HR – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 08 Mar 2024 08:25:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Linkedin มีรายได้จากสมาชิกพรีเมียมมากกว่า 60,000 ล้านบาทแล้ว ผู้บริหารชี้ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังตึงตัว https://positioningmag.com/1465602 Fri, 08 Mar 2024 07:21:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1465602 ลิงค์อิน (Linkedin) แพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มุ่งเน้นด้านธุรกิจ ได้เปิดเผยรายได้จากสมาชิกพรีเมียมนั้นมีมากกว่า 60,000 ล้านบาทแล้ว นอกจากนี้ผู้บริหารของบริษัทยังชี้ถึงตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังตึงตัว ทำให้มีการแข่งขันในการหางานไม่น้อย ซึ่งส่งผลถึงรายได้ของบริษัท

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า ลิงค์อิน (Linkedin) แพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มุ่งเน้นด้านธุรกิจ ได้เปิดเผยรายได้สมาชิกพรีเมี่ยมในปี 2023 อยู่ที่ 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ราวๆ 60,360 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้เปิดเผยตัวเลขดังกล่าวเป็นครั้งแรกหลังจากที่อยู่ใต้ชายคาของ Microsoft

การเปิดเผยตัวเลขรายได้จากสมาชิกแบบพรีเมียมดังกล่าวถือเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ Microsoft ได้เข้าซื้อกิจการของ Linkedin ในปี 2016 ด้วยเม็ดเงินมากกว่า 26,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งปกติตัวเลขดังกล่าวนั้นจะเปิดเผยเพียงแค่รายได้ของบริษัท ซึ่งอยู่ภายใต้ผลประกอบการของ Microsoft

รายได้ของ Linkedin ในปี 2023 ที่ผ่านมามีมากกว่า 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยรายได้มากถึง 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐคือการขายโซลูชันเกี่ยวกับการจ้างงานให้กับฝ่ายบุคคลของบริษัทต่างๆ ทั่วโลก ขณะที่รายได้สมาชิกพรีเมี่ยมนั้นอยู่ที่ 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในเดือนพฤศจิกายนปี 2023 ที่ผ่านมา Linkedin เตรียมนำเทคโนโลยี AI มาช่วยสมาชิกแบบ Premium ที่จ่ายเงินให้กับแพลตฟอร์มว่าตัวเองเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่รับสมัครหรือไม่ และตัวระบบเองยังสามารถแนะนำให้มีการเพิ่มหรือแปลงข้อมูลของสมาชิก เพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับผู้สมัครงานรายอื่นได้

ปัจจุบัน Linkedin มีสมาชิกทั่วโลกมากถึง 1,000 ล้านคน โดย 80% เป็นผู้ใช้งานนอกสหรัฐอเมริกา แต่ถ้าหากต้องการเป็นสมาชิกแบบพรีเมียมจะต้องจ่ายเงิน 39.99 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ซึ่งมีฟังก์ชันในการหางาน หรือแม้แต่ช่วยอำนวยความสะดวกมากกว่า

นอกจากนี้ Reuters ยังได้สัมภาษณ์ Dan Shapero ซึ่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ Linkedin โดยเขากล่าวว่าจำนวนสมาชิก Linkedin แบบพรีเมียมเพิ่มขึ้น 25% ในปี 2023 ที่ผ่านมา แม้ว่าบริษัทจะไม่ได้ให้ตัวเลขที่แน่นอนก็ตาม

ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ Linkedin ยังกล่าวถึงพฤติกรรมของคนหางานจากข้อมูลขอบริษัทพบว่ามีผู้สมัครงานอย่างน้อย 2 ตำแหน่ง ในตำแหน่งงานที่เปิดในแพลตฟอร์ม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดงานในสหรัฐอเมริกาจะยังค่อนข้างตึงตัวอยู่ไม่น้อย

เขายังกล่าวเสริมว่า สิ่งที่ Linkedin รู้คือ เนื่องจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในวงกว้าง จึงมีคนที่พยายามทำให้แน่ใจว่าพวกเขามีความสามารถในการได้ตำแหน่งงานที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ และพวกเขา (คนที่หางาน) รู้สึกตื่นเต้นในสิ่งดังกล่าว

ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งทำให้รายได้จากสมาชิกแบบพรีเมียมของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง

]]>
1465602
สยามพิวรรธน์ เสริมทัพผู้นำ HR รุ่นใหม่ ร่วมขับเคลื่อนองค์กรแห่งผู้นำความคิดสร้างสรรค์สร้างโอกาสเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน https://positioningmag.com/1422677 Fri, 10 Mar 2023 11:00:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1422677

กระแสการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องปรับตัวและให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร

สยามพิวรรธน์ ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีกชั้นนำ เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกสถานการณ์ เดินเครื่องยกระดับการบริหารงานด้าน HR อย่างเต็มกำลัง เสริมทีมด้วยผู้นำทัพ HR รุ่นใหม่ไฟแรง ‘ณัฐวุฒิ เกียรติไชยากร’ ร่วมขับเคลื่อนทัพ เพื่อการพัฒนาศักยภาพของพนักงานอย่างไร้ขีดจำกัด (Empower limitless possibilities) และให้โอกาสพนักงานในทุกเจนเนอเรชั่นได้มีส่วนร่วมในการสร้างความสำเร็จ มีความภาคภูมิใจและ เติบโตไปพร้อมกับองค์กรอย่างยั่งยืน

ณัฐวุฒิ เกียรติไชยากร เป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ที่เข้ามาเป็นครอบครัวเดียวกับสยามพิวรรธน์ในตำแหน่ง Chief Business Resources สายงาน Human Resources เพื่อผลักดันนโยบายสำคัญให้ทุกภาคส่วน สร้างการเติบโตไปด้วยกันอย่างแข็งแกร่ง ณัฐวุฒิเป็นผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญการพัฒนาบุคลากร จนได้คัดเลือกให้ติดอันดับเป็นหนึ่งใน 100 ผู้นำด้าน HR ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จาก ETHRWorld Southeast Asia สื่อดิจิทัลด้าน HR ชั้นนำที่มีเครือข่ายทั่วโลก


สยามพิวรรธน์ ย้ำชัดนโยบาย “สร้างแพลตฟอร์มแห่งการเติบโตไปด้วยกัน”

