โรคระบาด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 20 Jan 2022 09:37:04 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘twindemic’ การกลับมาของไข้หวัดใหญ่ในยุโรป กับโควิด-19 ที่ยังยืดเยื้อ https://positioningmag.com/1370969 Thu, 20 Jan 2022 08:14:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370969 ไข้หวัดใหญ่คัมเเบ็กกลับมาระบาดหนักในยุโรปด้วยอัตราที่เร็วกว่าที่คาดในช่วงฤดูหนาว สร้างความกังวลว่าจะต้องเผชิญกับ ‘twindemic’ การแพร่ระบาดของโรคแบบทวีคูณที่ยาวนานกว่าปกติ เมื่อโควิดยังยืดเยื้อเเละไข้หวัดใหญ่ก็กลับมาอีกครั้ง

การล็อกดาวน์ สวมหน้ากาก และการเว้นระยะห่างทางสังคม กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ในยุโรป ท่ามกลางการระบาดของช่วงโควิด-19 ทำให้ไข้หวัดใหญ่ที่มักจะมาในช่วงฤดูหนาวแทบไม่มีการระบาดเลยในปีก่อน

โดยไวรัสไข้หวัดใหญ่มีอัตราการคร่าชีวิตผู้คนไปทั่วโลกกว่า 650,000 คนต่อปีตามตัวเลขของสหภาพยุโรป

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในปีนี้ต่างออกไป เมื่อประเทศต่างๆ เริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ลง หลังมีการฉีดวัคซีนอย่างแพร่หลาย

ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งยุโรป เปิดเผยว่า ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธ.. ที่ผ่านมา ไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้กลับมาแพร่ระบาดในยุโรปในอัตราสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เเละจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่ต้องอยู่ในเเผนกผู้ป่วยหนัก (ICU) ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยมีจำนวนผู้ป่วยหนัก 43 รายในสัปดาห์สุดท้ายของปี ซึ่งนับว่าน้อยกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตโรคระบาด เมื่อเทียบกับปี 2018 ที่มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในห้อง ICU รายสัปดาห์สูงสุดอยู่ที่กว่า 400 ราย แต่จำนวนผู้ป่วยก็ถือว่าเพิ่มขึ้นสูงเมื่อเทียบกับช่วงปลายปี 2020 ที่มีผู้ป่วยหนักเพียง 1 รายตลอดทั้งเดือนธ..

การกลับมาของไวรัสไข้หวัดใหญ่ อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ฤดูไข้หวัดใหญ่ยาวนานกว่าปกติจากเดิมที่มักจะสิ้นสุดในเดือนพ.. ก็อาจจะขยายไปถึงช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีมีการยกเลิกมาตรการควบคุมโรค

“twindemic จะสร้างแรงกดดันอย่างมากต่อระบบสาธารณสุขที่ตึงตัวอยู่แล้ว” Pasi Penttinen ผู้เชี่ยวชาญจาก ECDC กล่าว

ฝรั่งเศสกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ หลังจากมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่อาการหนักถึง 72 ราย เสียชีวิต 6 ราย

เเละยิ่งมีความตึงเครียดมากขึ้นอีก เมื่อสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ที่กำลังแพร่ระบาดในยุโรปช่วงปีนี้เป็นสายพันธุ์เอ ชนิด H3 ซึ่งมักจะทำให้เกิดอาการป่วยรุนเเรงในหมู่ผู้สูงอายุ เเต่วัคซีนที่ใช้ในปีนี้กลับไม่ใช่ตัวที่สามารถรับมือกับ H3 ได้ดีที่สุด ซึ่งโดยปกติเเล้ววัคซีนไข้หวัดใหญ่ จะต้องมีการปรับปรุงล่วงหน้าประมาณ 6 เดือนก่อนถึงฤดูกาลของโรคในแต่ละปี

ความกังวลของ twindemic คือมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการรุนเเรงจนต้องเข้าห้อง ICU เพิ่ม ท่ามกลางไวรัสโควิด สายพันธุ์โอมิครอนที่เเพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว อาจทำให้ระบบสาธารณสุขยุโรปไม่สามารถรับมือกับผู้ป่วยหนักจาก 2 โรคพร้อมกันได้

ล่าสุดวันนี้ (20 ..) บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้ประกาศแผนการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ของรัฐบาล หลังผู้เชี่ยวชาญหลายส่วนเชื่อว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนผ่านพ้นจุดสูงสุดมาแล้ว

โดยตั้งแต่วันพุธที่ 26 มกราคมเป็นต้นไป มาตรการบังคับสวมหน้ากากจะไม่จำเป็นอีกต่อไปเเละภาคเอกชนก็ไม่จำเป็นต้องเน้นการทำงานที่บ้าน ขณะที่ประชาชนถ้าถูกตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 ก็ยังคงต้องเข้ากักตัวตามมาตรการต่อไป

 

ที่มา : Reuters , AP 

]]>
1370969
ฟังรัฐมนตรีสิงคโปร์ “โลกต้องเริ่ม! เตรียมรับมือการระบาดใหญ่ครั้งหน้า” https://positioningmag.com/1343809 Sun, 25 Jul 2021 13:30:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343809 ไม่ใช่รอให้โควิด-19 จบแล้วค่อยเตรียมตัว! รัฐมนตรีอาวุโสของสิงคโปร์ธาร์แมน แชนมูการัตนัม” (Tharman Shanmugaratnam) ส่งสัญญาณกลางงานประชุม G-20 ว่าการระบาดใหญ่ทั่วโลกครั้งต่อไปอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ดังนั้นโลกจึงควรเริ่มเตรียมพร้อมรับมือภัยครั้งหน้าตั้งแต่ตอนนี้

รัฐมนตรีอาวุโสของสิงคโปร์คนนี้เป็นประธานร่วมของคณะกรรมการ G-20 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้รวมตัวเผยแพร่รายงานเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลักคิดของธาร์แมนคือการเสนอมาตรการเพื่อป้องกันการระบาดและตอบสนองต่อการแพร่ระบาดในอนาคตอย่างรวดเร็ว

