วัคซีน พาสปอร์ต – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 06 Sep 2021 08:59:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ญี่ปุ่น เตรียมเปิดใช้ ‘วัคซีนพาสปอร์ต’ เเบบดิจิทัล ภายในเดือนธ.ค.นี้ https://positioningmag.com/1350394 Mon, 06 Sep 2021 05:57:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350394 รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมเปิดใช้งานวัคซีน พาสปอร์ตทางออนไลน์ ภายในเดือนธ..นี้ โดยเป็นหนึ่งในเเผนการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานภาครัฐ ให้เป็นดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

Nikkei Asia รายงานว่า ทางการญี่ปุ่นวางแผนจะใช้ใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แบบดิจิทัล ตั้งแต่กลางเดือนธ.. เป็นต้นไป ซึ่งจะใช้วิธีการสแกน QR code ผ่านแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน เพื่อประมวลผลข้อมูลการฉีดวัคซีนของประชาชนเเต่ละบุคคล

โดยนายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ ซูงะ และคณะรัฐมนตรี จะอนุมัติใช้ วัคซีนพาสปอร์ต อย่างเป็นทางการ หลังการประชุมโครงการส่งเสริมดิจิทัลในช่วงต้นสัปดาห์นี้

ปัจจุบัน รัฐบาลญี่ปุ่นและหน่วยงานเทศบาล ออกใบรับรองการฉีดวัคซีนเป็น ‘เอกสารกระดาษ’ ซึ่งทำให้การใช้งานใบรับรองการฉีดวัคซีนเเบบดิจิทัลจะเน้นไปที่การเดินทางระหว่างประเทศเป็นหลัก มากกว่าการเดินทางภายในประเทศ

สำหรับโครงการวัคซีนพาสปอร์ตนี้ จะอยู่ภายใต้การดูแลของDigital Agency’ หน่วยงานใหม่ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่เพิ่งถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 .. ที่ผ่านมา เพื่อปรับปรุงเเละเปลี่ยนเเปลงระบบการทำงานของท้องถิ่นและรัฐบาลกลางให้เป็นบริการดิจิทัล อย่างเช่น การนำระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เข้าสู่ระบบออนไลน์ ตามนโยบายที่นายกรัฐมนตรีซูงะ ได้ประกาศไว้เมื่อครั้งจะเข้ารับตำเเหน่ง

อย่างไรก็ตาม เมื่อสัปดาห์ที่เเล้ว นายกฯ ซูงะ ประกาศว่า เขาจะไม่ลงเลือกตั้งชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยเสรี (LDP) ที่กำลังจะมีขึ้นในเร็วๆ นี้ ซึ่งเเสดงว่า เขาจะต้องลาออกจากตำเเหน่งนายกรัฐมนตรีไปด้วย หลังจากทำงานมาได้ 1 ปีเท่านั้น ท่ามกลางคะแนนนิยมที่ตกต่ำเหลือไม่ถึง 30% ในวิกฤตโรคระบาดรุนเเรง เเละภารกิจจัดงานเเข่งขันโตเกียวโอลิมปิกที่สิ้นสุดลง

 

ที่มา : Nikkei Asia , CNA 

]]>
1350394
“ไม่ฉีดวัคซีน งดให้บริการ” กระแสใหม่ “ร้านอาหาร-บาร์” ในสหรัฐฯ ผวาเดลตาระบาด https://positioningmag.com/1345260 Wed, 04 Aug 2021 13:02:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345260 หลังไวรัสกลายพันธุ์เดลตาระบาดหนักขึ้นในสหรัฐฯ ทำให้ “ร้านอาหาร-บาร์” จำนวนมากทยอยออกกฎของร้าน หากลูกค้า “ไม่ฉีดวัคซีน งดให้บริการ” ก่อกระแสทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บางร้านถึงกับได้รับคำข่มขู่จากกลุ่ม “ต่อต้านวัคซีน”

ข้อมูลจาก Worldometers ระบุว่า จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ของสหรัฐอเมริกาพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากช่วงเดือนมิถุนายน 2021 มีไม่ถึง 20,000 คนต่อวัน กลับไต่ระดับขึ้นจนล่าสุดวันที่ 3 สิงหาคม 2021 ทะลุ 100,000 คนต่อวันไปแล้ว เนื่องจากไวรัสสายพันธุ์เดลตาแพร่ระบาดหนักขึ้น

แม้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตยังไม่ทะยานขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ธุรกิจ “ร้านอาหาร-บาร์” หลายแห่งในประเทศเริ่มตั้งการ์ดสูงไว้ก่อน ด้วยการออกกฎ “No Vax, No Service” หรือ “ไม่ฉีดวัคซีน งดให้บริการ”

โดยแต่ละร้านมีมาตรการหลักเหมือนกันคือตรวจหลักฐานการฉีดวัคซีนก่อนเข้าร้าน หากยังไม่ฉีดวัคซีนขอสงวนสิทธิ์งดให้บริการ ส่วนรายละเอียดอาจปลีกย่อยอาจแตกต่างกัน เช่น บางร้านอนุญาตให้ใช้ผลตรวจ COVID-19 เป็นลบเมื่อเร็วๆ นี้แทนได้ หรือจัดโซนด้านนอกร้านไว้สำหรับผู้ที่ยังไม่ฉีดวัคซีน

ตัวอย่างร้านที่ออกกฎนี้แล้วหรือเตรียมออกกฎเร็วๆ นี้ เช่น Union Square Hospitality Group เจ้าของเชนร้านเบอร์เกอร์ Shake Shack ซึ่งมีกว่า 230 สาขาทั่วประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในนิวยอร์ก กำลังจะออกกฎให้ลูกค้าต้องฉีดวัคซีนมาแล้ว โดยให้เหตุผลว่าต้องการปกป้องพนักงานและลูกค้า

Shake Shack ร้านเบอร์เกอร์เชนกว่า 230 สาขาในสหรัฐฯ เตรียมออกกฎให้ลูกค้าแสดงหลักฐานฉีดวัคซีนก่อนเข้าร้าน เพื่อปกป้องพนักงานและลูกค้า

หรือกลุ่มผู้ประกอบการที่รวมตัวกันอย่าง SF Bar Owner Alliance มีบาร์ในซานฟรานซิสโกกว่า 300 ร้านเป็นสมาชิก ก็ออกนโยบายตรวจหลักฐานฉีดวัคซีนร่วมกัน

