GrabFood – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 22 Sep 2020 13:31:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Update ’14 ตัวเลือก’ บนสังเวียน ‘Food Delivery’ ที่ไม่ได้มีแค่รายใหญ่ให้เรียกใช้เวลาหิว https://positioningmag.com/1298224 Tue, 22 Sep 2020 12:49:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298224 หากย้อนไปเมื่อปี 2012 ตลาด ‘ฟู้ด เดลิเวอรี่’ บ้านเรายังมีแค่ Food Panda จากนั้นในปี 2018 ก็มี Grab และ Uber ที่ตามมา แต่แล้วอูเบอร์ก็ขายกิจการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปให้กับคู่แข่งอย่าง Grab ทำให้ผู้เล่นหลักในตอนนั้นแทบจะมีแค่ Grab อย่างไรก็ตาม จากการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้มีผู้เล่นหน้าใหม่ทยอยตบเท้าเข้ามาเพียบ เพื่อหวังชิงเค้กมูลค่า 35,000 ล้านบาทก้อนนี้ โดยเฉพาะในปี 2020 นี้ที่เปรียบเสมือน ‘ปีทอง’ ของตลาด เพราะมาตรการล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้น ดังนั้น Positioning จะพาไปรู้จักแพลตฟอร์มที่ให้บริการส่งอาหารในไทยกันว่ามีใครกันบ้าง

Grab Food

ถือเป็นผู้เล่นเบอร์ต้น ๆ ของตลาดเลยทีเดียวสำหรับ Grab ที่ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ตั้งแต่ปี 2018 โดยค่าจัดส่งเริ่มต้นที่ 10 บาท พร้อมให้บริการใน 35 เมือง 33 จังหวัด ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดกว่า 14 ล้านดาวน์โหลด มีพาร์ตเนอร์ผู้ขับกว่า 100,000 ราย มีร้านอาหารในระบบกว่า 80,000 ร้าน แค่ช่วง COVID-19 ที่ผ่านมามีผู้ใช้แกร็บฟู้ดรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า และยอดออเดอร์เติบโตถึง 30% เลยทีเดียว ซึ่งในปีนี้ทาง Grab ก็จัดหนักออกแคมเปญ “Free Your Hunger เลิกกินตามใคร กดสั่งตามใจ” แคมเปญใหญ่สุดของปีนี้ โดยได้ เต๋อ นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ผู้กำกับชื่อดัง มาช่วยสร้างหนังสั้นที่แสดงโดย BNK48 ปัจจุบันโกยยอดวิวไปกว่า 10 ล้านวิวเลยทีเดียว

LINE MAN

จากแพลตฟอร์ม Chat ที่มีจุดแข็งเป็นผู้ใช้งาน LINE กว่า 46 ล้านราย ดังนั้น LINE จึงต้องการต่อยอดจำนวนผู้ใช้อันมหาศาลด้วยการผุด ‘LINE MAN’ ที่ให้บริการเรียกแท็กซี่, สั่งซื้ออาหาร, ซื้อของใช้ในบ้าน หรือแม้แต่เรียกมารับพัสดุ โดยมีพาร์ตเนอร์อย่าง ‘Lalamove’ ที่ช่วยขนส่งสินค้า ซึ่งในส่วนของบริการส่งอาหาร LINE MAN ให้บริการใน 13 จังหวัด ครอบคลุมร้านอาหาร 200,000 ร้าน โดยมีค่าจัดส่งเริ่มต้นที่ 10 บาทเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ทาง LINE MAN เพิ่งได้เงินลงทุนจากบริษัท BRV Capital Management (BRV) ถึง 3,300 ล้านบาท เพื่อใช้ในการควบรวมกิจการ ‘Wongnai’ สตาร์ทอัพสัญชาติไทยเจ้าของแพลตฟอร์มรีวิวร้านอาหารและข้อมูลด้านไลฟ์สไตล์ ที่มีฐานข้อมูลร้านอาหารกว่า 400,000 ร้านทั่วไทย และมีผู้ใช้กว่า 10 ล้านรายต่อเดือน ส่งผลให้ LINE MAN มีข้อมูลทั้งร้านค้าและผู้ใช้ในมือมากมายเลยทีเดียว พร้อมเตรียมขยายพื้นที่ให้บริการเป็น 20 จังหวัดในสิ้นปีนี้

Gojek

Gojek หรือชื่อเดิม ‘GET’ น้องใหม่ในตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ที่เพิ่งให้บริการไปเมื่อปี 2019 แต่สามารถโกยยอดดาวน์โหลดได้ถึง 13 ล้านครั้ง ส่งอาหารกว่า 20 ล้านออเดอร์ มีพาร์ตเนอร์ผู้ขับกว่า 50,000 ราย และพาร์ตเนอร์ร้านอาหารกว่า 30,000 ร้าน แม้จะรีแบรนด์ใหม่ (เพื่อใช้ชื่อเดิม) ก็เหมือนเป็นการส่งสัญญาณว่าจะรุกตลาดให้หนักขึ้น โดยไม่ใช่แค่อัดโปรโมชันมอบส่วนลดสูงสุด 2,500 บาท และมีแฟลชดีลทุกวัน แต่ยังระบุว่าเตรียมขยายพื้นที่ให้บริการไปต่างจังหวัดเร็ว ๆ นี้ จากปัจจุบันที่ให้บริการแค่กรุงเทพฯ และปริมณฑลอีกด้วย ส่วนค่าบริการเริ่มต้นที่ 10 บาทเหมือนเจ้าใหญ่รายอื่น ๆ

Food Panda

ทำตลาดในไทยมาตั้งแต่ปี 2012 สำหรับ Food Panda บริษัทฟู้ดเดลิเวอรี่สัญชาติเยอรมนีที่ปัจจุบันให้บริการครอบคลุมถึง 72 จังหวัด และจะครบ 77 จังหวัดในสิ้นปีนี้ ส่วนร้านค้าพาร์ตเนอร์มีราว 20,000 ร้าน พาร์ตเนอร์ผู้ขับในปัจจุบันมีกว่า 90,000 ราย ขณะที่ค่าบริการสูงสุดไม่เกิน 40 บาท และล่าสุดมีบริการใหม่ ‘แพนด้า มาร์ท’ ขายสินค้าอุปโภคบริโภค มี 7 แห่ง สิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 30 สาขา

Skootar

สตาร์ทอัพสัญชาติไทยแท้ที่เริ่มต้นมาจากการพัฒนาแพลตฟอร์มที่ใช้เชื่อมโยงระหว่าง SME บริษัท ห้างร้าน กับเครือข่ายแมสเซ็นเจอร์ ที่ให้บริการรับส่งเอกสาร เก็บเช็ค วางบิล หรือส่งของอื่น ๆ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ก่อนจะขยายมาสู่บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ โดยปัจจุบันมีพาร์ตเนอร์คนขับอยู่ประมาณ 8,000 คนทั่วกรุงเทพฯ โดยเริ่มต้นที่ราคา 45 บาท ฟังดูอาจจะรู้สึกว่าราคาสูงกว่าเจ้าอื่น แต่ Skootar ไม่ได้มีการเก็บค่าคอมมิชชันจากร้านอาหาร พูดง่าย ๆ ลูกค้าจ่ายเท่าไหร่ร้านได้เท่านั้น

Hungry Hub

น้องใหม่ที่ถือกำเนิดในช่วง COVID-19 ที่ออกมาเพราะต้องการช่วยเหลือร้านอาหาร โดยมีคอนเซ็ปต์เป็นเเพลตฟอร์มรวมเเหล่งบุฟเฟต์ ดังนั้น ในแต่ละมื้อที่สั่งจะไม่ใช่ชุดยิบย่อย แต่เป็นชุดใหญ่ไฟกะพริบแบบ ‘Set Menu’ กินกันจุก ๆ สำหรับ 2-4 คน โดยราคาเริ่มต้นที่ 399 บาท Net และในส่วนของค่าส่งนั้น ‘ฟรี’ ในระยะทางไม่เกิน 3 กิโลเมตรแรก (กิโลเมตรต่อไปเพิ่มแค่ 10 บาท/กม.) โดยทาง Hungry Hub จะเก็บค่าคอมมิชชันที่ 10.7% เท่านั้น และไม่ต้องห่วงว่าเป็นน้องใหม่แล้วผู้ขับจะไม่ได้คุณภาพ เพราะเป็นพาร์ตเนอร์กับ Lalamove ที่ LINE MAN เลือกใช้

Fresh!

เเอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่น้องใหม่ที่มีทีมปั้นเป็นคนไทยทั้งหมด ซึ่งตอนนี้เริ่มทยอยรับสมัครร้านค้าเเละไรเดอร์ทั่วประเทศเเล้วในช่วงเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ชูจุดเด่น ‘ไม่เก็บค่า GP’ จากร้านค้า โดยมีค่าส่งเริ่มต้นที่ 10 บาท และหากสั่งออเดอร์เกิน 100 บาท มีโปรโมชันส่งฟรี

Robinhood

Robinhood แพลตฟอร์มน้องใหม่ภายใต้บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (Purple Ventures) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) โดยมีเงินลงทุนกว่า 100 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายละเอียดในฝั่งของผู้บริโภคว่าภายในแอปฯ มีร้านค้าให้เลือกมากน้อยแค่ไหน และค่าส่งจะเริ่มเท่าไหร่ แต่ทางแอปฯ ได้ประกาศว่าไม่มีค่าธรรมเนียม GP ที่จะเก็บกับร้านอาหาร แปลว่าร้านสามารถใช้บริการฟรี และมีการเคลียร์เงินเข้าบัญชีภายใน 1 ชั่วโมง เพื่อให้ร้านอาหารมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจ ส่วนการส่งอาหารใช้ความร่วมมือกับ Skootar  

Eatable

เเพลตฟอร์มทางฝั่ง KBank ที่วางตัวเป็นแพลตฟอร์มตัวช่วยจัดการร้านอาหาร ไม่ต้องโหลดแอปฯ ไม่มีค่าธรรมเนียม สามารถจัดการระบบหลังบ้านแบบเรียลไทม์ผ่านทางออนไลน์ ส่วนลูกค้าสามารถเลือกอาหาร สั่ง จ่ายแบบไร้การสัมผัส และที่เเถมมาก็คือ ฟังก์ชันฟู้ดเดลิเวอรี่ ที่กำลังจะเปิดตัวเเบบเต็มรูปแบบในเดือนตุลาคมนี้ พร้อมพัฒนาต่อยอดให้นักท่องเที่ยวจีนสั่งอาหารในไทยได้ปลายปีนี้

กังนัมแซ่บ เดลิเวอรี่

มาถึงฝั่งที่เรียกได้ว่า ‘บ้านขั้นสุด’ ของตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่กันบ้าง โดยไม่ต้องสั่งผ่านแอปฯ ใด ๆ ทั้งสิ้น อย่าง กังนัมแซ่บ เดลิเวอรี่ ถือเป็นอีกหนึ่งบริการซื้ออาหารจากร้านต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพฯ ภายใต้สโลแกนว่าสั่งได้ทุกร้าน สั่งได้ทุกอย่างตลอด 24 ชั่วโมง จะมีหรือไม่มีในเมนูก็สั่งได้ โดยรูปแบบการสั่งซื้อคือ โทรมาสั่งอาหาร จากนั้นจะประเมินราคาค่าบริการให้ลูกค้าก่อน โดยคิดจากระยะทางของร้านอาหารที่สั่งกับจุดหมายปลายทางที่ต้องไปส่ง โดยเริ่มต้นที่ 60 บาท บวกกับจำนวนสินค้าที่สั่ง 20 บาทต่อชิ้นต่อร้าน เรียกได้ว่าไม่ต้องเข้าแอปฯ อยากได้ร้านไหนบอกพิกัดเดี๋ยวจัดให้ถึงที่

OrderMaNow

สำหรับ OrderMaNow ก็คล้าย ๆ กับกังนัมแซ่บ โดยสามารถรับออเดอร์ทุกทาง Facebook, IG, LINE, Twitter แตะลิงก์เดียวสั่งออเดอร์ในร้านได้ทันที ไม่ต้องลงเเอปฯ ไม่ต้อง Login

นอกจากนี้ยังมีผู้เล่นท้องถิ่นในแต่ละจังหวัดอีกเพียบ ได้แก่ Om Ordering เเพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ที่จากจังหวัด เชียงใหม่ ที่สามารถสั่งได้ทั้งสินค้า อาหาร และบริการ Street Food Delivery สตาร์ทอัพไซส์เล็กที่ขอปักธงเมืองรอง โดยเน้นร้านอาหารดังประจำถิ่น เริ่มให้บริการส่งอาหารในพื้นที่กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม และท่าเรือ-ท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และ FoodMan Delivery อีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่เน้นลุยเมืองรอง โดยเริ่มต้นจากแถวภาคเหนือก่อน โดยปัจจุบันให้บริการใน 7 จังหวัด ได้แก่ น่าน, เชียงราย, ลำปาง, อุตรดิตถ์, ตาก, ระยอง และสระบุรี

จากจำนวนผู้เล่นที่เพิ่มขึ้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าพฤติกรรมคนเริ่มเปลี่ยนไป โดยเฉพาะช่วงที่มี COVID-19 ระบาด แต่จะเลือกใช้ใครก็ลองดูตามความต้องการได้เลย แต่จะเริ่มเห็นว่าผู้เล่นรายใหญ่เริ่มขยายบริการเข้าสู่ตลาดต่างจังหวัดเเล้ว จากนี้ ผู้เล่นท้องถิ่น อาจต้องทำการบ้านให้หนักขึ้น เพราะถ้าต้องสู้เรื่องราคาและโปรโมชันคงไม่ไหวเเน่นอน

]]>
1298224
“แกร็บ” แจง 3 ประเด็นดราม่า หลังคนขับรวมตัวประท้วงหน้าสำนักงานใหญ่ https://positioningmag.com/1291778 Mon, 10 Aug 2020 04:42:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291778 ยังคงเป็นกระแสดราม่าอย่างต่อเนื่องสำหรับวงการเดลิเวอรี่ ล่าสุด “แกร็บ” เจอกับดราม่าพาร์ตเนอร์ หรือคนขับ ที่รวมตัวประท้วง อ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม โดนลดค่าอินเซ็นทีฟ และให้ซื้อกระเป๋า ล่าสุดแกร็บได้ชี้แจง 3 ประเด็นใหญ่

ก่อนหน้านี้แกร็บได้เจอศึกใหญ่ หลังจากที่ได้ปรับขึ้นค่า GP ร้านอาหาร จนสุดท้ายต้องถอยทัพกลับมาที่ 35% เท่าเดิม จนล่าสุดก็ยังมีศึกใหญ่กับพาร์ตเนอร์ที่เป็นคนขับอีก

ในช่วงที่ผ่านมาแกร็บได้ปรับโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงปรับโครงสร้างรายได้ของพาร์ตเนอร์ด้วยเช่นกัน มีการประกาศลดค่าอินเซ็นทีฟสำหรับคนขับในต่างจังหวัด เพื่อเสริมสภาพคล่องในยุค COVID-19

จนล่าสุดมีพาร์ตเนอร์ที่เป็นคนขับแกร็บได้รวมตัวกันเรียกร้องความเป็นธรรม หลังจากที่พบว่าทางแกร็บได้ลดค่าอินเท็นซีฟ บังคับให้ซื้อกระเป๋า รวมถึงประเด็นอื่นๆ จนนำไปสู่การรวมตัวประท้วงครั้งใหญ่ที่หน้าสำนักงานใหญ่ตึกธนภูมิ ในวันที่ 10 สิงหาคม 2563

ทำให้ทางแกร็บออกมาชี้แจงประเด็นใหญ่ รวมถึงข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ มีเนื้อหาดังต่อไปนี้

จากกรณีที่มีพาร์ตเนอร์คนขับแกร็บไบค์ ในเขตกรุงเทพฯ ได้รวมตัวกันขอเข้าพบผู้บริหารของแกร็บเพื่อยื่นข้อเรียกร้องและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับงานนั้น แกร็บ ประเทศไทย ได้รับทราบถึงปัญหาและข้อเสนอแนะจากพาร์ตเนอร์คนขับในประเด็นต่างๆ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และได้ทำการติดต่อตัวแทนพาร์ตเนอร์คนขับ ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มคนขับในเขตกรุงเทพฯ

โดยได้เชิญเข้าร่วมประชุมกับผู้บริหารเพื่อรับฟังถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่ได้รับการปฏิเสธ โดยกลุ่มตัวแทนพาร์ตเนอร์คนขับยืนยันที่จะรวมตัวกันที่บริเวณหน้าอาคาร ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ ทั้งนี้ แกร็บ ประเทศไทย ใคร่ขอเรียนชี้แจงถึงข้อเท็จจริงในประเด็นต่างๆ ดังนี้

1. ปัญหาการรับงานที่เกิดขึ้นจากการแบ่งเขตพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี

สืบเนื่องมาจากการประกาศแบ่งเขตพื้นที่การรับงานของพาร์ตเนอร์คนขับในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี และปทุมธานี เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ทำให้เกิดข้อจำกัดในเชิงเทคนิคบางประการ และส่งผลต่อการรับงานของพาร์ตเนอร์คนขับ รวมถึงประสบการณ์การใช้บริการของลูกค้าในพื้นที่ซึ่งเป็นรอยต่อ

แกร็บจึงได้ประกาศยกเลิกการแบ่งเขตพื้นที่ดังกล่าว โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ บริษัทฯ จะดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจนกว่าระบบจะมีความพร้อมในการให้บริการแบบแบ่งเขตพื้นที่ และจะทำการสื่อสารให้พาร์ตเนอร์คนขับทราบรายละเอียดหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในอนาคต

2. การเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าในการเรียกใช้บริการจัดส่งพัสดุผ่าน แกร็บ เอ็กซ์เพรส (GrabExpress)

