเลือกร้านอาหาร เป็นการเลือกจากการสอบถามคนท้องถิ่นในพื้นที่ เน้นร้านอาหารที่คนท้องถิ่นรู้จัก รสชาติอร่อย

ฉัททันต์กล่าวว่า 8 จังหวัดแรกนี้เป็นเฟส 1 ของแคมเปญ หลังจากนี้จะมีการคัดเลือกจังหวัดในกลุ่มเฟส 2 ต่อไปเร็วๆ นี้

 

40 ร้านอาหารเด็ด เมืองรอง 8 จังหวัด ใน “Thai Foodie Map”

เชียงราย

  • ลาบบ่อทอง
  • เฮือนฮิมดอย
  • กาแฟดอยผาหมี
  • ป้าแปง ข้าวซอยน้อยไฮโซ
  • ร้านอาหารยูนนาน ฉิง หอ เยียน
ร้านลาบบ่อทอง จ.เชียงราย

น่าน

  • เฮือนภูคา
  • กิ๋นเส้นน่าน
  • เฮือนฮังต่อ กาแฟน่าน
  • ข้าวซอย น้ำเงี้ยว แม่สุณี
  • วันดาข้าวแกง

เลย

  • ร้านแม่งามอิ่มอร่อย ข้าวเปียกเส้น
  • ร้านป้าบัวหวาน ข้าวปุ้นน้ำแจ่ว
  • ส้มตำป้าโด้
  • เฮือนหลวงพระบาง
  • ร้านป้าอุ๋ม ตำซั่วนาบอน

บุรีรัมย์

  • ร้านตำแหลก ณ ประโคนชัย
  • พรรณี กุ้งเผา
  • แซ่บอีสาน
  • จิ้งนำขาหมู
  • ป้าน้อย หมี่ยำไทย
ร้านตำแหลก ณ ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

ราชบุรี

  • ครัวตะนาวศรี
  • ครัวเชวา
  • กอบัว อาหารไทย เขาวัง ราชบุรี
  • ร้านอาหารครัวดอกเอื้อง
  • ครัวดิน ศิลปะ

สมุทรสงคราม

  • ร้านอาหารครัวแม่อุไร
  • ก๋วยเตี๋ยวหมูย่างกะทิสด อัมพวา
  • ร้านคุณย่า ก๋วยเตี๋ยวมะพร้าวอ่อน
  • ร้านอาหารริมน้ำ
  • ครัวย่าโรม คลองโคน
ร้านอาหารครัวแม่อุไร จ.สมุทรสงคราม

นครศรีธรรมราช

  • ร้านขนมจีนแม่ยายเส้นสดน้ำแกงปูม้า
  • ไทยโอชา
  • ร้านอาหารริมเล ซีฟู้ด
  • ขนำติ่มซำ
  • โกโด่ง ข้าวมันแกงประตูชัย

ตรัง

  • ร้านยกยอ
  • จีบขาวติ่มซำ
  • ขนมเปี๊ยะปิ้งบ้านพะยูน
  • ร้านอาหารจีนดำ
  • หมูย่างโกอึ้ง
ร้านอาหารจีนดำ และ หมูย่างโกอึ้ง จ.ตรัง
]]>
1443843
CPN ลุยสร้าง “โรงแรม” ประกบศูนย์การค้า 37 แห่ง เปิดแบรนด์ใหม่ “Centara One – Go! Hotel” https://positioningmag.com/1388312 Thu, 09 Jun 2022 10:10:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388312
  • “เซ็นทรัลพัฒนา” (CPN) กางแผนลุยธุรกิจ “โรงแรม” เต็มตัว จากเดิมมีเพียง 2 แห่งในพอร์ต อีก 5 ปีข้างหน้าจะเพิ่มอีก 37 แห่ง รวม 4,000 ห้อง ใน 27 จังหวัด มูลค่าการลงทุน 10,000 ล้านบาท
  • ทั้งหมดจะประกบกับ “ศูนย์การค้า” ทั้งเซ็นทรัล-โรบินสัน ตามแผนงาน “มิกซ์ยูส” และจะทำให้พอร์ตโรงแรมของเซ็นทรัลพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็น 10% ของบริษัท
  • ผนึก “เซ็นทารา” เข้ามาบริหาร 3 แบรนด์ ได้แก่ Centara, Centara One และ Go! Hotel สำหรับสองแบรนด์หลังคือแบรนด์ใหม่ “เอ๊กซ์คลูซีฟ” ให้กับเซ็นทรัลพัฒนาเท่านั้น เจาะตลาดโรงแรมระดับกลางและพรีเมียมแมส
  • ปัจจุบัน บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) มีโรงแรมเพียง 2 แห่งในพอร์ต คือ โรงแรมฮิลตัน พัทยา และ โรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ อุดรธานี โดยรายได้จากกลุ่มโรงแรมคิดเป็นเพียง 2% ในพอร์ต เพราะดังที่ทราบกันว่าเซ็นทรัลพัฒนาเน้นหนักด้านศูนย์การค้าเป็นหลัก แต่นับจากนี้ CPN จะกระโดดเข้ามาในตลาดโรงแรมเต็มตัวแล้ว

    “วัลยา จิราธิวัฒน์” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา ประกาศแผนของบริษัท “5 ปี ขยายโรงแรม 37 แห่ง รวม 4,000 ห้อง ใน 27 จังหวัด มูลค่าการลงทุน 10,000 ล้านบาท” เริ่มตั้งแต่ปีนี้เป็นปีแรก

    (จากซ้าย) โรงแรม Centara Ayutthaya, Centara One Rayong และภาพจำลอง Go! Hotel

    การลงทุนครั้งนี้ เซ็นทรัลพัฒนาจะประกบโรงแรมเข้ากับศูนย์การค้าในเครือไม่ว่าจะเป็นเซ็นทรัลหรือโรบินสัน ตามนโยบายการดำเนินโครงการแบบ “มิกซ์ยูส” มีทั้งศูนย์การค้า โรงแรม คอนโดมิเนียมในบริเวณเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การทำธุรกิจ ‘synergy’ กันได้ ลูกค้ามีความสะดวกสบาย เสริมโอกาสทางการค้าให้กันและกัน

    วัลยายังกล่าวด้วยว่า กลยุทธ์การบุกตลาดโรงแรมครั้งนี้ของ CPN จะตอบโจทย์ทั้งลูกค้าพักผ่อน ธุรกิจ ทำงาน รวมถึงจะมีครบทุกเซ็กเมนต์ และยังเน้นการจ้างงานคนในชุมชน เน้นอัตลักษณ์อาหารและการออกแบบจากท้องถิ่นด้วย เพราะหวังให้โรงแรมของเซ็นทรัลพัฒนาเป็นมาตรฐานใหม่ทั้งในเมืองหลักและเมืองรองของประเทศ

    “วัลยา จิราธิวัฒน์” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา

    “ภูมิ จิราธิวัฒน์” Head of Hotel Property บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวขยายความการตัดสินใจพัฒนาโรงแรมมากขึ้นของบริษัท นอกจากนโยบายมิกซ์ยูสแล้ว ยังเกิดจากบริษัทเล็งเห็นว่าการท่องเที่ยวในประเทศฟื้นตัวได้ดีกว่านักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ โดยเดือนเมษายนที่ผ่านมา คนไทยเที่ยวในไทยถึง 30 ล้านคน เทียบกับเมษายน 2562 คนไทยเที่ยวไทย 38 ล้านคน

    นอกจากนี้ยังมีกระแส workation คนย้ายที่ทำงานไปทำงานทางไกลจากจังหวัดที่ได้พักผ่อน รถไม่ติด อากาศบริสุทธิ์ ทำให้ค่าเฉลี่ยการเข้าพักหลัง COVID-19 เพิ่มเป็น 3-5 วัน จากก่อนเกิดโรคระบาดจะเฉลี่ยที่ 2-3 วัน

    CPN โรงแรม
    ภูมิ จิราธิวัฒน์” Head of Hotel Property บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา

    เมื่อรวมกับศักยภาพของเครือเซ็นทรัล ทางเซ็นทรัลพัฒนามีที่ดินใจกลางเมืองจากการพัฒนาศูนย์การค้าอยู่แล้วโดยไม่ต้องจัดซื้อเพิ่ม และมีเซ็นทาราเป็นผู้บริหารโรงแรมที่เชี่ยวชาญ การขยับมาพัฒนาโรงแรมจึงเป็นทิศทางที่เหมาะสม

     

    เปิดแบรนด์ใหม่ ‘Centara One’ และ ‘Go! Hotel’

    ภูมิกล่าวต่อว่า การเปิดตัวโรงแรมทั้งหมด 37 แห่ง ภายใน 5 ปี จะแบ่งเป็น 3 เซ็กเมนต์ครบทุกระดับ ได้แก่

    • Centara แบรนด์ระดับฟูลเซอร์วิส ราคาห้องพักประมาณ 2,000 บาทขึ้นไป โดยจะเปิดทั้งหมด 4 แห่ง เช่น Centara Korat, Centara Ayutthaya, Centara Ubon
    • Centara One แบรนด์ผสมผสานไลฟ์สไตล์และธุรกิจ (Bleisure) ในระดับกลาง ราคาห้องพักประมาณ 1,500-1,700 บาท จะเปิดทั้งหมด 8 แห่ง เช่น Centara One Rayong
    • Go! Hotel แบรนด์โรงแรมระดับพรีเมียมแมส โรงแรมขนาด 79 ห้อง ราคาห้องพักประมาณ 1,000 บาท จะเปิดทั้งหมด 25 แห่ง มีแผนเปิดแล้ว 7 ทำเล คือ โคราช, อุบลราชธานี, อยุธยา, ระยอง, ศรีราชา, ชลบุรี และเชียงราย
    โรงแรม CPN
    แผนการเปิดโรงแรมของ CPN แบ่งตามแบรนด์

    สำหรับแบรนด์ใหม่คือ Centara One และ Go! Hotel นั้น วัลยากล่าวว่าเกิดจากทางเซ็นทรัลพัฒนาที่ต้องการจะเปิดโรงแรมในหัวเมืองต่างๆ แต่ต้องการแบรนด์ในระดับกลางและพรีเมียมแมสที่จะเข้าถึงตลาดเหล่านั้นได้ ทำให้นำไปพูดคุยกับเซ็นทาราเพื่อวางคอนเซ็ปต์แบรนด์ใหม่ขึ้นมา และจะเป็นแบรนด์ “เอ๊กซ์คลูซีฟ” สำหรับโครงการที่พัฒนาโดย CPN เท่านั้น (ทั้งนี้ Go! Hotel จะเป็นลิขสิทธิ์ของเซ็นทรัลกรุ๊ป เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่เซ็นทรัลดูแลตั้งแต่เป็นไฮเปอร์มาร์เก็ตที่เวียดนาม)

