เเรงงาน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 14 Jan 2022 03:00:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อังกฤษ ‘Jobs Boom’ คนเเห่ลาออกเพื่อหางานใหม่ บริษัททุ่มเพิ่มค่าจ้าง เเย่งชิงพนักงาน https://positioningmag.com/1370309 Thu, 13 Jan 2022 14:57:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370309 สหราชอาณาจักรกำลังอยู่ในช่วง ‘Jobs Boom’ เเรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ทยอยลาออกเพื่อ ‘หางานที่มีรายได้ดีกว่า’ ท่ามกลางความต้องการที่พุ่งสูง นายจ้างพร้อมทุ่มโบนัสเเละปรับเงินเดือน

Alan Bannatyne หัวหน้าฝ่ายการเงินของ Robert Walters บอกกับ BBC ว่า ผู้คนกำลังมองหาค่าเเรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นกว่า 15% เเละบางคนก็ต้องการเงินเดือนใหม่เพิ่มขึ้นถึง 50%

เขามองว่า ปี 2022 จะเป็นปีเเห่งโอกาสสำหรับลูกจ้าง โดยตำแหน่งว่างในสหราชอาณาจักร พุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่เศรษฐกิจเริ่มกลับมาเปิดอีกครั้ง เเละบรรดาเหล่านายจ้างกำลังแย่งชิงเเรงงานที่ขาดเเคลนนี้

ด้าน Robert Walters จากบริษัทจัดหางานที่เน้นแรงงานระดับมืออาชีพ ระบุว่า บริษัทต่างๆ กำลังอยู่ในช่วงที่ต้องแข่งขันอย่างดุเดือด เพื่อเฟ้นหาบุคลากรที่มีความสามารถ และก็เป็นเรื่องยากที่จะหา ‘คนที่ใช่’

เเม้จะมีนายจ้างจำนวนมากที่ยอม ‘ขึ้นเงินเดือน’ เพื่อดึงดูดเเรงงาน เเต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เมื่อมีผู้ชนะก็ต้องมีผู้แพ้ เเละไม่ใช่ทุกบริษัทจะทุ่มจ่ายเงินเช่นนี้ได้ “บริษัทค้าปลีกและสายการบิน ต่างเผชิญกับความยากลำบาก ดังนั้นก็อาจจะไม่จ่ายโบนัสหรือขึ้นค่าแรง”

สวนทางกับกลุ่มธุรกิจอย่างค้าปลีกออนไลน์ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและดิจิทัล และผู้ผลิตสินค้าในครัวเรือน ที่มีการเติบโตสูง

ฝั่งบริษัทจัดหางาน Manpower กล่าวว่า นายจ้างกำลังพยายามมองหาพนักงานที่มี ‘ทักษะสูง’ มากขึ้น โดยผู้ที่มีทักษะตรงกับความต้องการ ก็จะมีอำนาจต่อรอง มีอิสระที่จะเลือกทำงานตามความคาดหวังของพวกเขา

ตามรายงานของ BCL Legal และบริษัทข้อมูล Vacancysoft ระบุว่า การขาดแรงงานทักษะสูง ส่งผลกระทบในหลายอุตสาหกรรม เช่น ด้านกฎหมาย ที่มีอัตราการประกาศหางานเพิ่มขึ้นถึง 131% เมื่อเทียบกันระหว่างตำแหน่งงานว่างเมื่อเดือนมกราคมและพฤศจิกายนปีก่อน

Photo : Shutterstock

ด้านข้อมูลของ Robert Waters ชี้ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้เกิดปัญหาการขาดแคลน ‘ทนายความ’ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ท่ามกลางการลาออกของผู้ที่มีประสบการณ์

ทนายความที่ผ่านเกณฑ์เข้าทำงานใหม่ในบริษัทชื่อดัง สามารถได้ค่าจ้างมากถึง 147,000 ปอนด์ต่อปีหรือราว 6.68 ล้านบาท โดยไม่รวมโบนัส ที่คาดว่าจะเป็นเงินก้อนโต

เทียบกับปี 2018 ที่เงินเดือนเฉลี่ยของทนายความที่ทำงานเต็มเวลาอยู่ที่ 62,000 ปอนด์ต่อปี (เพิ่มขึ้นเป็น 88,000 ปอนด์หากทำงานในกรุงลอนดอน)

ส่วนงานที่ได้รับค่าจ้างต่ำ ก็พบว่ามีอัตราค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกันเช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต Sainsbury’s ที่ประกาศเพิ่มค่าแรงให้กับพนักงานเป็น 10 ปอนด์ หรือราว 450 บาท ต่อชั่วโมง

อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะขาดเเคลนเเรงงานก็คือ การที่ผู้คนหันมา ‘ประเมินอาชีพตัวเองใหม่’ ในช่วงล็อกดาวน์ ทำให้มีการเปลี่ยนงานหรือออกจากตลาดแรงงานไปเลย ซึ่งสถานการณ์นี้ถูกเรียกว่า Great Resignation การลาออกจากงานครั้งใหญ่ ส่งผลให้ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยสูงขึ้น รวมถึงโบนัสที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย

James Reed ประธานบริษัทจัดหางาน Reed Recruitment กล่าวว่า สหราชอาณาจักรอยู่ท่ามกลาง “jobs boom” ซึ่งเป็นเวลาที่ดีที่สุดในรอบ 50 ปีในการหางานใหม่

 

ที่มา : BBC

 

 

 

]]>
1370309
เเรงงาน ‘เวียดนาม’ หลายล้านคน กำลังจะแห่หนี ‘กลับบ้านเกิด’ ป่วนซัพพลายเชนโลก https://positioningmag.com/1355806 Fri, 08 Oct 2021 10:54:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355806 เเรงงานหลายล้านคนในเวียดนาม กำลังเเห่เดินทางกลับบ้านเกิดสะเทือนห่วงโซ่อุปทานการผลิตของเเบรนด์ต่างๆ ทั่วโลก

การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้โรงงานและท่าเรือในเอเชีย ต้องปิดทำการชั่วคราว ครอบคลุมถึงการผลิตชิปคอมพิวเตอร์ วัตถุดิบ สินค้าอุปโภคบริโภคเเละชิ้นส่วนรถยนต์ รวมไปถึงสินค้าเเฟชั่นอย่าง เสื้อผ้า รองเท้า ของเล่น

เวียดนามได้กลายเป็นประเทศ ‘ฐานผลิต’ สำคัญของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก ที่เลือกย้ายการผลิตมายังอาเซียนมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการค้าระหว่างจีนสหรัฐฯ

โดยนครโฮจิมินห์’ ถือเป็นศูนย์กลางการผลิตของเวียดนาม และเป็นที่ตั้งของโรงงานซัพพลายเออร์ให้แบรนด์ดังอย่าง Nike , Adidas เเละ Abercrombie & Fitch Co

เเต่หลังจากรัฐบาลได้ ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการเดินทางเมื่อวันที่ 1 ..ที่ผ่านมา ทำให้ให้มีแรงงานหลายหมื่นคน เดินทางออกจากนครโฮจิมินห์ และจังหวัดใกล้เคียงอย่างบินห์ดอง , ดองไน และลองอัน