นอกจากนี้ ยังมีร้านอาหารที่ไม่ใช่เชนอีกจำนวนมากทยอยออกกฎตามๆ กันในหลายเมือง เช่น แอตแลนตา ซีแอตเทิล วอชิงตันดีซี ลอสแอนเจลิส บอสตัน โอ๊คแลนด์ ฯลฯ

“นี่เป็นสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลที่สุดที่ผมเคยเห็น” แดนนี่ เมเยอร์ ผู้นำบริษัท Union Square Hospitality Group กล่าว “ผมไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์แต่ผมรู้วิธีอ่านดาต้า และสิ่งที่ผมเห็นคือ นี่เป็นวิกฤตของคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน และผมรู้สึกว่าต้องร่วมรับผิดชอบอย่างแข็งขัน ในฐานะของผู้นำธุรกิจผมต้องดูแลทั้งพนักงานของร้านและลูกค้า และนั่นคือสิ่งที่เรากำลังทำ”

 

มีทั้งคนเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และมีกฎห้ามในบางรัฐ

กระแสตอบรับของลูกค้าและคนทั่วไปมีทั้งสองด้าน ยกตัวอย่างเช่น City Winery ซึ่งเป็นเชนร้านอาหารสไตล์บาร์การแสดงสด มีทั้งหมด 12 สาขาใน 8 เมือง “ไมเคิล ดอร์ฟ” ซีอีโอของบริษัทนี้ระบุว่า เริ่มแรกร้านประกาศกฎ No Vax, No Service เฉพาะสาขาในนิวยอร์ก แต่หลังจากสำรวจความเห็นลูกค้าผ่านทางอีเมลแล้วพบว่า 75% ของกลุ่มลูกค้าเห็นด้วยกับมาตรการของร้าน ทำให้ตัดสินใจบังคับใช้มาตรการกับทุกสาขา

แต่ไม่ใช่ว่ามาตรการทำนองนี้ไม่มีแรงต้าน ยกตัวอย่างเช่น ร้าน Argosy ในแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ประกาศงดบริการคนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน ปรากฏว่าร้านได้รับคำขู่ทางออนไลน์จากกลุ่ม “ต่อต้านวัคซีน” (Anti-Vaxxers) และมีข้อโต้แย้งจากลูกค้าบางกลุ่มที่เห็นว่ามาตรการนี้เป็นการแบ่งแยกกีดกัน แต่เจ้าของร้านยังยืนยันมาตรการ เพราะต้องการปกป้องพนักงานของตนก่อน

ประกาศของร้าน Argosy ในแอตแลนตา

ขณะเดียวกัน มีบางร้านอาหารที่ทำในทางกลับกันด้วย เช่น ร้านอาหารอิตาเลียนแห่งหนึ่งที่ชายหาดฮันทิงตัน แคลิฟอร์เนีย ระบุว่า “กรุณาแสดงหลักฐานว่าไม่ได้ฉีดวัคซีนก่อนเข้าร้าน”

นอกจากนี้ บางรัฐยังมีกฎหมาย “ห้ามแบนผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน” เช่น เท็กซัส ฟลอริดา ด้วย สะท้อนให้เห็นกระแสความคิดของคนที่ต่างกันในแต่ละพื้นที่

 

ในทางกฎหมาย ร้านอาหารทำได้หรือไม่?

นอกจากรัฐที่มีกฎหมายห้ามแบนอย่างเป็นทางการ โดยทั่วไปแล้วร้านอาหารสามารถออกกฎลักษณะนี้ได้หรือไม่?

สำนักข่าว MarketWatch รายงานข้อมูลจากทนายและบริษัทกฎหมายระบุว่า สหรัฐฯ อนุญาตให้บริษัทเอกชนตั้งกฎส่วนตัวได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวข้องกับเรื่องสุขอนามัยเช่นนี้

ร้านอาหารมีการกำหนด Dress Code ในการเข้าใช้บริการ

ที่จริงแล้ว ลองนึกดูว่าร้านอาหารหลายประเภทมีกฎเฉพาะในเรื่องที่มีความสำคัญน้อยกว่านี้ด้วยซ้ำ เช่น ร้านอาหารแบบ Fine Dining หลายแห่งออกกฎให้ผู้ชายต้องสวมสูท ผู้หญิงต้องสวมชุดกระโปรง และห้ามสวมรองเท้าแตะเข้าร้าน หรือร้านอาหารริมหาดอาจจะมีกฎให้ทุกคนต้องสวมเสื้อและรองเท้าก่อนเข้าร้าน เป็นต้น

กลุ่มต่อต้านการฉีดวัคซีน (Anti-Vaxxer) กำลังเป็นประเด็นร้อนในสหรัฐฯ เพราะอาจจะทำให้สหรัฐฯ ไปไม่ถึงเป้าการมีภูมิคุ้มกันหมู่ที่ต้องการ กล่าวคือ ต้องมีผู้รับวัคซีนครบโดสสัดส่วน 70% ขึ้นไป The New York Times รายงานว่า ปัจจุบันตัวเลขผู้ฉีดวัคซีนครบโดสอยู่ที่ 49.7% และค่าเฉลี่ยความเร็วการฉีดขณะนี้อยู่ที่ 681,000 โดสต่อวัน ซึ่งต่ำลงมากเมื่อเทียบกับที่เคยทำได้สูงสุดกว่า 3 ล้านโดสต่อวันในช่วงเดือนเมษายน 2021

ไม่แน่ว่าการใช้ข้อบังคับทางสังคมของร้านอาหารต่างๆ ซึ่งทำให้การใช้ชีวิตสะดวกน้อยลง อาจทำให้กลุ่มที่ยังลังเลต่อการฉีดวัคซีนตัดสินใจได้ง่ายขึ้นก็ได้

Source: MarketWatch, Forbes, Insider

]]>
1345260
เปิดมุมซีอีโอ KBANK มองท่องเที่ยวไทยยุคใหม่ หลังโควิดทุบเงินหาย 2.1 ล้านล้าน รอฟื้นยาว 3 ปี https://positioningmag.com/1325349 Sun, 28 Mar 2021 13:05:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325349 เปิดมุมมองซีอีโอ KBANK กับความท้าทายของการท่องเที่ยวยุคใหม่ ประเมิน 2 เดือนเเรกของปีนี้ ไทยสูญรายได้ท่องเที่ยวไปแล้ว 5.5 หมื่นล้าน คาดรออีก 3 ปีถึงกลับมามีรายได้เเตะ 2.7 ล้านล้านบาท ใกล้ระดับก่อน COVID-19 ในปี 2567 จับตาความคืบหน้าของ ‘วัคซีนพาสปอร์ต’ เเนะผู้ประกอบการเเก้ ‘โจทย์ระยะใกล้’ ประคองธุรกิจให้รอด วางเเผนระยะไกลสู่ ‘การท่องเที่ยวยั่งยืน”  