     

    ประเดิมแห่งแรก ‘Centara Korat’

    จากแผนงานดังกล่าว แห่งแรกและแห่งเดียวที่จะเปิดตัวในปี 2565 คือโรงแรม Centara Korat อยู่ในโครงการมิกซ์ยูสร่วมกับเซ็นทรัล โคราช และคอนโดฯ Escent โคราช มูลค่าทั้งโครงการมิกซ์ยูส 10,000 ล้านบาท

    Centara Korat เปิดแกรนด์โอเพนนิ่ง กันยายน 2565

    ภูมิกล่าวถึงโรงแรมนี้ว่า จะเป็นโรงแรมขนาด 218 ห้อง มีไฮไลต์เด่น เช่น ร้านอาหาร House of Kin (เฮาส์ ออฟ กิน) ร้านที่ทานได้ทุกเจนเนอเรชัน มีตั้งแต่ส้มตำถึงเฟรนช์ฟรายส์ สามารถจัดเลี้ยงในโอกาสพิเศษได้, ร้านอาหาร Rooftop ให้คนท้องถิ่นได้มีที่แฮงต์เอาต์พร้อมชมวิวเมืองโคราช, ห้องประชุมพื้นที่ 930 ตารางเมตร รองรับการเป็นจังหวัด MICE City ทั้งหมดนี้จะเปิดบริการกันยายน 2565

     

    ดันพอร์ตโรงแรมขึ้นมาเป็น 10%

    ดังที่กล่าวว่าโรงแรมเป็นสัดส่วนที่น้อยมากในพอร์ตรวมของ CPN ขณะนี้ แต่หลังการเพิ่มแผนงานด้านโรงแรม วัลยามองว่า เมื่อเปิดครบ 37 แห่งใน 5 ปีข้างหน้า พอร์ตโรงแรมจะขึ้นมามีสัดส่วน 10% ของบริษัท

    “เรามั่นใจในการลงทุนเพราะการพักโรงแรมยุคนี้คนไม่ได้ไปเพื่อการท่องเที่ยว แต่มีการไปติดต่อธุรกิจ และการ workation” วัลยากล่าว

    “เราเห็นตัวอย่างจากเมืองนอก แม้เราจะไปเมืองรองของเขาแต่ก็ยังมีโรงแรมที่มีมาตรฐานให้เข้าพัก เราก็อยากจะทำให้ได้เหมือนกัน ยกระดับมาตรฐานโรงแรมในเมืองรองขึ้นมา” ภูมิกล่าว

    ]]>
    1388312
    “เซ็นทรัล จันทบุรี” กับยุทธศาสตร์สร้างเมืองให้ “เมืองรอง” ของเซ็นทรัลพัฒนา https://positioningmag.com/1387077 Mon, 30 May 2022 08:35:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1387077 เปิดทำการไปแล้วเรียบร้อยสำหรับ “เซ็นทรัล จันทบุรี” ศูนย์การค้าลำดับที่ 37 ของเซ็นทรัลพัฒนา และเป็นโครงการมิกซ์ยูสครบวงจรแห่งแรกของจังหวัด สานต่อโรดแมปบุกเมืองรองของเซ็นทรัลพัฒนา อะไรคือจุดที่ทำให้เซ็นทรัลฯ สนใจในตัวจันทบุรี จังหวัดที่มี GDP อันดับ 14 ของประเทศ

    ยุทธศาสตร์บุกเมืองรอง

    แต่ไหนแต่ไรเราจะได้เห็นแผนการเปิดตัวศูนย์การค้าในประเทศไทย ที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในโลเคชั่นสุดแสนจะทำเลทอง เนื่องจากในกรุงเทพฯ ที่มีพื้นที่แออัดแล้ว ผู้เล่นต่างๆ ล้วนหันไปมองพื้นที่ต่างจังหวัดกันมากขึ้น ต่างมองทำเลหัวเมืองใหญ หรือเมืองท่องเที่ยวกันทั้งสิ้น เนื่องจากสามารถการันตีเรื่องของทราฟฟิกคนใช้บริการ และกำลังซื้อได้ชัดเจน

    ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา “เซ็นทรัลพัฒนา (CPN)” ได้ขยายสาขาใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับครีเอตฟอร์แมตใหม่ๆ เพื่อรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ประกอบกับสภาพตลาดค้าปลีกที่เปลี่ยนไปด้วย จึงได้เห็นโมเดลใหม่ๆ ทั้งเซ็นทรัล อีสต์วิลล์ (เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา) เป็นแบบ Semi-outdoor หรือจะเป็นเซ็นทรัล เวสต์เกต (บางใหญ่) ที่วางจุดยืนให้เป็น Super Regional Mall แห่งใหญ่ของทางกรุงเทพฯ ตะวันตก

    เซ็นทรัล จันทบุรี

    แต่ยุทธศาสตร์สำคัญในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั่นก็คือการบุกตลาดต่างจังหวัด ในอดีต CPN ได้ไปเปิดตลาดที่ต่างจังหวัดมาบ้างแล้ว แต่ส่วนใหญ่เป็นหัวเมืองใหญ่ หรือเมืองท่องเที่ยว เช่น เชียงใหม่, ขอนแก่น, อุดรธานี, พัทยา, สมุย, ระยอง และหาดใหญ่ เป็นต้น เมื่อไม่กี่ปีมานี้ได้เริ่มบุกจังหวัดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น นครศรีธรรมราช, มหาชัย, ลำปาง และนครราชสีมา เป็นต้น

    กลับมาในช่วง 2-3 ปีมานี้ CPN วางโรดแมปอย่างชัดเจน ในการบุกทำเล “เมืองรอง” เป็นคำจัดกัดความของจังหวัดที่เป็นทางผ่าน หรือไม่ใช่เมืองหลักในการท่องเที่ยวมากนัก แต่เทรนด์ในช่วงหลายปีมานี้คนไทยก็เริ่มให้ความสนใจในการท่องเที่ยวเมืองรองมากขึ้นเช่นกัน

    เมื่อ 2562 ทาง CPN ได้กางแผนการลงทุนระยะสั้นช่วง 3 ปี มูลค่า 22,000 ล้านบาท ส่วนหนึ่งในนั้นเป็นการเปิดศูนย์การค้าใหม่ 3 แห่ง เป็นการบุกตลาดเมืองรองทั้งหมด ได้แก่

    • เซ็นทรัล ศรีราชา มูลค่าโครงการ 4,200 ล้านบาท พื้นที่โครงการ 71,000 ตารางเมตร พื้นที่รวม 27 ไร่ เปิดทำการเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2564
    • เซ็นทรัล อยุธยา มูลค่าโครงการ 6,200 ล้านบาท พื้นที่โครงการ 68,000 ตารางเมตร พื้นที่รวม 47 ไร่ เปิดทำการเมื่อวันนี้ 30 พ.ย. 2564
    • เซ็นทรัล จันทบุรี มูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท พื้นที่โครงการ 75,953 ตารางเมตร พื้นที่รวม 46 ไร่ เปิดทำการเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2565

    ทั้ง 3 โครงการเป็นรูปแบบ “มิกซ์ยูส” ทั้งหมด ที่จะประกอบไปด้วยศูนย์การค้า, โรงแรม, ที่พักอาศัย และอาคารสำนักงาน เป็นความต้องการที่จะสร้างเมืองใหม่โดยเฉพาะ เรียกว่ายุทธศาสตร์ไม่ได้ต้องการสร้างแต่ศูนย์การค้า แต่ต้องการสร้างศูนย์รวมของผู้คนในละแวกนั้น จึงต้องการสร้างเมืองแบบกลายๆ

    กำลังซื้อ “ชัด” ไลฟ์สไตล์ดี

    “กำลังซื้อชัด ไลฟ์สไตล์ดี จีดีพีอันดับ 14 ของประเทศ” คือคำจำกัดความแบบคร่าวๆ ของเหตุผลที่ทาง “เซ็นทรัลพัฒนา” เลือกปักเสาเข็มที่ใจกลางเมืองจังหวัดจันทบุรี และเริ่มเปิดทำการเป็นสาขาล่าสุดแบบสดๆ ร้อนๆ

    แม้ที่จังหวัดจันทบุรีจะมี “โรบินสัน” ที่เป็นอีกหนึ่งยูนิตในเครือเดียวกันอยู่แล้ว แต่ CPN ก็ยังที่จะเลือกมาเปิดเป็นศูนย์การค้า เพราะมีโมเดลที่แตกต่างกัน โรบินสันได้มาเริ่มปูทางในพื้นที่กว่า 15 ปีแล้ว เป็นโมเดลดีพาร์ทเมนต์สโตร์ แต่กำลังจะเปลี่ยนเป็นโมเดลโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน

    central chan เซ็นทรัล จันทบุรี

    โดยปกติแล้ว Position ของเซ็นทรัล กับโรบินสันจะมีความแตกต่างกัน เซ็นทรัลจะให้ความเป็นคนเมือง จับกลุ่มที่มีกำลังซื้อหน่อยๆ มีเคาน์เตอร์แบรนด์ แบรนด์เนม ส่วนโรบินสันจะจับกลุ่มชานเมือง และต่างจังหวัด มีแบรนด์ หรือสินค้าที่ราคาเข้าถึงได้

    แต่ในช่วงหลังทั้ง 2 แบรนด์นี้ได้ใช้พลังความเป็นพี่น้องกันในเครือกันพอสมควร CPN เองก็ศึกษาข้อมูลจากการที่โรบินสันไปกรุยทางเอาไว้ อีกทั้งยังมีดาต้าจาก The 1 ทำให้รู้ข้อมูลกำลังซื้อต่างๆ หลายครั้งก็มีโอกาสได้เห็นการสลับแบรนด์กันของโรบินสัน และเซ็นทรัล ยกตัวอย่างที่ “เมกาบางนา” เพื่อต้องการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้า