ณัฐวุฒิ เปิดเผยว่า สยามพิวรรธน์เป็นผู้นำในการสร้างโครงการระดับโลก บุกเบิกสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์เหนือระดับให้กับลูกค้าทุกกลุ่มมาโดยตลอด ในการสร้างปรากฏการณ์ที่มีความเชื่อมโยงกับสังคมโลก และการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้าอย่างมั่นคง สยามพิวรรธน์จึงสร้างองค์กรให้เป็นแพลตฟอร์มของการเติบโตที่ดีและมีประสิทธิภาพ (Well-growing platform) โดยจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรที่ ครอบคลุมตั้งแต่ การพัฒนาความรู้และทักษะใหม่ๆ สร้างวัฒนธรรมองค์กรสำหรับการทำงานในโลกยุคใหม่ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงาน พร้อมผลักดันบุคลากรใช้ศักยภาพสูงสุดของตนเอง ไปจนถึงการสร้างโอกาสในการเติบโต และสร้างความภาคภูมิใจให้กับพนักงานที่เป็นส่วนหนึ่งในองค์กร

“คุณค่าที่เติมเต็มชีวิตของผม คือการได้เห็นผู้คนได้ใช้ศักยภาพอันสูงสุดและนำไปสู่ความสำเร็จและความสุขในชีวิต” ณัฐวุฒิกล่าว

ณัฐวุฒิ มีประสบการณ์กว่า 20 ปีในการทำงานร่วมกับองค์กรใหญ่มากมาย ทั้งบริษัทที่ปรึกษา บริษัทขนส่งระดับโลก และองค์กรด้านเครือข่ายสื่อสารระดับประเทศ โดดเด่นด้านการวางกลยุทธ์ โครงสร้าง กระบวนการ และระบบในการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาภาวะผู้นำ การถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านภาพ สร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กรผ่าน People Transformation ด้วยการปรับมุมมอง เพิ่มคุณค่า และเติมทักษะที่จำเป็นเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์ขององค์กร นำมาปรับประยุกต์ให้ชาวสยามพิวรรธน์ได้ใช้ศักยภาพอันสูงสุดของตนเอง นำไปสู่ความสำเร็จและความสุขในชีวิต และนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ไปพร้อมกัน ซึ่งเชื่อมั่นว่า การเข้ามาของผู้นำ HR สุดแกร่ง และความทรงพลังของชาวสยามพิวรรธน์จะมีส่วนผลักดันให้ สยามพิวรรธน์ ยังครองความเป็นหนึ่งในใจผู้คน สร้างผลงานชั้นเอกทั้งในระดับประเทศและระดับโลกต่อไป

]]>
1422677
‘HR’ จะรับมืออย่างไรในวันที่ ‘พนักงาน’ มั่นใจว่ายังไงก็หางานใหม่ได้ https://positioningmag.com/1421493 Wed, 01 Mar 2023 14:57:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1421493 ดูเหมือนจะหมดยุค กอดงานที่รัก แล้ว เพราะจากการสำรวจของ JobStreet (จ๊อบสตรีท) และ JobsDB (จ๊อบส์ดีบี)ภายใต้กลุ่มบริษัท SEEK (ซีค) ได้จัดทำร่วมกับ Boston Consulting Group (BCG) และ The Network เผยให้เห็นว่า 70% ของผู้ร่วมตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง เชื่อว่า พวกเขามีอำนาจในการต่อรอง

70% มั่นใจว่าหางานใหม่ได้

ในช่วงที่เกิดการระบาดของ COVID-19 มีทั้งบริษัทที่ได้ผลกระทบในเชิงบวก และก็มีหลายบริษัทที่ได้ผลกระทบในเชิงลบ ทำให้พนักงานประจำหลายคนเลือกที่จะกอดงานที่รักไว้ให้แน่น ๆ เพราะไม่อยากตกงาน แต่หลังจากที่สถานการณ์คลี่คลายลง แม้เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย เห็นการเลย์ออฟพนักงานโดยเฉพาะในบริษัทเทคโนโลยี แต่พนักงานในปัจจุบันกลับพร้อม หางานใหม่ และคนที่กำลัง มองหางาน เขามีความมั่นใจว่า ยังไงก็หางานได้

โดยจากผลสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามยังคงรู้สึกมั่นใจที่จะมองหาโอกาสใหม่ ๆ แม้จะกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอยู่บ้าง แต่มีสัดส่วนถึง 70% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มองว่า อำนาจในการเจรจาต่อรองในตำแหน่งงานต่าง ๆ ยังคงเป็นของพวกเขา โดยมีจำนวนผู้สมัครงานทั่วภูมิภาคถึง 74% ที่ได้รับ การติดต่อเรื่องตำแหน่งงานใหม่ ๆ ปีละหลายครั้ง และ 36% ได้รับการติดต่อทุกเดือน ส่วนใน ประเทศไทย ตัวเลขเหล่านี้ค่อนข้างสูงอยู่ที่ 68% และ 34% ตามลำดับ

พร้อมปฏิเสธข้อเสนอหากเจอประสบการณ์ไม่ดีตอนสัมภาษณ์

อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจก็คือ 59% ของผู้สมัครงาน พร้อมจะทำงานกับบริษัทที่มีกระบวนการสรรหาที่ดี และ 39% เลือกจะปฏิเสธข้อเสนอ หากเจอประสบการณ์ที่ไม่ดีในตอนสัมภาษณ์หรือสรรหาคน ซึ่งสิ่งที่ผู้สมัครอยากมีคือ สามารถเจรจาต่อรอง เปิดใจ มีพื้นที่ให้เขาแสดงความเป็นตัวตน ไม่ได้มองเขาเป็นหุ่นยนต์หรือกระดาษ ความมีการสนทนาเหมือนการทำความรู้จักตั้งแต่เริ่มเลย

อยากเปลี่ยนงาน

Work Life Balance สิ่งที่แรงงานมองหาอีกครั้ง

ผู้ตอบแบบสอบถาม 71% มองว่า สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุดคือ งานที่มั่นคงและความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามในไทยมีสัดส่วนมากถึง 77% ที่มีความเห็นในทิศทางเดียวกัน โดยผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าปัจจัยอันดับ 1 ในการพิจารณาเมื่อตัดสินใจหางานใหม่ก็คือ เงิน (22%) ตามด้วย ความสมดุลระหว่างชีวิตและงาน (17%) นอกจากนี้จำนวนวันลาหยุดและความมั่นคงของงานเป็นปัจจัยอันดับ 3 ที่ผู้สมัครงานให้ความสำคัญ