ที่ผ่านมา แกร็บ ได้ประกาศให้พาร์ตเนอร์คนขับที่รับงานจัดส่งพัสดุผ่านบริการ แกร็บ เอ็กซ์เพรส (GrabExpress) จะต้องมีกระเป๋าแกร็บเพื่อบรรจุ และจัดเก็บสินค้าหรือพัสดุที่ผู้ใช้บริการต้องการจัดส่ง ทั้งนี้ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความปลอดภัยในระหว่างการขับรถ พร้อมสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าสินค้าหรือพัสดุที่ต้องการจัดส่งนั้นจะถูกจัดเก็บเป็นอย่างดีในระหว่างการขนส่งและถึงมือผู้รับปลายทางในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด

อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ตระหนักและเข้าใจถึงข้อจำกัดของพาร์ตเนอร์คนขับบางรายที่ไม่สะดวกในการซื้อ และใช้กระเป๋าแกร็บ ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้พิจารณาปรับปรุงบริการในส่วนนี้ เพื่อตอบสนองต่อรูปแบบการให้บริการที่แตกต่างกันของพาร์ตเนอร์คนขับ รวมทั้งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า

ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคมเป็นต้นไป การจัดส่งสินค้าหรือพัสดุผ่านบริการ แกร็บ เอ็กซ์เพรส (GrabExpress) ด้วยรถจักรยานยนต์ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

  • แบบต้องการกระเป๋า และ
  • แบบไม่ต้องการกระเป๋า โดยผู้ใช้บริการจะสามารถเลือกได้ว่าต้องการใช้บริการแบบใด สำหรับพาร์ตเนอร์คนขับที่เคยถูกยกเลิกไม่ให้รับงานหากไม่มีกระเป๋า บริษัทฯ ได้เปิดสิทธิให้สามารถรับงานจัดส่งพัสดุผ่านบริการ แกร็บ เอ็กซ์เพรส (GrabExpress) ได้แล้วนับตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา
(Photo by Lauren DeCicca/Getty Images)
3. การให้ความคุ้มครองในระหว่างการรับงาน

ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการและพาร์ตเนอร์คนขับถือเป็นสิ่งที่แกร็บให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาอาจมีพาร์ตเนอร์คนขับบางรายที่ไม่ทราบว่า แกร็บได้จัดทำประกันอุบัติเหตุเพื่อให้ความคุ้มครองกับพาร์ตเนอร์คนขับของเราในทุกเที่ยวของการให้บริการ โดยให้ความคุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุระหว่างการรับงาน และให้ความคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท ในกรณีที่เสียชีวิต ซึ่งถือเป็นสิทธิประโยชน์ที่ดีกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ ในตลาด ทั้งนี้ บริษัทฯ จึงได้มีการประกาศให้พาร์ตเนอร์คนขับรับทราบอีกครั้งผ่านทางแอปพลิเคชันของพาร์ตเนอร์คนขับ

แกร็บ ประเทศไทย ขอน้อมรับทุกความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ รวมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะจากพาร์ตเนอร์คนขับของเรา เพื่อนำมาใช้พิจารณาและปรับปรุงการให้บริการ ตลอดจนการบริหารงานในด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

]]>
1291778
LINE MAN ไม่ขึ้นค่า GP แต่ปรับการส่งจากระยะรัศมี เป็นระยะทางจริง ค่าส่งเพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1272583 Thu, 09 Apr 2020 19:07:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1272583 LINE MAN กลายเป็นผู้เล่น Food Aggregator อีกรายที่คาดว่าจะก่อดราม่าในไม่ช้า เมื่อมีร้านอาหารโอดว่าทางระบบปรับค่าส่งโดยไม่แจ้งล่วงหน้า กระทบยอดขายหด คำตอบที่ได้คือปรับปรุงระบบ คำนวณระยะทางแม่นยำขึ้น

ไม่ขึ้น GP แต่เนียนปรับค่าส่งแทน

ในภาวะวิกฤตของ COVID-19 ที่สร้างผลกระทบเป็นวงกว้าง ร้านอาหารเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับความเสียหายครั้งใหญ่ ต้องปรับกลยุทธ์พึ่งพาบริการเดลิเวอรี่มากขึ้น ธุรกิจเดลิเวอรี่จึงโตเอาๆ ส่วนทางกับเศรษฐกิจที่หยุดชะงัก

เมื่อไม่นานมานี้เพิ่งมีประเด็นดราม่าครั้งใหญ่เมื่อ “แกร็บ” ได้มีการปรับขึ้นราคาหลายๆ ส่วน ทั้งค่า GP ร้านค้าจากเดิมในอัตรา 30% เป็น 35% รวมถึงขึ้นค่าส่งอีก 10 บาท อ้างว่าให้ฮีโร่คนขับ แต่จริงๆ แล้วไม่ได้ให้ รวมถึงมีการคิดค่าธรรมเนียมคำสั่งซื้อขนาดเล็ก

Photo : Sutterstock

เรียกว่าเป็นวิกฤตซ้ำเติมในวิกฤต เพราะนอกจากจะไม่ช่วยแล้ว จะเพิ่มภาระให้กับผู้บริโภค และร้านค้าที่กำลังประสบปัญหาในตอนนี้ จนในตอนนี้แกร็บได้ประกาศยอมลดค่า GP เหลือ 30% เท่าเดิม

ทางด้าน LINE MAN ที่ก่อนหน้านี้ก็รับบท “พระเอก” อยู่ไม่น้อย ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกทันทีหลังที่มีดราม่าแกร็บ แจ้งว่า LINE MAN ยังไม่มีนโยบายขึ้นค่า GP ในตอนนี้

แต่ล่าสุด LINE MAN ก็ไม่ยอมน้อยหน้าแกร็บแต่อย่างใด ไม่มีการปรับค่า GP แต่มีการปรับ “ระบบการส่ง”

LINE MAN จะมีโมเดลธุรกิจ 2 แบบด้วยกัน

1. ร้านค้าทั่วไปจะไม่เสียค่า GP แต่คิดค่าส่งตามระยะทาง ทำให้มีค่าส่งที่แพง เริ่มต้นที่ 55 บาท ผู้บริโภคยุคนี้เริ่มมองร้านอาหารที่ค่าส่งย่อมเยามากขึ้น

2. ร้านค้าที่เป็นพาร์ตเนอร์ ร่วมโปรโมชั่นค่าส่ง 10 บาท ก็จะต้องเสียค่า GP ในอัตรา 30% (ไม่รวม VAT อีก 7%)

ร้านค้าอ่วม ยอดขายตกเพราะค่าส่งขึ้น

ร้านอาหารร้านหนึ่งย่านรังสิตได้เปิดเผยกับ Positioning ว่า ทาง LINE MAN และ Wongnai for Business ที่เป็นผู้ดูแลระบบ และดูแลด้านการตลาด ไม่ได้แจ้งถึงการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขดังกล่าวล่วงหน้า ไม่ว่าจะส่งอีเมล โทรศัพท์ หรือแจ้งผ่านเซลส์ก็ตาม

ทางร้านได้ทราบจากลูกค้าเอง และเป็นลูกค้าประจำของร้าน เพราะลูกค้าได้เข้ามาต่อว่าทางร้านว่าทำไมขึ้นค่าส่ง ปกติสั่งกี่ที ระยะทางเดิมก็ค่าส่ง 10 บาทตลอด ปัญหานี้ทำให้ลูกค้ามองว่าทางร้านฉวยโอกาสปรับขึ้นค่าส่งเอง แล้วไม่แจ้งล่วงหน้า

จริงๆ แล้วการขึ้นค่าส่งในครั้งนี้ ไม่ได้เก็บที่ทางร้านค้าแต่อย่างใด เพราะเก้บที่ทางลูกค้าเพิ่ม แต่สิ่งที่สร้างผลกระทบแก่ร้านค้าคือ ลูกค้าสั่งอาหารน้อยลงนั่นเอง!

ปรับระบบ คำนวณระยะทางแม่นยำขึ้น

เมื่อทางร้านได้สอบถามไปยังเซลส์ผู้ดูแลร้านค้า ได้ให้คำตอบว่า “ปรับตามกลไกการตลาด” หรือโปรโมชั่นในแต่ละช่วง ส่วนทาง Wongnai for Business ก็ให้คำตอบที่ว่า “มีการปรับปรุงระบบการคำนวณระยะทางในแอปให้แม่นยำขึ้น มีค่าส่งเริ่มต้น 10 บาท แต่ก่อนมีการอนุโลมเรื่องระยะทางค่าส่งให้ครอบคลุมไกลกว่าระยะจริง”

พร้อมปิดท้ายว่าตามที่ระบุในสัญญา หากมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่างๆ ทางทีมงานขอสวงนสิทธิ์ไม่แจ้งให้ทางร้านทราบก่อนได้

ทางร้านได้เปิดใจเลยว่าเจอแบบนี้ถึงกับท้อ บอกว่าหลังจากเปิดวิกฤต COVID-19 มีการปิดร้าน และส่งเดลิเวอรี่อย่างเดียวนั้น ไม่ได้กระทบเท่าไหร่ เพราะมีลูกค้าประจำอยู่ แต่เพิ่งมากระทบก็ตอนวันนี้ หลังเจอการขึ้นค่าส่งแบบเนียนๆ ทำให้ลูกค้าไม่กดสั่ง และมีการเข้าใจผิดมากมาย