ธาร์แมนไม่ได้ย้ำว่ามาตรการนี้จะช่วยลดความเสียหาย หรือนำไปสู่การพลิกฟื้นที่ว่องไวกว่าวิกฤติโควิด-19 ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ แต่ธาร์แมนโฟกัสเรื่องการระดมทุนที่ดีขึ้นและเชื่อมั่นได้มากขึ้นเพื่อติดอาวุธให้องค์การอนามัยโลก รวมถึงสถาบันพหุภาคีทั้งธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ สามารถช่วยระดมทุนในการต่อสู้กับโรคระบาดใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคตได้ทันท่วงที

โรคใหม่เกิดได้ทุกเมื่อ

ธาร์แมน แชนมูการัตนัม คือหนึ่งในกลไกหลักผู้ปั้นนโยบายเศรษฐกิจและการศึกษาให้สิงคโปร์ จากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตั้งแต่ปี 2007-2015 ธาร์แมนเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในปี 2003-2008 ด้วย มุมมองของรัฐมนตรีอาวุโสของสิงคโปร์คนนี้ที่ว่าการระบาดใหญ่ทั่วโลกครั้งต่อไปอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ จึงเป็นเสียงกระทุ้งชาวโลกที่มีน้ำหนักมากอย่างไม่ควรมองข้าม

ธาร์แมนเป็นบุคคลที่มีภาพความเป็นนักการเมืองน้ำดีและนักเศรษฐศาสตร์มือหนึ่งที่น่าเชื่อถือ ปัจจุบัน ธาร์แมนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอาวุโส รัฐมนตรีประสานงานด้านนโยบายทางสังคม ประธานธนาคารกลางสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore) และประธานสภา National Jobs Council แห่งชาติ 

ตามประวัติ ธาร์แมนได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเดือนพฤศจิกายน 2001 และได้รับเลือกอีก 4 สมัยนับตั้งแต่นั้น ทั้งหมดเป็นผลจากความตั้งใจจริงของเด็กชายธาร์แมนที่เริ่มต้นเรียนที่สิงคโปร์บ้านเกิด ก่อนจะบินไปศึกษาที่สถาบันด้านเศรษฐศาสตร์ที่ลอนดอน แล้วไปต่อที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ต่อมาจึงคว้าปริญญาโทด้านรัฐประศาสนศาสตร์ที่เคนเนดีสคูลออฟกอฟเวิร์นเมนต์ในเครือมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พ่วงด้วยรางวัล Lucius N Littauer Fellow เพราะทำผลงานวิจัยสุดโดดเด่น

ในด้านชีวิตส่วนตัว ธาร์แมนแต่งงานกับ Jane Yumiko Ittogi ทนายความลูกครึ่งญี่ปุ่นจีนซึ่งย้ายมาอยู่ที่สิงคโปร์ตั้งแต่ 6 ขวบ จนตอนนี้หันมานั่งเก้าอี้ประธานพิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ยาวนาน 10 ปีและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการริเริ่มการพัฒนาสังคมแดนเมอร์ไลออน ทั้งคู่มีลูกสาว 1 คนและลูกชาย 3 คน

สำหรับงานประชุม G-20 ที่อิตาลี ธาร์แมนย้ำกับผู้สื่อข่าว CNBC ว่าโลกต้องเริ่มเตรียมพร้อมสำหรับภัยครั้งหน้าตั้งแต่ตอนนี้ แถมยังบอกว่าชาวโลกไม่มีเวลาหรูหราพอที่จะรอให้โควิดหมดไปก่อนแล้วจึงจะค่อยเริ่มเตรียมการสำหรับโรคระบาดใหญ่ครั้งต่อไป เพราะการระบาดใหญ่ครั้งต่อไปอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ดังนั้น สิ่งที่ชาวโลกควรทำคือการใช้ความพยายามในปัจจุบันที่ใช้แก้ไขปัญหาโควิดในขณะนี้ มาสร้างขีดความสามารถที่จำเป็นในการรับมือกับโรคระบาดครั้งต่อไป

ไอเดียนี้ไม่ได้โอเวอร์เกินไป เพราะพิษของโควิด-19 ส่งผลร้ายแรงต่อทุกภาคส่วนของโลก ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดของโควิด-19 เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลกเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว โคโรนาไวรัสซึ่งตรวจพบครั้งแรกในประเทศจีนตั้งแต่ช่วงปลายปี 2019 มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 186 ล้านคน และทำให้มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 4 ล้านคนทั่วโลก (รวบรวมข้อมูลโดยมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์)

เงินทองต้องพร้อม

หากเจาะลึกในมาตรการเพื่อป้องกันการระบาดและตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ครั้งหน้าอย่างรวดเร็ว ของคณะผู้เชี่ยวชาญระดับโลกกลุ่ม G-20 ที่นำเสนอโดยมีธาร์แมนเป็นประธานร่วมของคณะกรรมการ ร่วมกับอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ และผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก จะพบว่าหนึ่งในเนื้อหาของมาตรการหลักคือการระดมทุนที่ดีขึ้นและเชื่อมั่นได้มากขึ้น” 

ประเด็นนี้ ธาร์แมนเสริมว่าระบบระหว่างประเทศในปัจจุบัน ทั้งองค์การอนามัยโลก ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศล้วนยังไม่ตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ทั่วโลกได้ดีนัก เพราะยังมีความกระจัดกระจาย และขาดทุนสนับสนุน เพื่ออุดช่องว่างนี้ คณะผู้พิจารณาเสนอให้จัดตั้งกองทุนระดับโลกขึ้นใหม่ด้วยเงินขั้นต่ำ 10,000 ล้านดอลลาร์ต่อปีหรือ 328,700 ล้านบาท

รัฐมนตรีสิงคโปร์อธิบายว่า แม้ระบบโลกจะมีธรรมาภิบาลด้านสุขภาพภายใต้สมัชชาอนามัยโลกและองค์การอนามัยโลก แต่สิ่งที่ยังขาดหายไป คือโลกไม่มีระบบที่นำการเงินมารวมกับสุขภาพ และนี่เป็นสาเหตุที่ระบบไม่ได้รับทุนสนับสนุนที่ดีพอ

ธาร์แมนย้ำว่าปัญหาคือองค์กรโลกเหล่านี้ตอบสนองหรือลงมือแก้ปัญหาหลังจากเกิดเหตุการณ์หรือเกิดวิกฤตขึ้นแล้ว ทำให้ไม่สามารถจัดการกับวิกฤตในอนาคตแบบเชิงรุกได้ การจัดการกับวิกฤติระดับโลกจึงไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 

สิ่งที่ต้องจับตาดูนับจากนี้ คือใครจะเป็นเจ้าภาพเพื่อเตรียมพร้อมให้ โลกรับมือการระบาดใหญ่ครั้งหน้าตั้งแต่ตอนนี้ หากทำได้จริง ความเสียหายก็อาจจะไม่ขยายตัววงกว้าง และจะฟื้นฟูได้ง่ายกว่าแน่นอน.