    ที่จันทบุรีก็เช่นเดียวกัน แม้โรบินสันจะอยู่ห่างจากเซ็นทรัลไม่เกิน 2 กิโลเมตร แต่ทาง CPN เชื่อว่าจะไม่แย่งลูกค้ากัน มีข้อมูลการศึกษาพบว่าจังหวัดนี้มีศักยภาพในการเติบโตอย่างมาก ถ้าดูในแง่ตัวเลขมี GDP ถึง 240,000 ล้านบาท อยู่ในอันดับที่ 14 ของประเทศ

    central chan เซ็นทรัล จันทบุรี

    ทาง CPN ใช้คำว่า “กำลังซื้อชัด” ไม่ได้ใช้คำว่า “กำลังซื้อสูง” เนื่องจากว่าคนในจันทบุรีมีรายได้มั่นคงจากทั้งสวนผลไม้ เป็นเมืองแห่งผลไม้เมืองร้อนของโลก และเป็นแหล่งค้าพลอย และอัญมณีแห่งใหญ่ของประเทศ คำว่ากำลังซื้อชัดเลยรวมทั้งการมีกำลังซื้อสูง และกำลังซื้อมั่นคงไปในทีเดียว

    เลิศวิทย์ ภูมิพิทักษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา เล่าว่า

    “ภาพรวมของคนในภาคตะวันออกโดยรวมดี มีทั้งโรงงาน พืชผลการเกษตร รายได้หลักมาจากสวนผลไม้ และอัญมณี เลยทำให้คนในพื้นที่จันทบุรีมีกำลังซื้อสูง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่เป็น Middle to Wealth & Business Successor ของจังหวัด”

    เซ็นทรัล จันทบุรีจับกลุ่มประชากรกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากกว่า 1.8 ล้านคน รวมประชากรในจันทบุรี, ตราด, ปราจีนบุรี และสระแก้ว รวมถึงจับกลุ่มชายแดน โดยเฉพาะคนมีกำลังซื้อสูงจากกัมพูชาก็นิยมมาช้อปปิ้ง และ Medical tour ในจันทบุรี

    central chan เซ็นทรัล จันทบุรี

    ติดใจ Semi-outdoor เพิ่มพื้นที่สีเขียว

    กลยุทธ์ในการเปิดศูนย์การค้าแห่งใหม่ของ CPN ไม่ได้ต้องการแค่เปิดศูนย์การค้า หรือห้างสรรพสินค้าเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป จะเห็นได้จากในช่วงหลายปีให้หลังมานี้ รูปแบบการดีไซน์ หรือโมเดลต่างๆ มีความแปลกใหม่ หรือต่อยอดจากความสำเร็จจากสาขาเดิม

    หนึ่งในโมเดลที่ CPN ค่อนข้างจะภาคภูมิใจเป็นพิเศษก็คือ Semi-outdoor หรือศูนย์การค้าแบบมอลล์ส่วนหนึ่ง และ Open air ส่วนหนึ่ง ได้เริ่มโมเดลนี้แห่งแรกที่ “เซ็นทรัล อีสต์วิลล์” (เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา) เปิดทำการเมื่อเดือน ต.ค. 2558

    central chan เซ็นทรัล จันทบุรี

    โมเดลนี้รับกับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคได้อย่างดี มีจุดเด่นที่เอาใจ “ทาสสัตว์เลี้ยง” ด้วยการสามารถพาน้องๆ มาเดินในศูนย์ด้วยได้ พร้อมกับมีพื้นที่ให้ออกกำลังกาย จากนั้นได้เริ่มขยายโมเดลนี้ไปที่เซ็นทรัล ศรีราชา เริ่มเปิดทำการเมื่อ ต.ค. 2564 รวมไปถึงโครงการใหม่อย่าง “เซ็นทรัล เวสต์วิลล์” (ราชพฤกษ์) ที่จะใช้โมเดลนี้ด้วยเช่นกัน

    นอกจากการเป็นศูนย์การค้าแบบ Semi-outdoor แล้ว CPN ยังสร้างที่นี่เพื่อเป็น Center of Well-Being ให้กับเมืองจันท์ วางเป้าหมายเป็นมากกว่าศูนย์การค้า ด้วยการสร้างพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ 4 ไร่ เพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะให้กับเมือง ประกอบด้วย Running Track, จุดจอดจักรยาน, เครื่องออกกำลังกาย, Social Park, Family&Pet Playground, Café และยังเป็นโครงการแรกในต่างจังหวัดที่ทำ Completed Sport Destination ด้วยพื้นที่ Multi-Purpose กว่า 4,000 ตร.ม.

    ต่อจิ๊กซอว์ EEC

    เป็นที่ชัดเจนว่ากลยุทธ์ของ CPN ในการเปิดศูนย์การค้าแห่งใหม่ ส่วนใหญ่จะต้องเป็นแบบ “มิกซ์ยูส” เป็นการสร้างเมืองขนาดย่อม เพื่อสร้าง Butterfly Effect ให้แก่เมืองนั้นๆ

    เซ็นทรัล จันทบุรีจะประกอบไปด้วย ศูนย์การค้า Semi-Outdoor, โรงแรม, โครงการที่อยู่อาศัย และคอนเวนชั่นฮอลล์ ถือว่าเป็นโครงการมิกซ์ยูสแห่งแรกในจังหวัด และปักหมุดเป็นมิกซ์ยูสครบวงจรที่สุดในภาคตะวันออก

    central chan เซ็นทรัล จันทบุรี

    ความสำคัญของการเปิดโครงการแบบมิกซ์ยูสก็คือ การรองรับการเป็น MICE Hub ของ EEC ในอนาคต อีกทั้งที่นี่ยังเป็นคอนเวนชั่นฮอลล์ หรือศูนย์ประชุมแห่งแรกในจังหวัด ก่อนหน้านี้การจัดงานต่างๆ จะเน้นจัดตามโรงแรม จึงเป็นโอกาสในการต้อนรับงานใหญ่ๆ

    อีกทั้งที่เซ็นทรัล จันทบุรียังเป็นการต่อจิ๊กซอว์โครกงารตอบรับ EEC ให้ครบถ้วนมากขึ้น จากที่ก่อนหน้านี้ CPN ได้เปิดโครงการในโซนนี้มาแล้ว 5 แห่ง ได้แก่ เซ็นทรัล ชลบุรี, เซ็นทรัล พัทยา 2 แห่ง, เซ็นทรัล ศรีราชา และเซ็นทรัล ระยอง จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวได้

    สำหรับการเปิดทำการเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2565 ที่ผ่านมา เซ็นทรัล จันทบุรีมีทราฟฟิกผู้ใช้บริการสูงถึง 60,000 คน แต่มีการตั้งเป้าในทราฟฟิกในวันธรรมดาอยู่ที่ 30,000 คน/วัน

    อ่านเพิ่มเติม

    ]]>
    1387077
    จับกระเเส “ตลาดเกม” บูมใน “เมืองเล็ก” ของจีน รายได้กว่า 70% มาจากเกมเมอร์ต่างจังหวัด https://positioningmag.com/1301108 Mon, 12 Oct 2020 08:12:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301108 ตลาดเกมกำลังเฟื่องฟูตามเมืองเล็กๆ ในจีน จากรายงานของ Niko Partners ระบุว่า ยอดขายวิดีโอเกมในจีนนั้นมาจากเมืองชั้น 3-5 เป็นสัดส่วนถึง 70% สอดคล้องกับจำนวนเกมเมอร์ในจีนที่อาศัยอยู่ในเมืองรองถึง 76% เมื่อเทียบกับทั้งประเทศ

    การเติบโตของธุรกิจเกมในจีนนั้นน่าจับตามอง เพราะจีนนับเป็นตลาดเกมที่ใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆ ของโลก ทำรายได้มากถึง 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ตามข้อมูลของ Newzoo

    การเเบ่งอันดับเมืองในจีน ขึ้นอยู่กับตามจำนวนประชากรและขนาดของเศรษฐกิจ โดยเมืองใหญ่ๆ อย่างปักกิ่งและเซินเจิ้น จะเรียกว่าเป็นเมืองชั้น 1 ส่วนเมืองชั้นรองลงมาเป็นเมืองที่มีขนาดเล็กกว่า

    เเม้จะเรียกว่าเป็นเมืองเล็กเเต่สำหรับประเทศที่มีประเทศที่มีประชากร 1.4 พันล้านคนอย่างจีน ในเมืองเล็กๆ ก็มีประชากรเกิน 1 ล้านคนแล้ว ดังนั้นเมืองชั้น 3-5 ของจีน จึงเป็นตลาดเกมที่น่าสนใจเเละหลายบริษัทต้องการจะเจาะตลาด

    Lisa Cosmas Hanson ผู้ก่อตั้งเเละประธานของ Niko Partners บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยตลาด กล่าวถึง พฤติกรรมเกมเมอร์ในจีนว่า ปัจจัยที่ทำให้ตลาดเกมในเมืองรองของจีนบูมขึ้น เป็นเพราะผู้คนปรับตัวเเละเข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น หลังมีการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในเมืองเล็กให้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งโทรศัพท์มือถือที่ใช้เล่นเกมได้ก็ยังมีราคาถูกลงด้วย

    การที่ยอดขายเกมส่วนใหญ่กว่า 70% มาจากเมืองชั้น 3-5 นั้น เป็นเพราะเมืองเล็กๆ มีเเหล่งความบันเทิงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ เช่น กรุงปักกิ่งและนครเซี่ยงไฮ้ ผู้คนจึงเลือกใช้เวลาในบ้านหรือบนหน้าจอมากกว่า ซึ่งก็ทำให้บริการสตรีมมิ่งอย่าง Netflix โตในต่างจังหวัดเช่นกัน เกิดการเเข่งขันเเย่งเวลาผู้บริโภคมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ Netflix มีความกังวลต่อเกมดังอย่าง Fortnite มากกว่าคู่แข่งโดยตรง Disney + เสียอีก

    Niko Partners เผยถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของเกมเมอร์จีนไว้ใน China Gamers Report อย่างน่าสนใจว่า นิสัยการใช้จ่ายของเกมเมอร์ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองรองของจีน แตกต่างจากคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่

