ภาวะเศรษฐกิจไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 27 Dec 2024 14:34:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จับตา 3 สัญญาณชี้วัดเศรษฐกิจไทยปี 68 จะ ‘รุ่ง’ หรือ ‘ร่วง’ https://positioningmag.com/1505237 Fri, 27 Dec 2024 12:51:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1505237 ที่ผ่านมาได้มีสำนักพยากรณ์เศรษฐกิจหลายสำนักได้ออกมาประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ว่า จะเดินไปในทิศทางใด อย่าง SCB EIC คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะโต 2.4% จากเดิมประเมินไว้จะเติบโตที่ 2.8% ส่วนศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินจะเติบโต 2.4% ช้ากว่าปี 2567 ที่โต 2.6%

 

ขณะที่ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ‘ธนวรรธน์ พลวิชัย’ ในฐานะประธานที่ปรึกษาศูนย์ดังกล่าว และอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดการณ์ไว้ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2568 จะมีสัญญานการฟื้นตัวที่ดีขึ้นอยู่ที่ 2.8-3% เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านอยู่ในกรอบ 2.6-2.8% ซึ่งการฟื้นตัวดังกล่าวจะอยู่ในช่วงไตรมาส 1 และ 2 ภายใต้ 3 สัญญาณชี้วัดที่ต้องจับตา

 

ปัจจัยแรก ‘Trade War’ จะรุนแรงหรือไม่ และส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศไทยมากน้อยเพียงใด

 

ปัจจัยที่ 2 ‘ภาวะสงครามจริง จะยุติหรือไม่’ นั่นคือ สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน รวมถึงสงครามในตะวันออกกลาง ที่จะส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อภาวะราคาน้ำมันโลก และภาวะความผันผวนของเศรษฐกิจ โดยต้องจับตามองในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2568 หลังจาก ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ ได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ

 

ปัจจัยที่ 3 ‘มาตรการภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยจะมีผลเพียงใด’ โดยช่วงปลายปีที่ผ่านมารัฐบาลได้เริ่มอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว เช่น โครงการ Easy e-receipt ตั้งแต่เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2568 คาดจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจประมาณ 30,000-50,000 ล้านบาท

 

รวมถึงมีแคมเปญ ‘คุณสู้เราช่วย’ และแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 ให้กับผู้สูงอายุ ฯลฯ รวมแล้วจะมีเม็ดเงินที่ภาครัฐอัดฉีดเข้ามาเกือบ 100,000 ล้านบาท โดยจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ต่อเนื่องมาไตรมาส 2 ของปี 2568 และส่งผลให้ทิศทางเศรษฐกิจไทยจะมีการฟื้นตัวแบบกระจายตัวไปทั่วประเทศ

 

แต่จุดเปลี่ยนที่ต้องตาม คือ หลายฝ่ายมีการวิเคราะห์ถึงความห่วงใยเกี่ยวกับ ‘เสถียรภาพทางการเมืองไทย’ ที่เห็นภาพของความสับสนทางการเมืองเกิดขึ้นแล้ว และต้องตามอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ไตรมาส 1 ไปจนถึงพฤษภาคม 2568 ที่จะชี้ว่า ‘การเมืองนิ่งแค่ไหน’ และเป็นจุดสำคัญที่ทำให้เห็นภาพของเศรษฐกิจไทยจะนิ่งได้แค่ไหน

 

หากสถานการณ์ทางการเมือง ‘ไม่นิ่ง’ และเกิดปัญหาบานปลายจนต้องยุบสภาในไตรมาส จะส่งผลต่อการพิจารณางบประมาณปี 2569 ที่จะต้องล่าช้า เกิดเป็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยการพิจารณางบประมาณปี 68 ซึ่งจะกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจไทยอย่างแน่นอน

]]>
1505237
แผนปรับพอร์ต “พฤกษา” หันไปจับตลาด “กลางบน” มากขึ้นจะเริ่มเห็นผลชัดในปี 2566 https://positioningmag.com/1433058 Sat, 03 Jun 2023 06:36:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433058 3 ปีที่ผ่านมา “พฤกษา” มีนโยบายสำคัญคือการ “ปรับพอร์ต” ลดโครงการระดับกลางล่างออกจากพอร์ตขาย และหันมาจับตลาดระดับกลางถึงบนทดแทน นโยบายดังกล่าวจะเริ่มเห็นผลได้ชัดขึ้นในปี 2566 และทำให้อัตรากำไรสุทธิของบริษัทดีขึ้นตาม

ในอดีต “พฤกษา” เติบโตมาจากการเป็น “เจ้าแห่งทาวน์เฮาส์” ยึดครองตลาดทาวน์เฮาส์ระดับราคาต่ำกว่า 2 ล้านบาทไว้ทุกมุมเมือง ทำให้พอร์ตใหญ่ของพฤกษาคือการขายบ้านให้คนระดับกลางล่างซึ่งเป็นฐานพีระมิดของเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวและความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น ราคาบ้านที่ถีบตัวสูงขึ้นเพราะราคาที่ดิน ทำให้พฤกษาเองก็ต้องปรับนโยบาย

โดยเมื่อ 3 ปีก่อนบริษัทเริ่มแผน “ปรับพอร์ต” โครงการใหม่จะหันมาจับตลาดกลางถึงบนราคามากกว่า 3 ล้านบาทมากขึ้น และจะลดจำนวนการเปิดโครงการต่อปีลง ไม่กระหน่ำเปิดจำนวนมากๆ อย่างเช่นเคย ขณะเดียวกันก็จะเร่งขายโครงการเดิมที่มีออกไปซึ่งส่วนใหญ่ที่ติดมืออยู่จะเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท

“ปิยะ ประยงค์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เล่าถึงปัญหาความเปลี่ยนแปลงในตลาดว่า เกิดจากเศรษฐกิจเปลี่ยนมาขับเคลื่อนด้วยกำลังซื้อของคนชั้นกลางถึงระดับบนเป็นหลัก ขณะที่คนระดับกลางล่างมีกำลังซื้อน้อยลง แม้แต่กลุ่ม SMEs ก็ลำบากในช่วงเศรษฐกิจที่ผ่านมา

“เราขายบ้านเราจะรู้เลยว่าช่องว่างมันถ่างออกไปเรื่อยๆ เศรษฐกิจโดยรวมดูเหมือนโอเคนะ แต่ถ้าเจาะไปตามระดับเซ็กเมนต์ของเรา กลุ่มทาวน์เฮาส์ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือกลุ่มพลัม คอนโดซึ่งทำราคา 1 ล้านต้นๆ ค่อนข้างจะลำบากในการขาย” ปิยะกล่าว

เราขายบ้านเราจะรู้เลยว่าช่องว่างมันถ่างออกไปเรื่อยๆ เศรษฐกิจโดยรวมดูเหมือนโอเคนะ แต่ถ้าเจาะไปตามระดับเซ็กเมนต์ของเรา กลุ่มทาวน์เฮาส์ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือกลุ่มพลัม คอนโดซึ่งทำราคา 1 ล้านต้นๆ ค่อนข้างจะลำบากในการขาย

ความยากลำบากที่ว่านี้คือ พฤกษาพบว่ากลุ่มผู้ซื้ออสังหาฯ ในราคาต่ำกว่า 2 ล้านบาทประมาณ 50% จะไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ เพราะโปรไฟล์กู้สินเชื่อบ้านไม่ผ่าน ทำให้แม้จะมีคนจองซื้อมาก หรือมีคนสนใจในโครงการมาก แต่สุดท้ายผู้ที่ซื้อได้จริงมีแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น

บ้านพฤกษา มหิดล-ศาลายา ราคาเริ่ม 1.59 ล้านบาท

เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ภาคอสังหาฯ แก้ไขได้ยาก มีทางเดียวที่จะช่วยได้คือรัฐบาลต้องช่วยเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน ซึ่งวันนี้ดูเหมือนยังมองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

ในมุมของบริษัทพฤกษาจึงต้องปรับตัวเองไปก่อน หลังปรับพอร์ตมาเป็นเวลา 3 ปี ปิยะระบุว่า ขณะนี้บริษัทสามารถลดโครงการระหว่างขายจากเดิมมีกว่า 300 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 1 แสนล้านบาท ลงมาเหลือ 150 โครงการ มูลค่ารวม 4 หมื่นล้านบาท และสัดส่วนของโครงการเซ็กเมนต์กลางล่างได้ลดจาก 70% ลงมาเหลือ 50%

