ยอดใช้จ่าย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 12 Nov 2021 07:12:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 บัตรเครดิตฟื้นตัวปลายปี ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ เร่งดันยอดใช้จ่าย ปล่อยสินเชื่อกลุ่มฟรีเเลนซ์ https://positioningmag.com/1361690 Thu, 11 Nov 2021 16:13:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361690 สัญญาณบวกหลังคลายล็อกดาวน์-เปิดประเทศ หนุน ‘ตลาดบัตรเครดิต’ ฟื้นตัวรับโค้งสุดท้ายของปี คนเริ่มใช้จ่ายหมวดท่องเที่ยว จองโรงเเรมมากขึ้น กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ตั้งเป้าทั้งปีนี้ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเเตะ 2.85 แสนล้าน ลูกค้าใหม่ 3.5 แสนราย รุกปล่อยสินเชื่อออนไลน์จับกลุ่มฟรีเเลนซ์ เน้นใช้ดาต้าทำการตลาด พัฒนานวัตกรรม-เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ดึงลูกค้า 

ณญาณี เผือกขำ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ กล่าวถึงภาพรวมธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ที่ตามปกติเเล้วจะมีการใช้จ่ายมากกว่าช่วงอื่นๆ โดยนโยบายคลายล็อกดาวน์เเละการเปิดประเทศ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในทุกหมวด ภาพรวมการใช้จ่ายผ่านบัตรน่าจะดีขึ้นโดยเฉพาะหมวดช้อปปิ้ง ร้านอาหาร ท่องเที่ยว และโรงแรม

ปล่อยสินเชื่อออนไลน์ ผ่านดาต้า

สำหรับ ‘ตลาดสินเชื่อ’ ในไตรมาสสุดท้ายนี้ ก็มีแนวโน้มขยายตัว ซึ่งมีเทรนด์ที่น่าสนใจคือ สถาบันการเงินทั้งหลายหันมาปล่อยสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และการใช้ ‘ข้อมูลทางเลือก’ ในการวิเคราะห์การปล่อยสินเชื่อกันมากขึ้น

สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการสภาพคล่องในช่วงโควิด-19 รวมทั้งต้องการความสะดวก รวดเร็วในการเข้าถึงบริการสินเชื่อ และช่วยตอบสนองความต้องการสินเชื่อส่วนบุคคลในกลุ่มลูกค้าที่ไม่มีเอกสารแสดงรายได้ เช่น กลุ่มอาชีพอิสระ 

ช้อปออนไลน์เเรงต่อเนื่อง คนเริ่มกลับมาท่องเที่ยว 

โดยธุรกิจของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการด้านบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ทั้ง บัตรเครดิตกรุงศรี, บัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์, บัตรเครดิตเซ็นทรัล เดอะวัน และบัตรเครดิต โลตัส วีซ่า มีผลประกอบการตั้งแต่เดือนมกราคมกันยายน 2564 เติบโตต่อเนื่อง โดยมียอดใช้จ่ายผ่านบัตร 199,000 ล้านบาท ยอดสินเชื่อใหม่ 54,000 ล้านบาท ยอดสินเชื่อคงค้าง 128,000 ล้านบาท

หมวดใช้จ่ายที่เติบโตสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่

1.ช้อปปิ้งออนไลน์และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (+62%)
2.ประกันภัย (+15%)
3.
ตกแต่งบ้านและของใช้ในครัวเรือน (+8%)
4.
ไอทีและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (+7%)
5. ร้านสะดวกซื้อ (+6%) 

หากพิจารณาแนวโน้มพฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านบัตรในเครือของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ พบว่า ยอดใช้จ่ายหมวดช้อปออนไลน์ เดลิเวอรี่ ประกันภัยออนไลน์ จะเติบโตสูง ขณะที่หมวดใช้จ่ายสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ของใช้ในบ้าน ยาและสุขภาพ ยังคงมียอดใช้จ่ายต่อเนื่อง

“ส่วนหมวดท่องเที่ยว เดินทาง และร้านอาหารยังคงได้รับผลกระทบในเชิงลบ เเต่จะเริ่มเห็นสัญญาณบวกหลังคลายล็อกดาวน์ในยอดใช้จ่ายโดยการจองตรงกับโรงแรมในบางจังหวัดท่องเที่ยว” 

ฟีเจอร์ใหม่ดึงดูดลูกค้า 

เมื่อผู้บริโภคหันมาใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ธุรกิจจึงต้องเร่งปรับตัว กรุงศรี คอนซูมเมอร์ มีการปรับกลุยทธ์เพื่อเข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น พร้อมการนำเอานนวัตกรรมใหม่ ๆ มายกระดับผลิตภัณฑ์และบริการ

ทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคลโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล พัฒนาบริการใหม่ในแอปพลิเคชัน UCHOOSE อย่าง

  • U Cash บริการเบิกเงินสดจากวงเงินบัตรผ่านแอป โดยโอนเข้าบัญชีธนาคารหรือพร้อมเพย์
  • UCard บริการรับสมัครบัตรใหม่ผ่านทางแอป
  • UMall นำเสนอดีลพิเศษสำหรับสินค้าจากพันธมิตรของบริษัท
  • การเปิดช่องทางบริการใหม่ทาง Krungsri Consumer Line OA และ Facebook
  • การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น บัตร Krungsri NOW บัตรเครดิตสำหรับชีวิตดิจิทัลที่มอบเครดิตเงินคืน 5% สำหรับการใช้จ่ายออนไลน์
  • บริการยืนยันตัวตนด้วยเสียง พัฒนา AI มะนาว ที่ให้บริการลูกค้าไปเเล้วกว่า 3.2 ล้านสาย เเละบริการสอบถามข้อมูลบัญชีบัตรผ่านทาง FB Messenger
  • บริการ ‘เเตะเพื่อจ่าย’ อำนวยความสะดวกในการใช้บัตร 

อ่านเพิ่มเติม : เทรนด์ Virtual Card มาเเรง กรุงศรี ส่ง ‘บัตร NOW’ จับใจคนรุ่นใหม่ กระตุ้นใช้จ่ายด้วย ‘เเคชเเบ็ก’

ขยายต่ออาเซียน 

กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ยังจะผสานความร่วมมือกับบริษัทในเครือกรุงศรี กรุ๊ปและพันธมิตร เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาด พร้อมกับหาแหล่งรายได้ใหม่ ๆ รวมทั้งขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคอาเซียน ทั้ง สปป.ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และล่าสุดที่เวียดนาม “โดยจะมีการปรับเเผนผ่อนชำระเพิ่มเติม รุกธุรกิจคาร์ฟอร์เเคช สินเชื่อรถยนต์” 