ตอนนี้ร้านได้มีพาร์ตเนอร์กับทาง LINE MAN รายเดียว เลือกที่จะจ่าย GP ให้ระบบ เพื่อที่จะให้ลูกค้าได้ค่าส่งราคาถูก ในแต่ละเดือนต้องจ่ายค่า GP ราวๆ 2 แสนบาท ขึ้นอยู่กับยอดขายในแต่ละช่วง กำลังมองหาพาร์ตเนอร์เจ้าอื่นเพิ่มอยู่ พร้อมกับพิจารณาว่าจะยกเลิกการเป็นพาร์ตเนอร์กับ LINE MAN หรือไม่ ด้วยเช่นกัน

ทาง LINE MAN และ Wongnai ได้ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้

1. LINE MAN ปรับระบบคำนวณร้าน GP จากเดิมระยะรัศมี (ระยะกระจัด) 6 กิโลเมตร ค่าส่งเริ่มต้น 10 บาท เปลี่ยนเป็นระยะทางจริง 8 กิโลเมตร คงราคาเริ่มต้น 10 บาท ค่าส่งจะขึ้นอยู่กับที่ตั้งของบ้านลูกค้าด้วย เช่น ถ้าต้องขึ้นสะพาน หรือ ยูเทิร์นไกล ซึ่งระยะทางจริงนี้สะท้อนให้เห็นต้นทุนจริงจากคนขับ

2. สำหรับร้าน GP ค่าส่งจะเป็น 10 บาท ในระยะทางจริง 0-8 กิโลเมตร ถ้าเกิน 8 กิโลเมตร จะคิดเป็นค่าส่งมาตรฐานเริ่มต้นที่ 55 บาทตามปกติ สิ่งที่เราปรับอย่างเดียวคือ การคำนวณค่าส่งของร้าน GP จากเดิมระยะรัศมี (ระยะกระจัด) 6 กิโลเมตร เปลี่ยนเป็นระยะทางจริง 8 กิโลเมตร ในราคาเริ่มต้น 10 บาท

3. เริ่มปรับระบบ Map เป็นแบบใหม่จากเมื่อวานบางพื้นที่ ตอนนี้ระบบยังไม่ได้เริ่มใช้ในทุกพื้นที่ ในกรุงเทพฯ บางเขตจะยังเห็นระยะรัศมีแบบเดิม คาดว่าภายในวันนี้น่าจะครบทุกพื้นที

]]>
1272583
ดราม่าซ้ำซ้อน “แกร็บ” แจงยกเลิกเก็บ 3 บาทค่าธรรมเนียมส่งพัสดุ GrabExpress https://positioningmag.com/1271647 Fri, 03 Apr 2020 09:09:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271647 ดราม่ารายวันสำหรับ “แกร็บ” หลังจากที่มีการขึ้ค่า GP ร้านอาหารของ GrabFood เป็น 35% แล้วพอมีกระแสหนักขึ้นก็ทำการปรับลดลง ล่าสุดมีการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ GrabExpress เรียกว่าเป็นการฉวยโอกาสในทุกช่องทางหรือไม่?

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีกระแสบนโซเชียลมีเดียถึงประเด้นร้อนแรงที่ “แกร็บ” ได้ทำการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการจัดส่งพัสดุ (GrabExpress) และบริการผู้ช่วยฝากซื้อสินค้าพร้อมส่งถึงบ้าน (GrabAssistant) เป้นจำนวน 3 บาท/ครั้ง เป็นการเก็บเพิ่มกับลูกค้าที่ใช้บริการ พร้อมย้ำว่าไม่กระทบรายได้ของพาร์ตเนอร์คนขับ มีผลตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2563

ทำให้มีกระแสลบออกมาอีกระลอก หลังจากก่อนหน้านี้ได้ขึ้นค่า GP ร้านอาหารสำหรับบริการเดลิเวอรี่ ขึ้นค่าจัดส่งแต่คนขับไม่ได้ พร้อมกับมีค่าธรรมเนียมคำสั่งซื้อขนาดเล็กอีก เรียกว่าเป้นการตอกย้ำวิกฤตให้แย่ลงไปอีก

แต่ล่าสุดทางแกร็บได้มีการชี้แจงแล้วว่า ได้ทำการงดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้ว พร้อมกับคำชี้แจงดังนี้

สืบเนื่องจากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลบนช่องทางโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับการประกาศเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แอปพลิเคชันของแกร็บนั้น แกร็บ ประเทศไทย ขอเรียนชี้แจงให้ทราบถึงข้อเท็จจริงในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

บริษัทฯ ได้ ยุติการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แอปพลิเคชันสำหรับบริการจัดส่งพัสดุ (GrabExpress) และบริการผู้ช่วยฝากซื้อสินค้าพร้อมส่งถึงบ้าน (GrabAssistant) โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ (3 เมษายน 2563) เป็นต้นไป ทั้งนี้ แกร็บจะมอบโค้ดส่วนลดมูลค่า 40 บาทให้กับผู้ที่ได้ใช้บริการทั้งสองประเภทในระหว่างวันที่ 31 มีนาคมถึง 2 เมษายนที่ผ่านมา เพื่อเป็นการชดเชยให้กับผู้ใช้บริการ โดยโค้ดส่วนลดดังกล่าวสามารถใช้ได้ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 นี้

บริษัทฯ ขอยืนยันว่า แกร็บไม่เคยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แอปพลิเคชันสำหรับบริการจัดส่งอาหาร (GrabFood) แต่อย่างใด

พร้อมกับขอชี้แจงว่า จุดประสงค์ของการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แอปพลิเคชันที่ได้ดำเนินไปก่อนหน้านี้ก็เพื่อนำรายได้ส่วนนี้ไปใช้ในการคุ้มครองและดูแลพาร์ตเนอร์คนขับที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมที่ผ่านมาซึ่งแกร็บได้มีการเพิ่มจำนวนพาร์ตเนอร์คนขับกว่า 29,000 คน และกำลังเปิดรับเพิ่มอีกอย่างน้อย 35,000 คนในเดือนเมษายนนี้

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคหลายคนได้มองว่าแบรนด์ที่ดีต้องไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ยิ่งเมื่อยามที่ประเทศเกิดวิกฤตหนักขนาดนี้ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่า

สุดท้ายแล้วไม่แน่ใจว่าดราม่า หรือสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะกระทบกับแกร็บในระยะยาวหรือไม่ แต่การแข่งขันในตลาดสูงึข้นเรื่อยๆ และในตลาดไม่ได้มีแค่แบรนด์เดียว ผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่นได้เสมอ

]]>
1271647
‘Location Platform’ และ ‘หุ่นส่งของ’ อนาคตใหม่ของ ‘Delivery’ ที่ปลอดภัยทั้งคนรับ-ส่ง https://positioningmag.com/1271314 Thu, 02 Apr 2020 05:42:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271314 เพราะโรคอุบัติใหม่ โควิด-19 ทำให้เกิดกระบวนการเร่งหรือก้าวกระโดดของการใช้ชีวิตดิจิทัล รวมถึง On-Demand-Delivery โดยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาของธุรกิจ delivery มีการเติบโตอย่างมาก ทั้ง GrabFood, LINE Man, Get หรือ FoodPanda ฯลฯ ได้เพิ่มจำนวนคนขับอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงแรงงานเผยว่าตลาดต้องการแรงงานจัดส่งสินค้ามากถึง 20,500 อัตรา อย่าง LINE Man ปัจจุบันมีพนักงานส่งของ 50,000 คน รองรับออเดอร์จากกว่า 100,000 ร้านในเครือ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ว่า ยอดขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce) และบริการสั่งอาหารไปยังที่พัก (Food Delivery) ในช่วงระหว่างวันที่ 22 มี.ค. – 30 เม.ย. 2563 จะเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาปกติราว 8,000 ล้านบาท และในช่วงวันที่ 5 – 15 มี.ค. ETDA เผยถึงเหตุผลของการสั่งอาหารออนไลน์ เหตุผลแรกคือ ไม่อยากไปนั่งที่ร้านอาหาร ตามด้วยไม่อยากต่อคิว, มี promo code แจกในแอป, และสั่งอาหารออนไลน์เพราะหวั่น Covid-19 โดย 87.85% เป็นการสั่งทานที่บ้าน 46.11% ผู้สั่งทานที่ทำงาน

เพื่อความสบายใจของทั้งสองฝ่าย ที่ต่างกังวลเรื่องไวรัส พนักงานส่งของจึงเริ่มใช้วิธีดรอปสินค้าที่หน้าบ้านก่อนถึงเวลานัดจริง มากกว่าจะยื่นส่งสินค้ากันตามปกติ รวมถึงแบรนด์เดลิเวอรีก็ออกกฎต่าง ๆ เพื่อปกป้องความปลอดภัยต่อทั้งลูกค้าและพนักงาน ทั้งยืนห่างจากลูกค้า 2 เมตรในการรับส่งสินค้า และผลักดันการชำระเงินผ่านอีวอลเล็ต ทำให้มูลค่าการจัดส่งสินค้าแบบไม่สัมผัสกับลูกค้าปลายทางเติบโตขึ้นถึง 20%