ที่มา

]]>
1343809
‘Sanofi’ เตรียมทุ่ม 400 ล้านยูโร ตั้งโรงงานผลิตวัคซีนใน ‘สิงคโปร์’ รองรับโรคระบาดในอนาคต https://positioningmag.com/1327778 Tue, 13 Apr 2021 08:43:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327778 ‘Sanofi’ บริษัทยายักษ์ใหญ่จากฝรั่งเศส ลงทุนหนักหลังตามไม่ทันคู่เเข่ง เตรียมทุ่ม 400 ล้านยูโร (ราว 1.5 หมื่นล้านบาท) สร้างโรงงานเเห่งใหม่ในสิงคโปร์ภายในช่วง 5 ปีนี้ เพื่อผลิตวัคซีนหลายชนิด รองรับโรคระบาดในอนาคต

Sanofi ระบุว่าการขยายโรงงานดังกล่าว เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตวัคซีนจำนวนมหาศาลในเอเชีย พร้อมตอบสนองต่อความเสี่ยงจากการเเพร่ระบาดเเบบใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก

คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ พร้อมดำเนินการได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2026 โดยส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อนำมาใช้ในเอเชีย เเละเสริมกำลังการผลิตที่มีอยู่ของบริษัทในยุโรปและอเมริกาเหนือ

จุดเด่นของโรงงานใหม่ในสิงคโปร์เเห่งนี้ คือจะสามารถผลิตวัคซีนได้ 3-4 ชนิด ด้วยต้นทุนที่ลดลง ขณะที่
โรงงานอื่นๆ ของ Sanofi ผลิตวัคซีนได้เเห่งละชนิดเท่านั้น

อีกทั้งยังจะสามารถผลิตวัคซีนชนิดพิเศษขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว ตามสถานการณ์เเละความจำเป็นด้านสาธารณสุข จากแพลตฟอร์มเทคโนโลยีการผลิตที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดเซลล์ที่แตกต่างกัน 

การดึงดูดลงทุนของภาคเอกชนต่างชาติ เป็นหนึ่งในนโยบายการตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลสิงคโปร์ ที่ก่อนหน้านี้ ประกาศตัวเตรียมเป็น ‘จุดศูนย์กลาง’ ขนส่งวัคซีนไปทั่วภูมิภาค โดยชูความพร้อมทางด้านดิจิทัล

ขณะเดียวกัน Sanofi กำลังสู้กับการเเข่งขันที่ดุเดือดในวงการผู้ผลิตวัคซีน ที่ถูกคู่เเข่งอย่าง Pfizer-BioNTech , Moderna , Johnson & Johnson เเซงหน้าเรื่องการผลิตวัคซีน COVID-19 ไปจึงมีความพยายามที่จะกลับมาชิงตลาดอีกครั้งด้วยการทุ่มลงทุนครั้งใหญ่ ซึ่ง Sanofi เผยว่าวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาของบริษัทจะพร้อมใช้ได้เร็วที่สุดในช่วงปลายปี 2021

 

ที่มา : CNA , Straitstimes

]]>
1327778
ซีอีโอ ‘Moderna’ ผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ มองว่า COVID-19 อาจจะอยู่กับเรา ‘ตลอดไป’ https://positioningmag.com/1314626 Sun, 17 Jan 2021 11:50:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314626 ซีอีโอของบริษัทผู้ผลิตวัคซีน COVID-19 รายใหญ่ของโลกอย่างModerna’ บอกว่า เราอาจจะต้องอยู่กับไวรัสชนิดนี้ตลอดไป

สอดคล้องกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดหลายคนที่มองว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ไวรัสโคโรนาจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่สามารถพบได้ตลอดเวลา แม้ว่าตอนนี้มีอัตราการระบาดจะลดลงแล้วก็ตาม

Stephane Bancel ซีอีโอของ Moderna กล่าวในงาน JPMorgan Healthcare Conference ตอนหนึ่งว่าผู้คนทั่วโลกอาจจะต้องอยู่กับไวรัสชนิดนี้ตลอดไป มันจะไม่หายไปไหน’

ด้านเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข กำลังจับตาการกลายพันธุ์ของ COVID-19 อย่างต่อเนื่อง เเม้ตอนนี้จะมีการผลิตวัคซีนออกมาเเละมีการเริ่มฉีดให้ประชาชนบางส่วนเเล้ว เเต่นักวิจัยจากรัฐโอไฮโอ สหรัฐฯ ระบุว่า พวกเขาเพิ่งค้นพบ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ 2 ชนิดที่มาจากอเมริกา เเละเริ่มเเพร่ระบาดในประเทศมาอย่างน้อย 3 สัปดาห์เเล้ว ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2020

ก่อนหน้านี้ มีการค้นพบการกลายพันธุ์ของ COVID-19 ในอังกฤษเเละเเอฟริกาใต้ ก่อนจะลุกลามไปเเล้วกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งคาดว่าการกลายพันธุ์ดังกล่าวสามารถเเพร่ระบาดได้เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก

โดยองค์การอนามัยโลก ระบุว่าตอนนี้มีไวรัส COVID-19 อยู่ 4 สายพันธุ์ เเต่ความรุนเเรงที่อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตยังไม่เท่ากับสายพันธุ์เดิม

ด้านนักวิจัยจาก Pfizer ระบุว่า วัคซีนที่ได้ร่วมพัฒนากับ BioNTech นั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกัน COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในอังกฤษและในแอฟริกาใต้ 