สำหรับปี 2566 ก็ยังทำตามแผนการปรับพอร์ต คือมีการเปิดตัวโครงการใหม่ 23 โครงการ มูลค่ารวม 23,500 ล้านบาท แบ่งเป็นทาวน์เฮาส์ 11 โครงการ บ้านเดี่ยว 8 โครงการ และคอนโดมิเนียม 4 โครงการ

บางส่วนของโครงการที่เปิดปีนี้ยังมีกลุ่มราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทอยู่ เช่น ทาวน์เฮาส์ประมาณ 60% จะอยู่ในช่วงราคา 2-3 ล้านบาท หรือคอนโดฯ โครงการหนึ่งคือ พลัม คอนโด นิว เวสต์ บางใหญ่ เปิดราคาเริ่มต้นที่ 1.59 ล้านบาท เนื่องจากที่ดินบางส่วนที่ติดมือมาแต่เดิมยังจำเป็นต้องพัฒนาเป็นโครงการในระดับกลางล่างตามแผน ทำให้ไม่สามารถปรับพอร์ตได้รวดเร็วอย่างใจ

พลัม คอนโด นิว เวสต์ บางใหญ่ คอนโดมิเนียมระดับกลางล่างของพฤกษาที่ยังคงมีเปิดใหม่ในปี 2566

อย่างไรก็ตาม ปิยะกล่าวว่า หากที่ดินผืนไหนสามารถปรับเปลี่ยนแบบเพื่อเจาะตลาดที่เหมาะสมกว่าได้ พฤกษาก็จะเปลี่ยน เช่น แปลง ถ.สีลม, แปลงซอยสุขุมวิท 18 เดิมมองว่าจะพัฒนาเป็นคอนโดฯ ราคาประมาณ 200,000 บาทต่อตร.ม. แต่กระแสคอนโดฯ เซ็กเมนต์นี้ปัจจุบันเริ่มลดความนิยม ทำให้เปลี่ยนมาพัฒนาแบบใหม่เป็นโครงการแนวราบราคาหลังละ 30-40 ล้านบาทแทน

“ปี 2566 นี้เราจะเห็นเลยว่าการเคลียร์พอร์ตเริ่มได้ผลแล้ว” ปิยะกล่าว โดยอัตรากำไรสุทธิน่าจะดีขึ้น แต่บริษัทจะยังคงนโยบายนี้ไว้เพราะเป้าหมายในอุดมคติจริงๆ คือต้องการอัตรากำไรสุทธิที่ 17%

นอกจากนี้ ปิยะยังแย้มถึงนโยบายใหม่ของพฤกษา เรียลเอสเตท ที่ต้องการจะหารายได้ประจำ (recurring income) เข้ามาถ่วงสมดุลราว 10% ของพอร์ต (เฉพาะส่วนที่พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขายขาด ไม่รวมพอร์ตของพฤกษา โฮลดิ้ง)

โดยบริษัทกำลังศึกษาโครงการพัฒนาหอพักหรืออพาร์ตเมนต์ใกล้มหาวิทยาลัย เนื่องจากเห็นผลตอบแทนที่ดีที่กลุ่มนักลงทุนแคมปัส คอนโดได้รับ จึงสนใจที่จะลงทุนด้วยตนเอง เบื้องต้นคาดว่าหากมีการลงทุนจะต้องเป็นโครงการขนาดใหญ่ 1,000 ยูนิตขึ้นไป

ปิยะยังประเมินตลาดอสังหาฯ โดยรวมในปี 2566 เชื่อว่าน่าจะเติบโตได้ 5-7% หากจีดีพีของประเทศโต 3.7% ได้ตามเป้าหมาย แต่ถือว่ายังเป็นปีที่ค่อนข้างท้าทายต่อพฤกษา เพราะกำลังซื้อตลาดกลางล่างที่ถดถอยลงดังกล่าว

]]>
1433058
หากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อ ‘เงินเฟ้อไทย’ ปีนี้อาจพุ่งเกิน 4% สูงสุดในรอบ 14 ปี https://positioningmag.com/1376919 Wed, 09 Mar 2022 12:19:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376919 หากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อ ไทยกระทบหลายด้าน ประเมินเงินเฟ้อปีนี้เกิน 4% สูงสุดในรอบ 14 ปี ของเเพง-ราคาน้ำมันพุ่ง การบริโภคชะลอตัว กดดันเศรษฐกิจไทยที่เข้าสู่ภาวะ Stagflation อย่างชัดเจน

จากรายงาน “ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจ” ของ KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่กำลังกลายเป็นความเสี่ยงใหญ่ของเศรษฐกิจโลกและไทย โดยยังมีความไม่แน่นอนสูงมากและผลลัพธ์ของสงครามในครั้งนี้มีความเป็นไปได้ 3 ทาง ได้เเก่

1) รัสเซียบุกเข้ายึดกรุงเคียฟและโค่นล้มรัฐบาลยูเครนสำเร็จจนบังคับให้ประเทศตะวันตกตัดการซื้อพลังงานจากรัสเซีย

2) การเจรจาหยุดยิงระหว่างยูเครนและรัสเซียประสบความสำเร็จ และไม่มีการยกระดับมาตรการคว่ำบาตร

3) สงครามยืดเยื้อเป็นเวลานานและแผ่ในวงกว้าง

‘คว่ำบาตร’ เพียงพอหรือไม่ ? 

หลายประเทศในตะวันตก ตอบโต้การบุกของรัสเซียด้วยมาตรการคว่ำบาตร โดยมาตรการในเบื้องต้นมุ่งเน้นไปที่การอายัดทรัพย์สินของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลรัสเซีย อายัดทรัพย์สินของธนาคารบางแห่ง ตัดสิทธิการซื้อขายตราสารหนี้ของธนาคารดังกล่าวในตลาดการเงินสหรัฐและยุโรป ตัดธนาคารบางแห่งออกจากระบบ SWIFT และตัดธนาคารกลางของรัสเซียไม่ให้ทำธุรกรรมสกุลเงินดอลลาร์ มาตรการคว่ำบาตรทำให้ค่าเงิน RUB อ่อนค่าอย่างรุนแรงและจะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยและอาจเจอความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อและการผิดนัดชำระหนี้

“เศรษฐกิจประเทศตะวันตกพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียมาก หากประเทศตะวันตกยังไม่กล้าหยุดซื้อพลังงานซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของรัสเซีย จากความกังวลว่าเศรษฐกิจของประเทศจะถูกกระทบรุนแรง มาตรการต่าง ๆ ในปัจจุบันจะยังไม่เพียงพอที่จะหยุดการรุกรานจากรัสเซีย” 

การใช้มาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติมของประเทศตะวันตกในระยะถัดไป จะต้องพิจารณาถึง

  • ความเสี่ยงที่จะยิ่งทำให้ความขัดแย้งแผ่ในวงกว้างและความรุนแรงของการรุกราน
  • ผลกระทบย้อนกลับต่อเศรษฐกิจของตนเอง
Oil pump cold winter and snow. Back light, white cloudy and blue sky background, sunlight

จับตาเเนวโน้มราคาพลังงานพุ่ง 

KKP Research มองว่า “มีความเป็นไปได้ที่ประเทศตะวันตกจะนำมาตรการคว่ำบาตรทางพลังงานมาใช้ หากความขัดแย้งทวีความรุนแรงจนเกิดความเสียหายอย่างล้นหลามสะท้อนจากท่าทีของเยอรมันที่เปลี่ยนไปที่วางแผนจะลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย”

ซึ่งในกรณีที่มีการใช้มาตรการคว่ำบาตรทางพลังงานจริง จะทำให้ราคาพลังงานทั้งในยุโรปและโลกเพิ่มสูงขึ้นมาก หากรัสเซียตัดสินใจตอบโต้ด้วยการลดอุปทานของน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ

Bank of America ประเมินว่าทุก ๆ 1 ล้านบาร์เรลต่อวันที่หายไปอาจทำให้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ดังนั้น ถ้าหากน้ำมันดิบจากรัสเซียถูดตัดขาดจากตลาดโลก อาจทำให้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจาก 100 ดอลลาร์เป็น 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งในกรณีดังกล่าวจะกลับมากระทบเศรษฐกิจโลกค่อนข้างรุนแรงจากทั้งปัจจัยด้านราคา และอาจเกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบในระยะสั้นทำให้เกิดการหยุดชะงักของภาคการผลิตได้