สถานการณ์จะยิ่งผลักดันให้ผู้คนเข้าหาเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น เมื่อมี 5G ที่จะช่วยภาคการขนส่งและคมนาคมอัจฉริยะ ตั้งแต่การโอนถ่ายดาต้า สร้างการสื่อสารระหว่างคันรถ จนถึงเชื่อมต่อรถทุกคันเข้ากับผังเมืองดิจิทัล เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถเข้าถึงข้อมูลการจราจรที่ถูกต้องแม่นยำบนรถยนต์ได้ ส่งผลให้การขนส่งสินค้าด้วยหุ่นยนต์ยิ่งมีโอกาสเติบโตหรือรถอัตโนมัติที่นำทางด้วยแผนที่ภายใต้ระบบอัลกอริทึมของ Location platform โดยคาดว่าจะทำรายได้ 4.84 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030

และด้วยระบบ Open Location Platform จะยิ่งตอบโจทย์ on-demand economy ที่แข่งขันกันที่ความเร็ว ความสะดวก และความถูกต้องของสินค้า เนื่องจากช่วยตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกโลเคชั่นต้นทางถึงปลายทาง และถูก localize ให้เข้ากับพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะประเทศที่มีตรอก ซอก ซอย อย่าง Amazon ตั้งเป้าส่งสินค้าถึงปลายทางได้อย่างเรียบร้อยภายใน 30 นาที หรือ Walmart ที่เริ่มให้บริการ same-day delivery ขนส่งด่วนภายในวัน ซึ่งอีคอมเมิร์ซเจ้ายักษ์ในประเทศไทย Lazada หรือ Shopee ก็เริ่มขยายธุรกิจและบริการในลักษณะนี้เช่นกัน

Open Location Platform จะทำหน้าที่ส่งตำแหน่งอัจฉริยะให้แก่บริษัทผ่านแผนที่ดิจิทัลแบบเรียลไทม์ (Application Programming Interface – API) ขณะที่ชุดพัฒนาโมบายล์ซอฟต์แวร์ (Mobile software developments kits – mSDK) ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปักหมุดบริเวณที่ต้องการให้รถโดยสารเข้าไปรับระบบเอไอกับแมชชีนเลิร์นนิ่งที่ทำงานร่วมกันบนแผนที่จะช่วยจดจำเส้นทางใหม่และบันทึกเพิ่มในฐานข้อมูล นอกเหนือจากระบบติดตาม GPS แล้ว แพลตฟอร์มแผนที่ยังสามารถนำเสนอเส้นทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น ๆ แก่คนขับ

#Grab #Get #Foodpanda #Lineman #Fooddelivery #HereTechnologies #Covid19 #Positioningmag

]]>
1271314
ดราม่ารับวิกฤต “แกร็บ” เพิ่ม GP ร้านค้า เพิ่มค่าส่ง สั่งน้อยเก็บเพิ่ม แต่คนขับไม่ได้เพิ่ม https://positioningmag.com/1270942 Tue, 31 Mar 2020 14:54:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1270942 ตลาดเดลิเวอรี่โตกระฉูด รับพฤติกรรมคนรักสบาย แถมเจอวิกฤตไวรัส COVID-19 คนไม่ออกจากบ้าน แต่กลับต้องเจอดราม่า เมื่อแกร็บขึ้นราคาในช่วงนี้ แต่คนขับกลับไม่ได้เพิ่ม

คนไทยฮิตเดลิเวอรี่

ต้องบอกว่าในช่วงเวลานี้ธุรกิจที่เป็นดาวรุ่งมากที่สุดคงจะนี้ไม่พ้นธุรกิจออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นช้อปปิ้งออนไลน์ หรือเดลิเวอรี่ ร้านอาหารเองก็ต้องปรับทัพมาเป็นการจัดส่งเดลิเวอรี่กันหมด เพราะไม่สามารถให้บริการในร้านได้ มีการปิดศูนย์การค้า ร้านอาหารกันทั่วเมือง

จริงๆ แล้วก่อนที่จะเกิดวิกฤติ COVID-19 คนไทยคุ้นเคยกับบริการฟู้ดเดลิเวอรี่กันมาหลายปีแล้ว มีผู้ให้บริการหลักมาจากผู้เล่นขนส่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น LINE MAN ที่เป็นเจ้าแรกที่นำร่องบริการนี้ หลังจากนั้นก็มีเจ้าอื่นๆ กระโดดลงมาจับตลาดด้วยทั้ง GrabFood, Food Panda และ GET

แต่ละเจ้าก็มีโมเดลทางธุรกิจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่ว่าจะเอาใจลูกค้า หรือร้านค้า บางรายก็มีการเก็บค่าธรรมเนียมกับร้านค้าที่เฉลี่ย 25-30% เพื่อแลกกับการตลาดอย่างค่าส่งแสนถูกเริ่มต้นที่ 10 บาท บางรายก็รวมไปค่าอาหาร หรือบางรายก็อาจจะคิดค่าส่งตามระยะทาง

แม้ LINE MAN จะทำตลาดมาก่อน มีจุดแข็งที่เป็นพาร์ตเนอร์กับวงใน มีฐานข้อมูลร้านค้าหลายแสนร้านค้า ทำให้ร้านเข้าระบบได้ง่าย แต่ในช่วงหลังก็ดรอปไปบ้างเพราะเจอ GrabFood เข้ามาตีตลาดด้วยกลยุทธ์ค่าส่งเริ่มต้นที่ 10 บาท อีกทั้งยังมีผู้เล่นรายอื่นๆ เข้ามาเสริม ชูเรื่องค่าส่งถูกเช่นกัน

วิกฤตในวิกฤต

เมื่อมาตรการ Social Distancing รวมไปถึงการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของทางภาครัฐ หรือแม้กระทั่งมาตรการ Work from Home เพื่อกระตุ้นการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ทำให้คนไทยอยู่บ้านมากขึ้น ไม่กล้าออกจากบ้าน อาศัยบริการเดลิเวอรี่ในการส่งสินค้า สั่งอาหาร

แน่นอนว่าคำว่า “วิกฤตยังมีโอกาส” ยังคงมีให้เห็น แสดงให้เห็นว่าธุรกิจนี้มีการเติบโตสูง เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ที่ส่อแววถดถอย แต่ “วิกฤตยังมีวิกฤต” ก็ยังมีให้เห็นเช่นกัน

เมื่อแกร็บได้ทำการขึ้นค่าธรรมเนียมร้านค้า หรือเรียกง่ายๆ ว่าค่า GP เป็น 35% จากเดิมอยู่ที่ 30% รวมถึงขอเพิ่มค่าส่งอีก 10 บาท บอกว่าให้ฮีโร่คนขับ แต่จริงๆ แล้วคนขับไม่ได้เพิ่ม สุดท้ายต้องยอมถอยทัพไม่ขึ้นค่าส่ง แต่ก็มีเพิ่มค่าธรรมเนียมสำหรับคำสั่งซื้อขนาดเล็ก เรียกว่าอ่วมทั้งคนซื้อ และร้านค้ากันเลยทีเดียว

ไม่นานมานี้มีหลายเสียงออกมาแชร์บนโลกโซเชียลมากมาย ในเชิงว่าถ้าไม่จำเป็นในช่วงนี้อย่าสั่งแกร็บเลย เพราะขึ้นค่า GP ร้านค้าจากเดิม 30% เป็น 35% เท่ากับว่าทุกๆ การขาย 1,000 บาท ร้านค้าจะต้องให้ Grab ถึง 350 บาท

รวมถึงแคมเปญที่อ้างว่าช่วยฮีโร่คนขับที่ต้องเสี่ยงไวรัสรับส่งอาหารให้ ขอขึ้นค่าส่งอีก 10 บาทเพื่อเป็นกำลังใจให้คนขับ ในแคมเปญนี้ดูเหมือนจะดี แต่คนขับ Grab ได้บอกเป็นสียงเดียวกันว่าพวกเขาไม่ได้ค่าส่งเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด จนเมื่อเสียงเริ่มดังขึ้น ทำให้ Grab ยอมไม่ขึ้นค่าส่ง

แต่กลับมีค่าธรรมเนียม “คำสั่งซื้อขนาดเล็ก” เพิ่มเข้ามา ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2563 มีเงื่อนไขว่าถ้าลูกค้าสั่งอาหารต่ำกว่า 70 บาท/ครั้ง จะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น 20 บาท ตรงนี้ทาง Grab ยังคงไว้เหมือนเดิม บอกว่าทำให้ร้านค้ามีรายได้มากขึ้น

ทั้งนี้ล่าสุดทางแกร็บได้ออกมายอมปรับลดค่า GP ให้แต่ละร้านไม่ถึง 30% จากเดิมที่จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน แต่ยังไม่ได้กำหนดว่าจะมีการปรับลดลงเมื่อไหร่