ส่วนวัคซีนของ Moderna เพิ่งได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ให้สามารถใช้กับชาวอเมริกันที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปได้ แต่วัคซีนสำหรับเด็กยังต้องพัฒนาต่อไป เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของเด็กแตกต่างกับผู้ใหญ่

ตอนนี้ ทางการสหรัฐฯ กำลังเร่งเเจกจ่ายวัคซีนให้กับประชาชน เเต่ยังต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าที่จะครอบคลุมประชากรในจำนวนที่เพียงพอให้เกิด ‘herd immunity’ หรือการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้

ซีอีโอของ Moderna มองว่า สหรัฐฯ น่าจะเป็นหนึ่งในประเทศขนาดใหญ่ชาติเเรกๆ ที่ประสบความสำเร็จจากการปกป้องจากโรค COVID-19 ด้วยการฉีดวัคซีนอย่างเพียงพอ

 

ที่มา : CNBC

]]> 1314626 ประธานาธิบดี “มุน แจอิน” โดนชาวเกาหลีใต้วิจารณ์หนัก เหตุจัดหาวัคซีน COVID-19 ล่าช้าเกินไป https://positioningmag.com/1311846 Thu, 24 Dec 2020 05:37:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311846 ประธานาธิบดีมุน เเจอินของเกาหลีใต้ กำลังเผชิญเเรงกดดันจากสังคม หลังโดนประชาชนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เกี่ยวกับแผนการจัดหาวัคซีนต้านโรค COVID-19 ที่ล่าช้าเกินไป

สื่อเกาหลีใต้ มองว่า แผนจัดหาวัคซีนต้าน COVID-19 ของรัฐบาลว่า พึ่งพาวัคซีนที่พัฒนาในประเทศมากเกินไป อีกทั้งยังต้องรอนานกว่าการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศ

ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนของ Realmeter ระบุว่า ชาวเกาหลีใต้กว่า 6 ใน 10 คนเชื่อว่าการจัดหาวัคซีนเป็นเรื่องเร่งด่วน เเละต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับเเรก ซึ่งการแจกจ่ายวัคซีนให้ประชาชนควรเริ่มให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่กำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

เกาหลีใต้กำลังต่อสู้กับการเเพร่ระบาดระลอก 3” ที่ทวีความรุนเเรงขึ้นในช่วงฤดูหนาว โดยเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ที่ผ่านมา ทางการเกาหลีใต้ได้ตรวจพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่เพิ่มขึ้น 1,092 คน ถือเป็นจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่เกิดโรคระบาดมาตั้งเเต่ช่วงต้นปี ส่งผลให้ปัจจุบันมียอดผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มเป็น 52,550 คน และผู้เสียชีวิตสะสมที่ 739 คน 

ด้านทำเนียบประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ออกมาชี้เเจงว่า โครงการจัดหาวัคซีนให้ประชาชนไม่ได้ล่าช้าตามที่โดนวิพากษ์วิจารณ์ เพราะรัฐบาลจะเริ่มแจกจ่ายวัคซีนให้ได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้านี้

(Photo by Korea Centers for Disease Control and Prevention via Getty Images)

ขณะที่หน่วยงานด้านสาธารณสุขแสดงความกังวลว่า ชาวเกาหลีใต้บางส่วนกำลังคิดว่าการได้ฉีดวัคซีนต้าน COVID-19 เป็นการแข่งขันกับนานาชาติ เเทนที่จะมุ่งไปที่ความปลอดภัยของวัคซีนที่นำมาฉีดให้ประชาชน

Son Young-rae เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข บอกว่า ประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้อสูง อย่างสหรัฐฯ เเละสหราชอาณาจักร จำเป็นต้องใช้วัคซีนอย่างเร่งด่วน เพราะไม่มีมาตรการควบคุมไวรัสโคโรนาที่มีประสิทธิภาพมากพอ

เราไม่สามารถยึดประเทศเหล่านี้เป็นต้นแบบได้ เพราะต้องคำนึงถึงการตรวจสอบความปลอดภัยของวัคซีนก่อน ดังนั้นจึงไม่มีความเหตุผลที่เกาหลีใต้จะต้องเป็นประเทศแรกหรือประเทศที่สองที่ได้รับวัคซีน

Reuters รายงานโดยอ้างเเหล่งข่าวว่า วัคซีนต้าน COVID-19 ชุดแรกของเจ้าหน้าที่ทหารสหรัฐฯ ที่ประจำการอยู่ในเกาหลีใต้ จะมาถึงเร็วที่สุดในวันนี้ (24 ..) โดยมีทหารอเมริกันประจำการอยู่ในเกาหลีใต้ ราว 28,500 นาย ซึ่งจะเริ่มแจกจ่ายวัคซีนในชั้นต้นให้กับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่กู้ภัยก่อน เพื่อปกป้องกองกำลังและชุมชนทหารอเมริกันจาก COVID-19

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลเกาหลีใต้สั่งยกระดับความเข้มงวดในเขตกรุงโซลและปริมณฑล ห้ามการรวมกลุ่มเกิน 4 คน ปิดสกีรีสอร์ตและจุดท่องเที่ยวหน้าหนาวทั้งหมด ระหว่างวันที่ 23 .. 2020 ถึง 3 .. 2021 เพื่อเป็นการคุมเข้มรับมือช่วงฉลองคริสต์มาสและปีใหม่ หลังจากเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน เกาหลีใต้เพิ่งสั่งห้ามการจัดเลี้ยงสังสรรค์ในที่สาธารณะ เช่น ห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง โรงแรม ในเขตโซลและปริมณฑลยาวแบบไม่มีกำหนด

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1311846
เกาหลีใต้ ห้ามจัด “ปาร์ตี้ปีใหม่” งดงานเลี้ยง-สังสรรค์ในที่สาธารณะ สกัด COVID-19 พุ่ง https://positioningmag.com/1308173 Sun, 29 Nov 2020 11:15:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308173 เกาหลีใต้ ออกคำสั่งห้ามจัดปาร์ตี้งานเลี้ยง งานดนตรี เเละงดสังสรรค์ต้อนรับปีใหม่ในพื้นที่สาธารณะ เพื่อสกัดการเเพร่ระบาดของ COVID-19