หากสงครามยืดเยื้อ ดันเงินเฟ้อไทยเกิน 4%

KKP Research ประเมินว่า สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนจะมีแนวโน้มทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้นแรงที่สุดในรอบมากกว่า 10 ปี โดยผลกระทบจากสงครามจะกระทบเศรษฐกิจไทยใน 3 ช่องทางหลัก

การส่งออกของไทย อาจขยายตัวได้น้อยกว่าที่ประเมินไว้ ผลกระทบทางตรงที่ไทยจะได้รับคือผลจากการค้าระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มชะลอลง โดยแม้ว่าสัดส่วนการส่งออกไปยังรัสเซียและยูเครนจะต่ำ คือ รวมกันประมาณ 0.7% ของการส่งออกทั้งหมด แต่การส่งออกไปยังยุโรปที่มีสัดส่วนกว่า 10% จะได้รับผลกระทบหากเศรษฐกิจยุโรปชะลอตัว

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่น่ากังวลมากที่สุดจะเกิดจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ จากการหยุดชะงักของการค้าระหว่างไทยกับรัสเซียและยูเครน ส่งผลกระทบให้บางภาคการผลิตต้องหยุดกิจการ โดยกลุ่มสินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ ปุ๋ยเคมีและธัญพืช

อัตราเงินเฟ้อในปี 2022 อาจปรับตัวสูงขึ้นเกิน 4% ตามราคาน้ำมันดิบโลก ความขัดแย้งในครั้งนี้จะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ

KKP Research ประเมินว่าราคาน้ำมันดิบในช่วงที่เหลือของปีจะสูงขึ้นเกิน 110 ดอลลาร์สหรัฐ บนสมมุติฐานว่าประเทศตะวันตกจะมีการลดการนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์จากรัสเซียลงบางส่วน

ซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีสูงขึ้นเกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลจากที่เคยคาดไว้ที่ 85 และคาดว่ายังมีโอกาสที่ราคาน้ำมันเฉลี่ยจะสูงเกิน 130 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

“ในสถานการณ์ที่สงครามมีความรุนแรงและยืดเยื้อกว่าคาด KKP Research ประเมินว่าเมื่อนับรวมกับปัญหาราคาอาหารสดและอาหารนอกบ้านที่แพงขึ้นก่อนหน้านี้ จะทำให้เงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2022 ของไทย สูงขึ้นเกิน 4% สูงที่สุดตั้งแต่ปี 2008 หรือสูงที่สุดในรอบ 14 ปี และจะส่งผลกลับมากระทบการบริโภคให้ชะลอตัวลง” 

Photo : Shutterstock

เสี่ยงกระทบภาคท่องเที่ยว 

ด้านจำนวนนักท่องเที่ยวอาจเดินทางมาน้อยกว่าที่ประเมินไว้ เกิดจากนักท่องเที่ยวรัสเซียที่จะเดินทางมาได้น้อยลง โดยในช่วงที่ต้นปี 2022 นักท่องเที่ยวรัสเซียเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาไทยมากที่สุด คิดเป็นประมาณเกือบ 10% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้นราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะเพิ่มต้นทุนการเดินทางระหว่างประเทศและทำให้อุปสงค์ต่อการท่องเที่ยวลดลง

นอกจากนี้ ผลกระทบทางอ้อมที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องและจะเป็นความท้าทายสำคัญต่อนโยบายเศรษฐกิจของไทย คือ ดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีโอกาสขาดดุลอีกครั้งในปีนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและไทยนำเข้าน้ำมันในสัดส่วนสูง ประกอบกับนักท่องเที่ยวที่จะกลับมาได้น้อยกว่าที่คาดไว้จะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดมีโอกาสขาดดุลเพิ่มเติม

Photo : Shutterstock

ในขณะที่แม้เศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวลงเล็กน้อย KKP Research ประเมินว่า ธนาคารกลางสหรัฐ จะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยกับสหรัฐฯ จะยังห่างออกจากกันมากขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงกดดันสำคัญจะเกิดขึ้นต่อค่าเงินบาทที่อาจผันผวนและอ่อนค่าลงได้ในระยะสั้น

แม้ว่าสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย – ยูเครน ยังมีหลายทางออกที่เป็นไปได้ KKP Research ประเมินว่าในปัจจุบันมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ที่สถานการณ์จะเข้าสู่กรณีที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและไทยได้

“เหตุการณ์นี้นับเป็นอีกหนึ่งแรงกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะ Stagflation อย่างชัดเจนเช่นเดียวกับที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ และสร้างความท้าทายสำคัญต่อนโยบายการเงินไทยในระยะต่อไปที่ต้องดูแลทั้งเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ เสถียรภาพระบบการเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนไปพร้อม ๆ กัน”

]]>
1376919
จับตา ‘ค้าปลีก’ โค้งสุดท้ายปี 64 กลับมาฟื้นตัวเป็นบวก เเต่ผู้บริโภคยังระวังใช้จ่าย https://positioningmag.com/1356736 Fri, 15 Oct 2021 05:51:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356736 ‘ค้าปลีก’ ส่งสัญญาณฟื้นตัวช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี รับคลายล็อกดาวน์ KBANK ประเมินเศรษฐกิจไทยผ่านจุดเเย่สุดของวิกฤตโควิดมาเเล้ว กลุ่มสินค้าจำเป็น ‘อาหาร-เครื่องดื่ม’ ฟื้นตัวได้เร็ว ส่วนกลุ่ม ‘เสื้อผ้า-รองเท้า’ ยังหดตัวต่อเนื่อง ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย แนะเร่งทำโปรโมชันด้านราคาจับโอกาสตลาดหลังเปิดประเทศ ธุรกิจต้องปรับตัวรับกำลังซื้อที่ไม่เเน่นอน 

เเนวโน้มค้าปลีก Q4 ฟื้นตัวเป็นบวก 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ถึง ‘ธุรกิจค้าปลีก’ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 64 ว่าจะกลับมาฟื้นตัวเป็นบวกได้ จากสถานการณ์การระบาดของโควิดในประเทศที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับการระบาดในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้

โดยสถานการณ์การระบาดของโควิด และการเข้าถึงวัคซีนของประชาชนที่เริ่มมีสัญญาณบวก จนทำให้ภาครัฐทยอยคลายมาตรการล็อกดาวน์กิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 64 ไม่ว่าจะเป็นแผนการเปิดประเทศเพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัว รวมทั้งสัญญาณความเป็นไปได้ในการกลับมาเปิดดำเนินกิจการของบางธุรกิจ เช่น สถานบันเทิง สะท้อนให้เห็น ถึงโอกาสในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่น่าจะผ่านจุดที่แย่ที่สุดจากการระบาดของโควิด-19 มาแล้ว

เมื่อประกอบกับจังหวะการเร่งออกแคมเปญส่งเสริมการตลาดของภาคธุรกิจต่างๆ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย ส่งผลให้ในเบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า

“ยอดขายของธุรกิจค้าปลีกในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 64 น่าจะมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวที่ประมาณ 1.4% โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ที่ภาครัฐอาจออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย เช่น ช้อปดีมีคืน ในช่วงปลายปีไว้แล้วระดับหนึ่ง แต่หากภาครัฐมีการปรับหรือเพิ่มขนาดของมาตรการ ก็อาจจะทำให้ตัวเลขค้าปลีกในช่วงไตรมาสสุดท้ายขยับสูงขึ้นกว่าที่คาดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนที่หดตัว -1.2%”

การคลายมาตรการล็อกดาวน์ น่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและบรรยากาศในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค โดยเฉพาะในช่วงเดือนธ.ค. ที่มีเทศกาลเฉลิมฉลองที่สำคัญอย่างเทศกาลปีใหม่ ซึ่งคาดว่าบรรยากาศของเทศกาลปีใหม่ในปีนี้ น่าจะฟื้นตัวดีขึ้นกว่าปีที่แล้วที่เกิดการระบาดคลัสเตอร์สมุทรสาคร