ยกเลิกเพิ่มค่าส่ง แต่ยังมีค่าจัดซื้อขนาดเล็ก

หลังจากมีเรื่องราวดราม่าเกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ ทำให้แกร็บออกมาชี้แจง ว่าเป็นข้อมูลคลาดเคลื่อนในการสื่อสารกรณีขึ้นค่าส่ง 10 บาท เมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา จึงสั่งยกเลิกการปรับขึ้นราคาค่าส่งทันที ส่วนการเก็บค่าธรรมเนียมคำสั่งซื้อมูลค่าน้อยกว่า 70 บาท จุดประสงค์เพื่อช่วยให้ร้านค้ามีรายได้เพิ่มขึ้น

“ตัวแทนประชาสัมพันธ์แกร็บชี้แจงข้อมูลเรื่องการที่ Grab Food บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน มีการเรียกเก็บค่าส่งเพิ่มขึ้น 10 บาท ในช่วงเวลา 11.00 น. ของวันที่ 24 มีนาคม 2563 โดยค่าส่งที่เพิ่มขึ้นนี้จะเป็นรายได้ให้แก่ผู้ขับทั้งหมด แต่กลายเป็นว่ามีการสื่อสารคลาดเคลื่อนทำที่ทำให้ผู้ขับเกิดความสับสน จึงได้ยุติการปรับขึ้นราคาค่าส่งทันทีในช่วงบ่ายของวันที่ 24 มีนาคม ซึ่งแปลว่าปัจจุบันทาง แกร็บ ไม่ได้มีการปรับขึ้นราคาค่าส่งแต่อย่างใด

ส่วนประเด็นเรื่องการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม กรณีที่สั่งอาหารที่มีราคาต่ำกว่า 70 บาท จะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 20 บาท เกิดขึ้นบนความต้องการเพิ่มรายได้ให้แก่ร้านค้า โดยจะไม่ส่งผลต่อรายได้ของพาร์ตเนอร์”

ประเด็นของคำสั่งซื้อขนาดเล็กนั้น ทาง Grab ได้นำข้อมูลค่าสั่งซื้อเฉลี่ยย้อนหลังมาวิเคราะห์พบว่า ตามปกติแล้วออเดอร์แต่ละครั้งอยู่เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 100 บาท คาดว่าการเก็บค่าธรรมเนียมคำสั่งซื้อขนาดเล็กจะไม่กระทบกับผู้ใช้งานส่วนใหญ่ของ Grab อย่างแน่นอน

LINE MAN ยัน ไม่ขึ้นค่า GP ในตอนนี้

ขณะที่แกร็บเกิดดราม่าต่างๆ LINE MAN จึงออกโรงชี้แจงถึงนโยบายในตอนนี้เช่นกันว่ายังไม่มีการขึ้นค่าธรรมเนียมร้านค้า หรือค่า GP ในตอนนี้

ซึ่ง LINE MAN จะมีโมเดลที่ว่า ร้านค้าปกติทั่วไปจะลงทะเบียนในระบบฟรี สามารถใช้บริการเดลิเวอรี่ได้ฟรี ไม่มีเสียค่าธรรมเนียมใดๆ แต่มีค่าคิดค่าจัดส่งตามระยะทาง แต่ถ้าร้านค้าที่อยากร่วมโปรโมชั่นที่ค่าส่งราคาถูกราวๆ 10 บาท ก็จะมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 25-30% นั่นเอง

]]>
1270942
“Grab-KFC” พร้อมใจ! ออกมาตรการ Contactless Delivery ส่งอาหารแบบไร้การสัมผัส https://positioningmag.com/1269032 Fri, 20 Mar 2020 06:24:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1269032 เมื่อธุรกิจเดลิเวอรี่กำลังเป็นที่นิยมในช่วงสถานการณ์แบบนี้ ทาง Grab และ KFC จึงออกมาตรการใหม่ เป็นการส่งอาหารโดยไร้การสัมผัสระหว่างผู้ส่ง และผู้สั่ง เพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม หลีกเลี่ยงเชื้อ COVID-19

GrabFood ให้ระบุจุดรับผ่านแชท

ในช่วงที่มีการแพร่ระบากของไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย ทำให้ผู้บริโภคนิยมสั่งอาหารผ่านฟู้ดเดลิเวอรี่เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว เพราะความสะดวกสบาย หลีกเลี่ยงการออกไปทานอาหารข้างนอก

แต่ในขณะเดียวกันเมื่อการแพร่ระบาดได้ยกระดับมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งตัวผู้ส่ง และผู้สั่งอาหารเองก็มีความเสี่ยงด้วยกันทั้งหมด ทาง Grab จึงออกมาตรการใหม่ บริการการส่งอาหารรูปแบบใหม่ ไร้การสัมผัส หรือ Contactless Delivery เพื่อลดความเสี่ยงจากการสัมผัสกัน พร้อมแนะนำชำระเงินผ่าน GrabPay ลดความเสี่ยงการสัมผัสเชื้อโรคโดยเงินสด

ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า

“แกร็บ ได้ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ไวรัส COVID-19 อย่างใกล้ชิด พร้อมดำเนินมาตรการเพื่อป้องกันและส่งเสริมสุขอนามัยของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าของเราท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว ขอเปิดตัวบริการแบบไร้การสัมผัส หรือ Contactless Delivery ด้วยการเว้นระยะห่างที่เหมาะสมจากผู้อื่น (social distancing) ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการควบคุมโรคระบาดตามมาตรฐานสากล โดยได้เริ่มประกาศใช้มาตรการดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2563”

ผู้ขับขี่ และผู้บริโภคสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนแนะนำในการส่งอาหารแบบไร้การสัมผัสได้ ดังนี้

  • ลูกค้าระบุจุดรับ-ส่งอาหาร ผ่านการส่งข้อความทางแชท
  • ผู้ขับขี่ GrabFood แจ้งลูกค้าเมื่อเดินทางถึง เมื่อผู้ขับทำการส่งอาหารในจุดที่แจ้งไว้ให้วางอาหารไว้บนกระเป๋าส่งอาหาร และรอให้ลูกค้าออกมารับโดยทิ้งระยะห่างระหว่างผู้ขับและลูกค้า 2 เมตร ซึ่งผู้ขับจะต้องหมั่น ทำความสะอาดหรือล้างมือก่อนสัมผัสบรรจุภัณฑ์เสมอ
  • ในกรณีลูกค้าต้องการให้ผู้ขับฝากอาหารไว้ที่หน้าประตูบ้าน หรือสถานที่ที่ต้องการเช่น ล็อบบี้ ลูกค้าสามารถระบุได้ผ่านข้อความทางแชท
  • แนะนำให้ลูกค้าเลือกวิธีชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านช่องทาง GrabPay เพื่อลดความเสี่ยงจากเชื้อโรคที่อาจสะสมมากับธนบัตร
  • หากมีความจำเป็นต้องชำระด้วยเงินสด แนะนำให้ลูกค้านำเงินใส่ซองและวางไว้บริเวณจุดส่งอาหาร โดยให้ทุกฝ่ายเว้นระยะห่างระหว่างกัน 2 เมตรตลอดเวลา

KFC ส่งไก่แบบไร้สัมผัส

ทางแบรนด์ KFC ก็ได้ออกบริการใหม่ Contactless Delivery หรือ “บริการส่งอาหารแบบไร้สัมผัส” เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของอาหาร และคลายความกังวลในเรื่องของการแพร่ระบาดของเชื้อโรคจากการสัมผัสกัน

เศกไชย ชูหมื่นไวย รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่าย Brand Strategy and Integration เคเอฟซี ประเทศไทย บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า

“ขณะนี้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และแพร่กระจายไปกว่า 126 ประเทศทั่วโลก สถานการณ์นี้ไม่เพียงแต่ทำให้คนไทยระมัดระวังตัวยิ่งขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวันที่ต้องเผชิญกับการสัมผัสสิ่งต่างๆ นอกบ้าน หากแต่ยังต้องกังวลกับเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยของอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่สั่งจากนอกบ้าน KFC จึงได้ออกแบบและนำเสนอบริการใหม่ “Contactless Delivery” หรือ “บริการส่งอาหารแบบไร้สัมผัส” เพื่อความสบายใจในการสั่งไก่ทอดเคเอฟซีมารับประทานที่บ้านของลูกค้าทุกคน”

ขั้นตอนการสั่ง

  • สั่งผ่านเว็บไซต์ kfc.co.th หรือ แอปพลิเคชัน KFC Thailand ระบุความต้องการใช้บริการ Contactless ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต หรือ Rabbit Line Pay
  • ขั้นตอนการบรรจุ–พนักงานร้านผู้ดูแลออร์เดอร์เป็นคนจัดอาหาร บรรจุ และตรวจคุณภาพอาหารก่อนผูกมัดถุง และนำอาหารจัดใส่กระเป๋าขนส่งของพนักงานจัดส่ง
  • ขั้นตอนการส่ง–พนักงานส่งเดินทางไปยังจุดหมาย โทรหาลูกค้า เชิญลูกค้าหยิบถุงบรรจุอาหารออกจากกระเป๋าจัดส่งเองและเว้นระยะห่างในการยืนรอ
]]>
1269032
“แอร์เอเชีย” แก้เกมเที่ยวบินน้อย ส่ง “ชานมไข่มุกลอยฟ้า” ให้สั่งผ่านเดลิเวอรี่ https://positioningmag.com/1266442 Sun, 01 Mar 2020 15:26:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1266442 กรณีศึกษาของแบรนด์ที่ปรับตัวในช่วงไวรัส COVID-19 ระบาด แอร์เอเชียส่งเมนูยอดฮิต “ชานมไข่มุกบุก” ลงสู่ตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ เป็นการแก้เกมในสถานการณ์ที่คนบินน้อย เที่ยวบินน้อยลง