เกาหลีใต้เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่จัดการโรคระบาด COVID-19 ได้ดีในช่วงเเรก เเต่เมื่อเกิดการเเพร่ระบาดระลอกที่สาม ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อใหม่ตอนนี้ยังพุ่งสูงไม่หยุด สะเทือนเศรษฐกิจของประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของเอเชีย

นายกรัฐมนตรีของเกาหลีใต้ ประกาศว่า ทางการต้องสั่งงดจัดงานเลี้ยงทุกประเภททุกกรณีไม่ว่าจะจัดที่โรงแรมห้องจัดเลี้ยง หรือห้องเช่าสำหรับพักชั่วคราว เเละต้องงดการกิจกรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ในพื้นที่สาธารณะทั้งหมดด้วย

รวมไปถึงการงดให้บริการห้องอบไอน้ำ ห้องซาวน่า การสอนเครื่องดนตรีเป่าลมและการร้องเพลง ก็จำเป็นต้องพักการเรียนการสอนไปก่อนในช่วงนี้

โดยคำสั่งดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ทันทีตั้งแต่วันนี้ (29 ..) ไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมในกรุงโซลและปริมณฑล จะยังคงอยู่ที่ระดับ 2 ส่วนพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศจะยกระดับความเข้มงวดขึ้นไปอีกขั้น ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมนี้

สำหรับสถานการณ์ล่าสุด เกาหลีใต้พบผู้ป่วย COVID-19 รายใหม่ราว 450 คน ถือว่าน้อยกว่าสามวันที่ผ่านมาที่พบเกินวันละ 500 คน โดยการกลับมาระบาดระลอกสามครั้งนี้มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบ 9 เดือน ซึ่งส่วนใหญ่พบตามสถานที่ตั้งทางทหาร ห้องซาวน่า โรงเรียนมัธยม และโบสถ์

 

ที่มา : Reuters , Arirang 

 

 

]]>
1308173
วิกฤตเเรงงานสหรัฐฯ “ผู้หญิง” ต้องออกจากงานมา “ดูเเลลูก” ว่างงานสูงกว่าผู้ชายถึง 8 เท่า  https://positioningmag.com/1300986 Sat, 10 Oct 2020 09:43:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300986 วิกฤต COVID-19 กระทบโครงสร้างเเรงงานสหรัฐฯ ทำให้ผู้หญิงต้องออกจากงานมากกว่าผู้ชายถึง 8 เท่า โดยเเรงงานหญิงต้องออกมา “ดูเเลลูก” ในช่วงล็อกดาวน์ ทำให้ความไม่เท่าเทียมกันในเศรษฐกิจของอเมริกาทวีความรุนแรงขึ้น

จากรายงานของ CNN ระบุว่า ทางการสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลเเรงงานเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา พบว่า ผู้หญิงชาวอเมริกันต้องออกจากงานมากกว่าผู้ชายถึง 8 เท่า โดยมีผู้หญิงต้องออกจากงาน 617,000 คน ครึ่งหนึ่งอยู่ในช่วงอายุ 35-44 ปี ขณะที่มีผู้ชายออกจากงานเพียง 78,000 คน

เเม้ตอนนี้อัตราการว่างงานสหรัฐฯ จะลดลงเเล้ว หลังคลายล็อกดาวน์ เเต่อัตราว่างงานของผู้หญิงทั้งประเทศอยู่ที่ 8% โดยเฉพาะผู้หญิงผิวสีเเละผู้หญิง Hispanic American (คนอเมริกันเชื้อสายเปอร์โตริโก อเมริกากลาง อเมริกาใต้) ยิ่งมีอัตราว่างงานเพิ่มสูงมากขึ้นไปอีก

สาเหตุที่ผู้หญิงตกงานมากกว่าผู้ชายในช่วง COVID-19 นั้น หลักๆ มาจากอุตสาหกรรมที่ผู้หญิงทำงานส่วนใหญ่อย่างการท่องเที่ยวเเละโรงเเรม ได้รับผลกระทบอย่างหนัก หลายบริษัทต้องปิดกิจการหรือลดต้นทุนโดยการปลดพนักงานอย่างกะทันหัน

อีกทั้งในช่วงมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้แต่ละครอบครัวต้องมีคนรับผิดชอบงานบ้านและดูแลลูก ในช่วงที่โรงเรียนปิดทำการชั่วคราว ทำให้ผู้หญิงจำนวนมากจำเป็นที่จะออกจากงานมาดูแลลูก และให้ผู้ชายไปทำงานนอกบ้านแทน

Russel Price ประธานบริษัทการเงิน Ameriprise ให้ความเห็นว่า อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงต้องออกจากงานในช่วงวิกฤต COVID-19 เนื่องจากมีบริการดูแลเด็กน้อยลงถึง 18% ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับช่วงก่อนมีโรคระบาด ทำให้ผู้หญิงไม่มีทางเลือก ต้องเลือกที่จะมาดูแลลูกๆ ที่บ้านเอง

โดยปัญหาใหญ่ที่ตามมาตอนนี้คือ เเม้สถานการณ์คลี่คลายมากขึ้น เเต่ผู้หญิงจำนวนมากที่ออกมาดูเเลบ้าน ไม่สามารถกลับเข้าไปสู่ตลาดเเรงงานอีกครั้งได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่น่าเป็นห่วงอย่างพ่อเเม่เลี้ยงเดี่ยวที่ต้องเเบกภาระค่าใช้จ่ายสูง เมื่อพวกเขาไม่มีงานทำ ก็ยิ่งทำให้ทำให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวช้าเเละเป็นปัญหาสังคมยิ่งขึ้นไปอีก

 

ที่มา : CNN 

]]>
1300986
WHO คาดว่า วิกฤตโรคระบาด COVID-19 จะจบลงได้ ภายใน 2 ปี https://positioningmag.com/1293778 Sun, 23 Aug 2020 12:10:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293778 องค์กรอนามัยโลก เชื่อว่าจะหยุดการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ภายใน 2 ปี ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันที่ก้าวหน้าไปมาก พร้อมเริ่มรณรงค์การสวมหน้ากากอนามัยในเด็ก เเละเปรียบเทียบการคอร์รัปชันชุด PPE ว่าเป็นการก่ออาชญากรรม