ในส่วนของผู้ประกอบการค้าปลีก ที่เน้นจำหน่ายสินค้าจำเป็น อย่างอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงของใช้ส่วนตัว เช่น ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ห้างสรรพสินค้า (โดยเฉพาะในโซนร้านอาหารและเครื่องดื่ม) ซูเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ น่าจะทำยอดขายได้ต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี 64

อาหาร-เครื่องดื่มยังขายดี เสื้อผ้า-รองเท้า หดตัวต่อเนื่อง 

แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโควิดในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ผู้บริโภคยังคงกังวลกับความปลอดภัย และเผชิญกับกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ส่งผลให้ยังคงเลือกใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะในหมวดสินค้าที่ยังมีความจำเป็นอย่างอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงของใช้ส่วนตัว

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ไม่จำเป็นอย่างเสื้อผ้า รองเท้า น่าจะยังคงหดตัวต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี ส่วนกลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้ว่ายอดขายอาจจะกลับมาฟื้นตัวเป็นบวกเล็กน้อยในไตรมาส 4 ปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยอดขายทั้งปี 64 น่าจะยังคงหดตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีก่อน

ดังนั้น ผู้ประกอบการที่เน้นจำหน่ายสินค้าจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ ห้างสรรพสินค้า (โดยเฉพาะโซนร้านอาหารและเครื่องดื่ม) ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ น่าจะทำยอดขายได้เพิ่มขึ้น หรือกลับมาฟื้นตัวได้เร็วกว่าผู้ประกอบการค้าปลีกกลุ่มห้างสรรพสินค้า (โซนจำหน่ายสินค้าไม่จำเป็นหรือสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องใช้ไฟฟ้า) ร้านค้าเฉพาะอย่าง เช่น ร้านจำหน่ายสินค้าความงาม ร้านวัสดุก่อสร้าง และซ่อมแซมตกแต่งบ้าน (แม้ในบางพื้นที่อาจได้แรงหนุนบ้างจากการซ่อมแซมหลังผ่านอุทกภัย)

เร่งทำโปรโมชัน สู้ตลาดด้านราคา 

ภายใต้สถานการณ์ที่ผู้บริโภคยังคงกังวลกับรายได้ และกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการทุกกลุ่ม ยังคงต้องให้ความสำคัญกับการเร่งทำโปรโมชันการตลาดด้านราคาในช่วงเวลาดังกล่าว ที่เริ่มมีการเปิดประเทศภายหลังสถานการณ์โควิดส่งสัญญาณดีขึ้น

ควบคู่ไปกับการให้บริการลูกค้าที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอในทุกแพลตฟอร์ม เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค และสร้างความประทับใจ รวมถึงผู้ประกอบการจะต้องมีการบริหารจัดการต้นทุน เพื่อให้ธุรกิจยังคงสามารถดำเนินการต่อไปได้

Photo : Shutterstock

ความไม่เเน่นอน กระทบค่าครองชีพ 

ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ต่อเนื่องถึงปี 65 ธุรกิจค้าปลีกยังต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายอีกหลายประการ ทำให้การดำเนินธุรกิจยังคงยากลำบากต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์น้ำท่วมที่ครอบคลุมพื้นที่ในหลายจังหวัด ซึ่งสร้างความเสียหาย ต่อสินค้าเกษตรและส่งผลต่อราคาตามมา เช่น ผักสด เนื้อสัตว์ และการขนส่งที่อาจจะล่าช้า ราคาพลังงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบกับค่าครองชีพของผู้บริโภค

ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อ หรือมีศักยภาพในการใช้จ่ายยังคงมีจำนวนจำกัด หรือแม้แต่แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค หรือเทคโนโลยีในการทำธุรกิจค้าปลีกรูปแบบใหม่ๆ ที่อาจจะเข้ามาเปลี่ยนภาพการทำธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบัน และเกิดผู้เล่นรายใหม่ หรือการปรับตัวของผู้เล่นรายเดิม

ผู้ประกอบการที่สามารถปรับตัว หรือรับมือกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้เร็ว ก็น่าจะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นการเป็นผู้นำตลาดในธุรกิจค้าปลีกก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอีกในระยะข้างหน้า

“ความไม่แน่นอนของการระบาดของโควิดในประเทศในระยะข้างหน้า อาจจะมีผลต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจกลับมาของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และการใช้จ่ายของคนในประเทศ รวมถึงภาวะการแข่งขันของธุรกิจที่จำนวนผู้เล่นยังคงทยอยเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้เล่นที่อยู่ในแพลตฟอร์มออนไลน์” 

]]>
1356736
Standard Chartered มอง ‘ท่องเที่ยวไทย’ ใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปีถึงจะฟื้น ฉุดเศรษฐกิจอ่อนเเอ https://positioningmag.com/1355860 Sun, 10 Oct 2021 11:23:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355860 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย’ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย’ 3 ปีกว่าจะฟื้นตัวกลับมาสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดได้ เเม้ว่ารัฐจะเตรียมการผ่อนคลายข้อจำกัดการเดินทางให้นักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนครบโดสเเล้วภายในเดือนหน้านี้ก็ตาม

สำนักข่าว Bloomberg รายงานบทวิเคราะห์ของ ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร Standard Chartered ระบุว่า การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวไทย ที่มีสัดส่วนถึง 15% ของ GDP จะเป็นไปอย่างช้าๆ ส่งผลทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทย ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอาเซียน จะยังคงอ่อนแอในช่วง 2 ปีข้างหน้า

เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวลำบาก หากภาคการท่องเที่ยวไม่ดีขึ้น เเละอาจทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจอ่อนแอลงในช่วงปี 2022-2023”

รัฐบาลไทย วางเเผนจะยกเลิกมาตรการกักตัวนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปยังหลายจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 1 .. เป็นต้นไป เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเปลี่ยนไปใช้กลยุทธ์อยู่ร่วมกับโควิด-19 เเทน

เเต่ Standard Chartered มองว่าแผนการเปิดประเทศอาจสะดุดหากสถานการณ์โรคระบาดในไทย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยลดลงเหลือ 73,932 คน จากจำนวนเกือบ 40 ล้านคนในปี 2019 ที่เคยสร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ไทยยังต้องการนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 6 ล้านคน เพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปใน 8 เดือนแรก จนถึงเดือน ส..ของปีนี้ ซึ่งอยู่ที่ 8,500 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในปีหน้า มีการประเมินว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 4 ล้านคนเข้ามา ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้เทียบเท่ากับ 1% ของ GDP โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติมักจะจับจ่ายใช้สอยราว 1,500 เหรียญสหรัฐ หรือ 50,775 บาทต่อคน ระหว่างเดินทางท่องเที่ยวในไทย

ทิม กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตามองคือ นักท่องเที่ยวจีนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 28% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดของไทยในปี 2019 “ไม่น่าจะกลับมาเป็นจำนวนมากในเร็วๆ นี้เนื่องจากมาตรการจำกัดการเดินทางที่เข้มงวด

ส่วนนักท่องเที่ยวอินเดีย ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในเดือนพ.. จากช่วงเทศกาลดิวาลี ก็ยังจะไม่เท่ากับจำนวนของนักท่องเที่ยวจากจีน

ทั้งนี้ เมื่อเดือน ส..ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปรับลดคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางมาไทย เพียงเหลือ 150,000 คนในปีนี้ และ 6 ล้านคนในปี 2022

 

ที่มา : Bloomberg

 

]]>
1355860
จับตา ‘คลัสเตอร์โรงงาน’ หากคุมไม่อยู่ โควิดลุกลาม-ยืดเยื้อ ฉุด ‘ส่งออก’ เสียหาย 1.9 แสนล้าน https://positioningmag.com/1344693 Fri, 30 Jul 2021 10:29:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344693 โจทย์ใหญ่ ‘คลัสเตอร์โรงงานหากคุมไม่อยู่ โควิดลุกลามยืดเยื้อ เสี่ยงกระทบภาคส่งออกตัวหลักฟื้นเศรษฐกิจไทยต้องสะดุด เสียหายถึง 1.9 แสนล้านบาท ฉุดการเติบโตต่ำกว่า 7%  ชะลอดีมานด์ตลาดอาเซียน เเนะรัฐเร่งทำ Bubble and Sealed ฉีดวัคซีนให้แรงงานภาคการผลิตโดยเร็ว 

