วัคซีน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 11 Apr 2023 01:43:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘โมเดอร์นา’ มั่นใจภายในปี 2030 โลกจะมีวัคซีนรักษามะเร็ง-โรคหัวใจ https://positioningmag.com/1427084 Tue, 11 Apr 2023 01:43:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427084 เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี messenger RNA หรือ mRNA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ซึ่งนำไปสู่ยุคทองของวัคซีนแบบใหม่ โดย โมเดอร์นา (Moderna) บริษัทยาและเทคโนโลยีชีวภาพจากสหรัฐอเมริกา เชื่อว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยให้โลกสามารถผลิตวัคซีนที่รักษาได้ทุกโรครวมถึงมะเร็งและโรคหัวใจ

นายแพทย์พอล เบอร์ตัน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของโมเดอร์นา ได้กล่าวกับ เดอะการ์เดียน ว่า ภายในปี 2030 โลกจะมีวัคซีนรักษามะเร็ง โรคหัวใจ รวมถึงโรคอื่น ๆ และมีความเป็นไปได้ที่โมเดอร์นาจะสามารถผลิตวัคซีนดังกล่าวได้ภายใน 5 ปีจากนี้ เนื่องจากความสำเร็จของการพัฒนาวัคซีน COVID-19 แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ว่านักวิจัยสามารถพัฒนาวัคซีนได้เร็วขึ้น หลังจากที่เคยใช้องค์ความรู้งานวิจัย 15 ปีมาพัฒนาวัคซีนภายในเวลาเพียง 12-18 เดือน

ด้วยความเร็วในการพัฒนาดังกล่าว นายแพทย์พอล เบอร์ตัน จึงมั่นใจว่าโลกจะได้เห็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะช่วยสามารถช่วยชีวิตคนได้หลายล้านคน ทั้งนี้ โมเดอร์นาเองก็กำลังพัฒนาวัคซีนมะเร็งที่พุ่งเป้าไปยังเนื้องอกประเภทต่าง ๆ

“ผมคิดว่าสิ่งที่เราได้เรียนรู้ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาคือ เทคโนโลยี mRNA ไม่ได้ใช้ได้กับแค่โรคติดเชื้อหรือกับโควิดเท่านั้น แต่มันใช้ได้กับทุกพื้นที่ของโรค ทั้งกลุ่มโรคมะเร็ง โรคติดเชื้อ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคหายาก”

ก่อนหน้านี้ การผลิตวัคซีนจะใช้โปรตีนของไวรัสหรือใช้ไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนแอ ฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน แต่สำหรับเทคโนโลยี messenger RNA หรือ mRNA จะเป็นการผลิตวัคซีนรูปแบบใหม่ ที่ใช้การฉีดสารพันธุกรรมที่เรียกว่า mRNA หรือ mRNA molecule เข้าไปในร่างกาย ซึ่งจะทำให้ร่างกายสร้างโปรตีนที่มีลักษณะคล้ายหนามของไวรัส แต่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ขึ้นมา และกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานเพื่อต่อสู้กับไวรัสต่อไป

ส่วนในกรณีของวัคซีน mRNA ที่ใช้ต้านมะเร็ง จะเป็นการฉีดวัคซีนให้ผู้ป่วยเพื่อไปกระตุ้นเซลล์ให้สร้างโปรตีนชนิดที่ร่างกายต้องการให้ระบบภูมิต้านทานสร้างขึ้นมา และสามารถโจมตี-ทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกายผู้ป่วยได้โดยไม่ทำลายเซลล์ที่แข็งแรง

Gloved Hand Holding Cancer Vaccine with Syringe on Orange Background

โดยในเดือนกุมภาพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) ได้กำหนดให้วัคซีนมะเร็งเฉพาะบุคคลของโมเดอร์นา เป็นการบำบัดแบบก้าวหน้าร่วมกับยา Keytruda ซึ่งเป็นยาภูมิคุ้มกันบำบัดของเมอร์คสำหรับผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงที่เรียกว่าเมลาโนมา เนื่องจากพบว่า เมื่อใช้วัคซีนร่วมกับ Keytruda สามารถช่วยลดการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งผิวหนังได้ถึง 44%

นายแพทย์พอล เบอร์ตัน ย้ำว่า ความสามารถของ RNA จะช่วยให้สามารถรับมือกับโรคหายากที่ยังไม่มีการรักษา การบำบัดด้วย mRNA รวมถึงโรคติดเชื้อทางเดินหายใจหลายระบบในอนาคตจะสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเพียงครั้งเดียวหรือเพียงเข็มเดียว ไม่ว่าจะเป็น COVID-19, ไข้หวัดใหญ่ และไวรัสทางเดินหายใจ (RSV) โดยไม่ต้องฉีดวัคซีนหลายตัวอีกต่อไป

“ผมคิดว่าเราจะมีการบำบัดด้วย mRNA สำหรับโรคหายากที่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถรักษาได้ และผมคิดว่า 10 ปีนับจากนี้ เราจะเข้าใกล้โลกที่สามารถระบุสาเหตุโรคทางพันธุกรรมได้อย่างแท้จริง ด้วยการใช้เทคโนโลยี mRNA ที่ไปแก้ไขและซ่อมแซม”

Source

]]>
1427084
Citigroup ใช้ไม้เเข็ง ‘no-jab , no job’ เลิกจ้างพนักงานที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนโควิด https://positioningmag.com/1369833 Sun, 09 Jan 2022 10:07:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369833 Citigroup สถาบันการเงินรายใหญ่ของโลก ใช้มาตรการเข้มงวด ‘no-jab , no job’ เลิกจ้างพนักงานที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนโควิด

พนักงาน Citigroup ในสหรัฐอเมริกาที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ภายในวันที่ 14 .. จะต้องถูกพักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง เเละจะถูกยุติสัญญาการจ้างงานภายในสิ้นเดือนนี้

โดยนับเป็นคำเตือนครั้งสุดท้ายหลังบริษัทเริ่มใช้นโยบายบังคับฉีดวัคซีนมาตั้งแต่เดือนต..ปีที่แล้ว อีกทั้งยังระบุให้เป็นข้อกำหนดในการจ้างพนักงานใหม่ด้วย

Citigroup เป็นสถาบันการเงินชั้นนำในวอลล์สตรีทแห่งแรกที่ใช้มาตรการ “no-jab, no job” หรือไม่ฉีดก็ไม่มีงานขณะที่ธนาคารอื่นๆ อย่าง Goldman Sachs , Morgan Stanley และ JPMorgan เเม้จะมีมาตรการเรื่องวัคซีน อย่างการให้พนักงานที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนทำงานจากที่บ้าน แต่ยังไม่มีถึงขั้นไล่ออก 

อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นในช่วงที่อุตสาหกรรมการเงิน กำลังพิจารณาหนทางให้พนักงานสามารถกลับเข้าทำงานในสำนักงานได้อย่างปลอดภัย ท่ามกลางความเสี่ยงของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว 

ก่อนหน้านี้ เอกชนใหญ่รายใหญ่ในสหรัฐฯ เริ่มใช้มาตรการวัคซีนภาพบังคับมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้ง Google และ United Airlines ซึ่งก็มีระดับความเข้มงวดที่แตกต่างกันไป

ปัจจุบันมีพนักงานของ Citigroup กว่า 90% เข้ารับการวัคซีนโควิดเเล้ว ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยบริษัทได้พิจารณาข้อยกเว้นทางการแพทย์ให้พนักงานบางรายที่ไม่อาจเข้ารับวัคซีนได้เป็นกรณีพิเศษ

ในประกาศของ Citigroup ระบุว่า ธนาคารจะปฏิบัติตามนโยบายของการบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำหนดให้พนักงานทุกคนที่ทำงานภายใต้โครงการที่มีการทำสัญญากับรัฐจะต้องฉีดวัคซีนโควิดให้ครบโดส เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐถือเป็นลูกค้ารายใหญ่และสำคัญ

หากคุณไม่ได้รับการฉีดวัคซีน เราขอแนะนำให้คุณรับการฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุด

การฉีดวัคซีนภาคบังคับ กลายเป็นประเด็นที่สร้างความแตกแยกในสหรัฐฯ เช่นเดียวกับในหลายประเทศทั่วโลก หลังจากมีกระเเสต่อต้านอย่างรุนแรงเเละมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงข้อบังคับของอำนาจรัฐบาลและภาคธุรกิจ ที่ถูกมองว่าละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ขณะฝ่ายที่สนับสนุนก็มองว่าการฉีดวัคซีนโควิดนั้น ถือการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อหยุดโรคระบาด

 

ที่มา : Reuters 

 

 

]]>
1369833
เเคนาดา อนุญาตให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด ‘ซิโนฟาร์ม-ซิโนแวค-โควาซิน’ เดินทางเข้าประเทศได้ https://positioningmag.com/1363133 Sun, 21 Nov 2021 03:21:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363133 เเคนาดาอนุญาตให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดของ ซิโนแวค ซิโนฟาร์ม เเละโควาซิน เดินทางเข้าประเทศได้ ตั้งแต่วันที่ 30 .. เป็นต้นไป

โดยเป็นการขยายจากปัจจุบันที่ทางการแคนาดาได้ให้การรับรองเฉพาะผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ของ ไฟเซอร์ โมเดอร์นา จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และแอสตร้าเซเนก้า ซึ่งเป็นวัคซีนที่แคนาดาใช้ฉีดให้ประชาชนในประเทศ

โดยกระทรวงสาธารณสุขของแคนาดา ยังระบุด้วยว่า พลเมืองแคนาดา, ผู้อยู่อาศัยถาวร และผู้ขึ้นทะเบียนภายใต้กฎหมายชนพื้นเมือง รวมไปถึงเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีที่ร่วมเดินทางเเละบุคคลที่มีข้อห้ามทางการแพทย์ในการฉีดวัคซีน ที่เดินทางออกนอกประเทศ ทั้งทางบกหรือทางอากาศ ภายในเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงไม่จำเป็นต้องแสดงหลักฐานการตรวจโควิด-19 เเบบ RT-PCR เมื่อเดินทางกลับประเทศอีกครั้ง โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 30 ..นี้เช่นกัน

นอกจากนี้ นับตั้งแต่วันที่ 15 .. 2565 เป็นต้นไป ผู้เดินทางบางกลุ่ม ซึ่งปัจจุบันได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดในการเข้าประเทศนั้น จะได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าสู่แคนาดาได้เมื่อพวกเขาฉีดวัคซีนป้องกันโควิดครบโดสแล้ว

โดยกลุ่มนี้รวมไปถึงผู้ที่เดินทางเพื่อไปพบกับครอบครัว นักศึกษาต่างชาติ นักกีฬาอาชีพและสมัครเล่น ผู้มีใบอนุญาตทำงานถูกกฎหมาย และพนักงานบริการที่จำเป็นด้านอื่นๆ อย่าง คนขับรถบรรทุก เป็นต้น