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เปิดเผยว่า ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา (25512563) เศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกว่าภูมิภาคอาเซียน โดยรายได้จากธุรกิจ ‘ท่องเที่ยว’ เป็นเสมือน ‘ฮีโร่’ ช่วยพยุงเศรษฐกิ

โดยในปี 2562 ธุรกิจท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับประเทศ 3 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึง 18% ของจีดีพีประเทศ ในจำนวนนี้เป็นรายได้ที่มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 12% ของจีดีพี และรายได้จากนักท่องเที่ยวไทย 1 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 6% ของจีดีพี   

“วิกฤต COVID-19 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ธันวาคม 2562 เป็นต้นมา ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวทั่วโลกทรุดตัวต่ำสุดในรอบ 33 ปี” 

Photo : Shutterstock

โดยในปี 2563 รายได้ธุรกิจท่องเที่ยวของไทยหายไปจากระบบเป็นมูลค่ากว่า 2.1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 13% ของจีดีพี ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทั้งระบบตั้งแต่ โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของฝาก ธุรกิจรถเช่า ที่อยู่ในจังหวัดท่องเที่ยว

ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อ COVID-19 ระลอกใหม่เกิดขึ้น ทำให้การฟื้นตัวของธุรกิจช้ากว่าเดิม โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2564 ธุรกิจท่องเที่ยวของไทยสูญเสียรายได้ไปแล้วคิดเป็นมูลค่ากว่า 5.5 หมื่นล้านบาท 

“ธุรกิจท่องเที่ยวไทย จะฟื้นตัวช้ากว่าธุรกิจอื่น คาดว่าอาจจะต้องใช้เวลากว่า 3 ปี หรือประมาณปี 2567 ในการจะฟื้นตัวกลับมามีรายได้ที่ประมาณ 2.ล้านล้านบาท ใกล้เคียงกับที่เคยทำได้ในปี 2562 ที่ ล้านล้านบาท” 

อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับนโยบายการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทย นโยบายการให้ออกมาเที่ยวนอกประเทศของแต่ละประเทศ และความคืบหน้าของการฉีดวัคซีน 

ไทม์ไลน์ฟื้นฟู ‘ภาคท่องเที่ยว’ 

ภาพการฟื้นฟูของภาคการท่องเที่ยวจะแบ่งเป็น 3 เฟส ได้เเก่ 

เฟสที่ 1 : ตลาดไทยเที่ยวไทย จะกลายมาเป็นตลาดหลัก ในช่วงปี 25642565 ช่วยให้สถานการณ์ปรับตัวดีขึ้นกว่าปี 2563

เฟสที่ 2 : การเดินทางในระดับภูมิภาค ที่ใช้เวลาเดินทางสั้น 3-5 ชั่วโมง โดยจะเป็นการเดินทางเพื่อธุรกิจป็นหลัก

เฟสที่ 3: การเดินทางในระดับโลก จะมาเป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งจะเป็นนักท่องเที่ยวจริง ๆ ส่วนการเดินทางเพื่อธุรกิจในกลุ่มนี้ อาจจะลดลงเยอะมากเนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีการติดต่อกันแบบ Virtual ได้ ซึ่งลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง  

จับตา ‘วัคซีนพาสปอร์ต’ ประคองธุรกิจให้รอด

ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะเป็นตัวช่วยให้การท่องเที่ยวฟื้น คือ วัคซีนพาสปอร์ต (Vaccine Passport) แต่อาจจะต้องใช้เวลา ขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีนของคนทั่วโลก การยอมรับในประสิทธิผลของวัคซีน และกระบวนการของประเทศไทยในการรองรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยว             

ขัตติยา เเนะว่า ‘โจทย์ระยะใกล้’ คือ จะทำอย่างไรให้ธุรกิจยังรอด การจ้างงานยังพอไปได้ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถประเมินตนเองได้ด้วยแนวทางเบื้องต้น ดังนี้ 

  • รายได้ ควรลดลงไม่เกิน 70% และมีแหล่งรายได้ที่หลากหลาย สร้างรายได้จากช่องทางอื่นได้ 
  • รายจ่าย บริหารค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับรายได้ โดยมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนน้อยกว่า 65% ของรายได้ 
  • สภาพคล่อง ควรมีเงินทุนหมุนเวียนขั้นต่ำ 6 เดือน และ “คืนทุนแล้ว” โดยเป็นกิจการที่ดำเนินธุรกิจมาจนคืนทุน หรือมีภาระดอกเบี้ยจ่ายต่ำ 

คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยวของไทย ในการพากิจการผ่านช่วงเวลานี้ไปให้ได้ คือ “เจาะตลาดไทยเที่ยวไทย” ด้วยการสร้างประสบการณ์ที่สอดรับกับพฤติกรรมคนไทย สร้างรายได้ทางอื่นด้วยวิธีที่แตกต่าง และบริหารจัดการต้นทุน โดยไม่แข่งขันด้านราคา” 

มุ่งสร้างการ ‘ท่องเที่ยวที่ยั่งยืน’

สำหรับ “โจทย์ระยะไกล” คือ สร้างธุรกิจการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน (Sustainable Tourism) แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างและทรัพยากรต่าง ๆ ที่กระทบขีดความสามารถทางการแข่งขัน กระจายรายได้สู่ชุมชน ธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรมไม่ถูกทำลาย นับเป็นโจทย์ที่ต้องปรับตัวทั้งในนโยบายระดับประเทศ และภาคธุรกิจต้องร่วมมือกัน ในการสร้างความสมดุล ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 

ที่สำคัญคือ ต้องดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน (Sustainable Tourism) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 

1. การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ (New Travel Culture) ปรับตัวจากการแข่งขันด้านราคา (Red Ocean) และเน้นนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ยกระดับไปสู่การท่องเที่ยวคุณภาพ (Blue Ocean) เช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) การท่องเที่ยวด้านการแพทย์ (Medical Tourism) เพื่อเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อหัวให้สูงขึ้น และพัฒนาสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือการอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม (Green Ocean) และตอบโจทย์สังคม (White Ocean

2. การสร้างความร่วมมือ (Collaboration) โดยภาครัฐ เอกชน และชุมชนในการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว สร้างความเข้าใจให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ ใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นสร้างเอกลักษณ์การท่องเที่ยวเฉพาะพื้นที่ และให้ความสำคัญในการดูแลและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ 

3. การใช้เทคโนโลยีและข้อมูล (Digitalization) มาเป็นเครื่องมือเพื่อการท่องเที่ยวเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างแพลตฟอร์มและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจ การทำตลาดที่ทันสถานการณ์ แชร์ข้อมูลแก่ผู้เกี่ยวข้อง อำนวยความสะดวกในการวางแผนการเดินทาง สร้างสังคมออนไลน์ เปิดประสบการณ์ใหม่ในการวางแผนเดินทางท่องเที่ยวและการทำธุรกิจ 

ด้วยรูปแบบธุรกิจการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนข้างต้นจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะนำภาคธุรกิจการท่องเที่ยวไทยไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ให้นักท่องเที่ยวอยู่พักนานขึ้น มีการใช้จ่ายเพื่อท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น กระจายรายได้ท่องเที่ยวสู่เมืองรอง เพิ่มความสะดวกสบายและส่งมอบคุณค่าให้นักท่องเที่ยวได้มากขึ้น เพื่อนำไปสู่การกลับมาเที่ยวซ้ำอีก  

 

]]>
1325349
“ฉีดวัคซีน” แล้วเข้าได้! “ไอซ์แลนด์” ประเทศแรกของ EU ที่เปิดประตูรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก https://positioningmag.com/1324058 Thu, 18 Mar 2021 15:01:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324058 ข่าวดีสำหรับคนอยากล่าแสงเหนือ เพราะประเทศ “ไอซ์แลนด์” เป็นประเทศแรกในสหภาพยุโรป (EU) ที่เปิดรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก หากผ่านการฉีดวัคซีนครบโดสเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ต้องมีใบรับรองที่ออกโดย EU หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) แล้วเท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน WHO ยังไม่ให้การรับรองวัคซีนที่ผลิตโดยจีนและรัสเซีย

ไอซ์แลนด์เป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่เปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก หากได้รับวัคซีนครบโดสเรียบร้อยแล้วสามารถเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องตรวจหาเชื้อ COVID-19 และกักตัว และนับเป็นประเทศแรกของสหภาพยุโรป (EU) ที่เปิดประตูกว้างขึ้น พร้อมต้อนรับชาวโลก

นโยบายเปิดประตูรับนักท่องเที่ยวทั่วโลกของไอซ์แลนด์เริ่มแล้วตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2021 โดยเว็บไซต์ Schengenvisainfo ระบุว่า ตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ของไอซ์แลนด์จะยอมรับใบรับรองการฉีดวัคซีนเพื่อเข้าสู่ไอซ์แลนด์ใน 3 กรณีนี้

– ใบรับรองการเข้ารับการฉีดวัคซีนโดย EU หรือ EEA
– ใบรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า WHO ได้ตรวจสอบและรับรองวัคซีนที่ใช้ฉีดในใบรับรองการฉีดวัคซีนของบุคคลนั้นแล้ว
– ใบรับรองว่าบุคคลนั้นเคยมีเชื้อโรค COVID-19 ในร่างกาย โดยต้องสอดคล้องกับคุณสมบัติที่ “หัวหน้านักระบาดวิทยา” ของประเทศกำหนดไว้ (กรณีนี้คือตรวจสอบแล้วว่า บุคคลนั้นสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเองหลังจากผ่านการติดเชื้อมาก่อน)

ข้อบังคับเหล่านี้ทำให้ต้องไปพลิกลิสต์วัคซีนที่ได้รับการรับรองแล้วจาก WHO พบว่า ปัจจุบันวัคซีนที่ WHO รับรองแล้วยังไม่ได้รวมถึงวัคซีนที่ผลิตโดยประเทศจีนและรัสเซีย นั่นหมายความว่า คนที่ได้รับวัคซีนแล้วแต่เป็นวัคซีนจีนหรือรัสเซียจะยังไม่สามารถเข้าประเทศไอซ์แลนด์ได้ ซึ่งทำให้การเปิดประเทศของไอซ์แลนด์มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เหมือนกันว่ากำลังกีดกันคนบางกลุ่มอยู่หรือไม่

ธารน้ำแข็ง “สกาฟตาเฟล” แหล่งท่องเที่ยวใน “ไอซ์แลนด์”

ที่จริงแล้ว ภาคธุรกิจท่องเที่ยวถือเป็นสัดส่วนน้อยในจีดีพีของประเทศไอซ์แลนด์ โดยคิดเป็นเพียง 3.5% ของจีดีพีประเทศเมื่อปี 2019 อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักท่องเที่ยวสำคัญของไอซ์แลนด์คือสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันราว 41% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด

ดังนั้น เมื่อคนอังกฤษและคนอเมริกันคือหนึ่งในกลุ่มชนชาติที่ได้รับวัคซีนแล้วเป็นจำนวนมาก และเป็นสัดส่วนที่มากยิ่งกว่าค่าเฉลี่ยของประชาชน EU ด้วยซ้ำ ทำให้การตัดสินใจเปิดประตูรับนักเดินทางที่ฉีดวัคซีนแล้วมีความเหมาะสม

 

“กรีซ” จ่อประเทศถัดไป

ขณะที่ EU ยังหารือเพื่อทำระบบวัคซีน พาสปอร์ตร่วมให้ประชาชนใน EU ที่รับวัคซีนแล้วเดินทางได้อิสระในเขต EU โดยวางแผนจะเริ่มใช้ได้ราวกลางเดือนพฤษภาคม ประเทศกรีซได้ขยับไปเร็วกว่าแล้วเพื่อจะเปิดประเทศให้เร็วที่สุด ให้ทันช่วงฤดูใบไม้ผลิที่จะเริ่มต้นเดือนเมษายนนี้ และหน้าไฮซีซันของกรีซซึ่งจะเริ่มในเดือนพฤษภาคม