ปรากฎการณ์ชาไข่มุกลอยฟ้า

พูดถึง “ชานมไข่มุก” นอกจากจะเป็นเมนูยอดนิยมสำหรับคนทั่วไปที่หาทานได้ทั่วไปทั้งในศูนย์การค้า และชุมชนอย่างแพร่หลายแล้ว ยังพบว่าชานมไข่มุกยังเป็นอีกหนึ่งเมนูฮอตฮิตของสายการบิน “แอร์เอเชีย” เรียกว่าในช่วงหนึ่งสร้างกระแสร้อนแรง เป็นไอเท็มที่ดึงดูดให้คนไปใช้บริการแอร์เอเชียเลยก็มี

แอร์เอเชีย Santan ผู้ผลิตเมนูอาหารของสายการบินโลว์คอสนี้ได้ออกเมนูชานมไข่มุกเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมปี 2562 ที่ผ่านมา รับกับกระแส “ชาไข่มุกฟีเวอร์” ในประเทศพอดิบพอดี แต่ชุจุดเด่นที่ไข่มุกบุกรูปเพชร เพื่อสร้างความแตกต่าง และดูเหมือนจะเป็นมิตรต่อสุขภาพมากกว่า เพราะเป็นไข่มุกที่ทำจากบุก แคลอรีจะน้อยกว่าไข่มุกที่ทำจากแป้งทั่วไป

ซึ่งเมนูนี้แอร์เอเชียได้สนนราคาขายที่ 75 บาท สำหรับสายการบินในประเทศ และราคา 90 บาทสำหรับสายการบินระหว่างประเทศ แต่ก็เป็นเมนูที่ต้องแย่งชิงกันพอสมควร เพราะในเที่ยวบินหนึ่งจะมีจำนวนจำกัด ถ้าผู้โดยสารแถวหน้าๆ ซื้อไปหมด ผู้โดยสารที่อยุ่แถวหลังๆ ก็ซดน้ำแห้วไปตามระเบียบ

เมื่อเมนูชานมไข่มุกบุกเป็นที่นิยม เกิดกระแสรีวิวกันทั่วบ้านทั่วเมือง แอร์เอเชียก็ได้ออกเมนูใหม่ๆ ในตระกูลเดียวกันมาเรื่อยๆ ทั้งชาไทยไข่มุกบุก รวมไปถึงเมนูตามเทศกาล เช่น ชานมครีมชีส และนมชมพูเพื่อตอบรับกับเทศกาลวันวาเลนไทน์ในเดือนกุมภาพันธ์ หรือแม้แต่แบบ “ทูโก” ก็มีจำหน่ายด้วยเช่นกัน เอาใจคนที่อยากซื้อไปฝากคนที่บ้าน หรือยังไม่อยากทานบนเครื่อง

แก้เกมจากบนฟ้า สู่ 2 ล้อเดลิเวอรี่

แต่แล้ววิกฤตของไวรัส COVID-19 ที่กำลังเล่นงานอย่างหนัก ส่งผลกระทบอย่างรุ่นแรงต่อธุรกิจสายการบิน และธุรกิจการท่องเที่ยว ทำเอาแอร์เอเชียก็ได้รับผลกระทบทั้งในเรื่องการลดจำนวนเที่ยวบิน หรือจำนวนผู้โดยสารลดน้อยลง

แอร์เอเชียจึงแก้เกมด้วยการส่งเมนูชานมไข่มุกบุลงสู่ตลาดเดลิเวอรี่เป็นครั้งแรก ด้วยการจับมือกับ GrabFood จากที่ปกติต้องเป็นผู้โดยสาร และซื้อบนเครื่องบินเท่านั้น

ไม่ใช่เพียงแค่เมนูชานมไข่มุกอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังส่งเมนูฮิตบนเครื่องบินอื่นๆ อีก ได้แก่ ขนมปังอาฟเตอร์ยู และเมนูอื่นๆ รวม 5 เมนู ตั้งแต่ 3 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป โดยนำร่องส่งพื้นที่สนามบินดอนเมือง และบริเวณใกล้เคียงก่อน พร้อมโปรโมชั่นซื้อชานม 1 แก้ว แถมฟรี 1 แก้ว เฉพาะ 3-5 มีนาคม 2563

อรอนงค์ เมธาพิพัฒนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายสินค้าและบริการบนเครื่องบิน กล่าวว่า

“เป็นปรากฏการณ์บนเครื่องที่เมนูเครื่องดื่มอย่างชานมไข่มุกบุกสามารถทำยอดขายถล่มทลายได้มากถึง 50,000 แก้วต่อเดือน รวมทั้งเมนูขนมที่แอร์เอเชียได้ร่วมทำพิเศษกับอาฟเตอร์ยู ก็ได้เสียงตอบรับดีไม่แพ้กัน แอร์เอเชียจึงต่อยอดเพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ ที่ชื่นชอบการสั่งอาหารส่งตรงถึงบ้าน โดยร่วมกับ Grab Thailand เป็นครั้งเเรก ชูจุดขายใหม่ ให้ใครๆ ก็อร่อยกับเมนูฮิตได้ง่าย..เเม้ไม่ได้บิน”

สำหรับเมนูฮิตบนเครื่องของแอร์เอเชีย ที่สามารถสั่งผ่านบริการ GrabFood ได้ ได้แก่ ชานมไต้หวันไข่มุกบุก ชาไทยไข่มุกบุก ชานมชมพูไข่มุกบุก ขนมปังอาฟเตอร์ยูนมเย็นนมโสด และขนมปังอาฟเตอร์ยูสังขยาไข่เค็ม และดาร์คช็อกโกแลต ซึ่งปัจจุบันเมนูส่วนใหญ่ไม่มีขายบนเครื่องบินแล้ว จึงเป็นโอกาสให้สามารถสั่งได้อีกครั้ง หรือหากใครที่พลาดการซื้อบนเครื่องบินก็สามารถสั่งซื้อผ่านช่องทางดังกล่าวได้เช่นกัน

]]>
1266442
Grab ผุดโมเดล Mini-GC จับมือ SME ท้องถิ่นเปิดศูนย์อบรมสาขาย่อยบุกตลาดต่างจังหวัด https://positioningmag.com/1262510 Thu, 30 Jan 2020 06:55:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1262510 Grab เดินหน้าบุกตลาดต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้เปิดโมเดล Mini-GC แห่งแรกในไทย เพื่อเป็นศูนย์อบรบ และสอนการใช้งานแอปพลิเคชั่นสำหรับผู้สนใจ ตั้งเป้าขยายให้ครบ 30 จังหวัดทั่วไทย

จับมือพาร์ตเนอร์เปิดศูนย์อบรม

ท่ามกลางความปั่นป่วนของธุรกิจขนส่งผ่านแอปพลิเคชั่นที่ยังสีเทาๆ ไม่ขึ้นทะเบียนถูกกฎหมายเสียทีเดียว แต่ Grab ก็ยังคงเดินหน้าบุกตลาดอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดได้เปิดโมเดลใหม่ “Mini-GC” หรือศูนย์อบรมสาขาย่อย เป็นโมเดลที่ใช้บุกตลาดต่างจังหวัดโดยเฉพาะ เพราะมีความคล่องตัว ใช้วิธีการจับมือกับพาร์ตเนอร์ หรือผู้ประกอบการรายย่อยในท้องถิ่นนั้นๆ ที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ ช่วยในการขยายฐานลูกค้าให้ Grab มากขึ้น

ที่ศูนย์นี้จะเป็นพื้นที่รับสมัคร สอนการใช้งานแอปพลิคเชั่น ให้คำแนะนำเรื่องการทำธุรกิจแก่พาร์ตเนอร์คนขับ-จัดส่งอาหารของ Grab รวมถึงพาร์ตเนอร์ร้านอาหาร

ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เผยว่า

“ปี 2562 ที่ผ่านมาถือได้ว่าเป็นปีทองของ Grab ประเทศไทย โดยธุรกิจของเรามีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด ซึ่งการเปิดโมเดลใหม่นี้เป็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายธุรกิจ เชื่อว่าโมเดลนี้จะช่วยเสริมศักยภาพในการขยายธุรกิจไปยังจังหวัดท้องถิ่น และสามารถตอบสนองความต้องการของทั้งพาร์ตเนอร์ และผู้ใช้บริการในแต่ละจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกที่แกร็บได้นำโมเดลนี้มาใช้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจและสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนให้กับแกร็บ ประเทศไทยได้”