การดำเนินงานจะควบคู่ไปกับการดูแลคุณภาพสินทรัพย์ ด้วยการบริหารความเสี่ยงอย่างรัดกุม และการดูแลช่วยเหลือลูกค้าและพนักงานที่ได้รับผลกระทบ โดยปัจจุบันมีลูกค้าที่ได้รับความช่วยเหลือ 7,000 ล้านบาท กว่า 1 แสนราย

“จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่างๆ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ คาดว่าทั้งปี 2564 จะหนุนยอดใช้จ่ายผ่านบัตร (Spending) อยู่ที่ 2.85 แสนล้านบาท เติบโต 3%  ยอดสินเชื่อใหม่ 76,000 ล้านบาท และยอดสินเชื่อคงค้าง 142,000 ล้านบาท” 

 

]]>
1361690
KTC หั่นเป้ารูดบัตรเหลือ 2 เเสนล้าน ปรับมูฟครึ่งปีหลัง รออัดโปร-แลกพอยต์ คุมเข้มบัตรใหม่ https://positioningmag.com/1340915 Thu, 08 Jul 2021 08:30:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340915 KTC มองโควิดลากยาวฉุดการใช้จ่าย หวังฟื้นตัวได้ช่วงปลายปี หั่นเป้าใช้จ่ายเหลือ 5% หรือราว 2 แสนล้านบาท จากเป้าหมายเดิม 8% หรือ 2.2 แสนล้านบาท เลือกทำการตลาดเฉพาะบุคคลให้ตรงจุดมุ่ง Partnership Marketing ช่วยคู่ค้าอัดโปรฯ แลกพอยต์ กระตุ้นยอดขาย เน้นวงเงินยอดใช้จ่ายไม่สูงแต่ต่อเนื่อง

พิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจบัตรเครดิตบริษัท บัตรกรุงไทย จํากัด (มหาชน) หรือ KTC ให้สัมภาษณ์ว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ยอดรวมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต (Spending) อยู่ที่ 94,000 ล้านบาท เติบโต 4% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เเต่ต่ำกว่าที่คาดไว้

ดังนั้น บริษัทจึงปรับลดเป้ายอดใช้จ่ายบัตรเครดิตทั้งปี 2564 เหลือเติบโตที่ 5% หรือราว 200,000 ล้านบาท จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่ 8% หรือราว 2.2 แสนล้านบาท

ที่ผ่านมา เริ่มเห็นการเติบโตในเดือนเม.. เเต่พอเข้าเดือนพ.. ก็เริ่มกระตุกอีกครั้ง เมื่อต้องเจอโรคระบาดระลอกที่ 3 ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงเดือนมิ.. จากเดิมที่เคยคาดหวังว่าตัวเลขจะเป็นบวกไปเรื่อยๆ เเต่ตอนนี้กลับติดลบ

ต้องยอมรับว่าปัจจัยเหล่านี้ จะกระทบต่อเป้าหมายในช่วงปลายปีของเรา การเจอสถานการณ์เช่นนี้ คงทำให้การหาสมาชิกบัตรใหม่ทำได้ยากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันฐานสมาชิกบัตรเครดิต KTC มีจำนวน 2.5  ล้านใบ สมาชิกบัตรฯ ใหม่ตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 95,000 ใบ จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งปี 230,000 ใบ

พิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – ธุรกิจบัตรเครดิตบริษัท บัตรกรุงไทย จํากัด (มหาชน)

ปกติเเล้ว ช่องทางขยายฐานสมาชิกที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือ ผ่านสาขาธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศ และหน่วยงาน Outsource Sales พนักงานเซลส์จากภายนอก เเต่ในยุคโควิด-19 ต้องเว้นระยะห่าง การไปพบปะลูกค้าทำได้ยากขึ้น รวมไปถึงคุณภาพการเงินของลูกค้าก็ลดลงด้วย

ทั้งนี้ อัตราการอนุมัติบัตรเครดิตใหม่ของ KTC อยู่ที่ 36% ลดลงจากเดิมที่เคยอยู่กว่า 40% โดยยังคงเจาะกลุ่มเป้าหมายหลักคือกลุ่มที่มีรายได้ 30,000 บาทขึ้นไป สัดส่วนสมาชิกอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร 55% และจังหวัดอื่นๆ 45%

เราเชื่อว่าถ้าผ่านพ้นวิกฤตช่วงนี้ไป ยอดบัตรใหม่น่าจะกระเตื้องขึ้น เเต่คิดว่าในช่วงไตรมาส 3 ยังคงไม่ฟื้นตัวได้เร็ว อาจจะค่อยๆ ขยับขึ้นไปรอโอกาสสุดท้ายในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งปกติก็เป็นไฮซีซั่นที่การใช้จ่ายกลับมาอยู่เเล้ว

รูดซื้อ ‘ประกัน’ มากสุด ช้อปออนไลน์-เเต่งบ้านพุ่ง 

สำหรับหมวดหมู่ที่ผู้ถือบัตร KTC นิยมใช้จ่ายมากที่สุด คือหมวดประกัน ซึ่งครองอันดับ 1 มาหลายปีเเล้ว ตามมาด้วยอันดับ 2 อย่างการเติมน้ำมัน

ส่วนอันดับ 3 โตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญคือวาไรตี้สโตร์มาร์เก็ตเพลลสเช่น เช่น Shopee และ Lazada จากเทรนด์การช้อปปิ้งออนไลน์ อันดับ 4 คือ ซูเปอร์มาร์เก็ต เพราะคนซื้อของกักตุนที่บ้านเยอะขึ้น เเละอันดับ 5 คือสุขภาพโรงพยาบาล

ส่วนหมวดเฟอร์นิเจอร์ของตกเเต่งบ้านก็มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ จากการที่หลายคนต้องทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ปรับเปลี่ยนชีวิตมาอยู่บ้านมากขึ้น ขณะที่หมวดการใช้จ่ายที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ก็คือ การท่องเที่ยวเเละแฟชั่น

ปัจจุบันวงเงินใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 6,000 บาทต่อราย ลดลงจากราว 7,000 บาท ส่วนหนึ่งมาจากการใช้บัตรเครดิตเพื่อซื้อสินค้าเล็กๆน้อยๆ ตามร้านสะดวกซื้อและช้อปปิ้งออนไลน์ได้มากขึ้น ต่างจากเดิมที่มักจะใช้ซื้อสินค้าใหญ่ๆ

รอจังหวะอัดโปรฯ-แลกพอยต์ กระตุ้นปลายปี 

สำหรับกลยุทธ์การตลาดธุรกิจบัตรเครดิตครึ่งปีหลังของปี 2564 นั้น จะมีการเปลี่ยนเเปลงไปตามสถานการณ์ โดยเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล เเละยึดหลัก ‘Partnership Marketing’ สร้างความสัมพันธ์กับพันธมิตรให้หลากหลายมากขึ้น