Jean-Yves Duclos รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของแคนาดา กล่าวว่า แคนาดากำลังเดินหน้าสู่การเปิดพรมแดนทางเศรษฐกิจและสังคมที่กว้างยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นไปอย่างระมัดระวัง หลังการกระจายวัคซีนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ปัจจุบันแคนาดามียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมราว 1.7 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิต 2.9 หมื่นราย

 

ที่มา : business-standard , canada.ca 

]]>
1363133
นิวซีเเลนด์ มุ่งฉีดวัคซีนโควิดให้ประชาชนครบโดส เเตะ 90% ก่อน ถึงจะยกเลิกล็อกดาวน์ https://positioningmag.com/1357982 Fri, 22 Oct 2021 12:44:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1357982 นายกฯ นิวซีแลนด์ ประกาศเป้าหมายฉีดวัคซีนครบโดสให้ได้ 90% ก่อน ถึงจะยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์อย่างเต็มรูปแบบ

นายกรัฐมนตรีจาซินดา อาร์เดิร์น ระบุว่า เมื่ออัตราการฉีดวัคซีนโควิดครบสองเข็ม ครอบคลุมประชากรอายุ 12 ปีขึ้นไป ไม่น้อยกว่า 90% เเล้ว นิวซีเเลนด์จะยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ทั้งหมด รวมถึงเตรียมเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงต้นปี 2022 นี้ด้วย

โดยรัฐบาลมีเงินช่วยเหลือภาคธุรกิจกิจการต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายจากการล็อกดาวน์ พร้อมเร่งสนับสนุนการฉีดวัคซีนให้ชนเผ่าพื้นเมืองที่ขณะนี้มีอัตราการฉีดน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ ในประเทศ

ปัจจุบัน นิวซีแลนด์มีประชากรทั้งหมดราว 4.8 ล้านคน ระดมฉีดวัคซีนครบโดสไปแล้วกว่า 68% ขณะที่ประชากรราว 86% ได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว โดยนิวซีแลนด์เลือกใช้วัคซีนของ Pfizer–BioNTech เพียงยี่ห้อเดียว

ก่อนหน้านี้ นิวซีเเลนด์ ได้ล้มเลิกกลยุทธ์ ‘Zero-Covid’ พร้อมกับยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ยอดผู้ป่วยโควิดเป็นศูนย์ได้ ท่ามกลางความไม่เเน่นอนของไวรัสกลายพันธุ์ โดยจะหันมาใช้แนวทางอยู่ร่วมกันกับโควิดเเทน และจะผ่อนคลายมาตรการเป็นระยะๆ เมื่ออัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น

ดังนั้น หลังจากเปลี่ยนแนวทาง’ การควบคุมโรคที่ดำเนินมายาวนาน นิวซีเเลนด์จะใช้ ‘วัคซีน’ ป้องกันโควิดมาเป็นตัวสนับสนุนแนวทางใหม่ 

เมื่อเเต่ละพื้นที่มีการฉีดวัคซีนเข็มที่สองทะลุ 90% เเล้ว ผู้คนก็ยังจำเป็นต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีน เพื่อเข้าใช้บริการและสถานที่ชุมนุมต่างๆ อย่าง บาร์ ร้านอาหาร และสถานที่ออกกำลังกาย

ทั้งนี้ ความเข้มงวดในประกาศใช้มาตรการต่างๆ จะเเบ่งตามพื้นที่เป็นสีๆ คือ เขียว ส้มและแดง โดยในพื้นที่สีเขียวบรรดาร้านค้าส่วนใหญ่ จะสามารถเปิดทำการได้ตามปกติ ส่วนพื้นที่สีส้ม ประชาชนอาจจะต้องสวมหน้ากากอนามัยเเละมีการเว้นระยะห่างทางสังคม เเละพื้นที่สีแดงจะมีการควบคุมที่เข้มงวดมากขึ้น เช่นจำกัดการชุมนุม กำหนดเวลาเปิด-ปิดร้าน ฯลฯ

เเละแน่นอนว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนครบสองเข็มแล้ว จะมีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวันน้อยกว่ากลุ่มคนที่ยังฉีดวัคซีนไม่ครบโดส เพราะจะต้องเจอเงื่อนไขทางสังคมต่างๆ ในการใช้ชีวิตนอกบ้านอย่างเลี่ยงไม่ได้ในช่วงวิกฤตโควิด

สำหรับสถานการณ์โควิดในนิวซีเเลนด์ ล่าสุดมียอดผู้ติดเชื้อสะสมราว 5,450 ราย เสียชีวิตแล้ว 28 ราย 

 

ที่มา : Reuters , AFP , ABC News 

 

]]>
1357982
IMF ลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีนี้ ‘โตต่ำกว่า 6%’ เจอมรสุมหนี้พุ่ง เงินเฟ้อ วัคซีนไม่ทั่วถึง https://positioningmag.com/1355243 Wed, 06 Oct 2021 09:24:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355243 IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีนี้โตต่ำกว่า 6%’ หลังเจออุสรรคหลายด้าน ทั้งหนี้สาธารณะที่พุ่งสูง เงินเฟ้อ เเละการกระจายวัคซีนที่ไม่ทั่วถึง

Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการใหญ่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวในงานสัมมนาของมหาวิทยาลัย Bocconi ในอิตาลี ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2020 จะลดลงต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 6% เมื่อเดือนก..ที่ผ่านมา” 

หลักๆ มาจากปัญหาความเสี่ยงเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ อัตราเงินเฟ้อ การกระจายวัคซีน และแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในเเต่ละประเทศที่แตกต่างกัน จากการระบาดของโควิด-19

Georgieva บอกว่า เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว แต่การระบาดใหญ่ทำให้การฟื้นตัวยังอยู่ในวงจำกัด โดยมีอุปสรรคสำคัญที่เกิดจาก ‘Great Vaccination Divide’ ความแตกต่างด้านการกระจายวัคซีน ที่ทำให้หลายประเทศเข้าถึงวัคซีนโควิด ‘น้อยเกินไป’

ในรายงานของ World Economic Outlook ที่จะมีการอัปเดตในสัปดาห์หน้า จะมีการประเมินว่า บรรดาประเทศเศรษฐกิจใหญ่จะสามารถกลับสู่ระดับปกติก่อนเกิดโรคระบาด ได้ภายในปี 2022 แต่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่จะต้องใช้เวลา ‘อีกหลายปี’ ในการฟื้นตัว

สหรัฐฯ เเละจีน ยังคงเป็นกลไกสำคัญในการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ส่วนอิตาลีและยุโรป ก็มีเเนวโน้มที่ดีขึ้นแต่ในพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของโลก กลับมีการเติบโตได้ช้าลงมาก

หนี้พุ่ง เงินเฟ้อยืดเยื้อ

หนี้สินที่พุ่งสูง ราคาอาหารที่เเพงขึ้น และการขาดเเคลนวัคซีนเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เเละอาจสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่าล้านล้านหากประเทศเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้

ขณะเดียวกันปัญหาภาระหนี้ทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 100% ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมของโลก ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงสำคัญ

Georgieva มองว่า เเม้ระดับหนี้สาธารณะของภูมิภาคยุโรป จะอยู่ในระดับสูงจ แต่เศรษฐกิจโดยรวมก็จะสามารถเติบโตได้ อีกทั้งนโยบายต่างๆ ของยุโรปก็ยังพยายามจะหลีกเลี่ยงวิกฤตหนี้สาธารณะที่เคยเกิดขึ้น เมื่อช่วงปี 2007-2008 ด้วย

ส่วนอัตราเงินเฟ้อที่ยืดเยื้อในหลายประเทศ อาจทำให้ธนาคารกลางของเเต่ละประเทศ ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อควบคุมเงินเฟ้อไว้ ซึ่งจะกระทบต่อเเผนกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงหลังวิกฤตโควิดได้ และเสี่ยงทำให้มูลค่าสินทรัพย์บางอย่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

เร่งส่งมอบวัคซีนให้ประเทศยากจน 

พร้อมกันนี้ IMF ยังเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวย เพิ่มการส่งมอบวัคซีน ไปยังประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น รวมไปถึงยกเลิกข้อจำกัดทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคโควิด-19

ปัจจุบันผู้คนเกือบ 46% ทั่วโลกได้รับวัคซีนโควิดเเล้วอย่างน้อยหนึ่งโดส แต่อัตราดังกล่าวคิดเป็นเพียง 2.3% ของผู้ที่อยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ ตามรายงานของ Our World in Data มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด

โดยความเหลื่อมล้ำในฉีดวัคซีนระหว่างกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่ยากจน อาจฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ GDP ทั่วโลกสูญเสียสะสมกว่า 5.3 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง 5 ปีข้างหน้า

Photo : Shutterstock

สำหรับประเด็นสิ่งเเวดล้อม กรรมการผู้จัดการใหญ่ IMF ขอให้ประเทศต่างๆ ร่วมมือกันแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง โดยควรหันมาสนับสนุนพลังงานสะอาดพลังงานหมุนเวียน สร้างเครือข่ายไฟฟ้ารูปแบบใหม่ เเละมุ่งลดมลพิษจากคาร์บอน

แนวทางนี้จะช่วยเพิ่ม GDP ของโลกได้ราว 2% ในชาวงทศวรรษนี้ และสร้างงานได้อีกราว 30 ล้านตำแหน่งทั่วโลก

ส่วนประเด็นสกุลเงินดิจิทัลกรรมการผู้จัดการใหญ่ IMF บอกว่า สกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกลางเป็นรูปแบบเงินดิจิทัลที่น่าเชื่อถือที่สุด ส่วนสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ อย่าง Bitcoin นั้น เป็นเรื่องยากที่จะคิดว่าสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้จะเป็นเงินได้

 

ที่มา : CNA , Reuters  

]]>
1355243
กว่า 50 ประเทศ ‘พลาดเป้า’ ฉีดวัคซีนโควิดยังไม่ถึง 10% ตามที่ WHO หวังไว้ https://positioningmag.com/1354599 Sun, 03 Oct 2021 09:04:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1354599 กว่า 50 ประเทศทั่วโลกพลาดเป้าที่จะฉีดวัคซีนป้องกันโควิดครบโดส ให้ได้อย่างน้อย 10% ของประชากร ภายในเดือนก.. ตามที่องค์การอนามัยโลกเคยตั้งความหวังไว้

สะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงวัคซีนระหว่างประเทศร่ำรวยยากจนชัดเจนขึ้น รวมไปถึงปัญหาความล่าช้าของโครงการ Covax