โดยกรีซมีการเจรจาโครงการ “Green Pass” นำร่องกับ บางประเทศใน EU, อิสราเอล และ สหราชอาณาจักร ให้ประชาชนในประเทศเหล่านั้นที่มี ใบรับรองการฉีดวัคซีน หรือ มีใบรับรองมีภูมิคุ้มกันเนื่องจากผ่านการติดเชื้อ หรือ ผลตรวจปลอดเชื้อ COVID-19 สามารถเดินทางเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องกักตัว แต่ ตม. ของกรีซจะมีการสุ่มตรวจเป็นบางราย

ซานโตรินี่ ประเทศกรีซ (Photo by Aleksandar Pasaric from Pexels)

นอกจากกลุ่มประเทศนำร่อง กรีซยังเดินหน้าเจรจาต่อเนื่องอีก 9 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, เซอร์เบีย, รัสเซีย, ยูเครน, จีน, UAE และ ซาอุดีอาระเบีย เพื่อจะใช้นโยบาย Green Pass แบบเดียวกัน นั่นแปลว่าประเทศกรีซจะอ้าแขนต้อนรับผู้ที่ฉีดวัคซีนจีนและรัสเซียด้วย

ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของพนักงานธุรกิจท่องเที่ยว คนทำงานโรงแรมและการท่องเที่ยวซึ่งมีกว่า 3 แสนคนทั่วประเทศจะได้รับการฉีดวัคซีนก่อนด้วย เพราะกรีซต้องการให้การธุรกิจท่องเที่ยวฟื้นตัวคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของปี 2019

สำหรับธุรกิจท่องเที่ยวไทยก็ยังต้องรอภาครัฐก่อนว่า จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวที่รับวัคซีนแล้วเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัวได้เมื่อไหร่

โดยความเคลื่อนไหวล่าสุดของไทยมีการออกนโยบาย Area Hotel Quarantine คลายล็อกให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาและต้องกักตัว 14 วัน สามารถออกมาพักผ่อนในบริเวณโรงแรมที่กักตัวได้หลังพ้น 3 วันแรก และตรวจไม่พบเชื้อ COVID-19 ซึ่งจะอนุญาตเฉพาะใน 5 จังหวัดก่อน คือ เชียงใหม่, ชลบุรี (เมืองพัทยา), ภูเก็ต, กระบี่ และสุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะเต่า เกาะพะงัน) เริ่มต้นเดือนเมษายนนี้

Source: Forbes, Euronews

]]>
1324058
จีนเริ่มใช้ ‘วัคซีน พาสปอร์ต’ ประเทศเเรกของโลก เเสดงข้อมูลสุขภาพบน WeChat  https://positioningmag.com/1322618 Tue, 09 Mar 2021 10:14:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322618 จีนเริ่มใช้วัคซีน พาสปอร์ตเป็นประเทศเเรกของโลก สำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่วางเเผนจะเดินทางข้ามพรมแดน โดยจะเเสดงข้อมูลสุขภาพบนเเอปพลิเคชัน WeChat 

จากรายงานของ AFP ระบุว่า รัฐบาลจีนได้เปิดตัวโครงการใบรับรองสุขภาพเเบบดิจิทัล สำหรับพลเมืองจีนที่ต้องการเดินทางระหว่างประเทศ โดยจะมีการแสดงสถานะการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 เเละผลการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาของผู้ใช้ ผ่านเเพลตฟอร์ม WeChat โซเชียลมีเดียยอดนิยมของจีน

โฆษกกระทรวงต่างประเทศของจีน กล่าวว่า ใบรับรองดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และอำนวยความสะดวกในการเดินทางข้ามพรมแดน ซึ่งขณะนี้เพิ่งเริ่มใช้กับชาวจีนเท่านั้นและไม่บังคับให้ชาวจีนทุกคนต้องใช้

แม้ว่าใบรับรองสุขภาพเเบบดิจิทัลดังกล่าว จะมีไว้สำหรับการเดินทางเข้าและออกจากประเทศจีน เเต่ตอนนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีประเทศไหนบ้างที่ยอมรับใบรับรองนี้ร่วมกันส่วนทางการจีนเอง ก็ยังไม่ได้ประกาศผ่านปรนมาตรการกักตัว เพื่อดูอาการสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศที่เข้ารับการฉีดวัคซีน

อย่างไรก็ตาม ใบรับรองนี้ถือเป็น Virus Passport หรือ Vaccine Passport ที่มีการเริ่มใช้เป็นรายเเรกของโลก และยังมีบริการในรูปแบบเอกสารกระดาษด้วย

(Photo by Anusak Laowilas/NurPhoto via Getty Images)

ด้านคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เพิ่งเสนอให้มีการออกใบอนุญาตเดินทางระบบดิจิทัล หรือ ‘Digital Green Pass’ เพื่อเปิดพรมเเดนให้ผู้คนเดินทางเเละร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย พร้อมส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศในสหภาพยุโรป โดยคาดว่าจะสามารถเปิดตัวได้ภายใน ‘3 เดือน’ ข้างหน้านี้

ขณะที่เดนมาร์ก’ ประกาศเเผนการใช้ ‘วัคซีน พาสปอร์ต’ เเบบดิจิทัลในช่วงกลางปีนี้ เพื่อฟื้นฟูเศรษกิจ โดยจะเริ่มจากกลุ่มนักธุรกิจและนักลงทุน ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศก่อน จากนั้นจะขยายให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม

ส่วนสหรัฐฯ และอังกฤษ ก็อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพิจารณาใช้ใบรับรองสุขภาพ ที่มีรูปแบบลักษณะเดียวกันนี้ด้วย

สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า โครงการวัคซีน พาสปอร์ตของจีนจะมี QR Code เป็นรหัสที่ช่วยให้แต่ละประเทศได้รับข้อมูลสุขภาพของนักเดินทาง โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลเริ่มใช้รหัส QR สุขภาพในเเอปฯ WeChat และแอปฯสมาร์ทโฟนอื่นๆ ของจีน สำหรับชาวจีนที่ต้องการเดินทางในประเทศและเข้าพื้นที่สาธารณะที่ต้องยืนยันสถานะ

อย่างไรก็ตาม ระบบดังกล่าวทำให้เกิดข้อกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว และเกรงว่าอาจจะเป็นการขยายการเฝ้าระวังความเคลื่อนไหวของประชาชนของรัฐบาลจีน