    ยกตัวอย่าง เช่น เกมเมอร์ในเมืองเล็กจำนวนมากมักจะ “keep the ads on” คือปล่อยให้มีการเเสดงโฆษณาในเกมที่เล่น เพราะพวกเขาไม่สนใจมันมากนัก อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเงิน “น้อยกว่า” ในแอปพลิเคชันที่ต้องซื้อเเบบ “In-App Purchases” เเต่ยอดการใช้จ่ายโดยรวมยังค่อนข้างสูงกว่าในเมืองใหญ่ เพราะมีจำนวนเกมเมอร์ที่มากกว่านั่นเอง

    เกมเมอร์ในในเมืองเล็กนั้น มีความเชื่อว่าเกมที่พวกเขา “เล่นฟรี” มักจะหารายได้ผ่านโฆษณา ซึ่งถ้าไม่น่ารำคาญมาก ก็ถือว่าถูกกว่าการซื้อเเอปพลิเคชัน หรือการจ่ายพรีเมียมที่มีการเรียกเก็บล่วงหน้าที่เเพงกว่า

    “พวกเขารู้สึกว่าได้ดีลที่ดีเเล้ว เพราะรู้สึกว่าพวกเขาควบคุมการใช้จ่ายได้ แต่จริงๆ แล้วพวกเขาก็ใช้จ่ายมากพอๆ กันนั่นเเหละ” Hanson กล่าวกับ CNBC

    ในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ผู้คนไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมทางสังคมอื่น ๆ ได้ตามปกติ ส่งผลให้ยอดโหลดเกมในจีนพุ่งขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะตลาดเกมมือถือในจีนที่ทำรายได้ทะลุ 5 หมื่นล้านหยวน (ราว 2.25 เเสนล้านบาท) ในช่วงไตรมาสเเรกของปี 2020 เพิ่มขึ้นมากถึง 40% เมื่อเทียบกับปีที่เเล้ว

    นอกจากยอดดาวน์โหลดที่เพิ่มขึ้นเเล้ว ค่าใช้จ่ายในเกมก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ทำให้บรรดาบริษัทเกมต่างๆ ปรับกลยุทธ์การตลาด จากเดิมที่เน้นขายตัวเกมก็เปลี่ยนเป็นดาวน์โหลดฟรี แต่ไปเน้นการขายสินค้าในเกมแทน

     

    ที่มา : CNBC , China Gamers Report

     

    ]]>
    1301108
    “เมืองรอง” มาแรง! อโกด้าเปิดสถิติคนไทยเที่ยวในประเทศต้องการสถานที่ “แปลกใหม่” สูงขึ้น https://positioningmag.com/1299995 Mon, 05 Oct 2020 10:12:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299995
  • อโกด้า เปิดพฤติกรรมการท่องเที่ยวในประเทศของคนไทย มีแนวโน้มจองโรงแรม “หรูขึ้น” หลังงบท่องเที่ยวเหลือเพราะออกเที่ยวต่างประเทศไม่ได้
  • กลุ่มจังหวัด “เมืองรอง” มีโอกาสสูงขึ้น เพราะคนไทยต้องการสถานที่แปลกใหม่ที่ไม่เคยไปมาก่อน ยกตัวอย่างที่มาแรง เช่น เกาะกูด จันทบุรี นครศรีธรรมราช ฯลฯ
  • “เราเที่ยวด้วยกัน” ได้ผลในการผลักดันธุรกิจท่องเที่ยว โดยมีการจองมากกว่า 1 ล้านคืนแล้วในแคมเปญนี้ แต่ถ้าหากยังไม่มีวัคซีนรักษาโรค COVID-19 และนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่สามารถเข้าประเทศได้ตามปกติ เชื่อว่าการท่องเที่ยวไทยจะยังไม่ฟื้นเต็มที่
  • “จอห์น บราวน์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อโกด้า ประเทศไทย เปิดข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ท่องเที่ยวของไทยและพฤติกรรมท่องเที่ยวของคนไทยหลังผ่านสถานการณ์ COVID-19 จอห์นมองว่า อโกด้ารวมถึงทั้งอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วโลกได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วเมื่อเดือนเมษายน และสถานการณ์ค่อยๆ ดีขึ้น คาดว่าจะยังเติบโตต่อเนื่องในไตรมาส 4/63

    ในประเทศไทย อย่างที่ทราบกันดีว่าต้องหันมาพึ่งท่องเที่ยวในประเทศเป็นหลัก เพราะประเทศไทยยังไม่เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตามปกติ แม้จะเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวรูปแบบวีซ่าระยะยาวแล้ว แต่ก็น่าจะยังเป็นสัดส่วนที่น้อย เปรียบเทียบกับช่วงก่อน COVID-19 ที่การจองห้องพักในไทยกับอโกด้า 50% เป็นคนไทย และ 50% เป็นชาวต่างชาติ ขณะนี้การจองของชาวต่างชาติมีน้อยมาก ทำให้สัดส่วนเป็นคนไทย 90% และต่างชาติ 10%

    ด้านกลุ่มพาร์ตเนอร์โรงแรมของบริษัท 53,000 แห่งทั่วประเทศ ยังไม่พบการถอนการลงทะเบียนกับอโกด้า แต่มีบางส่วนที่ปิดชั่วคราวในเดือนเมษายน และกำลังทยอยกลับมาเปิดให้บริการ

     

    จองที่พักหรูขึ้นเพราะงบเหลือ

    เมื่อคนไทยคือลูกค้าหลัก ทำให้การทำความเข้าใจพฤติกรรมท่องเที่ยวของคนไทยสำคัญมาก จอห์นเปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้คนไทยเลือกที่พักด้วยปัจจัย 3 ประการคือ

    1) ที่พักมีความสะอาด ปลอดภัยจากโรคระบาด COVID-19
    2) ยืดหยุ่นในการจอง สามารถยกเลิกหรือเลื่อนได้ เนื่องจากลูกค้ายังกังวลว่าอาจเกิดการระบาดซ้ำก่อนที่จะถึงกำหนดทริปท่องเที่ยวของตน
    3) ราคาถูกกว่าปกติ เป็นประเด็นสำคัญมากในเวลานี้ที่เศรษฐกิจค่อนข้างซบเซา

    คนไทยนิยมจองห้องพักในโรงแรมระดับหรูขึ้นกว่าเดิม ชดเชยที่ไม่ได้ไปเที่ยวต่างประเทศ

    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะต้องการโปรโมชันราคาคุ้มค่า แต่คนไทยที่ออกท่องเที่ยวก็มีพฤติกรรมใช้จ่ายมากกว่าที่เคยโดยมักจะเลือกที่พักที่มีระดับสูงขึ้น เช่น เคยเลือกโรงแรม 3 ดาวขยับมาเป็น 4 ดาว ซึ่งอโกด้าวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะคนไทยไม่สามารถออกเที่ยวต่างประเทศได้ ทำให้ “งบเหลือ” และนำเงินมาใช้จ่ายกับที่พักที่ดีขึ้น

     

    คนไทยนิยมเที่ยวเมืองรองสูงขึ้น

    ด้านจุดหมายปลายทางยอดนิยมของคนไทยที่มีการจองเข้าพักระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน-31 ธันวาคม 2563 (เก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563) 10 อันดับแรก ได้แก่

    1) กรุงเทพมหานคร
    2) พัทยา
    3) เชียงใหม่
    4) หัวหิน/ชะอำ
    5) ภูเก็ต
    6) เขาใหญ่
    7) ชลบุรี
    8) กาญจนบุรี
    9) กระบี่
    10) ระยอง

    บริเวณโดยรอบวัดเจดีย์ จ.นครศรีธรรมราช
    “ไอ้ไข่วัดเจดีย์” กลายเป็นจุดดึงดูดใหม่จนนครศรีธรรมราชขึ้นแท่นเมืองรองมาแรงวันนี้ (photo : mgronline.com)

    อย่างไรก็ตาม จอห์นระบุว่ามีบางเมืองที่อยู่ในกลุ่ม “เมืองรอง” ได้รับความสนใจมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างเช่น “เกาะกูด” ที่เข้าไปติด Top 10 จุดหมายปลายทางที่คนไทยค้นหามากที่สุดในอโกด้า นอกจากนี้จะมีจังหวัดที่มาแรง เช่น นครศรีธรรมราช จันทบุรี นครนายก ขอนแก่น อุดรธานี

    “คาดว่าเป็นเพราะคนไทยที่ไปต่างประเทศไม่ได้จะเริ่มมองหาสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ ในประเทศแทน” จอห์นกล่าว “ดังนั้นอโกด้ากำลังพยายามหาพาร์ตเนอร์โรงแรมเพิ่มในจุดที่เห็นว่าลูกค้าค้นหามากขึ้น และโชคดีที่อโกด้ามีพาร์ตเนอร์ในพื้นที่เมืองรองอยู่บ้างแล้ว ทำให้ได้ประโยชน์จากเทรนด์นี้”

     

    “เราเที่ยวด้วยกัน” ช่วยพยุง แต่ถ้าไร้ต่างชาติก็ยังไม่ฟื้นเต็มที่

    ขณะที่ดีมานด์การท่องเที่ยวคนไทยยังมีอยู่ แต่ก็ต้องได้รับการกระตุ้นด้วย ซึ่งจอห์นให้ความเห็นว่าแคมเปญ “เราเที่ยวด้วยกัน” ของภาครัฐสามารถกระตุ้นดีมานด์ได้สำเร็จ จนถึงปัจจุบันมีการจองผ่านแคมเปญนี้ไปแล้วมากกว่า 1 ล้านคืน โดย “อโกด้า” เป็นหนึ่งในพาร์ตเนอร์หลักในการใช้สิทธิเราเที่ยวด้วยกัน คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% ของการใช้สิทธิเราเที่ยวด้วยกันที่จองผ่านอโกด้า

    ทั้งนี้ อโกด้าไม่มีการเก็บค่าคอมมิชชันกับโรงแรมเมื่อลูกค้าจองผ่านโครงการเราเที่ยวด้วยกัน (ปกติจะมีการเก็บค่าคอมมิชชัน 10-15%) และงานนี้เป็นงานอาสาพัฒนาแพลตฟอร์มให้รัฐบาลโดยไม่รับเงินสนับสนุน ด้วยแนวคิดของพนักงานอโกด้าที่นำเสนอทีมผู้บริหารเองว่า บริษัทควรเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศ บริษัทจึงตัดสินใจส่งทีมโปรแกรมเมอร์ราว 12 คนช่วยพัฒนาแพลตฟอร์มฟรี และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้แคมเปญเปิดตัวได้เร็ว