ข้อมูลล่าสุดจาก Thai Stop Covid โดยกรมอนามัย ระบุว่า นับตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนกรกฎาคม 2564 มีโรงงานผลิตที่ต้องเผชิญกับปัญหาการติดเชื้อโควิดแล้วมากถึง 1,607 โรงงาน เป็นโรงงานขนาดใหญ่ 67% ซึ่งมีแรงงานจำนวนมาก มีทั้งโรงงานผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศและป้อนตลาดต่างประเทศ 

คลัสเตอร์โรงงาน จึงเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ นอกเหนือไปจากแคมป์ก่อสร้าง

โรงงานส่วนใหญ่ที่พบปัญหาการติดเชื้อจะอยู่ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยางพาราและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ

โดยประเทศไทยมีโรงงานใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้มากถึง 11,637 แห่ง มีแรงงาน 1.96 ล้านคน และมีมูลค่าตลาดต่อปีเท่ากับ 8.87 ล้านล้านบาท มีสัดส่วนส่งออกกว่า 57% และจากการที่เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานค่อนข้างมาก เมื่อมีผู้ติดเชื้อจึงมีโอกาสที่จะเกิดการแพร่กระจายสูง ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้มาตรการปิดโรงงานหยุดกระบวนการผลิตชั่วคราวได้ 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า หากมีการปิดคลัสเตอร์โรงงาน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมข้างต้นเป็นเวลา 2 สัปดาห์เพื่อควบคุมการระบาด จะก่อให้เกิดการสูญเสียมูลค่า 3.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 4% ของมูลค่าตลาด 

สำหรับอุปทานสินค้าป้อนตลาดจากโรงงานในอุตสาหกรรมอาหารยานยนต์ ยางพาราและพลาสติก จะได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานเร็วที่สุด เพราะมีสินค้าคงคลังน้อยกว่าช่วงปกติ

ดังนั้น หากไม่สามารถควบคุมการระบาดคลัสเตอร์โรงงานได้ ภาครัฐต้องมีการล็อกดาวน์โรงงานเพิ่มขึ้น หรือขยายระยะเวลาปิดโรงงานออกไป คาดว่าจะทำให้ปัญหา Supply Disruption ชัดเจนมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกที่เป็นเครื่องยนต์หลักในการฟื้นเศรษฐกิจครั้งนี้ 

นอกจากสินค้าส่งออกทั้ง 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเเล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจอาเซียนได้รับผลกระทบจากการเผชิญกับยอดผู้ติดเชื้อโควิดใหม่เพิ่มสูงขึ้นมากขึ้น โดยเฉพาะ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ทำให้ประเทศเหล่านี้ต้องกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั้งประเทศ ส่งผลต่อความต้องการสินค้าส่งออกจากไทยในช่วงครึ่งปีหลัง

การส่งออกใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม คิดเป็น 2 ใน 3 ของมูลค่าการส่งออกไปตลาดอาเซียน ซึ่งในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้มีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท

เเนะทำ ‘Bubble and Sealed’ ในโรงงาน เร่งฉีดวัคซีน สกัดความเสียหาย 

เมื่อพิจารณาประเทศคู่ค้าหลัก ทั้งสหรัฐฯ จีน และยุโรป ที่เศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนต่อเนื่อง สะท้อนจากการส่งออกไปตลาดคู่ค้าหลักในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ที่ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ถึง 23.4% และมีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่อง

เหล่านี้ จะช่วยชดเชยผลกระทบจากการชะลอตัวลงของตลาดอาเซียนที่ในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวได้ 11.2% ส่งผลให้การส่งออกรวม 5 กลุ่มอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง

ประกอบกับ หากสามารถเร่งหยุดยั้งการระบาดของคลัสเตอร์โรงงานได้เร็ว จะหนุนให้ภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยทั้งปี 2564 ขยายตัวได้ในระดับสูงที่ 9.4% เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อน

เเต่หากไม่สามารถควบคุมคลัสเตอร์โรงงานได้ ทำให้กระบวนการผลิตหยุดไปอีก 2 สัปดาห์ จะเกิดความเสียหาย 1.9 แสนล้านบาท เป็นปัจจัยฉุดการส่งออกทั้งปีโตได้เพียง 6.8%

ttb analytics เเนะว่า เพื่อลดการระบาดและลุกลามของคลัสเตอร์โรงงาน รัฐต้องมีกระบวนการเร่งตรวจหาและคัดแยกผู้ติดเชื้อออกจากโรงงาน เเละการทำ Bubble and Sealed เพื่อควบคุมดูแลรักษาผู้ติดเชื้อในโรงงานไม่ให้แพร่กระจายออกไป

ต้องเร่งฉีดวัคซีนให้กับแรงงานภาคการผลิตที่มีจำนวนมาก ถือเป็นมาตรการเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือดำเนินการ เพื่อให้ภาคการผลิตและส่งออกของไทยยังรักษาอัตราการเติบโตได้ต่อเนื่อง ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว

 

 

]]>
1344693
KBANK หั่นเป้าจีดีพีปีนี้ เหลือเเค่ 1% ‘ล็อกดาวน์’ สะเทือนธุรกิจ-จ้างงาน ฉุดกำลังซื้อ ความเชื่อมั่นผู้บริโภค https://positioningmag.com/1342512 Thu, 15 Jul 2021 08:27:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342512 KBANK หั่นเป้าจีดีพีปี 2564 เหลือ 1.0% จากเดิมที่ 1.8% หลังการระบาดรุนเเรงกว่าที่คาดล็อกดาวน์กระทบธุรกิจจ้างงานต่อเนื่อง ฉุดกำลังซื้อความเชื่อมั่นผู้บริโภคประเมินนักท่องเที่ยวต่างชาติมีเเค่ 2.5-6.5 แสนคน เงินบาทอ่อนค่ายาว

“แม้มีมาตรการเยียวยา แต่ชดเชยผลกระทบเศรษฐกิจไม่ได้ ฉีดวัคซีนอาจต่ำกว่าเป้าหมาย” 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 อยู่ที่ 1.0% จากประมาณการเดิมที่ 1.8% เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด-19 มีความรุนแรงกว่าที่เคยประเมินส่งผลกระทบให้ระบบสาธารณสุขของไทยเผชิญข้อจำกัด

ความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดขึ้น ส่งผลให้ผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการจ้างงานมีมากขึ้น และผลกระทบต่อเนื่องไปยังกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ทรุดตัวไปกว่าเดิม

ขณะที่มาตรการเยียวยาจากทางภาครัฐ คาดว่าจะช่วยประคองการดำรงชีพที่จำเป็นของประชาชนแต่ไม่สามารถชดเชยผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวม

ท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัสและจำนวนผู้ติดเชื้อที่กลับมาเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงในประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงปรับลดกรอบประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 ลงมาอยู่ที่ 2.5-6.5 แสนคน จากกรอบประมาณการเดิมที่ 2.5 แสน-1.2 ล้านคน

แม้ว่าจะมีการเริ่มเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วยโครงการภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์และโครงการสมุย พลัส โมเดล” ก็ตาม

ส่วนแผนการเปิดประเทศในพื้นที่อื่นๆ รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาท่องเที่ยวในไทย จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดและการเร่งฉีดวัคซีนเป็นหลัก ขณะที่ในต่างประเทศก็ยังเผชิญความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

ด้าน ‘เศรษฐกิจโลก’ มีแนวโน้มฟื้นตัวดีกว่าที่คาด ส่งผลให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองการส่งออกไทยปี 2564 จะขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นมาอยู่ที่ 11.5%

ทั้งนี้ ประมาณการส่งออกนี้ได้มีการคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงเชิงลบจากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ค่าระวางเรือที่สูงขึ้น รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการแพร่ระบาดในประเทศที่อาจจะส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม

ทิศทาง ‘เศรษฐกิจไทย’ ในช่วงที่เหลือของปี 2564 ยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศที่ยังคงเผชิญความเสี่ยงสูง ทั้งจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ใหม่ ประสิทธิภาพของวัคซีน รวมถึงการเร่งฉีดวัคซีนที่อาจต่ำกว่าเป้าหมาย

หากสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศยังไม่คลี่คลายลง คาดว่าภาครัฐอาจจำเป็นต้องมีมาตรการดูแลผลกระทบเพิ่มเติม

ขณะเดียวกัน หากสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายลง คาดว่าภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ มีแรงส่งมากขึ้น โดยใช้งบประมาณภายใต้ พ...กู้เงิน 5 แสนล้านบาท

ยังต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดในต่างประเทศที่ยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่ท่ามกลางการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ใหม่ๆ เช่นกัน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกของไทยในระยะข้างหน้าได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ในการทบทวนประมาณการเศรษฐกิจไทยแล้ว และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้อาจขยายตัวได้ 1.0%”

บาทอ่อน รับความเสี่ยงการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย 

เงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางสัญญาณความเสี่ยงที่ชัดเจนมากขึ้นจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกสามที่มีแนวโน้มยากควบคุม เพราะต้องรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์

โดยเงินบาททำสถิติอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 15 เดือน ที่ 32.73 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างชั่วโมงการซื้อขายในวันที่ 9 ก.ค. 64 ความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยืดเยื้อยังเพิ่มแรงกดดันต่อสถานะดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยให้ขาดดุลมากขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า เป็นสัญญาณที่ตอกย้ำว่า ปัจจัยพื้นฐานของค่าเงินบาทกำลังอ่อนแอลง พร้อมกับความเสี่ยงต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะที่เหลือของปี

โดยเงินบาท มีความเป็นไปได้ที่จะอ่อนค่าต่อเนื่องไปทดสอบระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งก่อนสิ้นปี 2564 หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศยังไม่ลดระดับความเสี่ยงลงมา และเฟดสามารถเริ่มทยอยส่งสัญญาณเตรียมคุมเข้มนโยบายการเงินได้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ตามที่ตลาดประเมินไว้

อย่างไรก็ดี หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้ไม่แรง หรือเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 อีกระลอก ก็อาจส่งผลทำให้ตลาดต้องกลับมาประเมินการคาดการณ์ในเรื่องจังหวะการปรับนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ใหม่อีกครั้ง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่า และอาจช่วยหนุนให้เงินบาทกลับมาแข็งค่าได้ โดยเฉพาะหากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศคลี่คลายลง

 

]]>
1342512
หนี้เพิ่มเร็วกว่ารายได้ ซ้ำคนไทยไร้เงินออม ‘หนี้ครัวเรือน’ ทะลุ 14 ล้านล้าน คาดปีนี้เเตะ 91% ต่อจีดีพี https://positioningmag.com/1326143 Thu, 01 Apr 2021 13:28:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326143 หนี้ครัวเรือน ณ สิ้นปี 2563 ทะลุ 14 ล้านล้านบาท ทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 18 ปี คิดเป็นกว่า 89.3% ต่อจีดีพี KBANK คาดปีนี้พุ่งต่อ เเตะ 89-91% คนไทยมีเงินออมน้อย อยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน ห่วงกังวลหาใช้หนี้คืนไม่ทัน

จากผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤต COVID-19 ทำให้กระแสรายได้ และสถานะทางการเงินของครัวเรือนบางกลุ่มย่ำแย่ลง ตอกย้ำวังวนปัญหาหนี้เพิ่มเร็วกว่ารายได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดในไตรมาส 4/2563 ระบุว่า หนี้ครัวเรือนของไทยปิดสิ้นปี 2563 ที่ผ่านมา ด้วยภาพของระดับหนี้ครัวเรือนที่ทะลุ 14 ล้านล้านบาท นับเป็นจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 18 ปี ตามสถิติที่มีการเก็บรวบรวมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

หนี้เพิ่ม’ 3 ปีติด สวนทางเศรษฐกิจหดตัว

โดยหนี้ครัวเรือนดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วน 89.3% เมื่อเทียบกับ GDP ในปี 2563 เร่งตัวขึ้นเป็นปีที่ 3 เทียบกับ 78.4% ต่อจีดีพี และ 79.8% ต่อจีดีพีในปี 2561 และปี 2562 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม หากมองในมิติอัตราการเติบโตของหนี้ พบว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนปี 2563 เพิ่มขึ้นเพียง 3.9% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี

สะท้อนว่าทั้งผู้กู้และผู้ปล่อยกู้ ต่างก็เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักลงจากผลกระทบของโรคระบาด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตั้งข้อสังเกตว่า สินเชื่อภาคครัวเรือนที่ยังเติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจได้นั้น ชี้ให้เห็นถึงสถานะของผู้กู้และวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมที่แตกต่างกันระหว่างผู้กู้สองกลุ่ม 

กลุ่มแรก เป็นการกู้ยืมของครัวเรือนเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย และรถยนต์ ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อปานกลางค่อนไปทางสูง และรายได้ไม่ได้ถูกกระทบมากจาก COVID-19

กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องก่อหนี้หรือกู้ยืมเพิ่มขึ้นเพื่อใช้เสริมสภาพคล่อง หรือเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบธุรกิจ ซึ่งผู้กู้หรือครัวเรือนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน และสถานะทางการเงินอ่อนแอลงตามทิศทางเศรษฐกิจ

ความสามารถในการชำระคืนหนี้ของลูกหนี้หลายกลุ่ม ถดถอยลง โดยเฉพาะผู้กู้รายย่อยที่ประกอบธุรกิจ และผู้กู้รายย่อยที่มีปัญหาด้านรายได้

Photo : Shutterstock

สำหรับภาระหนี้หรือ Debt Service Ratio (DSR) ของผู้กู้รายย่อยที่ประกอบธุรกิจอยู่ที่ 44.1% ของรายได้ต่อเดือนในช่วงต้นปี 2564 

ส่วน DSR ของผู้กู้รายย่อยที่มีปัญหาด้านรายได้อยู่ที่ 43.8% ซึ่งภาระหนี้ของผู้กู้ทั้งสองกลุ่มดังกล่าวอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ย DSR ภาพรวมของผู้ตอบแบบสอบถามในผลสำรวจรอบนี้ซึ่งอยู่ที่ 42.8% ของรายได้ต่อเดือน

ขณะที่หนี้ครัวเรือนในส่วนอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นเพื่อการอุปโภคบริโภคหรือใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ก็มีทิศทางขยับขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ซบเซาของเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลทำให้ครัวเรือนหลายส่วนต้องรัดเข็มขัด และบริหารกระแสรายรับรายจ่ายของครัวเรือนให้มีความสมดุล

สถานะทางการเงินของประชาชนค่อนข้างตึงตัวมากขึ้น และสถานการณ์รายได้ของประชาชนหลายกลุ่ม เริ่มจะไม่สัมพันธ์กับหนี้สินที่ต้องแบกรับภาระ

 

คนไทยไร้เงินออม กังวลใช้หนี้ไม่ทัน

เมื่อสอบถามถึงความสามารถในการผ่อนชำระคืนหนี้ในอนาคตนั้น ประชาชนส่วนใหญ่กว่า 3 ใน 4 ของผลสำรวจ แสดงความกังวล เนื่องจากยังคงมีประเด็นรายได้ที่ไม่แน่นอน (45.3% ของผู้ตอบ) และค่าครองชีพและภาระหนี้เพิ่มขึ้นเร็วกว่ารายได้ (41.4%) รวมถึงการที่ภาระผ่อนหลังมาตรการเยอะและนานขึ้น (12.7%)

ตอกย้ำว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง น่าจะยังเป็นข้อจำกัดสำคัญในการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในระยะที่เหลือของปี

ส่วนระดับการออมของภาคครัวเรือนลดต่ำลง หากเปรียบเทียบมุมการออมภาคครัวเรือนต่อรายได้จากผลสำรวจฯ ปี 2564 กับการออมภาคครัวเรือนในปี 2562 โดยเฉลี่ยแล้ว สัดส่วนเงินออมต่อรายได้ของครัวเรือนลดลงประมาณ 3.6% จากที่มีสัดส่วนเงินออมประมาณ 16.1% ของรายได้ต่อเดือนในปี 2562 ลดลงมาอยู่ที่ 12.5% ของรายได้ต่อเดือนในปี 2564