 

ที่มา : AFP , Nikkei 

]]>
1322618
ความหวัง ‘ท่องเที่ยวไทย’ เร่งฉีดวัคซีนให้ทัน ‘ไฮซีซั่น’ รับต่างชาติ 2 ล้านคน ระวัง ‘หนี้ครัวเรือน’ พุ่ง https://positioningmag.com/1322313 Mon, 08 Mar 2021 08:28:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322313 วัคซีนมาช้ามาเร็ว คือตัวเเปรสำคัญของเศรษฐกิจไทย KBank คงเป้า GDP ปีนี้ไว้ที่ 2.6% แต่ปรับกรอบประมาณการ ‘แคบลง’ เหลือ 0.8-3.0% จากเดิม 0.0-4.5% มองท่องเที่ยวยังฟื้นตัวจำกัด หวังไตรมาสสุดท้าย เร่งกระจายวัคซีนทันเปิดรับนักท่องเที่ยว 2 ล้านคน เอกชนมีโอกาสนำเข้าเอง จับตาคนรายได้ลด ‘หนี้ครัวเรือนหนี้เสียพุ่ง

เร่งฉีดวัคซีนภาคท่องเที่ยว รับ ‘ไฮซีซั่น’ 

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ยังต้องใช้เวลา และช้ากว่าเศรษฐกิจโลกเเละประเทศเพื่อนบ้าน เพราะมีการพึ่งพิงรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติสูง ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าของการกระจายวัคซีน และการเปิดรับนักท่องเที่ยวของไทยเป็นสำคัญ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทิศทางเศรษฐกิจโลกโดยรวม มีทิศทางเป็นบวกมากขึ้น จากการกระจายวัคซีน ซึ่งในเง่ของธุรกิจการท่องเที่ยวเเล้ว จะต้องให้ความสำคัญกับนโยบายของการเดินทางระหว่างประเทศของ 2 ฝั่ง ทั้งการเปิดประเทศรับชาวต่างชาติเเบบไม่ต้องกักตัว (หรือลดวันกักตัว) เเละการใช้วัคซีนพาสปอร์ต

ปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดเส้นทางการฟื้นตัวของตลาดต่างชาติเที่ยวไทยในปี 2564 โดยเฉพาะไตรมาสสุดท้าย ซึ่งเป็นไฮซีซั่น’ (High-season) ของการท่องเที่ยว

เกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ประเมินว่า ว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่นิยมมาเที่ยวไทยจาก 10 ตลาดสำคัญ เช่น จีน ยุโรปตะวันตก สหรัฐฯ รัสเซีย เอเชียและอาเซียนบางประเทศ อาจทำได้ราว 1.9 ล้านคน (ในช่วงปลายปีไฮซีซั่น) ซึ่งเมื่อรวมกับช่วง 9 เดือนแรกของปี จึงเห็นว่าตัวเลข 2 ล้านคนในปี 2564 ยังมีความเป็นไปได้

เเต่ยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าวัคซีนพาสปอร์ตสามารถดำเนินการได้ หรือการเดินทางระหว่างประเทศมีข้อจำกัดน้อยลง

เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ เป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับคนที่ทำงานในภาคท่องเที่ยวไทย ที่จะต้องได้รับวัคซีนก่อน

โดยหากประเมินจากการจ้างงานในธุรกิจโรงแรมในพื้นที่ 20 จังหวัดที่พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติเเล้ว พบว่ามีความต้องการวัคซีนอย่างน้อย 2.2 แสนโดส ก่อนเดือนตุลาคม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวให้ทันช่วงไฮซีซั่น

ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่ 2 ล้านคนยังถือว่าน้อยมาก ดังนั้นธุรกิจท่องเที่ยวยังต้องพึ่งพาไทยเที่ยวไทยไปก่อน เเละกรณีที่ไม่สามารถกระจายวัคซีนได้ตามเวลาที่คาดไว้ได้ ผู้ประกอบการเเละประชาชนก็ยังอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ต้องระมัดระวังเรื่องกระเเสเงินสด พยายามหาช่องทางสร้างรายได้อื่นๆ ทั้งบริการร้านอาหารเเละปล่อยเช่า” 

ส่วนโอกาสที่ภาคเอกชนมีโอกาสจะนำเข้าวัคซีนเองนั้นมองว่า มีความเป็นไปได้ในภาวะหลังจากนี้ โดยภาคเอกชนต้องรวมตัวกัน เพื่อยื่นขออนุญาตกับทางภาครัฐให้ดำเนินการต่อไป

อ่านเพิ่มเติม : KBank ห่วงไทย ‘ฟื้นตัวช้าสุด’ ตามหลังเพื่อนบ้านในอาเซียน โรงแรม 40% เสี่ยงหายจากตลาด

คาด GDP ไทยโต 2.6% ส่งออกดี 

ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ระบุว่า KBank ยังคงประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2564 ไว้ที่ 2.6% ในกรณีพื้นฐาน แต่ปรับกรอบประมาณการจากเดิมที่ 0.0-4.5% มาที่ 0.8%-3.0%

โดยรอบประมาณการใหม่ สะท้อนความเสี่ยงขาลงต่อเศรษฐกิจที่ลดลง คาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วและส่งผลบวกต่อภาพการส่งออกไทยมากขึ้น

ประเด็นเศรษฐกิจสำคัญที่น่าติดตามในปี 2564 เเบ่งเป็นหลักๆ 3 เรื่องได้เเก่

1.การกระจายวัคซีนในประเทศเเละการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

  • ระยะท่ี 1 จํานวน 2 ล้านโดส : ช่วงเดือน ก.. – เม..2564 ใน 10 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
  • ระยะที่ 2 จํานวน 61 ล้านโดส : ช่วงเดือนมิ.. และให้แล้วเสร็จภายใน ปี 2564 เฉลี่ย 10 ล้านโดสต่อเดือน

2.ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเเละเงินเฟ้อ

แนวโน้มราคาน้ํามันดิบในตลาดโลกสูงกว่าที่ประเมิน จากปัจจัยชั่วคราวแหล่งผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ได้รับความเสียหายจากพายุ การปรับลดกำลังการผลิตของ OPEC ในขณะที่การฟื้นตัวที่ดีกว่าท่ี่คาดของเศรษฐกิจโลกจะเป็นตัวหนุนราคาน้ำมันในช่วงท่ี่เหลือของปี