ทั้งนี้ 3 เหตุผลแรกที่ทำให้ผู้สมัครงานเริ่มมองหางานใหม่คือ

  1. ต้องการมองหาตำแหน่งที่น่าสนใจกว่าหรือตำแหน่งสูงขึ้นกว่าเดิม (49%)
  2. งานที่ทำอยู่ปัจจุบันมีโอกาสในการเติบโตน้อย (30%)
  3. เงินเดือนและสวัสดิการในปัจจุบันยังไม่น่าพอใจ (27%)

“ความคาดหวังของผู้คนที่มีต่องานเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้สมัครงานส่วนใหญ่ไม่ต้องการใช้ชีวิตเพื่อทำงานอีกต่อไปแต่พวกเขาต้องการทำงานเพื่อใช้ชีวิต” ซาการ์ โกเอล พาร์ตเนอร์และผู้ช่วยผู้อำนวยการ BCG กล่าว

เงินเดือนไม่ช่วยยื้อ

ปัจจุบัน ความมั่นคง ขององค์ไม่ใช่สิ่งสำคัญอันดับแรกที่จะยื้อให้พนักงานอยู่กับองค์กร แต่เป็น การเรียนรู้ ในที่ทำงานนั้น ๆ เพราะเขามองว่าการเปลี่ยนแปลงมันเร็วมาก ดังนั้น การเรียนรู้เป็นสิ่งที่เขามองหา องค์กรที่ทำให้เขามีความสามารถมากขึ้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้เขาอยู่กับองค์กรต่อไป ซึ่งผู้ประกอบการต้องเข้าใจว่าอัตราเงินเดือนที่สูงอาจเป็นหนทางหนึ่งในการดึงดูดคนมีความสามารถ อย่างไรก็ตาม เงินเดือนดังกล่าวไม่อาจรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรได้ในระยะยาว

“ปัจจุบันพนักงานจะอยู่กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งนานเฉลี่ย 2 ปีครึ่ง คนที่ทำงานนาน 30-40 ปีในที่เดียวปัจจุบันเป็นอะไรที่ว้าวมาก และในอนาคตคงไม่ได้เห็นอีกแล้ว เพราะตอนนี้คนมั่นใจว่าเขาจะสามารถหางานใหม่ได้ สิ่งที่เขาต้องการคือ Work Life Balance และองค์กรที่เพิ่มสามารถเพิ่มความสามารถให้เขา”

Work Life Balance = Hybrid Work

Work Life Balance เปลี่ยนไปตามตลาดแรงงาน ปัจจุบันก็คือ Hybrid Work โดย 62% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า พวกเขาต้องการทำงานแบบไฮบริด เขาไม่ต้องทำงานในออฟฟิศ 5 วัน/สัปดาห์ มีเพียง 22% ที่ ต้องการเข้าออฟฟิศ 100%

สำหรับประเทศไทย ผู้สมัครงานมากถึง 72% ต้องการการทำงานแบบ Hybrid ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกถึง 18% และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง 10%

“คนรุ่นใหม่ไม่ได้ไม่อยากเข้าออฟฟิศเลย เขายังอยากเข้าออฟฟิศบ้างไม่ใช่ทุกวัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเขาอยากมีส่วนร่วมกับองค์กรกับเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน แต่เขาแค่ไม่อยากเข้าออฟฟิศ 5 วัน/สัปดาห์”

ตลาดแรงงานไทยกำลังขาดภาคบริการ

ในขณะที่ทั่วภูมิภาคต้องการแข่งงานด้านไอที แต่สำหรับประเทศไทย นางสาวดวงพร พรหมอ่อน กรรมการผู้จัดการ JobsDB Thailand (จ๊อบส์ ดีบี ประเทศไทย) เปิดเผยว่า สายงานไอทีไม่ใช่อันดับ 1 ที่ตลาดแรงงานไทยต้องการ แต่เป็น สายงานผู้ใช้แรงงาน (58%) และ ภาคธุรกิจบริการ (57%) เนื่องจากการท่องเที่ยวที่กลับมาเติบโตอย่างมาก

ส่วนไอทีตลาดก็ยังมีความต้องการเป็นจำนวนมาก สะท้อนจากจำนวนการเสนองานต่อสัปดาห์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากธุรกิจในหลายอุตสาหกรรมล้วนปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเติบโตท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้นในปัจจุบัน

ภาคบริการตอนนี้ต้องไปหาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน คนที่เคยทำงานบริการตอนนี้ก็หันไปทำธุรกิจส่วนตัว หรืออยู่ตัวกับงานใหม่ทำให้เขาไม่กลับมา ซึ่งโจทย์ของผู้ประกอบการตอนนี้คือ ต้องคอยพัฒนาสกิลใหม่ ดังนั้น ธุรกิจบริการเริ่มมีแนวคิดในการจัดอบรม หรือเปิดสถาบันฝึกวิชาชีพให้กับงานภาคบริการ เพื่อให้พร้อมทำงานได้เลย”

6 ข้อองค์กรและ HR ต้องปรับตัว

  1. ก้าวข้ามอคติ เพื่อเพิ่มกลุ่มผู้สมัครงานที่มีความสามารถ เช่น เลือกจากประสบการณ์แม้เรียนจบไม่ตรงสาย
  2. ปรับวิธีในการเข้าถึงผู้สมัครที่แตกต่างกัน
  3. สร้างความประทับใจระหว่างกระบวนการสรรหา ซึ่ง HR เปรียบเสมือนหน้าตาขององค์กร
  4. เลือกใช้เครื่องมือทางดิจิทัลให้เหมาะสม เพราะปัจจุบันผู้สมัครเข้าหาองค์กรผ่านหลายช่องทาง ทั้งเว็บไซต์จัดหางาน ทั้งยื่นตรงที่องค์กร
  5. วัฒนธรรมองค์กรที่ใช่ เพราะนอกเหนือจากการทำงานแบบไฮบริด และค่าตอบแทน วัฒนธรรมองค์กรก็เป็นอีกสิ่งที่ผู้สมัครให้ความสำคัญ
  6. ปลดล็อกผู้ที่มีความสามารถในองค์กร โดยควรมีแผนการเพิ่มศักยภาพ มีสวัสดิการที่ดี เพราะต้นทุนในการหาพนักงานใหม่สูงกว่าการรักษาพนักงานเดิม
]]>
1421493
57% ของบริษัททั่วโลกพบว่าออฟฟิศแบบ “ไฮบริด” ช่วยให้ประสิทธิภาพ “การทำงาน” ดีขึ้น https://positioningmag.com/1378901 Wed, 23 Mar 2022 12:53:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378901 PwC สำรวจพบบริษัททั่วโลกเกินครึ่งเห็นว่า “การทำงาน” แบบ “ไฮบริด” ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ช่วยลดความหนาแน่นในออฟฟิศ และยังดำเนินธุรกิจต่อได้ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 ขณะที่บริษัทไทยส่วนใหญ่เริ่มปรับออฟฟิศเป็นแบบไฮบริดแล้วเช่นกัน