และเมื่อเจาะลงไปในกลุ่มผู้กู้รายย่อยที่ประกอบธุรกิจและกลุ่มที่มีปัญหาด้านรายได้ จะพบว่า สถานการณ์เงินออมเฉลี่ยของ 2 กลุ่มนี้แย่กว่าภาพรวมค่อนข้างชัด โดยมีเงินออมเพียง 11.7% และ 10.8% ของรายได้ต่อเดือนตามลำดับ

นอกจากนี้ หากพิจารณาเฉพาะประชาชนที่มีเงินออมในผลสำรวจฯ ในปี 2564 จะพบว่า มีประชาชนเพียง 38.9% จากประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดเป็นผู้ที่มีเงินออม แต่ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีเงินออมไม่สูงมาก

หากพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีเงินออมในผลสำรวจฯ พบว่า มีเพียง 46.2% เท่านั้นที่มีเงินออมสะสมเพียงพอสามารถรองรับค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 3 เดือน (ในกรณีที่ขาดรายได้ หรือตกงาน)

สถานการณ์เงินออมจากผลสำรวจฯ รอบนี้ แย่ลงกว่าผลสำรวจเมื่อปี 2562 อย่างชัดเจน โดยผลสำรวจฯ เมื่อปี 2562 สัดส่วนผู้มีเงินออมสะสมที่สามารถรองรับค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 3 เดือน สูงถึง 75% ของผู้มีเงินออมทั้งหมด

คาดปีนี้หนี้ครัวเรือนพุ่งต่อ เเตะ 89-91%

สำหรับแนวโน้มในปี 2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤตโควิด-19 น่าจะทำให้เงินกู้ยืมของภาคครัวเรือนปี 2564 มีโอกาสเติบโตขึ้นสูงกว่าปี 2563 ที่เติบโตเพียง 3.9%

ภาพดังกล่าวอาจส่งผลต่อเนื่องให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ขยับสูงขึ้นมาอยู่ในกรอบประมาณ 89.0-91.0% ต่อ GDP ในปี 2564 เทียบกับระดับ 89.3% ต่อ GDP ในปี 2563 

ทางการไทยคงหันกลับมาดูแลปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างจริงจัง เมื่อหลังวิกฤตโรคระบาดสิ้นสุดลง โดยอาจกลับมาสานต่อมาตรการดูแลให้การก่อหนี้ของครัวเรือนสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ (Affordability)”

]]>
1326143
ความหวัง ‘ท่องเที่ยวไทย’ เร่งฉีดวัคซีนให้ทัน ‘ไฮซีซั่น’ รับต่างชาติ 2 ล้านคน ระวัง ‘หนี้ครัวเรือน’ พุ่ง https://positioningmag.com/1322313 Mon, 08 Mar 2021 08:28:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322313 วัคซีนมาช้ามาเร็ว คือตัวเเปรสำคัญของเศรษฐกิจไทย KBank คงเป้า GDP ปีนี้ไว้ที่ 2.6% แต่ปรับกรอบประมาณการ ‘แคบลง’ เหลือ 0.8-3.0% จากเดิม 0.0-4.5% มองท่องเที่ยวยังฟื้นตัวจำกัด หวังไตรมาสสุดท้าย เร่งกระจายวัคซีนทันเปิดรับนักท่องเที่ยว 2 ล้านคน เอกชนมีโอกาสนำเข้าเอง จับตาคนรายได้ลด ‘หนี้ครัวเรือนหนี้เสียพุ่ง

เร่งฉีดวัคซีนภาคท่องเที่ยว รับ ‘ไฮซีซั่น’ 

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ยังต้องใช้เวลา และช้ากว่าเศรษฐกิจโลกเเละประเทศเพื่อนบ้าน เพราะมีการพึ่งพิงรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติสูง ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าของการกระจายวัคซีน และการเปิดรับนักท่องเที่ยวของไทยเป็นสำคัญ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทิศทางเศรษฐกิจโลกโดยรวม มีทิศทางเป็นบวกมากขึ้น จากการกระจายวัคซีน ซึ่งในเง่ของธุรกิจการท่องเที่ยวเเล้ว จะต้องให้ความสำคัญกับนโยบายของการเดินทางระหว่างประเทศของ 2 ฝั่ง ทั้งการเปิดประเทศรับชาวต่างชาติเเบบไม่ต้องกักตัว (หรือลดวันกักตัว) เเละการใช้วัคซีนพาสปอร์ต

ปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดเส้นทางการฟื้นตัวของตลาดต่างชาติเที่ยวไทยในปี 2564 โดยเฉพาะไตรมาสสุดท้าย ซึ่งเป็นไฮซีซั่น’ (High-season) ของการท่องเที่ยว

เกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ประเมินว่า ว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่นิยมมาเที่ยวไทยจาก 10 ตลาดสำคัญ เช่น จีน ยุโรปตะวันตก สหรัฐฯ รัสเซีย เอเชียและอาเซียนบางประเทศ อาจทำได้ราว 1.9 ล้านคน (ในช่วงปลายปีไฮซีซั่น) ซึ่งเมื่อรวมกับช่วง 9 เดือนแรกของปี จึงเห็นว่าตัวเลข 2 ล้านคนในปี 2564 ยังมีความเป็นไปได้

เเต่ยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าวัคซีนพาสปอร์ตสามารถดำเนินการได้ หรือการเดินทางระหว่างประเทศมีข้อจำกัดน้อยลง

เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ เป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับคนที่ทำงานในภาคท่องเที่ยวไทย ที่จะต้องได้รับวัคซีนก่อน

โดยหากประเมินจากการจ้างงานในธุรกิจโรงแรมในพื้นที่ 20 จังหวัดที่พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติเเล้ว พบว่ามีความต้องการวัคซีนอย่างน้อย 2.2 แสนโดส ก่อนเดือนตุลาคม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวให้ทันช่วงไฮซีซั่น

ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่ 2 ล้านคนยังถือว่าน้อยมาก ดังนั้นธุรกิจท่องเที่ยวยังต้องพึ่งพาไทยเที่ยวไทยไปก่อน เเละกรณีที่ไม่สามารถกระจายวัคซีนได้ตามเวลาที่คาดไว้ได้ ผู้ประกอบการเเละประชาชนก็ยังอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ต้องระมัดระวังเรื่องกระเเสเงินสด พยายามหาช่องทางสร้างรายได้อื่นๆ ทั้งบริการร้านอาหารเเละปล่อยเช่า” 

ส่วนโอกาสที่ภาคเอกชนมีโอกาสจะนำเข้าวัคซีนเองนั้นมองว่า มีความเป็นไปได้ในภาวะหลังจากนี้ โดยภาคเอกชนต้องรวมตัวกัน เพื่อยื่นขออนุญาตกับทางภาครัฐให้ดำเนินการต่อไป

อ่านเพิ่มเติม : KBank ห่วงไทย ‘ฟื้นตัวช้าสุด’ ตามหลังเพื่อนบ้านในอาเซียน โรงแรม 40% เสี่ยงหายจากตลาด

คาด GDP ไทยโต 2.6% ส่งออกดี 

ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ระบุว่า KBank ยังคงประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2564 ไว้ที่ 2.6% ในกรณีพื้นฐาน แต่ปรับกรอบประมาณการจากเดิมที่ 0.0-4.5% มาที่ 0.8%-3.0%

โดยรอบประมาณการใหม่ สะท้อนความเสี่ยงขาลงต่อเศรษฐกิจที่ลดลง คาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วและส่งผลบวกต่อภาพการส่งออกไทยมากขึ้น

ประเด็นเศรษฐกิจสำคัญที่น่าติดตามในปี 2564 เเบ่งเป็นหลักๆ 3 เรื่องได้เเก่

1.การกระจายวัคซีนในประเทศเเละการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

  • ระยะท่ี 1 จํานวน 2 ล้านโดส : ช่วงเดือน ก.. – เม..2564 ใน 10 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
  • ระยะที่ 2 จํานวน 61 ล้านโดส : ช่วงเดือนมิ.. และให้แล้วเสร็จภายใน ปี 2564 เฉลี่ย 10 ล้านโดสต่อเดือน

2.ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเเละเงินเฟ้อ

แนวโน้มราคาน้ํามันดิบในตลาดโลกสูงกว่าที่ประเมิน จากปัจจัยชั่วคราวแหล่งผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ได้รับความเสียหายจากพายุ การปรับลดกำลังการผลิตของ OPEC ในขณะที่การฟื้นตัวที่ดีกว่าท่ี่คาดของเศรษฐกิจโลกจะเป็นตัวหนุนราคาน้ำมันในช่วงท่ี่เหลือของปี