ดัน GrabFood เป็นหัวหอก

สำหรับธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีซึ่งมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 35,000 ล้านบาทนั้น GrabFood ถือเป็นผู้เล่นรายหลักที่คอยขับเคลื่อนตลาด โดยนอกจากแคมเปญการตลาดที่จัดเต็มต่อเนื่องเพื่อสร้างสีสันตลอดทั้งปีแล้ว ในปีที่ผ่านมา Grab ยังได้เริ่มขยายการให้บริการไปหัวเมืองและเมืองรองเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในจังหวัดอื่นๆ จากเดิมที่มีเพียงกรุงเทพฯ

โดยใช้เวลาไม่ถึงปีในการขยายธุรกิจ GrabFood ไปยัง 14 จังหวัดทั่วไทย จนได้รับความนิยมในจังหวัดต่างๆ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี โคราช รวมถึงหาดใหญ่ ปัจจุบัน 1 ใน 3 ของยอดรวมการสั่งอาหารของ GrabFood มาจากกลุ่มลูกค้าในต่างจังหวัด

ผู้ประกอบการที่จะร่วมเปิดศูนย์ Mini-GC จะต้องผ่านการพิจารณาของแกร็บใน 3 ด้าน ได้แก่

1. ทุน คือ ต้องมีเงินทุนตั้งต้นและมีสถานะทางการเงินมั่นคง

2. ที่ คือ มีความสามารถในการจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อเปิดศูนย์ฯ และสุดท้าย

3. ทัศนคติ คือ จะต้องมีแนวคิดของการเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่และสอดคล้องกับนโยบายการดำเนินธุรกิจของแกร็บ เพื่อให้สามารถพัฒนาและเติบโตไปพร้อมกับบริษัทได้ในระยะยาว

ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา Grab ได้เริ่มทดลองใช้โมเดลดังกล่าวในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งช่วยเสริมประสิทธิภาพในการบริหารธุรกิจ และขยายการให้บริการ โดยได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากพาร์ตเนอร์คนขับและพาร์ตเนอร์จัดส่งอาหาร-พัสดุ

ปัจจุบันแกร็บมี Mini-GC จำนวนทั้งสิ้น 24 ศูนย์ โดยตั้งเป้าขยายจำนวนไปในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกเท่าตัวภายในสิ้นปีนี้

ตอนนี้ Grab มีบริการที่ครอบคลุมทั้งบริการการเดินทาง บริการส่งอาหารผ่าน

  • GrabBike บริการส่งผู้โดยสาร
  • GrabFood บริการส่งอาหาร
  • GrabExpress บริการจัดส่งพัสดุและสิ่งของผ่าน
  • GrabPay Wallet บริการกระเป๋าเงินดิจิทัล
  • GrabCar Premium บริการรถรับ-ส่งสำหรับลูกค้าชั้นธุรกิจ
  • GrabDriveYourCar บริการคนขับรถยนต์ส่วนตัว
  • ฟีเจอร์ Groceries บริการสั่งซื้อของสดหรือสินค้าจากท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต

โดยปัจจุบันพื้นที่ให้บริการของแกร็บครอบคลุม 20 จังหวัดทั่วประเทศ การเปิดโมเดลนี้จะสามารถรองรับแผนการเติบโตไปสู่ 30 จังหวัดทั่วไทยภายในปี 2563

]]>
1262510
เจาะลึก 6 ปี “Grab” โชว์สถิติส่งแล้ว 320 ล้านครั้ง คนที่ใช้มากสุดเดินทาง 7,000 ครั้ง ส่งอาหาร 670 ออร์เดอร์ และสั่งพัสดุ 2,500 ชิ้น https://positioningmag.com/1238094 Mon, 08 Jul 2019 11:45:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1238094 ปฏิเสธไม่ได้ว่า Grab กลายเป็นอีกหนึ่งบริการเรียกรถหรือสั่งซื้ออาหาร ที่คนในเมืองหลวงต่างคุ้นเคยกันไปเสียแล้ว ซึ่งสตาร์ทอัพจากสิงคโปร์รายนี้ต้องการที่จะเป็นซูเปอร์แอป ที่ทำให้คนไทยสามารถใช้งานได้ทุกวันผ่านกลยุทธ์ Every Day App

เป็นเรื่องปรกติที่ Grab จะไม่เปิดเผยรายละเอียดเชิงลึกของธุรกิจ โดยบอกแต่เพียงว่า ตลอด 6 ปีที่ผ่านมามีการส่งอาหารและการส่งของรวมกันกว่า 320 ล้านครั้ง เป็นระยะทางกว่า 1.2 ล้านกิโลเมตร ใน 16 จังหวัด 18 เมือง โดย 1 ใน 3 ของผู้โดยสารเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งตั้งแต่ปี 2017 – 2019 ให้บริการไปแล้ว 5 ล้านคน จากประเทศต่างๆ เช่น จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย

จากข้อมูลนี้จึงสามารถอนุมานได้ว่ามีคนใช้บริการ Grab ไปแล้วกว่า 15 ล้านคน และยังมีคนขับอีกหลายแสนราย โดยลูกค้าที่ใช้งานมากที่สุดรายหนึ่งได้ใช้บริการเดินทางไปแล้ว 7,000 เที่ยว สั่งอาหาร 670 ออร์เดอร์ และสั่งพัสดุไปแล้ว 2,500 ชิ้น และจากผลตอบรับ Grab เชื่อว่าจะสามารถให้บริการครบ 300 ล้านครั้งเร็วกว่าเดิมที่ใช้ระยะเวลาราว 2 ปี

ขณะนี้บริการที่ Grab ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ Grab Food ที่กำลังมีโอกาสเติบโตได้สูง เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคหันมาสั่งมากขึ้นด้วยไม่อยากออกไปผจญภัย โดยปีที่ผ่านมาให้บริการไปทั้งหมด 3 ล้านออร์เดอร์ เฉพาะ 4 เดือนแรก มียอดสั่งกว่า 4 ออร์เดอร์

ด้วยตัวเลขนี้ Grab ยืนยันว่า ตัวเองเป็นเบอร์ 1 ใน Food Delivery ด้วยส่วนแบ่งกว่า 50% ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ใน 17 พฤษภาคม ถึง 2 มิถุนายน มีการจัดโปรโมชั่นใหญ่ ผลคือ ร้านค้าอาหารสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 4 เท่า และมีรายหนึ่งที่ทำรายได้เพิ่มขึ้นถึง 50 เท่า 

ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า

บริการ Food Delivery ในเมืองไทยกำลังอยู่ในจุดเริ่มต้นของ S-Curve ซึ่งยังมีโอกาสเติบโตได้อีกเรื่อยๆ ขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับเกมราคาที่หลายรายเลือกใช้ โดยในส่วนของ Grab Food ได้ขยายบริการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันให้พื้นที่ให้บริการได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ พัทยา ขอนแก่น หาดใหญ่ และวางแผนจะขยายไปที่อื่นๆ อีก จึงคาดว่าปี 2019 การส่งอาหารจะทะลุ 20 ล้านออร์เดอร์ได้ไม่ยาก

สำหรับในครึ่งปีหลังวางแผนที่จะเปิดให้บริการหนึ่งในจิ๊กซอว์ตัวท้ายๆ ของระบบอีโคซิสเต็ม นั้นคือแกร็บเพย์ พาวเวอร์ บาย เคแบงก์ โมบายล์ วอลเล็ตซึ่งเป็นบริการที่ร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทยพัฒนาขึ้นมา หลังจากได้เข้ามาลงทุนด้วยเม็ดเงินกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1,600 ล้านบาท

เบื้องต้นจะเปิดให้บริการในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมนี้ก่อน และสามารถจ่ายได้กับบริการใน Grab หลังจากนั้นปลายไตรมาส 3 ถึงต้นไตรมาส 4 ถึงจะสามารถใช้จ่ายบริการอื่นๆ นอกแอปได้ จริงๆ แล้วช่วงครึ่งปีแรกยังมีอีกหนึ่งดีลใหญ่เกิดขึ้น นั้นคือการลงทุนกว่า 6.2 พันล้านบาทจากเครือเซ็นทรัล ซึ่งขณะนี้หลายๆ บริการได้มีให้เห็นแล้ว

อย่างไรก็ตาม โจทย์สำคัญที่ Grab ต้องก้าวข้ามคือการผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แม้ที่ผ่านมา Grab จะระบุว่าพูดคุยกับภาครัฐมาโดยตลอด แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนเสียที ต่างจากในปีนี้ที่หลายพรรคการเมืองยกเรื่องนี้ขึ้นมาหาเสียง ซึ่งธรินทร์ระบุว่า ต้องรอดูความคืบหน้าของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ก่อน จากนั้นจึงค่อยเข้าไปคุย ซึ่งทาง Grab มีความพร้อมด้านแพลตฟอร์มอยู่แล้ว

ปัจจุบัน Grab ให้บริการใน 336 เมืองใน 8 ประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมียอดดาวน์โหลดทั้งหมด 152 ล้านครั้ง มีผู้ขับขี่ ร้านค้า และผู้แทนกว่า 9 ล้านราย โดยถือเป็นเครือข่ายการให้บริการขนส่งทางบกที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค โดยได้ให้บริการการเดินทางไปมากกว่า 3 พันล้านเที่ยวตั้งแต่ก่อตั้ง.

]]>
1238094