“ดร.ภิรตา ภักดีสัตยพงศ์” หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดผลสำรวจ PwC’s Future of Work and Skills Survey ซึ่งสำรวจธุรกิจและหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลเกือบ 4,000 แห่ง ใน 26 ประเทศ พบว่า 57% ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าประสิทธิภาพการทำงานของบริษัทดีกว่าเป้าหมาย เมื่อเปลี่ยนมาทำงานแบบ “ไฮบริด” ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา มีเพียง 4% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่พบว่าประสิทธิภาพการทำงานของบริษัทต่ำลง

สำหรับบริษัทในไทยนั้น ดร.ภิรตาระบุว่า มีหลายบริษัทที่เริ่มใช้โมเดลการทำงานแบบ “ไฮบริด” ที่พนักงานไม่ต้องมาออฟฟิศทุกวันแล้ว

ข้อดีที่บริษัทพบจากการทำงานแบบนี้คือ สามารถลดความหนาแน่นในออฟฟิศได้ 25-50% และทำให้ธุรกิจเดินต่อได้ แม้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกแผนกที่สามารถทำงานแบบไฮบริดได้ ตามธรรมชาติของงานที่ต่างกัน เช่น ธุรกิจธนาคาร แผนกบริหารความเสี่ยงอาจจะทำงานจากบ้านได้แบบ 100% แต่สำหรับคอลเซ็นเตอร์ ก็ยังต้องมาทำงานออนไซต์ตามปกติ

 

ความท้าทายคือวิธี “ประเมินผลงาน”

ดร.ภิรตากล่าวต่อว่า เมื่อมีการทำงานแบบไฮบริด แต่ละองค์กรมีวิธีบริหารที่ต่างกัน เช่น บางองค์กรเน้นการประชุมบ่อยขึ้น เพื่อเช็กชื่อพนักงานและตามงาน แต่ความท้าทายสำคัญของการทำงานรูปแบบนี้คือ ต้องมีระบบการประเมินผลงานที่โปร่งใส และต้องมีความเชื่อใจระหว่างหัวหน้าและลูกน้องในทีมสูงมาก

“การสื่อสารและการวัดผลที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา คือสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพื่อให้การนำโมเดลการทำงานแบบไฮบริดมาใช้ประสบความสำเร็จ” ดร.ภิรตากล่าว

“การประเมินผลงานแบบดั้งเดิม อย่างการเช็กขาด ลา มาสาย ไม่ใช่โซลูชันที่ถูกต้องอีกแล้ว การเช็กที่เป้าหมายการทำงานแยกย่อยของแต่ละบุคคล ซึ่งจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายรวมขององค์กร คือวิธีบริหารที่ได้ประสิทธิภาพมากกว่า”

นอกจากนี้ ดร.ภิรตายังมองว่าระดับหัวหน้างานต้องเปลี่ยนแนวคิดจากการ ‘หาคนผิด’ มาเป็นการสนับสนุนและให้คำแนะนำกับพนักงาน เมื่อใดก็ตามที่เกิดการสะดุดในขั้นตอนการทำงาน

 

พนักงานต้อง “อัพสกิล” ให้ทัน

นอกจากการเป็นออฟฟิศไฮบริดแล้ว ดร.ภิรตากล่าวถึงอีกเทรนด์หนึ่งในที่ทำงานยุคใหม่ เริ่มวางแผนเปลี่ยนแปลงวิธีจัดการทรัพยากรบุคคลด้วยกลยุทธ์ต่างๆ เช่น ‘build, buy, borrow, bots’

บริษัทเริ่มมองหาว่าการทำงานส่วนไหนที่ใช้เทคโนโลยีแทนคนได้บ้าง และหาว่าส่วนไหนสามารถใช้เอาท์ซอร์สได้ เพื่อให้การจ้างพนักงานเกิดความยืดหยุ่นขึ้น รวมถึงเมื่อบริษัทใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น องค์กรจึงต้อง “อัพสกิล” พนักงานปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ใช้เทคโนโลยีเป็นและทำได้เต็มประสิทธิภาพ และตัวพนักงานเองก็ต้องเปิดใจเพื่อจะใช้เทคโนโลยีด้วย

สำหรับประเทศไทย ขณะนี้อาจจะยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีแทนคนอย่างเต็มที่ เพราะค่าแรงของไทยยังไม่ได้สูงมากเหมือนประเทศอื่น

“แต่ใน 3-5 ปีข้างหน้า เราแน่ใจได้ว่าความต้องการแรงงานจะเปลี่ยนไป แรงงานที่ใช้ทักษะการวิเคราะห์หรือทักษะดิจิทัลเฉพาะทาง เช่น วิเคราะห์ดาต้า, ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง, บิ๊กดาต้า, AI และแมชชีน เลิร์นนิ่ง เหล่านี้จะเป็นแรงงานที่มีความต้องการสูงกว่า” ดร.ภิรตากล่าว

สรุปได้ว่า ทุกอุตสาหกรรมต้องปรับตัวเพื่อเริ่มใช้โมเดลการทำงานแบบไฮบริด และอัพสกิลให้กับพนักงานเพื่อใช้เทคโนโลยี จำเป็นมากที่จะต้องเริ่มต้นเดี๋ยวนี้เพื่อให้องค์กรยังได้เปรียบในการแข่งขัน และเติบโตได้อย่างยั่งยืน

]]>
1378901
Fjord Trends 2022 : ส่อง 5 เทรนด์โลกธุรกิจ ปรับวิธีคิดใหม่รับความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไป https://positioningmag.com/1374718 Mon, 21 Feb 2022 10:12:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374718 ส่อง 5 เทรนด์เเห่งปี 2022 ที่จะส่งผลต่อสังคม วัฒนธรรมและธุรกิจ ปรับวิธีคิดใหม่เรื่องกลยุทธ์การเติบโต 
เมื่อผู้คนทบทวนความสัมพันธ์ที่มีกับงาน เทคโนโลยี แบรนด์ และโลกของตัวเองมากขึ้น 