เเต่เดิมเราคิดว่าในไตรมาสที่ 3 จะเริ่มบุกทำการตลาดเเบบเต็มสูบมากขึ้น เเต่พอเจอสถานการณ์เช่นนี้ ทำให้ทีมต้องกลับมาคิดทบทวนใหม่ โดยทุกวันนี้โปรโมชันของเรามีทำไว้รออยู่เเล้ว เพียงเเต่ว่าเมื่อคนยังไม่กล้าออกมา เราก็คงไม่กล้าที่จะทุ่มโปรโมตมากๆ

การตลาดช่วงนี้จึงจะต้องเน้นไปที่การทำความเข้าใจกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น เมื่อการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ยังจำเป็น เเละการสั่งสินค้าออนไลน์กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตไปเเล้ว

ในช่วงที่คนมีความกังวลมากมาย เเบรนด์ต้องสื่อสารให้ตรงกับเขามากกว่าจะไปพูดสารพัดเรื่อง พยายามให้ข่าวสารที่มีประโยชน์เเละไม่รบกวนลูกค้ามาก

มุ่งเน้นกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้สมาชิกเลือกใช้บัตรเครดิตของ KTC เป็นอันดับแรก หรือตั้งเป็น Default Card ที่ใช้เป็นประจำในทุกวัน โดยร่วมกับพันธมิตรมอบสิทธิประโยชน์และใช้จุดแข็งด้านคะแนนสะสมเน้นวงเงินยอดใช้จ่ายไม่สูงแต่ต่อเนื่อง

ทีมการตลาดทำงานใกล้ชิดกับพาร์ตเนอร์ เมื่อพาร์ตเนอร์ต้องการความช่วยเหลือ เราก็ช่วยได้ เช่น ธุรกิจโรงเเรมในกรุงเทพฯ ที่หันมาจับลูกค้าคนไทยเเละขายอาหารมากกว่าห้องพัก ทาง KTC ก็โปรโมตโปรโมชันเเพ็กเกจเมนูอาหารสำหรับคน Work from Home ให้ ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

พร้อมกันนี้ ยังมี KTC U SHOP ซึ่งเป็นบริการขายสินค้าออนไลน์ที่ใช้เป็นช่องทางในการสนับสนุนพันธมิตรและผู้ประกอบการที่สนใจนำเสนอสินค้าให้แก่สมาชิกบัตรฯ ซึ่งสมาชิกสามารถชำระด้วยคะแนน KTC FOREVER หรือบัตรเครดิตเคทีซีได้

ขณะเดียวกัน บริษัทได้พัฒนาศักยภาพของแอปฯ KTC Mobile ให้มีบริการที่สะดวก เน้นใช้งานง่าย และรวดเร็วขึ้น เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของสมาชิกที่คุ้นชินกับการทำรายการแบบออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันมียอดสมาชิกโหลดใช้งาน KTC Mobile แล้ว 1.8 ล้านราย มียอดใช้ทำธุรกรรมสม่ำเสมอ (Active) คิดเป็นประมาณ 75% จากฐานลูกค้าทั้งหมด 2.5 ล้านราย

ในไตรมาส 3 นี้ เราจะนำเสนอน้องกะทิเเชทบอทตัวใหม่ที่จะมาพูดคุยสื่อสารเเละช่วยเหลือลูกค้าด้วย” 

NPL ยังคุมได้ เข้มอนุมัติบัตรใหม่ 

จากกรณีภาครัฐ กำลังจะมีนโยบายปรับเพดานอัตราดอกเบี้ยในกลุ่มสินเชื่อรายย่อยอีกครั้งนั้น KTC คาดว่าไม่ได้รับผลกระทบ เพราะดอกเบี้ยบัตรฯ ได้ถูกปรับลดลงมาที่ระดับ 16% แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ต้องรอความชัดเจนทางธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.)

ด้านคุณภาพสินเชื่อ หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) นั้น ผู้บริหาร KTC มองว่า ณ ขณะนี้ถือว่าอยู่ในระดับที่ควบคุมได้แม้ว่าแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจ โดยในไตรมาส 1 NPL อยู่ที่ 1.4% และขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1.5% ในเดือนพ.. ซึ่งอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับภาพรวมอุตสาหกรรม ที่เดือนเม.. NPL อยู่ที่ 2.3%

การที่ NPL ของเราอยู่ในระดับต่ำได้ ส่วนหนึ่งมาจากการคัดกรองลูกค้าใหม่ที่เข้มงวดและอนุมัติยากขึ้น โดยจะดูที่ความสามารถในการชำระหนี้เป็นหลัก

 

 

]]>
1340915
อินไซต์ ‘บอลยูโร 2020’ ไม่คึกคัก คนไทยใช้จ่ายลด เงินสะพัดต่ำสุดรอบ 10 ปี ความเชื่อมั่นฟื้นช้า https://positioningmag.com/1338309 Tue, 22 Jun 2021 12:15:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338309 บอลยูโร 2020ไม่คึกคัก เจอพิษโควิดซัด คนไทยใช้จ่ายลด เงินสะพัดต่ำสุดในรอบ 10 ปี กว่า 50% ติดตามน้อยถึงไม่สนใจ

จากผลสำรวจของ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถึงพฤติกรรมและการใช้จ่ายของผู้บริโภค ในช่วงมหกรรมฟุตบอลยูโร ปี 2020” จากกลุ่มตัวอย่าง 1,200 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15-18 มิถุนายน 2564 พบว่า

ประชาชนส่วนใหญ่ใช้จ่ายน้อยลงทั้งในส่วนของการใช้จ่ายในระบบและนอกระบบ ผลกระทบหลักๆ มาจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้เงินสะพัดโดยรวมในช่วงการเเข่งขันฟุตบอลยูโร 2020 ลดลงถึง 20.3% ต่ำสุดในรอบ 10 ปี มูลค่าอยู่ที่ 62,440 ล้านบาท โดยเลือกใช้จ่าย 5 อันดับสูงสุดได้เเก่

  • ซื้ออาหาร เครื่องดื่ม 98.1 %
  • ซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ /อุปกรณ์รับสัญญาณ 64%
  • ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า 60.5%
  • ซื้ออุปกรณ์กีฬา 38.9 %
  • เล่นการพนัน 27.5%

เเยกเป็นเงินสะพัดในระบบอย่างการซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์การดูฟุตบอล และอาหารจัดเลี้ยง อยู่ที่ราว 15,200 ล้านบาท ลดลง 15.1%

ส่วนเงินสะพัดนอกระบบ จากการพนันฟุตบอล อยู่ที่ราว 45,800 ล้านบาท ลดลง 22.3% มีเป้าหมายเพื่อต้องการเงินรางวัล มากกว่าแฟชั่นหรือความสนุกสนาน ส่วนใหญ่เลือกเล่นผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด ตามด้วยคนรู้จักแนะนำ