นายเเพทย์ Tedros Ghebreyesus ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า โรคระบาด COVID-19 ถือเป็นวิกฤตสาธารณสุขครั้งใหญ่ในรอบศตวรรษ โดยหวังว่าไวรัสโคโรน่าดังกล่าว จะหยุดแพร่ระบาดภายใน 2 ปี เช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ เมื่อปี 1918 ที่สิ้นสุดในระยะเวลาเดียวกันนี้

โดยปัจจัยหลักๆ มาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันที่จะช่วยให้สามารถหยุดการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ในระยะเวลาสั้นกว่า นอกเหนือจากนั้นยังมีความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกันของชาวโลกด้วย

ผู้อำนวยการใหญ่ WHO กล่าวอีกว่า เเม้การเดินทางที่เชื่อมต่อกันในปัจจุบัน จะทำให้เชื้อไวรัสมีโอกาสแพร่กระจายมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน เราก็มีเทคโนโลยีมีความรู้ที่จะหยุดยั้งมันได้ดีขึ้น

ทั้งนี้ WHO ได้เลี่ยงใช้คำเรียกโรคไข้หวัดใหญ่ เมื่อ 102 ปีก่อนว่าไข้หวัดสเปนตามที่หลายคนคุ้นเคย เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของโรค เเต่สเปนได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยขณะนั้นมียอดรวมผู้เสียชีวิตทั้งหมดราว 50 ล้านคน จากจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมราว 500 ล้านคน และใช้เวลามากกว่า 2 ปี จึงสามารถควบคุมสถานการณ์ได้

ล่าสุด WHO ได้ร่วมมือกับสหประชาชาติในการเผยแพร่แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค COVID-19 ในเด็ก เเละเเนะนำให้ผู้มีอายุตั้งแต่ 12 ปีควรสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ส่วนผู้มีอายุน้อยกว่านั้นให้อยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้ปกครอง ขณะที่กรณีการคอร์รัปชันชุดป้องกันการติดเชื้อ (PPE) ที่เกิดขึ้นในแอฟริกาใต้นั้น ผอ.WHO เปรียบเทียบว่า ไม่ต่างอะไรจากการก่ออาชญากรรม เพราะทำให้บุคคลกรทางการแพทย์ที่กำลังทำหน้าที่ต้องเสี่ยงชีวิตไปด้วย

สำหรับยอดผู้ป่วยจาก COVID-19 สะสมทั่วโลก ตอนนี้อยู่ที่อย่างน้อย 22.5 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตสะสมอย่างน้อย 7.89 เเสนคน

 

ที่มา : BBC , VOA

]]> 1293778 COVID-19 : การระบาดระลอกสองเกิดขึ้นหรือยัง และจะมาเมื่อไหร่? https://positioningmag.com/1285598 Mon, 29 Jun 2020 06:10:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285598 หลังประเทศต่างๆ รอบโลกเริ่มผ่อนคลายการล็อกดาวน์และกฎการเว้นระยะห่างทางสังคม บางพื้นที่จึงเกิดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีกครั้ง แต่คำถามก็คือ ต้องเกิดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมากแค่ไหน นานแค่ไหน และเป็นวงกว้างแค่ไหน จึงจะเรียกได้ว่าเป็นการระบาดระลอกสองของโรค COVID-19 และผู้เชี่ยวชาญคาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่

ในสหรัฐอเมริกา เคสผู้ติดเชื้อรายใหม่เริ่มลดลงจนเหลือประมาณ 20,000 รายต่อสัปดาห์ ก่อนจะกลับขึ้นมาพุ่งขึ้นอีกเมื่อเร็วๆ นี้ สหรัฐฯ รายงานพบจำนวนผู้ติดเชื้อถึง 40,000 คนเฉพาะในวันที่ 25 มิถุนายน 2020 เพียงวันเดียว นับเป็นวันที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากที่สุดตั้งแต่เกิดโรคระบาดในสหรัฐฯ มา

วันเดียวกันนั้น ฮานส์ คลูจ ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคยุโรปของ องค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงว่าประเทศ 30 ประเทศในยุโรปพบเคสผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะเริ่มผ่อนคลายล็อกดาวน์ โดยมี 11 ประเทศในจำนวนดังกล่าวที่มี “การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ” ของเคสผู้ติดเชื้อ ทั้งนี้ คลูจขอสงวนการระบุชื่อประเทศ

Photo : Shutterstock

อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า จะประกาศว่าพื้นที่เหล่านี้มีการระบาดระลอกสองได้หรือยังนั้นยังไม่แน่ชัด เนื่องจากนิยามของ “ระลอกสอง” ก็ยังไม่ชัดเจนเช่นกัน

“แอนโธนี ฟอซี” ผู้อำนวยการสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา ให้สัมภาษณ์กับ The Washington Post เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2020 ว่า สหรัฐฯ ยังถือว่าเป็นการระบาดรอบแรกอยู่ แม้ว่าจะเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงและกลับเพิ่มขึ้นในเวลาที่แตกต่างกัน และเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศก็ตาม

 

ไม่น่าจะเกิดจากการกลายพันธุ์ แต่เกิดจากคนเปลี่ยนพฤติกรรม

ด้าน “จอห์น แมทธิวส์” ศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านสุขภาวะโลกและประชากร มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น กล่าวว่า “การระบาดระลอกสอง” ตามปกติแล้วจะหมายถึง สภาวะที่โรคมีการระบาดลดลงอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการกลับมาระบาดซ้ำสูงอย่างกะทันหัน

“แต่ไม่เคยมีใครให้คำนิยามการวัดสเกลอย่างชัดเจนว่าเท่าไหร่จึงจะเรียกว่าระบาดรอบสอง ไม่ว่าจะเป็นนิยามของช่วงเวลา พื้นที่ หรือจำนวนผู้ติดเชื้อ” แมทธิวส์กล่าวและเสริมว่า นิยามของระลอกสองยังคงคลุมเครือ และไม่ควรมีใครใช้คำนี้อย่างไม่ระมัดระวัง