จากรายงาน Fjord Trends 2022 ของบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกอย่าง ‘เอคเซนเชอร์’ ที่ได้สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคมาต่อเนื่องกว่า 15 ปี พบว่าในช่วงวิกฤตโควิด-19 เกือบ 2 ปีที่ผ่านมา สังคมมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ตั้งเเต่ระดับโครงสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับงาน วัฒนธรรมการบริโภค เทคโนโลยีและโลก

เหล่าพนักงานมีความคาดหวัง แนวคิด และมุมมองที่เปลี่ยนไป ทำให้บริษัทหรือองค์กรต่างๆ จึงต้องปรับตัวและออกแบบแนวการทำธุรกิจรูปแบบใหม่เพื่อหาแนวทางการออกแบบ การสร้างนวัตกรรม และการเติบโตให้กับธุรกิจในอนาคต

ดาวิน สมานนท์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานบริการทางการเงิน เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า เราไม่ควรมองข้ามเรื่องระดับของความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไป หรือบทบาทของธุรกิจที่ต้องปรับตัวตาม การตัดสินใจต่างๆ ของธุรกิจที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ อาจจะส่งผลต่อโลกและโครงสร้างในหลายด้านมากเกินกว่าที่จะจินตนาการได้ และทุกสิ่งจะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือเรื่องความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไปของคน ไม่ว่าจะกับเพื่อนร่วมงาน แบรนด์ สังคม สถานที่ และสิ่งต่างๆ

“จากการสำรวจพบว่า ในช่วงต้นปีที่ผ่านมามีพนักงานแค่ 15% เท่านั้น ที่อยากกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ 100% เหมือนเดิม”

โดย Fjord Trends 2022 เก็บข้อมูลจากนักออกแบบ และนวัตกรกว่า 2,000 คน จาก 40 แห่งทั่วโลกที่อยู่ในเครือข่าย Accenture Interactive ได้คาดการณ์พฤติกรรมมนุษย์ และ 5 เทรนด์ที่จะส่งผลต่อสังคม วัฒนธรรม และธุรกิจ ประกอบด้วย

1. Come as you are : เป็นอย่างที่ตัวเองเป็น

การที่ผู้คนรู้สึกควบคุมชีวิตตนเอง หรือ sense of agency มีมากขึ้นในช่วง 2 ปีของโควิด ส่งผลกระทบต่อวิธีการทำงาน การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน และการบริโภคทั้งสิ้น

ผู้คนเริ่มตั้งคำถามถึงความสำนึกถึงตัวตน สิ่งที่สำคัญกับชีวิต และความเป็นปัจเจกนิยมมากขึ้นในมุมมองที่เรียกว่า me over we ซึ่งสำคัญต่อองค์กรในแง่ของการบริหาร และการสร้างแรงจูงใจพนักงาน รวมถึงการเสริมสร้างค่านิยมให้พนักงานใหม่ และแนวทางการสานสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับลูกค้าให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

โดยพนักงานเลือกที่จะทำงานเเบบ Work From Home เเละมีช่วงเวลาที่ยืดหยุ่น ประเมินจากผลลัพธ์ของผลงาน บริษัทจึงต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างสิ่งที่พนักงาน ลูกค้าเเละบริษัทต้องการ

(Photo : Shutterstock)

2. The end of abundance thinking : หมดยุคเหลือเฟือ

ช่วงปีที่ผ่านมา การขาดแคลนของปัจจัยหลายอย่าง แม้จะเป็นปัญหาระยะสั้น แต่ส่งผลต่อเนื่อง นำไปสู่การเปลี่ยนแนวคิด จากการคิดเผื่อที่อยู่บนฐานของการที่ทุกอย่างมีให้ใช้อย่างเหลือเฟือ สะดวก และรวดเร็ว เปลี่ยนไปเป็นถึงความตระหนักเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งธุรกิจต้องรับมือกับความกังวลถึงปัจจัยต่างๆ ว่าจะมีพอหรือไม่อย่างที่หลายคนประสบทั่วโลก

3. The next frontier : พรมแดนใหม่

การแตกตัวทางวัฒนธรรมขนานใหญ่กำลังรอเวลาที่จะเกิดขึ้น โดย ‘Metaverse’ จะกลายเป็นพรมแดนใหม่ของอินเทอร์เน็ตที่หลอมรวมเลเยอร์ต่าง ๆ ของข้อมูล อินเทอร์เฟซ และพื้นที่ที่ผู้คนสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันเข้าไว้ด้วยกัน กลายเป็นพื้นที่ใหม่ในการสร้างรายได้ สร้างงาน และสร้างโอกาสที่ไม่สิ้นสุดให้แบรนด์ต่าง ๆ ด้วย

“ผู้คนคาดหวังให้ธุรกิจสร้างสรรค์ และนำพวกเขาไปสู่สิ่งใหม่ โลกจะไม่หยุดที่หน้าจอ และหูฟังเท่านั้น แต่เปิดประตูไปสู่ประสบการณ์ และสถานที่ต่าง ๆ ในโลกจริงที่มีปฏิสัมพันธ์กับโลกดิจิทัล”

4. This much is true : ตอบเร็ว ตอบจริง (This much is true)

ผู้คนคาดหวังที่จะได้รับคำตอบจากการกดปุ่มแค่ครั้งเดียว หรือการสั่งงานด้วยเสียงผ่านระบบ voice assistant ก็ได้คำตอบในทันที หมายความว่าผู้คนจะถามมากขึ้น
“สำหรับแบรนด์สินค้าหมายถึงขอบเขตของคำถามจากลูกค้า และช่องทางการสอบถามจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นการออกแบบวิธีการตอบคำถามจึงเป็นความท้าทาย และเป็นส่วนสำคัญในการทำให้เกิดความเชื่อมั่นที่พร้อมเสริมสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในอนาคตด้วย”

5. Handle with care : ใส่ใจมากขึ้น

การดูแลใส่ใจทุกด้านเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างเด่นชัดในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการดูแลตัวเอง ดูแลผู้อื่น การบริการดูแลสุขภาพ และช่องทางที่ให้บริการทั้งทางดิจิทัลและโลกออฟไลน์ จึงเป็นทั้งโอกาส และความท้าทายสำหรับนายจ้าง และแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่เชี่ยวชาญทางการแพทย์ หรือการดูแลสุขภาพ