ราคาพลังงานท่ี่สูงขึ้น ส่งผลให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นกว่าที่ประเมิน ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจไทยท่ีมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าเศรษฐกิจโลก

3.มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ (เพิ่มเติม)

เม็ดเงินสําหรับใช้กระตุ้นเศรษฐกิจเหลือราว 3.7 เเสนล้านบาท คาดว่ารัฐจะมีมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจออกมาต่อเนื่องเพื่อประคองการใช้จ่ายในประเทศ จนกว่าจะเริ่มทยอยเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ 

ระวังรายได้ลด ทำ ‘หนี้ครัวเรือน-หนี้เสีย’ พุ่ง 

ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ กล่าวถึงประเด็นเฉพาะหน้าที่ต้องให้ความสำคัญอย่างหนี้ครัวเรือนที่จะยังค้างอยู่ในระดับสูง คนไทยรายได้ลดลงเเละว่างงานจำนวนมาก ทำให้ต้องเเบกรับหนี้สินเเละมีความเสี่ยงเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น

ประเมินว่า หนี้ครัวเรือนไทยจะเพิ่มขึ้นเข้าหาประมาณ 89.5% ต่อ GDP ณ สิ้นปี 2564 ด้วยกรอบ 89.0-91.0% (เทียบกับ 89.2% ณ ส้ินปี 2563)

ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอีก 1-2 ปีข้างหน้า โดยคาดว่า NPL ปีนี้อยู่ที่ 3.3% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสิ้นปี 2563 ซึ่งอยู่ที่ 3.12%

จากผลสํารวจของ KResearch พบว่า สถานะทางการเงินระดับบุคคลถดถอยมากขึ้นในช่วงหลัง COVID-19 โดย 10.8% ของกลุ่มตัวอย่างมีภาวะการเงินเสี่ยงต่อวิกฤต มีรายได้ลด เเต่ค่าใช้จ่ายไม่ลด มีสัดส่วนภาระหน้ีต่อรายได้มากกว่า 50%”

โดยผู้ตอบเเบบสอบถาม กว่า 38.7% ต้องการความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องและเงินช่วยเหลือ อาทิ คนละครึ่ง เราชนะ ฯลฯ ส่วน 26.2% ต้องการมีรายได้ และการมีงานทำ เเละ 23.9% ต้องการต่ออายุมาตรการช่วยเหลือ ของสถาบันการเงินเพิ่มเติม เเละอีก 11.2% ต้องให้คำแนะนำและความรู้ในการแก้หนี้

ภาครัฐ

  • จัดกลุ่มหนี้และมาตรการดูแลเพิ่มเติมในระหว่างที่ภาวะเศรษฐกิจและรายได้ ยังไม่ฟื้นตัวปกติ
  • การปรับดอกเบี้ยที่ค่อยเป็นค่อยไป
  • การออมภาคบังคับและการให้ความรู้และสร้างวินัยทางการเงิน

ภาคธุรกิจ

  • ความสามารถในการบริโภคสินค้าของลูกค้าเดิมลดลง
  • พฤติกรรมการใช้จ่ายเปลี่ยนไป อาทิ ยอดใช้ต่อครั้งเล็กลง การใช้โปรแกรมผ่อนชาระ เป็นภาวะ New Normal
  • ความจำเป็นในการหาตลาดใหม่และกลุ่มลูกค้าใหม่มีมากขึ้น

สถาบันการเงิน

  • จับตาคุณภาพหนี้ โดย NPLs จะยังเป็นประเด็นติดตามอีก 1-2 ปีข้างหน้า
  • การปล่อยสินเชื่อ โดยประเมินจากความสามารถในการจ่ายชำระหนี้
  • การให้ความรู้และสร้างวินัยทางการเงินกับลูกค้า

 

อ่านเพิ่มเติม : โควิดรอบใหม่ ซัดเศรษฐกิจไทย สูญอย่างน้อย 1.6 เเสนล้าน ท่องเที่ยวซึมยาว สะเทือนจ้างงานหลายล้านคน

 

 

 

 

]]>
1322313
EU เสนอใช้ ‘วัคซีน พาสปอร์ต’ กระตุ้นท่องเที่ยวเเบบปลอดภัยทั่วยุโรป ลุ้นเปิดตัวภายใน 3 เดือนนี้ https://positioningmag.com/1321787 Wed, 03 Mar 2021 11:44:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321787 เริ่มมีความคืบหน้าเรื่อยๆ กับการใช้ ‘วัคซีน พาสปอร์ต’ ในยุคหลัง COVID-19 ล่าสุดคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เสนอให้มีการออกใบอนุญาตเดินทางระบบดิจิทัล หรือ ‘Digital Green Pass’ เพื่อเปิดพรมเเดนให้ผู้คนเดินทางเเละร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย พร้อมส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศสมาชิก คาดเปิดตัวภายใน ‘3 เดือนข้างหน้า

ประธาน EC โพสต์ในทวิตเตอร์ว่า ใบอนุญาตเดินทางระบบดิจิทัลนี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตของชาวยุโรป ให้สามารถเดินทางข้ามพรมเเดนสหภาพยุโรปหรือต่างประเทศได้ ทั้งการเดินทางเพื่อทำงาน ติดต่อธุรกิจ หรือท่องเที่ยว

โดยผู้ที่จะได้รับ ‘Digital Green Pass’ จะต้องได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 มาแล้ว เเละมีผลการตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาเป็นลบ ซึ่งจะมีการบันทึกข้อมูลทั้งการฉีดวัคซีน ผลการตรวจ เเละใบรับรองเเพทย์หลังหายจากอาการป่วย โดยจะคำนึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การรักษาความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว

ก่อนหน้านี้เดนมาร์ก’ ประกาศเเผนการใช้ ‘วัคซีน พาสปอร์ต’ เเบบดิจิทัลในช่วงกลางปีนี้ หวังฟื้นฟูเศรษกิจ โดยจะเริ่มจากกลุ่มนักธุรกิจและนักลงทุนที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศก่อน จากนั้นจะขยายให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม ด้านประเทศเพื่อนบ้านอย่างสวีเดน’ ก็กำลังพิจารณาโครงการวัคซีน พาสปอร์ต ในลักษณะที่คล้ายๆ กันกับเดนมาร์ก