มีการใช้เงินในแต่ละนัดเฉลี่ย 1,000-5,000 บาท โดยที่มาของเงินมาจากเงินออมและรายได้ปกติ

อย่างไรก็ตาม คาดว่าเม็ดเงินที่สะพัดในช่วงฟุตบอลยูโร จะมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมในปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.1% ซึ่งหากดูการขยายตัวเฉพาะไตรมาส 3 จะกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม 0.3% ส่วนการขยายตัวทั้งปีของเศรษฐกิจไทย คาดว่าจะอยู่ในกรอบ 2-2.5%  

จากการสำรวจ ยังพบว่า ประชาชน 50% ติดตามน้อยถึงไม่สนใจ เเละอีก 50% ติดตามเหมือนเดิมและสนใจมากขึ้น

ด้านการติดตามนั้น จะเป็นจากญาติหรือเพื่อน 53.5% โทรทัศน์ 49.8% ตามมาด้วยสื่อโซเชียล 47% เว็บไซต์ 41% หนังสือพิมพ์เเละนิตยสาร 8.3% วิทยุ 1.8% ส่วนใหญ่ติดตามรอบแรกและรอบชิง

โดยทีมที่คนไทยเชียร์มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้เเก่ อังกฤษ โปรตุเกส ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยียม

ส่วนทีมที่คาดจะได้คว้าแชมป์ยูโร 2020 คือ ฝรั่งเศส โปรตุเกส อิตาลี เยอรมัน และเบลเยียม เเละคาดว่าคู่ชิงอันดับแรกคือ อิตาลีฝรั่งเศส อันดับ 2 คือ เบลเยียมฝรั่งเศส อันดับ 3 คือ อิตาลีโปรตุเกส

ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มองว่า สถานการณ์โควิด-19 ที่มียอดการติดเชื้อ และสายพันธุ์เดลต้ายังกระจายอยู่ จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้า และมีผลต่อจิตวิทยาของผู้บริโภค 

หากรัฐกระจายวัคซีนได้ดีขึ้น อาจจะทำให้ผู้บริโภคมีความหวังเเละกลับมากล้าใช้จ่ายอีกครั้ง

ส่วนมาตรการภาครัฐที่เยียวยาประชาชน อย่าง โครงการคนละครึ่งที่ให้วงเงินคนละ 3,000 บาท ยังน้อยไปที่เข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนมาตรการยิ่งใช้ยิ่งได้ก็ยังค่อนข้างอืด

โดยหากเปิดประเทศได้ คาดว่าในช่วงไตรมาส 4 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 1 ล้านคน เม็ดเงินสะพัดราว 5-6 หมื่นล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มได้ประมาณ 0.2-0.3% ซึ่งหากโมเดลภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ได้ผลดีเชื่อว่าจะสร้างความเชื่อมั่นได้

 

]]>
1338309
โควิดระลอก 3 ฉุดยอดบริโภคเอกชนวูบ ใช้จ่ายในประเทศลดลง หวัง ‘ส่งออก’ พยุงเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1335898 Tue, 08 Jun 2021 09:20:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335898 BAY ประเมินโควิดระลอก 3 กระทบเป็นวงกว้าง ฉุดยอดใช้จ่ายในประเทศ การบริโภคเอกชน ‘หดตัว’ ในไตรมาส 2 นักท่องเที่ยวยังอยู่ในระดับต่ำมาก ได้อานิสงส์ส่งออกโต 19.1% ช่วยพยุงเศรษฐกิจ จับตาสัญญาณการผลิตโลกปรับดีขึ้นสูงสุดในรอบ 11 ปี

วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยมุมมองต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยถึงผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สามว่า ได้ฉุดการใช้จ่ายในประเทศเดือนเมษายนให้อ่อนแอลง แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงทรงตัว โดยมีแรงหนุนจากภาคส่งออก

โดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเดือนเมษายนกลับมาหดตัว จากเดือนก่อน (-4.3% MoM sa) ตามการลดลงในทุกหมวดการใช้จ่าย

มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้น กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นลดลง แม้มาตรการภาครัฐจะช่วยพยุงกำลังซื้อภาคครัวเรือนได้บ้าง

ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน หดตัวลงจากเดือนก่อนเช่นกัน (-3.1%) ตามการลดลงในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์สอดคล้องกับความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ปรับลดลงในทุกหมวด

ขณะที่ภาคท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังอยู่ในระดับต่ำมากจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศที่ยังมีอยู่และการท่องเที่ยวในประเทศยังถูกกดดันจากการระบาดรอบใหม่

อย่างไรก็ดี มูลค่าภาคส่งออกยังขยายตัวดีต่อเนื่อง (19.1% YoY) และเมื่อหักการส่งออกทองคำ มูลค่าส่งออกจะยิ่งเติบโตสูงถึง 37% อานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ทำให้การส่งออกปรับดีขึ้นในหลายหมวดสินค้า และช่วยพยุงให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมทรงตัวจากเดือนก่อน

ช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ กิจกรรมเศรษฐกิจของไทย ได้รับผลกระทบที่ ‘กระจายเป็นวงกว้าง’ ไปทั่วประเทศและมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมเกินแสนคน ส่งผลให้การใช้จ่ายในประเทศมีแนวโน้มอ่อนแอลง

“ผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจอาจไม่รุนแรงเท่ากับการระบาดรอบแรก เพราะภาคส่งออกในปีนี้ยังมีทิศทางขยายตัวดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก” 

Photo : Shutterstock

ส่งออก ‘เติบโตดี’ ประคองเศรษฐกิจไทย

ล่าสุด สัญญาณภาคการผลิตของโลกเดือนพฤษภาคม ปรับดีขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี โดยการส่งออกและการผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับดีขึ้นกระจายในหลายสาขา นับเป็นปัจจัยบวกที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้

สำหรับข้อมูลสินค้าส่งออกสูงสุด 20 อันดับแรกของไทย (คิดเป็นสัดส่วน 64.5% ของมูลค่าส่งออกรวม) มีสินค้า 14 รายการ (สัดส่วน 42.3%) ที่มีมูลค่าส่งออกในเดือนล่าสุดอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนเกิดการระบาด (ไตรมาส 4/2562) เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา ผลิตภัณฑ์เคมี เม็ดพลาสติก ฯลฯ

เช่นเดียวกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมในสาขาที่เกี่ยวข้องกับภาคส่งออกมีการปรับดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาดอย่างชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ

คาดครึ่งปีหลัง อัตราเงินเฟ้อ ‘ลดลง’ 