อย่างไรก็ตาม ความรับผิดชอบในการดูแลตนเอง และผู้อื่นยังคงเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ในชีวิต นักออกแบบ และองค์กรธุรกิจจึงต้องคำนึงเหมือนกันว่าจะการสร้างพื้นที่สำหรับฝึกการดูแลเรื่องต่าง ๆ ในภาคปฏิบัติได้อย่างไร

“แบรนด์จะเผชิญกับความรับผิดชอบสำคัญ 2 เรื่อง คือ การใส่ใจดูแลโลกวันนี้ และต้องคำนึงถึงเรื่องการสร้างอนาคตในทางที่ดีต่อโลก ธุรกิจ และสังคมด้วย”

]]>
1374718
เทรนด์นี้มาเเรง พนักงานทั่วโลก เลือกรับค่าจ้างเป็น ‘คริปโต’ มากขึ้น https://positioningmag.com/1373748 Fri, 11 Feb 2022 11:27:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373748 พนักงานทั่วโลก เลือกที่จะรับค่าตอบเเทนเป็นสกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโตเคอร์เรนซีมากขึ้น โดยเฉพาะในสายงานเทคโนโลยีและการเงิน

ข้อมูลนี้มาจาก Deel บริษัทด้านการจ้างงานรายใหญ่ ที่มีเครือข่ายพนักงานกว่า 1 แสนคนใน 150 ประเทศทั่วโลก ระบุว่าช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา มีพนักงานราว 2% (จาก 1 เเสนคน) สนใจรับค่าตอบแทนอย่างน้อยบางส่วนเป็นสกุลเงินคริปโตฯ หลังเริ่มเสนอทางเลือกนี้เมื่อเดือน ก.. ปีที่ผ่านมา

โดยในกลุ่มของผู้ที่เลือกรับค่าตอบเเทนเป็นคริปโตฯ นั้นกว่า 2 ใน 3 เลือกที่จะรับเป็นเหรียญยอดนิยมอย่างบิตคอยน์’ (BTC)

นอกจากนี้ ยังพบว่าพนักงานที่เลือกรับเงินเดือนเป็นคริปโตฯ ส่วนใหญ่จะอยู่ในเเวดวงเทคโนโลยีและการเงิน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเข้าใจในเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลมากกว่าพนักงานในภาคธุรกิจอื่น

จากข้อมูลของ Deel เปิดเผยว่า พนักงานในอาร์เจนตินา สนใจรับค่าตอบแทนเป็นคริปโตฯ มากที่สุดถึง 1 ใน 3 เนื่องจากปัญหาอัตราเงินเฟ้อสูง รองลงมาคือพนักงานในไนจีเรีย ที่มีสัดส่วน 1 ใน 5 และพนักงานบราซิลมีสัดส่วนราว 3% ส่วนพนักงานในสหรัฐฯ ที่ Deel จัดจ้าง มีเพียง 1.2% เท่านั้น ที่เลือกรับค่าตอบเเทนเป็นคริปโตฯ

โดยในหลายประเทศ รวมทั้งสหรัฐฯ พนักงานจะไม่สามารถรับค่าตอบแทนเป็นสกุลเงินดิจิทัลได้โดยตรง’ ทาง  Deel จึงร่วมมือกับ Coinbase แพลตฟอร์มศูนย์กลางซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล มาให้บริการแปลงเงินคริปโตฯ ให้เป็นเงินสกุลท้องถิ่น

อย่างไรก็ตาม การรับค่าตอบเเทนหรือเงินเดือนเป็นสกุลเงินดิจิทัล ไม่ง่ายเเละยังไม่เเพร่หลายมากนักในปัจจุบันเนื่องจากยังไม่ได้เป็นสกุลเงินที่รับประกันโดยรัฐบาล เเละมีข้อจำกัดด้านกฎระเบียบต่างๆ อย่างการที่บริษัทต้องรายงานค่าจ้างพนักงานต่อรัฐ เพื่อจัดเก็บภาษีเป็นสกุลเงินท้องถิ่น

เเต่ด้วยความที่ราคาของคริปโตฯ มีความผันผวนสูงมาก อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อพนักงานที่อาจจะถูกเรียกเก็บภาษีจากค่าตอบเเทน เมื่อเหรียญเหล่านั้นมีมูลค่าลดลงหรือเพิ่มขึ้นในอนาคตได้

ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจและการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในประเทศไทยก็มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 240 ล้านบาท เป็นกว่า 4,839 ล้านบาท มูลค่าทรัพย์สินของลูกค้าเพิ่มขึ้นจาก 9,600 ล้านบาท เป็น 114,539 ล้านบาท และมีจำนวนบัญชีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นจาก 1.7 แสนราย เป็น 1.98 ล้านราย (ข้อมูลจากกรมสรรพากร 28 ม.ค.65)

 

ที่มา : Bloomberg 

]]>
1373748
นโยบาย ‘Zero-Covid’ บีบเหล่า Expat ทักษะสูง จำใจลาออก สะเทือนภาคการเงินฮ่องกง https://positioningmag.com/1371501 Tue, 25 Jan 2022 15:34:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371501 เเนวทาง “Zero-Covid” ที่ฮ่องกงยึดปฏิบัติอย่างเข้มงวดตามรัฐบาลจีน กำลังบีบให้ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติในเเวดวงการเงิน จำใจลาออก ทิ้งตำเเหน่งงานค่าตอบเเทนสูงเพื่อกลับประเทศ 

เมื่อปลายปีที่เเล้ว Tania Sibree ลาออกจากงานที่ได้รับค่าตอบเเทนสูง จากการเป็นทนายความของบริษัทการเงินแห่งหนึ่งในฮ่องกง กลับมาอยู่ใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเกิดอย่างออสเตรเลีย หลังต้องทนใช้ชีวิตอยู่ต่อภายใต้มาตรการควบคุมโควิด-19 อันเข้มงวดเเละไม่มีท่าทีจะผ่อนคลายลง 

เธอย้ายมาทำงานประจำที่ฮ่องกง เมื่อ 5 ปีก่อนเเละใช้ชีวิตอย่างสนุกสนาน จนกระทั่งเกิดวิกฤตโรคระบาดในช่วงปีที่ผ่านมา

โดย Sibree เป็นหนึ่งในในผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติที่มีทักษะสูง หลายร้อยหรือหลายพันคนที่ต้องจำใจลาออกหรือกำลังวางแผนจะย้ายที่อยู่ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจของฮ่องกง หนึ่งในศูนย์กลางทางการเงินของโลกได้

“การกักตัวในโรงแรมนานๆ เป็นเรื่องยากลำบากมากสำหรับคนที่ต้องอยู่ไกลจากครอบครัว นี่เป็นประเด็นสำคัญที่ฉันตัดสินใจกลับประเทศ” เธอกล่าว