การที่รัฐบาลเวียดนามสั่งการให้โรงงานต่างๆ ในนิคมอุตสาหกรรมทางตอนใต้ของประเทศ จัดเตรียมที่พักให้กับคนงานหรือปิดการดำเนินงานชั่วคราวนั้น ก็สร้างความกังวลให้เหล่าเเรงงานไม่น้อย ตามรายงานของเว็บไซต์รัฐบาลเวียดนาม คาดว่าตอนนี้ยังมีเเรงงานในโซนอุตสาหกรรมกว่า 2.1 ล้านคน ที่ต้องการกลับภูมิลำเนาอีก 

ทางเจ้าหน้าที่ได้จัดรถโดยสารหลายร้อยคัน เพื่อขนส่งคนงานเหล่านี้กลับไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ส่วนคนที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบโดส ก็จะถูกส่งไปยังศูนย์กักตัวก่อน

(Photo by Linh Pham/Getty Images)

การอพยพกลับถิ่นฐานของเเรงงานในเวียดนามจำนวนมากนี้ ทำให้ปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีมาก่อนเเล้วในช่วงวิกฤตโควิด มีความตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ เเละอาจจะส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนทั่วโลก

ประธานสมาคมสิ่งทอและเสื้อผ้าของเวียดนาม ให้สัมภาษณ์ว่า อุตสาหกรรมเสื้อผ้าของประเทศ อาจเจอปัญหาแรงงานลดลงถึง 37% ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้

ด้านรองประธานสมาคมผู้ผลิตรองเท้าและกระเป๋าเวียดนาม เปิดเผยว่า ตอนนี้กว่า 40% ของคนงานในอุตสาหกรรมผลิตรองเท้า เดินทางกลับบ้านไปแล้วและยังไม่ชัดเจนว่าพวกเขาจะกลับมาทำงานตามเดิมได้มากน้อยเเค่ไหน

หลายปีที่ผ่านมา เวียดนามขึ้นเเท่นเป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าและรองเท้ารายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของบริษัทในสหรัฐฯ โดยผลิตสินค้าให้แบรนด์สัญชาติอเมริกันมากกว่า 1,000 แบรนด์

ปัญหาเหล่านี้ ทำให้เเบรนด์ยักษ์ใหญ่เริ่มมีการปรับเเผนสินค้าใหม่ โดย Urban Outfitters และ Abercrombie & Fitch ได้ประกาศเตือนถึงการขาดแคลนสินค้าในช่วงเทศกาลวันหยุด

ขณะที่ Nike ได้ปรับลดคาดการณ์ยอดขายลง จากสาเหตุหลักๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับโรงงานผลิตในเวียดนามกว่า 80% ในภาคใต้ และเกือบครึ่งหนึ่งของโรงงานผลิตเสื้อผ้าที่ต้องปิดทำการ ส่วน Adidas ก็มีการจัดสรรการผลิตสินค้าใหม่ไปยังประเทศอื่น ๆ ชั่วคราว

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานสถิติ คาดการณ์ว่า จีดีพีของประเทศจะเติบโตเพียง 2.5% ในปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลเคยตั้งเป้าไว้มากถึง 6.5%

โดยสถานการณ์โรคระบาดที่รุนเเรงจากสายพันธุ์เดลตา มาตรการล็อคดาวน์ที่ยาวนานเกินไป เเละการเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำที่สุดในภูมิภาค เป็นตัวเเเปรสำคัญที่กำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเวียดนาม

 

ที่มา : Bloomberg , Reuters

]]>
1355806
ยอดว่างงานพุ่ง 7.3 แสนคน ซ้ำเติม ‘อาชีวะ-ป.ตรี’ จบใหม่ คนตกงาน ‘ยาวเป็นปี’ เพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1348525 Wed, 25 Aug 2021 08:32:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348525 สภาพัฒน์ เผยตัวเลขอัตราว่างงานของคนไทย ไตรมาส 2 เเตะ 7.3 แสนคน ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ ซ้ำหนักนักศึกษาจบใหม่ตกงานลากยาวเป็นปีเพิ่มขึ้น เเนะรัฐหนุนค่าจ้าง ดูเเลกลุ่มคนเเห่กลับภูมิลำเนา 

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เเถลงถึงภาวะสังคมไทยในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2564 โดยมีประเด็นที่น่าสนใจอย่างการว่างงานของประชาชนคนไทยยังอยู่บนความเสี่ยง

โดยล่าสุด อัตราการว่างงาน อยู่ที่ระดับ 1.89% ลดลงเล็กน้อยจาก 1.96% ในไตรมาส 1 ของปี 2564 คิดเป็นผู้ว่างงานทั้งสิ้นราว 7.3 แสนคน ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับสูง

สิ่งที่จะต้องจับตาดูในช่วงนี้คือกลุ่มผู้ว่างงานโดยไม่เคยทำงานมาก่อนหรือผู้ที่จบการศึกษาใหม่ที่มีการว่างงานเพิ่มขึ้นกว่า 10.04% ซึ่งขณะนี้มีอยู่กว่า 2.9 แสนคน ส่วนผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนมีจำนวน 4.4 แสนคน ลดลง 8.38%  

เเรงงานทักษะสูง หางานยาก-ตกงานยาว 

เมื่อพิจารณาระยะเวลาของการว่างงาน พบว่า ผู้ว่างงานมีแนวโน้มว่างงานนานขึ้น โดยผู้ว่างงานนานกว่า 12 เดือน มีจำนวน 1.47 แสนคน เพิ่มขึ้น 1.2 เท่าจากช่วงเดียวกันของไตรมาสที่แล้ว

นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา มีอัตราการว่างงานสูงขึ้นเป็น 3.18% และ 3.44% ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่า การว่างงานในปัจจุบันอยู่ในกลุ่มแรงงานทักษะสูง

ภาพรวมตลาดแรงงานเเม้จะปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ

โดยไตรมาสสอง ปี 2564 การจ้างงานเพิ่มขึ้น 2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการจ้างงานภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้น 2.4% จากการเคลื่อนย้ายเข้าไปทำงานของแรงงานที่ว่างงานและถูกเลิกจ้าง และราคาสินค้าเกษตรที่จูงใจ

ส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.8% โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากได้แก่

  • สาขาก่อสร้าง 5.1%
  • สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร 5.4%
  • สาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า 7.1%

ด้านสาขาการผลิต และการขายส่ง/ขายปลีก การจ้างงานหดตัว’ ลง 2.2% และ 1.4% ตามลำดับ

ทั้งนี้ การจ้างงานที่หดตัวในสาขาการผลิต ซึ่งใช้แรงงานเข้มข้นเป็นหลัก ขณะที่สาขาการผลิตเพื่อการส่งออกมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาทิ สาขาเครื่องคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง และยานยนต์ 

Photo : Shutterstock

ชั่วโมงการทำงาน ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติที่ 41.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้น 8.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับแรงงานที่ทำงานล่วงเวลามีจำนวน 6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 32%

การว่างงานในระบบ ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานมีจำนวน 3.1 แสนคน คิดเป็นสัดส่วนต่อผู้ประกันตน 2.8% ลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อยแต่ยังคงสูงกว่าสถานการณ์ปกติ