ด้านมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐบาล มีส่วนช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤษภาคม คาดว่าครึ่งปีหลังมีแนวโน้มทยอยชะลอตัวลง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 2.44% YoY ชะลอลงจาก 3.41% ในเดือนเมษายน

อันเป็นผลมาจากมาตรการภาครัฐในการปรับลดค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี รวมทั้งการลดลงของราคาในกลุ่มอาหารสด เนื่องจากการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างของโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้มีการปิดตลาดและสถานประกอบการหลายแห่ง ทำให้กำลังซื้อและปริมาณการบริโภคชะลอตัว

ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (+36.49%) ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก เเละอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน) เดือนพฤษภาคมสะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอลง โดยลดลงอยู่ที่ -0.11% MoM จากเดือนเมษายนที่ +0.14% ปัจจัยชั่วคราวจากผลของฐานที่ต่ำในปีก่อน รวมถึงราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น หนุนให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนเมษายนและพฤษภาคมค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี

อย่างไรก็ตาม ผลของมาตรการภาครัฐที่ช่วยลดค่าครองชีพชั่วคราว (เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน) ช่วยทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปค่อยๆ ทยอยลดลง

สำหรับแนวโน้มในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่อผลของฐานต่ำในปีก่อนหมดลง คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงอย่างชัดเจน แต่คาดว่าจะไม่ติดลบหรือต่ำมากเท่าช่วงต้นปี เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ จากความคืบหน้าของการฉีดวัคซีน ผนวกกับได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้จะอยู่ที่ 1.1%

กระจายวัคซีนเร็ว ดันเศรษฐกิจโลก 

สำหรับสถานการณ์ ‘เศรษฐกิจโลก’ คาดว่าจะ ‘ฟื้นตัวดีขึ้น’ จากปัจจัยหนุนในการกระจายวัคซีนของจีนและสหรัฐฯ ที่มีสัญญาณบวกต่อเนื่อง
ส่วนเฟดจะยังไม่ปรับมาตรการ QE ในปีนี้ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของ GDP โลก แม้ความเร็วในการฟื้นตัวยังมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ
โดยล่าสุดปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP โลกในปี 2564 และปี 2565 เป็นขยายตัว 5.8% และ 4.4% (เดิมคาด 5.6% และ 4.0% ตามลำดับ) เเละมีการปรับเพิ่มประมาณการ GDP สหรัฐฯ ยูโรโซน และจีนที่ 6.9% 4.3% และ 8.5 ตามลำดับ ส่วนญี่ปุ่นนั้นคาดว่าขยายตัวที่ 2.6%
จากความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนซึ่งช่วยให้ภาคธุรกิจทยอยกลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้ง รวมถึงความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐในประเทศหลัก ที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก


เศรษฐกิจสหรัฐฯ
มีการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดแรงงาน ที่ปรับตัวดีขึ้นตามการทยอยเปิดดำเนินกิจกรรมการผลิต โดยประธานสาขาเฟดบางท่านเรียกร้องให้เฟดเริ่มหารือเกี่ยวกับแผนการลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (QE Tapering) ว่าจะดำเนินการอย่างไรและเมื่อใด วิจัยกรุงศรีมองว่า เฟดจะยังคงดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำต่อไป

เศรษฐกิจจีน มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี โดยคาดว่าจะกระจายไปยังฐานที่กว้างขึ้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมภาคการผลิตและบริการเดือนพฤษภาคมของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนแตะระดับ 54.2 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ 53.8 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีฯ นอกภาคการผลิตที่แตะระดับ 55.2 สูงสุดในรอบ 2 เดือน แม้ว่าดัชนีฯ ภาคการผลิตปรับตัวลงสู่ระดับ 51.0 ต่ำสุดในรอบ 3 เดือน

เศรษฐกิจจีนยังคงฟื้นตัวต่อไปสะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมฯ ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 (ค่าดัชนี > 50) แม้ดัชนีฯ ภาคการผลิตจะปรับตัวลงเนื่องจากปัจจัยชั่วคราวจากการขาดแคลนวัตถุดิบและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีฯ นอกภาคการผลิตฟื้นตัวตามการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่ การปรับตัวดีขึ้นของภาคเศรษฐกิจที่นอกเหนือจากด้านการผลิตบ่งชี้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในระยะต่อไปมีแนวโน้มกระจายตัวมากขึ้น

Photo : Shutterstock

“แม้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากแรงส่งในภาคการผลิต การค้า รวมถึงการเริ่มกลับมาใช้จ่ายของผู้บริโภค แต่ยังเผชิญความไม่แน่นอน” 

โดยมีปัจจัยเสี่ยงในด้านต่างๆ ที่ต้องจับตามอง ได้แก่
  • ความรวดเร็วในการกระจายวัคซีนที่ต่างกันในหลายประเทศ เเละความเสี่ยงจากการระบาดระลอกใหม่รวมทั้งการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส
  • การฟื้นตัวยังไม่เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะประเทศที่ต้องพึ่งพาภาคท่องเที่ยวอาจปรับตัวช้ากว่า
  • แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ จากปัจจัยชั่วคราวทั้งฐานต่ำในปีก่อนและต้นทุนที่สูงขึ้น จากการขาดแคลนวัตถุดิบ รวมถึงการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมีผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้นและอาจกระทบต้นทุนทางการเงิน
  • การฟื้นตัวของภาคการผลิตที่ถูกจำกัด โดยปัญหาการชะงักงันและสภาพคอขวดในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งอาจกลายเป็นความเสี่ยงที่กดดันการเติบโตให้ต่ำกว่าศักยภาพ และส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวโดยภาพรวมของโลก

 

]]>
1335898
เเบงก์กรุงเทพ ลุยกลยุทธ์ “ทำบุญ” กระตุ้นรูดบัตร จ่อปรับฐานรายได้กู้บัตรเครดิตเป็น 2.5-3 หมื่นบาท https://positioningmag.com/1307341 Tue, 24 Nov 2020 10:43:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307341 โรคระบาดทำเศรษฐกิจซบเซา คนระวังใช้จ่าย ประหยัดมากขึ้น รูดบัตรเครดิตน้อยลงเเบงก์กรุงเทพขยับเจาะลูกค้าจ่ายตามไลฟ์สไตล์ เน้นดีลซูเปอร์มาร์เก็ตสินค้าในชีวิตประจำวัน ลุยต่อกลยุทธ์กระตุ้นรูดบัตรได้ร่วมทำบุญจ่อปรับเพิ่มรายได้ขั้นต่ำสมัครบัตรเครดิตเป็น 25,000-30,000 บาทต่อเดือน ห่วงกลุ่มหนี้ครัวเรือนสูง 

โชค ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก เพราะภาคการท่องเที่ยวยังไม่กลับมา เเละคาดว่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 12 เดือนจึงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติซึ่งต้องจับตาดูการพัฒนาวัคซีนด้วย