เหล่า Expat หลายคนเคยคิดว่าเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ทางการฮ่องกงจะเริ่มผ่อนคลายจำกัด ผ่อนปรนมาตรการมากขึ้น และระเบียบที่เข้มงวดจะไม่ดำเนินต่อเนื่องเป็นเวลานาน แต่ทว่าฮ่องกงซึ่งอยู่ภายใต้อาณัติของจีน ได้ดำเนินนโยบาย “Zero-Covid” คุมยอดผู้ป่วยโควิดให้เป็นศูนย์ ตามรัฐบาลปักกิ่ง แทนที่จะปรับมาใช้ชีวิตร่วมกับโควิดเหมือนในหลายๆ ประเทศ

เเม้ว่าฮ่องกงจะมีพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมราว 13,000 รายจากประชากรทั้งหมด 7.4 ล้านคน ซึ่งถือว่าอยู่ในอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับหลายประเทศทั่วโลก

ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาในช่วงวิกฤตโรคระบาด ฮ่องกงก็มีการบังคับใช้มาตรการกักตัวที่เข้มงวดอยู่แล้ว เเละยกระดับคุมเข้มยิ่งขึ้นไปอีกในช่วงปีที่เเล้ว โดยอนุญาตให้เฉพาะคนฮ่องกงและผู้มีถิ่นพำนักเดินทางกลับได้เท่านั้น และต้องกักตัวสูงสุดเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 มาครบโดสแล้ว

อย่างไรก็ตาม นโยบาย “Zero-Covid” ที่เข้มงวด ก็ไม่ได้ทำให้ฮ่องกงใกล้จุดผู้ติดเชื้อโควิดเป็นศูนย์นัก โดยเมื่อวันอาทิตย์ (23 ม.ค.) ฮ่องกงยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 140 ราย อีกทั้งไม่มีสัญญาณใดๆ ว่า ทางการจะเริ่มผ่อนคลายมาตรการลง

เหล่านี้ เป็นผลให้ชาวต่างชาติจำนวนมากคิดจะลาออกจากงานมากขึ้น โดยเฉพาะในเเวดวงการเงิน ทั้งพนักงานในธนาคารยักษ์ใหญ่ ผู้จัดการสินทรัพย์ ขณะที่สำนักงานกฎหมายต้องเผชิญกับการที่พนักงานจำนวนมากเลือกจะลาออกหลังได้รับโบนัสประจำปี

วาณิชธนากรรายหนึ่ง บอกกับ Reuters ว่า “ถ้าตอนนี้คุณอยู่ในสิงคโปร์จะดีกว่าฮ่องกงมาก เพราะคุณยังสามารถเดินทางได้ อย่างน้อยก็ปีละครั้งหรือสองครั้ง” โดยข้อจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศนับเป็นปัจจัยสำคัญที่พนักงานชาวต่างชาติขอย้ายออกจากสาขาที่ฮ่องกง

 

ที่มา : Reuters 

 

]]>
1371501
HR Asia ประกาศ 52 บริษัทในไทยที่ “น่าทำงานด้วย” มากที่สุด ปี 2021 https://positioningmag.com/1365313 Fri, 03 Dec 2021 11:25:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365313 HR Asia ประกาศผู้ชนะรางวัล บริษัทที่ “น่าทำงานด้วย” มากที่สุด ปี 2021 จำนวน 52 บริษัทในไทย ปีนี้วงการธุรกิจไอที-เทคโนโลยี และกลุ่มการแพทย์-เฮลธ์แคร์ ครองแชมป์มีจำนวนบริษัทติดลิสต์มากที่สุด บริษัทสัญชาติไทยติดรายชื่อจำนวนมาก

สื่อด้านทรัพยากรบุคคล “HR Asia” จัดงานประกาศรางวัล “บริษัทที่น่าทำงานด้วยมากที่สุด ปี 2021” โดยแบ่งเป็น 11 ประเทศของเอเชีย สำหรับประเทศไทย มีบริษัทที่ได้รับรางวัลนี้ 52 แห่ง

วิธีการคัดเลือกของ HR Asia จะทำการสำรวจความเห็นพนักงานในองค์กรที่สมัครรับคัดเลือก โดยปีนี้มีบริษัทในไทยสมัครรับรางวัล 269 แห่ง จำนวนพนักงานที่ได้รับการสำรวจรวม 18,748 คน

เป้าหมายการสอบถามของ HR Asia จะคัดเลือกเพื่อเฟ้นหาบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กรยอดเยี่ยม สามารถดึงการมีส่วนร่วมของพนักงานได้ดี มีการพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคล และทำให้บริษัทนั้นๆ เป็นตัวเลือกที่พนักงานต้องการทำงานด้วย

52 บริษัทที่ได้รับรางวัลปีนี้ พบว่าหมวดธุรกิจที่ได้รางวัลมากที่สุดคือกลุ่มไอที-เทคโนโลยี และกลุ่มการแพทย์-เฮลธ์แคร์ โดยมีบริษัทได้รับรางวัลหมวดละ 8 แห่งเท่ากัน

ในลิสต์มีทั้งบริษัทข้ามชาติและบริษัทสัญชาติไทย โดยบริษัทไทยที่ได้รางวัล เช่น เอไอเอส, ทรู, เบญจจินดา, กลุ่มรพ.เปาโล-พญาไท, บุญรอด, ฟู้ดแพชชั่น, ไทยเบฟเวอเรจ, โอสถสภา, โพเมโล, ซีพีเอฟ, แม็คโคร, โลตัส, พีทีจี, เคบีทีจี เป็นต้น

อ่านรายชื่อทั้งหมดของ 52 บริษัทที่ “น่าทำงานด้วย” มากที่สุด ปี 2021 ที่นี่

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม:

]]>
1365313
ขาดเเรงงาน บริษัทในออสเตรเลีย ทุ่ม ‘โบนัส-ขึ้นเงินเดือน’ เเย่งชิงพนักงานทักษะสูง https://positioningmag.com/1361613 Thu, 11 Nov 2021 11:11:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361613 หลายธุรกิจในออสเตรเลีย ประสบปัญหาขาดเเคลนเเรงงานอย่างหนัก หลังต้องปิดประเทศมานานเกือบ 2 ปี บริษัทต่างๆ เริ่มใช้กลยุทธ์เสนอโบนัสเเละปรับขึ้นเงินเดือนเพื่อเเย่งชิงพนักงานทักษะสูงที่กำลังเป็นที่ต้องการในตลาด