ขณะที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยมีจำนวน 32,920 คน เพิ่มขึ้น 4 เท่าจากไตรมาสก่อนที่มีจำนวนเพียง 7,964 คน

ผลกระทบจากการระบาดที่มีความรุนแรงมากขึ้น และมาตรการควบคุมการระบาด ส่งผลต่อความสามารถในการหารายได้ของแรงงาน

กลุ่มที่ทำงาน WFH ได้ยังมีน้อย 

มาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงและมีแนวโน้มจะลดลงมากกว่าการระบาดในปี 2563 ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องต่อการจ้างงาน/การมีงานทำและรายได้ โดยเฉพาะแรงงานในกลุ่มที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้

ทั้งนี้ ลูกจ้างภาคเอกชนที่สามารถทำงานที่บ้านได้ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด มีเพียง 5.5% หรือมีจำนวน 5.6 เเสนคน จาก 10.2 ล้านคนเท่านั้น และมีกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระจำนวน 7.3 ล้านคน ที่จะได้รับผล
กระทบ  

Photo : Shutterstock

“ธุรกิจส่วนใหญ่พยายามคงการจ้างงานเอาไว้ แต่อาจจะมีการลดค่าจ้าง และอาจทำให้มีจำนวนผู้ที่เป็นลักษณะเสมือนว่างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว ส่วนแนวโน้มการว่างงานในไตรมาส 3 นั้น จะต้องพิจารณาอีกครั้ง”

เเนะรัฐหนุนค่าจ้าง ดูเเลคนเเห่กลับภูมิลำเนา 

การระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนานจะส่งผลให้แรงงานมีความเปราะบางมากขึ้น ทางสภาพัฒน์เเนะนำว่า ภาครัฐจำเป็นต้องมีมาตรการช่วยเหลือที่ เข้มข้นกว่า การช่วยเหลือจากการระบาดในระลอกที่ผ่านมา เช่น

ช่วยสนับสนุนค่าจ้างบางส่วนให้กับผู้ประกอบการเพื่อรักษาการจ้างงาน

ให้เงินอุดหนุนเพิ่มเติมแก่แรงงานผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจากมาตรการควบคุมการระบาด หรือมีความจำเป็น ต้องกักตัว เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้าย ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านการปรับตัวของแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ทั้งในกลุ่มที่เคยทำงานมาก่อน และผู้จบการศึกษาใหม่ 

จากผลกระทบของการแพร่ระบาด COVID-19 ตั้งแต่ปี 2563 ทำให้แรงงานเคลื่อนย้ายกลับสู่ภูมิลำเนา ซึ่งมีทั้งแรงงานถูกเลิกจ้างและกำลังแรงงานใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานส่งผลให้ผู้ว่างงานในแต่ละภูมิภาคมีจำนวนเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันพบว่า ผู้ที่ว่างงานหางานลดลง เนื่องจากมีความกังวลต่อสถานการณ์และแรงงานที่กลับไปทำงานในภูมิลำเนา มีแนวโน้มประกอบอาชีพอิสระเพิ่มขึ้น จึงควรมีแนวทางการส่งเสริมทักษะอาชีพอิสระที่แรงงานสามารถเข้าถึงได้สะดวก และฝึกฝนได้ด้วยตนเอง

 

]]>
1348525
ครม.เเจก ‘เงินเยียวยา’ ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 เพิ่มอีก 1 เดือน ใน 29 จังหวัด งบรวม 6 หมื่นล้าน เล็งขยายช่วยเเท็กซี่ https://positioningmag.com/1345042 Tue, 03 Aug 2021 09:42:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345042 ครม. ทุ่มงบ 6 หมื่นล้าน เเจกอีก ‘เงินเยียวยา’ ให้นายจ้าง-ลูกจ้าง ระบบประกันสังคม ม.33 ม.39 และ ม.40 ในพื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม เพิ่มอีก 1 เดือน เล็งขยายช่วยรถเเท็กซี่ 

วันนี้ (3 ส.ค.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติจ่ายเงินเยียวยาผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ จากคำสั่งข้อกำหนดออกตามความมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 30 ขยายจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) เป็น 29 จังหวัด (เพิ่มอีก 16 จังหวัดจากเดิม 13 จังหวัด) จำนวน 1 เดือน

สำหรับ 29 จังหวัดสีเเดงเข้มล่าสุด ได้เเก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ตาก นครปฐม นครนายก นครราชสีมา นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ยะลา ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สงขลา สิงห์บุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง

การช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการและมาตรการควบคุมการระบาด จะครอบคลุม 9 กลุ่มสาขาอาชีพ-ธุรกิจ ในระบบประกันสังคม ม.33 ม.39 และ ม.40 คือ

-กิจการก่อสร้าง
-กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
-กิจการศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ
-กิจการกิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ
-การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
-การขายส่งและการขายปลีก
-การซ่อมยานยนต์
-กิจกรรมการบริหารและสนับสนุนวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมวิชาการ
-ข้อมูลข่าวสารและการศึกษา

ในส่วนที่เป็น ‘แรงานนอกระบบ’ กำหนดให้ลงทะเบียนเป็นแรงงานตามระบบประกันสังคมก่อน เพื่อรับความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ที่รัฐบาลได้วางไว้ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

โดยครม.ได้ขยายวงเงินจากเดิม 3 หมื่นล้านบาทเป็น 6 หมื่นล้านบาท เเหล่งเงินงบประมาณจากพ.ร.ก.กู้เงิน เพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท พร้อมขยายระยะเวลาในการให้ความช่วยเหลือขยายระยะเวลาในพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้มที่ประกาศไปเเล้วในรอบเเรก ‘เพิ่มเป็น 2 เดือน’ (ก.ค. – ส.ค. ) ส่วนใน 16 จังหวัดที่เพิ่มมาใหม่จะให้ความช่วยเหลือ 1 เดือน (ส.ค.)

สำหรับรูปเเบบการช่วยเหลือ ตามที่ประกาศไปในรอบเเรก ระบุว่า ผู้ประกันตน มาตรา 33 จะได้รับเงินความช่วยเหลือ 2,500 บาทต่อ 1 เดือน ผู้ประกันตน มาตรา 39 และมาตรา 40 จะได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 5,000 บาทต่อ 1 เดือน

นายจ้างหรือผู้ประกอบการ จะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อหัวของลูกจ้างในบริษัท สูงสุดไม่เกิน 200 คน เช่น ถ้ามีลูกจ้าง 10 คน เจ้าของร้านจะได้รับ 30,000 บาท

ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ ‘ไม่ได้อยู่’ ในมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ยังประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน ให้นำหลักฐานไปลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 กับสำนักงานประกันสังคม เพื่อที่จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท

เบื้องต้นทางกระทรวงแรงงาน จะโอนเงินเยียวยา ‘งวดแรก’ ให้ลูกจ้างผู้ประกันตน ‘มาตรา 33’ จำนวน 2,500 บาท และนายจ้าง ผู้ประกอบการมาตรา 33 ตามจำนวนลูกจ้าง ให้พื้นที่ 10 จังหวัดแรก คือ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สงขลา ภายในวันที่ 4 ส.ค.- 6 ส.ค. 64 ผ่านเข้าบัญชี ‘พร้อมเพย์’ ที่ลูกจ้างผูกไว้กับบัตรประชาชนเท่านั้น เเละบัญชีนิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการ

ต่อมาในวันที่ 9 ส.ค. 64 จะมีการโอนเงินเยียวยารอบเเรกให้นายจ้างและลูกจ้างผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่ 3 จังหวัดอย่าง ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา และฉะเชิงเทรา ผ่านบัญชีพร้อมเพย์เช่นกัน

นอกจากนี้ ยังเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มอาชีพผู้ขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีอายุเกิน 65 ปี ในพื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม ที่ไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ โดยมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมสำรวจฐานข้อมูล เเละจะนำมาพิจารณาในขั้นตอนต่อไป

 

]]>
1345042
จับตา ‘คลัสเตอร์โรงงาน’ หากคุมไม่อยู่ โควิดลุกลาม-ยืดเยื้อ ฉุด ‘ส่งออก’ เสียหาย 1.9 แสนล้าน https://positioningmag.com/1344693 Fri, 30 Jul 2021 10:29:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344693 โจทย์ใหญ่ ‘คลัสเตอร์โรงงานหากคุมไม่อยู่ โควิดลุกลามยืดเยื้อ เสี่ยงกระทบภาคส่งออกตัวหลักฟื้นเศรษฐกิจไทยต้องสะดุด เสียหายถึง 1.9 แสนล้านบาท ฉุดการเติบโตต่ำกว่า 7%  ชะลอดีมานด์ตลาดอาเซียน เเนะรัฐเร่งทำ Bubble and Sealed ฉีดวัคซีนให้แรงงานภาคการผลิตโดยเร็ว 

ข้อมูลล่าสุดจาก Thai Stop Covid โดยกรมอนามัย ระบุว่า นับตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนกรกฎาคม 2564 มีโรงงานผลิตที่ต้องเผชิญกับปัญหาการติดเชื้อโควิดแล้วมากถึง 1,607 โรงงาน เป็นโรงงานขนาดใหญ่ 67% ซึ่งมีแรงงานจำนวนมาก มีทั้งโรงงานผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศและป้อนตลาดต่างประเทศ 

คลัสเตอร์โรงงาน จึงเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ นอกเหนือไปจากแคมป์ก่อสร้าง

โรงงานส่วนใหญ่ที่พบปัญหาการติดเชื้อจะอยู่ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยางพาราและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ

โดยประเทศไทยมีโรงงานใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้มากถึง 11,637 แห่ง มีแรงงาน 1.96 ล้านคน และมีมูลค่าตลาดต่อปีเท่ากับ 8.87 ล้านล้านบาท มีสัดส่วนส่งออกกว่า 57% และจากการที่เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานค่อนข้างมาก เมื่อมีผู้ติดเชื้อจึงมีโอกาสที่จะเกิดการแพร่กระจายสูง ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้มาตรการปิดโรงงานหยุดกระบวนการผลิตชั่วคราวได้ 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า หากมีการปิดคลัสเตอร์โรงงาน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมข้างต้นเป็นเวลา 2 สัปดาห์เพื่อควบคุมการระบาด จะก่อให้เกิดการสูญเสียมูลค่า 3.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 4% ของมูลค่าตลาด 

สำหรับอุปทานสินค้าป้อนตลาดจากโรงงานในอุตสาหกรรมอาหารยานยนต์ ยางพาราและพลาสติก จะได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานเร็วที่สุด เพราะมีสินค้าคงคลังน้อยกว่าช่วงปกติ

ดังนั้น หากไม่สามารถควบคุมการระบาดคลัสเตอร์โรงงานได้ ภาครัฐต้องมีการล็อกดาวน์โรงงานเพิ่มขึ้น หรือขยายระยะเวลาปิดโรงงานออกไป คาดว่าจะทำให้ปัญหา Supply Disruption ชัดเจนมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกที่เป็นเครื่องยนต์หลักในการฟื้นเศรษฐกิจครั้งนี้ 

นอกจากสินค้าส่งออกทั้ง 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเเล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจอาเซียนได้รับผลกระทบจากการเผชิญกับยอดผู้ติดเชื้อโควิดใหม่เพิ่มสูงขึ้นมากขึ้น โดยเฉพาะ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ทำให้ประเทศเหล่านี้ต้องกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั้งประเทศ ส่งผลต่อความต้องการสินค้าส่งออกจากไทยในช่วงครึ่งปีหลัง

การส่งออกใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม คิดเป็น 2 ใน 3 ของมูลค่าการส่งออกไปตลาดอาเซียน ซึ่งในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้มีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท

เเนะทำ ‘Bubble and Sealed’ ในโรงงาน เร่งฉีดวัคซีน สกัดความเสียหาย 

เมื่อพิจารณาประเทศคู่ค้าหลัก ทั้งสหรัฐฯ จีน และยุโรป ที่เศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนต่อเนื่อง สะท้อนจากการส่งออกไปตลาดคู่ค้าหลักในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ที่ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ถึง 23.4% และมีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่อง

เหล่านี้ จะช่วยชดเชยผลกระทบจากการชะลอตัวลงของตลาดอาเซียนที่ในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวได้ 11.2% ส่งผลให้การส่งออกรวม 5 กลุ่มอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง

ประกอบกับ หากสามารถเร่งหยุดยั้งการระบาดของคลัสเตอร์โรงงานได้เร็ว จะหนุนให้ภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยทั้งปี 2564 ขยายตัวได้ในระดับสูงที่ 9.4% เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อน

เเต่หากไม่สามารถควบคุมคลัสเตอร์โรงงานได้ ทำให้กระบวนการผลิตหยุดไปอีก 2 สัปดาห์ จะเกิดความเสียหาย 1.9 แสนล้านบาท เป็นปัจจัยฉุดการส่งออกทั้งปีโตได้เพียง 6.8%

ttb analytics เเนะว่า เพื่อลดการระบาดและลุกลามของคลัสเตอร์โรงงาน รัฐต้องมีกระบวนการเร่งตรวจหาและคัดแยกผู้ติดเชื้อออกจากโรงงาน เเละการทำ Bubble and Sealed เพื่อควบคุมดูแลรักษาผู้ติดเชื้อในโรงงานไม่ให้แพร่กระจายออกไป

ต้องเร่งฉีดวัคซีนให้กับแรงงานภาคการผลิตที่มีจำนวนมาก ถือเป็นมาตรการเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือดำเนินการ เพื่อให้ภาคการผลิตและส่งออกของไทยยังรักษาอัตราการเติบโตได้ต่อเนื่อง ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว

 

 

]]>
1344693
จุดเปลี่ยน เมื่อโลก ‘ไม่สนใจ’ ไทย นักลงทุนหาย ส่งออก-ผลิตเทคฯ ล้าหลัง ติดหล่มคอร์รัปชัน https://positioningmag.com/1343221 Tue, 20 Jul 2021 12:32:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343221 เมื่อไทยไม่น่าดึงดูดส่งสัญญาณต่างชาติเทขายหุ้นต่อเนื่อง นักลงทุนไทยหนีไปต่างประเทศกว่า 3 แสนล้าน การลงทุน FDI ลดลงเรื่อยๆ ติดหล่มคอร์รัปชัน สูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านส่งออกผลิตเทคโนโลยีล้าหลัง-ตกยุค ทำเเค่รับจ้างผลิต เวียดนามเเซงขึ้นมาชิงส่วนเเบ่งตลาด เเนะรัฐต้องเร่งส่งเสริม 4 ด้าน เพราะ ‘ถึงเวลาต้องเปลี่ยน’ 