    จอห์น บราวน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อโกด้า ประเทศไทย

    อย่างไรก็ตาม แม้เราเที่ยวด้วยกันจะได้ผล และคนไทยมีการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากยิ่งกว่าช่วงเดียวกันของปี 2562 แต่จอห์นกล่าวว่า ยังไม่สามารถครอบคลุมส่วนที่หายไปเพราะขาดนักท่องเที่ยวต่างชาติได้

    เนื่องจากพฤติกรรมการเที่ยวต่างกัน ขณะที่ชาวต่างชาติมักจะพักผ่อนนาน 1-2 สัปดาห์ต่อทริป แต่คนไทยมักจะจองห้องพักเพียง 1-2 คืนต่อทริป ทำให้นักท่องเที่ยวหนึ่งคนมีกำลังซื้อต่ำกว่าในการเที่ยวหนึ่งครั้ง

    “มองว่าต้องมีวัคซีนเท่านั้น จึงจะทำให้การท่องเที่ยวไทยกลับไปเป็นปกติเท่ากับปี 2562” จอห์นกล่าวถึงอนาคตระยะยาวของธุรกิจนี้

    สำหรับบริษัทอโกด้าเอง ได้ผ่านจุดที่ยากที่สุดคือกระบวนการ “ลดต้นทุน” ไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจเลย์ออฟพนักงานบางส่วน ลดเงินเดือนผู้บริหาร ลดงบการตลาด งดกิจกรรมของพนักงาน ลดพื้นที่เช่าออฟฟิศ ทำให้บริษัทมีกระแสเงินสดเพียงพอที่จะเดินต่อได้ โดยจอห์นมองว่าถ้ายังไม่มีวัคซีนใน 1-2 ปีนี้ บริษัทก็อยู่ในจุดที่อยู่ตัวพอจะดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ

    ]]>
    1299995
    กางโรดแมป CPN 3 ปี เทงบ 22,000 ล้านบาท สร้างจุดเช็กอินใน “เมืองรอง” https://positioningmag.com/1250454 Mon, 21 Oct 2019 06:43:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1250454

    ]]>
    1250454
    มองยุทธศาสตร์ CPN ไม่หยุดแค่หัวเมืองใหญ่ แต่สร้างจุดเช็กอิน “เมืองรอง” https://positioningmag.com/1250363 Sun, 20 Oct 2019 17:01:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1250363 CPN หรือเซ็นทรัลพัฒนา เปิดแผนการลงทุนระยะสั้น 3 ปีไปจนถึงปี 2565 ใช้เงินลงทุน 22,000 ล้านบาท เตรียมพัฒนา และสร้างโครงการรวม 17 แห่ง เปิดใหม่ 3 โครงการสร้างเมืองให้จังหวัดเมืองรอง

    ทำให้ทุกโลเคชั่นเป็นศูนย์กลางของท้องถิ่น

    CPN ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ในไทย ซึ่งจะคุ้นเคยกันในโครงการศูนย์การค้าในชื่อเซ็นทรัล พลาซา และเซ็นทรัล เฟสติวัล โดยที่ 39 ปีที่แล้วได้เริ่มโครงการแรกคือ “เซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว” เป็นโครงการมิกซ์ยูสแห่งแรกที่มีทั้งศูนย์การค้า โรงแรม และอาคารสำนักงาน

    จากนั้น CPN ก็ได้ขยายสาขาใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และได้ต่อยอดสร้างฟอร์แมตใหม่ๆ เพื่อรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป สภาพตลาดค้าปลีกที่เปลี่ยนไปด้วย จึงได้เห็นโมเดลใหม่ๆ ทั้งเซ็นทรัล อีสต์วิลล์ (เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา) เป็นแบบกึ่ง Open Mall หรือจะเป็นเซ็นทรัล เวสต์เกต (บางใหญ่) ที่วางจุดยืนให้เป็น Super Regional Mall แห่งใหญ่ของทางกรุงเทพฯ ตะวันตก

    แต่ยุทธศาสตร์สำคัญในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั่นก็คือการบุกตลาดต่างจังหวัด ในอดีต CPN ได้ไปเปิดตลาดที่ต่างจังหวัดมาบ้างแล้ว แต่ส่วนใหญ่เป็นหัวเมืองใหญ่ หรือเมืองท่องเที่ยว เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี พัทยา สมุย ระยอง และหาดใหญ่ เป็นต้น เมื่อไม่กี่ปีมานี้ได้เริ่มบุกจังหวัดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น นครศรีธรรมราช มหาชัย นครราชสีมา

    ในปีนี้ CPN ได้ประกาศบุกตลาดใหม่ หรือที่หลายคนเรียกว่า “เมืองรอง” เป็นจังหวัดที่ไม่ได้เป็นเมืองท่องเที่ยวเท่าไหร่นัก แต่มีศักยภาพ และมีการเติบโตด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น

    วัลยา จิราธิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา หรือ ซีพีเอ็น

    วัลยา จิราธิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา หรือ ซีพีเอ็น ได้บอกว่า

    “กลยุทธ์สำคัญคือต้องการทำให้โครงการของ CPN ในทุกโลเคชั่น ทุกภูมิภาคของไทยเป็น Center of Life ของท้องถิ่น หรือเป็นศูนย์กลางของท้องถิ่นให้ได้ นั่นคือต่อไปจะไม่ได้พัฒนาโครงการแค่เมืองที่เจริญแล้ว แต่ไปพัฒนาโครงการในเมืองใหม่ๆ เพื่อรองรับการขยายเมือง ตอบโจทย์ Urbanized City ของประเทศไทย”

    ปั้น 3 โครงการมิกซ์ยูส เปิดตลาด 3 จังหวัดเมืองรอง 

    ในปีนี้ CPN ประกาศงบลงทุน 22,000 ล้านบาทในช่วง 3 ปีนี้ โดยมีทั้งพัฒนาโครงการใหม่ 3 โครงการ รีโนเวตศูนย์การค้าใหม่ 2 โครงการ และรีโนเวตแค่เล็กน้อย 12 โครงการ รวมทั้งหมด 17 โครงการ อีกทั้งยังมีบิ๊กโปรเจกต์ อีก 2 โครงการ เป็นโครงการ Dusit Central Park มูลค่าอีกกว่า 36,700 ล้านบาท และพัฒนาโครงการภายใต้บริษัท GLAND

    สำหรับโครงการที่พัฒนาขึ้นมาใหม่มี 3 โครงการด้วยกัน เป็นการเจาะเมืองรองอย่างเต็มรูปแบบ แต่มีการทำการศึกษาแล้วว่าเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพมีการเติบโตสูง อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาโครงการ “มิกซ์ยูส” ทั้งหมด ที่จะประกอบไปด้วยศูนย์การค้า โรงแรม ที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน เป็นความต้องการที่จะสร้างเมืองใหม่โดยเฉพาะ

    CentralPlaza Ayuttaya
    • เซ็นทรัล พลาซา อยุธยา ถือเป็น strategic location เป็นศูนย์กลางของภาคกลางตอนบน และยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมสำคัญที่ต่อขยายจากกรุงเทพฯ CPN ต้องการนำ Kyoto Model มาเป็นต้นแบบเพื่อผลักดันอยุธยาเป็นอีกหนึ่ง Top destination เมืองท่องเที่ยวของโลก ซึ่งปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวกว่า 2 ล้านคนต่อปี คาดว่าโครงการจะเปิดให้บริการไตรมาสที่ 2 ปี 2564
    CentralPlaza Siracha
    • เซ็นทรัล พลาซา ศรีราชา โดยศรีราชาเป็นเมืองอุตสาหกรรม New S-Curve เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และจะเป็น MICE Hub ของ EEC Center โดยเป็นครั้งแรกที่มีศูนย์การค้าแบบ Semi-Outdoor โมเดลเดียวกับเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ นอกพื้นที่กรุงเทพฯ คาดว่าจะเปิดให้บริการในไตรมาสที่ 2 ปี 2564

    • เซ็นทรัล พลาซา จันทบุรี เป็นโครงการแรกของ CPN ในจันทบุรี แต่มีโรบินสันมาปูพรมไว้แล้ว จึงมีข้อมูลของผู้บริโภคพอสมควร มองว่าที่นี่เป็นเมืองแห่งผลไม้เมืองร้อนของโลก และศูนย์กลางการค้าขายพลอยและอัญมณีที่ใหญ่ที่สุดของโลก รวมถึงมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแนวไลฟ์สไตล์อีกด้วย คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2565

    พลิกโฉม 2 ศูนย์ “พระราม 2 – รามอินทรา” รองรับเมืองขยาย

    นอกจากการเปิดโครงการใหม่ CPN เตรียมรีโนเวต หรือ Re-development แบบพลิกโฉมศูนย์การค้าครั้งใหญ่ 2 โครงการด้วยกัน ได้แก่ เซ็นทรัล พระราม 2 และเซ็นทรัล รามอินทรา

    CentralPlaza RM2
    • เซ็นทรัล พลาซา พระราม 2 ต้องการให้เป็น The Largest Regional mall จับโซนกรุงเทพฯ ตอนใต้ โดยจะถูกพลิกโฉมยกเครื่องศูนย์ใหม่ทั้งหมด ทั้งด้านดีไซน์ การเพิ่มร้านค้าใหม่ๆ ปรับปรุงร้านค้าที่มีอยู่เดิม โดยธุรกิจต่างๆ ของ Central Group อาทิ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล, TOPs, B2S ก็พร้อมใจกันปรับโฉม

    มีการ re-create พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ ชื่อว่า สวน Central Plearn Park ที่มีขนาดใหญ่ถึง 37 ไร่ ให้เป็นเหมือน The Oasis of South Bangkok ที่จะเป็นพื้นที่สำหรับครอบครัว ตอบรับไลฟ์สไตล์กลุ่มครอบครัวกำลังซื้อสูง ประกอบไปด้วย Food Garden & Fashion Park, Kids Gym, Multi-sport recreation (ลู่วิ่ง, bike lane, ร้านค้าขายสินค้าแนวสปอร์ต) และเป็น Pet Community ที่มีทั้ง โรงพยาบาลสัตว์ Pet playground, Pet pool และ Pet Shop คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 1 ปี 2565