ราคาพลังงานท่ี่สูงขึ้น ส่งผลให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นกว่าที่ประเมิน ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจไทยท่ีมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าเศรษฐกิจโลก

3.มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ (เพิ่มเติม)

เม็ดเงินสําหรับใช้กระตุ้นเศรษฐกิจเหลือราว 3.7 เเสนล้านบาท คาดว่ารัฐจะมีมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจออกมาต่อเนื่องเพื่อประคองการใช้จ่ายในประเทศ จนกว่าจะเริ่มทยอยเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ 

ระวังรายได้ลด ทำ ‘หนี้ครัวเรือน-หนี้เสีย’ พุ่ง 

ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ กล่าวถึงประเด็นเฉพาะหน้าที่ต้องให้ความสำคัญอย่างหนี้ครัวเรือนที่จะยังค้างอยู่ในระดับสูง คนไทยรายได้ลดลงเเละว่างงานจำนวนมาก ทำให้ต้องเเบกรับหนี้สินเเละมีความเสี่ยงเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น

ประเมินว่า หนี้ครัวเรือนไทยจะเพิ่มขึ้นเข้าหาประมาณ 89.5% ต่อ GDP ณ สิ้นปี 2564 ด้วยกรอบ 89.0-91.0% (เทียบกับ 89.2% ณ ส้ินปี 2563)

ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอีก 1-2 ปีข้างหน้า โดยคาดว่า NPL ปีนี้อยู่ที่ 3.3% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสิ้นปี 2563 ซึ่งอยู่ที่ 3.12%

จากผลสํารวจของ KResearch พบว่า สถานะทางการเงินระดับบุคคลถดถอยมากขึ้นในช่วงหลัง COVID-19 โดย 10.8% ของกลุ่มตัวอย่างมีภาวะการเงินเสี่ยงต่อวิกฤต มีรายได้ลด เเต่ค่าใช้จ่ายไม่ลด มีสัดส่วนภาระหน้ีต่อรายได้มากกว่า 50%”

โดยผู้ตอบเเบบสอบถาม กว่า 38.7% ต้องการความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องและเงินช่วยเหลือ อาทิ คนละครึ่ง เราชนะ ฯลฯ ส่วน 26.2% ต้องการมีรายได้ และการมีงานทำ เเละ 23.9% ต้องการต่ออายุมาตรการช่วยเหลือ ของสถาบันการเงินเพิ่มเติม เเละอีก 11.2% ต้องให้คำแนะนำและความรู้ในการแก้หนี้

ภาครัฐ

  • จัดกลุ่มหนี้และมาตรการดูแลเพิ่มเติมในระหว่างที่ภาวะเศรษฐกิจและรายได้ ยังไม่ฟื้นตัวปกติ
  • การปรับดอกเบี้ยที่ค่อยเป็นค่อยไป
  • การออมภาคบังคับและการให้ความรู้และสร้างวินัยทางการเงิน

ภาคธุรกิจ

  • ความสามารถในการบริโภคสินค้าของลูกค้าเดิมลดลง
  • พฤติกรรมการใช้จ่ายเปลี่ยนไป อาทิ ยอดใช้ต่อครั้งเล็กลง การใช้โปรแกรมผ่อนชาระ เป็นภาวะ New Normal
  • ความจำเป็นในการหาตลาดใหม่และกลุ่มลูกค้าใหม่มีมากขึ้น

สถาบันการเงิน

  • จับตาคุณภาพหนี้ โดย NPLs จะยังเป็นประเด็นติดตามอีก 1-2 ปีข้างหน้า
  • การปล่อยสินเชื่อ โดยประเมินจากความสามารถในการจ่ายชำระหนี้
  • การให้ความรู้และสร้างวินัยทางการเงินกับลูกค้า

 

อ่านเพิ่มเติม : โควิดรอบใหม่ ซัดเศรษฐกิจไทย สูญอย่างน้อย 1.6 เเสนล้าน ท่องเที่ยวซึมยาว สะเทือนจ้างงานหลายล้านคน

 

 

 

 

]]>
1322313
กนง. คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อปี มอง COVID-19 ระลอกใหม่ สะเทือนเศรษฐกิจไทยไม่เเรงเท่ารอบแรก https://positioningmag.com/1317719 Wed, 03 Feb 2021 08:15:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317719 กนง. มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี หนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง มอง COVID-19 ระลอกใหม่ไม่กระทบรุนแรงเท่ารอบแรก

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินว่า แม้ว่าในระยะสั้นเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ แต่แรงกระตุ้นจากมาตรการของภาครัฐและการส่งออกที่ฟื้นตัวดีขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจไทยโดยรวมยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับความเสี่ยงด้านต่ำและความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นในระยะข้างหน้า จึงยังต้องการแรงสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในการประชุมครั้งนี้ และรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีจำกัด เพื่อใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

“ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ไม่รุนแรงเท่ากับการระบาดระลอกแรกจากมาตรการควบคุมการระบาดที่ไม่เข้มงวดเท่าครั้งก่อน”

กนง. มองว่า เศรษฐกิจยังได้รับแรงกระตุ้นจากมาตรการของภาครัฐที่ออกมาได้เร็วและตรงจุด และการส่งออกที่ฟื้นตัวดีขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้แต่ต่ำกว่าประมาณการเดิมบ้าง เเต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง

โดยในระยะสั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ขณะที่ในระยะถัดไปขึ้นอยู่กับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประสิทธิผลและการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 แรงสนับสนุนจากภาครัฐที่เพียงพอและต่อเนื่อง

“ตลาดแรงงานที่เปราะบางขึ้นจากการระบาดระลอกใหม่ ทำให้จำนวนผู้ว่างงานและเสมือนว่างงานมีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะสั้น” 

Photo : Shutterstock

นอกจากนี้ การฟื้นตัวของแต่ละภาคเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมากขึ้นจะส่งผลต่อความยั่งยืนของการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป

ด้าน ระบบการเงิน มีเสถียรภาพ แต่มีความเปราะบางมากขึ้นในบางจุดจากผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและธุรกิจ SMEs

สำหรับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป จะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปี 2564 และจะอยู่ใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายตลอดช่วงประมาณการ โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย

สภาพคล่องโดยรวม อยู่ในระดับสูงและต้นทุนทางการเงินอยู่ในระดับต่ำ แต่การกระจายตัวของสภาพคล่องยังไม่ทั่วถึงจากความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้นตามฐานะการเงินที่เปราะบาง โดยเฉพาะธุรกิจที่ฟื้นตัวช้าและครัวเรือนที่ถูกกระทบเพิ่มเติมจากการระบาดระลอกใหม่

ด้าน อัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เคลื่อนไหวสอดคล้องกับเงินสกุลภูมิภาค คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิดและพิจารณาความจำเป็นของการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม รวมถึงผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) อย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการฯ เห็นว่าความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายระหว่างหน่วยงานมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะถัดไป โดยนโยบายการเงินต้องผ่อนคลายต่อเนื่อง มาตรการทางการเงินและสินเชื่อควรเร่งกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและทันการณ์ เช่น

  • มาตรการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อลดความเสี่ยงด้านเครดิต
  • การผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เกิดผลในวงกว้าง
  • พิจารณามาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อเสริมประสิทธิภาพการกระจายสภาพคล่องและเพื่อรองรับเศรษฐกิจช่วงฟื้นฟูในอนาคต
  • มาตรการทางการคลังต้องพยุงเศรษฐกิจโดยไม่ขาดช่วง โดยเฉพาะการเร่งเบิกจ่ายภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสามารถควบคุมการระบาดระลอกใหม่ได้
  • ดำเนินการนโยบายด้านอุปทาน เพื่อปรับรูปแบบธุรกิจและยกระดับทักษะแรงงาน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืน

คณะกรรมการฯ ยังคงให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ รวมถึงจะติดตามความเพียงพอของมาตรการภาครัฐและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะสถานการณ์การระบาดทั้งในและต่างประเทศ ในการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า โดยพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจำเป็น

 

ที่มา : ธนาคารเเห่งประเทศไทย 

]]>
1317719