KKP Research กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ออกบทวิเคราะห์ จุดเปลี่ยนการส่งออก เมื่อโลกเริ่มไม่สนใจไทยอีกต่อไป โดยจับสัญญาณความสนใจการลงทุนที่ลดลงในหลายมิติ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

มิติแรก คือ การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น ตลาดหุ้น ที่นักลงทุนต่างชาติมีสัญญาณขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันนักลงทุนในไทยก็เริ่มออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในปี 2021 ที่ในไตรมาส 1 นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในต่างชาติแล้วกว่า 3 แสนล้านบาท

มิติที่สอง คือ การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) พบว่าในปัจจุบันต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาค ในขณะที่บริษัทไทยก็เริ่มออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน

มิติที่สาม เป็นหนึ่งในส่วนสำคัญ คือ การสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก โดยในปี 2021 การส่งออกทั่วภูมิภาคขยายตัวอย่างแข็งแกร่งตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวได้เร็ว แต่สัญญาณที่เราเห็น คือ การส่งออกของไทยฟื้นตัวได้ช้ากว่าหลายประเทศในโลก

“โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทย มีสัดส่วนของสินค้าส่งออกที่ใช้เทคโนโลยีต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง ซึ่งสะท้อนว่าไทยมีคู่แข่งที่น่ากลัวเพิ่มขึ้น และต่างชาติกำลังมีความต้องการสินค้าไทยลดน้อยลง” 

สินค้าส่งออกไทย กำลังจะ ‘ตกยุค’ 

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ความสามารถในการแข่งขันที่ ‘ลดลง’ มาจากปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยที่ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ดังต่อไปนี้

สาเหตุในชั้นแรก เกิดจากสินค้าส่งออกหลักของไทยปัจจุบันกำลังเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ โดย สินค้าใน 5 กลุ่มหลัก คือ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ สินค้าเกษตร และปิโตรเคมี มีสัญญาณชะลอตัวลงหรือไม่สามารถขยายตัวได้ดีเท่ากับในอดีต

เมื่อพิจารณาความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Revealed Comparative Advantage) พบว่าสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าว มีความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงชัดเจนที่สุด

[เวียดนามชิงส่วนเเบ่งตลาดโลก เเซงไทย]

ส่วนแบ่งตลาดโลกในกลุ่มสินค้าหลักทั้งหมดเริ่มคงที่ในระยะหลัง ในขณะที่ประเทศคู่แข่งอย่าง ‘เวียดนาม’ มีส่วนแบ่งตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นและแซงไทยในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดของสินค้ากลุ่มนี้ค่อนข้างคงที่ คือ 1.42% ในปี 1995 และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.45% ในปี 2018

“ขณะที่เวียดนาม เริ่มจากไม่มีสินค้าส่งออกกลุ่มนี้เลยในปี 1995 กลับมีส่วนมีส่วนแบ่งตลาดถึง 4.1% ในปี 2018 สอดคล้องกับโครงสร้างการส่งออกของเวียดนามที่มีการพัฒนาต่อเนื่อง”

และในปัจจุบันมีการส่งออกสินค้าในกลุ่มโทรศัพท์แบบเครื่องและพกพาถึงประมาณ 20% ของการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ส่วนแบ่งตลาดโลกในสินค้าเกษตรของเวียดนามเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนอยู่ที่ระดับ 1.48% ในระดับใกล้เคียงกับไทยที่ 1.99% ในปี 2018

[ผลิตเทคฯ ล้าหลัง ]

ยิ่งไปกว่านั้นสินค้าส่งออกของไทยหลายอย่างกำลังเผชิญความท้าทายจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ และปัจจัยสนับสนุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศที่เริ่มแย่ลงเรื่อย ๆ เช่น

1) สินค้าอิเลกทรอกนิกส์ ที่ไทย ‘ไม่มีการส่งออก’ ใหม่ ๆ เช่น เช่น ชิปหรือเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ที่กำลังเป็นที่ต้องการทั่วโลก และไทยยังเป็นฐานการผลิต Hard Disk Drive เป็นหลักซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ เช่น Solid State Drive

2) ‘เครื่องใช้ไฟฟ้า’ ที่ได้รับอานิสงส์จากการลงทุนทางตรงจากญี่ปุ่น เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลงที่ชัดเจนขึ้น และบริษัทญี่ปุ่นเริ่มมีกำไร

3) ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบเก่า ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า

4) สินค้าเกษตรกำลังเผชิญหน้ากับคู่แข่งที่มากขึ้น ในขณะที่ผลิตภาพการผลิตของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ

5) อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีความเสี่ยงจากต้นทุนที่อาจสูงขึ้นในอนาคต ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่เริ่มมีปริมาณการผลิตลดลงเรื่อยๆ

ไม่ได้เป็นเจ้าของ ไม่มีเทคขั้นสูง ทำแค่ ‘รับจ้างผลิต’ 

สาเหตุในชั้นที่สอง ไทยไม่มีสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง และทำหน้าที่เพียงรับจ้างผลิต เมื่อพิจารณาโครงสร้างการเติบโตของสินค้าส่งออกไทยในช่วงกว่า 25 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีการเติบโตในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นกลางเฉพาะรถยนต์

“ไม่มีทิศทางการพัฒนาไปสู่การส่งออกในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงที่ชัดเจน เมื่อเทียบกับต่างประเทศเเล้ว ไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงที่น้อยกว่าภูมิภาค คือ 19%” 

เมื่อเทียบกับการส่งออกทั้งหมดเท่านั้นในปี 2019 เทียบกับเวียดนามที่ 28% และเอเชียที่ 26% ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการเติบโตเฉลี่ยในช่วงปี 2010-2019 ในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เพียง 2.2% ขณะที่เอเชียโตเฉลี่ยถึง 6.6% โครงสร้างการส่งออกที่ยังเป็นสินค้าแบบเก่าทำให้ในช่วงที่ผ่านมา การส่งออกไทยฟื้นตัวได้ช้ากว่าหลายประเทศในภูมิภาค

อีกประเด็นที่น่ากังวล คือ ประเทศไทยทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตสินค้าและไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มจากการผลิต (Value added) ที่บริษัทไทยสร้างได้ พบว่าอยู่ในสัดส่วนคงที่มาโดยตลอด สะท้อนว่าในช่วงที่ผ่านมายังไม่เกิดกระบวนการถ่ายโอนเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาสู่ประเทศไทย