    • เซ็นทรัล พลาซา รามอินทรา การพลิกโฉมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 26 ปี เพื่อรองรับกลุ่มประชากรที่เติบโตขึ้น จากหมู่บ้านเป็นคอนโด แนวราบเป็นแนวสูง ที่มีความหนาแน่นของประชากรเพิ่มขึ้น รวมถึงพัฒนาตามการเติบโตของ infrastructure ในย่านรามอินทรา ด้วยรถไฟฟ้าสายสีชมพู คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 4 ปี 2564

    โดยที่ในปี 2563 CPN จะไม่มีการเปิดโครงการใหม่ แต่จะทำการปรับปรุง และขยายพื้นที่ศูนย์การค้าอีก 12 สาขาทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ เซ็นทรัลพลาซา พระราม 9, เซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์, เซ็นทรัลพลาซา บางนา, เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ, เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น, เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี, เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่, เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่แอร์พอร์ต, เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช, เซ็นทรัล มารีนา พัทยา, เซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย และเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่

    ค้าปลีกไทยยังไม่วิกฤติ ต้องทำให้เป็นมากกว่าศูนย์การค้า

    วัลยาพูดปิดท้ายถึงสถานการณ์ค้าปลีกในประเทศไทย และวิกฤติค้าปลีกในต่างประเทศ มองว่าที่สหรัฐอเมริกาที่เกิดวิกฤติขึ้นนั้นเพราะไม่มีการปรับตัว ไปแต่ละทีก็เหมือนเดิม แต่ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ทำให้อยู่ไม่ได้

    ส่วนในประเทศไทยยังไม่ถึงขั้นน่าเป็นห่วง เพราะมีการปรับตัวอยู่ตลอด มีการปรับวิธีการนำเสนอ ปรับรูปแบบให้เดินสนุกมากขึ้น ต้องทำให้เป็นจุดเช็คอินให้ได้ ระยะเวลาในการปรับโฉมศูนย์แต่ละครั้งก็เร็วขึ้น จากแต่ก่อน 10 ปีก็มีปรับโฉมบ้าง แต่ตอนนี้ 6 – 7 ปีก็ต้องมีการปรับใหม่บ้างแล้ว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย และต้องมีการใช้ดิจิทัลให้พอดี ต้องผสมผสานให้เหมาะสม

    สำหรับ 5 ศูนย์การค้าของ CPN ที่มีการใช้บริการมากทีี่สุด ได้แก่ เซ็นทรัล เวิลด์, เซ็นทรัล ลาดพร้าว, เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า, เซ็นทรัล บางนา และเซ็นทรัล พระราม 2

    ปัจจุบัน CPN บริหารจัดการศูนย์การค้า 34 แห่ง (อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 15 โครงการ, ต่างจังหวัด 18 โครงการ และในมาเลเซีย 1 โครงการ) ศูนย์อาหาร 30 แห่ง อาคารสำนักงาน 7 อาคาร โรงแรม 2 แห่ง และโครงการคอนโดมิเนียมจำนวน 9 โครงการ ภายใต้แบรนด์ ESCENT, ESCENT VILLE, ESCENT PARK VILLE และ “ฟิล พหล 34” (PHYLL PAHOL 34) และโครงการบ้านเดี่ยว “นิยาม บรมราชชนนี”

    ส่วนผลประกอบการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดว่ารายได้ปี 2019 จำนวน 36,000 ล้านบาท

    ]]>
    1250363
    เมกะโปรเจกต์หนุน! เปิดขุมทรัพย์ “เมืองรอง” กำลังซื้อโตแรง ส่องเทรนด์จับจ่ายไม่แพ้คนกรุง https://positioningmag.com/1238141 Mon, 08 Jul 2019 23:05:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1238141 ถือเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมากับภาวะตลาดโตต่ำ เฉลี่ย 1.4% ปี 2018 บางเดือนสาหัสถึงขั้นติดลบ ดัชนีที่เคยเติบโต 7% เมื่อ 10 ปีก่อนยังไม่มีให้เห็น

    สมวลี ลิมป์รัชตามร กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา บางเดือนดัชนีติดลบ 4 – 6% เรียกว่าต่ำที่สุดตั้งแต่นีลเส็นเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยกว่า 30 ปี ค่าเฉลี่ยช่วง 5 ปีที่ผ่านมาก็ถือว่า “โตบางมาก”

    อย่างไรก็ตาม ปี 2019 นีลเส็นคาดการณ์ว่าสินค้าอุปโภคบริโภคน่าจะกลับมาเติบโตได้ที่ 4% แต่คำถามสำคัญ คือ จะใช้กลยุทธ์ใดผลักดันการขยายตัวให้ได้ตัวเลขนี้ ในมุมของนีลเส็นมองว่าหนึ่งในคำตอบ คือ “เมืองรอง” ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในอนาคต

    จับตา 18 เมืองรอง กำลังซื้อโตแรง

    สำหรับ “เมืองรอง” ตามนิยามของนีลเส็น ประกอบด้วยเมืองที่มีจำนวนประชากร 1 – 5 ล้านคน และ 3 จังหวัดหลัก ที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Products : GPP) รวมคิดเป็น 35% นอกเหนือจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล ดังนั้นเมืองรองจึงประกอบไปด้วย 18 จังหวัดทั่วประเทศ แบ่งออกเป็น 4 ภาค

    • ภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย
    • ภาคกลาง ชลบุรี นครสวรรค์
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น บุรีรัมย์ อุดรธานี ร้อยเอ็ด สกลนคร และชัยภูมิ
    • ภาคใต้ นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี
    • 3 จังหวัด จีดีพี 35% ฉะเชิงเทรา ระยอง อยุธยา

    ปัจจัยที่ทำให้เมืองรองน่าสนใจคือการขยายตัวของความเป็นเมือง (urbanization) อย่างรวดเร็ว ในปี 2025 จะมีประชากรเข้ามาอยู่ในเมืองรองอีก 1.1 ล้านคน เติบโต 62% ขณะที่กรุงเทพฯ ประชากรขยายตัว 18% คนที่อาศัยในเมืองรองมีจำนวน 40% ของประชากร และรายได้ต่อคนสูงกว่าค่าเฉลี่ยรายได้ของประชากรไทย 4.5%

    ปี 2018 พบว่าตลาด FMCG โดยรวมและกรุงเทพฯ เติบโต 2.4% แต่เมืองรองทำได้สูงกว่า คือเติบโต 4.2% โดยพบว่า “ระยอง” เป็นจังหวัดที่มีรายได้ประชากรสูงสุดและสูงกว่ากรุงเทพฯ “เท่าตัว”  

    “นิวเจน-นักท่องเที่ยว” กำลังซื้อหลัก

    สำหรับประชากรที่อาศัยในเมืองรองส่วนใหญ่คือกลุ่ม New Gen อายุ 12 – 39 ปี คาดเติบโตมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากมีสัดส่วนของกลุ่มนี้ 77% ขณะที่กรุงเทพฯ มีสัดส่วน 53% พฤติกรรมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตใกล้เคียงกับกลุ่ม New Gen ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล อยู่ที่ 90% แต่ใช้เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 2 – 3 ชั่วโมงต่อวัน น้อยกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ใช้เวลามากกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน

    นอกจากนี้ “เมืองรอง” ยังมีความสามารถดึงดูดเม็ดเงินของนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างประเทศที่ใช้จ่ายในเมืองรองสัดส่วน 30% ของรายได้นักท่องเที่ยวทั้งหมด ที่น่าสนใจคือนักท่องเที่ยวในเมืองรองของภาคกลางและเหนือใช้จ่ายเกือบ 2 เท่าของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคนั้นๆ

    เมกะโปรเจกต์หนุนเมืองรองโต

    ทิศทางของเมืองรองยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในช่วง 5 – 10 ปีจากนี้ จากการลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์ระยะยาวของรัฐบาล ที่มี 44 โครงการ เช่น โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี), การส่งเสริมเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษใน 10 จังหวัด (Special Economic Zone) การลงทุนด้านคมนาคมขนส่ง มอเตอร์เวย์ โครงการรถไฟรางคู่ โครงการไฮสปีดเทรน เชื่อมภาคเหนือ อีสาน กลางและภาคใต้

    “เมกะโปรเจกต์การลงทุนภาครัฐ ทำให้เกิดการจ้างงานจำนวนมาก มีการย้ายถิ่นของประชากรเข้ามาทำงานในเมืองรอง ทำให้เมืองขยายตัวและรายได้ต่อประชากรเพิ่มขึ้น”

    นอกจากนี้ยังมีการขยายสนามบินภูมิภาค เพื่อรองรับการเติบโตในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการเติบโตด้านเศรษฐกิจของจังหวัดเมืองรองต่างๆ

    โอกาสโตตลาด FMCG

    การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร การเข้ามาทำงานของประชากรแฝงและนักท่องเที่ยวในเมืองรองที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น และมีพฤติกรรมแตกต่างกัน ดังนั้นกลยุทธ์ทางการตลาดของกลุ่ม FMCG ที่ต้องการเติบโตเจาะกำลังซื้อเมืองรอง จะต้องทำราคาและขายสินค้าพรีเมียม การออกสินค้าใหม่ การจัดแบ่งประเภทสินค้า หรือการออกแบบขนาดของสินค้า ที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมแตกต่างกัน

    โดยพบว่าภาคกลาง นิยมสินค้านวัตกรรมใหม่, ภาคเหนือ ชอบสินค้าที่มีวาไรตี้ของเอสเคยู, ภาคอีสาน นิยมสินค้าแพ็กเกจจิ้งขนาดเล็ก และภาคใต้ ชอบสินค้าพรีเมียม กลุ่มสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวได้แบบรายภาคสามารถเติบโตได้ระดับ 20%

    “การเติบโตของเมืองรอง ถือเป็นโอกาสให้สินค้าอุปโภคบริโภคเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อมากขึ้น แต่ต้องปรับมุมมองและทำความเข้าใจผู้บริโภคเมืองรองแต่ละภาคที่มีไลฟ์สไตล์และความต้องการแตกต่างกัน กลยุทธ์การทำตลาดแมสที่ใช้เหมือนกันทั่วประเทศ ไม่สามารถใช้ทำตลาดได้อีกต่อไป หากต้องการสร้างโอกาสโตในเมืองรอง”