การที่เศรษฐกิจซบเซานั้น ส่งผลกระทบต่อธุรกิจบัตรเครดิตเเละการจับจ่ายใช้สอยของผู้ถือบัตรของธนาคารโดยตรง

ล่าสุด ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตกรุงเทพ ลดลง 11-12% เมื่อเทียบจากปีก่อนดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงล็อกดาวน์ ในเดือนเม..-.. ที่ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรลดลงไปต่ำสุดที่ 16-17% เนื่องจากการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวหายไป

สำหรับเป้าหมายบัตรเครดิตใหม่ของปีนี้ ผู้บริหารเเบงก์กรุงเทพ ยอมรับว่า ไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 2.8 แสนบัตร เพราะปัจจุบันทำได้เพียง 1.8 แสนบัตรเท่านั้น หลักๆ มาผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และคาดว่าสิ้นปีนี้จะทำได้ 2 แสนบัตร ทั้งนี้ ธนาคารกรุงเทพมีฐานลูกค้าบัตรเครดิตทั้งหมดราว 2.5 ล้านราย

ปีหน้าถ้าได้ยอดบัตรใหม่ 2 แสนบัตร เท่ากับปีนี้ก็เก่งแล้ว ส่วนยอดใช้จ่ายมองว่าจะทรงตัวจากปีนี้

โชค ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ

ขยับหาลูกค้า ซื้อของอุปโภค-บริโภค

เมื่อผู้คนต้องประหยัดเเละระมัดระวังการใช้เงินมากขึ้น ทำให้การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตลดน้อยลงไปด้วย ประกอบกับการใช้จ่ายเพื่อท่องเที่ยวต่างประเทศที่เคยเป็นหมวดที่มีการใช้จ่ายสูงหายไป

ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เเบงก์กรุงเทพต้องขยับหันมามุ่งไปส่งเสริมการใช้จ่ายเน้นด้านอุปโภคบริโภครูดบัตรเพื่อซื้อสินค้าเเละการเดินทางในชีวิตประจำวัน

ธนาคารกรุงเทพ จะทำโปรโมชันกับกลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ต เติมน้ำมัน การรักษาพยาบาล เเละการท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มมากขึ้น

เรียกได้ว่า เป็นไปตามเทรนด์ของผู้ให้บริการบัตรเครดิตหลายราย ที่เริ่มหันมาเปิดบัตรใหม่ตามไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมากขึ้น อย่าง บัตรเครดิตช้อปปิ้งออนไลน์ บัตรเครดิตเพื่อตรวจสุขภาพ ฯลฯ

ผู้บริหารเเบงก์กรุงเทพ มองว่า เป็นโอกาสที่ดีในการจะเข้าถึงลูกค้าใหม่เเละตอบโจทย์ลูกค้าเก่ามากขึ้น เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ใช้จ่ายเฉพาะส่วนตามจุดประสงค์มากขึ้น ไม่รูดบัตรเกินเพื่อเผื่อใช้ เเต่คิดว่าจะใช้อย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งยังมีอีกหลายเซกชั่นการใช้ชีวิตที่ธุรกิจบัตรเครดิตจะขยายไปหาลูกค้าได้อีก

“ทำบุญ” กระตุ้นรูดบัตร 

อีกหนึ่งบัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน ทั้งเรื่องสุขภาพเเละการชอบทำบุญของคนไทย ก็คือการ Co- Brand กับโรงพยาบาลศิริราช ที่ทำมาเเล้ว 5 ปี เเละเพิ่งมีการอัพเกรดสิทธิประโยชน์ต่อไปอีก 5 ปี เนื่องจากมีกระเเสตอบรับที่ดี สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 

สำหรับ “บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ทีพีเอ็น แรบบิท ศิริราชจะให้ฟรีประกันอุบัติเหตุ พร้อมค่ารักษาพยาบาล แตะจ่ายได้เหมือนบัตรแรบบิท ขณะที่บัตรเครดิตวีซ่า แพลทินัม ศิริราชให้ผ่อนจ่ายค่ารักษาค่ารักษา 0% นาน 3 เดือนพร้อมส่วนลดคะแนนสะสมเเละตรวจสุขภาพฟรี

โดยทุกยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรดังกล่าว ธนาคารกรุงเทพจะสมทบให้ศิริราช 0.2% ของยอดใช้จ่าย

ปัจจุบัน บัตรร่วมศิริราช มีผู้ถือบัตรรวมกว่า 1.4 ล้านราย มียอดบริจาคของลูกค้าและเงินสมทบธนาคารแก่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล รวมกว่า 275 ล้านบาทในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

การที่เราทำให้ผู้ถือบัตรสามารถเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับในคราวเดียวกัน ทุกครั้งที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตร เป็นการสร้างความแตกต่างจากบัตรอื่น ๆ ในตลาด ตอบโจทย์ผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับการได้มีส่วนช่วยดูแลสังคม หรือการทำดีในแบบที่สามารถจับต้องได้จริง รู้สึกดีเมื่อรู้ว่าทุกการใช้จ่ายของลูกค้า ได้ทำประโยชน์ให้ผู้อื่นด้วย

ผู้บริหารเเบงก์กรุงเทพ บอกอีกว่า บัตรเครดิตที่เเบ่งยอดการใช้จ่ายไปทำบุญเเละช่วยเหลือสังคมนั้น กระตุ้นผู้บริโภคให้ตัดสินใจเลือกหยิบบัตรมาใช้จ่ายง่ายขึ้น เป็นอีกหนึ่งเเนวทางในการเพิ่มยอดใช้จ่ายผ่านบัตรได้ดี โดยเฉพาะในยามเศรษฐกิจไม่เเน่นอน

โชค ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ (ซ้าย) ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (ขวา)

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ธนาคารกรุงเทพมีบัตรเครดิตที่ทำโปรโมชันร่วมทำบุญกับหลายโรงพยาบาล เเต่เป็นไปในลักษณะการเเลกพอยท์ ไม่ได้เป็น Co- Brand เหมือนกับศิริราช โดยคาดหวังว่าจะมีลูกค้าผู้ถือบัตรร่วมศิริราชทั้ง 2 แบบเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านราย ภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า

ต่อไปก็อาจจะมีการพิจารณาร่วมกับโรงพยาบาลอื่นๆ เเต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะออกบัตร Co- Brand ในช่วงเร็วๆ นี้