โดยอิสราเอลเป็นประเทศที่นำระบบ Green Pass มาใช้สำหรับประชาชนที่ผ่านการฉีดวัคซีนแล้ว ให้พวกเขาสามารถนั่งรับประทานอาหาร เข้าร่วมกิจกรรมที่มีผู้คนพลุกพล่าน อย่างเช่นการแข่งขันกีฬา ชมคอนเสิร์ต ฯลฯ

แนวคิดเรื่องการใช้วัคซีน พาสปอร์ตถูกนำมาหารือในการประชุมของ EU เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คาดว่าหากผ่านความเห็นชอบของประเทศสมาชิกเเล้ว จะสามารถประกาศใช้ได้ภายในช่วง ‘3 เดือนข้างหน้านี้

อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้วัคซีน พาสปอร์ตยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนบางประการเกี่ยวกับประสิทธิผลของการฉีดวัคซีน เช่นเดียวกับสมาชิก EU บางประเทศก็เห็นว่าอาจเร็วเกินไป

ในอีกมุมหนึ่งก็มีความเห็นว่า เป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมที่จะอนุญาตให้เเต่คนที่ฉีดวัคซีนแล้วให้เดินทางไปไหนก็ได้ ส่วนคนที่ยังไม่ได้ฉีด ก็ต้องกักตัวตามมาตรการรัฐที่เข้มงวดต่อไป

 

ที่มา : VOA , Politico 

]]>
1321787
รู้จัก ‘วัคซีน พาสปอร์ต’ อนาคต ‘New Normal’ ของการใช้ชีวิตในยุค COVID-19 https://positioningmag.com/1312807 Mon, 04 Jan 2021 07:59:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312807 บริษัทและกลุ่มเทคโนโลยีหลายแห่งได้เริ่มพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับบุคคลทั่วไป หรือพัฒนาระบบหลังบ้านของตัวเอง เพื่อให้ลูกค้าอัปโหลดรายละเอียดการทดสอบและการฉีดวัคซีน COVID-19 ของตน เพื่อสร้างข้อมูลรับรองดิจิทัลที่ใช้แสดงเมื่อต้องเข้าสู่สถานที่ที่มีความหนาแน่นของคน อาทิ งานคอนเสิร์ต, สนามกีฬา, โรงภาพยนตร์, สำนักงานหรือแม้แต่การเดินทางเข้าประเทศต่าง ๆ

(Photo : มหาวิทยาลัย Oxford)

‘Common Trust Network’ โครงการริเริ่มของ The Commons Project ที่ไม่แสวงหาผลกำไรในเจนีวาและ World Economic Forum ได้ร่วมมือกับสายการบินหลายแห่ง อาทิ Cathay Pacific, JetBlue, Lufthansa, Swiss Airlines, United Airlines และ Virgin Atlantic รวมถึงระบบสุขภาพหลายร้อยระบบทั่วสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอารูบา พัฒนาได้แอปพลิเคชัน ‘CommonPass’ เพื่อให้ผู้ใช้ได้อัพโหลดข้อมูลทางการแพทย์ อาทิ ผลการทดสอบ COVID-19 หรือหลักฐานการ ‘ฉีดวัคซีน COVID-19’ เพื่อสร้างเป็นใบรับรองในรูปแบบคิวอาร์โค้ด ที่สามารถนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่โดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน

“คุณสามารถถูกทดสอบได้ทุกครั้งที่คุณข้ามพรมแดน แต่คุณไม่สามารถรับวัคซีนได้ทุกครั้ง ดังนั้น ใบรับรองจึงเป็นสิ่งจำเป็นจะเป็นที่พิสูจน์ว่าคุณได้รับการฉีดวัคซีนแล้วเพื่อให้ผ่านเข้า-ออกได้สะดวก” Thomas Crampton หัวหน้าเจ้าหน้าที่การตลาดและการสื่อสารของ The Commons Project กล่าว

บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่อย่าง ‘ไอบีเอ็ม (IBM)’ ก็เริ่มดำเนินการเช่นกันพัฒนาแอปของตนเองชื่อ ‘Digital Health Pass’ ซึ่งช่วยให้บริษัทและสถานที่ต่าง ๆ สามารถปรับแต่งตัวบ่งชี้ที่จำเป็นสำหรับการเข้าใช้งาน รวมถึงการทดสอบ COVID-19 การตรวจสอบอุณหภูมิ และบันทึกการฉีดวัคซีน โดยข้อมูลเหล่านั้นจะถูกเก็บไว้ใน Wallet ของมือถือ

ภาพแอปวัคซีน พาสปอร์ตที่ IBM พัฒนา ที่มา CNN

อย่างไรก็ตาม ก่อนจะกลับไปใช้ชีวิตปกติ แนวคิดดังกล่าวต้องเจอกับความท้าทายอย่างใหญ่หลวงโดยเฉพาะปัญหาประสิทธิภาพที่หลากหลายของวัคซีนที่แตกต่าง, ปัญหาความเป็นส่วนตัวไป และการใช้งานที่ไม่ปะติดปะต่อกัน

“มันควรจะทำงานร่วมกันได้ในลักษณะเดียวกับที่อีเมลทำงานร่วมกันได้หมด และประเด็นความเป็นส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเมื่อสามารถสร้างวัคซีนพาสปอร์ตเสร็จแล้ว บริษัทต่าง ๆ จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ใช้จะรู้สึกสบายใจที่จะใช้ เพราะข้อมูลทางการแพทย์ที่ถือเป็นข้อมูลอ่อนไหวส่วนบุคคลต้องได้รับการปกป้องอย่างปลอดภัย”

ทั้งนี้ ตาม Behlendorf คาดการณ์ว่าการเปิดตัวและการนำหนังสือเดินทางวัคซีนมาใช้จะ ‘พร้อมใช้งานในวงกว้าง’ ภายในครึ่งแรกของปี 2564 อย่างไรก็ตาม ดร.Julie Parsonnet ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ระบุว่า เนื่องจากวัคซีนเพิ่งเริ่มใช้งานแต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพในการหยุดการแพร่กระจายของไวรัสอย่างไร ดังนั้นแม้ว่าแอปหนังสือเดินทางวัคซีนจะแสดงให้เห็นว่าคุณได้รับการฉีดวัคซีน แต่ก็ไม่อาจรับประกันได้ว่าคุณจะเข้าร่วมกิจกรรมหรือขึ้นเครื่องบินได้อย่างปลอดภัย

Source

]]>
1312807