    ข่าวเกี่ยวเนื่อง

    ]]>
    1238141
    ไม่มีแล้วเส้นแบ่ง Urban-Rural เจาะพฤติกรรม “คนเมืองรอง” เปลี่ยนไปทุกด้าน ไลฟ์สไตล์-เสพคอนเทนต์ https://positioningmag.com/1233343 Thu, 06 Jun 2019 08:47:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1233343 การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรไทยสัดส่วนกว่า 82% ใช้งานโซเชียลมีเดียระดับ 50 ล้านคน พฤติกรรมคนต่างจังหวัดวันนี้เปลี่ยนไปจากเดิม เมื่อประเทศไทยไม่ได้เท่ากับกรุงเทพฯและเส้นแบ่ง Urban และ Rural ไม่มีอีกต่อไป วันนี้แบรนด์และนักการตลาดจึงต้องทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับวิถีชีวิตเมืองรองที่ไม่เหมือนเดิม

    “มายด์แชร์ เอเยนซี” เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสาร เผยผลวิจัยเชิงลึก Hunt 2019” เกี่ยวกับการใช้ชีวิต พฤติกรรมและแรงจูงใจในการเสพสื่อและการซื้อของอุปโภคและบริโภคในหัว “เมืองรอง” โดยทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้บริโภค 4 กลุ่ม คือ วัยรุ่น อายุ 15-21 ปี, คนทำงานโสดอายุ 22-40 ปี, กลุ่มครอบครัวอายุ 22-40 ปี และกลุ่มซิลเวอร์ อายุ 50 ปีขึ้นไป ครอบคลุมทุกภาค โดยเลือกจังหวัดตัวแทนการทำวิจัย คือ ลำปาง สกลนคร นครสวรรค์ และนครศรีธรรมราช

    ณัฐา ปิยะวิโรจน์เสถียร ผู้อำนวยการวางแผนและพัฒนาธุรกิจ มายด์แชร์ กล่าวว่า การทำวิจัย Hunt 2019 เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค “เมืองรอง” ในยุคปัจจุบัน จากการเข้าถึง “อินเทอร์เน็ต” ที่มีความสะดวกและทั่วถึง ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกับคนเมืองใหญ่อย่างไร

    ก็ต้องบอกว่าสิ่งสำคัญที่พบคือ ปัจจุบันอำนาจการตัดสินใจอยู่ในมือผู้บริโภคอย่างแท้จริง พวกเขาต่างมองหาโอกาสที่จะสร้างตัวตนของตัวเองผ่านโลกออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภคไม่สามารถใช้เพียงข้อมูลทางประชากรศาสตร์อย่างอายุ เพศ หรือถิ่นที่อยู่เพียงอย่างดียวในการกำหนดช่องทางการสื่อสาร สิ่งสำคัญคือวันนี้ เส้นแบ่งความเป็น Urban และ Rural เริ่มเบลอและไม่ชัดเจนอีกต่อไป เป็นสิ่งที่แบรนด์และนักการตลาดต้องให้ความสำคัญและเข้าใจพฤติกรรมเหล่านี้ โดยข้อมูลที่ได้จากการวิจัย HUNT 2019 มี 7 ประเด็นสำคัญ คือ

    1.ผู้บริโภคในเมืองรองมีความพอใจในถิ่นฐานและมีความสุขกับชีวิตของตนเอง

    มุมมองเดิม เชื่อว่าคนต่างจังหวัด น่าจะชื่นชอบการใช้ชีวิตตามไลฟ์สไตล์คนเมือง แต่พบว่าคนเมืองรองกลับมีความภูมิใจในความเป็นท้องถิ่น (Local Proud) ด้านขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่เห็นได้ในทุกจังหวัดและมีความแตกต่างกัน

    อีกทั้งรู้สึกถึงความเป็น “เจ้าของ” ของความแตกต่างนั้น เช่น ชาวนครสวรรค์ ภูมิใจการจัดงานตรุษจีนของจังหวัด เป็นความแตกต่างที่ไม่เหมือนจังหวัดอื่นๆ และต้องการรักษาความแตกต่างนี้ไว้

    2.มีอิสระในการเลือก

    สะท้อนจากการเลือกประกอบอาชีพ การเลือกคอนเทนต์ และสื่อตามเนื้อหาและเวลาที่ต้องการ เพราะวันนี้ เมืองใหญ่ไม่ใช่ “ทุกอย่าง” ความสุขจากการใช้ชีวิตใน “เมืองรอง” ก็หาได้ง่ายเช่นกัน

    สิ่งที่เข้ามาตอบโจทย์การใช้ชีวิตเมืองรอง ที่ทำให้ไม่แตกต่างจากการอยู่ในกรุงเทพฯ คือ “อีคอมเมิร์ซ” เพราะสามารถซื้อสินค้าทุกอย่างได้แบบคนเมือง “ในต่างจังหวัดหลายคนจะเรียกคนส่งสินค้าว่า Kerry ยังอีกบอกว่ารู้จักและสนิทกันดี เพราะเจอกันตลอด”

    ในมุมของการเลือก อาชีพ” เดิมในต่างจังหวัด พ่อแม่คาดหวังให้ลูกเป็น “ข้าราชการ” เพื่อให้ครอบครัวได้สิทธิประโยชน์ต่างๆ และความมั่นคงในการใช้ชีวิต แต่ Key Word อาชีพของคนในปัจจุบันรวมทั้งเมืองรอง คือ อยากเป็น “นายตัวเอง” ต้องการเลือกในสิ่งที่อยากทำ และข้าราชการก็ไม่ใช่อาชีพในฝันอีกต่อไป พ่อแม่เองก็ไม่บังคับให้ต้องเป็นข้าราชการ เพราะเห็นแล้วว่ามีโอกาสจากอาชีพอื่นๆ เช่น การเป็นนักร้อง จากการเข้าประกวดร้องเพลงในเวทีต่างๆ ทางทีวี ก็มีโอกาสสร้างรายได้เช่นกัน

    การเลือกเสพ คอนเทนต์” จากการมีช่องทางเข้าถึงคอนเทนต์ที่หลากหลายจาก “สกรีน” ต่างๆ เลือกดูตามความชอบ สนใจ และสะดวก ดังนั้นเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นคือ Hyper Personalization ในผู้บริโภคทุกวัย โดยกลุ่มสูงอายุบอกว่า “อินเทอร์เน็ต” ทำให้สามารถดูคอนเทนต์แบบไหน เมื่อไหร่ก็ได้ และด้านการบริโภคสินค้าและบริการ จะมีความแตกต่างและมีตัวตนที่ชัดเจนของผู้บริโภคแต่ละกลุ่มมากขึ้น

    3.มีความผูกพันในท้องถิ่น ให้ความสำคัญมารยาททางสังคมออนไลน์

    รูปแบบการใช้ชีวิตในเมืองรอง เป็น “ชุมชน” ที่เข้มแข็ง มีความไว้ใจและอยู่อาศัยกับเพื่อนบ้านแบบเกื้อกูลกัน แม้การอาศัยเป็นครอบครัวใหญ่อาจแยกกันอยู่เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น แต่ก็ยังอาศัยอยู่ในละแวกเดียวกัน

    เมื่อ “อินเทอร์เน็ต” เข้าสู่ชุมชน ทำให้ความเชื่อมโยงของชุมชน ไม่ได้มีเพียงแค่ “ออฟไลน์” แต่มีแพลตฟอร์ม “ออนไลน์” เข้ามาเพิ่ม ทำให้ความเป็นชุมชนใกล้ชิดกันมากขึ้น นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับ มารยาททางสังคมออนไลน์ (Digital Socialization) ที่มีมากขึ้น เช่น การส่งสติกเกอร์ สวัสดีตอนเช้า เป็นการสื่อความหมายของการคิดถึง ความหวังดีและห่วงใย รวมทั้งยังเป็นการแสดงออกถึงมารยาทในการใช้สื่อโซเชียล

    หากมีคนมากดไลค์เฟซบุ๊ก ให้ก็ต้องกดไลค์ตอบ หรือคนที่แอดเฟรนด์มาก็ต้องกดรับ แม้ไม่รู้จัก ทั้งคนไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะคนสูงวัยที่เริ่มต้นใช้เฟซบุ๊ก ช้ากว่าคนอื่นๆ เมื่อมีคนขอเป็นเพื่อนจะกดรับทั้งหมด เพื่อให้จำนวนเพื่อนตามทันคนอื่นๆ

     “คนต่างจังหวัดรู้สึกว่า เมื่อมีคนให้ความสนใจผ่านสื่อโซเชียล ก็ต้องสนใจกลับ ถือเป็นมารยาทของการใช้สื่อออนไลน์” 

    4.การเสพสื่อผู้บริโภคเมืองรองเปลี่ยนไป

    วันนี้ “อายุ” ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการเลือกรับสื่อ แต่มาจาก “พฤติกรรมและความสนใจ” เป็นตัวกำหนดการเสพคอนเทนต์ปัจจุบัน “อินเทอร์เน็ต” เพราะประชากรไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 82% มีการใช้งานในทุกวัย

    ก่อนลงพื้นที่ทำวิจัยข้อมูลเดิมที่มักเข้าใจ คือ คนรุ่นใหม่ไม่ดูทีวี คนสูงวัยไม่เล่นอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นสิ่งที่คาดเดาจากพฤติกรรมเดิมๆ แต่สิ่งที่พบคือ วัยรุ่นยังดูทีวี” จากผลสำรวจบางคนบอกว่า ในวันที่พวกเขาสามารถครอบครองเป็นเจ้าของทีวีในบ้านได้ โดยไม่ต้องแย่งชิงกับคนในครอบครัว หากเป็นคอนเทนต์ที่พวกเขาอยากดู อย่างซีรีส์  “เป็นต่อ” ผู้ชมกลุ่มวัยรุ่นบอกว่าจะดูบน “จอทีวี” เท่านั้น เพราะได้อรรถรสการรับชมมากกว่า

    หรือวัยซิลเวอร์ อายุ 50 ปี ที่ใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่อกับ สมาร์ททีวี เพื่อดูคอนเทนต์จากทั้งทีวีและออนไลน์ คนกลุ่มนี้บอกว่ารู้จัก อินฟลูเอนเซอร์ดัง VATANIKA เล่น TikTok Twitter เพราะเป็นคอนเทนต์ที่ทันสมัย พบว่ากลุ่มสูงวัยมีความพยายามเรียนรู้การใช้อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียสูงกว่าวัยอื่นๆ

