Saturday, April 27, 2024
Home Tags Corporate

Tag: Corporate

ช็อปใหม่ “โซนี่” ประสบการณ์สำคัญกว่าขาย

เมื่อสินค้าแก็ดเจ็ตกำลังเฟื่องฟูและมีการแข่งขันสูง การใช้พื้นที่หน้าร้านเพื่อนำเสนอสินค้ารุ่นล่าสุดโดยให้ลูกค้าสามารถทดลองสัมผัสจริงได้อย่างเต็มที่จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะนอกจากช่วยกระตุ้นยอดขายแล้ว ยังเพิ่มประสบการณ์การใช้งานแก่ผู้บริโภคให้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นมากกว่าการฟังพนักงานอธิบายตัวสินค้าเพียงอย่างเดียว ดังเช่นที่แอปเปิลเคยประสบความสำเร็จมาแล้วจาก “Apple Store” และ “iStudio”  ด้วยเหตุนี้ แบรนด์ไอทีรายใหญ่จากญี่ปุ่นอย่างโซนี่ต้องปรับตัวตาม จากเดิมที่โซนี่ เซ็นเตอร์ ซึ่งให้ดีลเลอร์เป็นผู้บริหารจัดการ และร้านโซนี่ สโตร์ ที่โซนี่ไทยทำหน้าที่บริหารเอง 5 สาขา จะเน้นโชว์และขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก แต่สำหรับโซนี่ สโตร์ สาขาที่...

ถ้าเป็นลูกค้า HTC คราวนี้ขอ “พรีเมียมแมส” นะ

ในวันเปิดตัวหนังเรื่อง MIB III (Men In Black 3) 25 พฤษภาคมนี้ ที่อเมริกา จะมี 1 คนไทยกับเพื่อนเอเชียอีก 6 คน ได้เดินเคียงข้าง “วิล สมิทธ” นักแสดงนำบนพรมแดง ที่ Brought to you by...

ไม่ Feel good “ดีแทค”

ถ้าบริการมีปัญหา ก็จะทำให้แบรนด์วิกฤต เหมือนอย่างที่เกิดขึ้นกับดีแทค “สัญญาณล่ม 3 ครั้งในรอบ 20 วัน” จนเป็นเรื่อง และเรื่องนี้ยังไม่จบหากล่มอีก เพราะเวลานี้ “ดีแทค” ไม่ใช่แค่เสี่ยงเรื่องสัญญาณ No Service แต่ยังอยู่บนจุดเสี่ยงในอีกหลายมิติ สัญญาณดีแทคล่มครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2554 เสียงด่ากระหน่ำของผู้ใช้บริการยังไม่ทันเงียบลง วันที่ 5...

“เนสกาแฟไอซ์” ชงเถ้าแก่รถเข็นขยายตลาด

เนสกาแฟที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยส่วนใหญ่คือกาแฟผงสำเร็จรูปที่ชงดื่มกันเองตามบ้านหรือเห็นตามรถเข็นกาแฟในซอย แต่จริงๆ แล้ว เนสท์เล่ มีแผนกเนสท์เล่ โพรเฟชชันนัล ซึ่งดูแลตลาดกาแฟสำเร็จรูปสำหรับดื่มนอกบ้าน และคิดสูตรกาแฟเย็นสำเร็จรูปหรือเนสกาแฟไอซ์ออกขายในซองขนาดใหญ่ สำหรับร้านค้า โดยเฉพาะกลุ่ม Quick Service Restaurant (QSR) ชงเสิร์ฟลูกค้ามาแล้วเป็น 10 ปี โดยเป็นสูตรที่คิดขึ้นในประเทศไทยซึ่งมีผู้บริโภคชอบดื่มกาแฟเย็นกันมาก เนสท์เล่ โพรเฟชชันนัล ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2552 เดิมคือหน่วยงานเนสท์เล่ ฟู้ดเซอร์วิส...

ป๊ากเกอร์เปิดช็อป ล้างภาพแบรนด์รุ่นพ่อ

ถ้าเป็นคนรุ่น 40 ปีขึ้นไป คงต้องคุ้นเคยแบรนด์ป๊ากเกอร์ (PARKER) เป็นแบรนด์ปากกาพรีเมียมกันได้ดี เพราะเป็นแบรนด์มีประวัติศาสตร์ตั้งแต่ปี 1888 แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ป๊ากเกอร์อาจไม่ใช่ทางเลือกแรกๆ สำหรับเขา แม้แบรนด์จะยังคงเป็นที่รู้จัก แต่ก็มีภาพลักษณ์ดูคร่ำครึ โบราณ และเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่ที่แม้จะมองว่า Brand Heritage มีคุณค่าแต่ก็ต้องการความล้ำนำสมัยด้วยเช่นกัน และนั่นจึงเป็นที่มาของความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้   วรพจน์ ซึ้งธรรมรส ผู้จัดการทั่วไป...