นอกจากนี้ ปัจจัยเชิงโครงสร้างอื่น ๆ โดยเฉพาะประเด็นการเข้าสู่ สังคมสูงอายุ’ ที่เลี่ยงไม่ได้ จะเป็นอีกปัจจัยลบต่อการเติบโตระยะยาวของเศรษฐกิจ ทั้งมิติขนาดของตลาดและความพร้อมของแรงงาน ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น การขาดการลงทุนเพื่อวิจัยและพัฒนาใหม่ ๆ ทำให้ความน่าสนใจในการลงทุนในไทยลดน้อยลงไป

ผูกขาดสินค้า ติดหล่มคอร์รัปชัน

สาเหตุในชั้นสุดท้าย คือ นโยบายของรัฐยังไม่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระยะยาว เมื่อพิจารณาจากดัชนีความสามารถในการแข่งขันที่จัดทำโดย IMD (World Competitiveness Index) ไทยอยู่ในลำดับที่ 40 ในปี 2019 ซึ่งแม้ไทยไม่อยู่ในลำดับที่แย่มาก แต่มีอุปสรรคใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาสั้น ๆ และส่งผลไปถึงโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่สามารถพัฒนาไปตามเทรนด์โลก ทั้งในช่วงที่ผ่านมาและต่อเนื่องถึงอนาคต

ไม่ว่าจะเป็นการผูกขาดของตลาดสินค้าในประเทศจาก ‘ปัญหาการคอร์รัปชัน’ การเอื้อประโยชน์พวกพ้องทำให้ไม่เกิดการลงทุนในสินค้ากลุ่มใหม่ ๆ เพราะไม่คุ้มค่าสำหรับบริษัท ปัญหาด้านคุณภาพแรงงาน ที่แรงงานยังไม่ถูกพัฒนาไปเป็นแรงงานที่มีทักษะสูง และไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและท้าทายของเศรษฐกิจระยะยาว ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐในไทยยังไม่ให้ความสำคัญในการมีโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล และการปฏิรูปกฎระเบียบที่เหมาะสมพร้อมดึงดูดการลงทุน

Photo : Shutterstock

พึ่งพาท่องเที่ยวไม่ได้อีกต่อไป

จากปัญหาความสามารถในการแข่งขันเหล่านี้ อาจกำลังผลักให้เศรษฐกิจไทยก้าวเข้าสู่ ‘จุดเปลี่ยน’ ในอย่างน้อยใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ

เศรษฐกิจไทยในอดีตที่พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวอาจไม่ได้ผลอีกต่อไปในอนาคต

หากประเทศไทยยังไม่มีการปรับปรุงโครงสร้างการส่งออกที่ชัดเจนอาจทำให้สินค้าส่งออกไทยไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่าเดิม หรืออาจหดตัวลงในบางกรณี เช่น หากทั่วโลกหันไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทน จะกระทบภาพการส่งออกรถยนต์และการจ้างงานในประเทศอย่างมหาศาล

ดุลการค้าของไทยอาจจะเกินดุลลดลงและสร้างความเสี่ยงกับฐานะการเงินระหว่างในระยะยาว

ในวันนี้หลายฝ่ายยังเชื่อว่าดุลบุญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลอยู่จะกลับมาเกินดุลจากนักท่องเที่ยวที่จะทยอยกลับมาในปี 2564 และ 2565

KKP Research ต้องการชี้ให้เห็นว่ายังมีความเสี่ยงใน ‘กรณีเลวร้าย’ ที่ความสามารถในการแข่งขันของไทยแย่ลงไปเรื่อย ๆ และไทยเสียส่วนแบ่งตลาดในสินค้าส่งออกหลักของไทย ทำให้รายได้ของคนในประเทศลดลงและไทยต้องหันมานำเข้าสินค้าที่เคยส่งออก เป็นไปได้ที่จะทำให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเปลี่ยนจากเกินดุลเป็นขาดดุล สร้างความเสี่ยงให้เงินบาทเปลี่ยนทิศทางจากแข็งค่าเป็นอ่อนค่าลงได้

อย่างไรก็ตาม สินค้าส่งออกไทยยังมีข้อได้เปรียบในแง่ความซับซ้อนของสินค้าที่อยู่ในระดับค่อนข้างดีและสามารถต่อยอดสู่สินค้าใหม่ ๆ ได้ แนวทางการพัฒนาสินค้าของไทยยังสามารถต่อยอดจากสินค้ากลุ่มเดิมทั้งจากการเร่งให้เกิดการถ่ายโอนเทคโนโลยีมาสู่ผู้ประกอบการไทย และการขยายการผลิตสินค้าไปในกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีใกล้เคียงเดิม โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้ายานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เครื่องจักร และเคมีภัณฑ์

เเนะรัฐส่งเสริม 4 ด้าน 

KKP Research เเนะนำว่าเพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีได้ ภาคเอกชนต้องมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน และรัฐก็มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทาง ส่งเสริม และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญใน 4 ด้าน คือ

1) การพัฒนาคุณภาพปัจจัยการผลิต ลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ พัฒนาการศึกษาและคุณภาพแรงงานให้มีทักษะที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ

2) การเข้าถึงตลาดและเพิ่มขนาดของตลาด เพื่อขายสินค้าผ่านการทำข้อตกลงการค้าเสรี อย่างไรก็ตาม ไทยยังต้องพัฒนาเศรษฐกิจและสินค้าในประเทศให้ตรงกับความต้องการของตลาดโลก

3) โครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ทันสมัย เช่น การขนส่ง การปรับปรุงกฎระเบียบด้านภาษีและการใช้สิทธิทางภาษีให้วางแผนและเข้าใจง่าย การเตรียมความพร้อมด้าน ICT และ High Speed Broadband

4) สถาบันเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการส่งเสริมการแข่งขันที่เสรี ปราศจากการคอร์รัปชัน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในสินค้ากลุ่มใหม่ ๆ ได้

KKP Research ระบุว่า ในระยะต่อไปรัฐจำเป็นต้องดำเนินโยบายเชิงรุกมากขึ้นเพื่อพูดคุยและทำความเข้าใจความต้องการของนักลงทุน ออกนโยบายเพื่อดึงดูดการลงทุนต่างชาติรายใหม่ ๆ ที่ตรงจุดเพื่อสร้างจุดเริ่มต้นให้ไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ๆ ได้

“แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอาจใช้เวลายาวนานกว่าจะเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตามมา การไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจและหวังพึ่งพาเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจเดิม ๆ อาจไม่ใช่คำตอบสำหรับวันนี้” 

 

 

 

 

]]>
1343221
สรุป ครม.เยียวยาล็อกดาวน์ 10 จังหวัด ‘เเจกเงิน’ แรงงาน ม.33 คนละ 2,500 บาท ฟรีแลนซ์ ม.39-40 คนละ 5,000 บาท ลดค่าน้ำค่าไฟ 2 เดือน https://positioningmag.com/1342127 Tue, 13 Jul 2021 09:40:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342127 สรุป มติ ครม.เคาะมาตรการเยียวยาล็อกดาวน์ 10 จังหวัด ‘เเจกเงิน’ ให้ผู้ได้รับผลกระทบ ผู้ประกันตน ม.33 ได้รับคนละ 2,500 บาท เเรงงานฟรีแลนซ์ ม.39-40 ได้รับคนละ 5,000 บาท เพิ่มชดเชยค่าจ้างเป็น 9 กลุ่มอาชีพ ลดค่าน้ำค่าไฟ 2 เดือน รวมงบประมาณ 4.2 หมื่นล้าน