    “พฤติกรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เราเซอร์ไพรส์ และยืนยันได้ว่าอายุ ไม่ได้บ่งบอกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของแต่ละคน”

    ปีนี้ชัดเจนมากขึ้นว่า Content Over Screen เพราะเมื่อมีคอนเทนต์ที่น่าสนใจ ผู้บริโภคพร้อมที่จะ “ค้นหา” คอนเทนต์นั้นๆ แต่ที่สำคัญต้องทำให้ผู้บริโภครู้จักคอนเทนต์ก่อน โดยต้องโปรโมตผ่านทุกช่องทาง เช่นกันปีนี้คอนเทนต์ก็ยังมีความสำคัญ (Content is King) กับผู้บริโภคสูงสุด ดังนั้นคอนเทนต์จึงไม่ได้อยู่แค่ “สกรีน” แต่ไปได้ในทุก “ดีไวซ์” และ “ฟอร์แมต” เพื่อเข้าถึงผู้บริโภค

    อินฟลูเอนเซอร์” เป็นบุคคลที่คนเมืองรองติดตามเช่นกัน แต่การสื่อสารต้องเป็นคอนเทนต์ที่ “ย่อยง่าย เข้าใจง่าย ตลก บันเทิงและจริงใจ เช่น เพจตามใจตุ๊ด เทยเที่ยวไทย เป็นคอนเทนต์ที่ใช้ภาษาเข้าใจง่าย ไม่ประดิษฐ์คำพูดมาก เข้าใจง่าย Real และเป็นเรื่องความสนใจใกล้ตัว”

    ฟอร์แมต” มีความสำคัญมากกับการเสพคอนเทนต์ในยุคนี้ แม้ฟอร์แมตที่เป็นรูปเล่มของสื่อสิ่งพิมพ์จะถดถอย แต่ Essence ของสื่อนั้นๆ เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยังคงอยู่ วันนี้คนยังต้องการอ่านข่าว แต่กลุ่มที่เสพข่าวจากรูปเล่มลดลง และเปลี่ยนฟอร์แมตไปสื่อออนไลน์ที่สะดวกแทน และกลุ่มที่ยังบริโภคสื่อแบบรูปเล่มก็ยังมีอยู่

    วันนี้คงพูดไม่ได้ว่าจะมีสื่อใดล้มหายตายจากไป ทีวี หนังสือพิมพ์ แมกกาซีน ก็ยังอยู่ต่อไป แต่ฟอร์แมตอาจมีการเปลี่ยนแปลง จากการเข้ามาของอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้บริโภคไม่อดทนรอคอนเทนต์ที่ต้องใช้เวลาเป็นวันเป็นเดือนกว่าจะได้เสพ  สิ่งที่ยังอยู่เสมอคือเนื้อหาสาระของสื่อเป็นสิ่งที่สำคัญ”

    แม้วันนี้ “เฟซบุ๊ก” ครองตำแหน่งสื่อโซเชียลอันดับ 1 ในประเทศไทย แต่ “เฟซบุ๊กไม่ใช่ทุกอย่าง” เพราะผู้บริโภคมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น สามารถใช้งานสื่อโซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์มได้อย่างดี เช่น เฟซบุ๊ก ไว้เสพข่าว, ไอจี โพสต์ภาพความเป็นตัวตนของตัวเอง, ทวิตเตอร์ โพสต์ข้อความที่ไม่ระบุความเป็นตัวตน, ยูทูบ ต้องการดูวิดีโอคอนเทนต์

    เสิร์ช” มีความสำคัญมาก ในการทำตลาดสื่อสารกับผู้บริโภคเมืองรอง แต่เสิร์ช ก็ไม่เท่ากับ “กูเกิล” เพราะหากต้องการค้นหาวิธีทำอาหารหรือการใช้งานสิ่งต่างๆ  วันนี้คนเมืองรองใช้ “ยูทูบ” เสิร์ชมากขึ้น บางกลุ่มดูคอนเทนต์ที่กำลังอยู่ในกระแสสนใจจาก Trend ทวิตเตอร์ หรือแฮชแท็ก จากอินสตาแกรม

    Live Content เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคเมืองรองให้ความสนใจรับชมเช่นกัน เช่น ไลฟ์ของคนทั่วไป ไลฟ์ของคนดัง คนขายของ ส่วนใหญ่มาจากช่องทาง “เฟซบุ๊ก”  สาเหตุที่ดูเพราะสนใจซื้อสินค้าและบอกว่าดูเพราะสนุก เหมือนดูคอนเทนต์บันเทิงทั่วไป

    พบอินไซต์ของกลุ่มที่ซื้อสินค้าจากเฟซบุ๊ก Live ว่า ระหว่างที่ Live ขายของจะมีคำถามจากผู้สนใจอื่นๆ เข้ามา และก็ได้รับคำตอบจากผู้ขาย ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจที่จะซื้อสินค้ามากขึ้น เป็นรูปแบบที่เรียกว่า Conversational Commerce เพราะการได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ขายทำให้ผู้บริโภคอุ่นใจมากขึ้นที่จะซื้อ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า Facebook Live เป็น “อีคอมเมิร์ซ” ที่แข็งแกร่งมากในไทยทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัด

    5.อินเทอร์เน็ตคือผู้สร้าง

    สื่ออินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นเครื่องมือค้นหาตัวตน ที่ทำให้รู้ว่าสนใจอะไร หลังจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นเทรนเนอร์ที่ทำให้ “เก่งขึ้น” ให้ความรู้ใหม่ เช่น เรียนดนตรี กีฬา ทำอาหาร เรียนภาษาอังกฤษ ผ่านยูทูบ ช่วยให้การทำงานที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกลุ่มสูงวัย ที่ใช้ไลน์ ในการส่งรายงานการทำงานต่างๆ ช่วยสร้างรายได้ เช่นการเล่นหุ้น การลงทุนต่างๆ ที่น่าสนใจ ขายสินค้าออนไลน์ และสร้างตัวตนที่ต้องการเป็นผ่านโซเชียลมีเดีย เป็นเวทีที่นำเสนอตัวเอง โดยเฉพาะอินสตาแกรม

    6.อีคอมเมิร์ซสำคัญแต่ผู้บริโภคยังต้องการการปฏิสัมพันธ์กับคน

    ดังนั้นพฤติกรรมของกลุ่มนี้จะมองหา Trust Point (ประสบการณ์ที่น่าเชื่อถือ) ไม่ใช่ Touch Point คือทั้งสินค้าและช่องทางอีคอมเมิร์ซต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะการโอนเงินผ่านอีคอมเมิร์ซ จะต้องไม่หลอกลวง หรือสร้างความผิดหวังให้กับผู้บริโภค

    แม้อีคอมเมิร์ซเติบโต แต่การจ่ายเงินยังเป็นรูปแบบการจ่ายเงินปลายทาง (Cash on delivery) แต่เป็นกลุ่มที่เรียนรู้ “โมบาย แบงกิ้ง” หรือโมบาย เพย์เมนต์ หากเริ่มต้นใช้บริการกับธนาคารใดจะมีความภักดี (Loyalty) สูงมากและไม่เปลี่ยนใจไปใช้ของแบรนด์อื่นๆ

    การจับจ่ายสินค้า FMCG ที่หน้าชั้นวางยังเป็นสิ่งสำคัญอยู่ เพราะผู้บริโภคต้องการมีโมเม้นต์ของการหยิบจับ สัมผัสสินค้า รวมทั้งการพูดคุยกับพนักงานเพื่อให้แนะนำสินค้าและโปรโมชั่น ยังเป็นช่องทางที่คนต่างจังหวัดชอบ

    7.ความคุ้มค่ายังคงเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคมองหา

    ชาวเมืองรองมีความเป็นนักเศรษฐศาสตร์ในตัว มีการวางแผนการใช้ชีวิตทุกด้าน ทั้งการใช้ดาต้าอินเทอร์เน็ต และพื้นที่จัดเก็บในมือถือ ที่ต้องใช้งานอย่างคุ้มค่า

    การเห็นโฆษณาแบรนด์ต่างๆ แม้ตั้งใจไปซื้อสินค้าที่ชั้นวาง บางครั้งลืม หรือเห็นแบรนด์อื่นให้ข้อเสนอโปรโมชั่นที่คุ้มค่าเงิน ก็เปลี่ยนใจเช่นกัน ดังนั้นการสื่อสารเพื่อย้ำเตือนแบรนด์ที่ชั้นวางยังมีความจำเป็น หรือการ remind ตลอดเส้นทางการตัดสินใจซื้อ และข้อเสนอโปรโมชั่นก็ต้องทำ เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมซื้อสินค้าที่คุ้มราคา

    สื่อสารอย่างไรถูกใจคนเมืองรอง

    จากการวิจัยจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเมืองรอง เปลี่ยนแปลงไปทุกด้าน แบรนด์และนักการตลาดต้องปรับการสื่อสาร หากต้องการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มนี้ โดยมี 5 กลยุทธ์ ดังนี้

    ณัฐา ปิยะวิโรจน์เสถียร ผู้อำนวยการวางแผนและพัฒนาธุรกิจ มายด์แชร์
    1. แบรนด์ควรให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์และการเข้าถึงทั้งบนโลกออนไลน์และออฟไลน์ ตามความสนใจของผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ
    2. นักการตลาดควรวางกลุ่มเป้าหมายทำการสื่อสารจากพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันไม่สามารถวัดจาก “อายุ” ได้อีกต่อไป อีกทั้งไม่มีคำว่า urban หรือ rural ทุกอย่างเหมือนกัน จากอินเทอร์เน็ตเข้ามาปิดช่องว่างทั้งวัยและพื้นที่อยู่อาศัย
    3. นักการตลาดควรให้ความสนใจเรื่องของปัจเจก (individual) และเข้าถึงกลุ่มคนเหล่านี้ด้วยข้อมูล data footprint ไม่ใช่ข้อมูลประชากรศาสตร์เดิมๆ
    4. แบรนด์ควรเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคเมืองรอง มีอิสระในการเลือกตามความต้องการของแต่ละคน
    5. ปีนี้ชัดเจนว่า Content is king การทำแคมเปญการสื่อสาร แบรนด์ต้องมั่นใจว่าเป็นคอนเทนต์ที่น่าสนใจ และการสื่อสารครอบคลุมทั้งในส่วนของออนไลน์และออฟไลน์
    ]]>
    1233343