โมเดล “บอร์ด” ออนแอร์ช่อง 7 หลังหมดยุค “สุรางค์ เปรมปรีดิ์”

เปิดปี 2555 มา ใครที่คาดหวังว่าจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในช่อง 7 หลังจากที่ “คุณแดง สุรางค์ เปรมปรีดิ์” หมดอำนาจ เมื่อ “กฤตย์ รัตนรักษ์” ประธานกรรมการ ไม่ต่อสัญญาจ้าง ขอบอกว่าต้องรออีกพักใหญ่ เพราะขณะนี้ทุกอย่างภายในช่อง 7 ยังนิ่งและ ขับเคลื่อนด้วยระบบที่วางไว้ในรูปแบบคณะกรรมการหรือบอร์ดชุดต่างๆ  ข่าวการไม่ต่อสัญญาจ้าง “สุรางค์” ในตำแหน่ง...

ปิดตำนานบุฟเฟ่ต์ปิ้ง-ย่าง ไดโดมอน

ไดโดมอนถือได้ว่าเป็นร้านบุฟเฟ่ต์ปิ้งย่างแห่งแรกๆ ของบ้านเรา ที่เปิดบริการในยุคที่ร้านอาหารกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับความนิยม และเลือกเปิดร้านแรกที่สยามสแควร์ จนได้รับความนิยมเป็นที่กล่าวถึงของคนกินสมัยนั้น ชื่อเสียงของไดโดมอนในแง่ของบุฟเฟ่ต์ เสิร์ฟไม่หยุด ขยายตัวไม่หยุด จนต้องเปิดสาขาในศูนย์การค้าต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จนก้าวถึงจุดสุดยอดของธุรกิจคือเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ในปี 2556 ชื่อของไดโดมอนจะกลายเป็นเพียงตำนานหน้าหนึ่งของธุริกจอาหารบ้านเรา เพราะไดโดมอนจะปิดฉากลงอย่างถาวร หลังจากที่ผู้ถือหุ้นรายใหม่คือบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ได้ทำการรื้อปรับโครงสร้างบริษัทใหม่ โดยหันมาศูนย์การค้าขนาดเล็กแทน ...

บ้านใหม่ของดังกิ้น โดนัท

นับเป็น Strategic Move อีกครั้งของวงการ เมื่อบริษัททรัพย์ศรีไทยหอบเงิน 1,320 ล้านบาท เข้าซื้อกิจการ ดังกิ้น โดนัทและโอบองแปง เพราะมองเห็นโอกาสของธุรกิจเบเกอรี่มูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท เติบโตปีละราว 15-20% ธุรกิจโดนัทมูลค่ากว่า 2,500 ล้านบาท เติบโตปีละ 20% เนื่องจากได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจที่มีกระแสเงินสด มีกำไรสูง และจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำกำไรและการเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทฯ...

สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการแต่ไม่รู้ตัว

“การพัฒนาสินค้าใหม่สู่ตลาด มาจากสองส่วน ส่วนแรกคือสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการเอง อีกส่วนต้องมาจากสิ่งที่เป็น Unmet Need หมายความว่าผู้บริโภคเองก็ไม่ทราบว่าต้องการแต่ผู้ผลิตต้องสังเกตเอง” ธันยเชษฐ์ เอกเวชวิท ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงการนำเสนอสินค้าสู่ตลาดของแอลจี สิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองส่วนคือได้มาจากการเซอร์เวย์และวิจัยผู้บริโภคเหมือนๆ กัน เพียงแต่มีเทคนิควิธีต่างกันไป ถ้าถามแล้วผู้บริโภคตอบไม่ถูก นั่นคือผู้บริโภคเองก็ไม่รู้ว่าความต้องการที่แท้จริงของตัวเองคืออะไร พวกเขาจะบอกได้แต่เพียงว่า เขาคิดอย่างไรและทำอะไรกับสินค้าแต่ละชนิดบ้าง ตัวแทนของบริษัทจะต้องเป็นผู้สังเกตและนำพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เห็นมาตั้งคำถามเพื่อค้นความต้องการของผู้บริโภคที่ซ่อนอยู่...

แบงก์ยุค Memo&Alert จำไว้นะอย่าเรียก “เฮีย”

ก้าวเข้ามา แล้วรูดบัตร เมื่อถึงคิวพนักงานที่เคาน์เตอร์ก็สามารถทักทายด้วยการเรียกชื่อคุณ ถ้าเป็นวันเกิด ก็มีของขวัญพิเศษมอบให้ และถ้าใครไม่ชอบให้เรียก ”เฮีย” ก็จะไม่เกิดขึ้นอีก ระบบนี้เป็นการเชื่อมโยงกับ ”สมาร์ทคิว” ที่นอกจากโชว์ข้อมูลเบื้องต้นลูกค้าแล้ว ยังแยกลูกค้าเพื่อให้พนักงานเตรียมต้อนรับได้เหมาะกับสถานะ เช่นกลุ่มลูกค้า Wisdom ที่มีสินทรัพย์เกิน 10 ล้านบาท กดคิวแล้ว ทุกจอของพนักงานจะมีปุ่มเตือนขึ้นมา ซึ่งใครว่างต้องต้อนรับทันที จากสมาร์ทคิวมาถึงระบบเก็บข้อมูลลูกค้าที่เก็บทุกเรื่องที่ประโยชน์ต่อการนำไปต่อยอดคิดแคมเปญ...