โดยประเทศที่พลาดเป้าหมายส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเเอฟริกา ที่มีอัตราการฉีดวัคซีนครบสองเข็มเเล้วเเค่ 4.4% เท่านั้น

ขณะที่สหราชอาณาจักร เกือบ 66% ของประชากรทั้งหมดได้รับการฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วน ส่วนสหภาพยุโรปฉีดไปได้เเล้ว 62% และในสหรัฐอเมริกาที่ 55%

จะเห็นได้ว่าประเทศส่วนใหญ่ที่ฉีดวัคซีนได้ล่าช้า มักจะเป็นประเทศรายได้ต่ำ เผชิญปัญหาด้านการจัดหาวัคซีน หรือบางประเทศก็มีความขัดเเย้งหรือสงครามกลางเมือง อย่าง เยเมน ซีเรีย อิรัก อัฟกานิสถาน และเมียนมา อีกทั้งประเทศอื่นๆ อย่าง เฮติ ก็ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ซึ่งทำให้การกระจายวัคซีนเป็นเรื่องที่ยากมาก

เเต่นั้นก็ไม่ใช่ทั้งหมด ยังมีบางเเห่งถือว่ามีฐานะร่ำรวยเเละมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างไต้หวัน ที่เผชิญปัญหาการส่งมอบที่ล่าช้าเเละปัญหาอื่นๆ อย่างความขัดเเย้งทางการเมือง ทำให้จนถึงขณะนี้มีอัตราประชากรได้รับวัคซีนโควิดครบสองโดสเเล้วยังไม่ถึง 10%

เช่นเดียวกับเวียดนาม ประเทศตลาดเกิดใหม่ ที่เคยมียอดผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับต่ำเเห่งหนึ่งของโลก จนกระทั่งต้องเจอการระบาดระลอกใหม่ที่ต้องคุมเข้มมาตรการล็อกดาวน์จนต้องปิดโรงงานผลิตไปจำนวนมาก เเละตอนนี้ก็ยังฉีดวัคซีนครบโดสได้ไม่ถึง 10%

ในทวีปแอฟริกา มีเพียง 15 จาก 54 ประเทศที่สามารถบรรลุเป้าหมาย 10% ได้ ขณะที่ยังมีประเทศกว่าครึ่งหนึ่งของทวีปนี้ที่ได้รับวัคซีนน้อยกว่า 2% ของประชากรทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้นยังมี 2 ประเทศอย่าง บุรุนดีเเละเอริเทรีย ที่ยังไม่เริ่มโครงการฉีดวัควีนด้วยซ้ำ

ส่วนประเทศขนาดใหญ่บางประเทศ ที่มีประชากรจำนวนมากก็ไม่ได้บรรลุเป้าหมายนี้มากนัก โดยอียิปต์ มีประชาชนเพียง 5% ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว ส่วนเอธิโอเปียและไนจีเรียต่างมีไม่ถึง 3%

หลายประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีนในอัตราที่สูง อยู่ในกลุ่มที่มีรายได้สูงหรือปานกลาง และสามารถจัดหาวัคซีนโดยตรงจากผู้ผลิต” Matshidiso Moeti ผู้อำนวยการภูมิภาค WHO Africa กล่าว

เมื่อต้นปัที่ผ่านมา ประเทศยากจนต่างๆ ประสบปัญหาความล่าช้าในการรับวัคซีนบริจาคผ่าน Covax ขององค์การอนามัยโลก แต่สถานการณ์เริ่มดีขึ้นในเดือนก..และส..

โดยปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของโครงการ Covax คือหลายประเทศในแอฟริกา กำลังพึ่งพาวัคซีนจาก Serum Institute of India ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดของโลก

อินเดียระงับการส่งออกวัคซีนในเดือนเม.. เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเร่งด่วนในประเทศ หลังมียอดติดเชื้อพุ่งสูง และผู้ผลิตรายอื่นๆ ก็ต่างประสบปัญหาในการผลิตที่เพิ่มขึ้น

ขณะที่วัคซีนที่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ชาติ (G7) รวมถึงอียู ให้คำมั่นว่าจะให้มากกว่า 1,000 ล้านโดสให้กับโครงการ Covax เเต่ตอนนี้ยังมีการส่งมอบน้อยกว่า 15% ดังนั้นเป้าหมายการฉีดวัคซีนครบโดสให้ได้ 40% ของประชากรโลกภายในสิ้นปีขององค์การอนามัยโลกก็ยิ่งจะทำได้ยากขึ้น

 

 

ที่มา : BBC 

 

]]>
1354599
สหรัฐฯ เตรียมอนุมัติใช้วัคซีนของ ‘ไฟเซอร์’ ในเด็กอายุ 5-11 ปี คาดเร็วสุดในสิ้นเดือนต.ค.นี้ https://positioningmag.com/1351395 Sun, 12 Sep 2021 12:07:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351395 สหรัฐฯ เตรียมอนุมัติใช้วัคซีนต้านโควิดของไฟเซอร์ไบออนเทคในกลุ่มเด็กอายุ 5-11 ปี คาดเร็วสุดในสิ้นเดือนต..นี้

สำนักข่าว Reuters รายงานโดยอ้างเเหล่งข่าวที่เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับสูง บอกว่า วัคซีนของไฟเซอร์ไบออนเทค’ (Pfizer-BioNTech) จะมีข้อมูลการทดลองทางคลินิกเพียงพอ ที่จะขออนุมัติการใช้วัคซีนในภาวะฉุกเฉิน (EUA) เพื่อใช้สำหรับกลุ่มเด็กอายุ 5-11 ปีในช่วงปลายเดือนนี้

โดยหากไทม์ไลน์การยื่นขออนุมัติวัคซีนดังกล่าวตรงกำหนดประเมินว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ จะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ในการตัดสินใจ ว่ามีความปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งหากผ่านการตรวจสอบจะสามารถนำไปฉีดให้เเก่เด็กวัยดังกล่าวได้เร็วที่สุดในช่วงสิ้นเดือนต.ค.