ปรับรายได้ขั้นต่ำของลูกค้าเป็น 2.5-3 หมื่นต่อเดือน

ส่วนภาพรวมแผนธุรกิจปี 2564 ในเบื้องต้นธนาคารกรุงเทพ จะปรับฐานคุณสมบัติของลูกค้าใหม่เป็นผู้มีรายได้ 25,000 -30,000 บาทต่อเดือน จากเดิมที่มีการพิจารณาปล่อยกู้ บัตรเครดิตอยู่ที่รายได้ราว 20,000 บาทต่อเดือน เพื่อหวังชะลอหนี้ครัวเรือนที่ปัจจุบันคนกลุ่มนี้อยู่ระดับสูง และไม่อยากส่งเสริมให้คนใช้จ่ายเกินตัว

เราจะเน้นไปที่การกระตุ้นการใช้จ่ายบัตรเครดิตกับลูกค้าเดิมเป็นหลัก

จากสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อลูกค้าของธนาคาร โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับภาคท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน โดยล่าสุด มีลูกค้าที่เข้าโครงการพักชำระหนี้ราว 35,000 ราย ส่วนใหญ่สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ มีลูกค้าราว 20-25% ที่ยังต้องการความช่วยเหลือต่อ

โดยธนาคารกรุงเทพ มีมาตรการให้ความช่วยเหลือต่างๆ เช่น ด้วยการพักชำระหนี้ 3 เดือน , คิดดอกเบี้ย 12% จาก 16% และแปลงหนี้บัตรเครดิตเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลา ซึ่งจะมีการประเมินทุกๆ 3 เดือนหากลูกค้ายังไม่สามารถกลับมาชำระได้ก็จะมีการช่วยเหลือต่อไป

ส่วนแนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ภาพรวมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามสภาพที่เป็นไป โดยขณะนี้อยู่ที่ 2.6% จากสิ้นปี 2019 อยู่ที่ 2.15% 

 

]]>
1307341
พิษ COVID-19 คนใช้จ่ายน้อย “กรุงศรีคอนซูมเมอร์” รับธุรกิจบัตรเครดิตปีนี้หดตัว 35-50% https://positioningmag.com/1273490 Thu, 16 Apr 2020 06:07:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273490 ผลกระทบ COVID-19 ทุบยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตวูบ 9.4 หมื่นล้าน คาดทั้งปีติดลบ 35-50% ธุรกิจการบิน ท่องเที่ยวเเละโรงเเรม ระส่ำหนักยอดหาย 100% มองไตรมาส 4 ยังฟื้นยาก “กรุงศรีคอนซูมเมอร์” คลอด 3 มาตรการช่วยลูกค้า พักหนี้-ลดดอกเบี้ยบัตรเครดิตเหลือ 12% สกัด NPL พุ่ง

ท่ามกลางการเเพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในไทยที่เริ่่มรุนเเรงขึ้น จนทางการต้องออกมาตรการ “เคอร์ฟิว” จำกัดเวลาออกจากเคหะสถาน พร้อมสั่งปิดสถานที่ต่างๆ ถ้วนหน้า กระทบการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน สะท้อนยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ลดลงอย่างหนัก

เศรษฐกิจซบยาว COVID-19 ทำคนใช้จ่ายน้อย 

ฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลของบัตรเครดิตกรุงศรี บัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ บัตรเครดิตเซ็นทรัล เดอะวัน และบัตรเครดิตเทสโก้ โลตัส วีซ่า เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เศรษฐกิจไทยซบเซาลงไปมาก
ผู้คนจับจ่ายใช้สอยน้อยลง ทำให้บริษัทได้รับผลกระทบในเเง่ของรายได้

จากการประเมินเบื้องต้น พบว่า ไตรมาสแรกของปี 2563 ที่ผ่านมา ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเคตดิตของกรุงศรีคอนซูมเมอร์ลดลงราว 20% คิดเป็นเม็ดเงินอยู่ที่ 94,000 ล้านบาท ส่วนสินเชื่อบัตรเครดิตลดลง 17% คิดเป็นราว 24,000 ล้านบาท และสินเชื่อส่วนบุคคลลดลง 30%

“หากดูสถานการณ์ในช่วงนี้ คาดว่าในไตรมาสที่ 2/2563 ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจะลดลงถึง 50% เมื่อไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลลดลงไป 30% ซึ่งใน 10 วันแรกของเดือนเม.ย.ยอดลดลงกว่า 50% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เเม้ว่าในไตรมาสที่ 3/2563 สถานการณ์การเเพร่ระบาดดีขึ้นก็คิดว่ายังจะลดลงราว 30% ขณะที่ปลายปีในไตรมาส 4/2563 เเม้ธุรกิจทุกอย่างจะเริ่มกลับมาเปิดให้บริการทั้งหมดเเต่คาดว่าคงกลับมาไม่ได้เท่าปีที่ผ่านมา”

ผู้บริหารกรุงศรีคอนซูมเมอร์ มองว่า โดยรวมยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรตลอดทั้งปี 2563 จะลดลง 35-40% เมื่อเทียบกับปี 2562 หรือในกรณีเลวร้ายสุดจะปรับลดลงถึง 50% จากที่เคยคาดการณ์ว่าการเติบโตของบัตรเครดิตจะเฉลี่ยอยู่ที่ 10% ทุกปี

“ใน 10 วันแรกของเดือน เม.ย. ยอดใบสมัครบัตรเครดิตใหม่ของเราลดลงกว่า 90% บรรยากาศของผู้บริโภคตอนนี้ลดความต้องการในการสมัครบัตรใหม่ลง อาจจะไม่เห็นการเติบโตของลูกค้าบัตรเครดิตใหม่ในปี 2564 คือยังมีอยู่ แต่ไม่ได้โตขึ้นเหมือนปีก่อนๆ ” 

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของ “กรุงศรี คอนซูมเมอร์” ในปี 2562 บริษัทได้อนุมัติบัญชีใหม่ไป 9.78 แสนบัญชี (จากจำนวนใบสมัครทั้งหมด 2.2 ล้านใบ) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 24% โดยมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตรวม 3.3
แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 10% มียอดสินเชื่อใหม่ 1 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% และมียอดสินเชื่อคงค้าง 1.5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 11%

อ่านเพิ่มเติม : ส่องอินไซต์ลูกค้า “บัตรกรุงศรี” กลยุทธ์นำ Data มา “ทำมาหากิน” ใช้ AI ทำการตลาดเเบบใหม่

เเต่ก่อนจะเกิดวิกฤต COVID-19 บริษัทเคยตั้งเป้าหมายยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในปี 2020 ว่าจะเพิ่มขึ้น 8% มาอยู่ที่ 3.55 แสนล้านบาท เเละตั้งเป้ายอดสินเชื่อใหม่ไว้ที่ 1.11 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% พร้อมตั้งเป้ายอดสินเชื่อคงค้างไว้ที่ 1.59 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 6%