วันนี้ (13 ก.ค.2564) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติมาตรการเยียวยา กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุด 10 จังหวัด ได้เเก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา วงเงินงบประมาณรวม 30,000 ล้านบาท

โดยจะช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการและมาตรการควบคุมการระบาด ซึ่งเพิ่มจาก 4 กลุ่มสาขาอาชีพ เป็น 9 กลุ่มสาขาอาชีพ คือ

(เดิม)

1. กิจการก่อสร้าง
2. กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
3. กิจการศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ
4. กิจการกิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ

(เพิ่ม)
5.การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
6.การขายส่งและการขายปลีก
7.การซ่อมยานยนต์
8.กิจกรรมการบริหารและสนับสนุนวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมวิชาการ
9.ข้อมูลข่าวสารและการศึกษา

#รูปแบบการช่วยเหลือ 

กลุ่มแรงงานที่อยู่ในระบบและนอกระบบ ‘สัญชาติไทย’ มีดังนี้

👉ผู้ประกันตน มาตรา 33 จะได้รับเงินความช่วยเหลือ 2,500 บาท จำนวน 1 เดือน
👉ผู้ประกันตน มาตรา 39 และมาตรา 40 จะได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน
👉ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ ‘ไม่ได้อยู่’ ในมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ยังประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน ให้เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 กับสำนักงานประกันสังคม ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อที่จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน

ทั้งนี้ เป็นการเยียวยาเพิ่มเติม จากก่อนหน้านี้ (28 มิ.ย. 64) ที่ประกาศว่า
👉ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ จะได้เงินชดเชย 50% ของฐานเงินเดือน รวมไม่เกินคนละ 10,000 บาท เเละจะได้รับเงินเพิ่มเติม จำนวน 2,000 บาทต่อราย
👉 นายจ้างหรือผู้ประกอบการ จะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อหัวของลูกจ้างในบริษัท สูงสุดไม่เกิน 200 คน เช่น ถ้ามีลูกจ้าง 10 คน เจ้าของร้านจะได้รับ 30,000 บาท

อ่านรายละเอียด : สรุปมาตรการเยียวยา ลูกจ้างเเละเจ้าของกิจการ “ร้านอาหาร-ก่อสร้าง” ช่วยจ่ายค่าแรง 50% นาน 1 เดือน รับเพิ่มหัวละ 2,000 บาท

นอกจากนี้ รัฐบาลยังเคาะเยียวยา ‘ลดค่าน้ำ-ค่าไฟ’ ทั่วประเทศ เป็นระยะเวลา 2 เดือน (ก.ค.-ส.ค. 64) โดยใช้ฐานเดือนกุมภาพันธ์ ช่วยประชาชนช่วงโควิด วงเงินรวม 1.2 หมื่นล้าน

#ลดค่าไฟ

👉บ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150หน่วย/เดือน : ใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรก

👉บ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150หน่วย/เดือน หากน้อยกว่าหรือเท่ากับเดือน ก.พ. 64 คิดค่าไฟฟ้าตามหน่วยการใช้ไฟฟ้าจริง
-กรณีมากกว่าเดือนก.พ. แต่ไม่เกิน 500 หน่วย/เดือน ให้จ่ายเท่ากับเดือน ก.พ. 64
-ระหว่าง 501-1,000 หน่วย/เดือน ให้จ่ายค่าไฟฟ้าเท่ากับเดือน ก.พ. 64+ 50% ของหน่วยไฟฟ้าที่เพิ่มจากเดือน ก.พ. 64
-เกิน 1,000 หน่วย/เดือน ให้จ่ายค่าไฟฟ้าเท่ากับเดือน ก.พ. 64+ 70% ของหน่วยไฟฟ้าที่เพิ่มจากเดือน ก.พ. 64 โดยให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

👉กิจการขนาดเล็ก(ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ใช้ไฟฟ้าฟรี 100 หน่วยแรก
👉กิจการขนาดกลาง ขนาดใหญ่ กิจการเฉพาะ องค์กรไม่แสวงหากำไรและการสูบน้ำเพื่อการเกษตร ยกเว้นการเรียกเก็บอัตราค่าไฟฟ้าต่ำสุด (Minimum Charge) จนถึงสิ้นเดือนธ.ค. 64 โดยให้จ่ายค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (demand Charge) ตามกำลังไฟฟ้าที่ใช้จ่ายจริง

#ค่าน้ำประปา

👉 มีมาตรการลดภาระค่าน้ำประปาลง 10% เฉพาะบ้านที่อยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ระยะเวลา 2 เดือน (ส.ค.-ก.ย. 64)

พร้อมจะมีมาตรการ ‘ลดค่าเทอม’ ในเทอมที่ 1 เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งทางกระทรวงการศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษาฯ จะประกาศรายละเอียดต่อไป คาดว่าจะใช้เวลาพิจารณาใน 1 สัปดาห์

 

]]>
1342127
งานหนักคร่าชีวิต 7 เเสนคนต่อปี ทำเกิน 55 ชั่วโมง/สัปดาห์ เสี่ยงตายโรคหัวใจ-หลอดเลือดสมอง https://positioningmag.com/1332677 Tue, 18 May 2021 09:05:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332677 ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานเกินไป ได้คร่าชีวิตผู้คนหลายเเสนคนต่อปี เเละยิ่งเลวร้ายลงไปอีกในช่วงโรคโควิด-19 โดยคนที่อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฝั่งแปซิฟิกตะวันตก ได้รับผลกระทบมากที่สุด

องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เผยแพร่งานวิจัยในวารสาร Environment International ระบุว่า การเเพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ต้องทำงานทางไกล และเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั่วโลก เพิ่มความเสี่ยงให้ลูกจ้างมีชั่วโมงการทำงานยาวนานขึ้นตามไปด้วย

โดยการทำงานมากกว่า ’55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้น 35% และเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจสูงขึ้น 17% เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานสัปดาห์ละ 35-40 ชั่วโมง

ในปี 2016 ประชาชนกว่า 745,000 คน เสียชีวิตจากอาการเส้นเลือดในสมองแตกและโรคหัวใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทำงานยาวนานหลายชั่วโมง สูงขึ้นเกือบ 30% จากปี 2000

ผลวิจัยของ ILO พบว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกือบ 3 ใน 4 เป็นผู้ชายในวัยกลางคนหรือสูงอายุ หลายกรณีเสียชีวิตในช่วงบั้นปลายชีวิต 10 ปีให้หลังจากที่ทำงานหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน

โดยแรงงานที่ใช้ชีวิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิกตะวันตก ตามนิยามของ WHO รวมจีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้มากที่สุด

Photo : Shutterstock

นักวิจัย ชี้ว่าชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานขึ้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งด้านสรีรวิทยาโดยตรงเเละก่อให้เกิดความเครียด นอกจากนี้ยังส่งผลให้เเรงงานมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมทำลายสุขภาพ เช่นการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การนอนหลับน้อยลง ไม่มีเวลาออกกำลังกายและทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