ทั้งนี้ ไฟเซอร์ ผ่านการอนุมัติให้ใช้วัคซีนสำหรับกลุ่มเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปแล้ว

ชาวอเมริกันหลายล้านคน ตั้งตารอการอนุมัติใช้วัคซีนสำหรับเด็กเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ ผู้ปกครองที่บุตรหลาน เริ่มเปิดเทอมในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางโรคระบาดที่ยังรุนแรง จากตัวแปรสำคัญคือสายพันธุ์เดลตาซึ่งทำให้ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งกระฉูด โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน

ด้าน ไบออนเทค ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์กับไฟเซอร์ เปิดเผยกับ Der Spiegel สื่อเยอรมนี คาดว่า บริษัทจะยื่นคำร้องถึงคณะผู้ควบคุมกฎระเบียบทั่วโลก เพื่อขอใช้วัคซีนโควิด-19 ในเด็กอายุตั้งเเต่ 5 ขวบขึ้นไปในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมเพื่อยื่นขออนุมัติ

 

 

ที่มา : Reuters , CNBC 

 

 

]]>
1351395
สิงคโปร์ แจกฟรี ‘ชุดตรวจโควิด’ เเบบ ART ส่งทางไปรษณีย์ถึงบ้าน เร่งฉีดวัคซีนได้ 80% เเล้ว https://positioningmag.com/1349054 Sun, 29 Aug 2021 11:03:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349054 สิงคโปร์ เริ่มเเจกฟรีชุดตรวจโควิดด้วยตนเองแบบเร่งด่วน หรือ Antigen Rapid Test (ART) ให้ประชาชนทุกคน ‘ครัวเรือนละ 6 ชุดผ่านช่องทางไปรษณีย์ พร้อมคู่มือวิธีการใช้และการทิ้งอย่างเหมาะสม หวังช่วยนักเรียนกลับไปเรียนที่โรงเรียนได้อีกครั้ง หลังสามารถฉีดวัคซีนได้ทะลุ 80% เเล้ว 

โครงการนี้จะดำเนินไปถึงวันที่ 27 .. 2564 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ยกระดับการตรวจเชื้อโควิด-19 ในประเทศ

นอกจากจะจัดส่งชุดตรวจโควิดไปให้ทุกครัวเรือนเเล้ว รัฐบาลสิงคโปร์จะทำการแจกชุดตรวจ ART แก่นักเรียน และเจ้าหน้าที่ทุกคนในโรงเรียนอนุบาล, ศูนย์กระตุ้นการพัฒนา, โรงเรียนประถม และโรงเรียนสอนพิเศษ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อีกคนละ 3 ชุด โดยจะเริ่มจัดส่งตั้งแต่ 13 .. เป็นต้นไป

โดยการตรวจเชื้อในทันทีด้วยชุดตรวจ Antigen Rapid Test นี้ จะเป็นมาตรการหลักในการควบคุมการระบาดของโควิด โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนอนุบาลที่ยังไม่สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดได้ ให้มีความปลอดภัยในการกลับไปเรียนที่โรงเรียน

สำหรับการส่งชุดตรวจ ART ทางไปรษณีย์สิงคโปร์ จะดำเนินการจัดส่งโดยตรงที่ตู้ไปรษณีย์ของประชาชนแต่ละครัวเรือน ซึ่งประชาชนสามารถตรวจสอบสถานะได้ ผ่านทางแอปพลิเคชัน SingPost

เเละหากประชาชนมีความต้องการใช้ ART มากกว่า 6 ชุดจะต้องหาชื้อเอง โดยตอนนี้ มีวางขายตามร้านขายยาร้านทั่วไป ร้านค้าปลีกในชุมชน หรือซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ก็ได้

ท่ามกลางมาตรการเชิงรุกเพื่อสกัดโควิด-19 สิงคโปร์กำลังค่อยๆ เปลี่ยนผ่านเข้าสู่การผ่อนปรนมากขึ้น โดยจะหันมาเน้นไปที่ความรับผิดชอบส่วนบุคคลเเละความรับผิดชอบทางสังคม ตรวจหาเชื้อด้วยตนเองและการเฝ้าระวังดูเเลสุขภาพของตนเอง

โดยหลังจากบรรลุเป้าหมายกระจายฉีดวัคซีนโควิดให้ครอบคลุมประชากร 80% ในสิ้นเดือนนี้เเล้ว ทางการสิงคโปร์จะเริ่มปิดศูนย์ฉีดวัคซีน 4 แห่งจากทั้งหมด 37 แห่ง เพื่อปรับกลับมาให้บริการทางสาธารณสุขตามปกติ เเละอาจปูทางไปสู่นโยบายเปิดประเทศได้ในเร็วๆ นี้

 

 

ที่มา : CNA 

 

]]>
1349054
วิจัยกรุงศรี ประเมิน ยอดติดเชื้อโควิด สูงสุด 26,000 คน/วัน ในต้นเดือนก.ย.นี้ กรณีเลวร้าย อาจเสียชีวิตพุ่ง 250-300 คน/วัน https://positioningmag.com/1347391 Tue, 17 Aug 2021 11:34:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347391 วิจัยกรุงศรี ประเมินยอดติดเชื้อโควิด เเตะสูงสุด 26,000 คนต่อวัน ภายในต้นเดือนก.ย.นี้ กรณีเลวร้าย ยอดเสียชีวิตอาจพุ่ง 250-300 คนต่อวัน มองรัฐขยายมาตรการล็อกดาวน์เข้มงวด ยาวถึงกลางเดือนต.ค. 