การระบาดระลอกสองมักจะถูกเชื่อมโยงเข้ากับการระบาดของ ไข้หวัดใหญ่สเปน เมื่อปี 1918 ซึ่งทำให้มีผู้ติดเชื้อ 500 ล้านคน และเสียชีวิต 50 ล้านรายทั่วโลก ความร้ายแรงของมันเกิดจากการระบาดรอบสองซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่ารอบแรก และมาเกิดขึ้นเอาหลายเดือนหลังจากรอบแรกผ่านไปแล้ว รวมถึงยังมีระลอกที่สามตามมาอีกในหลายประเทศช่วงปี 1919

photo: Shutterstock

แมทธิวส์กล่าวว่า การระบาดระลอกสองของไข้หวัดใหญ่แบบนี้มักจะเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของตัวไวรัสเอง หรือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน ซึ่งในกรณีของไข้หวัดสเปน 1918 คาดว่าเกิดจากการเปลี่ยนในตัวไวรัสเอง เนื่องจากประชากรจำนวนหนึ่งเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันได้ ทำให้ไวรัสไข้หวัดใหญ่เริ่มพัฒนาตนเองเพื่อ “หลีกเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกัน” และกลับมาทำให้คนติดเชื้ออีกครั้ง

“เราไม่คิดว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นกับไวรัสโคโรนาเร็วๆ นี้” เขากล่าว เนื่องจากปริมาณประชากรที่มีภูมิคุ้มกันยังต่ำอยู่ เปรียบเทียบกับทฤษฎีว่าจะต้องมีประชากรที่มีภูมิคุ้มกัน 60-70% นั่นหมายถึงต้องมีการคิดค้นวัคซีนได้ก่อน และเมื่อประชากรมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น จะบีบบังคับให้ไวรัสต้องหยุดการแพร่ระบาดหรือกลายพันธุ์

เมื่อมาดูสถานการณ์ปัจจุบัน ประชากรส่วนใหญ่ยังอ่อนแอต่อโรค COVID-19 ดังนั้นตัวแปรที่อาจทำให้เกิดการระบาดระลอกสองจึงเป็น “การเปลี่ยนพฤติกรรมของคน” ซึ่งมาจากการบังคับใช้กฎเกณฑ์ของรัฐบาลแต่ละประเทศ

 

“มาแน่” แค่จะมาเมื่อไหร่

“ฮันนาห์ แคลปแฮม” นักระบาดวิทยาและผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านสาธารณสุข มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เห็นด้วยว่า ปัจจัยสำคัญในการระบาดนี้คือนโยบายด้านสาธารณสุขที่ใช้ตอบโต้การพุ่งขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อ

นิยามการระบาดระลองสองสำหรับแคลปแฮมนั้น เธอมองว่าไม่ใช่การพบเคสผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นสูงในวันเดียว แต่เป็นการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของเคสอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่นั้นจะตอบโต้อย่างไรในเชิงนโยบายสาธารณสุขเพื่อควบคุมการติดต่อ

ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนกังวลว่าประวัติศาสตร์ไข้หวัดสเปน 1918 จะกลับมาอีกครั้ง “เกือบจะแน่ใจได้เลยว่าการระบาดระลองสองต้องเกิดขึ้น หากยังไม่มีวัคซีนป้องกันเมื่อถึงจุดนั้น” กาเบรียล เหลียง คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮ่องกง กล่าวบนเวทีสัมมนาออนไลน์เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา

“ระหว่างช่วงกลางถึงปลายฤดูใบไม้ร่วง น่าจะเกิดวิกฤตอีกครั้งหนึ่ง” เขากล่าว (*อยู่ในช่วงราวกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน)

Source

]]>
1285598
ต่ำสุดนับจากวิกฤตต้มยำกุ้ง ! EIC หั่นเป้าจีดีพีไทย -5.6% ส่งออกทรุด ปิดเมืองกระทบบริโภค https://positioningmag.com/1271508 Fri, 03 Apr 2020 05:21:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271508 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2020 เป็นหดตัวที่
–5.6% จากคาดการณ์เดิมที่ -0.3% นับว่าต่ำสุดนับจากวิกฤตต้มยำกุ้งปี 1998 ด้านส่งออกยังเจอสรสุมหนัก คาดปีนี้หดตัวที่ -12.9%

โดยมีสาเหตุหลัก ๆ จากเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะถดถอยจากการเเพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มาตรการปิดเมืองของไทย และจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มลดลงมากและฟื้นตัวช้า ซึ่งสรุปได้ 4 ข้อ ดังนี้

1) เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยจากการหยุดลงแบบฉับพลันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (sudden stop) เป็นผลจากปัญหาโควิด-19 และมาตรการปิดเมืองของหลายประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกสินค้าของไทยมีแนวโน้มหดตัวมากที่ -12.9% ในปีนี้

2) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีแนวโน้มจะลดลงมากและฟื้นตัวล่าช้ากว่าที่คาด โดยจะลดมาอยู่ที่ 13.1 ล้านคนในปีนี้ หรือหดตัวที่ -67% จากปีก่อนหน้า เป็นผลจากความกังวลของนักท่องเที่ยวต่อการเดินทางระหว่างประเทศตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนและการรักษาโรคที่ได้ผล และจากรายได้ของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกในปีนี้

3) การประกาศปิดเมืองในหลายส่วนของไทย ซึ่งแม้เป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นในการควบคุมการระบาดของโรค แต่จะส่งผลให้การบริโภคสินค้าและบริการของภาคครัวเรือนโดยรวมลดลง ซึ่งเป็นผลกระทบที่เพิ่มเติมจากความกังวลของผู้บริโภคต่อธุรกรรมที่มีลักษณะ face-to-face ในช่วงโรคระบาดอยู่แล้ว

4) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งนโยบายการเงินและการคลังที่คาดว่าจะมีออกมาเพิ่มเติม จะมีส่วนสำคัญในการช่วยบรรเทาผลกระทบของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย โดย EIC ได้เพิ่มสมมติฐานของเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากการออก พรก. กู้ฉุกเฉิน จำนวน 200,000 ล้านบาทไว้ในการประมาณรอบนี้ด้วย

เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย

จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกที่รุนแรงเพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดของหลายประเทศ ทำให้ EIC คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย และมีแนวโน้มหดตัวที่ -2.1% ในปี 2020 ต่ำกว่าช่วงวิกฤตการเงินโลกปี 2008-09

จากผลกระทบของการระบาดโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจโลกที่มีมากกว่าคาด สะท้อนจากข้อมูลเร็วอย่างดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของสหรัฐ ยูโรโซน และญี่ปุ่นในเดือนมีนาคมที่ลดลงเหลือ 40.5, 31.4 และ 35.8 ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงหรือต่ำกว่าช่วงวิกฤตการเงินปี 2008

นอกจากนี้ มาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดของหลายประเทศ ยังส่งผลโดยตรงต่อการหยุดชะงักอย่างฉับพลันของกิจกรรมเศรษฐกิจ (sudden stop) ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบอย่างหนักต่อภาคเศรษฐกิจจริง (real sector) ในหลายประเทศทั่วโลก

ดังนั้น EIC จึงประเมินว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเข้าสู่สภาวะถดถอย (global recession) โดยจะหดตัวที่ -2.1% ทั้งนี้ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกประกอบกับปัญหาด้าน supply disruption ที่จะมีเพิ่มขึ้น จากการหยุดชะงักด้านการผลิตของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงการลดลงอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมันในตลาดโลก จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการส่งออกของไทย โดย EIC ได้ปรับลดประมาณการมูลค่าการส่งออกของไทยในปีนี้ เป็นหดตัวที่ -12.9% จากเดิมที่คาดไว้ที่ -5.8%

คาดนักท่องเที่ยวลดฮวบ -67% ฟื้นตัวช้า 

ด้านสถานการณ์ท่องเที่ยว EIC ได้ปรับคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2020 ลดลงเหลือเพียง 13.1 ล้านคน (เดิมคาด 27.7 ล้านคน) หรือหดตัว -67% จากปีก่อน โดยเป็นผลจากมาตรการปิดประเทศของประเทศต่าง ๆ เพื่อควบคุมการระบาดของ โควิด-19 ประกอบกับความกังวลของนักท่องเที่ยวต่อการเดินทางระหว่างประเทศทำให้ข้อมูลนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางผ่าน 5 สนามบินหลัก (สุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ และหาดใหญ่) ในช่วงวันที่ 1-28 มีนาคม หดตัวที่ -78%YOY และในช่วง 1-2 วันล่าสุดหดตัวเกือบ 100%YOY

เมื่อมองไปข้างหน้าในช่วงที่เหลือของปี EIC ประเมินว่า จำนวนนักท่องเที่ยวจะหดตัวรุนแรงที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 2 เนื่องจากเป็นช่วงที่ประเทศส่วนใหญ่จะมีมาตรการปิดประเทศอย่างเข้มงวดเพื่อควบคุมการระบาดของโรค และแม้หลังจากนั้น มาตรการอาจเริ่มถูกผ่อนคลายได้ในช่วงครึ่งหลังของปี แต่ความกังวลของนักท่องเที่ยวต่อการเดินทางระหว่างประเทศตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนหรือการรักษาโรคที่ได้ผล

ประกอบกับรายได้ของนักท่องเที่ยวที่จะลดลงตามภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก จะทำให้การฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นไปอย่างช้า ๆ โดยคาดว่า ตัวเลขนักท่องเที่ยวในเดือนธันวาคมจะกลับมาได้เพียงประมาณ 50% ของเดือนธันวาคมปีที่แล้ว

ปิดเมืองกระทบการบริโภค 

การประกาศปิดเมือง (lockdown) ในหลายเมืองสำคัญของไทย ประกอบกับความตื่นกลัวด้านการระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อการบริโภคสินค้าและบริการในภาพรวม มาตรการปิดเมืองเป็นมาตรการ social distancing ที่จำเป็นที่ประเทศส่วนใหญ่นำมาใช้เพื่อ flattening the curve ของการระบาด ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียของชีวิตผู้คนและการสูญเสียทางเศรษฐกิจในภาพรวม แต่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะสั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โดย EIC ประเมินจากหลายงานศึกษาในต่างประเทศ พบว่า ในช่วงการ lockdown ระหว่างการเกิดโรคระบาด สินค้าที่จะมียอดขายเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าหมวดอาหาร สินค้าหมวดการทำความสะอาด ยา และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ รวมถึงการใช้บริการอินเทอร์เน็ตตามการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ การทำงานที่บ้าน และกิจกรรมสันทนาการออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น เช่น ดูหนัง ฟังเพลง และเล่นเกมส์ เป็นต้น

ขณะที่สินค้าและบริการที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบทางลบค่อนข้างมาก คือ การเดินทาง ท่องเที่ยว งานนิทรรศการ โรงแรมและร้านอาหาร การคมนาคมขนส่ง กิจกรรมสันทนาการ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องแต่งกาย โดยแม้จะมีบางสินค้าที่ได้รับประโยชน์ แต่ในภาพรวม การบริโภคมีแนวโน้มลดลงมากกว่า

ทั้งนี้ หากช่วงเวลาที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปตามความกังวลต่อธุรกรรมในลักษณะ face-to-face และจากมาตรการปิดเมือง มีระยะเวลา 1 เดือน การบริโภคภาคเอกชนจะลดลงและทำให้ GDP ไทยปี 2020 หายไปประมาณ -0.6 percentage point

“เชื่อว่าในระยะต่อไป ภาครัฐจะเร่งดำเนินการออกมาตรการการคลังเพื่อชดเชยรายได้ให้กับแรงงานและผู้ประกอบการที่ตกงานหรือสูญเสียรายได้จากโควิด-19 ทั้งในส่วนการโอนเงินให้กับผู้ถูกกระทบจำนวน 3 ล้านคนที่ประกาศไปแล้ว และการเพิ่มวงเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ถูกกระทบได้มากขึ้น ผ่านการออก พ.ร.ก. กู้เงินฉุกเฉิน ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการอัดฉีดเงินให้ถึงมือของผู้เดือดร้อนได้ตรงจุดและประคับประคองเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วขึ้น”

ทั้งนี้ EIC ได้ใส่สมมติฐานวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมผ่านการออก พ.ร.ก. กู้เงินฉุกเฉินจำนวน 200,000 ล้านบาทในการประมาณการเศรษฐกิจรอบนี้แล้วด้วย

 

]]>
1271508