บรรดาบริษัทด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบรวมกิจการ ถึงกับต้องเสนอโบนัสให้กับพนักงานใหม่เป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี เเละใช้งบในการสรรหาบุคลากรเพิ่มขึ้นถึง ‘สองเท่า

โดยต้องออกนโยบายใหม่ ให้มีการพิจารณาเพิ่มเงินเดือนปีละสองครั้ง และปรับเพิ่มฐานเงินเดือนขึ้นถึง 15% เพื่อแย่งตัวพนักงานใหม่และรักษาพนักงานเดิม เพราะสายงานนี้กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในช่วงวิกฤตโควิด

เช่นเดียวกับ บริษัทวิเคราะห์ข้อมูล ไปจนถึงธุรกิจภาคบริการต่างๆ ที่กำลังเจอปัญหาไม่มีแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงาน หลังออสเตรเลียปิดพรมแดนเป็นเวลานานเกือบ 2 ปี ตามมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวด

พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทำให้ทั่วโลกต้องหันมาทำธุรกิจออนไลน์ เเละความต้องการเเรงงานด้านเทคโนโลยีที่มีทักษะก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

SEEK เว็บไซต์จัดหางานชื่อดังของออสเตรเลีย เผยว่า โฆษณารับสมัครงานใหม่ตอนนี้ เพิ่มขึ้นถึง 54% จากช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด เเต่จำนวนคนที่มาสมัครงานกลับลดลง

ในกลุ่มสายงานการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ ความปลอดภัยไซเบอร์ และการสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถ อาจเรียกเงินเดือนเพิ่มได้ถึง 20% เพราะกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด

โดยบริษัทซอฟต์แวร์เเห่งหนึ่งในนครซิดนีย์ เสนอ ‘Sign-on Bonus’ กว่า 10,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 2.4 เเสนบาท) เงินก้อนให้เปล่ากับพนักงานใหม่ที่ได้ตกลงเซ็นสัญญาทำงานด้วย

ขณะที่การเพิ่มค่าจ้างเป็นวิธีหลักในการดึงดูดและรักษาพนักงาน แต่การยืดหยุ่นให้ทำงานที่บ้านหรือ ‘Work from Home’ ได้ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยจูงใจคนทำงาน

แม้ว่าออสเตรเลียจะเริ่มผ่อนคลายมาตรการเเละเตรียมเปิดพรมแดน หลังประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนอย่างครอบคลุม เเต่บริษัทจัดหางานในออสเตรเลีย เตือนว่า ภาวะขาดแคลนเเรงอาจจะรุนเเรงกว่าเดิมในปีหน้า เนื่องจากคนทำงานจำนวนมากที่ทนการปิดประเทศมายาวนานไม่ไหวจึงพากันออกไปหางานทำในต่างประเทศเเทน

ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศและการค้า ระบุว่า ชาวออสเตรเลีย 2 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด 25 ล้านคน ได้เลื่อนการยื่นขอหรือต่ออายุหนังสือเดินทางมา ตั้งแต่ต้นปี 2020 จากสถานการณ์โรคระบาด แต่ปัจจุบันจำนวนผู้สมัครเริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นสองเท่าทุก ๆ สองเดือน

ความเคลื่อนไหวนี้ สะท้อนให้เห็น ‘ภาวะสมองไหล’ ของเเรงงานทักษะสูง ไปยังตลาดสำคัญๆ ทั่วโลก อย่างเช่น สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมของชาวออสเตรเลียที่ต้องการไปทำงานในต่างประเทศ

 

]]>
1361613
สิงคโปร์ คุมเข้มให้พนักงานบริษัททั่วประเทศ ต้องฉีดวัคซีนครบโดส ถึงจะเข้าออฟฟิศได้ https://positioningmag.com/1358231 Mon, 25 Oct 2021 11:45:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1358231 สิงคโปร์ ออกนโยบายคุมเข้ม กำหนดให้พนักงานในองค์กรต่างๆ ทั่วประเทศ ต้องฉีดวัคซีนโควิดครบโดส นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ปีหน้า เป็นต้นไป ส่วนผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนต้องมีผลตรวจเป็นลบเท่านั้น ถึงจะเข้าออฟฟิศได้ เเละต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

กระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์ ประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 พนักงานขององค์กรทุกแห่งในประเทศ จะต้องมีหลักฐานการฉีดวัคซีนโควิดครบแล้วเท่านั้น หรือต้องประวัติป่วยเป็นโรคโควิด-19 เเล้วหายจากอาการป่วยภายในระยะเวลานานไม่เกิน 270 วัน จึงจะสามารถกลับเข้าไปทำงานในออฟฟิศได้

ส่วนพนักงานที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน จะต้องมีผลการตรวจหาเชื้อโควิด ’เป็นลบ’ เท่านั้น ถึงจะเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศตามปกติได้ เเต่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจเองทั้งหมด และจะต้องเข้ารับการตรวจจากสถานที่ ซึ่งได้รับการรับรองโดยกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น

ทั้งนี้ ผลการทดสอบด้วย Antigen Rapid Test อย่างเร่งด่วน จะมีผลใช้ได้ตลอดระยะเวลาที่พนักงานอยู่ในที่ทำงาน 24 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม ภาครัฐมีข้อยกเว้นให้กับกลุ่มพนักงานที่เป็นสตรีมีครรภ์ที่ไม่ประสงค์รับวัคซีน และผู้ที่ไม่สามารถรับวัคซีนด้วยเหตุผลทางการแพทย์ ซึ่งมีคำเเนะนำถึงเหล่านายจ้างว่าจะต้องดูเเลการทำงานของกลุ่มนี้เป็นพิเศษ เช่น กำหนดวิธีการทำงานรูปแบบใหม่เเละให้ทำงานที่บ้านไปก่อน

ล่าสุด ชาวสิงคโปรืกว่า 84% ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดครบโดสแล้ว และกว่า 85% ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส ท่ามกลางสถานการณ์ที่มียอดผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นจากสายพันธุ์เดลตา โดยมีการขยายมาตรการป้องกันการระบาดในปัจจุบันไปจนถึงวันที่ 21 พ.ย. เพื่อลดแรงกดดันในระบบสาธารณสุข เเละจะมีการทบทวนมาตรการในทุก 2 สัปดาห์

 

ที่มา : CNA , Bloomberg

]]>
1358231