“สภาพเศรษฐกิจต่อไปจากนี้จะไม่เหมือนเดิม คาดว่าตลาดจะหดตัวแรง ประเมินจากการที่จะมีคนตกงานจำนวนมากในหลายอุตสาหกรรม ซึ่งปกติแล้วกลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นลูกค้าของบริษัท ทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ เมื่อกลุ่มคนเหล่านี้ไม่มีงานทำก็จะไม่ผ่านการอนุมัติบัตรเครดิต ขณะที่กลุ่มนักศึกษาจบใหม่ ตามปกติเเล้วเมื่อเข้าสู่ตลาดเเรงงานพอมีเงินเดือนก็ต้องการสมัครบัตรเครดิต ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้จะชะลอตัวไป รวมถึงกลุ่มลูกค้าเดิมที่ต้องการสมัครบัตรเพิ่มเติมด้วย” 

สำหรับกลุ่มธุรกิจที่มียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตกรุงศรีฯ ลดลง จากการระบาดของ COVID-19 ช่วงไตรมาส 1 ได้เเก่

1 ) กลุ่มสายกายบินเเละการท่องเที่ยว หายไป 100%
2 ) กลุ่มโรงแรม หายไป 80%
3) กลุ่มที่เกี่ยวกับกีฬาและฟิตเนส หายไป 80%
4) ธุรกิจโรงหนัง หายไป 100%
5) กลุ่มห้างสรรพสินค้า หายไป 60%
6) ธุรกิจร้านอาหาร หายไป 70%

ขณะที่กลุ่มธุรกิจที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตร “เติบโต” ขึ้นคือ กลุ่มช้อปปิ้งออนไลน์ โต 40% กลุ่มสื่อสารเเละอินเทอร์เน็ต โต 36% ร้านขายยา โต 30% ซูเปอร์มาร์เก็ต โต 20% เเละกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาล โต 10%

กำเงินสด-ลดค่าใช้จ่าย-ตัดงบการตลาด 

เมื่อถามถึงกลยุทธ์การบริการธุรกิจให้ฝ่าฟันวิกฤต COVID-19 ไปให้ได้ ฐากรบอกว่า “บริษัทต้องกำเงินสดไว้มากๆ และลดค่าใช้จ่ายลง ช่วงนี้ทำเเค่นี้ก่อนเลย ในช่วงที่ไม่มีรายได้เข้ามามากนักแต่รายจ่ายยังมีอยู่
เราไม่ได้ทำการโปรโมทมากนักเพราะต้องตัดงบการตลาด ก็เลือกทำตลาดออนไลน์ให้ได้ผลเฉพาะจุด อย่างการทำโปรโมตในฟู้ดเดลิเวอรี่ ส่วนการจัดการก็จะมุ่งเน้นการดูเเลคุณภาพหนี้เป็นหลัก”

ขณะเดียวกัน อีกเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญคือ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคลจะเพิ่มสูงมาก ซึ่งสิ้นปี 2562 NPL ของบัตรเครดิตอยู่ที่ 1.05% และ NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 2.4% โดยล่าสุดตอนนี้ NPL บัตรเครดิตเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.6-1.7% สินเชื่อบุคคลเพิ่มขึ้นมาที่ 3.4%

“หากไม่ออกมาตรการมาช่วยเหลือ NPL บัตรเครดิตจะสูงกว่า 3% และสินเชื่อบุคคลสูงกว่า 6%”

เตรียมเงิน 5 หมื่นล้าน ออก 3 มาตรการช่วยลูกหนี้ 

เพื่อเป็นทางเลือกในการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกค้า บริษัทจึงเปิดตัวโครงการ “เราจะก้าวผ่านไปด้วยกัน กับกรุงศรี คอนซูมเมอร์” โดยออก 3 มาตรการพิเศษ ดังนี้

มาตรการที่ 1 : ลดยอดชำระขั้นต่ำต่อเดือน (ลูกค้าได้สิทธิ์ทุกคนโดยอัตโนมัติ)
-ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตจากเดิม 10% เหลือ 5% ตามรอบบัญชีตั้งแต่ 1 เมษายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 สำหรับลูกค้าทุกราย โดยมิต้องติดต่อแจ้งความจำนง
-ผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลจากเดิม 5% เหลือ 3% ตามรอบบัญชีตั้งแต่ 18 มีนาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 สำหรับลูกค้าทุกราย โดยมิต้องติดต่อแจ้งความจำนง

มาตรการที่ 2 : พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน 
ให้กับลูกค้าบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลทุกรายโดยมิต้องแจ้งความจำนง เป็นระยะเวลา 2 รอบบัญชี สำหรับลูกค้าทุกรายที่มีวันครบกำหนดชำระตั้งแต่ 14 เมษายน 2563 ถึง 12 มิถุนายน 2563 โดยดอกเบี้ยยังคงคำนวณตามอัตราปกติแบบลดต้นลดดอก ทั้งนี้ สถานะบัญชีของลูกค้าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เปลี่ยนแปลง

มาตรการที่ 3 : ปรับลดดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ เริ่มต้นเพียง 12% (ลูกค้าต้องลงทะเบียน) สำหรับลูกค้าในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยลูกค้าต้องลงทะเบียนแจ้งความจำนง และจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี

-ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษเหลือ 12% และลดภาระการชำระคืนด้วยการขยายการเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 48 เดือน

-ผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เหลือ 22%
และลดการผ่อนชำระขั้นต่ำเหลือเพียง 3%

มาตรการที่ 3 นี้ เฉพาะลูกค้าในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว หรือธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศของทางราชการ โดยลูกค้าต้องมีบัญชีสินเชื่อกับบริษัทก่อนเดือนมีนาคม 2563
ทั้งนี้ ลูกค้าจะถูกปรับลดวงเงินสินเชื่อฯ ให้คงเหลือเท่ากับยอดสินเชื่อคงค้างที่เข้าร่วมโครงการ

“สำหรับมาตรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษนี้ เชื่อว่าจะมีลูกค้าเข้าร่วมโครงการ 800,000-1.2 ล้านราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อ 40,000 ล้านบาท”

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนรับพิจารณาความช่วยเหลือดังกล่าว ผ่านแอปพลิเคชัน UCHOOSE ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 – 30 มิถุนายน 2563 นี้ โดยบริษัทจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

“เพื่อรองรับมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ออกมาใหม่ในช่วง 2 เดือนของการพักหนี้ บริษัทได้สำรองเงินสดไว้จ่ายให้กับร้านค้าและคู่ค้า 50,000 ล้านบาท ส่วนมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ส่งผลให้รายได้จากดอกเบี้ยหายไป 30%” ฐากรระบุ

อ่านเพิ่มเติม : รวมมิตร 14 ธนาคาร “พักหนี้” ทั้งต้นทั้งดอก 6 เดือน ช่วย SMEs-รายย่อย ฝ่ามรสุม COVID-19

]]>
1273490