การทำงาน 55 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล นายจ้างและลูกจ้าง ต้องยอมรับว่าการทำงานที่ยาวนาน อาจทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร” Maria Neira ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสุขภาพของ WHO กล่าว

การทำงานทางไกล ประชุมออนไลน์ และเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงจากพิษไวรัส เร่งให้พนักงานต้องเเบกภาระงานหนักมากขึ้น WHO ประเมินว่า ประชาชนอย่างน้อย 9% มีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานกว่าเดิม

ในทางตรงกันข้าม การลดชั่วโมงการทำงานลงจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างมากกว่า เนื่องจากผลการศึกษาพบว่าจะช่วยให้ผลิตภาพของพนักงานเพิ่มขึ้น

ไม่มีงานใดที่คุ้มค่าจะเสี่ยงกับการเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจ รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้างจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อบรรลุข้อตกลงเพื่อปกป้องสุขภาพของเเรงงาน

 

ที่มา : BBC , Reuters 

 

 

]]>
1332677
สิงคโปร์ เจอวิกฤตขาดเเคลน ‘เเรงงานต่างชาติ’ จากมาตรการคุมเข้มสกัดโควิด-19 https://positioningmag.com/1331629 Tue, 11 May 2021 10:55:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331629 สิงคโปร์’ กำลังเจอปัญหาขาดเเคลนเเรงงานต่างชาติหลังการอนุมัติเดินทางเข้าประเทศเป็นไปอย่างล่าช้า จากมาตรการควบคุมชายเเดนที่เข้มงวดมากขึ้น ส่งผลให้บรรดาบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง การขนส่งทางทะเลและภาคการผลิต ได้รับผลกระทบอย่างหนัก

Lawrence Wong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะทำงานจัดการโควิด-19 ของสิงคโปร์ เปิดเผยว่า โครงการก่อสร้างใหม่ๆ จำนวนมากอาจจะล่าช้าออกไปอีก 1 ปีหรือมากกว่านั้น ขณะที่บริษัทในภาคการขนส่งทางทะเลและภาคการผลิต จะต้องสูญเสียโอกาสทางธุรกิจใหม่

โดยบริษัทใดก็ตาม หากต้องการนำเข้าแรงงานต่างชาติจากประเทศที่มีความเสี่ยงสูง จะต้องเผชิญกับความล่าช้าอย่างมาก เเละรอการอนุมัติการเข้าประเทศนานกว่า 6 เดือน ซึ่งข้อจำกัดใหม่นี้ มีผลบังคับใช้กับทุกประเทศที่มีความเสี่ยงสูง ยกเว้นออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, บรูไน, จีน, ไต้หวัน, ฮ่องกง และมาเก๊า 

สิ่งที่น่ากังวลคือ การที่บริษัทต่างๆ ต้องเจอความยากลำบากหรือถูกบังคับให้ปิดกิจการ จะส่งผลให้ชาวสิงคโปร์ตกงานมากขึ้นตามไปด้วย

หอพักจำนวนมากที่เป็นสถานที่พักอาศัยของแรงงานต่างชาติ ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชียใต้เป็นศูนย์กลางของการระบาดของโควิด-19 เมื่อปีที่แล้ว เเละเมื่อช่วงปลายเดือนเม..ที่ผ่านมา รัฐบาลเพิ่งกักตัวเพื่อดูอาการแรงงานต่างด้าวราว 1,200 คนในโรงงานแห่งหนึ่ง หลังจากพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ในกลุ่มแรงงานชายที่คิดว่าหายดีจากการติดเชื้อเเล้ว

สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในประเทศที่จัดการโควิด-19 ได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งตอนนี้กำลังเร่งกระจายวัคซีนของ Pfizer เเละ Moderna ให้กับประชาชน

อย่างไรก็ตาม ยังต้องใช้เวลาในการโน้มน้าวให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีน เนื่องจากการพบผู้ติดเชื้อในประเทศน้อย ทำให้หลายคนยังลังเล ไม่ตื่นตัว เเละมีความกังวลเกี่ยวกับมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสและผลข้างเคียงจากวัคซีนที่เร่งรีบในการพัฒนา

โดยล่าสุดประชาชนสิงคโปร์ราว 1.8 ล้านคน ได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดส (ณ วันที่ 9 พฤษภาคม) หรือคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของประชากร

 

 

ที่มา : Bloomberg , CNA

]]>
1331629
เช็กเลย! แจกเงินประกันสังคม “ม.33 เรารักกัน” รับ 4,000 บาท ลงทะเบียน 21 ก.พ.- 7 มี.ค. นี้ https://positioningmag.com/1318073 Fri, 05 Feb 2021 06:23:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318073 เคาะแล้ว! ผู้ประกันตนมาตรา 33 ‘ประกันสังคมรับเงินเยียวยา 4,000 บาท ในโครงการ.33 เรารักกัน  เริ่มลงทะเบียน 21 ก.พ.- 7 มี.ค. นี้ ย้ำไม่จ่ายเป็นเงินสด ให้เฉพาะคนที่มีเงินฝากในบัญชีไม่เกิน 5 เเสนบาท

สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุถึงความคืบหน้าในการจ่ายเงินเยียวประชาชนที่อยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33 ว่า ตอนนี้ได้มีการจัดทำเว็บไซต์สำหรับการลงทะเบียน.33 เรารักกัน ไว้เรียบร้อยแล้ว ผ่าน www.ม33เรารักกัน.com หากผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ก็สามารถเปิดลงทะเบียนได้เลย

โดยมีไทม์ไลน์การรับสิทธิ์.33 เรารักกันดังนี้

  • 21 กุมภาพันธ์ -7 มีนาคม 2564 ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.33เรารักกัน.com และตรวจสอบการได้รับสิทธิ
  • 8-14 มีนาคม 2564 ธนาคารทำการตรวจสอบข้อมูลรวมทั้งประมวลผลคัดกรอง
  • 15-21 มีนาคม 2564 กดใช้งาน และกดยืนยันตัวผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง
  • ได้วงเงินผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังครั้งละ 1,000 บาท ในวันที่ 22, 29 มีนาคม และวันที่ 5, 12 เมษายน 2564
  • เริ่มใช้จ่ายซื้อสินค้า และบริการกับร้านค้าภายในโครงการเราชนะ ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม-31 พฤษภาคม 2564

ต้องรอรายละเอียดทั้งหมดที่กำลังจะเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ก่อน

#ใครมีสิทธิ์ได้บ้าง

  • ผู้ที่ได้รับสิทธิ์จะเป็นผู้ประกันตน .33 ที่มีสัญชาติไทย
  • ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
  • ต้องมีเงินฝากในบัญชีไม่เกิน 500,000 บาท (ไม่รวมเงินลงทุนในกองทุน พันธบัตรรัฐบาล หรือสลากออมสิน)

โดยจะได้รับเยียวยาครั้งละ 1,000 บาท รวม 4 สัปดาห์ รวมวงเงิน 4,000 บาทผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง

คาดว่าจะมีผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เข้าข่ายมีสิทธิได้รับเงินเยียวยาในครั้งนี้ จำนวน 9.27 ล้านคน ใช้วงเงินทั้งสิ้นประมาณ 37,100 ล้านบาท

]]>
1318073