ศูนย์วิจัยกรุงศรี เผยแบบจำลองวิเคราะห์การแพร่ระบาดของโควิดระลอก 3 ในไทย ล่าสุด ณ วันที่ 15 ส.ค. 64 จากสมมติฐานที่ผลของการล็อกดาวน์และวัคซีน มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันการแพร่ระบาดที่ลดลง

โดยระบุว่า ในกรณีฐาน (Base Case) ที่ถูกเลื่อนออกไปเป็นช่วงต้นเดือนก.ย. (จากเดิมช่วงกลางเดือนส.ค.) อัตราการติดเชื้อรายวัน จะเเตะ ‘จุดสูงสุด’ ในต้นเดือนก.ย. ที่จะมีผู้ติดเชื้อสูงสุดอยู่ที่ 26,000 คนต่อวัน จากนั้นยอดผู้ติดเชื้อจะทยอยปรับตัวลดลง

ทั้งนี้ ในกรณีฐาน ประเมินภายใต้สมมติฐานที่ว่า ไทยสามารถฉีดวัคซีนได้อย่างน้อย 250,000 โดสต่อวัน หรือ 55 ล้านโดสภายในสิ้นปี 64 ประสิทธิภาพวัคซีนอยู่ที่ 50% และการล็อกดาวน์ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา สามารถควบคุมการระบาดได้ 40% ของการล็อกดาวน์ในเดือนเม.ย. 63

ส่วนกรณีเลวร้าย (Worst Case) อัตราการติดเชื้อต่อวันจะเพิ่มสูงกว่า 26,000 คน เเละจำนวนผู้เสียชีวิตต่อวัน จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงประมาณต้นถึงกลางเดือนก.ย. สูงถึง 250-300 คนต่อวัน

ทั้งนี้ ในกรณีเลวร้าย ประเมินภายใต้สมมติฐานที่ว่า ไทยสามารถฉีดวัคซีนได้อย่างน้อย 250,000 โดสต่อวัน หรือ 55 ล้านโดสภายในสิ้นปี 64 แต่ประสิทธิภาพของวัคซีนอยู่ที่ 40% และการล็อกดาวน์ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา สามารถควบคุมการระบาดได้เเค่ 25% ของการล็อกดาวน์ในเดือนเม.ย. 63

จากข้อมูลทางสถิติพบว่า แม้วัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็สามารถป้องกันอัตราการเสียชีวิตได้พอสมควร ดังนั้นในระยะต่อไป จำนวนผู้ติดเชื้ออาจจะยังคงอยู่ในระดับสูง แต่อัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงได้ หากมีผู้ฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นถึงระดับหนึ่งแล้ว

ทางวิจัยกรุงศรี คาดว่า การควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเข้มงวดของภาครัฐ อาจจะยังคงมีต่อไปจนกว่าจะพ้นกลางเดือนต.ค. ที่อัตราการเสียชีวิตเริ่มจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยจะต้องติดตามปัจจัยเพิ่มเติมในช่วงหลังจากนี้อีกครั้ง

หากมาตรการล็อกดาวน์ขยายเวลาต่อไปจนถึงเดือนต.ค. วิจัยกรุงศรีจะคงประมาณการ GDP ไทยปีนี้ไว้ที่ 1.2% ลดลงจากเดิมที่เคยคาดไว้ที่ 2%

เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มอ่อนแอลงจากครึ่งปีแรกอย่างชัดเจน เเละประมาณการ GDP ปีนี้ ที่วิจัยกรุงศรีคาดไว้ว่าจะเติบโตที่ 1.2% นั้น ยังเผชิญความเสี่ยงขาลงมากขึ้น หากมาตรการทางการคลังและการเงินที่กำลังจะออกมาไม่มากเพียงพอที่จะบรรเทาผลเชิงลบได้

 

 

]]>
1347391
สภาพัฒน์ หั่นเป้าจีดีพีไทย ปี 64 เหลือ 0.7-1.2% ฟื้นตัว ‘อย่างช้าๆ’ ต้องเร่งคุมการระบาด https://positioningmag.com/1346823 Mon, 16 Aug 2021 05:33:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346823 สภาพัฒน์ฯ เเถลงจีดีพีไตรมาส 2 ขยายตัว 7.5% จากฐานที่ต่ำเเละอานิสงส์ส่งออก มองเศรษฐฏิจไทยยังไม่ถดถอยในทางเทคนิค เเต่กำลังขยายตัวลดลงเรื่อยๆ เเละมีเเนวโน้มฟื้นตัว ‘อย่างช้าๆ’ ปรับลดประมาณการจีดีพีทั้งปีนี้ เหลือ 0.7 -1.2% เเนะรัฐฉีดวัคซีน-เยียวยาให้ทั่วถึง เร่งคุมการระบาดให้ได้ในไตรมาส 3 

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เเถลงว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ขยายตัว 7.5% ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลง 2.6% ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY)

และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 2564 อยู่ที่ 0.4% (QoQ_SA) รวมครึ่งแรกของปี 2564 เศรษฐกิจไทย ขยายตัวที่ 2%

โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของการลงทุนรวม 8.1% ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัว 27.5% สาขาอุตสาหกรรมขยายตัว 16.8% สาขาขนส่งขยายตัว 11.6% 

เศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกขยายตัวได้ 2% นั้นเป็นผลมาจากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว เเละส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวในภาคการส่งออก มาตรการเยียวยา และกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ

อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 38.8 จากระดับ 42.5 ในไตรมาสก่อนหน้า

การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้น การบริโภคภาคเอกชน เริ่มกลับมาขยายตัว ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐชะลอลง และการส่งออกบริการลดลง

ด้านการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว โดยคาดว่าปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในไทยประมาณ 1.5 แสนคน จากประมาณการเดิมที่ราว 5 แสนคน

โดยรวมครึ่งแรกของปี 2564 การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลง 17.2% ต่อเนื่องจากการลดลง 37.1% ในช่วง 4 ครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง 99.4% และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่  12.20%

เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ในระดับหนึ่ง ในทางเทคนิคถือว่ายังขยาย และไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอย แต่มีโมเมนตัมที่ทำให้การขยายตัวลดลงจากการระบาดที่รุนเเรง ตั้งเเต่ช่วงเดือน เม..ที่ผ่านมา

ขณะที่อัตราการว่างงานง อยู่ที่ 1.9% ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 2% ในไตรมาสก่อนหน้า และ 2%ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ 2.4% ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 16.4 หมื่นล้านบาท) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ 2.47 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 มีมูลค่าทั้งสิ้น 8,825,097.8 ล้านบาท คิดเป็น 56.1% ของ GDP

ลดเป้าจีดีพีปี 64 โตเฉลี่ย 1% ต้องเร่งคุมโควิดให้ได้ในไตรมาส

สำหรับเเนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวราว 0.7–1.2 (มีค่ากลางอยู่ที่ 1%) ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ จากการลดลง 6.1% ในปี 2563 แต่เป็นการปรับลดจาก 1.5 – 2.5% ในการประมาณการครั้งก่อน

ทั้งนี้ การประเมินดังกล่าว มีขึ้นภายใต้สมมติฐานที่คาดว่า ตัวเลขการติดเชื้อโควิดรายใหม่ จะผ่านจุดสูงสุดได้ปลายเดือน ส..นี้ และจะลดลงช่วงปลายเดือนก.. 64 เเละอาจะมีการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ ในไตรมาสสุดท้ายของปี

ปัจจัยเสี่ยง : การขยายตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังมีข้อจำกัดสำคัญๆ ได้เเก่

1) การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 ที่มีความรุนแรงและยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง

2) ข้อจำกัดด้านฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจท่ามกลางการว่างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงและได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากการระบาดระลอกใหม่

3) ภาคการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการระบาดในพื้นที่การผลิตรวมทั้งปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่การผลิตและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ

4) ความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก

ปัจจัยบวก : เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2564 ยังมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวอย่างช้าๆโดยได้รับการสนับสนุนจาก

1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก

2) แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายลงทุนและมาตรการเศรษฐกิจของภาครัฐ

3) การปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของรายได้ภาคเกษตร

4) ฐานการขยายตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ

คาดว่ามูลค่าการส่งออก สินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ จะขยายตัว 16.3% การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 5% , 1.1% และ 4.7% ตามลำดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัว 8.7% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยคาดว่าจะ อยู่ในช่วง 1.0 – 1.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 2.0% ของ GDP

Photo : Shutterstock

เเนะรัฐกระจายวัคซีน เยียวยาให้ทั่วถึง ออกมาตรการหนุนฟื้นตัว

ด้านข้อเสนอเเนะของสภาพัฒน์ ในการบริหารเศรษฐกิจช่วงที่เหลือของปี 2564 มี 7 ประเด็นที่ รัฐควรให้ความสำคัญ คือ

1) การควบคุมสถานการณ์การระบาดให้อยู่ในวงจำกัด ลดการแพร่เชื้อในครัวเรือนชุมชนและกลุ่มแรงงาน เร่งรัดจัดหาและการกระจายวัคซีนอย่างเพียงพอและทั่วถึง

2) การช่วยเหลือเยียวยา ประชาชน แรงงาน และภาคธุรกิจในช่วงที่การระบาดของโรคมีความรุนแรง ควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการสร้างงานใหม่ และมาตรการพัฒนาทักษะแรงงาน พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมในลักษณะเฉพาะเจาะจงให้กับผู้ประกอบการธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบรุนแรง

3) การดำเนินมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อสถานการณ์การระบาดผ่อนคลายลงให้ความสำคัญกับมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวภายในประเทศ

4) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า ควบคุมการแพร่ระบาดในฐานการผลิตที่สำคัญ เร่งแก้ไขปัญหาขาดแรงงานต่างชาติในภาคการผลิต สร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ

(5) การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ

6) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน เช่น สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่อแนวทางการควบคุมการระบาดภายในประเทศ ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนให้เกิดการลงทุนจริง เน้นมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก อำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุน

7) การรักษาบรรยากาศทางการเมืองและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

 

อ่านรายละเอียดฉบับเต็ม : ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 2/2564 และแนวโน้มปี 2564

]]>
1346823